หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?
หมวดหมู่: french
french film, france
แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัดยุคสมัย แต่ผู้กำกับ Jean Rouch ยังสามารถรังสรรค์สร้างสารคดีบันทึกวิถีชีวิตผู้อพยพชาว Nigerien เดินทางมาปักหลักใช้แรงงานอยู่ยัง Treichville, Abidjan เมืองหลวงประเทศ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ใกล้จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส
ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟรับบทโดย Isabelle Huppert กลับปฏิเสธจะทอดทิ้งสิ่งที่เป็นของตนเอง หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Claire Denis เดินทางกลับบ้านเกิดยัง West Africa แม้จากมาหลายปี แต่หลายๆความทรงจำดีๆ ยังคงติดตราฝังใจ ทำออกมาในลักษณะบันทึกความทรงจำ (memoir) อาจดูเรื่อยๆเปื่อยๆ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับคนใช้ผิวสี ช่างมีความตึงเครียด(ทางเพศ)ยิ่งนัก!
Mùi đu đủ xanh (1993)
กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)
Urga – territoriya lyobvi (1991)
ถ่ายทำยังท้องทุ่งกว้าง พื้นที่ราบในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ช่างมีความงดงาม ราวกับสรวงสวรรค์ (Close to Eden) ดินแดนแห่งอิสรภาพที่กำลังเลือนลาง ถูกคุกคามโดยสังคมเมืองใหญ่, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Le Procès (1962)
ไม่ใช่ดัดแปลงแต่ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเขียนไม่เสร็จของ Franz Kafka นำเสนอการพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันกระทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood
ด้วยวัยกว่า 70+ ปี ผู้กำกับ Robert Bresson พบเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ตลอดศตวรรษ 20th เกิดความตระหนักว่าเรากำลังมุ่งหน้าสู่หายนะ วันโลกาวินาศ สรรค์สร้างผลงานสุดสิ้นหวัง The Devil Probably (1977) สงสัยว่าทุกสิ่งอย่างบังเกิดขึ้นอาจเป็นฝีมือของปีศาจ
India Song (1975)
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงความเวิ้งว้าง เศษซากปรักหักพังของสถานทูตฝรั่งเศสประจำอินเดีย ภายหลังการประกาศอิสรภาพ
État de siège (1972)
ชายชาวอเมริกันถูกเข่นฆาตกรรม (Political Assassination) หน่วยงานรัฐประกาศจัดงานศพสุดยิ่งใหญ่ แต่เขาคนนั้นคือใคร? มีความสำคัญใดต่อประเทศแถบละตินอเมริกัน? ซึ่งเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยนั้น สามารถสั่นสะเทือนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สมาชิกระดับสูงผู้จงรักภักดีของพรรคคอมมิวนิสต์ (รับบทโดย Yves Montand) วันหนึ่งถูกจับกุม คุมขัง โดนทัณฑ์ทรมาน บีบบังคับให้สารภาพความจริง แต่เขาไม่เคยกระทำอะไรผิด กลับต้องก้มหน้าก้มตา เดินวนไปวนมา ยินยอมรับโชคชะตา ทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย-จิตใจ
Marie Antoinette (2006)
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ Marie Antoinette ได้รับฉายา Madame Déficit (มาดามหนี้ท่วมหัว) ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789-99 เลยถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน! แต่ผู้กำกับ Sofia Coppola พยายามนำเสนอมุมมองส่วนตัวของ Kirsten Dunst ก็แค่เด็กหญิงสาวรักอิสระคนหนึ่งเท่านั้น
À Nous la Liberté (1931)
ผลงานมาสเตอร์พีซของ René Clair ที่ยังคงสะท้อนอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) และการมาถึงของยุคสมัยอุตสาหกรรม สร้างแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Modern Times (1936) แต่กลับทำให้ Charlie Chaplin ถูกฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล จำต้องไกล่เกลี่ยด้วยการยินยอมความ
Le Million (1931)
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Under the Roofs of Paris (1930) ทำให้ผู้กำกับ René Clair ราวกับถูกหวย กำลังจะร่ำรวย แต่ลอตเตอรี่ใบนั้นเก็บไว้แห่งหนไหน? เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาลอตเตอรี่ถูกรางวัล เต็มไปด้วยความขบขัน ฉิบหายวายป่วนระดับโกลาหล
แม้ว่า René Clair จะไม่ค่อยเห็นด้วยต่อการมาถึงของหนังพูด (Talkie) แต่ก็ได้ทดลองผิดลองถูกกับ Under the Roofs of Paris (1930) ใช้ประโยชน์จากเสียงและความเงียบได้อย่างโคตรๆสร้างสรรค์ น่าเสียดายคุณภาพถดถอยตามกาลเวลา
เรื่องวุ่นๆของเจ้าหมวกฟางอิตาเลี่ยน สร้างความสับสน โกลาหล วุ่นวายสุดๆในวันงานแต่งงานของ Albert Préjean แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับ René Clair ด้วยอิทธิพลของ Georges Méliès
Entr’acte (1924)
เริ่มต้นบนชั้นดาดฟ้า ปืนใหญ่โบราณกำลังเคลื่อนเข้ามา (ด้วยเทคนิค Stop Motion) จากนั้นศิลปินดาด้า Francis Picabia และคีตกวี Erik Satie ค่อยๆกระย่องกระแย้ง (อย่าง Slow Motion) มายืนโต้ถกเถียง เตรียมจุดปืนใหญ่ใส่กรุง Paris แล้วกระโดดถอยหลังออกจากเฟรม (Reverse Shot)
À propos de Nice (1930)
ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง
Rien que les heures (1926)
สำรวจวิถีชนชั้นล่างในกรุง Paris ด้วยแนวคิด ‘city symphony’ แพรวพราวเทคนิคภาพยนตร์ แต่ตอนจบอาจดูมึนๆงงๆ ผู้กำกับ Alberto Cavalcanti คงต้องการสื่อถึงทุกสถานที่บนโลกใบนี้ ล้วนไม่มีความแตกต่างกัน
Ballet Mécanique (1924)
การเริงระบำของจักรกล คือภาพยนตร์แนวทดลอง (Experimental) ด้วยอิทธิพลของ Dadaism เปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเครื่องยนต์กลไก ทั้งภาพและเสียงต่างมีความตื่นหู ตื่นตา แปลกใหม่ เปิดประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร