Celine and Julie Go Boating

Céline and Julie Go Boating (1974) French : Jacques Rivette ♥♥♥♥♡

ภาษาฝรั่งเศส vont en bateau (Go Boating) มีคำไวพจน์ที่ความหมายเดียวกัน aller en bateau แต่คำหลังยังคือศัพท์แสลงของการเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องที่กำลังรับฟัง ฟังดูงงๆ แต่เอาเป็นว่า Juliet Berto (Céline) และ Dominique Labourier (Julie) เมื่ออมลูกอมวิเศษ ออกเดินทางล่องเรือสู่โลกแฟนตาซี

The film’s French title is Céline et Julie vont en bateau—a phrase that carries multiple meanings. They may be taking a trip, in either sense of the word. They may be caught up in telling or listening to a fantastic story. 

นักวิจารณ์ Beatrice Loayza จาก Criterion

เกร็ด: aller en bateau ยังมีความหมายเดียวกับสำนวนภาษาอังกฤษ Shaggy-dog story เรื่องเล่าตลกที่มีความโคตรๆยาว (Extremely Long) แต่ทว่ากลับเต็มไปด้วยการจับแพะชนแกะ (Irrelevant Incidents) แถมจบอย่างงี่เง่า หักมุม ไร้สาระ (Anti-Climax) … วัตถุประสงค์ของ Shaggy-dog story ก็เพื่อให้ผู้อ่าน/ผู้ชม เพลิดเพลินไปกับมุกตลกขบขัน การผจญภัยระหว่างทาง โดยไม่ต้องไปสนใจเรื่องราว เนื้อหาสาระ หรือตอนจบลงเอยเช่นไร

เรื่องราวของ Céline and Julie Go Boating (1974) มองผิวเผินมันก็ดูไร้สาระจริงๆนะแหละ จับแพะชนแกะ ไม่ได้มีสับปะรดอะไร! แต่แนวคิดของหนัง ลีลาดำเนินเรื่องที่เต็มไปด้วย “สูตรสอง” นักแสดงมีส่วนร่วมในการพัฒนาบท (ไม่เชิงว่าเป็นการดั้นสด) ความยาว 182 นาที (3 ชั่วโมง 12 นาที) ดำเนินไปอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน ยิ้มร่าเริง ราวกับต้องมนต์สะกด ถือเป็นอีกผลงานมาสเตอร์พีซ น่าจะยอดเยี่ยมที่สุดของผู้กำกับ Jacques Rivette

แค่ประมาณสองสามนาทีแรกของหนัง ก็ทำให้ผมตกหลุมรักโดยพลัน! Julie กำลังอ่านหนังสือเวทมนตร์ ปากขมุบขมิบเหมือนบริกรรมคาถา จากนั้น Céline ก็ปรากฎตัวออกมา ท่าทางเหมือนกระต่ายขาว (White Rabbit) จากวรรณกรรมเยาวชน Alice’s Adventures in Wonderland (1865) ของ Lewis Carroll ด้วยความใคร่รู้ ใคร่สงสัย จึงแอบติดตามอีกฝ่ายไปทั่วกรุง Paris … เคมีระหว่าง Dominique Labourier & Juliet Berto ชวนนึกถึงสองสาวดอกเดซี่ Ivana Karbanová & Jitka Cerhová ภาพยนตร์ Daisies (1966)

The most exuberant, haunting expression of female friendship in the history of the cinema.

นักวิจารณ์ Mary Wiles จากนิตยสาร Sight and Sound

Certainly one of the greatest French comic films, along with the work of Tati.

นักเขียน/นักปรัชญา Gilles Deleuze

Jacques Pierre Louis Rivette (1928-2016) นักวิจารณ์/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Rouen, Seine-Maritime บิดาเป็นเภสัชกร บ้านอยู่ติดกับโรงภาพยนตร์ วัยเด็กหลงใหลการวาดรูปและอุปรากร หลังมีโอกาสอ่านหนังสือของ Jean Cocteau เกี่ยวกับการถ่ายทำ Beauty and the Beast (1946) ตัดสินใจมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังด้านนี้ เข้าร่วมกลุ่ม Ciné-Clubs ถ่ายทำหนังสั้น 16mm เรื่องแรก Aux Quatre Coins (1948), จากนั้นออกเดินทางสู่ Paris แล้วได้พบเจอ Jean Gruault ที่ร้านขายหนังสือ ชักชวนมารับชมภาพยนตร์ที่ Ciné-Club du Quartier Latin แล้วได้พูดคุยถกเถียงหลังการฉายกับว่าที่เพื่อนสนิท Éric Rohmer

Rivette ส่งหนังสั้นที่สร้างขึ้นเพื่อสมัครเรียน Institut des Hautes Études Cinématographiques แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ จึงเข้าคอร์สภาพยนตร์ระยะสั้น University of Paris ระหว่างนั้นแวะเวียนขาประจำ Cinémathèque Française ก่อนได้รับชักชวนเป็นนักวิจารณ์นิตยสาร Gazette du Cinéma (ก่อตั้งโดย Éric Rohmer และ Francis Bouchet) ติดตามด้วย Cahiers du Cinéma มีชื่อเสียงจากเขียนบทความชื่นชม Howard Hawks, Fritz Lang, Roberto Rossellini, Kenji Mizoguchi แล้วด่าทอบรรดาผู้กำกับฝรั่งเศสรุ่นใหม่ๆที่ไม่กล้าได้กล้าเสี่ยง สนเพียงกำไรความสำเร็จ และยังร่วมกับ Truffaut (ตั้งชื่อเล่น “Truffette and Rivaut”) แบกเครื่องบันทึกเสียง เดินทางไปสัมภาษณ์/ตีพิมพ์บทความเชิงลึกจากบรรดาผู้กำกับที่พวกเขาโปรดปราน อาทิ Alfred Hitchcock, Howard Hawks, Fritz Lang, Jean Renoir, Roberto Rossellini, Orson Welles ฯ

หลังเสร็จจาก Out 1 (1971) ผกก. Rivette มีความสนใจดัดแปลงนวนิยาย Le Fantôme de l’Opéra (1909-10) หรือ Phantom of the Opera ของนักเขียนฝรั่งเศส Gaston Leroux (1868-1927) มาทำเป็นภาพยนตร์ดราม่า นำแสดงโดย Jeanne Moreau

(คนส่วนใหญ่น่าจะรับรู้จักจากโคตรหนังเงียบ The Phantom of the Opera (1925) นำแสดงโดย Lon Chaney และละคอนเพลงของ Andrew Lloyd Webber เมื่อปี ค.ศ. 1986)

แต่ด้วยความที่ Phantom of the Opera เป็นแนว Costume Period พื้นหลังศตวรรษที่ 19 ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างมาก กอปรกับ Out 1 (1971) ไม่สามารถนำออกฉายช่องทางไหน ไม่ได้ทำกำไรคืนกลับมา เลยจำต้องมองหาโปรเจคอื่นที่ใช้ทุนน้อย ถ่ายทำเร็ว และสร้างความตราตรึงใจให้ผู้ชม

Simply the desire to make a film. To get out of the dumps that we all felt we were in, make a film for as little money as possible, and, we hoped, amuse people. Because the adventure of Out 1 (1971) didn’t turn out very well, from the point of view of public reception — there was no reception. It was almost impossible to show the film. Meanwhile, there had been another project [Phantom of the Opera] which we couldn’t do because it was too expensive, which Juliet Berto was also involved in. When we realized about a year ago that we couldn’t bring this project to fruition, I spoke to Juliet one evening and we decided to do something else. Something which would be on the contrary very cheap, as easy to make as possible, and fun to do. The first idea was to bring together Juliet and Dominique, who were already friends: I’d often seen them together.

Jacques Rivette

เมื่อต้องตัดใจจาก Phantom of the Opera ผกก. Rivette จึงจำต้องมองหาโปรเจคใหม่ แต่ยังไม่รู้จะทำอะไร เลยชักชวน Juliet Berto ที่เคยร่วมงาน Out 1 (1971) และเพื่อนสาวคนสนิท Dominique Labourier พบเจอเคียงข้างกันบ่อยครั้ง มาร่วมพูดคุย ค้นหาความเป็นไปได้

We began by elimination: we didn’t want to make a serious film; we didn’t want to make a film about the theater because we’d done that too often; we didn’t want to make a film about current events or politics. But we did have the desire from the very beginning to do something close to comedy, and even frankly commedia dell’arte. And the first thing we did after two hours of conversation was to look for the characters’ names. And we stopped there that evening. So finding the names Céline and Julie was our starting point…

สิ่งแรกที่ครุ่นคิดได้ก็คือชื่อตัวละคร Céline และ Julie จากนั้นให้อิสระทั้งสอง (ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทในชีวิต) ช่วยกันพัฒนาเบื้องหลัง รายละเอียดตัวละคร มองหาสิ่งสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์ … นั่นคือสารพัดเหตุการณ์ครึ่งชั่วโมงแรกของหนัง

The first stage consisted of conversations with Juliet and Dominique, when quite quickly the two girls organized their own characters. Then came the idea of their meeting, how the two connected. But then there was a stage — after the first half-hour of the film as it now stands — where we didn’t have a clear idea, where there were all kinds of possibilities.

แต่ปัญหาถัดมาคือหนังยังไม่เรื่องราว เนื้อหาสาระใดๆ สองสัปดาห์ถัดมาผกก. Rivette นำพานักเขียน(ว่าที่ผู้กำกับ) Eduardo de Gregorio เสนอแนะนวนิยาย The Other House (1896) แนว Mystery ของนักเขียนอเมริกัน Henry James (1843-1916) … เห็นว่าไม่มีใครเคยอ่านนวนิยายเล่มนี้ (ไม่มีแปลฝรั่งเศส) แม้แต่ตัว de Gregorio ก็แค่อ่านเรื่องย่อ ภาษาอังกฤษก็ไม่ค่อยเข้มแข็งสักเท่าไหร่ สุดท้ายเพียงนำแรงบันดาลใจคร่าวๆ แล้วมอบหมายให้สองนักแสดง Bulle Ogier และ Marie-France Pisier (ที่ถือเป็นฟากฝั่งตรงข้ามของ Berto & Labourier) ช่วยกันขบครุ่นคิด พัฒนาเรื่องราวขึ้นใหม่

We hesitated for about two weeks with Eduardo [de Gregorio], who had joined us by that time. We already felt that a second story was necessary within the first, for which I wanted Bulle [Ogier] and Marie-France [Pisier], in order to have another feminine pair, both in opposition and in relation to the first. But we didn’t know at all either what the second story would be or the mechanism between the two-that’s what took the longest to organize.

It was Eduardo who suggested the Henry James novel [The Other House] which we started from, which he hadn’t read himself but had heard about. In fact, none of us has read it because we couldn’t find it. Eduardo read only the dramatization, which is apparently very boring; and I don’t read English well enough.

สรุปแล้วในกระบวนการพัฒนาบทหนัง ผกก. Rivette ทำหน้าที่แค่ออกแบบโครงสร้าง ทิศทางเรื่องราว กำหนดวันเวลา ค้นหาสถานที่ถ่ายทำ อะไรอื่นนอกจากนั้นให้อิสระนักแสดงขบครุ่นคิด พัฒนาตัวละคร บทพูดสนทนา … นักแสดงไม่ได้ดั้นสดหน้ากล้องเหมือน Out 1 (1971) แต่ครุ่นคิดบทสนทนาของตนเองขึ้นก่อน แล้วนำไปพูดคุย ช่วยกันขัดเกลาร่วมกับผกก. Rivette และนักเขียน de Gregorio ถึงค่อยเข้าฉากถ่ายทำ

เกร็ด: เครดิตเขียนบทจึงปรากฎชื่อของ (Scenario) Jacques Rivette, Dominique Labourier, Juliet Berto, Bulle Ogier, Marie-France Pisier, (Dialogue) Eduardo de Gregorio และ Based on original stories by Henry James


Dominique Labourier (เกิดปี ค.ศ. 1943) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Reims, Marne เข้าสู่วงการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 เริ่มจากเป็นนักแสดงโทรทัศน์ ซีรีย์ Les oiseaux rares (1969), Le malade imaginaire (1971), ก่อนมาโด่งดังกับ Celine and Julie Go Boating (1974) ฯ

รับบท Julie สาวผมแดง สวมใส่แว่นหนาเตอะ ทำงานบรรณารักษ์ห้องสมุด ชื่นชอบการดูดวง ทำนายไพ่ทาโรต์ วันหนึ่งระหว่างอ่านหนังสือเวทมนตร์ บริกรรมคาถา พบเห็นหญิงแปลกหน้า ท่าทางเร่งรีบร้อนรน ทำสิ่งโน่นนี่นั่นตกหล่น จึงแอบติดตาม ช่วยเก็บสิ่งข้าวของ ออกทัวร์รอบกรุง Paris เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความประทับใจให้ Céline วันถัดมาจึงแอบเดินทางไปยังห้องสมุด (สถานที่ทำงานของ Julie) แล้วดักรออยู่หน้าอพาร์ทเม้นท์ โดยไม่ตัวทั้งสองก็พักอาศัยร่วมกัน!

มีเหตุการณ์วุ่นๆวายๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งสองเคยปลอมตัวเป็นอีกฝ่ายแล้วไม่ถูกใครจับได้, แวะเวียนไปยังบ้านลึกลับกลับออกมาจดจำอะไรไม่ได้สักสิ่งอย่าง, พบเจอลูกอมวิเศษที่สามารถหวนระลึกความหลัง เมื่อครั้น Céline เคยทำงานเป็นสาวใช้ให้กับครอบครัวยังบ้านหลังนั้น และเหตุการณ์พิลึกพิลั่นที่สุดก็คือพวกเธอพยายามขบไขคดีฆาตกรรม ช่วยชีวิตเด็กหญิงจากอดีต(ลัก)พาตัวกลับมาปัจจุบัน … เป็นการแหกกฎจักรวาล โดยไม่สนห่าเหวอะไรใครทั้งนั้น

กิริยาท่าทางของ Labourier ดูสงบเสงี่ยม เรียบร้อยกว่า Berto แต่แววตาชวนฝัน ชอบพร่ำเพ้อถึงอนาคต (จากการทำนายไพ่ทาโรต์) อยากพบเจอใครสักคนที่ทำให้ชีวิตอันน่าเบื่อหน่าย กลายเป็นโลกแห่งสีสัน ไม่ต้องอุดอู้คุดคู้อยู่ในห้องสมุดอีกต่อไป (บรรณารักษ์คืออาชีพแห่งความคร่ำครึ หัวโบราณ จมปลักอยู่ในโลกแฟนตาซี)

การได้พบเจอ Céline เริ่มต้นอาจแค่เพียงใคร่รู้ ใคร่สงสัย แต่พออีกฝ่ายเข้ามาในชีวิตก็ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป กล้าลาออกจากงาน บอกเลิกราแฟนหนุ่ม ขึ้นเวทีการแสดง ได้ทำในสิ่งไม่เคยคิดจะได้ทำ กางปีกโบยบินสู่อิสรภาพ สามารถเติมเต็มอุดมการณ์เพ้อใฝ่ฝัน

แม้บทบาทนี้จะทำให้ Labourier มีความมั่นคง ยืนยงในอาชีพนักแสดง แต่ทว่าเธอกลับไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนที่โดดเด่นดัง น่าจดจำไปมากกว่านี้อีกแล้ว


Juliet Berto ชื่อจริง Annie Jamet (1947-90) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Grenoble, Isère เป็นเพื่อนสนิทสนมกับ Anne Wiazemsky ทำให้มีโอกาสรับรู้จักผู้กำกับ Jean-Luc Godard แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก 2 or 3 Things I Know About Her (1967) ติดตามด้วย La Chinoise (1967), Week-end (1967), ผลงานเด่นๆ อาทิ Out 1 (1971), Return from Africa (1973), Celine and Julie Go Boating (1974), Duelle (1976) ฯ

รับบท Céline สาวโบฮีเมียน ทำงานเป็นนักแสดงมายากล มีนิสัยรักอิสระ โหยหาความตื่นเต้นเร้าใจ หลังรับรู้ตัวว่าถูกแอบติดตามโดย Julie บังเกิดความลุ่มหลงใหล ใคร่อยากรู้อยากเห็น วันถัดมาจึงแอบติดตาม สอดแนม สรรหาข้ออ้างเพื่อพักอาศัยอยู่ร่วม ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเพียงกระเป๋าหนึ่งใน เสื้อผ้าสวมใส่ไม่กี่ชุด ละเล่นสนุกด้วยการปลอมแปลงเป็นอีกฝ่ายบอกเลิกแฟนหนุ่ม (ของ Julie)

ก่อนหน้านี้ไม่นาน Céline เพิ่งทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็กในบ้านลึกลับแห่งหนึ่ง กอปรด้วยสองพี่น้องขี้อิจฉา Camille (รับบทโดย Bulle Ogier) และ Sophie (รับบทโดย Marie-France Pisier) ต่างพยายามจะเกี้ยวพาราสีพ่อหม้ายลูกติด Olivier (รับบทโดย Barbet Schroeder) วันหนึ่งพยายามงัดแงะลิ้นชัก ถูกจับได้เลยตัดสินใจหลบหนีหาย … โดยไม่รู้ตัวสถานที่แห่งนั้นราวกับบ้านผีสิง เพราะเมื่อหลายปีก่อน เคยเกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรม ทำให้ครอบครัวนี้ตัดสินใจขนย้ายข้าวของ ไม่เคยหวนกลับมา

จากโจรกระจอกใน Out 1 (1971) คราวนี้กลายมาลักขโมยหัวใจเพื่อนสาว แรกพบเจอท่าทางเร่งรีบ ร้อนรน แต่กลับเต็มไปด้วยความพิศวง ชวนให้ลุ่มหลงใหล ทั้งกิริยาท่าทาง การแต่งตัวสไตล์โบฮีเมียน โดดเด่นไม่เหมือนใคร พอได้เรียนรู้จักนิสัยขี้เล่นซุกซน ชอบยั่วหยอกเย้า เปลือยกายอาบน้ำ สวมใส่ผ้าขนหนูวับๆแวมๆ นั่นยิ่งสร้างความสนอกสนใจไม่ใช่แค่ Julie ยังรวมถึงผู้ชม (ทั้งชายและหญิง) เกิดความระริกระรี้ จินตนาการเพ้อคลั่งไปไกล

ฉากที่สร้างประหลาดใจให้ผมมากที่สุดคือตอนคุยโวโอ้อวดกับผองเพื่อน อ้างว่าได้พบเจอเศรษฐีนีจากอเมริกัน อาศัยอยู่อพาร์ทเม้นท์หรู มีคนรับใช้ มีสระว่ายน้ำ เป็นนักธุรกิจชื่อดัง ทั้งๆที่ Julie ก็แค่บรรณารักษ์ธรรมดาๆ มีเพียงอพาร์ทเม้นท์กับฝักบัว (บรรดาผองเพื่อนก็ช่วยกันโต้ตอบว่าเพ้อเจ้อ! ไม่มีทางเป็นจริง!) และพอพบเห็นอีกฝ่ายเดินทางมาถึง กลับแสร้งทักว่าคือกำลังจะไปพบเจอพี่สาว … ถึงมันจะเป็นการโป้ปดหลอกลวง แต่ผมสัมผัสถึงความชื่นชอบ พึงพอใจ ตกหลุมรักใคร่ Julie แม้อีกฝ่ายจะไม่ได้มีอะไรมากเท่าไหร่ ก็ราวกับตนเองกำลังอยู่ในโลกแห่งความฝัน

Berto ถือเป็นอีกนักแสดง ‘Iconic’ แห่งวงการภาพยนตร์ฝรั่งเศส การได้ร่วมงานกับทั้ง Jean-Luc Godard และ Jacques Rivette การันตีความเจิดจรัส ดาวดาราค้างฟ้า ผมถือว่า Celine and Julie Go Boating (1974) คือไฮไลท์ที่ไม่ใช่แค่การแสดง แต่ยังมีส่วนร่วมครุ่นคิดพัฒนาตัวละคร เต็มไปด้วยเสน่ห์ น่าหลงใหล ผู้ชมตกหลุมรักใคร่ … สำแดงพรสวรรค์ อัจฉริยภาพ ไม่แปลกใจว่าหลังจากนี้จะเคยกำกับภาพยนตร์ Cap Canaille (1983) น่าเสียดายที่เธออายุสั้นไปหน่อย เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมขณะอายุเพียง 42 ปี


ถ่ายภาพโดย Jacques Renard (เกิดปี 1944) ตากล้อง/นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Béthune, Pas-de-Calais เข้าสู่วงการจากเป็นผู้ช่วยตากล้อง Army of Shadows (1969), Four Nights of a Dreamer (1971), The Mother and the Whore (1973), เครดิตถ่ายภาพ Céline and Julie Go Boating (1974), กำกับภาพยนตร์ Monsieur Albert (1976) ฯ

ตั้งแต่ L’Amour fou (1969) ที่ผกก. Rivette ละทอดทิ้งรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ พยายามให้อิสระกับการถ่ายภาพ แต่ทว่า Céline and Julie Go Boating (1974) สามารถแบ่งออกเป็นสองสไตล์ ที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม!

  • ฉากทั่วๆไป แบกกล้องขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ใช้เพียงแสงธรรมชาติ ถ่ายทำยังสถานที่จริง นักแสดงได้อิสรภาพ อยากทำอะไรก็ตามสบาย ผมขอเรียกว่าสไตล์ (French) New Wave
  • แต่ระหว่างการย้อนอดีต (film-within-film) เหตุการณ์บังเกิดในบ้านหลังลึกลับหลังนั้น ถ่ายทำในลักษณะ Traditional หรือ Classical หรือ Theatrical (แล้วแต่จะเรียก) กล้องมักตั้งอยู่กับที่ มีเพียงแพนนิ่งซ้าย-ขวา ละเล่นกับทิศทาง มุมกล้อง แสงสว่าง-เงามืด การแสดงเต็มไปด้วยการปรุงปั้นแต่ง (เหมือนละคอนเวที) นักแสดงเก็บกดอัดอั้นความรู้สึกไว้ภายใน

อิสรภาพของนักแสดงในหนังเรื่องนี้แตกต่างจาก Out (1971) ที่ทำการดั้นสดหน้ากล้อง (raw improvisation) เปลี่ยนมาเป็นให้พวกเธอครุ่นคิดสิ่งที่อยากทำขึ้นก่อน เมื่อคืนฝันถึงอะไร จากนั้นนำมาเสนอแนะผู้กำกับ Rivette และนักเขียน de Gregorio ช่วยกันระดมสมอง พัฒนาบทพูดตัวละคร แล้วค่อยเริ่มต้นการถ่ายทำ

We got up early in the morning and told each other our dreams, which the film depended on…We wrote our lines each morning and evening… [and we always] knew what stance we had and why.

Juliet Berto

ซีเควนซ์แรกของหนัง Julie แอบติดตาม Céline ไปทั่วกรุง Paris แต่ผมขี้เกียจค้นหาข้อมูลว่าทั้งสองเดินทางไปยังสถานที่แห่งหนไหนบ้าง (รับรู้แค่ว่าอยู่ในย่าน Montmartre, Paris 18 ก็เพียงพอแล้วละ) เลยสรุปย่นย่อด้วยภาพเจ้าเหมียวทำท่าทางเตรียมออกวิ่งไล่ตะครุบเหยื่อ … มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง Julie กับเจ้าเหมียวไหมเอ่ย?

Julie ชื่นชอบการดูดวงไพ่ทาโรต์ แม้ขณะนี้เธอทำนายให้กับเพื่อนร่วมงาน (ที่เป็นบรรณารักษ์) แต่ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจนัยยะ “สูตรสอง” จักสามารถเปรียบเทียบอีกฝ่ายถึง Céline

  • Escape for prison, theatrical coup. The Chariot. New start. Conquest. The Chariot. Death. Moment, change, the end… become radiance, triumph. Conquest. The Sun.
    • คำทำนายของเพื่อนบรรณารักษ์ ทีแรกผมไม่ได้เอะใจอะไรหรอก แต่พอเจอคำว่า “Escape for prison, theatrical coup” เลยตระหนักว่านั่นคือสิ่งกำลังจะบังเกิดขึ้นกับ Céline ต่อด้วย The Chariot คือการออกเดินทาง ล่องเรือ (Go Boating) เผชิญหน้ากับความตายของเด็กหญิง (Death) และสามารถให้ความช่วยเหลือ (Conquest)
  • The Past. The Hanged Man. Below is above. Your future is behind you. And you plunge into the depths of night. Your grandfather the hermit protects you. You don’t move. You don’t advance. You advance, but in total immobility. Stagnation.
    • คำทำนายของ Julie ความหมายของอนาคตอยู่ข้างหลังคุณ เดี๋ยวผมจะอธิบายในภาพถัดไป จมปลักอยู่ในความมืดมิดก็คืออมลูกอมแล้วพบเห็นภาพย้อนอดีต แล้วเกิดความหมกมุ่นอยู่กับมัน ส่วนปู่ฤาษี (The Hermit) ไม่รู้เหมือนกันว่าหมายถึงใคร คุณย่าบ้านตรงข้าม? ส่วนการไม่ก้าวหน้า ก้าวหน้าแบบไม่เคลื่อนไหว หมายถึงการไม่จำเป็นต้องทำอะไร ทุกสิ่งอย่างจะแวะเวียนวนมาหาตัวเธอเอง (หรือก็คือไม่จำเป็นต้องติดตามหา Céline แต่อีกฝ่ายจะเข้าหาด้วยตนเอง)

คำทำนายของ Julie อาจฟังดูไม่ค่อยสดใสสักเท่าไหร่ แต่ทว่า “Your future is behind you.” แล้วปรากฎภาพนี้ที่ Céline แอบหลบซ่อน อ่านหนังสือ(เด็ก)อยู่ด้านหลัง ก็แปลว่าอีกฝ่ายคืออนาคตของเธอ จักได้ครองคู่ อาศัยอยู่ร่วมกัน

นี่เป็นสองช็อตที่มีความแตกต่างตรงกันข้ามในทุกๆระดับ มันไม่ได้มีนัยยะความหมายอะไรลึกซึ้ง แค่เพียงสอดคล้องเข้ากับแนวคิด “สูตรสอง” เท่านั้นเอง

  • Julie สวมใส่ชุดสีแดง ถ่ายมุมก้มจากฝั่งขวา กำลังจิ้มๆลายนิ้วมือขวา ครุ่นคิดเพ้อฝันถึงอนาคต
  • Céline สวมใส่ชุดสีน้ำเงิน มุมกล้องระดับตาจากฝั่งซ้าย กำลังลากเส้นมือซ้าย ทำลายทรัพย์สินห้องสมุด

ไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้ Céline กำลังลากเส้นลายนิ้วมือไม่ใช่หรือ? ไฉนภาพที่ Julie พบเห็นขณะนี้กลับเป็น??? ลองทายด้วยตนเองก่อนนะครับว่าคือภาพอะไร บางคนเห็นเพียงแผ่นหลัง บั้นท้าย ในสภาพเปลือยเปล่า, บางคนเห็นหญิงสาวสองคนหันหน้าเข้าหากัน … นี่เป็นภาพที่สามารถมองเห็นได้หลายมุม ก็เหมือนกับภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ไม่ว่ามองฟากฝั่งไหน ล้วนมีความสะท้อนเข้าหากัน

ระหว่างกำลังอาบน้ำ เปลือยหน้าอก Céline พยายามจะอธิบายว่าแผลที่หัวเข่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อธิบายว่าถูกคนฝึกงูโจมตี … โอ้แม่เจ้า! ผมคงไม่ต้องอธิบายหรอกมั้งว่างูคือสัญลักษณ์ของอะไร? ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองจะจินตนาการไปได้ไกลเพียงไหน

ปล. ผมเคยเขียนถึง Juliet Berto มาก่อนหน้านี้ รับรู้ว่าเธอเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม พอเห็นฉากอาบน้ำเปลือยหน้าอก แทนที่จะระริกระรี้ กลับรู้สึกห่อเหี่ยวยังไงชอบกล

ผมละขำกลิ้งกับความพยายามของ Berto อยากจะโชว์เรียวขา ขณะเดียวกันก็ต้องหาตำแหน่งวางมือเพื่อปกปิดของสงวน แต่มันก็ยังแอบวับๆแวมๆ ไม่ได้สวมกางเกงใน มันช่างยั่วเย้า เซ็กซี่อีโรติก น่าตื่นตาตื่นใจกว่า Basic Instinct (1992) เสียอีกนะ!

แซว: ใครเคยรับชม Out 1 (1971) ก็น่าจะมักคุ้นสิ่งที่ตัวละครของ Berto กล่าวถึงความพยายามงัดลิ้นชัก!

Mandrake เป็นพืชที่มีอยู่จริงในวงศ์ไม้มะเขือ แต่มันไม่ได้มีหน้าเหมือนทารก หรือส่งเสียงกรีดร้องเมื่อถูกดึงขึ้นจากดิน (แบบใน Harry Potter) สรรพคุณคือสารเสพติด หลอนประสาท สามารถใช้แก้ปวด ยานอนหลับ ส่วนพิธีกรรมทางเวทมนตร์คือแก้คำสาปที่ทรงอนุภาพ ทำให้คนถูกสาปหรือแปลงร่างกลับสู่สภาพเดิม

Guilou แฟนหนุ่มของ Julie ติดต่อหา แต่กลับเป็นว่า Céline รับโทรศัพท์แทน แล้วสวมวิก ปลอมตัวไปพบเจอ ทั้งสองตามสวมใส่ชุดขาว แล้วลุกขึ้นเริงระบำ ผมอ่านเจอว่าเป็นการอ้างอิงถึง Hollywood Musical ยังนึกไม่ออกว่าภาพยนตร์เรื่อง? แต่ที่แน่ๆชุดสีขาวของทั้งสอง ละม้ายคล้ายภาพยนตร์ The Band Wagon (1953) ฉากเต้นในสวนสาธารณะระหว่าง Fred Astaire และ Cyd Charisse

บ้านลึกลับหลังนี้ ถ้าตามที่อยู่ในหนังคือ 7bis rue du Nadir aux Pommes แต่จริงๆแล้วตั้งอยู่ยัง 7, avenue de Brétigny ในเขต Garches ชุมชนเล็กๆทางตะวันตกของกรุง Paris ปัจจุบันยังไม่ได้ถูกทุบทำลาย แต่เป็นพื้นส่วนบุคคล เลยไม่มีใครล่วงรู้รายละเอียดเพิ่มเติม

ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ลวดลายและสีสัน ราวกับบ้านแห่งความฝัน ในโลกแฟนตาซี ขณะเดียวกันโศกนาฎกรรมเคยบังเกิดขึ้นในอดีต จะเรียกว่าบ้านผีสิงคงไม่ผิดกระไร … เป็นบ้านแห่งความเป็นได้ทุกสิ่งอย่าง!

การแสดงมายากลของ Céline สังเกตว่ามักมีลักษณะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ! จากสิ่งอย่างหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งอย่างหนึ่ง ผ้าเช็ดหน้าเป็นไม้เท้า เชือกที่ถูกมัดคลายออก ลูกโป่งเป็นนก ดอกกุหลาบมอดไหม้ ฯ ซึ่งระหว่างนั้นก็จะมีการแทรกภาพ ‘Flash’ เรื่องราวในอดีตของบ้านหลังนั้น ปรากฎแวบๆ เพียงชั่วครู่ ดูไม่รู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ (เพราะนี่ยังเป็นแค่การเกริ่นนำเท่านั้น) สร้างความฉงนสงสัย อยากรู้อยากเห็นให้กับ Julie (และผู้ชม) มันกำลังเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไรขึ้น?

หลังจาก Julie ตระหนักถึงลูกอมวิเศษ หยิบขึ้นมาอม ทันใดนั้น “I See It!” พบเห็นภาพสะท้อนในกระจก เรื่องราวจากอดีตที่เคยบังเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น แต่เพราะนี่คือครั้งแรกๆ มันจึงกระโดดไปกระโดดมา ดูไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความยังไม่ได้ แล้วโดยไม่รู้ตัวลูกอมละลายหมดปาก

บางคนตีความลูกอมวิเศษ อาจคือยาหลอนประสาทชนิดหนึ่ง (ผมเพิ่งพบเจอว่า psychedelic ความหมายเดียวกับ bewitching) ที่ทำให้ผู้เสพเกิดอาการเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ล่องเรือ เพ้อคลั่งจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ ในความฝัน นามธรรมจับต้องได้

รอยประทับฝ่ามือด้านหลังของ Julie (ภายหลังการเสพลูกอม) เป็นการอ้างอิงถึงโคตรภาพยนตร์ M (1931) ของผกก. Fritz Lang ซึ่งเรื่องนั้นก็เกี่ยวกับฆาตกรโรคจิต ลักพาตัวเด็กๆไปทำการฆาตกรรม หมอนั่นถูกใครสักคนจับได้ จึงประทับรอยฝ่ามือไว้เบื้องหลัง … ในบริบทนี้น่าจะสื่อถึงการได้พบเห็นเหตุการณ์ในอดีตของสาวๆ รอยประทับความทรงจำ (เพราะพวกเธอไม่ได้เข่นฆ่าแกงใคร)

มีความเป็นได้อย่างสูงว่ายายคนนี้ อดีตแม่นมของ Julie จักคือปู่ฤาษี (The Hermit) เมื่อครั้นดูไพ่ทาโรต์ เพราะเธอเป็นเหมือนผู้ดูแลบ้านลึกลับหลังนั้นที่อยู่ฟากฝั่งตรงกันข้าม เล่าให้ฟังถึงอดีตของครอบครัวนั้น วันหนึ่งเก็บข้าวของย้ายออก โดยไม่เคยหวนกลับคืนมา ไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่าเด็กหญิงคนนั้น (ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับ Julie) จะเป็นจะตายเช่นไร?

การให้เด็กหญิงอายุเท่า Julie ก็เพื่อให้เกิดภาพสะท้อนตัวละคร รู้สึกสงสาร/เข้าใจหัวอกเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน นั่นคือเหตุผลให้เธอกระตือรือล้น อยากให้ความช่วยเหลืออีกฝ่าย!

ผมขี้เกียจนั่งพิมพ์เนื้อร้องบทเพลงที่ Julie ขึ้นทำการแสดงแทนมายากลของ Céline มันช่างเต็มไปด้วยถ้อยคำล่อแหลม สองแง่สองง่าม ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจก็อาจบังเกิดรอยยิ้ม ตลกร้าย (Dark Comedy) … ขอเลือกมาแค่สามท่อนก็แล้วกัน

  • Red-headed miss, fingers of bliss. นิ้วที่ทำให้บังเกิดความสุข(กระสันต์)
  • I have no heart, not even for a guy. บอกใบ้ถึงรสนิยมเลสเบี้ยน
  • You’re not worth a bean. Bunch of … pimps! Cosmic… cosmic twilight pimps! คำด่ากราดบุรุษที่คอยเกาะกินสตรี มีการไล่ระดับจาก ‘ไม่มีค่าเท่าเม็ดถั่ว’ วิวัฒนาการสู่ ‘จักรวาลแห่งแมงดา’

เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บุคคลที่อมลูกอมวิเศษ จักสามารถย้อนเวลากลับไปรับรู้เรื่องราวจากอดีต! อวตารในร่างนางพยาบาล ดังนั้นมันจึงมีทั้ง Julie และ Céline สลับกันเป็นนางพยาบาล ทำความสะอาดบาดแผลบริเวณข้อมือของนางจ้าง Camille … ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Julie เคยทำความสะอาดแผลตรงหัวเข่าให้กับ Céline

ก่อนหน้าจะเริ่มต้นเรื่องราวของหนัง Céline เคยทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็กในบ้านหลังนี้ ทั้งๆที่คุณยายอาศัยอยู่ฟากฝั่งตรงกันข้าม กลับบอกว่าไม่เคยมีใครเข้าพักอาศัยมาหลายปี … ถ้าตระหนักตั้งแต่ก่อนถึงซีนนี้ก็น่าจะเริ่มรู้สึกหลอนๆ

แล้วพอสองสาวบุกรุกเข้ามา ต้องการจะช่วยเหลือเด็กหญิง สังเกตว่าสมาชิกในครอบครัวมีการโบ๊ะแป้งขาว ราวกับซอมบี้/วิญญาณร้ายที่ยังว่ายเวียนวน ไม่ได้ไปผุดไปเกิด แถมยังปิดไฟทั่วบ้าน ใช้เพียงแสงสปอตไลท์สาดส่องจากด้านหลังกล้อง ทำให้พบเห็นเงาตัวละครอยู่เบื้องหลัง และบริเวณแสงส่องไม่ถึงจักปกคลุมด้วยความมืดมิด … นี่ยิ่งช่วยเสริมบรรยากาศหลอกหลอน ขนหัวลุกพองยิ่งนัก!

ผมไม่เข้าใจหรอกว่าสองสาวใช้เวทมนตร์อะไร ถึงสามารถช่วยชีวิตเด็กสาวออกจากบ้านลึกลับแห่งนั้น? มองเป็นความสนุกสนาน ตลกขบขัน มหัศจรรย์ภาพยนตร์ สามารถแหกกฎจักรวาลโดยไม่ต้องสนห่าเหว มีความสมเหตุสมผลใดๆ

หลังจากช่วยเหลือเด็กสาวได้สำเร็จก็ชักชวนกันมาล่องเรือ โอ้โห! ผมคนหนึ่งที่รอมานานกว่าจะได้พบเห็น Go Boating! ขึ้นมาจริงๆ ในบริบทนี้สามารถตีความถึงการเดินทางกลับออกจากดินแดนแห่งความฝัน/โลกแฟนตาซี (Wonderland) ซึ่งระหว่างกำลังแล่นเรือ สวนทางกับเจ้ากรรมนายเวรที่ยังติดตามมาจองล้างจองผลาญ

บางคนอาจจะตีความถึง ‘Butterfly Effect’ ผลกระทบจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอดีต ช่วยชีวิตเด็กสาวขึ้นไทม์แมชชีนสู่อนาคต ทำให้บิดาและป้าๆทั้งสองพยายามทวงคืนกรรมสิทธิ์เด็กสาว

หรือบางคนที่มองว่าลูกอมวิเศษคือสารเสพติดชนิดหนึ่ง (Go Boating ในบริบทนี้สื่อถึงอาการล่องลอยขณะมึนเมา) ทั้งเด็กหญิงและใครอื่น ล้วนเพียงภาพหลอน ความฝัน จินตนาการของสองสาว!

เริ่มต้น-สิ้นสุด หวนกลับสู่สามัญ เมื่อตอนต้นเรื่อง Julie มีความสนอกสนใจในตัว Céline, สลับตำแหน่งกันตอนจบ Céline กลายเป็นบุคคลไล่ล่าติดตาม Julie และแน่นอนภาพสุดท้ายต้องคือเจ้าเหมียว เพื่อนคู่ขาของแม่มด หันมาสบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall” จะไม่ให้ตกหลุมรักหนังเรื่องนี้ได้ยังไงกัน!

ตัดต่อโดย Nicole Lubtchansky ชื่อเดิม Nicole Daujat (1937-2014) สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของผกก. Rivette ร่วมงานกันตั้งแต่ L’amour fou (1969), Out 1 (1971), Celine and Julie Go Boating (1974), La Belle Noiseuse (1991) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Céline และ Julie ตัดสลับกลับไปกลับมา จากนั้นทั้งสองจะผลัดกันอมลูกอมวิเศษที่สามารถหวนรำลึกความหลัง ตัดสลับกลับไปกลับมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน แล้วโดยไม่รู้ตัวพวกเขาราวกับนั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปแก้ไขอดีต กระทำสิ่งขัดแย้ง แหกกฎจักรวาล!

  • Céline and Julie
    • Julie แอบติดตาม Céline ไปทั่วกรุง Paris
    • Céline แอบติดตาม Julie ระหว่างทำงานห้องสมุด แล้วมาดักรอหน้าอพาร์ทเม้นท์
    • Céline & Julie สองสาวในอพาร์ทเม้นท์
    • Julie เดินทางไปยังบ้านหลังเก่าของ Céline
      • Céline ปลอมตัวเป็น Julie ไปบอกเลิกแฟนหนุ่ม
    • Céline พร่ำเพ้อเจ้อกับเพื่อนฝูง คุยโวโอ้อวด Julie ระหว่างเฝ้ารอคอยเธอกลับบ้าน
    • Céline ทำการแสดงมายากล และกำลังจะได้รับโอกาสออกทัวร์ต่างประเทศ
  • Go Boating
    • Julie พยายามระลึกความทรงจำเมื่อเข้าไปในบ้านหลังเก่าของ Céline แต่พบเห็นภาพ ‘Flash’ จดจำอะไรไม่ได้มากนัก
    • สลับเปลี่ยนมายัง Céline เดินทางไปที่บ้านหลังเก่าของตนเอง
      • Julie ติดตามไปที่บ้านหลังนั้นแต่เข้าประตูไปได้ พยายามปีนป่าย ก่อนพบเจอแม่บ้านคนเก่า อาศัยอยู่ฟากฝั่งตรงข้าม
    • Julie ค้นพบลูกอมวิเศษที่สามารถหวนระลึกความทรงจำเกี่ยวกับบ้านหลังนั้น จึงผลัดกันอมกับ Céline ค่อยๆเรียนรู้เรื่องราวทีละเล็ก … แต่ไม่นานลูกอมก็หมดเสียก่อน
    • Céline เข้าไปในบ้านหลังนั้น (เพื่อเอาลูกอม)
      • Julie ได้รับโทรศัพท์จากแฟนเก่า แต่ก็ยังยืนกรานว่าจะเลิกรา
      • Julie กลายเป็นนักแสดงคาบาเร่ต์
    • เมื่อ Céline ได้ลูกอมกลับมาคราวนี้ ทำให้สองสาวได้รับรู้เบื้องหลังความจริงเกี่ยวกับบ้านหลังนั้น
  • แหกกฎจักรวาล
    • ทั้งสองตัดสินใจจะให้ความช่วยเหลือเด็กสาวจากโศกนาฎกรรม
    • ทั้งสองปลอมตัวเป็นคนใช้+พยาบาล ย้อนเข้าไปในอดีต เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กสาวจากอดีต
    • การเริงระบำของสองสาวและฝูงซอมบี้ (สมาชิกคนอื่นในครอบครัว)
    • กลับมาปัจจุบัน Céline และ Julie กำลังล่องเรือกับเด็กสาวที่ช่วยเหลือมา ก่อนจู่ๆพายสวนทางกับซอมบี้

แตกต่างจากตอน Out 1 (1971) ที่เพียงนำเอาฟุตเทจมาแปะติดปะต่อ ร้อยเรียงเข้าหากัน ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรมากนัก! ผิดกับ Céline and Julie Go Boating (1974) มีลีลาอันแพรวพราว ดูตื่นตระการ ตัดสลับกลับไปกลับมา ระหว่างภาพสายตา (Action & Reaction Shot) สลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละคร และไฮไลท์คืออดีต-ปัจจุบัน เริ่มจากปรากฎภาพ ‘Flash’ ความทรงจำสั้นๆ → ก่อนค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดทีละเล็กน้อย → จนรับรู้เบื้องหลังทั้งหมด → จู่ๆสองสาวก็เข้าไปมีส่วนร่วม แก้ไขอดีต → และผีเสื้อโบยบินหลังจากนั้น (Butterfly Effect)

หนังไม่ถือว่ามีเพลงประกอบ นอกจาก Opening Credit ทั้งหมดล้วนเป็น ‘diegetic music’ ได้ยินจากเครื่องเล่นแผนเสียง และขับร้อง-บรรเลงเปียโนระหว่างการแสดงมายากล & คาบาเร่ต์ (โดย Jean-Marie Senia)


Céline and Julie Go Boating (1974) นำเสนอเรื่องราวของสาวที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม Céline และ Julie การได้พบเจอ เรียนรู้จัก สลับกันใช้ชีวิต โดยไม่รู้ตัวสร้างอิทธิพล แรงบันดาลต่อกัน ทำให้สามารถค้นพบตนเอง เปิดมุมมองโลกกว้าง ชีวิตได้รับอิสรภาพ

  • Julie ทำงานบรรณารักษ์ จมปลักอยู่กับกองหนังสือ วันๆเพียงพร่ำเพ้อใฝ่ฝัน ทำนายทายทักถึงอนาคต จนกระทั่งได้พบเจอ Céline ทำให้บังเกิดความหาญกล้า ลาออกจากงาน เลิกราแฟนหนุ่ม ทั้งยังมีโอกาสได้ทำสิ่งไม่เคยจะได้ทำ (เป็นนักแสดงคาบาเรต์) ถ้าย้อนเวลาได้ก็อยากหวนกลับไปช่วยเหลือตนเองในอดีต ออกเดินทางสู่อนาคตอันสดใส
  • Céline โอบรับวิถีชีวิตโบฮีเมียน ดั้งเดิมเป็นคนล่องลอย ไร้หลักแหล่ง ไม่เคยสนใจห่าเหวอะไรใคร กระทำสิ่งต่างๆเพียงตอบสนองความพึงพอใจ การได้รับรู้จัก Julie ทำให้ได้เรียนรู้ความรับผิดชอบ ช่วยเหลือ แบ่งปัน อาสาบอกเลิกราแฟนหนุ่ม (ของ Julie) และท้ายที่สุดสามารถเผชิญหน้าตนเองในอดีต แก้ไขสิ่งเคยผิดพลาด เพื่อจักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่

ไม่ใช่แค่เรื่องราว/ความสัมพันธ์ระหว่าง Céline & Julie ที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม บ้านลึกลับหลังนั้นก็เป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้า “อดีต vs. ปัจจุบัน” เรื่องราว/ความสัมพันธ์ระหว่าง Camille & Sophie ก็มีความแตกต่างตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง!

  • Camille ต้องการซื้อใจ Olivier ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องเหมือนพี่สาวผู้ล่วงลับ Natalie แต่ทว่าเด็กหญิง Madlyn กลับเกิดอาการหวาดกลัว ครุ่นคิดว่าถูกผีหลอก จึงไม่สามารถยินยอมรับ ปัดแก้วตกจนมือได้รับบาดเจ็บ เลยครุ่นคิดแผนการฆาตกรรมเด็กสาว เพื่อครอบครองบ้านหลังนี้แต่เพียงผู้เดียว
  • Sophie เต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา Camille พยายามเกี้ยวพาราสี Olivier เช่นเดียวกัน! จึงครุ่นคิดแผนการฆาตกรรมเด็กสาว กำจัดให้พ้นภัยทาง

องค์สามของหนังบางคนอาจมองเป็นความเพ้อฝัน แฟนตาซี คอมเมอดี้ไร้สาระ ดั่งสำนวนเกริ่นไว้ตอนต้น Shaggy-dog story, สองสาว Céline และ Julie พออมลูกอมวิเศษ (อาจจะมองเป็นสารเสพติด มีฤทธิ์หลอนประสาทก็ได้กระมัง) แล้วสามารถล่องเรือ (Go Boating) ออกเดินทางย้อนเวลากลับไปให้ความช่วยเหลือเด็กหญิง Madlyn รอดพ้นจากการถูกพี่สาวใจร้ายลงมือฆาตกรรม!

In comedy we pretend to resolve things. And in non-comedy one ends with a non-resolution. But it doesn’t seem at all evident to me that there’s a resolution at the end. After all in the last scene the girls’ roles are reversed — but of course that’s just a pirouette.

Jacques Rivette

มันไม่ใช่ว่าสองสาวบังเกิดมนุษยธรรม สงสารเห็นใจเด็กหญิงขึ้นมา? แต่ถ้าเราทำความเข้าใจลูกเล่น ลีลา ภาษาภาพยนตร์ “สูตรสอง” จักตระหนักว่า Camille & Sophie คือภาพสะท้อนตัวตนของ Céline & Julie เป็นไปได้อาจเคยพานผ่านเหตุการณ์ลักษณะคล้ายๆเดียวกันมา (ในกรณีของ Céline ยังเป็นบุคคลเคยอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว) ด้วยเหตุนี้จึงสามารถตีความถึงการที่พวกเธอกำลังเผชิญหน้าอดีต ปมบางอย่างติดค้างคาใจ เรียนรู้/ปรับตัว/แก้ไขเหตุการณ์เลวร้าย เพื่อสามารถลุกขึ้น ก้าวเดิน เริ่มต้นชีวิตใหม่ มีอนาคตอันสดใส

ภาพยนตร์เรื่องสร้างขึ้นภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติสังคม Mai ’68 ที่ทุกสิ่งอย่างล้วนพลิกกลับตารปัตร (Counterpoint) โดดเด่นสุดคือการโอบรับแนวคิดสตรีนิยม (Feminist) เปรียบเทียบหญิงสาวราวกับแม่มด (ถ้าเป็นยุคกลางแม่มดจะถูกไล่ล่า ตีตรา เผาให้ตายทั้งเป็น) ปัจจุบันได้รับการปลดปล่อยสู่อิสรภาพ สามารถกระทำสิ่งโน่นนี่นั่นโดยไม่ถูกควบคุมครอบงำโดยใคร ภายใต้ขนบสังคม วิถีภาพยนตร์ หรือแม้แต่กฎจักรวาล

ลูกเล่นของหนังที่เมื่อทำการเล่าย้อนอดีต (บ้านลึกลับหลังนั้น) นำเสนอด้วยวิธีการโบร่ำราณ Traditional, Classical หรือ Theatrical (แล้วแต่จะเรียก) แล้วเอาบรรทัดฐาน ค่านิยมทางสังคมสมัยใหม่ เข้าไปตัดสินใจถูก-ผิด ดี-ชั่ว ต้องการปรับเปลี่ยนแก้ไข นี่คือลักษณะของการทบทวนตนเอง วิพากย์วิจารณ์ประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์(เลวร้าย)เหล่านั้นหวนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำรอยเดิม … Céline & Juliet ได้ทำการช่วยเหลือเด็กหญิง (ตัวแทนคนรุ่นใหม่) ให้เอาตัวรอดจากวิถีสังคมเก่าก่อน

มันมีอะไรที่ผกก. Rivette อยากหวนกลับไปแก้ไขอดีตหรือเปล่า? ถ้าเรื่องส่วนตัวผมไม่รู้เหมือนกัน ใกล้เคียงสุดเคยเห็นบทสัมภาษณ์กล่าวถึง Paris Belongs to Us (1960) และ The Nun (1966) คือช่วงเวลาสูญเสียไปกับสิ่งไม่ใช่แนวทางของตนเอง … แต่ถ้าไม่มีบทเรียนจากภาพยนตร์สองเรื่องนี้ ก็อาจทำให้ผกก. Rivette ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ที่แตกต่างออกไป

When I began making films my point of view was that of a cinephile, so my ideas about what I wanted to do were abstract. Then, after the experience of my first two films, I realised I had taken the wrong direction as regards methods of shooting. The cinema of mise en scène, where everything is carefully preplanned and where you try to ensure that what is seen on the screen corresponds as closely as possible to your original plan, was not a method in which I felt at ease or worked well.

Jacques Rivette

การทดลองของผกก. Rivette แม้พยายามสร้างเรื่องขบขัน ไร้สาระ บ้าบอคอแตก แต่จุดประสงค์เพื่อแหกขนบกฎรอบทุกสิ่งอย่าง! สอดคล้องเข้ากับอุดมการณ์ จิตวิญญาณกลุ่มเคลื่อนไหว French New Wave ปฏิเสธก้มหัวศิโรราบไม่ว่าอะไรใดๆ นั่นคือที่สุดแห่งอิสรภาพอย่างแท้จริง!

For Rivette, this creative, generative impulse is the stuff of liberation. And so we begin back where we started: the same park, the same bench. Only this time, Céline will chase Julie. The materials do not change, yet the possibilities are infinite, unpredictable, freeing.

นักวิจารณ์ Beatrice Loayza จาก Criterion

ปล. ความมหัศจรรย์ตอนจบของ Céline and Julie Go Boating (1974) ชวนให้นึกถึงภาพยนตร์ Miracle in Milan (1951) ของผกก. Vittorio De Sica อยู่ไม่น้อยทีเดียว!


เมื่อตอนออกฉาย เสียงตอบรับถือว่าค่อนข้างดี เลยมีโอกาสเดินทางไปตามเทศกาลหนังหลายแห่ง นักวิจารณ์เพียงพร่ำบ่นเรื่องความยาว กับพล็อตจับต้องไม่ค่อยได้ (แต่นั่นคือความตั้งใจของผู้สร้าง เราควรปรับตัวเข้าหาหนัง ไม่ใช่ให้หนังปรับตัวเข้าหาเรา)

กาลเวลาทำให้ Céline and Julie Go Boating (1974) ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ หนึ่งใน “Greatest Film of All-Time” ติดอันดับหลายๆชาร์ทภาพยนตร์

  • Sight & Sound: Critic’s Poll (2012) ติดอันดับ #127 (ร่วม)
  • Sight & Sound: Critic’s Poll (2022) ติดอันดับ #78 (ร่วม)
  • TIMEOUT: The 100 Best French Films (2024) ติดอันดับ #41

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 2K (จากฟีล์ม 16mm) เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2021 สามารถหาซื้อ Blu-Ray รับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel

ไม่รู้ทำไมผมถึงเกิดความหลงใหลชื่อหนังตั้งแต่แรกได้ยิน Céline and Julie Go Boating มันเหมือนมีแรงดึงดูดอะไรบางอย่าง เคยครุ่นคิดว่าคือหนังเพลง Hollywood ด้วยซ้ำไป! จนกระทั่งรับรู้ว่าเป็นหนังฝรั่งเศส กำกับโดย Jacques Rivette ความยาว 192 นาที เกิดอาการชะงักงันขึ้นโดยพลัน!

เอาจริงๆผมมีความกระตือรือล้นอยากรับชม Céline and Julie Go Boating (1974) มากกว่า Out 1 (1971) เสียอีกนะ! นั่นเพราะความยาว 773 นาที มันมีความขู่ขวัญ ‘intimidate’ ยิ่งใหญ่อลังการ น่าเกรงขามยิ่งนัก แต่พอพานผ่านขุมนรก 13 ชั่วโมงนั้นมาได้ เลยรู้สึกสบายๆกับหนังแค่ 192 นาที

สิ่งที่ผมถือเป็นไฮไลท์ของหนังก็คือ Dominique Labourier และ Juliet Berto สองสาวต่างมีความระริกระรี้ ขี้เล่น เป็นตัวของตนเอง (แหกขนบสังคม) อมลูกอมแล้วพร่ำเพ้อฝัน ตัดต่อกลับไปกลับมา (แหกวิถีภาพยนตร์) ย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต (แหกกฎจักรวาล)

จัดเรต pg กับความระริกระรี้ ตลกร้ายของสองสาว

คำโปรย | Céline and Julie Go Boating ลองเรือสู่โลกแฟนตาซี ที่สองสาวสามารถทำสิ่งบ้าๆบอๆ แหกขนบสังคม วิถีภาพยนตร์ และกฎจักรวาล
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ต้องมนต์คลั่ง

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: