ไม่ใช่แค่สายตาตัวละครที่กำลังค่อยๆมืดบอด ถูกทรยศหักหลัง ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในกองถ่ายที่ Björk อ้างว่าถูกแตะอั๋ง ลวนลาม คุกคามทางเพศโดยผกก. Lars von Trier, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
หมวดหมู่: european
european film, british, french, italian, german, russian, swedish, etc.
ภาพยนตร์ลำดับที่สองของกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เต็มไปด้วยความอื้อฉาว บ้าบอคอแตก เมื่อคนปกติแสร้งทำเป็นคนบ้า แล้วไปกลั่นแกล้ง หลอกลวงผู้อื่น เหมือนจะก้าวล้ำเส้นความเหมาะสม แต่ก็ท้าทายผู้ชมให้ตระหนักถึงอิสรภาพชีวิต
Festen (1998)
งานเลี้ยงแซยิด (วันเกิดครบรอบ 60 ปี) ของบิดา รายล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน แต่ด้วยความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 มันจึงความบ้าคลั่ง เสียสติแตก ความจริงบางอย่างกำลังได้รับการเปิดเผยอย่างช้าๆ, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Breaking the Waves (1996)
หลังก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เพื่อทำลายกฎกรอบภาพยนตร์ ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ของเรื่องราวและการแสดง แต่ทว่าผู้กำกับ Lars von Trier กลับแหกคำปฏิญาณเหล่านั้นเสียเองในการสรรค์สร้าง Breaking the Waves (1996), คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Europa (1991)
ผู้กำกับ Lars von Trier ได้รับการเปิดเผยจากมารดาก่อนเสียชีวิต บุคคลที่เลี้ยงดูเขามาเป็นเพียงพ่อบุญธรรม เมื่อมีโอกาสพบเจอหน้าบิดาแท้ๆ กลับถูกปฏิเสธต่อต้าน นั่นคือจุดเริ่มต้นความสิ้นหวัง ไม่ต่างจากยุโรป/เยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ Lars von Trier เมื่อตำรวจสวมวิญญาณเป็นอาชญากร (คล้ายๆแบบนักแสดงสวมบทบาทเป็นตัวละคร) เพื่อติดตามหาฆาตกรต่อเนื่อง “Lotto Murderer” แต่เขากลับไม่สามารถควบคุมตนเอง ก่ออาชญากรรมเสียเอง นั่นสะท้อนความสิ้นหวังของยุโรป ไม่ต่างจากวันโลกาวินาศ
Atlantique (2019)
คลื่นลมในมหาสมุทร Atlantics ช่างมีความลึกลับ เหนือธรรมชาติ ซัดพาวิญญาณคนตายหวนกลับเข้าฝั่ง เพื่อกระทำสิ่งสุดท้ายที่ยังติดค้างคาใจ, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Sambizanga (1972)
นักปฏิวัติถูกจับกุม คุมขังยังเรือนจำ ณ Sambizanga, Portuguese Angola แล้วโดนทัณฑ์ทรมานจนเสียชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้น Angolan War of Independence (1961-74) นำเสนอผ่านมุมมองผู้กำกับหญิง เรียบง่าย ทรงพลัง แม้ต้องถ่ายทำยังประเทศเพื่อนบ้าน Congo
Soleil Ô (1970)
กลุ่มชายฉกรรจ์ชาว Mauritania หลังเข้าร่วมพิธีศีลจุ่ม อพยพเดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่พอมาถึงกลับไม่สามารถหาทำงาน ถูกปฏิเสธต่อต้าน ขับไล่ ผลักไส หวาดกลัวการรุกรานของ ‘Black Invasion’ นำเสนอด้วยวิธีการที่หลากหลาย ท้าทาย คล้ายศิลปะภาพแปะติด (Collage)
La Pyramide humaine (1961)
หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?
แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัดยุคสมัย แต่ผู้กำกับ Jean Rouch ยังสามารถรังสรรค์สร้างสารคดีบันทึกวิถีชีวิตผู้อพยพชาว Nigerien เดินทางมาปักหลักใช้แรงงานอยู่ยัง Treichville, Abidjan เมืองหลวงประเทศ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ใกล้จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส
ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟรับบทโดย Isabelle Huppert กลับปฏิเสธจะทอดทิ้งสิ่งที่เป็นของตนเอง หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Claire Denis เดินทางกลับบ้านเกิดยัง West Africa แม้จากมาหลายปี แต่หลายๆความทรงจำดีๆ ยังคงติดตราฝังใจ ทำออกมาในลักษณะบันทึกความทรงจำ (memoir) อาจดูเรื่อยๆเปื่อยๆ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับคนใช้ผิวสี ช่างมีความตึงเครียด(ทางเพศ)ยิ่งนัก!
งานเลี้ยงฉลองสุดหรูหราด้วยฝีมือเชฟจากภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง ปรุงให้กับชาวบ้านผู้เคร่งครัดศาสนา (Pietistic Lutheranism) แต่พวกเขากลับเชื่อว่าอาหารมื้อนี้จักทำให้ตกนรกหมกไหม้, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Mùi đu đủ xanh (1993)
กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)
Urga – territoriya lyobvi (1991)
ถ่ายทำยังท้องทุ่งกว้าง พื้นที่ราบในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ช่างมีความงดงาม ราวกับสรวงสวรรค์ (Close to Eden) ดินแดนแห่งอิสรภาพที่กำลังเลือนลาง ถูกคุกคามโดยสังคมเมืองใหญ่, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Le Procès (1962)
ไม่ใช่ดัดแปลงแต่ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเขียนไม่เสร็จของ Franz Kafka นำเสนอการพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันกระทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood
ด้วยวัยกว่า 70+ ปี ผู้กำกับ Robert Bresson พบเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ตลอดศตวรรษ 20th เกิดความตระหนักว่าเรากำลังมุ่งหน้าสู่หายนะ วันโลกาวินาศ สรรค์สร้างผลงานสุดสิ้นหวัง The Devil Probably (1977) สงสัยว่าทุกสิ่งอย่างบังเกิดขึ้นอาจเป็นฝีมือของปีศาจ
Baron Prášil (1962)
การผจญภัยของ Baron Munchausen ช่างมีความมหัศจรรย์ พิลึกพิลั่นยิ่งนัก เริ่มต้นขึ้นเรือเหาะกลับจากดวงจันทร์, ลักพาตัวเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิ Ottoman, หลบหนีลงเรือถูกกลืนกินอยู่ในท้องปลายักษ์, ควบขี่ม้าเดินทางใต้ท้องทะเลลึก ฯ ทำออกมาในสไตล์ภาพแกะสลักไม้ (Wood Engraving) ได้รับอิทธิพลจาก Gustave Doré
Vynález zkázy (1958)
คลุกเคล้าการผจญภัยสุดมหัศจรรย์ในโลกของ Jules Verne ด้วยการออกแบบ ‘Visual Style’ ให้มีลักษณะคล้ายภาพแกะสลักเส้น (Line Engravings) สร้างความตื่นตาตะลึง แม้เรื่องราวอาจไม่ค่อยอึ่งทึ่ง แต่จักสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมเลือน