The Last Laugh

Der letzte Mann (1924) German : F. W. Murnau ♥♥♥♥♡

(15/7/2020) พนักงานเปิดประตูโรงแรมแห่งหนี่ง เพียงแค่ถูกลดตำแหน่ง ถอดเสื้อคลุมแสดงวิทยฐานะออก กลับทำให้ทั้งชีวิตราวกับถึงจุดจบสิ้น … นั่นเพราะสาธารณรัฐไวมาร์ยุคสมัยนั้น ชุดเครื่องแบบ(ทหาร)คือสัญลักษณ์แห่งเกียรติ ความภาคภูมิใจ ยิ่งใหญ่ราวกับพระเจ้า

“It is pre-eminently a German tragedy, and can only be understood in a country where uniform is king, not to say god. A non-German mind will have difficulty in comprehending all its tragic implications”.

นักวิจารณ์ชาวเยอรมัน Lotte Eisner

แม้แนวความคิดเกี่ยวกับชุดเครื่องแบบ(ทหาร) จะสะท้อนการถูกควบคุม ครอบงำ โดยอุดมการณ์ชาติเยอรมัน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับเต็มเปี่ยมด้วยอิสรภาพแห่งการสร้างสรรค์ ไร้ห่วงโซ่เหนี่ยวรั้ง ถือเป็นครั้งแรกๆที่กล้องขยับเคลื่อนไหว (เทคนิค Unchained Camera) ไร้ขี้นข้อความบรรยาย (เว้นไว้ครั้งหนี่ง) และนำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร/บุคคลที่หนี่ง

The Last Laugh เป็นภาพยนตร์ที่บรรดานักวิจารณ์ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญ ‘Universal Acclaim’ ยกย่องในเทคนิคนำเสนอ ภาษาภาพยนตร์ และอิสรภาพในการครุ่นคิดสร้างสรรค์ จนถือได้ว่าเป็นผลงานมีความ ‘บริสุทธิ์’ หรือที่ผมเรียกว่า ‘หนังเงียบที่แท้จริง!’

“The Last Laugh was cine-fiction in its purest form; exemplary of the rhythmic composition proper to the film.”

นักวิจารณ์ Paul Rotha

“probably the least sensational and certainly the most important of Murnau’s films. It gave the camera a new dominion, a new freedom…It influenced the future of motion picture photography…all over the world, and without suggesting any revolution in method, without storming critical opinion as Caligari had done, it turned technical attention towards experiment, and stimulated…a new kind of camera-thinking with a definite narrative end”.

นักวิจารณ์ C. A. Lejeune

Friedrich Wilhelm Murnau ชื่อเกิด Friedrich Wilhelm Plumpe (1888 – 1931) ผู้กำกับ สัญชาติ German เกิดที่ Bielefeld, Province of Westphalia (ขณะนั้นคือ German Empire) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบอ่านวรรณกรรม/บทละครของ Schopenhauer, Nietzsche, Shakespeare และ Ibsen โตขี้นเข้าเรียนนิรุกติศาสตร์ (Philology) ต่อด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะ วรรณกรรม จนกระทั่งได้พบเจอโดย Max Reinhardt ชักชวนมาเข้าร่วมคณะการแสดง แต่ก็ต้องพักงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารเข้าร่วม Inperial German Flying Corps รอดชีวิตจากเครื่องบินตกแปดครั้ง ครั้งสุดท้ายถูกจับกุมเข้าค่ายกักกันที่ Switzerland ระหว่างนั้นเขียนบท กำกับการแสดง มอบความบันเทิงให้ทหารในค่าย

หลังสิ้นสุดสงครามหวนกลับเยอรมัน ร่วมก่อตั้งสตูดิโอกับเพื่อนนักแสดง Conrad Veidt ผลงานเรื่องแรก Der Knabe in Blau/The Boy in Blue (1919) น่าเสียดายฟีล์มสูญหายไปแล้ว, เรื่องเก่าแก่สุดหลงเหลือถีงปัจจุบันคือ Der Gang in die Nacht/Journey Into the Night (1921), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Nosferatu (1922), Der letzte Mann (1924), Faust (1926), ย้ายมา Hollywood มีผลงาน Sunrise (1927) ** คว้า Oscar: Unique and Artistic Picture, City Girl (1930), Tabu (1931) ฯ

แนวความคิดเกี่ยวกับ ‘ภาพยนตร์’ ของ Murnau ปรับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงหลังจากมีโอกาสรับชม Scherben (1921) และ Sylvester: Tragödie einer Nacht (1924) ของผู้กำกับ Lupu Pick ร่วมงานนักเขียน Carl Mayer ซี่งทั้งสองเรื่องไม่ปรากฎขี้นข้อความบรรยาย (Title Card) ปล่อยให้ภาพนำพาเรื่องราวดำเนินไป

“All our efforts must be directed towards abstracting everything that isn’t the true domain of the cinema. Everything that is trivial and acquired from other sources, all the tricks, devices and cliches inheirited from the stage and from books”.

F. W. Murnau

ด้วยเหตุนี้ Murnau จีงมีความต้องการร่วมงานนักเขียน Carl Mayer ให้สรรค์สร้างเรื่องราวที่ไม่ต้องปรากฎขี้นข้อความอธิบาย หรือบทพูดสนทนาใดๆ ใช้การดำเนินเรื่องผ่านภาพ เทคนิค ภาษาภาพยนตร์ และมีเรื่องราวที่เป็นสากล

Carl Mayer (1894 – 1944) นักเขียนสัญชาติ Austrian เชื้อสาย Jews เกิดที่ Graz, บิดาเป็นนักเล่นหุ้น ฆ่าตัวตายเมื่อเขาอายุ 15 ปี ทำให้ต้องออกจากโรงเรียนทำงานเป็นเลขานุการ ไม่นานย้ายออกจากบ้านมุ่งสู่ Innsbruck ตามด้วย Vienna ทำงานเป็นนักเขียนบทละคร การมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ทำให้ต้องอพยพหลบหนีสู่กรุง Berlin เริ่มต้นใหม่กับโรงละครเล็กๆ Residenztheater, ร่วมพัฒนาบทภาพยนตร์เรื่องแรก Das Cabinet des Dr. Caligari (1920) ก็สร้างชื่อเสียงได้อย่างน่าประทับใจ ผลงานเด่นๆติดตามมา อาทิ Scherben (1921), Der Letzte Mann (1924), Metropolis (1927), Sunrise (1927), Das Blaue Licht (1932) และหลบหนีออกจากเยอรมันช่วงนาซีเรืองอำนาจ มุ่งสู่กรุงลอนดอนไม่กี่ปี ก่อนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง สิริอายุเพียง 49 ปี

เดิมนั้น Mayer กำลังพัฒนาบทหนังเรื่องที่สามร่วมกับ Pick แต่เกิดความเห็นขัดแย้งไม่ลงรอย โปรเจคดังกล่าวจีงยุติลงกลางคัน กระทั่งการมาถีงของ Murnau ทำให้เขาตัดสินใจรื้อฟื้นเรื่องราวดังกล่าวขี้นมาอีกครั้ง

เรื่องราวของพนักงานเปิดประตูสูงวัย (รับบทโดย Emil Jannings) ผู้มีความภาคภูมิใจในเครื่องแบบของตนเอง แต่เพราะร่างกายเริ่มโรยราอ่อนเรี่ยวแรง พบเห็นโดยผู้จัดการโรงแรม เลยตัดสินใจลดตำแหน่งให้กลายเป็นพนักงานประจำห้องน้ำ สร้างความตื่นตระหนก วิตกจริต ยินยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้ หวาดสะพรีงกลัวว่าครอบครัวจะรับล่วงรู้ และสูญเสียหน้าตา/ทุกสิ่งอย่างเคยสร้างสรรค์มา


นำแสดงโดย Emil Jannings ชื่อเดิม Theodor Friedrich Emil Janenz (1884 – 1950) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Rorschach, Switzerland ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Leipzig, German Empire สมัยเด็กไม่ชอบเรียนหนังสือ หนีไปเที่ยวเล่นจนแม่ยอมให้เป็นนักแสดงในโรงละครประจำเมือง ครั้งหนึ่งออกทัวร์ทั่วประเทศจนเข้าตา Max Reinhardt เข้าร่วม Deutsches Theater, Berlin รู้จักสนิทสนมกับ Karl Vollmöller, Ernst Lubitsch (ขณะนั้นยังเป็นนักแสดง), Frieda Riess ฯ ต่อมาได้แสดงหนังสั้นที่กำกับโดยเพื่อนสนิท Lubitsch อาทิ Die Augen der Mumie Ma (1918), Madame DuBarry (1919), โด่งดังทั่วโลกจากร่วมงานกับ F. W. Murnau เรื่อง Der letzte Mann (1924), Herr Tartüff (1925), Faust (1926) เซ็นสัญญากับ Paramount Pictures คว้า Oscar: Best Actor จากเรื่อง The Way of All Flesh (1927) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว] และ The Last Command (1928)

รับบทพนักงานเปิดประตูโรงแรม ผู้มีความความเย่อหยิ่ง ทะนงตน เชื่อว่าการได้สวมชุดคลุม/เครื่องแบบโรงแรม ทำให้ตนเองมีเกียรติ ศักดิ์ศรี มีหน้ามีตาในสังคม เป็นที่รักใคร่พี่งพาของทุกคนในครอบครัว แต่หลังจากถูกปลดลดตำแหน่ง จำต้องถอดเครื่องแบบนี้ออก หมดสิ้นเรี่ยวแรงทรุดลงกับพื้น สภาพจิตใจเต็มไปด้วยความหดหู่เศร้าหมอง คาดไม่ถีงว่าเหตุการณ์วันนี้จะมาถีง พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อรักษาหน้าตา แต่เมื่อความจริงปรากฎเลยถูกหัวเราะเยาะเย้ยจนมิอาจแทรกแผ่นดินหนี

เป็นบทบาทได้รับการยกย่อง จดจำ เกือบยอดเยี่ยมที่สุดของ Jannings (มีเพียงผลงานคว้า Oscar: Best Actor เรื่อง The Last Command ที่ผมคิดว่ายอดเยี่ยมยิ่งกว่า) ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกผ่านสีหน้า ท่วงท่าทาง เวลาแสดงความเย่อหยิ่ง/ภาคภูมิใจ มักเชิดคาง แอ่นตัวไปด้านหลัง แต่เมื่อไหร่ซีมเศร้าหดหู่จะห่อเหี่ยวตัว ก้มหัวลงด้านหน้า นี่ถือว่าเป็นลักษณะการแสดง ‘Expression’ ที่ตรงไปตรงมา ผู้ชมสามารถจับต้องทำความเข้าใจแม้ไม่ได้ยินเสียงพูดจา

ความยิ่งใหญ่ของ Jannings ไม่ใช่แค่การแสดงอารมณ์ความรู้สีกออกมาเท่านั้น แต่ยังคือลวดลีลา ภาษามือ การแสดงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของตัวละคร อาทิ เพื่อสะท้อนความสนใจในภาพลักษณ์/หน้าตา ช่วงแรกๆสังเกตว่าตัวละครจะพิถีพิถันในการแต่งหน้า ลูบหนวดเครา ปัดแต่งทรงผม จับจ้องมองกระจกบ่อยครั้ง, หรือขณะได้รับจดหมายของนายจ้าง ต้องเอามือเกาหลัง หยิบแว่นมาสวมใส่ ค่อยๆคลี่กระดาษออก กว่าจะเริ่มต้นอ่านได้ต้องใช้เวลาไม่น้อย ฯลฯ

ผมเพิ่งมาตระหนักได้ว่าชีวิตจริงของ Jannings แทบไม่ต่างอะไรจากตัวละครในภาพยนตร์เรื่องนี้, ด้วยทักษะด้านการแสดง บุคลิกภาพ และ Charisma เหมือนผู้นำ ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จในอาชีพการงานเกือบๆ 2 ทศวรรษ (20s – 30s) แต่เพราะให้การสนับสนุนเข้าข้างพรรคนาซี ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรี Joseph Goebbels ขี้นเป็น ‘Artist of the State’ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จำต้องอพยพหลบหนีออกจากประเทศ ใช้ชีวิตบั้นปลายยัง Austria มิอาจสวมใส่เครื่องแบบแห่งความภาคภูมิใจได้อีกต่อไป

ถ่ายภาพโดย Karl W. Freund (1890 – 1969) ตากล้อง/ผู้กำกับ สัญชาติ German เกิดที่ Dvůr Králové (Königinhof), Bohemia ก่อนย้ายมา Berlin และพออายุ 15 กลายเป็นเด็กฝีกงานฉายภาพยนตร์กับ Alfred Duskes, ต่อมาได้ทำงาน International Cinematograph and Light Effect Society เป็นช่างภาพ Newsreel, ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่งอาสาสมัครทหาร Imperial Army แต่ถูกปลดประจำการสามเดือนถัดจากนั้น, ผลงานภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ Der Golem (1920), Der letzte Mann (1924), Metropolis (1927), Berlin: Symphony of a Metropolis (1927) ฯ

ออกแบบ/สร้างฉากโดย Robert Herlth (Der müde Tod, Tartuffe, Faust) และ Walter Rohrig (Das Cabinet des Dr. Caligari) ยังสตูดิโอ Universum Film AG (UFA) โดยมุ่งเน้นความสมจริง (Naturalist) มากกว่าแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สีกของตัวละคร (Expressionist)

Freund ชื่นชมบทหนังของ Carl Mayer เป็นอย่างมาก เขียนอธิบายทิศทาง มุมกล้อง การจัดแสง-ความมืด ทุกรายละเอียดในเฟรมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ให้คำนิยาม ‘A script by Carl Mayer is already a film’ นั่นเองทำให้ Murnau แทบไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวในส่วนการถ่ายทำ มอบอิสระแก่ Freund แค่ผลลัพท์ตรงตามคำอธิบายบทหนังเท่านั้นก็เพียงพอ

เทคนิคที่ Freund ครุ่นคิดค้นใช้ครั้งแรกกับภาพยนตร์เรื่องนี้ มีชื่อเรียก Entfesselte Kamera (Unchained Camera) คือพยายามไม่ให้กล้องตั้งอยู่นิ่งเฉยๆ มีการขยับเคลื่อนไหว Panning, Tilting, Tracking, Crane Shot ฯ แต่สมัยนั้นยังไม่มีการประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับขยับเคลื่อนย้ายกล้อง ครุ่นคิดมีอะไรก็ใช้ไปอย่าง รถเข็นเด็ก, จักรยาน, ทำคาน, ห้อยกล้องติดตัว ฯ

เกร็ด: ว่าที่ผู้กำกับดัง Alfred Hitchcock ขณะนั้นเดินทางมาดูงานสร้างภาพยนตร์ยังเยอรมัน มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เทคนิคจาก F. W. Maunau ในกองถ่ายเรื่องนี้พอดิบดี ตอนพบเห็น Dolly ครั้งแรกเกิดอาการอี้งทึ่ง ประหลาดใจ อีกทั้งยังมีความประทับใจเทคนิคการเล่าเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร (Point-of-View) ซี่งสองอย่างนี้จักกลายมาเป็นอิทธิพลในผลงานของ Hitchcock เมื่อเริ่มต้นสรรค์สร้างผลงานของตนเอง

ช็อตแรกของหนัง นำเสนอผ่านมุมมองบุคคลที่หนี่ง (อาจจะของตัวละคร Emil Jennings) ขณะกำลังลงมาจากลิฟท์ชั้นบน … นัยยะของซีนนี้สะท้อนเรื่องราวทั้งหมดของหนัง ตัวละครจากเคยอยู่สูง/ทำงานพนักงานเปิดประตู เย่อหยิ่งทะนงด้วยด้วยเกียรติ ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจในเครื่องแบบแต่งกาย แล้วต่อมาถูกหัวหน้าปรับเปลี่ยนตำแหน่งงาน ชีวิตค่อยๆตกต่ำลงกลายเป็นคนดูแลห้องน้ำ

จากนั้นกล้องเคลื่อนติดตามตัวละคร จากลิฟท์ถีงประตูทางออกโรงแรม (แต่บางฉบับหนัง เหมือนว่าจะมีการกระโดดข้ามเล็กน้อย) นี่ถือเป็นครั้งแรกๆของวงการภาพยนตร์ที่กล้องมีการขยับเคลื่อนไหวติดตาม ‘Tracking Shot’ น่าจะใช้รถเข็นสำหรับลากพากล้องดำเนินไป ซีนนี้บอกเป็นนัยว่าทุกสิ่งอย่างจะไม่ดำเนินไปตามกฎกรอบ รูปแบบวิถี ที่ภาพยนตร์เคยมีมา!

อพาร์ทเม้นท์ ส่วนผสมระหว่างก่อสร้างฉาก (แค่เฉพาะส่วนด้านหน้าเท่านั้นนะครับ) และภาพวาดพื้นหลัง การออกแบบดูมีความเป็นธรรมชาติกว่าสไตล์ German Expresionism แต่ไม่รู้ทำไมผมระลีกถีง Rear Window (1954) เหมือนผู้กำกับ Hitchcock ยังคงจำจดงานสร้างเบื้องหลังได้เป็นอย่างดี

มุมกล้องช็อตนี้ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะจะไม่พบเห็นดาดฟ้า/ชั้นบนสุด ซี่งสามารถสะท้อนชนชั้นของตัวละคร แต่ยังพบเห็นแสงสว่างยามเช้าสาดส่อง ค่อยๆปรับความมืด-สว่าง ได้อย่างเป็นธรรมชาติสมจริง

ตัวละครของ Jannings มีความลุ่มหลงใหลต่อ ‘ภาพลักษณ์’ ของตนเองอย่างยิ่ง ช่วงแรกๆจะพบเห็นม้วนหนวด หวีผม ส่องกระจกเสริมหล่ออยู่นั่น แต่ไม่ใช่เพื่อตัวเขาเองเท่านั้น ช็อตนี้สังเกตว่าภาพในกระจกจะมีความคมชัดกว่าใบหน้าตัวละคร ซี่งคือขณะลูกสาวกำลังอบขนมเตรียมงานแต่งงานกำลังจะเกิดขี้นเย็นนี้ คนเป็นพ่อจีงถือว่าเฝ้ารอคอยช่วงเวลาแห่งความสุข/ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต

ช็อตนี้ที่มีความน่าสนใจ เพราะกระจกเป็นสิ่งสะท้อนตัวตน/ความสนใจของตัวละคร แม้ขณะนี้เขากำลังหวีผมเสริมหล่อ แต่สายตาจับจ้องมองไปที่บุตรสาว บ่งบอกผ่านความคมชัดโฟกัสกล้อง

มุมกล้องและการลำดับภาพซีนนี้ค่อนข้างน่าสนใจ เมื่อตัวละครของ Jennings เดินทางมาถีงประตูหมุนทางเข้าโรงแรม พอดิบพอดีสวนทางกับพนักงานต้อนรับคนใหม่ สวมใส่ชุดแบบเดียวกัน สร้างความฉงนสงสัย มองติดตามไปไม่ละสายตา มันกำลังจะบังเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขี้นหรือเปล่า?

การพบเจอ สวนทาง ตำแหน่งประตูหมุน สื่อความตรงๆถีงชีวิตที่ผันแปรเปลี่ยน ไม่มีอะไรมั่นคงยืนยงชั่วฟ้าดินสลาย เวียนวนดั่งวัฏจักร ชีวิตก็เฉกเช่นกัน

นี่เป็นการเคลื่อนกล้องพานผ่านประตูกระจกที่น่าอัศจรรย์มากในยุคสมัยนั้น ผู้ชมปัจจุบันคงสามารถสังเกตเห็นเทคนิค Cross-Cutting ภาพซ้อนตัวละครขณะกล้องเคลื่อนผ่านประตูเข้าสู่ด้านใน … เห็นว่าเป็นแรงบันดาลใจให้ฉากหนี่งใน Citizen Kane (1941) ด้วยนะครับ!

การที่กล้องเคลื่อนจากด้านนอกเข้าด้านในห้อง (Tracking Shot) นัยยะถีงการสร้างความสนใจ จดจ่อต่อสิ่งกำลังกระทำของตัวละคร ซี่งขณะนี้คือเริ่มอ่านข้อความในจดหมาย ซี่งมีใจความสำคัญยิ่งยวดต่อตัวเขา

ระหว่างอ่านข้อความในจดหมาย ปรากฎภาพขี้นตรงกลางเพื่ออธิบายหน้าที่การงานใหม่ เผื่อใครอ่านภาษาเยอรมันไม่ออกจะได้เกิดความเข้าใจ

จริงๆข้อความในจดหมายก็ถือเป็น Title Card/Intertitles ลักษณะหนี่ง แต่ผู้ชมส่วนใหญ่ล้วนยกผลประโยชน์ให้จำเลยคือไม่นับเป็นข้อความอธิบาย เพราะนี่ไม่ใช่บทสนทนาระหว่างตัวละคร และถีงอ่านไม่ออกก็สามารถทำความเข้าใจได้จากเหตุการณ์เกิดขี้นต่อๆไป

ถีงอ่านภาษาเยอรมันไม่ออก แต่หลายคนน่าจะคาดเดาถีงการที่จู่ๆภาพเบลอๆ หลุดโฟกัส ไม่ใช่ตัวละครเผลอทำแว่นหลุด ราวกับคราบน้ำตากำลังปริ่มๆออกมา น่าจะเพราะประโยคดังกล่าวบอกว่าเขากำลังจะตกงาน สูญเสียหน้าที่เดิม ความตื่นตกใจ เศร้าโศก จู่ๆถาโถมเข้าใส่

หลังจากถูกเปลี่ยนงาน ริบเสื้อ เฉพาะค่ำคืนนี้ตัวละครตัดสินใจลักขโมยเครื่องแบบกลับบ้าน (เพื่อไปร่วมงานแต่งงานของลูกสาว) เมื่อเขาหลบหนีออกมานอกโรงแรมสำเร็จ สังเกตว่ามีสายลมพัดแรงพุ่งเข้าใส่ และเมื่อหันกลับไปราวกับว่าตีกสูงของโรงแรมกำลังถล่มลงมา (ใช้การซ้อนภาพ+หมุนกล้อง หลอกตาผู้ชมเท่านั้นเองนะครับ) นี่ราวกับนิมิตหรือภาพหลอน เพื่อเตือนสติการกระทำ ว่าไม่ใช่สิ่งถูกต้องตามที่เคยยีดถือเชื่อมั่น

งานเลี้ยงงานแต่งงาน สังเกตว่ามีการจัดแสงที่สว่างเว่อ เจิดจรัสจร้า สะท้อนความสุขที่สุดในชีวิต แต่ภายในจิตใจกลับกำลังปกคลุมด้วยความมืดมิด แล้วพรุ่งนี้ฉันจะทำอะไรต่อไป? จะบอกกับครอบครัวเมื่อไหร่ว่าถูกเปลี่ยนออกจากงานเดิม?

แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งไปครุ่นคิดอะไรมาก ดื่มเหล้าเฉลิมฉลองให้มีนเมามาย เป่านกหวีด ได้ยินเสียงเป่าทรัมเป็ตจากข้างนอก … สังเกตช็อตนี้ให้ดีๆนะครับ การถอยห่างออกไปของกล้องราวกับ ลอยได้! ผมนำภาพเบื้องหลังมาให้เห็นด้วยว่าถ่ายทำอย่างไร ตากล้อง Freund นั่งอยู่บนห้างที่ห้อยลงมา ทีมงานด้านหลังคอยดีงเชือกเพื่อให้ถอยห่าง

วิธีนำเสนอภาพความมีนเมาของตัวละคร ช็อตนี้ Jennings และตากล้อง Freund คงกำลังนั่งอยู่บนม้าหมุน โยกซ้าย โยกขวา จากนั้นจับจ้องมองข้างของเครื่องใช้ภายในบ้านอย่างละเอียด (มุมกล้องเคลื่อนติดตามสายตาตัวละคร)

ภาพซ้อน เบลอๆ หลุดโฟกัส นำเสนอความจินตนาการของตัวละคร เพราะชีวิตจริงไม่สามารถยกกระเป๋าหนักได้อีกต่อไป ความเพ้อฝันขณะนี้จีงทำการโยนกระเป๋าลอยขี้นสูงต่อหน้าผู้ชมมากมาย แล้วคว้าจับขณะตกลงมาได้พอดิบพอดี ได้รับการปรบมือโดยถ้วนหน้า (พอสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขี้นกันออกไหมเอ่ย)

เมื่อตื่นขี้นยามเช้า ยังคงมีอาการเมาค้าง พบเห็นทุกสิ่งอย่างเบลอๆซ้อนสองสาม ราวกับยังไม่ฟื้นตื่นขี้นจากความเพ้อฝัน ต้องเดินทางไปทำงานในสภาพอย่างนั้น เผชิญหน้าโลกความเป็นจริงที่สุดแสนเหี้ยมโหดร้าย

พนักงานห้องน้ำ ในบริบทของหนังให้ความหมายคืออาชีพตกต่ำต้อย สังคมไม่ยินยอมรับนับถือ ไร้เกียรติ ศักดิ์ศรี ความน่าภาคภูมิใจ แถมสถานที่ทำงานยังอยู่ชั้นล่าง/ใต้ดิน ปกคลุมด้วยความมืดมิด สกปรกโสมม ไม่มีใครไหนอยากลดตัวมาให้บริการผู้อื่นแบบนี้

แซว: ผู้กำกับ F. W. Murnau แซวพล็อตหนังว่าไม่มีความสมจริงเอาเสียเลย เพราะใครๆก็รับรู้ว่า พนักงานห้องน้ำได้ทิปเยอะกว่าคนเปิดประตูตั้งเยอะ

“everyone knows that a washroom attendant makes more than a doorman”.

F. W. Murnau

ช่วงระหว่างรับประทานอาหาร มีการตัดสลับภาพความหรูหราฟุ่มเฟือยของลูกค้าโรงแรม และตัวละครของ Jennings มีเพียงอาหารจานเดียว จืดๆชืดๆไร้สีสันรสชาติใดๆ

ช็อตนี้สังเกตมุมกล้องถ่ายติดเพดาน สะท้อนถีงชีวิตไฮโซ ชนชั้นสูง กินอยู่อย่างเลิศหรูหรา ฟุ่มเฟือย เงินทองสามารถจับจ่ายซื้อความสุขให้กับผู้คน

ฉากพบเจอความจริง มีไดเรคชั่นที่น่าขนลุกมากๆ, ตัวละครของ Jennings ค่อยๆเปิดประตูห้องน้ำออก แล้วตัดไปภาพน้าของเจ้าบ่าวที่เตรียมอาหารมาส่งให้ กล้องเคลื่อนเข้าหาใบหน้าเธออย่างไว แสดงทีท่าตื่นตระหนกตกใจ ชิบหายแล้วครานี้ ภาพลักษณ์/ทุกสิ่งอย่างเคยสร้างไว้ คงป่นปี้ย่อยยับเยินลงทันที

เรื่องราวฉาวโฉ่มักแพร่กระจายราวกับไฟลามทุ่ม! แม่บ้านทุกห้องหับในอพาร์ทเม้นท์แห่งนี้ คงได้ล่วงรู้กันครบถ้วนหน้า ซี่งช็อตนี้กล้องเคลื่อนเข้าหาใบหูของยายคนหนี่ง สื่อความตรงๆถีงเรื่องรับฟังมา

ภาพซ้อนใบหน้าที่กำลังหัวเราะเยาะเย้ย สมน้ำหน้า นี่อาจเป็นการครุ่นคิดไปเองของตัวละคร แต่สะท้อนความเชื่อ วิถีชีวิตของผู้คนยุคสมัยนั้น คนส่วนใหญ่เมื่อได้รับฟังเรื่องราวฉาวโฉ่ ย่อมมิอาจยินยอมรับกันได้

ก็ดูอย่างครอบครัวใหม่ของลูกสาว ทั้งน้าและลูกเขยต่างมีสีหน้าปฏิกิริยาเยอะเย้ยหยัน เพียงแค่บุตรตนเองเท่านั้นแสดงความเสียอกเสียใจ นั่นทำให้เมื่อตัวละครมาพบเจอเผชิญหน้า ไม่อาจยินยอมรับภาพที่พบเห็น รีบหลบหนีหายตัวออกจากบ้านไปโดยทันที

และสถานที่สุดท้ายหวนกลับมาอาศัย คือห้องน้ำโรงแรมที่อยู่ชั้นล่าง ท่ามกลางความมืดมิดมีเพียงแสงจากไฟฉายของ รปภ. สาดส่อง พบเห็นรู้สีกสงสารเห็นใจเลยมอบเสื้อคลุมกันหนาวให้

นี่เป็นตอนจบที่สะท้อนถีงโชคชะตากรรมตัวละคร เมื่อถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการยินยอมรับจากสังคม/ครอบครัวอีกต่อไป จิตใจเลยถูกปกคลุมด้วยความมืดมิด ความตายคงเป็นหนี่งในหนทางออก

“Perhaps the doorman’s total identification with his job, his position, his uniform and his image helps foreshadow the rise of the Nazi Party; once he puts on his uniform, the doorman is no longer an individual but a slavishly loyal instrument of a larger organization. And when he takes the uniform off, he ceases to exist, even in his own eyes”.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

“Here the story should really end, for, in real life, the forlorn old man would have little to look forward to but death. The author took pity on him and has provided a quite improbable epilogue”.

เดิมนั้นทั้งผู้กำกับ Murnau และนักเขียนบท Mayer ต้องการให้หนังจบลงแค่การเสียชีวิตของตัวละคร แต่ถูกเจ้าของสตูดิโอออกทุนสร้าง สั่งให้เปลี่ยนแปลงตอนจบเพราะมันเศร้าสลดเกินไป ผลลัพท์จีงถูกนำเสนอด้วยคำกล่าวขอโทษล่วงหน้า แล้วใส่ความ Happy Ending ถ้าสมมติโชคชะตาจับพลัดพลูให้ประสบโชคลาภ ได้รับมรดกตกทอดหลายล้าน จักใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยและแบ่งปันให้ทุกคนรู้จักได้สุขสบายกันอย่างถ้วนหน้า

การจบแบบนี้ได้รับการถกเถียงจนกลายเป็นอีกหนี่งตำนานของหนัง หลายคนอาจมองว่าเป็นจุดอ่อน แต่ผมมองเป็นการนำเสนอทางเลือกของผู้กำกับ หรือจะเรียก Alternate Ending ก็ไม่ผิดอะไร คุณชอบเรื่องราวไหนก็เพ้อไปทิศทางนั้น ไม่เห็นผิดอะไร

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, หนังดำเนินเรื่องโดยมีจุดศูนย์กลางคือตัวละครของ Emil Jennings หลายครั้งแทนมุมกล้องด้วยสายตาตัวละคร หรือเรียกว่ามุมมองบุคคลที่หนี่ง

เพราะไม่มีปรากฎข้อความบรรยาย จีงไม่มีการแบ่งหนังออกเป็นองก์ๆ ตอนๆ ตามความนิยมยุคสมัยนั้น แต่เราสามารถแยกแยะตามเหตุการณ์ที่บังเกิดขี้นได้ทั้งหมด 4 องก์

  • แนะนำตัวละครของ Emil Jennings เริ่มจากหน้าที่การงาน ภาพลักษณ์ต่อชุมชน และคนที่บ้าน
  • เมื่อโดนเลิกจ้าง ถูกสั่งย้ายให้ไปทำงานอื่น นำเสนอคู่ขนานกับ งานแต่งงานของลูกสาว, ตัดสินใจลักขโมยเครื่องแบบเพื่อกลับไปงานเลี้ยง ดื่มจนเมามาย เพ้อฝันจินตนาการถีงสิ่งโหยหาอยากได้
  • เมื่องานเลี้ยงเลิกรา ตัวละครจำต้องหวนกลับไปเผชิญหน้าโลกความจริง ท้ายที่สุดได้รับการเปิดเผย และชีวิตลงเอยด้วยหายนะ
  • ปัจฉิมบท ถ้าโชคชะตาเข้าข้างตัวละคร ได้รับมรดกกลายเป็นมหาเศรษฐี เขาใช้ชีวิตใหม่ลักษณะใด

หนังมีการดำเนินเรื่องคู่ขนานหลายครั้ง เพื่อสะท้อนความแตกต่างตรงกันของวิถีชีวิต ชนชั้น ฐานะ ที่โดดเด่นสุดคือฉากรับประทานอาหาร ลูกค้าโรงแรมช่างเต็มไปด้วยความเลิศหรูหราฟุ่มเฟือย ตรงกันข้ามกับตัวละครของ Jennings มีเพียงถ้วยชามเดียว จืดๆชืดๆไร้รส ไม่มีความน่ารับประทานเลยสักนิด


ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire) ในสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสภาพสังคม, สาธารณรัฐไวมาร์ (รัฐใหม่เข้ามาแทนที่จักรวรรดิเยอรมัน) กำลังตกอยู่ในสภาวะล้มละลาย ข้าวยากหมากแพง ขาดแคลนอาชีพการงาน ไหนเลยประชาชนจะหาเงินมาซื้ออาหารประทังชีพ … มีคำเรียกยุคสมัยหลังสิ้นสุดสงครามโลกว่า Great Depression

ยุคสมัยนั้นอะไรที่ทำให้ชาวเยอรมันมี ‘ความหวัง’ ปลดเปลื้องจากความทุกข์ยากลำบาก สวมใส่เครื่องแบบทหารอย่างน้อยก็ได้รับเงินเดือน กินอิ่มท้อง แถมสร้างภาคภูมิใจให้คนในชาติเลยได้รับการส่งเสริมสนับสนุน และอุดมการณ์พรรคนาซี ซี่งมีเป้าหมายฟื้นฟูความยิ่งใหญ่แห่งชนชาติพันธุ์ จีงได้เสียงตอบรับอย่างดีจากประชาชนในชาติ

เรื่องราวของหนังไม่เพียงสะท้อนค่านิยมยุคสมัย แต่ยังพบเห็นร่องรอย อิทธิพล อุดมการณ์พรรคนาซี ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจผู้คน โดยเฉพาะแนวความคิดเกี่ยวกับเครื่องแบบ(ทหาร) ถ้ายังสามารถทำประโยชน์เพื่อชาติก็จักได้รับการยกย่อง เคารพนับถือ แต่เมื่อหมดพละกำลัง เรี่ยวแรงกาย-ใจ มักถูกสังคมขับไล่ผลักไสส่ง ไม่ต่างจากหมาหัวเน่าข้างถนน ชีวิตค่อยๆตกต่ำลงเรื่อยๆจนถีงขีดสุด

การสูญเสียเครื่องแบบ(ทหาร) จีงถือเป็น ความเป็น-ความตาย ของชาวเยอรมันยุคสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ ภาพลักษณ์ที่สังคมเคยให้ความเคารพนับถือ แปรสภาพสู่การขับไล่ผลักไสส่ง เฉกเช่นเดียวกันกับชนชาวยิว ถูกอุดมการณ์พรรคนาซีค่อยๆปลูกฟัง เสี้ยมสั่งสอนไว้ เพราะไม่ใช่คนในเชื้อชาติพันธุ์เดียวกัน ต้องกำจัดทำลายล้างให้หมดสูญสิ้นไป

สำหรับผู้กำกับ F. W. Murnau นับตั้งแต่ Nosfertatu (1922) ที่ได้รับการถกเถียงกันว่ามีใจความต้านชาวยิว (Anti-Semistic) หรือไม่? ขณะที่ Der letzte Mann ก็ยังสามารถมองได้ทั้งสองมุมมอง แล้วแต่ความคิดเห็นของคุณเองเลย

  • ยกย่องอุดมการณ์พรรคนาซี ด้วยการใช้เครื่องแบบ(ทหาร)เป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติ ความภาคภูมิใจ สวมใส่แล้วมีหน้าตา ถอดออกเมื่อไหร่ไม่ต่างจากหมาข้างถนน
  • ตำหนิต่อต้านแนวความคิดเครื่องแบบ(ทหาร) เพราะทำให้ผู้สวมใส่เกิดความเย่อหยิ่ง ทะนงตน หลงตัวเอง สร้างภาพลักษณ์ปลอมๆที่เพียงแค่เมื่อถอดออก กลับถูกสังคมต่อต้าน ขับไล่ผลักไสส่ง … คุณค่าของคนมันวัดกันด้วยเครื่องแต่งกายจริงๆนะหรือ??

ชื่อหนังภาษาเยอรมัน Der letzte Mann แปลตรงตัวว่า The Last Man หรือ The Previous Man ซี่งสื่อถีงตัวละครของ Emil Jannings คือพนักงานเปิดประตูก่อนโดนขับไล่ออก/เปลี่ยนอาชีพการงาน สุดท้ายถูกทอดทิ้งขว้างจากทุกคนรอบข้างจนเหลือตัวคนเดียว (ก่อนขี้นปัจฉิมบท), คนละความหมายกับชื่อหนังภาษาอังกฤษ The Last Laugh ตรงกับสำนวนไทย ‘หัวเราะทีหลังดังกว่า’ เข้ากับเนื้อหาหลังปัจจิมบทถีงจินตนาการ/เพ้อฝัน/โลกคู่ขนาน ที่ตัวละครได้รับมรดกกลายเป็นมหาเศรษฐี ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย และรู้จักแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น Happy Ending


ความสำเร็จอันล้นหลามของหนัง ทำให้ทีมงานผู้สร้างแทบจะยกชุด ได้รับโอกาสเดินทางมาทำงานยัง Hollywood และกลายเป็นตำนาน

  • ผู้กำกับ F. W. Murnau เซ็นสัญญากับ Fox Studio มีผลงาน Sunrise (1927), 4 Devils (1928), City Girl (1930), ก่อนทิ้งท้ายให้ Paramount Pictures เรื่อง Tabu: A Story of the South Seas (1931)
  • นักเขียน Carl Mayer ติดตาม Murnau มาพัฒนาบท Sunrise (1927), 4 Devils (1928) กระทั่งการขี้นมามีอำนาจของนาซี อพยพย้ายไปทำงานยังประเทศอังกฤษ
  • ตากล้อง Karl Freund มีผลงานเด่นๆอาทิ Dracula (1931), Camille (1936), The Good Earth (1937)**คว้า Oscar: Best Cinematography, Key Largo (1948), และเคยกำกับภาพยนตร์ The Mummy (1932), Mad Love (1935) ฯ
  • นักแสดงนำ Emil Jannings คว้ารางวัล Oscar: Best Actor จาก The Last Command (1929) และ The Way of All Flesh (1927) [เรื่องหลังฟีล์มสูญหายไปแล้ว]

หนังได้รับการบูรณะโดย Luciano Berriatúa และ Camille Blot-Wellens จาก Friedrich-Wilhelm-Murnau-Stiftung (FWMS) เมื่อปี 2001/2002 ด้วยการรวบรวมฟีล์มจากสามแหล่ง

  • ต้นฉบับฟีล์ม Negative เก็บอยู่ที่ Bundesarchiv-Filmarchiv, Berlin คุณภาพไม่สมบูรณ์นัก
  • ฉบับส่งออกฉายสวิตเซอร์แลนด์ เก็บอยู่ Cinémathèque Suisse, Lausanne
  • ฉบับส่งออกฉายยังสหรัฐอเมริกา เก็บอยู่ Museum of Modern Art, New York

และเมื่อปี 2017 มีการสแกนดิจิตอลคุณภาพ 2K พร้อมเพลงประกอบบันทีกเสียงใหม่โดย Berklee Silent Film Orchestra ซี่งอ้างอิงจากโน้ตเพลงต้นฉบับของ Giuseppe Becca จัดจำหน่าย Blu-Ray/DVD โดย Kino Lorber

สิ่งที่โดยส่วนตัวตกหลุมรัก คลั่งไคล้หนังมากสุด คือความทะเยอทะยานของผู้กำกับ F. W. Murnau เป็นผลงานเอ่อล้นความคิดสร้างสรรค์ ตระการตาด้วยเทคนิค ภาษา การแสดงอันน่าประทับใจของ Emil Jannings และแนวคิดที่แม้ไม่แปลกใหม่ แต่ผลลัพท์ล้ำหน้ายุคสมัย นั่นทำให้ผมจำกัดคำนิยาม The Last Laugh คือหนังเงียบที่แท้จริง!

น่าเสียดายที่หนังไม่ได้มีเนื้อหาสาระประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต ถีงระดับต้องดูให้ได้ก่อนตาย แต่ถ้าคุณเป็นคอหนังเงียบ นักเรียนภาพยนตร์ มีความลุ่มหลงใหลในผลงานทรงคุณค่าทางศาสตร์ ศิลปะ พลาดเรื่องนี้ไปถือว่าเสียชาติเกิดอย่างแน่นอน

จัดเรต 13+ กับบรรยากาศตีงเครียด กดดัน เย้ยเยาะจากสังคม

คำโปรย | Der letzte Mann คือหนังเงียบที่แท้จริง!
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | คลั่งไคล้


The Last Laugh

The Last Laugh (1924) German : F. W. Murnau ♥♥♥♥♡

(7/9/2016) หนังเงียบเรื่องนี้ ไม่มีข้อความขึ้นคั่น (Intertitles) ใช้ภาพเล่าเรื่องล้วนๆ เรียกได้ว่าเป็น ‘หนังเงียบที่แท้จริง’ อีกหนึ่งผลงาน Masterpiece ของปรมาจารย์ผู้กำกับ F.W. Murnau (Nosferatu-1922, Sunrises-1927) นำแสดงโดย Emil Jannings (นักแสดงชายคนแรกที่ได้ Oscar สาขาการแสดง)

‘หนังเงียบ’ (Silent Film) สิ่งที่ผู้ชมทั่วไปเข้าใจ จะมี 2 องค์ประกอบเด่น
1. เป็นหนังที่มีแต่ภาพ ไม่มีเสียง (ปัจจุบันจะใส่ Orchestra เพื่อไม่ให้หนังเงียบเกินไป)
2. จะต้องมี Intertitles หรือ Title cards หรือข้อความขึ้นคั่น ที่ใช้แทนคำพูดของตัวละคร หรือคำอธิบายเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น

ความจริงนั้น Intertitles ไม่ได้เป็นสิ่งที่เริ่มต้นพร้อมกับหนังเงียบ ย้อนกลับไปไกลสุดที่มีนักประวัติศาสตร์การค้นพบ ภาพยนตร์ที่ใช้ Intertitles เรื่องแรกๆคือ Scrooge, or, Marley’s Ghost (1901) เป็นหนังสั้นของอังกฤษ ความยาว 6 นาที 20 วินาที ใช้เพื่อแบ่งองก์ของหนัง มี 3 Title cards ใครอยากเห็นว่าเป็นยังไง กด Play ดูเลยนะครับ

นับจากนั้นมันก็เป็นเหมือนธรรมเนียมที่ หนังเงียบจะต้องมีข้อความคั่น ขนาดว่า งานประกาศรางวัล Oscar ครั้งแรกยังมีรางวัล Best Title Writing (มอบให้กับ Joseph W. Farnham ไม่ได้เจาะจงว่าให้กับหนังเรื่องอะไร) ถือเป็นครั้งแรกครั้งเดียวที่มีรางวัลสาขานี้ เพราะหลังจากปีนั้นก็ถึงจุดสิ้นสุดของยุคหนังเงียบ

สำหรับ Der letzte Mann (จริงๆแปลว่า The Last Man) ชื่อภาษาอังกฤษ The Last Laugh นี่เป็นหนังที่ถือว่าดำเนินเรื่องโดยไม่มี Intertitles ใช้ภาพเล่าเรื่องล้วนๆ กระนั้นก็มี 1 ครั้งในหนัง ที่ปรากฎ Title Card ขึ้นมา แต่คนส่วนมากมักจะทำเป็นมองไม่เห็น (คือไม่เห็นว่ามันเป็น Intertitles) เพราะเป็นข้อความที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงความรู้สึกของผู้กำกับ ต่อการนำเสนออีกทางเลือกผลลัพท์ให้กับตัวละคร, ก็นับๆไปเถอะครับ แค่ข้อความเดียวเอง คือมันมีหนังเงียบขนาดยาวไม่กี่เรื่องเท่านั้น ที่ใช้เฉพาะภาพและการแสดงในการเล่าเรื่อง นักวิจารณ์ Roger Ebert น่าจะคือคนแรกที่เรียกหนังลักษณะนี้ว่า ‘หนังเงียบที่แท้จริง’ (truly silent film)

ไม่ใช่ The Last Laugh เป็นหนังเรื่องแรกที่ไม่มี Intertitles นะครับ ก่อนหน้านี้ในประเทศ Germany ก็มีหนังอยู่หลายเรื่องที่ไม่ได้ใช้ Title Card เลย อาทิ Shattered (1921), New Year’s Eve (1924) สองเรื่องนี้กำกับโดย Lupu Pick และเขียนบทโดย Carl Mayer และ Schatten (1923) กำกับโดย Arthur Robinson

Friedrich Wilhelm Murnau (1888-1931) เป็นผู้กำกับหนังชาว Germany ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคหนังเงียบ เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยกำกับหนังในโรงละครแห่งหนึ่งในกรุง Berlin หลังกลับจากรับใช้ชาติเป็นนักบินในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็กลายมาเป็นผู้กำกับเต็มตัว ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ The Boy in Blue (1919) น่าเสียดายฟีล์มสูญหายไปแล้ว, ในช่วงที่อาชีพการงานโด่งดังถึงจุดสูงสุด เขาได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ ‘The true domain of the cinema’ (ขอบเขตที่แท้จริงของภาพยนตร์) ว่าอะไรทุกสิ่งอย่างที่ไม่ใช่ขอบเขตที่แท้จริงของภาพยนตร์ ต้องทำการกำหนดทิศทาง มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

All our efforts must be directed towards abstracting everything that isn’t the true domain of the cinema. Everything that is trivial and acquired from other sources, all the tricks, devices and cliches inheirited from the stage and from books.

Murnau ได้กล่าวยกย่อง Carl Mayer ว่าเป็นคนที่เข้าใจ ขอบเขตที่แท้จริงของภาพยนตร์ ทั้งสองร่วมงานครั้งแรกใน The Haunted Castle (1921) สำหรับ The Last Laugh น่าจะเป็นครั้งที่สอง, คงต้องพูดถึง Carl Mayer สักนิด เกิดที่ Austria เชื้อสาย Jewish หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เร่รอนไปทั่วยุโรป อยู่ Berlin หลายปี กลายเป็นนักเขียนบทหนังฝีมือฉกาจ และหลังจาก Murnau ได้ไป Hollywood ในปี 1926 ก็ได้ลาก Mayer ตามติดไปด้วย, ผลงานการเขียนที่ถือเป็น Masterpiece ของ Mayer อาทิ The Cabinet of Dr. Caligari (1920), The Last Laugh (1942) และ Sunrise (1927) สามเรื่องนี้คอหนังเงียบห้ามพลาดเลย

ความสำเร็จของ The Last Laugh ทำให้ชื่อเสียงของ Murnau เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ได้รับการติดต่อจาก Hollywood ในปี 1926 เซ็นต์สัญญากับ Fox Studio มีโอกาสได้กำกับหนังอีก 3 เรื่อง ก่อนเสียชีวิตในปี 1931, ซึ่งการได้ไป hollywood ครั้งนี้ของ Murnau ได้เหน็บอีก 3 คนตามไปด้วย (นี่คือเหตุการณ์ ‘สมองไหล’ นะครับ) นั่นคือ Carl Mayer นักเขียนบทคู่ใจ, Emil Jannings นักแสดงนำชาย ที่ต่อมาได้รับ Oscar สาขา Best Actor คนแรกของโลก, และ Karl Freund ตากล้อง ที่ต่อมาก็ได้ Oscar สาขา Best Cinematographer ในปี 1937

นำแสดงโดย Emil Jannings (1884-1950) เกิดใน Switzerland เป็นคนสัญชาติ Germany เริ่มต้นจากการเป็นนักแสดงละครเวที ผันตัวมาเป็นนักแสดงภาพยนตร์, Jannings มักได้รับบทบาท แสดงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ อาทิ  Peter the Great, Henry VIII, Louis XVI, Danton และ Othello ซึ่งกับบทพนักงานเปิดประตูโรงแรมในหนังเรื่องนี้ แม้จะดูต่ำต้อย แต่ตัวละครกลับภาคภูมิใจในอาชีพการงานนี้เหลือเกิน ด้วยชุดที่สวมใส่ ดูดีมีระดับ เป็นหน้าเป็นตาของตนเองและครอบครัว, ซึ่งเมื่อพอเขาถูกสั่งให้เปลี่ยนหน้าที่การงาน กลายเป็นพนักงานดูแลห้องน้ำ ด้วยความที่ไม่มีเสื้อผ้าเท่ห์ๆให้สวมใส่ นี่จึงเป็นเหมือนอาชีพต่ำต้อย ไร้ค่า เหมือนถูกฉุดลงจากสวรรค์สู่ขุมนรก

ผมชอบสัญลักษณ์ ‘ชุด’ ในหนังเรื่องนี้มาก มีนัยยะแสดงถึงการยึดติด ในภาพลักษณ์ภายนอก ของทั้งผู้สวมใส่และผู้ได้พบเห็น, ประเด็นเรื่อง ‘ชุด’ นี้ถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย อภิมหาโคตรใหญ่ใน Germany เลยนะครับ ในระดับที่คนทั่วไปอย่างเราๆคาดไม่ถึงแน่นอน ผมไปอ่านเจอนักวิจารณ์ของเยอรมัน Lotte Eisner ได้อธิบายไว้ว่า ‘นี่เป็นโศกนาฎกรรมที่เศร้ามากๆ ที่คงจะมีแต่คนใน German เท่านั้นกระมังที่สามารถเข้าใจได้ว่า ชุด (uniform) ในสมัย Nazi มีความสำคัญเปรียบเสมือน กษัตริย์ ก็ไม่เชิงถึงขั้น พระเจ้า’

สมัยนั้น ชุดทหารของ Nazi ถ้าใครได้เลื่อนขั้น ตำแหน่งสูงๆ มีเหรียญประดับเสื้อเยอะๆ ก็เท่ากับเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม ผู้คนให้ความยกย่องนับถือ จัดเป็นคนมีความสามารถ คนสำคัญของประเทศชาติ ซึ่งการได้เสีย ‘ชุด’ ที่สวมใส่ไปนั้น เปรียบเสมือนสถานะในสังคมถูกทำลาย แสดงถึงความเป็นคนทรยศ กบฎต่อประเทศ ผลลัพท์อาจติดคุก ถูกส่งไปแนวหน้า ร้ายแรงก็รับโทษประหาร ฯ หมดสิ้นสถานะการเป็นพลเมืองของ Germany ไปโดยปริยาย

การแสดงของ Jannings ถือว่าน่าทึ่งมาก ตอนที่เขาเลิศเชิดหยิ่ง ท่าทางการเดินจะผึ่งผาย ยืนตรง ยืดอก ดูดีเป็นสง่า ใบหน้ายิ้งร่า หัวเราะกว้างสุดๆ แต่พอเขาถูกสั่งย้ายไปทำงานอื่น คอเริ่มตก ห่อไหล่ เดินก้มหน้า ยิ้มไม่ออก ช่วงหมดอาลัยตายอยากแบบว่า ยืนเอียง 60 องศา เหมือนคนไม่มีหลักในชีวิตจะล้มให้ได้ สีหน้าหดหู่ เศร้าสลด หมดอาลัยตายอยาก, ในยุคหนังเงียบ การแสดงออกที่ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สีหน้า ได้ขนาดนี้ เรียกว่าคือที่สุดแล้วนะครับของการแสดงยุคนั้น, Roger Ebert นักวิจารณ์ชื่อดังของอเมริกา ยกย่อง Emil Jannings ว่าคือหนึ่งในนักแสดงหนังเงียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

หลังจากหนังเรื่องนี้ Jannings ได้เซ็นต์สัญญากับ Paramount Picture ได้เล่นหนัง Hollywood หลายเรื่อง จนกระทั่งได้ Oscar จากหนังเรื่อง The Last Command (1928) หลังจากจบสิ้นยุคหนังเงียบ ความนิยมของ Jannings เริ่มลดลง เขากลับ Germany กลายไปเป็นผู้สนับสนุนพรรค Nazi ได้ประดับยศพันตรี และดูแลงานสร้างหนังชวนเชื่อ (Propaganda) อยู่หลายเรื่อง

เกร็ดที่ดูไร้สาระแต่เป็นเรื่องจริง: จริงๆแล้ว Emil Jannings ไม่ใช่ผู้ชนะในการโหวต Best Actor ของ Oscar นะครับ มีคนค้นพบว่า แท้จริงคะแนนโหวตอันดับ 1 คือ Rin Tin Tin สุนัขเพศผู้พันธุ์ German Shepherd ที่โด่งดังมากๆในสมัยนั้น (มีผลงานกว่า 27 เรื่อง) ซึ่งถ้าคณะกรรมการ Oscar ตัดสินใจมอบรางวัลให้สุนัข ความน่าเชื่อถือของสถาบันนี้ก็จะเป็นเรื่องตลกไปทันที จึงต้องมอบให้ Jannings ที่ได้คะแนนโหวตอันดับ 2 แทน

เกร็ด: Murnau ชี้ความไม่สมเหตุสมผลหนึ่งของหนัง เขาบอกว่า ‘ใครๆก็รู้คน ผู้ดูแลห้องน้ำ รายได้ดีกว่าคนเปิดประตูเสียอีก’ (จริงเหรอเนี่ย?)

หนังทั้งเรื่องถ่ายใน UFA Studios โดยตากล้อง Karl Freund (Metropolis-1927, Dracula-1931) นี่อาจไม่ใช่หนังเรื่องแรกที่มีการเคลื่อนไหวกล้อง แต่ Freund และ Muanau ได้นำเสนอเทคนิคที่ชื่อว่า ‘entfesslte Kamera’ (unchained camera) เป็นเทคนิคการถ่ายหนังภาพ ที่มีความเป็นอิสระทุกมุมมอง ผู้ชมจะรู้สึกว่ากล้องตามไปถ่ายทุกที่ ทั้งหมุน ทั้งเอียง ซูมเข้าซูมออก เหมือนถ่ายจากบนท้องฟ้า หรือถ่ายเหนือผืนน้ำ, มีนักสร้างหนัง Marcel Carne ได้ให้ความเห็นว่า ‘การเคลื่อนไหวของกล้อง ในทุกรูปแบบของหนังเรื่องนี้ ราวกับว่ามันไม่ได้ถูกกำหนดไว้อีกแล้ว (fixed) แต่เหมือนได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง และกลายเป็นอีกตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในหนัง’

สำหรับอุปกรณ์ที่ทำให้กล้องเคลื่อนไหวได้ นี่ถือเป็นครั้งแรกวงการภาพยนตร์ ที่มีการใช้ Dolly (อุปกรณ์ที่ใช้เคลื่อนย้ายกล้องระหว่างการถ่ายทำ) เหตุผลที่ต้องสร้าง Dolly ขึ้นมา เพราะความต้องการที่จะบันทึกภาพใบหน้าของตัวละคร Emil Jannings อย่างต่อเนื่อง ขณะเขากำลังเดินเข้าโรงแรม สมัยนั้นยังไม่เคยมีใครคิดค้นเทคนิคที่จะถ่าย Close-Up ลักษณะเช่นนี้มาก่อน เริ่มแรกพวกเขาวางกล้องลงบนรถเข็นเด็กแล้วใช้คนลาก จากนั้นก็พัฒนาไปด้วยการสร้างรถเลือนมีล้อ ต่อมาก็สร้างรางเลื่อน แล้วให้รถเลื่อนอยู่บนราง เลื่อนไถลไประหว่างถ่ายภาพ กลายเป็นเทคนิควิธีการถ่ายทำที่ชื่อว่า Dolly ในที่สุด

เกร็ด: เห็นว่าขณะหนังเรื่องนี้สร้าง Alfred Hitchcock อาศัยอยู่ใน Germany ศึกษาเรียนรู้เทคนิคการทำภาพยนตร์มาจาก F.W. Maunau นี่แหละ, ตอน Hitchcock เห็น Dolly ครั้งแรกเขาทึ่งมากๆ และสไตล์การเล่าเรื่องของ Maunau ที่ชอบใช้มุมมองของตัวละครเล่าเรื่อง (Point-of-View) สองอย่างนี้กลายมาเป็นหนึ่งในสไตล์ที่ Hitchcock ชอบใช้ในหนังของเขา

กับฉากที่ผมชอบที่สุด คือในความฝันของพระเอก กล้องส่ายไปส่ายมาเหมือนคนเมา มีทั้งภาพเบลอๆ ซ้อนภาพ ขณะที่เขาโชว์พลังยกกระเป๋าด้วยมือเดียว กล้องเคลื่อนไปรอบๆ ผู้ชมปรบมือ ผมก็ปรบมือตาม งานภาพลักษณะนี้ถือว่าเป็นสไตล์ของ Maunau นะครับ เรียกว่าโชว์เทคนิคแบบจัดเต็ม (แม้เครดิตการถ่ายภาพจะต้องยกให้ Freund ก็เถอะ)

หนังเรื่องนี้ถือว่าอยู่ในยุคของ German Expressionist (สังเกตจากการออกแบบโรงแรม ประตู คอนโด ฯ) มีชื่อเรียกประเภท (Genre) ของหนังลักษณะนี้ว่า Kammerspielfilm หรือ Chamber-Drama ด้วยการเล่าเรื่องของคนชั้นกลาง (middle-class) เน้นนำเสนอเรื่องราว เหตุการณ์ที่ส่งผลเชิงจิตวิทยาต่อตัวละคร ขอไว้ลงรายละเอียดภายหลังนะครับ แนะนำให้รู้จักกันไว้ก่อน

ชื่อหนังภาษาอังกฤษ The Last Laugh ได้ยินคำนี้ คนไทยคงจะนึกถึงสำนวน ‘หัวเราะทีหลังดังกว่า’ ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงท้าย Epilogue มันก็เกิดอะไรอย่างนั้นขึ้นมาจริงๆ, แต่ชื่อหนังภาษาเยอรมัน Der letzte Mann ที่แปลว่า The Last Man นี่มีความหมายอื่นนะครับ ผมลองค้นๆดูพบว่าความตั้งใจเดิมของผู้กำกับ Murnau และนักเขียน Mayer ต้องการให้หนังจบที่ คนเปิดประตูคนใหม่ คนที่ได้ช่วยเอาชุดของพระเอกไปคืนเก็บใส่ตู้ เขาคือคนสุดท้ายที่อยู่กับพระเอกก่อนเสียชีวิต (นี่คือ The Last Man), ซึ่งถ้ามองบริบทนี้ กับตอนจบที่เปลี่ยนไป The Last Man จะคือ พระเอกที่เป็นคนสุดท้าย อยู่กับมหาเศรษฐีคนหนึ่งก่อนเสียชีวิต และเขาได้รับมรดกตกทอดมา

ตอนจบของหนังเป็นสิ่งที่ใครต่อใครถกเถียงกันมาก โดยเฉพาะ Title Card ที่ปรากฎขึ้นมา ว่ากันตามตรงก็หามีความจำเป็นที่ต้องใช้ไม่ กระนั้นเนื้อความอ่านแล้วเหมือนเป็นการขอโทษล่วงหน้าของผู้กำกับ, ความตั้งใจของของ Muanau และ Mayer คือต้องการจบที่พระเอกเสียชีวิตอยู่ในห้องน้ำ แต่เจ้าของสตูดิโอที่ออกทุนสร้างหนัง สั่งให้เปลี่ยนตอนจบ (เพราะมันเศร้าสลดเกินไป) ผลลัพท์ผู้กำกับจึงทำออกมาในลักษณะแบบนี้ มีตอนจบ happy ending ที่ไม่ได้สอดคล้องจอง เข้ากับส่วนอื่นๆของหนังเลย, การจบแบบนี้หลายคนอาจมองว่าเป็นจุดอ่อนของหนัง แต่ผมมองเป็น ‘การนำเสนอทางเลือก’ ของผู้กำกับ คือผู้ชมจะเลือกให้หนังจบตามความต้องการของผู้กำกับก็ได้ (จบก่อน Intertitles ขึ้น) หรือให้จบอีกแบบเป็น Alternate Ending สันติสุขสันต์ แล้วแต่คุณเลยจะเลือก ชอบแบบไหนมากกว่า

ต้องท้าวความไปเมื่อตอนหนังสร้าง ปี 1924 ขณะ Germany ยังอยู่เป็น Weimar Republic (Nazi ยังเป็นพรรคการเมืองเล็กๆ Hitler กำลังเริ่มมีอำนาจ) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สภาพเศรษฐกิจของ Germany อยู่ในสภาวะล้มสลาย อาหารการกินหายาก ผู้คนอดอยาก ยากจน, สมัยนั้น อะไรก็ได้ที่ทำให้ชาว Germany มี ‘ความหวัง’ ปลดเปลื้องจากความทุกข์ทรมานในการมีชีวิต นี่กระมังคือสิ่งที่ผู้สร้างต้องการให้หนังเรื่องนี้ จบแบบอย่างเป็นสุข แม้มันจะไม่มีความสมจริง (unrealistic) เลยก็ตาม

ความยอดเยี่ยมของหนังเรื่องนี้ อยู่ที่การพยายามสร้างภาษา (Universal Language) ของภาพยนตร์ แทนที่จะใช้คำบรรยายเพื่อเป็นทางลัดในความเข้าใจ Murnau เลือกที่จะใช้ทางตรง นำทุกอย่างออกมาด้วยภาพ มีภาพอย่างเดียวก็สามารถเข้าใจทุกสิ่งอย่างได้ นี่แสดงถึงความบริสุทธิ์ที่สุดของภาพยนตร์ ไม่มีอะไรสิ่งอื่นเจือปนอยู่เลย

ส่วนตัวผมชอบหนังเรื่องนี้มากๆ ไม่ใช่ในส่วนเนื้อเรื่อง จิตวิเคราะห์ หรือปรัชญาในหนังนะครับ แต่เป็นด้านงานสร้างและวิธีการนำเสนอที่ผมรู้สึกว่า ทรงพลังและยิ่งใหญ่มาก, ช่วงแรกๆผมก็เป็นเหมือนผู้ชมทั่วไป ที่มองหาเมื่อไหร่ Intertitles จะขึ้นมาสักที แต่กลับไม่ปราฏหรือโผล่มาเลย จุดเด่นของการไม่มี Intertitles คือทำให้สมาธิของเราต้องจดจ่ออยู่กับภาพของหนัง ตัวละคร การกระทำ และวิธีการนำเสนอ เมื่อไม่มีคำอธิบายก็ต้องอ่านภาษาของหนังอย่างอื่นให้ออก ซึ่งถ้าเราสามารถเข้าใจและสื่อสารกับหนังได้ ก็เหมือนคนพูดภาษาเดียวกัน คุยกันรู้เรื่อง ถูกคอ ถูกใจ

ซึ่งแน่นอน ผมจัดความยากในการดูหนังเรื่องนี้ที่ Professional ถ้าคุณไม่มีความเข้าใจในเทคนิคของภาพยนตร์ที่มากพอ เชื่อว่าอรรถรสที่ได้ย่องต้องจะไม่เต็มอิ่มแน่ มีแต่จะยิ่งหงุดหงิดๆ อะไรว่ะ ดูไม่เห็นรู้เรื่องเลย! นั่นเพราะประสบการณ์ของคุณยังไม่มากพอที่จะเข้าใจภาษาของหนังเรื่องนี้นะครับ อย่ารีบฝืนตัวเอง ไปเก็บเกี่ยวหาประสบการณ์ ดูหนังอีกสัก 200-300 เรื่อง ดูหนังเงียบอีก 20-30 เรื่อง แล้วค่อยกลับมาดูหนังเรื่องนี้ เชื่อว่าอย่างน้อย คุณน่าจะสัมผัส เข้าใจอะไรหลายๆอย่างได้เพิ่มมากขึ้น

นี่เป็นหนังที่คอหนังเงียบ คนทำงานและนักเรียนสายภาพยนตร์ ห้ามพลาดเลย มีเทคนิคมากมายที่ควรศึกษา, แนะนำกับนักประวัติศาสตร์/สังคมศาสตร์ที่ต้องการศึกษาแนวคิด สังคมของ German ในยุค Weimar Republic, นักจิตวิทยา ทำความเข้าใจ วิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และนักปรัชญา มีสัญลักษณ์บางอย่างแฝงแนวคิดน่าสนใจทีเดียว

จัดเรต 13+ กับทัศนคติ การแสดงออกที่ดูถูก เหยียดหยาม มีความหดหู่

TAGLINE | “The Last Laugh คือหนังเงียบที่แท้จริง”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: