
He Who Gets Slapped (1924) : Victor Sjöström ♥♥♥♥
อีกหนึ่งหนังเงียบ Masterpiece ที่ให้คำนิยาม ‘ตัวตลก’ (Clown) ได้อย่างลึกล้ำ โดยทุกครั้งที่ Lon Chaney ถูกตบหน้า กายคงไม่เจ็บเท่าไหร่ แต่จิตใจมันรวดร้าวทุกข์ทรมานแสนสาหัส
He Who Gets Slapped (1924) : Victor Sjöström ♥♥♥♥
อีกหนึ่งหนังเงียบ Masterpiece ที่ให้คำนิยาม ‘ตัวตลก’ (Clown) ได้อย่างลึกล้ำ โดยทุกครั้งที่ Lon Chaney ถูกตบหน้า กายคงไม่เจ็บเท่าไหร่ แต่จิตใจมันรวดร้าวทุกข์ทรมานแสนสาหัส
The Conformist (1970) : Bernardo Bertolucci ♥♥♥♥
ครั้งหนึ่งของประเทศอิตาลี ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการ Benito Mussolini ได้เปลี่ยนแปลงประเทศให้กลายเป็น Italian Fascism ก็มีทั้งผู้สนับสนุนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย, Il conformista ผลงาน Masterpiece ของผู้กำกับ Bernardo Bertolucci ได้ทำการสำรวจทางจิตวิทยาของชาวอิตาเลี่ยนผ่านตัวละครของ Jean-Louis Trintignant เมื่อได้รับภารกิจลับจากจากรัฐบาล ต้องเผชิญหน้าเลือกระหว่างหน้าที่กับความต้องการของหัวใจ, แท้จริงแล้วประชาชน… ไม่สิ Bertolucci คิดยังไงกับลัทธิฟาสซิสต์
Arsenal (1929) : Alexander Dovzhenko ♥♥♥
หนังเงียบชวนเชื่อเรื่องนี้จริงๆก็ไม่ได้ดูยากอะไร เป็น Expressionist ที่ตรงไปตรงมาเหมือนภาพวาด The Scream ของ Edvard Munch เพียงแต่ผู้ชมสมัยใหม่ที่ไม่ได้เกิดในยูเครนหรือรัสเซีย ไม่รู้อดีตประวัติศาสตร์ของชาตินี้ก็คงส่ายหัวดูไม่เข้าใจแน่นอน
Zvenigora (1928) Ukrainian : Alexander Dovzhenko ♥♥♥♡
‘ทรัพย์ในดินคือสินสมบัติล้ำค่าที่สุด’ แต่คงไม่ใช่สำหรับสหภาพโซเวียต เพราะหนังเรื่องนี้พยายามชักชวนเชื่อให้ผู้คนสมัยนั้นเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความคิด จากประเทศเกษตรกรรม กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม, เรื่องแรกของไตรภาค Ukraine Trilogy อีกสองเรื่องคือ Arsenal (1929) และ Earth (1930)
Meghe Dhaka Tara (1960) : Ritwik Ghatak ♥♥♥♥♡
ผลงาน Masterpiece เรื่องนี้มีความลึกล้ำในทุกๆระดับ, หน้าหนังเล่าถึงความเหน็ดเหนื่อยของหญิงสาว ที่ต้องทำงานหาเงินเลี้ยงดูแลครอบครัวเพียงลำพัง เพราะพ่อเจ็บป่วย แม่ไม่ได้ทำงาน พี่ชายเอาแต่เพ้อฝัน น้องสาวไล่จับผู้ชาย ฯ แต่ใจความของหนังเป็นการแสดงทัศนะของผู้กำกับ Ritwik Ghatak ต่อเหตุการณ์แบ่งแยกดินแดน 1947 (Partition of India), ถึงคุณไม่ใช่คนอินเดีย ยังขอแนะนำว่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Night of the Hunter (1955) : Charles Laughton ♥♥♥♥♡
Charles Laughton ทั้งชีวิตกำกับหนังแค่เรื่องเดียว ตอนฉายล้มเหลวทั้งคำวิจารณ์และรายได้ แต่ 40 ปีให้หลัง ได้รับการยกย่องว่าเป็น Masterpiece, The Night of the Hunter คือนิทานก่อนนอนชั้นเลิศ สอนเด็กๆได้สาระ สอนผู้ใหญ่ได้ปัญญา สะท้อนเรื่องราวทางสังคมได้ทุกระดับ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Peter the Great (1937-1938) USSR : Vladimir Petrov ♥♥♥♡
หนึ่งในหนังชวนเชื่อ (Propaganda) ของสหภาพโซเวียต ได้รางวัล Stalin Prize ปี 1941 (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี) จากความพ่ายแพ้ย่อยยับในการสงครามกับ Sweden จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 (Peter the Great) เริ่มต้นใหม่จากศูนย์ ฟื้นฟูประเทศ นำพารัสเซียเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ก่อตั้งเมือง Saint Petersburg และกลายเป็นมหาอำนาจแห่งยุโรปทั้งทางบกและทางน้ำ
เรื่องราวกึ่งชีวประวัติ จักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (Catherine the Great) ตั้งแต่อภิเสกสมรสจนขึ้นครองราชสมบัติ ประทับอยู่พระราชวังเต็มไปด้วยรูปปั้น สัตว์ประหลาดหน้าตาอัปลักษณ์ และเรื่องราวความรักที่สุดแสนสัปดล จนสามารถเรียกได้ว่า Gothic Masterpiece
พนักงานเปิดประตูโรงแรมแห่งหนี่ง เพียงแค่ถูกลดตำแหน่ง ถอดเสื้อคลุมแสดงวิทยฐานะออก กลับทำให้ทั้งชีวิตราวกับถึงจุดจบสิ้น … นั่นเพราะสาธารณรัฐไวมาร์ยุคสมัยนั้น ชุดเครื่องแบบ(ทหาร)คือสัญลักษณ์แห่งเกียรติ ความภาคภูมิใจ ยิ่งใหญ่ราวกับพระเจ้า
The Horse’s Mouth (1958) British : Ronald Neame ♥♥♥♥
Sir Alec Guinness นักแสดงชาวอังกฤษชื่อดัง รับบทเป็นศิลปิน Expressionist ไส้แห้งที่พร้อมทำทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ขโมยของ, รีดไถคนรวย เพื่อนำเงินที่ได้ไปวาดภาพในจินตนาการของตน กำกับโดย Ronald Neame ว่ากันว่านี่เป็นหนัง British เกี่ยวกับการวาดรูปที่ดีที่สุด
Edvard Munch (1974) Norwegian : Peter Watkins ♥♥♥♥
ภาพวาดที่ผมใส่เป็นโปสเตอร์วันนี้ คุณรู้รึเปล่าครั้งหนึ่งมันเป็นภาพวาดที่ถูกประมูลในราคาสูงถึง $119.9 ล้านดอลลาร์ นี่เป็นหนังชีวประวัติของ Edvard Munch ศิลปิน Expressionist สัญชาติ Norwegian ผู้วาดภาพ The Scream ที่โด่งดัง