
Out 1 (1971)
: Jacques Rivette & Suzanne Schiffman ♥♥♥♥
ด้วยความยาว 773 นาที (12 ชั่วโมง 53 นาที) คือหนึ่งในภาพยนตร์ ‘Cinematic films’ เยิ่นยาวนานที่สุด! ถือเป็นประสบการณ์หลุดโลก ‘Out of this World’ ด้วยโครงสร้างดำเนินเรื่องที่ราวกับเขาวงกต ท้าทายทั้งร่างกาย สติปัญญา และความมุ่งมั่นตั้งใจในการรับชม
ได้แรงบันดาลใจจากนาฏกรรมชีวิต La Comédie humaine (1826-48) แปลว่า The Human Comedy ผลงานชิ้นเอกของ Honoré de Balzac (1799-1850) ประกอบด้วยงานเขียนทั้งบทความ เรื่องสั้น นวนิยาย จำนวน 91 เรื่อง (มีเขียนไม่เสร็จ ค้างๆคาๆไว้อีก 46 เรื่อง) ที่ต่างเป็นเอกเทศ ไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่เชื่อมโยงพื้นหลังยุคสมัย Restoration (1815-30) และ July Monarchy (1830-48) … ถ้าจะอธิบายให้ผู้ชมสมัยใหม่เห็นภาพ คงต้องเปรียบเทียบจักรวาล Marvel ภาพยนตร์/ซีรีย์แต่ละเรื่อง ไม่จำเป็นต้องมีเรื่องราวติดต่อเนื่องกัน แค่เพียงบางตัวละคร บางสถานที่ บางสิ่งอย่างเชื่อมโยงถึงกัน (อยู่ในจักรวาลเดียวกัน)
Out 1 (1971) ประกอบด้วย 4 เรื่องราวคู่ขนาน ตัดสลับกลับไปกลับมา มองผิวเผินเหมือนไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกัน แต่ถ้าคุณสามารถอ่านภาษาภาพยนตร์ หรืออดรนทนตั้งใจรับชมไปเรื่อยๆ ก็จักค่อยๆค้นพบความเชื่อมโยงใย แปะติดปะต่อราวกับหยากไย่ องค์กรลึกลับ The Thirteen (อ้างอิงจาก History of the Thirteen collection (1833-35) นิยายของ Balzac อีกเช่นกัน) มีตัวตนอยู่จริง หรือเพียงแค่ทฤษฎีสมคบคิด?
- เรื่องราวของชายใบ้ Colin (รับบทโดย Jean-Pierre Léaud) เป่าฮาร์โมนิก้า ชอบเดินขอทานไปทั่ว
- หญิงสาวโจรกระจอก Frédérique (รับบทโดย Juliet Berto) ล่อหลอกผู้ชายไม่ซ้ำหน้า
- ซักซ้อมการแสดงละคอนเวที Aeschylus: Seven Against Thebes กำกับการแสดงโดย Lili (รับบทโดย Michèle Moretti)
- และอีกซักซ้อมการแสดงละคอนเวที Aeschylus: Prometheus Bound กำกับการแสดงโดย Thomas (รับบทโดย Michael Lonsdale)
แนะนำให้หารับชม Paris Belongs to Us (1961) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผกก. Rivette แล้วจะพบเห็นแนวคิด สไตล์ลายเซ็นต์ ความเชื่อมโยงที่อาจทำให้คุณดู Out 1 (1971) รู้เรื่องขึ้นกว่าเดิม 50%
การจะรับชมภาพยนตร์ความยาวเกือบๆ 13 ชั่วโมง ยุคสมัยนั้นแทบจะเป็นไม่ได้! (ถ้าโรงหนังเปิด 10 โมง กว่าจะดูจบก็ 5 ทุ่ม) แต่เห็นว่าเคยเข้าฉายเทศกาลหนังรอบหนึ่ง! จากนั้นทำการตัดแบ่งออกเป็น 8 ตอนละ 90-100 นาที ตั้งใจจะนำออกฉายทางโทรทัศน์ กลับถูกปฏิเสธโดย(กองเซนเซอร์) Office de Radiodiffusion-Télévision Française (ORTF) เพราะเนื้อหาสุดโต่ง รุนแรงเกินไป(กว่าจะฉายทางโทรทัศน์) ผกก. Rivette จึงพยายามตัดต่อใหม่ให้เหลือเพียง 253 นาที (4 ชั่วโมง 13 นาที) ตั้งชื่อว่า Out 1: Spectre (1972) … แต่ถ้ามีเวลาว่าง แนะนำให้หารับชมฉบับเต็ม 13 ชั่วโมงจะดีกว่านะครับ
ผู้ชมสมัยใหม่ไม่น่าจะมีปัญหามากนักกับการรับชม 13 ชั่วโมง มันต่างอะไรจากการดูมินิซีรีย์ หรือซีรีย์ยาวๆหลายสิบซีซัน แค่ว่าพอมันเป็นหนังอาร์ท การทดลอง ‘Performance Arts’ อ่านภาษากายไม่ค่อยออก ดูไม่ค่อยรู้เรื่อง ผ่านไปครึ่งชั่วโมงก็หมดสูญสิ้นความอดทน แทบจะอยากคลุ้มบ้าคลั่ง … แต่ถ้าคุณสามารถพานผ่านประสบการณ์ 13 ชั่วโมง ก็อาจจะค้นพบโลกใบใหม่ สรวงสวรรค์รำไร “voyage beyond cinema”
A mind-blowing experience, but one which, instead of taking one ‘out of this world’ as the expression has it, took one right smack into the world. Or into a world which one only dimly realised was there – always right there beneath the everyday world … the cinema will never be the same again, and nor will I.
นักวิจารณ์ Richard Roud จากนิตยสาร The Guardian
ผมมีรายการหนังยาวๆที่อยากรับชมอยู่อีกหลายเรื่อง Wang Bing, Lav Diaz ฯ แต่การจะดูสักเรื่องต้องวางแผน แบ่งเวลา เตรียมตัวเตรียมใจพอสมควร โชคดีว่า Out 1 (1971) มีการแบ่งออกเป็นตอนๆให้เสร็จสรรพ เลยสามารถค่อยๆทะยอยดูวันละตอนสองตอนอย่างไม่รีบร้อน
แนะนำเพิ่มเติมให้พยายามอดทนดูวันแรกให้ได้ 2-3 ตอนขึ้นไป แล้วค่อยหาอ่านสปอย/บทความนี้ เพราะมันจะมีเหตุการณ์นำเข้าสู่เรื่องราวหลัก (อยู่ประมาณชั่วโมงที่สาม) ตัวละครของ Jean-Pierre Léaud ได้รับจดหมายลึกลับ เพราะนั่นจักคือเนื้อหาสาระ เป้าหมายปลายทางของหนัง ชวนให้อยากติดตามต่อตอน 4-5-6
ผมขอเริ่มต้นด้วยการอธิบายถึง Seven Against Thebes และ Prometheus Bound ต่างประพันธ์โดยบิดาผู้ให้กำเนิดบทละคอนโศกนาฎกรรรม Aeschylus (525/524 BC – 456 BC) สัญชาติ Greek … เอาจริงๆต่อให้ไม่เคยรับรู้จักสองการแสดงนี้มาก่อน ก็ยังสามารถดูหนังรู้เรื่องนะครับ แต่ถ้าเรามีความรู้นิดๆหน่อยๆ ก็อาจช่วยเสริมความเข้าใจ มองเห็นจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Seven Against Thebes คือบทละคอนภาคสามในไตรภาค Oedipodea ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี 467 BC นำเสนอเรื่องราวของ Oedipus กษัตริย์แห่ง Thebes หลังแต่งงานกับพระมารดา ให้กำเนิดสองพระโอรส Eteocles และ Polynices เพราะกลัวจะเกิดเหตุการณ์นองเลือดจากการแย่งชิงบัลลังก์ จึงแบ่งมรดกให้ทั้งสองสลับกันขึ้นครองราชย์คนละปี! แต่หลังจากปีแรก Eteocles กลับปฏิเสธส่งต่อบัลลังก์ให้น้องชาย Polynices นั่นคือจุดเริ่มต้นนำเข้าสู่บทละคอน Seven Against Thebes
เรื่องราวเริ่มต้นที่ Polynices ติดต่อขอความช่วยเหลือจาก Adrastus กษัตริย์แห่ง Argos พร้อมกับ 7 ยอดนักรบ (ประกอบด้วย Polynices, Tydeus, Amphiaraus, Capaneus, Parthenopaeus, Hippomedon, Eteoclus) กรีธาทัพ เพื่อมาทำศึกสงครามแย่งชิงราชบังลังก์กับ Eteocles … แต่บทละคอนนี้ไม่ได้สู้รบสงครามกันเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะนำเสนอผ่านมุมมอง Eteocles พูดคุยกับขุนนาง ประชาชน วางแผนส่งนักรบเข้าร่วมการต่อสู้ตัวต่อตัว จนคู่สุดท้ายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างพี่น้อง Eteocles และ Polynices ผลลัพท์ฆ่ากันตายคู่ สมกับการเป็นบทละคอนโศกนาฎกรรม
Prometheus Bound ประพันธ์ขึ้นระหว่าง 479 BC และ 424 BC นำเสนอปรัมปรา Prometheus เทพไททันที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ลักขโมยไฟจาก Hestia มามอบให้มนุษย์รู้จักหุงหาอาหาร จุดไฟส่องแสงสว่าง ทั้งยังเสี้ยมสอนองค์ความรู้ต่างๆ จนก่อเกิดอารยธรรมขึ้นได้ แต่นั่นกลับสร้างความเกรี้ยวกราดให้ Zeus ที่ต้องการทำลายล้างมนุษย์ จึงลงโทษทัณฑ์ด้วยการล่ามโซตรวนไว้บนเทือกเขา Scythia, เรื่องราวของ Prometheus Bound เริ่มต้นระหว่างที่ Prometheus พันธมิตรแห่งมนุษยชาติ ถูกล่ามโซ่ตรวนบนเทือกเขา แล้วมีบุคคลมากมายผ่านมาเยี่ยมเยือน ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ
- Oceanids บรรดาบุตรสาวของ Oceanus และ Tethys ได้ยินเสียงทุบเหล็ก ล่ามโซ่ตรวน จึงเดินทางมาด้วยความอยากรู้อยากเห็น สอบถามถึงเบื้องหลังความเป็นมาของ Prometheus
- เทพไททัน Oceanus บิดาของ Oceanids นั่งรถลากเทียม Griffin เดินทางมาแสดงความสงสารเห็นใจ พยายามจะให้คำแนะนำ แต่ทว่า Prometheus กลับแสดงความไม่พึงพอใจ บอกว่าไม่รู้ก็อย่ายุ่งเกี่ยว
- Io บุตรสาวของ Inachus กษัตริย์แห่ง Argos ผู้ได้รับความรักเอ็นดูจาก Zeus แต่สร้างความเกรี้ยวกราดให้ Hera (ภรรยาของ Zeus) จึงถูกขับไล่ออกจากเมืองเพื่อหลบเลี่ยงปัญหา เธอจึงเดินทางร่อนเร่ เตร็ดเตร่มาถึงยังเทือกเขา Scythia เล่าความหลังให้กับ Prometheus พยากรณ์อนาคตให้ว่าการเดินทางจักสิ้นสุดยังปากแม่น้ำไนล์ จากนั้น Zeus ทำการชุบชีวิตขึ้นมาแต่งงานกับตนเอง แล้วให้กำเนิดบุตรชาย Epaphus ที่จะให้กำเนิดบุตรสาวอีก 50 คน เกือบทุกคนลงมือฆ่าสามีตนเอง ยกเว้นเพียงคนหนึ่งแต่งงานกับ Zeus และให้กำเนิดทายาท Heracles ผู้ปลดปล่อย Prometheus จากความทุกข์ทรมานนี้
- คำประกาศกร้าวของ Prometheus ว่าสักวันหนึ่ง Zeus จักต้องสูญสิ้นอำนาจ สร้างความเกรี้ยวกราดให้กับ Zeus บันดาลให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาแยกออกจากกัน กลบฝัง Prometheus ไม่ให้สามารถขยับเคลื่อนไหว และสั่งให้นกอินทรียักษ์จิกกินตับทุกวี่วัน (เพราะเป็นอมตะ ทุกค่ำคืนตับของ Prometheus จะงอกขึ้นใหม่) ประโยคสุดท้ายของ Prometheus กล่าวว่า
- O holy mother mine, O you firmament that revolves the common light of all, you see the wrongs I suffer!
Jacques Pierre Louis Rivette (1928-2016) นักวิจารณ์/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Rouen, Seine-Maritime บิดาเป็นเภสัชกร บ้านอยู่ติดกับโรงภาพยนตร์ วัยเด็กหลงใหลการวาดรูปและอุปรากร หลังมีโอกาสอ่านหนังสือของ Jean Cocteau เกี่ยวกับการถ่ายทำ Beauty and the Beast (1946) ตัดสินใจมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังด้านนี้ เข้าร่วมกลุ่ม Ciné-Clubs ถ่ายทำหนังสั้น 16mm เรื่องแรก Aux Quatre Coins (1948), จากนั้นออกเดินทางสู่ Paris แล้วได้พบเจอ Jean Gruault ที่ร้านขายหนังสือ ชักชวนมารับชมภาพยนตร์ที่ Ciné-Club du Quartier Latin แล้วได้พูดคุยถกเถียงหลังการฉายกับว่าที่เพื่อนสนิท Éric Rohmer
Rivette ส่งหนังสั้นที่สร้างขึ้นเพื่อสมัครเรียน Institut des Hautes Études Cinématographiques แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ จึงเข้าคอร์สภาพยนตร์ระยะสั้น University of Paris ระหว่างนั้นแวะเวียนขาประจำ Cinémathèque Française ก่อนได้รับชักชวนเป็นนักวิจารณ์นิตยสาร Gazette du Cinéma (ก่อตั้งโดย Éric Rohmer และ Francis Bouchet) ติดตามด้วย Cahiers du Cinéma มีชื่อเสียงจากเขียนบทความชื่นชม Howard Hawks, Fritz Lang, Roberto Rossellini, Kenji Mizoguchi แล้วด่าทอบรรดาผู้กำกับฝรั่งเศสรุ่นใหม่ๆที่ไม่กล้าได้กล้าเสี่ยง สนเพียงกำไรความสำเร็จ และยังร่วมกับ Truffaut (ตั้งชื่อเล่น “Truffette and Rivaut”) แบกเครื่องบันทึกเสียง เดินทางไปสัมภาษณ์/ตีพิมพ์บทความเชิงลึกจากบรรดาผู้กำกับที่พวกเขาโปรดปราน อาทิ Alfred Hitchcock, Howard Hawks, Fritz Lang, Jean Renoir, Roberto Rossellini, Orson Welles ฯ
หลังเสร็จสร้าง Paris Belongs to Us (1961) และ The Nun (1966) ผกก. Rivette บังเกิดความตระหนักว่านี่ไม่ใช่แนวทางภาพยนตร์ที่ตนเองอยากสรรค์สร้าง
When I began making films my point of view was that of a cinephile, so my ideas about what I wanted to do were abstract. Then, after the experience of my first two films, I realised I had taken the wrong direction as regards methods of shooting. The cinema of mise en scène, where everything is carefully preplanned and where you try to ensure that what is seen on the screen corresponds as closely as possible to your original plan, was not a method in which I felt at ease or worked well.
(อีกบทสัมภาษณ์) The shooting of La Religieuse was difficult … I was troubled because we had done the piece before as a play with the sentiments, rehearsals, etc, and I realized when I shot the film that since the people were doing the same text, the same words, my mind was wandering and I was no longer listening to the words.
Jacques Rivette
หลังเสร็จจาก The Nun (1966) ผกก. Rivette จึงเริ่มทำการทดลองกับ L’Amour fou (1969) ด้วยการให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) แบบไร้ขอบเขตจำกัด นำเสนอเรื่องราวสามี-ภรรยาที่ใกล้ถึงจุดแตกหัก เคียงคู่ขนานกับการซักซ้อมโปรดักชั่นละคอนเวที Racine: Andromaque ความยาว 252 นาที (4 ชั่วโมง 12 นาที)
That was when I began to want to try the experiment of L’ Amour Fou. The film began as a sort of gamble by Georges de Beauregard. He needed to make films to keep his production company going, and one day he asked if I had anything in mind that wouldn’t cost too much. I suggested L’Amour Four, and there was no argument because it was something that could be shot in five weeks with a small cast and a minimum crew. Afterwards, he wasn’t too pleased to be presented with a film two or three times the length he wanted. So we didn’t do him much good, but I was delighted to have been able to make it.
ด้วยเสียงตอบรับดีเยี่ยมของ L’Amour fou (1969) จึงทำการต่อยอดกับภาพยนตร์เรื่องใหม่ Out 1 (1971) เพิ่มเติมจากสองเรื่องราวคู่ขนาน มาเป็นสี่เรื่องราวคู่ขนาน!
Originally the idea was to do four parallel feuilleton (Serial) stories, linked at the beginning of each episode by still shots connecting with the other episodes, rather like the old serials. We later abandoned this idea… In the 13-hour version the plot got under way after four hours of documentary, both true and false, on the two theatrical groups: it was something of a documentary about the modern experimental theatre, a little Peter Brookish or Living Theatre. And there were bits about Juliet Berto and Jean-Pierre Léaud, who were the characters outside all this; you saw him distributing his envelopes, and her doing her bit of hustling. Then came the idea of connecting the four parallel stories. It was at this point that Juliet and Jean-Pierre began to function as go-betweens for the audience, each in his own way, by trying to discover the significance of scenes or sequences of events which are as yet meaningless.
นำแรงบันดาลใจจากนาฏกรรมชีวิต La Comédie humaine (1826-48) แปลว่า The Human Comedy ผลงานชิ้นเอกของ Honoré de Balzac (1799-1850) ที่แต่ละเรื่องราวต่างมีความเป็นเอกเทศ กลับสามารถเชื่อมโยงใย อยู่ร่วมจักรวาลเดียวกัน
ในส่วนบทหนังผกก. Rivette ร่วมงานกับ Suzanne Schiffman (จาก Script Girl สู่ Script Supervisor สู่ Assistant Director) แต่พวกเขาเขียนรายละเอียดเพียงคร่าวๆ วันนี้ถ่ายทำอะไรยังไง ที่เหลือคือการให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) ซึ่ง Schiffman ยังช่วยการซักซ้อมละคอนเวที (dialogue coach) เลยได้รับเครดิตร่วมกำกับ (Co-Director)
เกร็ด: บางครั้งชื่อหนังมีเติมสร้อย Out 1: Noli Me Tangere ภาษาละตินแปลว่า Touch Me Not อ้างอิงจาก John 20:17 พระเยซูหลังการฟื้นคืนชีพ (Resurrection) สั่งห้ามไม่ให้ Mary Magdalene สัมผัสจับต้องตนเอง
I chose ‘Out’ as the opposite of the vogue word ‘in’, which had caught on in France and which I thought was silly. The action of the film is rather like a serial which could continue through several episodes, so I gave it the number ‘One’.
คณะการแสดง Seven Against Thebes กำกับโดย Lili (รับบทโดย Michèle Moretti) วันหนึ่งมีผู้ช่วยหน้าใหม่ Renaud (รับบทโดย Alain Libolt) เข้ามาเสนอแนะโน่นนี่นั่น จนค่อยๆมีอิทธิพล ไม่นานนักกลายเป็นหัวหลักหัวตอ สำคัญเหนือกกว่า Lili แล้วอีกวันหนึ่ง Quentin (รับบทโดย Pierre Baillot) แทงม้าชนะรางวัลเงินล้าน ตระเตรียมซื้อข้าวของมาเฉลิมฉลองร่วมกับผองเพื่อน กลับถูก Renaud ลักขโมยเงิน สูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ทำให้โปรดักชั่นต้องล้มเลิก ทุกคนช่วยกันออกตามหาทั่วกรุง Paris แต่ไม่พบเจออะไรใดๆ
ส่วนคณะการแสดง Prometheus Bound กำกับโดย Thomas (รับบทโดย Michael Lonsdale) อดีตเพื่อนร่วมงานของ Lili แม้การซักซ้อมจะดำเนินไปด้วยดี แต่ทว่าเจ้าตัวกลับค่อยๆสูญเสียความมั่นใจในตนเอง สมองตื้อตัน ครุ่นคิดอะไรไม่ค่อยออก (Creative Blocks) จึงเดินทางสู่ Obade (บ้านพักริมทะเลที่ Normandy) ชักชวนอดีตคนรัก/นักเขียน Sarah (รับบทโดย Bernadette Lafont) ให้มาช่วยเสนอแนะความคิดสร้างสรรค์ แต่ความสัมพันธ์สามเส้าระหว่าง Thomas, Sarah และ Beatrice (รับบทโดย Edwine Moatti) กลับทำให้คณะการแสดงเกิดรอยร้าว ความบาดหมาง นักแสดงขอลาออกทีละคนสองคน จนสุดท้ายต้องล้มเลิกโปรดักชั่นอีกเช่นกัน
Jean-Pierre Léaud (เกิดปี 1944) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บิดาคือนักเขียน Pierre Léaud ส่วนมารดาเป็นนักแสดง Jacqueline Pierreux ต่างไม่ค่อยมีเวลาให้สักเท่าไหร่ เลยส่งบุตรชายไปโรงเรียนประจำ ตอนอายุ 14 ขวบ พอได้ยินข่าวการคัดเลือกนักแสดงเด็ก โดดโรงเรียน ขึ้นรถไฟหนีมาทดสอบหน้ากล้อง เข้าตาผู้กำกับ François Truffaut แสดงนำภาพยนตร์ The 400 Blows (1959) แล้วตัดสินใจเอาจริงเอาจังด้านนี้ ผลงานเด่นๆติดตามมา อาทิ Masculin Féminin (1966), Stolen Kisses (1968), Bed and Board (1970), Out 1 (1971), Last Tango in Paris (1972), Day of Night (1973), The Mother and the Whore (1973) ฯ
รับบท Colin ชายหนุ่มแสร้งทำเป็นบ้าใบ้ รีดไถเงินจากการเป่าฮาร์โมนิก้า วันหนึ่งได้รับจดหมายลึกลับถึงสามฉบับ เกิดความใคร่รู้ใคร่สงสัย ขบไขปริศนาเกี่ยวกับ The Thirteen ออกเดินทางสืบสวนสอบสวน จนกระทั่งพบเจอร้าน L’Angle du Hasard ของ Pauline (รับบทโดย Bulle Ogier) ตกหลุมรักแรกพบ พยายามเกี้ยวพาราสี ก่อนค่อยๆสูญเสียความสนใจในองค์กรลึกลับ
โดยปกติแล้ว Léaud เป็นนักแสดงที่เก่งในเรื่องท่องจำบท ไม่ค่อยมีประสบการณ์ดั้นสด (Improvised) ซึ่ง(ผู้ช่วย) Schiffman ที่เคยร่วมงานมาหลายครั้ง (ในหนังของ François Truffaut) ให้คำแนะนำผกก. Rivette แทรกใส่สิ่งที่จะช่วยให้ Léaud พัฒนาตัวละครได้ด้วยตนเอง ผลลัพท์ก็คือฮาร์โมนิก้า และข้อความปริศนาที่ทำให้เขาขีดๆเขียนๆอะไรก็ไม่รู้บนกระดานดำ
Improvisation produced in most of us a tremendous creativity, but it probably intimidated some. You can, if you want to work autonomously in such a way, already get the feeling that you’re shooting in a void, like in a bubble. I found it very exciting.
Jean-Pierre Léaud
ใครที่เคยรับชมหลากหลายผลงานของ Léaud จะรับรู้ว่าเป็นคนช่างพูด น้ำไหลไฟดับ ฟังไม่ค่อยสดับแต่ท่าทางโคตรจริงจัง นั่นสร้างความตลกขบขัน (ตลกหน้าตาย), สำหรับบทบาท Colin แรกเริ่มต้นแสร้งทำเป็นคนบ้าใบ้ สีหน้าเคร่งเครียด ขึงขัง แต่เป่าฮาร์โมนิก้าได้อย่างยียวนกวนประสาทแดก ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย จนกระทั่งถูกยัดเยียดจดหมายลึกลับ ทำให้เกิดความหมกมุ่น กระตือรือล้นที่จะขบไขปริศนา
ผมมีความเพลิดเพลินกับใบหน้าเคร่งเครียด ท่าทางจริงจัง หมกมุ่นกับการขบไขปริศนาของ Léaud เพราะพอคาดเดาได้ตั้งแต่แรกแล้วว่าองค์กร The Thirteen มันไม่ได้มีอะไรคอขาดบาดตายให้ต้องเอาจริงเอาจังเพียงนั้น พอรายละเอียดต่างๆค่อยๆเปิดเผยออก ถูกล่อหลอกให้กระทำสิ่งโน่นนี่นั่น พฤติกรรมตัวละครจักกลายเป็นเรื่องตลกขบขัน … ที่หลายคนอาจขำไม่ออกสักเท่าไหร่
สิ่งที่ผมแอบคาดไม่ถึงคือขณะ Colin หันเหความสนใจจาก The Thirteen ไปยัง Pauline สังเกตจากสายตาทั้งสอง มันย่อมต้องเกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน แม้ฝ่ายหญิงพยายามเสแสร้ง ไม่แสดงออก เพิกเฉยเย็นชา พอช่วงท้ายเปิดเผยเบื้องหลังความจริง หลายคนคงรู้สึกเศร้าสร้อย สูญเสียดาย อยากให้พวกเขาได้ลงเอยกันจริงๆ
Juliet Berto ชื่อจริง Annie Jamet (1947-90) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Grenoble, Isère เป็นเพื่อนสนิทสนมกับ Anne Wiazemsky ทำให้มีโอกาสรับรู้จักผู้กำกับ Jean-Luc Godard แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก 2 or 3 Things I Know About Her (1967) ติดตามด้วย La Chinoise (1967), Week-end (1967), ผลงานเด่นๆ อาทิ Out 1 (1971), Return from Africa (1973), Celine and Julie Go Boating (1974), Duelle (1976) ฯ
รับบท Frédérique หัวขโมยสาว (Petty Thief) ทำการล่อหลอกหนุ่มๆ ขอเงินแล้วเชิดหนี วันหนึ่งแอบย่องเข้าไปในบ้านของ Etienne (รับบท Jacques Doniol-Valcroze) พบเห็นกำลังเล่นหมากรุกตัวคนเดียว สบโอกาสเลยพยายามเปิดลิ้นชักลักขโมยเงิน แต่กลับได้เพียงจดหมายมาหลายฉบับ อ่านแล้วสังเกตเห็นความผิดปกติ ครุ่นคิดว่าเป็นจดหมายลับของสมาชิก The Thirteen จึงพยายามแบล็กเมล์ เรียกค่าไถ่บุคคล แต่กลับมีเพียง Emilie/Pauline (รับบท Bulle Ogier) ยินยอมรับซื้อจดหมาย, ต่อมาได้พบเจอ ตกหลุมรัก Renaud (รับบทโดย Alain Libolt) แต่งงานโดยสายเลือด (Blood Wedding) แต่ไม่นานต้องสงสัยว่าเขาอาจสมาชิกองค์กรลึกลับ จึงแอบติดตาม พบเจอพวกมาเฟีย จึงยิงปืนเตือน แต่ถูกตอบโต้กลับ
ตัวละครของ Berto มีความละม้ายคล้าย แต่ก็แตกต่างตรงกันข้ามกับ Léaud, ต่างมีชีวิตดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย เอื่อยเฉื่อย ไร้แก่นสาร วันๆออกเดินทางร่อนเร่ เตร็ดเตร่ไปรอบเมือง จับจ้องมองหาเหยื่อ เข้าไปพูดคุย ล่อหลอก ขอเงิน แล้วเชิดหนี กลับมาห้องพักไม่มีอะไรทำ ก็ละเล่นกับมีด-ดาบ-ปืน สวมบทบาทโจร-ตำรวจ ทำตัวเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสา
กระทั่งวันหนึ่งได้ทำการลักขโมยจดหมาย อ่านแล้วสังเกตเห็นความผิดปกติ ลับลมคมใน จึงพยายามแบล็กเมล์ เรียกค่าไถ่ สืบค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับ The Thirteen นี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตของ Frédérique ดูมีเป้าหมายขึ้นมา จนกระทั่งตกหลุมรักแรกพบชายแปลกหน้า แต่งงานด้วยเลือด ก่อนความอยากรู้อยากเห็น จะหวนย้อนกลับมาทำลายทุกสิ่งอย่าง
การแสดงของ Berto อาจไม่โดดเด่นเท่า Léaud แต่ดูเป็นธรรมชาติ หญิงสาวผู้รักอิสรภาพ จอมโจรน้อยผู้น่ารัก บางวันท่าทางเอื่อยเฉื่อย สีหน้าเบื่อหน่าย พอได้เงินเมื่อไหร่ก็ระริกรี้แรดร่าน จากนั้นปลอมตัวสวมวิกกลายเป็นนักสืบโคนัน ท่าทางจริงจัง แต่กลับดูตลกขบขัน เสียดายรักครั้งแรก สุดท้ายหัวใจก็แตกสลาย
ถ่ายภาพโดย Pierre-William Glenn (เกิดปี 1943) ผู้กำกับ/ตากล้องชาวฝรั่งเศส เกิดที่ Paris โตขึ้นเริ่มจากเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนเปลี่ยนมาฝึกฝนการถ่ายภาพ Institut des hautes études cinématographiques (IDHEC) จากนั้นมีโอกาสเป็นผู้ช่วยตากล้อง William Lubtchansky, Jean Gonnet, ทำงานวงการโทรทัศน์อยู่หลายปี จนกระทั่งมีผลงานภาพยนตร์ Out 1 (1971), State of Siege (1972), Cousin Jules (1972), Day for Night (1973), Small Change (1976), A Little Romance (1979) ฯ
หลังเสร็จสร้าง Paris Belongs to Us (1961) และ The Nun (1966) ผกก. Rivette บังเกิดความตระหนักว่านี่ไม่ใช่แนวทางภาพยนตร์ที่ตนเองอยากสรรค์สร้าง ‘mise-en-scène’ คือสิ่งที่ครอบงำความครุ่นคิด ว่าต้องถ่ายทำให้มีระเบียบแบบแผน แฝงความหมาย นัยยะซ่อนเร้น
The cinema of mise en scène, where everything is carefully preplanned and where you try to ensure that what is seen on the screen corresponds as closely as possible to your original plan, was not a method in which I felt at ease or worked well.
Jacques Rivette
เมื่อตอน L’Amour fou (1969) และติดตามต่อด้วย Out 1 (1971) ผกก. Rivette จึงทำการทดลองปลดปล่อยทุกสิ่งอย่าง เริ่มต้นจากเขียนเค้าโครงหนังคร่าวๆ จากนั้นให้อิสระนักแสดงดั้นสด (Improvised) เพียงอธิบายแนวคิด สิ่งที่อยากได้จากซีนนั้นๆ แล้วกล้องก็เริ่มบันทึกภาพ ใครอยากพูดนานแค่ไหน อยากทำอะไรก็ตามสบาย ถ่ายติดไมค์ เสียงติดๆดับๆก็ไม่เป็นไร เทคเดียวผ่าน … เรียกได้ว่าละทอดทิ้งแนวทางของ ‘mise-en-scène’ หวนกลับหาความเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ “Pure Cinema”
หลายคนอาจครุ่นคิดว่าหนังความยาวเกือบๆ 13 ชั่วโมง คงต้องถ่ายทำเป็นปีๆ แต่แท้จริงแล้วใช้เวลาแค่เพียง 6 สัปดาห์! (ระหว่างเมษายน – พฤษภาคม ค.ศ. 1970) สาเหตุที่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็เพราะการดั้นสด (Improvised) ทำให้ลดกระบวนการเตรียมงาน พร้อมเมื่อไหร่ก็เดินกล้องถ่ายทำ บันทึกภาพไปเรื่อยๆ (Long Take) จะถูกจะผิดพลาด เทคเดียวผ่านหมด ทุกสิ่งอย่างเลยรวดเร็ว ราบรื่น นักแสดงก็แช่มชื่น (แต่คนดั้นสดไม่เก่งจะเต็มไปด้วยความลำบากใจ) … ลักษณะดังกล่าวทำให้หนังดูเหมือนสารคดี บันทึกภาพวิถีชีวิต กิจวัตรของตัวละคร การซักซ้อมของคณะการแสดง จะเรียกว่า Performance Arts ก็ได้กระมัง
เกร็ด: เมื่อตอนถ่ายทำ L’Amour fou (1969) มีการทดลองใช้ทั้งฟีล์ม 16mm (ระหว่างซักซ้อมละคอนเวที) และ 35mm (ฉากอื่นๆ) ทำให้ผกก. Rivette เรียนรู้ความแตกต่าง เข้าใจข้อจำกัดของฟีล์มทั้งสองประเภท, สำหรับ Out 1 (1971) เพราะต้องการอิสรภาพในการถ่ายทำ สามารถขยับเคลื่อน เลื่อนไหล เดินไปเดินมา และส่วนใหญ่เป็น Long Take จึงเลือกใช้ฟีล์ม 16mm ประหยัดงบประมาณกว่าด้วยละ!
ซีเควนซ์แรกของหนังเริ่มต้นที่การวอร์มร่างกายของคณะนักแสดง Seven Against Thebes ยืดแข้งยืดขา เดินวนไปวนมา เตรียมความพร้อมผู้ชมใน ค่อยๆปรับตัวเข้ากับวิธีการเล่าเรื่องอันเนิ่นยาวนาน ไม่รู้จักจบจักสิ้นเสียที
พอวอร์มร่างกายเสร็จก็เริ่มต้นซักซ้อมการแสดง ทหารสอดแนมกลับมารายงานต่อกองทัพของ Eteocles นำเสนอในเชิงสัญลักษณ์โดยสองนักแสดงวิ่งจากคนละทิศทาง เกือบจะพุ่งชนกัน แล้วทำเสียงอู้ๆอ้าๆ … นี่คือลักษณะของ Experimental Theatre (หรือ Avant-Garde Theatre หรือ Abstract Theater) สังเกตว่าจะไม่มีการสร้างฉากให้มีความสมจริง/เสมือนจริง เพียงนักแสดงอ่าน/ท่องบท และทำท่าทางประกอบการแสดง (หรือจะเรียก Performance Arts ก็ได้กระมัง)


Colin หนุ่มหน้าใส แทนที่จะหาการหางานทำเป็นหลักเป็นแหล่ง กลับแสร้งเป็นคนบ้าใบ้ เป่าฮาร์โมนิก้า (เสียงสวรรค์แห่งโชคชะตา) แล้วออกรีดไถ ขอเงินผู้คนตามคาเฟ่/ร้านอาหารทั่วกรุง Paris … การกระทำดังกล่าวสะท้อนบรรยากาศการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย ภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติสังคม Mai ’68 ไม่ใช่ทุกคนจักสามารถปรับตัวเข้ากับแนวคิด/บรรทัดฐาน(สังคม)รูปแบบใหม่ ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย ไร้หลักแหล่ง เพื่อแลกกับอิสรภาพ จึงยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง โดยไม่สนสามัญสำนึก ถูก-ผิด ดี-ชั่ว


กว่าสี่สิบนาทีที่หลายคนคงอุทาน “กรุกำลังดูเxยอะไรอยู่เนี่ย?” ให้ลองนึกถึงฝูงลิงใน 2001: A Space Odyssey (1968) ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจการแสดง ท่าทาง ภาษากาย ย่อมพบเห็นเนื้อเรื่องราว เหตุการณ์บังเกิดขึ้น จากนั้นครุ่นคิดต่อยอดว่ามันมีความสัมพันธ์อะไรกับหนัง รวมถึงเรื่องราวคู่ขนานอื่นๆ … ซึ่งหลังเสร็จสิ้นการ(ซักซ้อม)แสดง จะมีการรวมกลุ่ม พูดคุยถกเถียง แสดงความคิดเห็น นี่จักเป็นตัวช่วยในการทำความเข้าใจซีเควนซ์นี้
บรรดานักแสดงต่างพยายามโอบห้อมรอบโมเดลหุ่น สามารถเปรียบเทียบถึง Prometheus ที่ถูกพันธนาการ (Bound) โดยเทพไททัน Zeus ให้รับโทษทัณฑ์จากการช่วยเหลือมนุษย์ … จริงๆแล้วบรรดานักแสดงกำลังรับบทเป็น Oceanids (ลูกหลานของเทพไททัน Oceanus ที่มีนับร้อยพัน) ต่างสนอกสนใจในตัว Prometheus เพราะถูกพันธนาการไว้เลยไม่สามารถโต้ตอบทำอะไร สงบเงียบงันอยู่จนถึงจุดๆหนึ่ง
You mustn’t think me proud or stubborn if I’m silent. Painful thoughts eat at my heart as I see myself in this hideous predicament. But then who else but I have given to these new gods their rights? Still, I won’t speak of these things because what I would say would not be news to you.
Prometheus
Prometheus ถูกพันธนาการทั้งๆไม่ได้กระทำอะไรผิด คือภาพสะท้อนสภาพสังคมยุคสมัย Mai ’68 ที่บรรดาพวกผู้หลักผู้ใหญ่ (เทพเจ้า Zeus) ต่างวางอำนาจบาดใหญ่ ใช้ข้ออ้างโน่นนี่นั่นสำหรับควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ใครต่อใครต้องก้มหัวศิโรราบ ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่ง … แต่คำพยากรณ์ของ Prometheus เชื่อมั่นว่าสักวัน Zeus ต้องถูกโค่นล้ม ลงจากบังลังก์ สูญเสียอำนาจบารมี และตนเองจักได้รับอิสรภาพ ดิ้นหลุดพ้นพันธนาการคุมขัง


Frédérique ไม่แตกต่างจาก Colin สักเท่าไหร่ เริ่มต้นพบเห็นกำลังแสร้งทำเป็นวาดรูป (ถ่ายภาพสะท้อนกระจก = สะท้อนบรรยากาศสังคมยุคสมัยนั้น) อ้างว่าเขาหน้าเหมือนพี่ชาย แต่แท้จริงแล้วก็แค่คำโป้ปดหลอกลวง (ไม่มีพี่ชายด้วยซ้ำไป) สนเพียงล่อหลอกเอาเงิน แล้วเชิดหนีหาย … พร้อมทำสิ่งผิดกฎหมายโดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว เพียงเพื่อสามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระ อยากทำอะไรก็ทำ ไม่ต้องถูกควบคุมครอบงำโดยใคร แต่ก็ทำให้วันๆของเธอดำเนินไปอย่างไร้จุดมุ่งหมาย

วันว่างๆของ Frédérique พบเห็นเล่นกับตุ๊กตา (Mr. Punchinello เป็นตัวละครตลกจากเรื่องชวนหัว Commedia dell’arte ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ลักษณะเด่นคือจมูกแหลมยาวเหมือนจะงอยปากนก มักสวมเครื่องแต่งกายสีขาว และหน้ากากสีดำ แต่ในหนังไม่แน่ใจว่าตัวเดียวกันหรือเปล่า?) นั่งๆนอนๆอ่านหนังสือการ์ตูน บางอารมณ์ก็สวมบทบาทตำรวจ-โจร กระโดดโลดเต้น ร้องรำทำเพลง เดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนไม่ได้ ชีวิตช่างไร้แก่นสาระ แต่ก็แลกกับอิสรภาพที่ไม่ถูกควบคุมครอบงำโดยใคร




เชื่อกันว่า Out (1971) อาจคือภาพยนตร์/ซีรีย์เรื่องแรกที่ทุกตอนใหม่จะเริ่มต้นด้วย “Previously on…” ย้อนให้ผู้ชมทบทวนเรื่องราวบังเกิดขึ้น นำเสนอในลักษณะภาพนิ่ง สีขาว-ดำ เสียงรัวกลองโดย Jean-Pierre Drouet และท้ายสุดจะฉายภาพเคลื่อนไหวสุดท้ายของตอนก่อนหน้า … ที่ผมนำมานี้คือเริ่มต้นตอนสอง ย้อนเรื่องราวตอนหนึ่ง




ผกก. Rivette ไม่ได้มีความสนใจหรอกว่าต้องถ่ายทำออกมาให้สมจริง แนบเนียน ต้องการเพียงความเป็นธรรมชาติ อย่างการค้นหาภาพที่จะใช้เป็นโมเดลต้นแบบ Prometheus สังเกตว่ามีไมโครโฟน(และเครื่องบันทึกเสียง)วางตรงกลางวงสนทนา เอากันง่ายๆแบบนี้เลย!
การแสดงครั้งก่อนหน้าที่บรรดานักแสดง (รับบท Oceanids) สำแดงความลุ่มหลงใหลใน Prometheus และขณะนี้กำลังมองหาโมเดลต้นแบบ (ของ Prometheus) สามารถเปรียบเทียบถึง Colin หลังจากได้รับจดหมายลึกลับ บังเกิดความลุ่มหลงใหล พยายามขบไขปริศนา ออกติดตามหาองค์กร The Thirteen … พูดง่ายๆก็คือเราสามารถเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง Prometheus = The Thirteen
และระหว่างการค้นหาโมเดลต้นแบบ Prometheus กำลังดำเนินไป จู่ๆมีการแทรกภาพ Frédérique กำลังก้าวออกเดินข้ามสะพาน (ข้ามแม่น้ำ Seine) เหมือนกำลังเหม่อมองหาอะไรสักสิ่งอย่าง … นี่เป็นสิ่งพบเห็นบ่อยครั้งในหนัง ปรากฎขึ้นอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ไม่มีเรื่องราวอะไร แค่เพียงสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์บังเกิดขึ้น ลักษณะของการเล่าเรื่องคู่ขนาน (ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ชมว่าจะขบครุ่นคิดได้หรือไม่)


ระหว่างกำลังรีดไถเงินในคาเฟ่แห่งหนึ่ง Colin ได้รับจดหมายจากหญิงสาว Marie หนึ่งในคณะนักแสดง Seven Against Thebes นี่มีแนวโน้มสูงมากๆว่าเธออาจเป็นสมาชิกของ The Thirteen ไม่เช่นนั้นจะดักซุ่มรออยู่ทำไม? แต่เอาจริงๆมันก็ไม่แน่ นั่นเพราะ Hermine Karagheuz (ผู้รับบท Marie) เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าตนเองไม่รู้เนื้อในใจความจดหมาย ผกก. Rivette สั่งให้ทำอะไรก็ทำตาม … ก็แล้วแต่ผู้ชมจะขบครุ่นคิดตีความ

พอกลับมาห้องพัก Colin พบเจอจดหมายลึกลับฉบับที่สอง นั่นสร้างความฉงนสงสัย มีใครต้องการบอกอะไรบางอย่างกับตนเองหรือเปล่า ซึ่งพอตัดไปซีเควนซ์ซักซ้อมการแสดงของคณะ Seven Against Thebes คำพูดประโยคแรกได้ยินคือ “No, do not let youself be driven to it.” เหมือนเพื่อจะบอกกับ Colin ว่าอย่าปล่อยตัวไปกับแรงกระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
ฉากที่คณะการแสดง Seven Against Thebes กำลังซักซ้อมขณะนี้สงครามมาถึงสนามรบสุดท้าย Eteocles ตั้งใจจะออกไปต่อสู้กับนักรบคนที่เจ็ด แต่ถูกใครต่อใครทัดทาน เรียกร้องขอให้หักห้ามใจ


ผมอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่ออกเลยไม่ได้มีความสนใจในการขบไขปริศนามากนัก แต่แม้บอกไม่ได้ว่า Colin กำลังครุ่นคิดอะไร ก็ยังสามารถเพลิดเพลินกับความหมกมุ่น สีหน้าจริงจัง ทั้งหมดทำไปไม่ได้มีสาระห่าเหวอะไร
Gathered, like conspirators who hid nothing from each other,
จดหมายฉบับที่หนึ่ง
enjoying a fortune similar to that of the old man on the mountain,
with a foot in every salon, a hand in every chest,
elbows in the street, their head on every pillow, and with no scruples.
The reader, for four volumes, from one underground passage to the next,
จดหมายฉบับที่สอง
showing him a dried-out corpse and telling him, as a conclusion,
that he constantly frightened him with a door hidden in the wallpaper
or a dead man carelessly left behind.
Two paths lie open before you. Thirteen to hunt the Snark better
จดหมายฉบับที่สาม
Place me as I should be. They won’t have met the Boo
Holy was our ambition. Juni who saw them faint
At the harbour where you must start. Spend the time that will erase them
A hand will guide your own
Other thirteens have formed a strange crew.
เกร็ด: จดหมายฉบับที่สามมีการอ้างอิงถึงบทกวีไร้สาระ (Nonsense Poetry) ชื่อว่า The Hunting of the Snark (1876) ของ Lewis Carroll นี่เป็นการบอกใบ้เนื้อหาสาระของจดหมายลึกลับเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี (ว่ามีความไร้สาระสุดๆ)



ภายหลังเสร็จจากซักซ้อมการแสดง บรรดานักแสดงของคณะ Seven Against Thebes ก็มานั่งล้อมวง พูดคุยถกเถียง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดง มุมกล้องช่างดูคุ้นเคย ละม้ายคล้ายคลึง บางครั้งก็คนละฟากฝั่งตรงข้ามกับคณะ Prometheus Bound เป็นเช่นนี้อยู่หลายๆครั้ง … แม้บทละคอนทั้งสองจะไม่ได้มีเรื่องราวเชื่อมโยงอะไร (#SAT คือปรัมปรามนุษย์, #PB ปรัมปราเทพเจ้า) แต่ผู้แต่งคนเดียวกัน Aeschylus แนวโศกนาฎกรรมคล้ายๆกัน รวมถึงผู้กำกับ(และนักแสดงบางคน)รับรู้จักกัน




ผมมารับรู้เอาตอนหลังว่านักแสดงรับบท Honey Moon เพื่อนเกย์ของ Frédérique ในชีวิตจริง Michel Berto คือสามีของ Juliet Berto (ชื่อเกิดของเธอคือ Annie Jamet)
ตอนตัวละครของทั้งสองพบเจอกันครั้งแรก Frédérique เป็นคนมอบเงิน(ที่ลักขโมยมา)ให้กับ Honey Moon (เหมือนจะสื่อว่าภรรยาคือคนเลี้ยงดูแลสามีหรือเปล่า??) และขณะนี้ระหว่างนั่งสนทนา ฝ่ายชายพร่ำบ่นถึงหนุ่มหล่อในอุดมคติ พบเจอทุกเช้ารับประทานครัวซอง หรือก็คือ Renaud ที่ในอนาคตจะแต่งงาน(เลือด)กับ Frédérique … มันช่างเป็นความสัมพันธ์ที่สุดแสนงงๆ


Frédérique รับรู้จาก Honey Moon ว่าชายสองคนนี้แอบขายนิตยสารโป๊ จึงเข้าไปพยายามแบล็กเมล์ รีดไถเงิน แต่กลับถูกขับไล่ออกจากร้าน … สามารถเปรียบเทียบถึง Colin พยายามขบไขปริศนา จดหมายลึกลับ พอค้นพบชื่อองค์กร The Thirteen ก็ออกค้นหา หวังจะเปิดโปงเบื้องหลัง ความลับซุกซ่อนเร้น

นี่คือการซักซ้อมฉากเดียวกับเมื่อตอนที่หนึ่ง แต่เปลี่ยนจากโมเดลหุ่นมาเป็นหญิงสาวสวมบทบาทเป็น Prometheus เธอพยายามอยู่แน่นิ่ง ไม่ขยับเคลื่อนไหวติง ปล่อยให้บรรดานักแสดงคนอื่นๆสัมผัสลูบไล้ ใช้ความรุนแรงโน่นนี่นั่น เพราะไม่สามารถโต้ตอบขัดขืด จึงอดกลั้น กล้ำกลืน พยายามสงบจิตสงบใจ (บางครั้งจะมีแทรกภาพจอดำแวบขึ้นมา สร้างสัมผัสอันเจ็บปวด สิ้นหวัง) และช่วยท้ายจะพร่ำรำพัน “You mustn’t think me proud or stubborn if I’m silent.” จดจำบทพูดไม่ได้ก็เลยทำการดั้นสด (Improvised)
The main thing is to keep calm, all the time, to keep breathing, to your own personal rhythm. Breathing from your belly, and… to prove to myself that I was still alive, I took little breaths. When I breathed out, I made a sound. That way I was sure that… that I was still me.
I didn’t find it horrible at all. For the sounds, the noises that sounded really loud… I tried to leave my body. I mean, I felt as though my body wasn’t mine anymore, that I was above my body. I felt like I was watching you all moving about over my body. In fact, you were the ones making yourselves ridiculous. And what helped me too was smiling… I tried to keep smiling. Always.
I was never scared. Probably because I really trusted you. I think it was because I didn’t… I was trying not to be in my body. Anyway, I’d got used to the idea that my body… was dust. The things you said to me… Well, they came from you, I trusted you, so I didn’t take them seriously. And when someone talked to me about death and all that, I did take that seriously, I said to myself, it’s true.
For Prometheus, I thought he was in every part of his body. He must really inhabit every part of his body, be just under his skin. Everything must have really hurt him, must have really got to him. Above all he must have been a man, rather than a god… He must have been a man… who felt things very strongly.


ศาสตราจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญวรรณกรรมของ Honoré de Balzac ทีแรกผมก็ดูไม่ออกหรอกว่าใคร ก่อนมาพบเจอว่าคือผู้กำกับ Éric Rohmer เพื่อนสนิทร่วมรุ่น French New Wave ใส่หนวดปลอมตัวมา ณ ตอนที่สาม
นี่เป็นซีเควนซ์ทำการอธิบายเกี่ยวกับองค์กรลึกลับ The Thirteen ที่แทรกตัวอยู่ตามวรรณกรรมเรื่องต่างๆของ Balzac ช่วงแรกๆก็ไม่ได้มีความสลักสำคัญอันใด (จะเปรียบเทียบกับ MacGuffin คงไม่ผิดอะไร) แต่ภายหลังมีการรวบรวมเป็นคอลเลคชั่น History of the Thirteen (1833–35) จำนวนสามเล่ม Ferragus: Chief of the Companions of Duty, The Duchesse De Langeais และ The Girl with the Golden Eyes
หลายคนน่าจะคาดเดาว่าศาสตราจารย์คนนี้อาจเป็นหนึ่งในสมาชิก The Thirteen มันก็มีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้! สังเกตจากปฏิกิริยาแสดงออกกับคำถามสุดท้ายของ Colin (องค์กรนี้มีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่) โดยเฉพาะภาษามือที่ดูเก้งๆกังๆ จะมองว่าคือความพยายามปกปิด หรือฉันก็ไม่รู้กัน … แต่ผมว่าแนวโน้มน่าจะไม่ใช่สมาชิก เพราะตัวละครนี้ไม่ได้มีการติดต่ออะไรกับคนอื่นๆ

ทั้งบันไดเดินขึ้น-ลงสวนทาง การสนทนาระหว่าง Frédérique กับชายแปลกหน้า (ฝ่ายชายสวมสูทมีฐานะ <> ยิปซีสาวรักอิสระ) พยายามชักชวนเธอให้ไปร่วมงานเลี้ยงในฐานะคู่เดท เพื่อทำการประชดประชันภรรยาที่จะมากับชู้รัก … นี่สะท้อนโครงสร้าง แนวทางดำเนินเรื่องของหนัง มีความคู่ขนาน ละม้ายคล้าย และแตกต่างตรงกันข้าม


ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่านี่คือฉากไหนใน Prometheus Bound เพราะทั้งหมดเป็นการดั้นสด (Improvised) ไม่มีอยู่ในบทละคอนต้นฉบับ ก่อนตระหนักว่าน่าจะคือบุคคลต่างๆแวะเวียนมาเยี่ยมเยียน Prometheus (ขณะถูกพันธนาการอยู่กับบนเทือกเขา) เพื่อขอให้ทำนายทายทัก สอบถามถึงอนาคต ซึ่งทั้งสองการแสดงจะมีการสลับสับเปลี่ยนผู้รับบทบาท Prometheus แบบเดียวกับบันไดที่เพิ่งอธิบายไป ทั้งสองซีเควนซ์นี้ มีความคู่ขนาน ละม้ายคล้าย และแตกต่างตรงกันข้าม!
- ครั้งแรกคือ Thomas นอนแน่นิ่ง ไม่ขยับเคลื่อนไหวติง ผิดกับบรรดาผู้คนต่างพยายามใช้ความรุนแรง กระชากยื้อแย่ง ต้องการสัมผัสจับต้อง ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ราวกับสู้รบสงคราม
- ครั้งหลังเปลี่ยนมาเป็นนักแสดงหญิง นั่งนิ่งๆแต่มีคนหวีสางผม Thomas กลายเป็นพิธีกร (คนทรง) โยกตัวทำท่ากราบไหว้บูชา ส่วนบรรดาผู้มาเยี่ยมเยือนก็เพียงใช้ถ้อยคำพูดรุนแรง หรือไม่ก็สอบถามเรื่องราวไร้สาระ (ไม่มีการใช้กำลังให้เกิดความวุ่นวาย)


Colin สามารถขบไขปริศนา อ่านรหัสลับ ค้นพบข้อความ “… deux … place … sainte … au port … une … opportune ” จากนั้นออกเดินทางมายังซอย Place Sainte Opportune ตึกหมายเลข 2 พบเจอร้าน L’Angel du Hasard (แปลว่า The Angel of Chance) แต่ที่อยู่จริงๆกลับคือ 7 Rue du Maine, Paris 14 (ปัจจุบันถูกรีโนเวทเป็น Hôtel du Maine)
ซึ่งระหว่างที่ Colin พยายามขบไขปริศนาดังกล่าว จะมีการตัดสลับภาพ Marie (คนที่ส่งมอบจดหมายให้กับ Colin) กำลังร้อยถักนิตติ้ง สามารถสื่อถึงเธอเป็นบุคคลชักใยให้เขา ดำเนินเดินทางมาถึงยังสถานที่แห่งโชคชะตา



ในตอนแรก Colin มีความกลัวๆกล้าๆ ยังแสร้งทำเป็นบ้าใบ้ เขียนข้อความเข้ามาสอบถาม “Do you know the Thirteen?” สังเกตเห็นโดยเจ้าของร้าน Pauline (แต่ชื่อจริงๆคือ Emilie) เดินมาหยิบกระดาษอ่าน มุมกล้องจงใจถ่ายติดกระจกด้านหลัง พบเห็นภาพสะท้อนข้างหลัง นี่เป็นการแอบบอกใบ้ ลับลมคมใน หญิงสาวคนนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นสมาชิก The Thirteen

เกร็ด: การตั้งชื่อตัวละคร Marlon พร้อมสวมใส่เสื้อแจ็กเก็ตหนัง มาถึงโดยการบิดมอเตอร์ไซด์ ชวนให้ผมนึกถึงภาพลักษณ์ที่กลายเป็น ‘Iconic’ แจ้งเกิด Marlon Brando จากภาพยนตร์ The Wild One (1953)
เหตุการณ์บังเกิดขึ้นซีเควนซ์นี้ผมถือว่าไม่มีปี่มีขลุ่ย Marlon (รับบทโดยผู้ช่วยผู้กำกับ Jean-François Stévenin) เพียงแค่ไม่พึงพอใจที่ Frédérique พยายามขอเงิน (ก่อนถูกล้วงกระเป๋า) ก็ใช้ความรุนแรงกระทำร้ายร่างกาย กลางร้านอาหาร โดยไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น … เราสามารถเปรียบเทียบ Frédérique = Prometheus เคยทั้งถูกลวมลาม สัมผัสจับต้อง บางครั้งก็มีการใช้ความรุนแรง แต่ก็ไม่โต้ตอบขัดขืน (ในกรณีนี้เพราะเธอแอบล้วงกระเป๋า ได้เงินจากอีกฝ่าย เลยยินยอมเจ็บตัวแล้วหัวเราะภายหลัง)

สำหรับคนที่ดูหนังเพลินๆแบบไม่ครุ่นคิดอะไร พอมาถึงซีนนี้ย่อมตกตะลึง อึ้งทึ่ง คาดไม่ถึง Colin ที่เคยบ้าใบ้ จู่ๆสามารถพูดคุยโทรศัพท์กับบิดา-มารดา เช่นนั้นแล้วสองตอนกว่าๆก่อนหน้ามันอิหยังว่ะ เสแสร้ง หลอกลวง เล่นละคอนตบตา ทำไปทั้งหมดเพื่ออะไรกัน?
แต่คนที่สามารถอ่านภาษาภาพยนตร์ หรือเคยรับชม Paris Belongs to Us (1961) อาจบังเกิดความเคลือบแคลงมาสักพักใหญ่ๆ สังเกตเห็นพฤติกรรมลับๆล่อๆของ Colin ที่ดูไม่ค่อยเหมือนคนบ้าใบ้ และฉากก่อนหน้านี้ Frédérique เพิ่งโดนกระทำร้ายร่างกาย จึงถือเป็นจุดแตกหัก ไม่สามารถปิดกั้นความรู้สึก คำพูดคำจาได้อีกต่อไป

บ้านริมทะเล (Seaside House) ของ Emilie ชื่อว่า “Obade” นี่ก็เป็นการอ้างอิงถึง Ferragus (1833) หนึ่งในนวนิยายของ Honoré de Balzac รวบรวมอยู่ใน The Human Comedy ซึ่งจะมีการกล่าวถึง Obade สถานที่หลบซ่อนตัว (Safe House) ของสมาชิกองค์กรลับ (Secret Society) ที่ชื่อว่า Companions
สถานที่แห่งนี้ถ่ายทำแห่งนี้คือ Avenue Felix Faure ตั้งอยู่ Hermanville-sur-Mer, Normandy ทางตอนเหนือฝรั่งเศส ติดกับช่องแคบอังกฤษ (English Channel) ดูจากสภาพเสื่อมโทรมของบ้าน เห็นว่าถูกรื้อถอนไปนานแล้ว


การมาถึงของ Renaud (Seven Against Thebes) และ Sarah (Prometheus Bound) ช่างมีความละม้ายคล้าย และแตกต่างตรงกันข้าม!
- Renaud ได้รับชักชวนจากเพื่อนนักแสดงหลายๆคนในคณะ Seven Against Thebes ทีแรกบอกว่าจะขอแค่นั่งชม อยู่ภายนอก แต่ไปๆมาๆเข้ามามีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น เสนอแนะนำมุมมองการแสดงใหม่ๆ จนสร้างอิทธิพล บทบาทเหนือกว่าผู้กำกับ Lili
- Sarah ได้รับการเชื้อเชิญจาก Thomas มาร่วมคณะ Prometheus Bound แต่เธอกลับนั่งหัวโด่เด่อยู่เบื้องหน้า ไม่ได้แสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำอะไรใดๆ ปิดปากเงียบสนิท ใครอยากทำอะไรก็ทำไม (หน้าที่ผู้กำกับก็ยังเป็นของ Thomas ไม่เปลี่ยนแปลง)


ตั้งแต่ที่ Colin เข้ามาในร้าน L’Angel du Hasard บังเกิดความลุ่มหลงใหล Pauline ตั้งแต่แรกพบเจอ! พยายามหาโอกาสพูดคุยสอบถาม เธอคือสมาชิก The Thirteen หรือไม่? คำตอบของเธอไม่เชิงตอบรับหรือบอกปฏิเสธ
The thirteenth comes back. It’s still the first and always the only one.
Pauline (Emilie)
ระหว่างรับชม คำพูดประโยคนี้อาจจะล่อหลอกใครหลายคนให้เข้าใจผิดๆว่าเธอไม่ได้เป็นสมาชิก (ท่าทางของ Colin ก็เหมือนเข้าใจไปในทิศทางนั้น เลยไม่ได้ถามคำถามที่สาม) แต่พอดูหนังจบแล้วหวนกลับมาอ่านประโยคนี้ ผมเลยตระหนักว่ามีความสองแง่สองง่าม ไม่ตอบรับ ไม่ตอบปฏิเสธ ตลอดทั้งเรื่องเธอก็ไม่เคยตัดสินใจอะไรสักสิ่งอย่าง!

ขณะที่ Colin เข้าไปในร้าน L’Angel du Hasard ลักขโมยหัวใจ Pauline, ฟากฝั่ง Frédérique ก็ย่องเบาเข้ามาในบ้านของ Etienne กำลังเล่นหมากรุกตัวคนเดียว (เห็นกระดานหมากรุกก็ชวนให้นึกถึงหนังสั้น Fool’s Mate (1956)) รอคอยจังหวะสบโอกาส ทำการงัดแงะลิ้นชัก ตั้งใจจะลักขโมยเงิน กลับพบเจอเพียงจดหมายลึกลับกองหนึ่ง
ด้วยความที่จดหมายอยู่ในโต๊ะทำงานของ Etienne มันเลยมีความ 100% ว่าชายคนนี้คือสมาชิก The Thirteen (ถ้าใครเข้าใจความคู่ขนานระหว่าง Colin กับ Frédérique ย่อมค้นพบว่า Pauline = Etienne = สมาชิก The Thirteen) หลังจากนี้ไม่ได้สูญหายตัวไปไหน หนังจักค่อยๆเปิดเผยความสัมพันธ์กับตัวละคร/สมาชิกคนอื่นๆ

ระหว่างที่ Frédérique กำลังอ่านจดหมายลักขโมยมา เรื่องราวนำเสนอคู่ขนานขณะนี้ก็คือ Thomas แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนหลานๆ บุตรชาย-สาวของ Emilie (Pauline) และถามไถ่เรื่องการสูญหายตัวไปของ Igor (สามีของ Emilie)
ผมพยายามขบครุ่นคิดอยู่นานว่าทั้งสองซีนนี้มีความสัมพันธ์กันเช่นไร? ก่อนพบว่าการอ่านจดหมายของ Frédérique ทำให้เธอค้นพบองค์กรลึกลับ The Thirteen รับรู้จักสมาชิกต่างๆ (ที่มีชื่ออยู่ในจดหมาย) = เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับ Emilie (Pauline) แต่งงานกับ Igor มีบุตรร่วมกันสองคน อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรู พร้อมกับแม่นม Iris และสุนัขหนึ่งตัว (และกำลังจะมีเจ้าเต่าอีกหนึ่งตัว ของฝากจาก Thomas) … นี่เช่นเดียวกันเป็นการบอกใบ้ว่า Emilie (รวมถึง Thomas) คือสมาชิกองค์กร The Thirteen
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมยังขบครุ่นคิดไม่ออก ทำไม Thomas ถึงมอบของขวัญเจ้าเต่าน้อย? มันอาจจะสื่อถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เต่าคลาน แต่สักวันหนึ่งย่อมก้าวไปถึงจุดจบ เส้นชัย ดำเนินมาครึ่งทางพอดิบดี จบตอนที่สี่!


Frédérique ทำการปลอมตัว สวมใส่วิกผม ให้ดูเหมือนผู้ชาย ระหว่างโทรศัพท์หา(ทนายความ) Lucie สังเกตว่ามุมกล้องถ่ายติดกระจกเงา พบเห็นภาพสะท้อนถึงตัวตนที่ปกปิดซุกซ่อนไว้ … สมัยนั้นอาจมีคนสังเกตการปลอมตัวของเธอไม่ออกก็ได้นะครับ
สถานที่นัดพบเจอระหว่าง Frédérique กับ Lucie อยู่บริเวณดาดฟ้า ทีแรกผมไม่ได้เอะใจกังหันลมสีแดงด้านหลัง ก่อนค้นพบว่านั่นคือ Moulin Rouge โรงละครคาบาเร่ต์ชื่อดังในกรุง Paris สถานที่สำหรับทำการแสดง เล่นละคอนตบตา พวกเธอทั้งสองก็เฉกเช่นเดียวกัน
แซว: มันจะมีขณะหนึ่งที่ Lucie จงใจยกขาขึ้นมาให้เห็นเรียวขา ใครรับรู้จัก Moulin Rouge หรือท่าเต้น Can-Can ก็น่าจะเข้าใจนัยยะเคลือบแฝงอยู่


Colin พยายามจะสารภาพรักกับ Pauline แต่เธอกลับเพิกเฉย เย็นชา ไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆออกมา นี่ถือว่ามีความผิดปกติอย่างมากๆ นั่นเพราะหญิงสาวไม่ได้อยู่ในสถานะที่สามารถครุ่นคิดตัดสินใจ พูดบอกความใน และโดยไม่รู้ตัว Frédérique (ครั้งแรกครั้งเดียวที่ทั้งสองสวนทางกัน) เข้ามาขัดจังหวะ ต้องการพูดคุยเกี่ยวกับ Igor (สามีของ Emilie) … มันช่างเป็นการสวนทาง เฉี่ยวกันของตัวละครหลัก ที่สร้างความว้าวุ่นวายใจให้ Pauline (Emilie) ยิ่งนัก!

คณะการแสดง Seven Against Thebes กำลังซักซ้อมการต่อสู้บนเวที แต่สังเกตว่าบริเวณรอบข้างปกคลุมด้วยความมืดมิด ราวกับกำลังเป็นรางบอกเหตุร้ายบางอย่าง! การมาถึงของ Quentin ป่าวประกาศอย่างใจกว้างว่าแทงม้าชนะเงินล้าน ต้องการเฉลิมฉลอง แบ่งปันเพื่อนฝูง และใช้เป็นทุนสำหรับเตรียมการแสดง แต่ทว่ากลับถูกลักขโมยโดนผู้ช่วยผู้กำกับที่พวกเขาเพิ่งติดต่อว่าจ้างมา Renaud ล่องจุ้น สูญหายตัวไปอย่างไร้ล่องลอย ซึ่งพอทุกคนตระหนักได้ ก็นั่งห่อละเหี่ยว หมดเรี่ยวแรง ท่ามกลางแสงสว่าง ในสภาพหมดอาลัยตายอยาก



ซึ่งหลังจาก Renaud ลักขโมยเงินล้าน สูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ตัดมาที่คณะการแสดง Prometheus Bound พบเห็นการซักซ้อม วอร์มร่างกาย Beatrice กำลังจ้องหน้า ตาไม่กระพริบกับ Sarah ราวกับจะจิกกัดกินเลือดเนื้อ พร้อมทำลายอีกฝ่ายให้ตกตาย
ภาพช็อตนี้ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่เราเคยเปรียบเทียบ Renaud = Sarah (ต่างคือบุคคลนอก ถูกเชื้อเชิญเข้ามาเป็นผู้ช่วย/ที่ปรึกษาคณะการแสดง) ในขณะนี้อาจยังไม่ชัดเจนนัก คนที่ดูหนังจบแล้วย่อมตระหนักว่า Sarah คือมือที่สามที่เข้ามาทำลายความสัมพันธ์ระหว่าง Thomas กับ Beatrice เป็นเหตุให้ฝ่ายหญิงตัดสินใจลาออกจากคณะ (เพื่อไปครองรักกับนักชาติพันธุ์วิทยา) ส่งผลให้คณะการแสดง Prometheus Bound มีอันต้องจบสิ้นลง

เหตุผลที่ Emilie ยินยอมจ่ายเงิน(ค่าไถ่)ให้กับ Frédérique เพราะเธอมีความลุ่มร้อนรน กระวนกระวาย ต้องการจดหมายของ Igor สามีผู้สูญหายตัวไปอย่างลึกลับนานกว่า 6 เดือน มันจึงไม่มีการยื้อย่าง ต่อรอง ทุกสิ่งอย่างล้วนตรงกันข้ามกับตอนพยายามแบล็กเมล์ Lucie (ภายในห้อง vs. บนชั้นดาดฟ้า)

จริงๆแล้วคณะการแสดง Seven Against Thebes มีไม่ถึงเจ็ดคน แต่ระหว่างที่พวกเขากินเลี้ยงภายในห้อง มีการชักชวนเพื่อนของเพื่อน นับรวมแล้วเลยมีทั้งหมด 7 คน ครุ่นคิดวางแผนจะออกติดตามหา Renaud … Seven Against Renaud
ซึ่งระหว่างที่สมาชิกทั้ง 7 ออกติดตามหา Renaud เดินไปเดินมา สอบถามไถ่ทั่วกรุง Paris จะมีการตัดสลับ เล่าเรื่องคู่ขนานกับ Colin ที่พยายามหาโอกาสพูดคุย เกี้ยวพาราสี Pauline แต่เธอกลับไม่สนใยดี ทำราวกับไม่มีตัวตน แค่เพียงอากาศธาตุ … นี่เป็นการบอกใบ้ถึงการค้นหาอันล้มเหลว ไม่มีทางจะได้พบเจอใคร


ระหว่างบรรดาสมาชิกคณะการแสดง Seven Against Thebes กำลังออกติดตามหาหัวขโมย Renaud, Colin ก็แอบติดตาม Sarah มาถึงยังสถานที่ซักซ้อมการแสดงของอีกคณะ Prometheus Bound แอบอ้างเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ Paris-Jour แสร้งทำเป็นสัมภาษณ์ถาม Thomas ถึงเหตุผลการเลือกบทละคอน (Prometheus Bound) ก่อนยกข้อความจากหนังสือ History of the Thirteen ของ Honoré de Balzac … นี่เป็นการอธิบายจุดเชื่อมโยงระหว่าง Prometheus = The Thirteen ในมุมมองของ Colin
In the Paris of the Empire there were found thirteen men equally impressed with the same idea, endowed with enough energy to remain faithful to the same thought, sufficiently honest not to betray each other… even when their interests seemed to clash. They were profoundly political enough to hide the sacred ties that bound them together, sufficiently strong to place themselves above any law, bold enough to shrink from no enterprise, and lucky enough to have succeeded almost always in their designs. They ran the greatest risks, and kept their failures to themselves. Fear could not touch them, not before the prince, not before the gallows, not before the innocent. They had accepted themselves as they were, irrespective of social prejudice, criminals no doubt, but remarkable for some of the qualities that make great men and recruited only among the elite of men.
History of the Thirteen ของ Honoré de Balzac
แต่สำหรับ Thomas อาจเพราะไม่ต้องการเปิดโปงการมีตัวตนของ The Thirteen จึงเสนอแนะเกมไพ่ที่ก็ชื่อว่า Thirteen กติกาก็คือให้เปิดไพ่ทีละใบพร้อมนับเลขไล่จาก 1 ถึง 13 ถ้าสามารถเปิดทุกใบโดยเลขที่นับไม่ตรงกับเลขไพ่ (11 = Jack, 12 = Queen, 13 = King) จะถือว่าได้รับชัยชนะ … นี่อาจดูเป็นเกมน่าจะเอาชนะได้ไม่ยาก แต่โดยคาดไม่ถึง มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด!
นัยยะของวิธีการเล่นเกมไพ่ Thirteen ครุ่นคิดดูก็น่าสนใจ สอดคล้องเข้ากับการออกติดตามหาองค์กรลึกลับ The Thirteen ทำให้ Colin พบปะผู้คนมากมาย แน่นอนว่าย่อมโอกาสพบเจอสมาชิก (หนึ่งในสิบสาม) … จริงๆก่อนหน้านี้ก็เคยพบเจอมาแล้วหลายคน Lucie, Pauline, Lili รวมถึง Thomas แต่โดยไม่รู้ตัว ไม่มีใครยินยอมเปิดเผยความจริง
แซว: ระหว่างที่ Thomas กำลังสอนเกมไพ่กับ Colin บรรดานักแสดงต่างกำลังซักซ้อม วอร์มร่างกาย Beatrice จับจ้องหน้า มองตาไม่กระพริบ Sarah (แบบเดียวกับการซ้อมครั้งก่อนหน้า) ซึ่งในบริบทนี้สามารถเปรียบเทียบถึงการเผชิญหน้าระหว่าง Colin vs. Thomas หรือก็คือ Colin vs. ผู้ก่อตั้งองค์กรลึกลับ The Thirteen


Frédérique รับรู้จักชื่อ Warok จากจดหมายที่ลักขโมยมา แต่ไม่รู้ทำไมเธอถึงจดจำเขาได้ (อาจเป็นบุคคลมีชื่อเสียง กระมัง) เข้ามาพูดคุย ทักทาย ขอคำปรึกษา พยายามเลียบๆเคียงๆ ต้องการจะล้วงข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรลึกลับ … แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ
สิ่งน่าสนใจของซีนนี้คือเด็กชายที่นั่งอยู่ระหว่างกลาง กำลังทำโน่นนี่นั่นโดยไม่สนใจผู้ใหญ่คุยกัน แต่การสนทนาของพวกเขานั้นฟังดูเป็นเรื่องเล่นๆ และเด็กชายจะค่อยๆถอยหลัง นั่งพิงพัก ทำให้ Frédérique สามารถบดบัง(เด็กชาย)จนเหมือนหายตัว/กลายเป็นบุคคลเดียวกัน (ความอยากรู้อยากเห็นของ Frédérique ช่างไร้เดียงสา ไม่ต่างจากเด็กน้อย)


ผมครุ่นคิดอยู่นานว่านี่คือการแสดงอะไร? ทำไมต้องเอาเท้าเหยียบย่ำ? กระทั่งได้ยินประโยค “He is all powerful” พลันให้นึกถึง Zeus ที่ทำการลงทัณฑ์ เหยียบย่ำ พันธนาการ Prometheus ให้ยินยอมศิโรราบต่อตนเอง
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าการพูดคุยระหว่าง Colin กับ Beatrice มีความจำเป็นอะไร? มันเหมือนว่าต่างฝ่ายต่างไม่ได้สนใจจะรับฟังอะไรกัน นี่อาจจะสะท้อนถึงความลุ่มหลงระเริงในอำนาจของ Zeus ปฏิเสธรับฟังคำตักเตือนของ Prometheus


Colin พาหญิงสาวแปลกหน้าขึ้นห้อง คาดเดาไม่ยากว่าคงคือโสเภณี (หรือจะมองว่า One Night Stand ก็ได้เช่นกัน) มีการโอบกอดจูบกันชั่วครู่หนึ่ง แต่หลังจากนั้นแทนที่จะเริ่มทำกามกิจ เขากลับสับไพ่ ชักชวนหญิงสาวเล่นเกม Thirteen ราวกับว่าจิตใจยังคงจดจ่ออยู่กับองค์กรลึกลับ ไปยังไม่ถึงจุดหมาย ไคลน์แม็กซ์ ค้นพบสรวงสวรรค์
ปล. ไม่ว่าหญิงสาวคนนี้จะคือโสเภณี หรือ One Night Stand แต่ต้องถือว่าเป็นการโอบรับความเปลี่ยนแปลงภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ Mai ’68 เรื่องพรรค์นี้ได้รับการเปิดกว้าง สังคมให้การยินยอมมากขึ้น

Thomas พยายามกุมมือ โอบกอดจูบ รักสามเส้า Beatrice & Sarah ต้องการครอบครองทุกสิ่งอย่างในกำมือ ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ทำการเชื่อมโยงตัวละคร คณะการแสดง ผสมผสาน(ทุกสิ่งอย่าง)เข้าด้วยกัน!
และโดยไม่รู้ตัวสามคนผัวเมีย คือแนวคิดที่โอบรับการปฏิวัติสังคม Mai ’68 ทำลายกฎกรอบ/อิสรภาพทางเพศ เคยถูกปลูกฝังว่าชาย-หญิงต้องรักเดียวใจเดียว บุรุษคือช้างเท้าหน้า ภรรยาต้องก้มหัวศิโรราบต่อสามี ในกรณีนี้หนึ่งชายสองหญิง มันผิดอะไร???


Lili มีปัญหาอะไรกับชายคนนี้? ถึงขนาดต้องขอความช่วยเหลือจาก Emilie ลงมือฆ่าปิดปาก? แล้วซ่อนศพในห้องใต้ถุนร้าน? มันช่างเป็นเหตุการณ์ไม่มีปี่มีขลุ่ย ไม่มีคำอธิบายอะไรใดๆ แต่เราสามารถเชื่อมโยงถึงการพบเจอครั้งสุดท้ายระหว่าง Pauline กับ Colin ภายนอกร้าน ร่ำลาจากกันชั่วนิรันดร์
เฉกเช่นเดียวกับคณะค้นหา Seven Against Renaud ที่หลังจากได้ยินข่าวคราวว่า Lili ออกเดินทางจากกรุง Paris ทำให้ทุกคนล้มเลิกการติดตามหา Renaud ยินยอมรับความพ่ายแพ้โดยดี



Thomas นัดพบเจอ Etienne (ที่ถูก Frédérique ลักขโมยจดหมาย) คาดไม่ถึงว่าทั้งสองจะคือคนรู้จัก เพื่อนสนิท พูดคุยระลึกความหลัง ก่อนเปิดเผยความจริงบางอย่างเกี่ยวกับองค์กรลึกลับ The Thirteen และเขายังพยายามอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการแสดง Prometheus Bound กับ History of the Thirteen
สถานที่ที่พวกเขานัดพบเจอคือ Île aux Cygnes (Isle of the Swans) เกาะ(ลับ)กลางแม่น้ำ Seine สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1827 สำหรับเชื่อมสะพาน Pont de Grenelle-Cadets de Saumur ปัจจุบันยังมีอีกสองสะพานเชื่อมต่อเกาะนี้ Pont Rouelle, Pont de Bir-Hakeim

ตั้งแต่ประมาณตอนสองที่ Honey Moon กล่าวถึงชายแปลกหน้า มักพบเจอยังร้านอาหารเช้า รับประทานขนมปังครัวซอง แต่กว่า Frédérique จะได้เจอกันก็ช่วงท้ายตอนหก ปรากฎว่าคือ Renaud บุคคลทำการลักขโมยเงินล้านของคณะการแสดง Seven Against Thebes ไม่ได้สูญหายตัวไปไกลจาก Paris … จุดใต้ตำตอโดยแท้!
หลายคนอาจมองความสัมพันธ์รักๆใคร่ๆ Colin & Pauline และ Frédérique & Renaud ในเชิงคู่ขนาน แต่เอาจริงๆเมื่อตอน Frédérique แรกพบเจอ Renaud มันต่อจากครั้งสุดท้ายที่ Colin พบเจอกับ Pauline และจุดจบ(ความสัมพันธ์)ของทั้งสอง ฝ่ายหญิงถูกฆาตกรรม (ร่างกาย) vs. ฝ่ายชายถูกหักอก (จิตใจ)


การจากไปของ Lili ทำให้คณะการแสดง Seven Against Thebes จำต้องปิดตัวลงไป ด้วยความที่สมาชิกส่วนใหญ่รับรู้จักกับ Thomas (เคยร่วมงานกันมาก่อน) จึงเกิดการควบรวมกับ Prometheus Bound นำสู่กิจกรรมละลายพฤติกรรม แบ่งสมาชิกออกเป็นสองฝ่าย ก้าวเดินสวน ทำท่าทางทักทายกันและกัน

นี่ก็เป็นอีกความน่าฉงนที่ Colin ค้นพบอพาร์ทเมนท์ของ Warok ได้อย่างไร? จุดเริ่มต้นมาจาก KORAE = CREW แล้วอ่านตามทิศทางลูกศรชี้ขึ้น จะพบเห็นคำว่า WAROK แน่นอนว่าชายคนนี้คือสมาชิก The Thirteen แต่ทว่าการสนทนาก็เต็มไปด้วความคลุมเคลือ ไม่ตอบรับ ไม่ปฏิเสธ
แต่มีคำพูดหนึ่งของ Warok สะท้อนถึงทุกสิ่งอย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ “I think that this is all a joke…” นี่เกิดจากการดั้นสนของ Jean Bouise พูดออกมาโดยสันชาตญาณ โดยไม่รู้ตัวสามารถใช้อธิบายได้ทุกสิ่งอย่าง


ผมไม่ได้มีความสนใจการ(ซักซ้อม)แสดงครั้งนี้เลยนะ เพราะมันไม่ใช่ทั้ง Seven Against Thebes และ Prometheus Bound แต่เป็นการผสมผสาน ดั้นสด ใครอยากทำอะไรก็ทำ เพียงทำตามไกด์ไลน์ของ(ผู้กำกับ) Thomas ซึ่งสามารถใช้อธิบายวิธีการสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ของผกก. Rivette ได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด!
และอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่ได้สนใจเนื้อหาการแสดง เพราะการแทรกภาพ Lili ก้าวเดินเรื่อยเปื่อยริมทะเล มันช่างดูสงบสุข ร่มเย็น ห่างไกลความวุ่นๆวายๆ การ(ซักซ้อม)แสดงครั้งนี้ไม่มีความหมายใดๆสำหรับเธออีกต่อไป


การพูดคุย โต้ถกเถียง แสดงความคิดเห็นหลังการ(ซักซ้อม)การแสดงก็เฉกเช่นเดียวกัน! นี่ขนาดว่าพยายามยัดเยียดทุกคน(สิบกว่าคน)มารวมตัวกันตรงใต้บันได แต่กล้องกลับไม่สามารถบันทึกภาพทั้งหมดในเฟรมเดียวกัน ต้องเคลื่อนเลื่อน แพนนิ่ง (ถึงสามารถเก็บภาพทุกคน) มันช่างเป็นสิ่งเกินตัว ไม่สามารถควบคุม ต่างคนต่างแสดงความคิดเห็น เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย และซีนที่ดำเนินเรื่องคู่ขนานก็คือ Lucie พูดบอกกับ Elaine (ริมแม่น้ำ Saine) ถึงการสูญหายตัวไปของ Lili สามารถสะท้อนถึงบางสิ่งอย่างที่สูญหายไประหว่างการ(ซักซ้อม)แสดงครั้งนี้!
แต่สิ่งน่าสนใจที่สุดในการถกเถียงครั้งนี้ คือการแสดงที่เกิดจากการดั้นสด (Improvised) หลายๆครั้งมักเกิดการผสมผสานเหตุการณ์จริง (Reality) เข้าไปในโลกปรุงแต่งสร้างขึ้น (Fictional) โดยไม่รับรู้ตัว!


การสนทนาระหว่าง Beatrice กับนักชาติพันธุ์วิทยา (The Ethnologist) ทั้งสามครั้ง (ตอน 2, 5, 7) ต่างอยู่บนชั้นดาดฟ้า พบเห็นทิวทัศน์กรุง Paris ในทิศทางแตกต่างกัน
- ครั้งแรกถ่ายติดหอไอเฟล ฝ่ายชายพยายามพร่ำพรอดรัก ท่องบทกวี “ฉันก็แค่ดอกหญ้าริมทาง” เทียบไม่ได้กับความงดงามของเธอ (Beatrice = หอไอเฟล) แต่ฝ่ายหญิงติดธุระ เลยนัดหมายพบเจอกันวันถัดไป
- หอไอเฟลมีชื่อเล่นภาษาฝรั่งเศสว่า La dame de fer แปลว่า สตรีเหล็ก
- ครั้งสองพบเห็นแม่น้ำ Seine และสะพานข้ามลิบๆ พร่ำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการแสดง = ชาติพันธุ์วิทยา (เชื่อมโยงระหว่างสองฟากฝั่งสะพาน)
- ครั้งสามตรงทางแยกอะไรสักอย่าง นั่นเพราะนักชาติพันธุ์วิทยากำลังจะย้ายไปทำงานที่อื่น จึงทำให้ Beatrice ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะดำเนินชีวิตเส้นทางไหน (ระหว่างปักหลักเป็นนักแสดง หรือเดินทางไปกับเขา)



Colin เดินทางไปยังร้าน L’Angle du Hasard กลับพบเจอเพียงเด็กน้อยไม่รู้ประสีประสา สิ่งข้าวของภายในร้านก็ถูกขนย้ายออกไปหมดสิ้น เฉกเช่นเดียวกับสถานที่ซักซ้อมการแสดงของคณะ Prometheus Bound ก็ไม่พบเจอใครเช่นกัน! แต่ระหว่างเดินไปเดินมา Sarah ก็เหมือนเป็นอีกคนที่ถูกทอด (Thomas) ทอดทิ้งไว้ ชักชวนนั่งลงสนทนา ซักถามความสัมพันธ์ ร้องขอให้เขาช่วยเหลือ Pauline โดยมอบลูกตุ้ม/ลูกดิ่ง (Pendulum) ผมไม่ค่อยเข้าใจว่ามันสามารถหยั่งรู้อะไรยังไง?
หลายคนเห็นการขอความช่วยเหลือของ Sarah ก็แอบคาดหวังว่า Colin อาจจะได้ลงเอยกับ Pauline แต่ทว่าร้านที่ถูกทิ้งร้าง คณะการแสดง(ทั้งสอง)ที่ล้มเลิกการแสดง เหล่านี้แอบบอกใบ้ตอนจบ ตัดสินใจที่จะ … มันไม่จำเป็นว่าหนังต้องจบลงอย่าง Happy Ending พระเอกต้องเป็นคนดี มีมโนธรรม ศีลธรรม ยินยอมให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การมาถึงของเหตุการณ์ปฏิวัติ Mai ’68 ได้ทำลายกฎกรอบความคิดนั้น!


การนัดพบเจอระหว่าง Thomas, Etienne และ Lucie เพื่อพูดคุยถึงจดหมายลับที่ Emilie ตั้งใจส่งให้หนังสือพิมพ์ช่วยเปิดโปงข้อเท็จจริง โชคดีที่สาวใช้ Iris มอบจดหมายดังกล่าวให้กับ Thomas ทำการเผาทิ้งโดยทันที!
เอาจริงๆถ้าเผาทิ้งแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดๆต้องนัดพบเจอยังสถานที่เดิม เกาะหงส์กลางแม่น้ำ Seine แต่คราวนี้พยายามถ่ายให้ติดรูปปั้นจำลอง Statue of Liberty (ฝรั่งเศสเป็นผู้สร้างอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพให้กับสหรัฐอเมริกาด้วยนะครับ) และอีกมุมหนึ่งพบเห็นหอไอเฟลลิบๆ


มันอาจดูไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยที่จู่ๆ Frédérique แต่งงาน(เลือด)กับ Renaud? แค่เพียงรับประทานอาหารเช้าสองสามครั้ง แล้วนั่งดูปราสาท Palais du Bardo (สร้างขึ้นสำหรับจัดงาน 1867 Paris Exposition ขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามารถเข้าไปภายใน ก่อนถูกไฟไหม้จนเพียงเถ้าถ่าน ค.ศ. 1991) ในสวนสาธารณะ Parc Montsouris, 14th arrondissement
แต่จะมีอยู่ซีนหนึ่งที่น่าสนใจคือตอนถอดวิกผมดำ สามารถสื่อถึงการปลดเปลื้องเปลือกภายนอก เปิดเผยตัวตนแท้จริง จิตวิญญาณภายใน นั่นกระมังทำให้ Frédérique ตอบตกลงแต่งงานกับ Renaud



ระหว่างรับชม ผมไม่ได้สังเกตหรอกว่าหน้าตาของ Colin ดูชอกช้ำ เหมือนผ่านการร่ำร้องไห้อย่างหนัก นั่นเพราะผกก. Rivette มีการหั่นทิ้งฉากนี้ไปหลายนาที เนื่องจาก Jean-Pierre Léaud เหมือนจะเล่นหนักไปหน่อย … นักวิจารณ์ Jonathan Rosenbaum ที่มีโอกาสได้รับชมหนังฉบับเต็มๆก่อนตัดแบ่งออกเป็น 8 ตอน เล่าให้ฟังถึงฉากที่สูญหายนี้
It showed Colin crying, screaming, howling like an animal, banging his head against the wall, busting a closet door, writhing on the floor, then calming down and picking up his harmonica. After throwing away all three of the secret messages he has been trying for most of the serial to decode, he starts playing his harmonica ecstatically, throws his clothes and other belongings out into the hall, dances about manically, and then plays the harmonica some more.
Jonathan Rosenbaum
Rosenbaum ยังให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า Léaud ใส่อารมณ์ของตนเองเข้าไปมาก (real-life emotional) จนอาจสร้างความอึดอัดให้ผกก. Rivette เลยตัดสินใจตัดออกหมด หลงเหลือเพียงแค่เขย่าลูกดิ่ง ลูกตุ้ม นับหนึ่งถึงสิบสาม แล้วยินยอมรับความอกหัก พ่ายแพ้ แล้วเลือกทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง

กว่าสิบสองชั่วโมงที่รับชมมา นี่เป็นซีเควนซ์ที่ผมชื่นชอบประทับใจมากสุด! Emilie กำลังพร่ำบ่นกับ Sarah คำสนทนาของเธอช่างวกไปวนมา เวียนวงกลม หันควับมามองหน้าอีกฝ่ายเมื่อไหร่ก็มักขึ้นเสียง “Stop looking at me like that!” พูดประโยคเดิมซ้ำๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น! นี่สำแดงสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจตัวละคร เต็มไปด้วยความขัดแย้งในตนเอง ไม่รู้จะตัดสินใจอะไรยังไง ระหว่างสามีที่สูญหายกับรักครั้งใหม่ ฉันจะเลือกใครดี?
ลีลาการถ่ายภาพก็ถือว่าน่าประทับใจ ตอนแรกถ่ายติด Emilie กับ Sarah นั่งบนเตียงนอน จากนั้นกล้องค่อยๆขยับเคลื่อนไหลเข้าหา(ตู้)กระจก พบเห็นภาพสะท้อนหญิงสาว (แทนจิตใจตัวละคร) ก่อนสุดท้ายตัดภาพมายัง Emilie เพื่อสื่อถึงเธอคือศูนย์กลางจักรวาล! ไม่พบเห็น Sarah ผู้มีใบหน้าบูดบิ้งตึงตลอดเวลา เวรกรรมอะไรไม่รู้ต้องมาทนนั่งฟังคำพร่ำเพ้อเจ้อ วกไปวนมา เมื่อไหร่จะสามารถค้นหาทางออกจากเขาวงกตนี้ได้เสียที!
ไฮไลท์คือตลอดซีเควนซ์นี้ บางครั้งได้ยินเสียงฮาร์โมนิก้า (ของ Colin) ดังล่องลอยมาจากไหนก็ไม่รู้, บางครั้งภาพกระพริบ ติดๆดับๆ จอดำ (Black Screen), ผมครุ่นคิดว่าคือการสร้างภาษาภาพยนตร์ที่สะท้อนสภาพจิตใจตัวละคร Emilie (อาจจะรวมถึง Sarah และผู้ชม) ตกอยู่ในความห่อเหี่ยว ท้อแท้สิ้นหวัง แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง (on the verge of breaking down) ฟีล์มหนัง/ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!




เช้าวันถัดมา Emilie เดินเข้าไปในห้องพักที่ว่างเปล่า พบเจอกระจกสะท้อนภาพไม่รู้จักจบสิ้น (Infinity mirror) สามารถสื่อถึงความสองจิตสองใจ โล้เล้ลังเล (หลายใจ) ยังไม่สามารถเลือกระหว่างสามี Igor กับชายหนุ่ม Colin ไร้หนทางออก วังวนไม่รู้สิ้นสุด … จนกระทั่งได้รับการติดต่อจากสามี ถึงได้ข้อสรุป ค้นพบหนทางออกจากวังเวียนวน เขาวงกตแห่งนี้

Colin เดินทางมายังอพาร์ทเม้นท์ของ Warock (ขณะนั้นพูดคุยอยู่กับ Lucie) จากนั้นเดินเวียนวนไปวนมา ผมรู้สึกเหมือนเลข 8 สัญลักษณ์อนันต์ (∞) เพื่อสื่อถึงการเดินทาง ออกค้นหา ขบไขปริศนาเกี่ยวกับ The Thirteen ที่ไร้หนทางออก คำตอบจับต้องได้ และพอมาถึงจุดๆอิ่มตัว รู้สึกเพียงพอแล้ว ไม่เอาแล้ว จึงตัดสินใจละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ก้าวเดินออกจากห้อง หลุดพ้นจากวังเวียนวน เขาวงกตแห่งนี้ในที่สุด!

ในขณะที่ Colin คลุกคลีกับ The Thirteen องค์กรปลอมๆ แค่เพียงเกมการละเล่นของคนกลุ่มหนึ่ง เมื่อถึงจุดๆหนึ่งสามารถก้าวออกจากวังวน ตัดสินใจละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง
ตรงกันข้ามกับ Frédérique หลังแต่งงาน(เลือด)กับ Renaud เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ก่อนค้นพบว่าชายคนรักเป็นสมาชิกองค์กรใต้ดินชื่อว่า Companions of Duty เคยเล่าเรื่องของตนเองที่ล้อกับบทละคอน Seven Against Thebes วางแผนสู้รบ/ออกปล้นขุมทรัพย์(ธนาคาร?)ทั้งเจ็ด เมื่อทำสำเร็จก็จักได้ครองรัก White King & Red Queen … แต่ทว่าความอยากรู้อยากเห็นของ Frédérique ต้องการเป็นพระเอกขี่ม้าขาว ให้ความช่วยเหลือ Renaud ปลดแอกจากองค์กรใต้ดิน เลยทำการปลอมตัว สวมหน้ากาก เลียนแบบพระเอกจับโจร สุดท้ายกลับกลายเป็นโศกนาฎกรรม ด้วยเงื้อมมือของชายคนรัก (มีการใช้เลือดปลอม ราวกับจัดฉากเล่นละคอน นักแสดงตายหลอกๆแต่ตัวละครตายจริง!)

หลังจาก Emilie ได้รับโทรศัพท์จากสามี Igor จึงชักชวน Lili ออกเดินทางกลับกรุง Paris (ก็ไม่รู้ Sarah สูญหายตัวไปอยู่แห่งหนไหน?) ทอดทิ้งให้ Thomas หลงเหลือตัวคนเดียว (กับลูกน้องชายหญิง) ดื่มเหล้ามึนเมา หัวเราะ-ร่ำร้องไห้ แสดงละคอน-แสดงออกจริงๆ … สภาพไม่แตกต่างจาก Prometheus ราวกับถูกพันธนาการ (ทิ้งตัวลงนอน กางมือเหมือนถูกตรึงไม้กางเขน) ทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย (เจ็บหลอกๆ) จิตวิญญาณ (เจ็บจริงๆ)
ภาพสุดท้ายของ Thomas ลุกขึ้นก้าวเดินสู่พระอาทิตย์ นี่น่าจะเป็นช่วงเวลาอัสดง ใกล้ค่ำ (เกือบจะ Golden Hour) ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่กำลังจะจบสิ้นลง


ภาพสุดท้ายของหนังนี้ เคยพบเห็นมาแล้วครั้งหนึ่งตอนที่ 6 เมื่อครั้น Marie และคณะ Seven Against Thebes พยายามออกติดตามหาหัวขโมย Renaud แต่นานวันใครต่อใครต่างทะยอยล้มเลิกความตั้งใจ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ ช็อตสุดท้ายนี้เหมือนจะสื่อว่าเธอยังคงมุ่งมั่น ทุ่มเท ต้องการพบเจอหมอนั่น พร้อมทำสงครามครั้งสุดท้าย!
สถานที่แห่งนี้คือ Fontaine de la Porte-Dorée (Fountain of the Golden Gate) ตั้งอยู่ยัง Porte Dorée, Paris 12 หลอมรูปปั้นทองเหลือง Statue d’Athéna (Statue of Athena) (1931) เทพเจ้าแห่งสงคราม (Goddess of Wisdom, War, and the Crafts) บุตรคนโปรดของเทพไททัน Zeus

เมื่อการถ่ายทำเสร็จสิ้น ผกก. Riviette ร่วมงานกับ Nicole Lubtchansky นำเอาฟุตเทจทั้งหมดมาแปะติดปะต่อตามเค้าโครงร่างที่วางแผนเอาไว้ ‘first cut’ ได้ความยาวเกือบๆ 13 ชั่วโมง ซึ่งก็คือภาพยนตร์ Out 1 (1971) แทบไม่ได้มีการปรับแก้ไขอะไร
เกร็ด: Nicole Lubtchansky ชื่อเดิม Nicole Daujat (1937-2014) สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของผกก. Rivette ร่วมงานกันตั้งแต่ L’amour fou (1969), Out 1 (1971), Celine and Julie Go Boating (1974), La Belle Noiseuse (1991) ฯ
For the first cut, we joined the material more or less as a first assembly; basically the 13 hours comprise a montage, deliberately rather loose, largely retaining the improvisational aspect, sometimes even including hesitations and repetitions, which hardly survives at all in the four-hour version.
Jacques Rivette
หลังรอบปฐมทัศน์ รับรู้ตัวว่าคงไม่มีโรงภาพยนตร์ไหนยินยอมให้ฉายหนัง 13 ชั่วโมง จึงทำการแบ่งแยกออกเป็น 8 ตอนละ 90-100 นาที สำหรับฉายทางโทรทัศน์ ซึ่งแต่ละตอนจะมีเนื้อหาสาระ ใจความสำคัญของตนเอง และการตั้งชื่อ “from person to person”
- From Lili to Thomas
- เริ่มต้นด้วยการวอร์มร่างกาย ซักซ้อมการแสดงของคณะ Seven Against Thebes ทหารสอดแนมรายงานกับ Eteocles ถึงการเตรียมทัพศัตรู สังเวยวัวกระทิง (Bull Sacrifice) ก่อนเข้าสู่สนามรบ
- Colin แสร้งทำเป็นบ้าใบ้ รีดไถเงินตามคาเฟ่
- การซักซ้อมการแสดงของคณะ Prometheus Bound บรรดา Oceanids (บุตรของเทพไททัน Oceanus) เต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลในตัว Prometheus ที่ถูกพันธนาการ
- ตัดสลับกับ Colin กำลังปั้มซองจดหมาย ตระเตรียมการรีดไถ
- ภายหลังการแสดงเสร็จสิ้น Thomas นำทีมนักแสดงร่วมวิเคราะห์ วิพากย์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นถึงการแสดงดังกล่าว เสร็จแล้วช่วยกันเก็บข้าวของ ทำความสะอาดสถานที่
- Frédérique แสร้งทำเป็นวาดรูป หลอกเอาเงินชายคนหนึ่ง
- Lili นำคณะนักแสดง Seven Against Thebes ซักซ้อมขับร้องเพลง
- Colin ออกรีดไถเงินตามคาเฟ่อีกครั้ง แต่คราวนี้มีคนหนึ่งยืนกรานจะไม่จ่าย
- กลับมาที่คณะนักแสดง Seven Against Thebes กำลังยุ่งวุ่นวายกับอะไรสักอย่าง
- Colin กำลังปั้มซองจดหมาย
- Frédérique กลับมาถึงห้อง นั่งเล่น ไม่มีอะไรทำ
- From Thomas to Frédérique
- คณะนักแสดง Prometheus Bound กำลังมองหาภาพต้นแบบสำหรับโมเดล Prometheus
- แทรกภาพ Frédérique กำลังก้าวเดินเรื่อยเปื่อยตามท้องถนนกรุง Paris
- เจ้าของหอพักพูดคุยกับ Colin แต่ก็จับใจความไม่ได้เท่าไหร่
- Frédérique หลอกเอาเงินจากชายชาวแอฟริกัน จากนั้นพบเจอกับเพื่อนเกย์ Honey Moon กลับห้องพัก เล่นตุ๊กตา อ่านหนังสือการ์ตูน นอนหลับกลางวัน
- Colin ทำกิจวัตรตามปกติ ปั๊มซองจดหมาย รีดไถเงินตามคาเฟ่ แล้วจู่ๆได้รับจดหมายลึกลับ (จาก Marie นักแสดงคณะ Seven Against Thebes)
- Beatrice พูดคุยกับ The Ethnologist บนดาดฟ้า
- Lili นั่งพูดคุยอยู่กับ Elaine พร่ำบ่นถึงพฤติกรรมต้องสงสัยของสามี Georges ขอให้เธอช่วยสืบเสาะ ค้นหาเบื้องหลังความจริง
- พอกลับมาที่ห้องพัก Colin พบเจอจดหมายลึกลับอีกฉบับ จึงเริ่มเกิดความฉงนสงสัย
- คณะนักแสดง Seven Against Thebes กำลังซักซ้อมบทสนทนา ก่อนหน้าที่ Eteocles จะตัดสินใจเข้าร่วมสู้รบเป็นกับนักรบคนที่เจ็ด เสร็จแล้วรวมกลุ่มพูดคุย แสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนแปลง
- ระหว่างกลับขึ้นห้อง Colin ได้รับจดหมายลึกลับฉบับที่สาม จึงเริ่มทำการครุ่นคิด วิเคราะห์ ค้นหาสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง ก่อนค้นพบองค์กรลึกลับ The Thirteen
- Frédérique พูดคุยกับเพื่อนเกย์ Honey Mon จากนั้นเข้าไปรีดไถเงินกับคนขายหนังสือโป๊
- Lili ไม่ชอบให้คนแปลกหน้าเข้าในสถานที่ซักซ้อมการแสดง
- คณะการแสดง Prometheus Bound ทำการซักซ้อมฉากเดียวกับตอนแรก บรรดา Oceanids (บุตรของเทพไททัน Oceanus) เต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลในตัว Prometheus ที่ถูกพันธนาการ แต่คราวนี้เปลี่ยนจากโมเดลหุ่นมาเป็นนักแสดง แล้วให้อิสระในการดั้นสดบทพูด … และช่วงท้าย Thomas มีการพาดพึง Lili
- คณะนักแสดง Seven Against Thebes แยกย้ายกันกลับบ้าน
- Frédérique ก้าวเดินวนไปวนมาอยู่ภายในห้อง
- Lili พูดคุยกับทนายความ Lucie สอบถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ
- คณะนักแสดง Prometheus Bound กำลังมองหาภาพต้นแบบสำหรับโมเดล Prometheus
- From Frédérique to Sarah
- Colin นัดพบเจอกับศาสตราจารย์ (รับบทโดย Éric Rohmer) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวรรณกรรมของ Honoré de Balzac สอบถามถึงการมีตัวตนขององค์กรลึกลับ The Thirteen
- Frédérique ล่อหลอกเงินจากชายขี้เมาคนหนึ่ง เพิ่งจับได้ว่าภรรยาคบชู้นอกใจ
- Colin กลับมาห้องพัก ยังคงพยายามขบไขปริศนาต่อไป
- คณะนักแสดง Seven Against Thebes ทำการวอร์มเสียง ซ้อมขับร้อง
- Thomas สวมบทบาท Prometheus ให้คำแนะนำกับบุคคลต่างๆที่มาเยี่ยมเยือน ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์วุ่นๆวายๆ และพูดคุย วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดง
- วันว่างๆของ Frédérique กระโดดโลดเต้น ร้องรำทำเพลงอยู่ในห้องพัก พอเริ่มเบื่อหน่ายก็ออกมาภายนอก
- Colin ยังคงพยายามขบไขปริศนา ก่อนค้นพบร้านแห่งหนึ่ง L’Angle du Hasard
- Rose สวมบทบาท Prometheus (แทน Thomas) ทำการแสดงที่แตกต่างจากครั้งก่อนหน้า
- Colin เข้าไปในร้าน L’Angle du Hasard พยายามสอบถามถึง The Thirteen (ยังแสร้งว่าเป็นใบ้อยู่)
- Frédérique ถูกพรรคพวกนักเลงกระทำร้ายร่างกาย
- คณะนักแสดง Seven Against Thebes ยืดแข้งยืดขา เตรียมพร้อมร่างกาย
- Colin โทรศัพท์พูดคุยกับบิดา-มารดา (เปิดปากแล้ว)
- Thomas เกี้ยวพาราสี Beatrice แต่เธอปฏิเสธจะพักค้างแรม
- Frédérique พอกลับมาห้องพัก พบเห็นละเล่นกับมีด
- Thomas ออกเดินทางสู่ Obade (บ้านริมทะเลที่ Normandy) เพื่อโน้มน้าวชักชวน Sarah ให้มาช่วยเป็นที่ปรึกษาด้านการแสดง
- From Sarah to Colin
- Lili กำลังวางแผนตระเตรียมการแสดงในคาเฟ่แห่งหนึ่ง แล้วจู่ๆ Colin เดินเข้ามาสอบถาม รับรู้จัก The Thirteen หรือไม่?
- เช้าวันถัดมา Thomas ยังพยายามเกี้ยวพาราสี Sarah ระหว่างเดินเลียบริมชายหาด
- Frédérique ขึ้นโรงแรมกับชายคนหนึ่ง พอเขากำลังอาบน้ำ ก็ลักขโมยเงินหนี
- ระหว่างการซักซ้อมร้อง คณะนักแสดงของ Seven Against Thebes นำพา Renaud มาให้ความช่วยเหลือกับ Lili
- วันว่างๆของ Frédérique สวมบทบาทตำรวจ-โจร
- Colin ออกเดินค้นหาทิศทาง อ่านหนังสือไป พร่ำบ่นไป
- Sarah กับคณะการแสดง Prometheus Bound แม้นั่งหัวโต๊ะแต่ไม่เห็นทำอะไรสักสิ่งอย่าง
- Colin เข้ามาในร้าน The Thirteen พบเจอกลุ่มคน ได้พูดคุยครั้งแรกกับ Pauline
- โดยไม่รู้ตัว Lili ค่อยๆสูญเสียบทบาทผู้กำกับให้กับ Renaud
- Colin พยายามเกี้ยวพาราสี Pauline สอบถามปัญหาสามข้อ
- ซักซ้อมการแสดงของคณะ Prometheus Bound โดยที่ Sarah ก็ยังคงนั่งเฉยๆ ไม่ออกความเห็น ไม่เห็นทำอะไร
- Frédérique แอบย่องเข้ามาในบ้านหลังหนึ่ง พบเจอกับ Etienne กำลังเล่นหมากรุกตัวคนเดียว รอคอยจังหวะสบโอกาส ลักขโมยจดหมายในลิ้นชัก
- Thomas ซื้อเต่ามาเป็นของขวัญให้กับลูกๆของ Emilie (หรือ Pauline)
- Frédérique เปิดอ่านจดหมาย ค่อยๆสังเกตเห็นความผิดปกติบางอย่าง
- Colin ยังคงออกเดินติดตามหาอะไรสักสิ่งอย่าง
- From Colin to Pauline
- Frédérique โทรศัพท์ติดต่อหา Etienne พยายามต่อรอง แบล็กเมล์เรื่องจดหมาย แต่ไม่สำเร็จ
- การซักซ้อมของคณะ Prometheus Bound นักแสดงคนหนึ่งถูกจับปิดตา ส่วนคนอื่นๆพยายามฉุดเหนี่ยวรั้ง พันธนาการ Prometheus
- Colin พยายามสานสัมพันธ์ เกี้ยวพาราสี Pauline (ระหว่างที่คนอื่นๆแสร้งเป็นนอนหลับ)
- Frédérique สวมวิกดำ พยายามติดต่อบุคคลที่มีชื่อในจดหมายเพื่อเรียกร้องค่าไถ่
- คณะการแสดง Seven Against Thebes วางแผนจัดเตรียมสถานที่สำหรับทำการแสดง
- Frédérique พบเจอกับทนายความ Lucie พูดคุยเรื่องจดหมาย สอบถามเบื้องหลังความเป็นมา แต่ถูกปฏิเสธจ่ายค่าไถ่
- The Ethnologist พยายามเกี้ยวพาราสี Beatrice
- Colin พยายามสารภาพรักกับ Pauline แต่เธอกลับเพิกเฉย แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น
- ระหว่างกำลังซักซ้อมการต่อสู้บนเวที, Quentin ป่าวประกาศว่าแทงม้าชนะรางวัลเงินล้าน แต่ยังไม่ทันได้ดีใจก็ถูก Renaud เชิดเงินหนี
- ระหว่างซักซ้อมการแสดง Beatrice จ้องหน้าตาไม่กระพริบกับ Sarah
- คณะการแสดง Seven Against Thebes ล้มเลิกโปรดักชั่นละคอนเวที เปลี่ยนมาเป็นวางแผนออกติดตามหา Renaud
- Frédérique พยายามแบล็กเมล์ Emilie (หรือ Pauline) เป็นบุคคลเดียวยินยอมจ่ายค่าไถ่เพื่อให้ได้รับจดหมายกลับคืนมา
- สมาชิกคณะการแสดง Seven Against Thebes ต่างแยกย้ายไปตามหลักมุมกรุง Paris เพื่อติดตามหา Renaud
- Colin พยายามจะพูดคุยกับ Pauline แต่ไม่ได้รับคำตอบใดๆ จึงแอบติดตาม Sarah มาถึงอพาร์ทเม้นท์
- From Pauline to Emilie
- สมาชิกคณะการแสดง Seven Against Thebes ยังคงออกติดตามหา Renaud
- Colin ติดตาม Sarah ขึ้นมายังสถานที่ซักซ้อมของคณะการแสดง Prometheus Bound แสร้งทำเป็นนักข่าว พูดคุยกับ Thomas ก่อนซักไซร้ถามถึง The Thirteen แล้วได้รับการสอนเกมไพ่ Thirteen
- Colin กลับไปห้องพัก ฝึกหัดเล่นเกมไพ่ Thirteen
- Emilie นำจดหมายที่ซื้อมาจาก Frédérique มาพูดคุยกับ Sarah
- Frédérique บังเอิญพบเจอกับ Warok (หนึ่งในสมาชิก The Thirteen) สนทนาเกี่ยวกับการมีตัวตนขององค์กรลึกลับ
- Colin สนทนากับ Beatrice
- การซักซ้อมของคณะการแสดง Prometheus Bound ดูราวกับการลงทัณฑ์ของ Zeus ทำการเหยียบย่ำ Prometheus
- สมาชิกคณะการแสดง Seven Against Thebes ทะยอยสูญสิ้นกำลังใจ รวมกลุ่มกันครุ่นคิดแผนการใหม่
- Colin พาหญิงสาว(โสเภณี)ขึ้นห้อง
- Thomas พยายามจะสานสัมพันธ์สามเส้ากับ Beatrice และ Sarah
- Emilie และ Lili ร่วมกันฆ่าปิดปากคนทวงหนี้ (หรืออะไรสักอย่าง) จากนั้นเก็บไว้ศพไว้ในกล่องห้องใต้ถุน แล้วปิดร้านหนี สวนทางกับ Colin
- สมาชิกคณะการแสดง Seven Against Thebes ต่างทะยอยแยกย้าย หลังไม่สามารถติดตามหาตัว Renaud
- Colin พร่ำเพ้อรำพันถึงเธอ
- Thomas พบเจอกับ Etienne พูดคุยเรื่อง Colin และอธิบายเบื้องหลังองค์กร The Thirteen ที่พวกเขาครุ่นคิดกันเล่นๆ
- Frédérique พบเจอกับ Renaud กำลังนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ รับประทานครัวซองอย่างสบายใจเฉิบ
- Lili หลบหนีมายัง Obade
- Colin ยังพยายามออกติดตามหา The Thirteen พร่ำบ่นไปตามท้องถนน
- คณะการแสดง Prometheus Bound รวมเข้ากับ Seven Against Thebes ทำกิจกรรมละลายน้ำแข็ง ละเล่นเกมคนสองเดินสวนทาง ทักทายด้วยอริยาบทต่างๆ
- From Emilie to Lucie
- Frédérique รับประทานครัวซองกับ Renaud
- Colin เดินทางไปพบเจอกับ Warok พูดคุยเรื่อง The Thirteen และอนาคตขององค์กร ขากลับสวนทางกับ Thomas
- พอกลับมาห้องพัก Frédérique ถอดวิกผมดำ
- ทั้งสองคณะทำการ(ซักซ้อม)การแสดงชุดใหม่ร่วมกัน ผสมผสานโลกความจริง+การแสดง จากนั้นพูดคุย แสดงความคิดเห็น
- Lili เดินเตร็ดเตร่อยู่ริมทะเล
- Lucie สอบถาม Elaine ถึงการสูญหายตัวไปของ Lili (ที่เดินเล่นอยู่ริมชายหาด)
- Emilie พยายามจะส่งจดหมาย(ที่ซื้อจาก Frédérique)ไปให้กับหนังสือพิมพ์ เพื่อค้นหาเบื้องหลังความจริงว่ามันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น แต่ถูกทัดทานโดย Sarah
- Beatrice ยินยอมตอบตกลงเดินทางไปกับ The Ethnologist
- Frédérique และ Renaud นั่งจับจ้องมองปราสาท พูดคุย ตกหลุมรัก
- Colin มายังร้านของ Pauline กลับพบเจอแต่เด็กชาย (น่าจะลูกของ Pauline)
- Beatrice พูดคุยกับ Thomas ขอถอนตัวจากคณะการแสดง
- Pauline/Emilie มุ่งสู่ Obade กำลังเดินเล่นริมทะเลกับ Lili
- Colin กลับห้องมาสับไพ่ Thirteen
- Etienne นัดพบเจอกับ Lucie และ Thomas เพื่อพูดคุยเรื่องจดหมายที่ Emilie ส่งไปให้กับหนังสือพิมพ์ แต่ทว่าคนใช้ Iris กลับมอบจดหมายดังกล่าวให้ Thomas เผาทำลายทิ้งเรียบร้อยแล้ว
- Frédérique แต่งงานเลือดกับ Renaud
- Thomas เดินทางสู่ Obade พบเจอ Emilie
- Colin เดินทางไปยังสถานที่ซักซ้อมการแสดงของคณะ Prometheus Bound ซึ่งไม่หลงเหลือใครอยู่ เพียงพบเจอกับ Sarah ที่อยากให้เขาช่วย Pauline/Emilie
- From Lucie to Marie
- Emilie ต้มไวน์ให้กับ Thomas
- Colin เปลี่ยนมาเล่นเกมแห่งโชคชะตาของ Sarah
- Emilie สารภาพความในใจกับ Lili เลือกไม่ได้ระหว่างสามีกับ Colin
- Frédérique เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในตัว Renaud
- เช้าวันถัดมา Emilie เข้าไปในห้องพักว่างเปล่า จับจ้องมองภาพสะท้อนกระจก
- Thomas ออกไปเดินเล่นริมทะเลกับ Lili พยายามจะรื้อฟื้นความหลัง
- Lucie พูดคุยกับ Warok แล้วจู่ๆ Colin ก็เข้ามาสำแดงเจตจำนงค์ ไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับ The Thirteen อีกต่อไป
- Frédérique แอบติดตามไปยังสถานที่นัดหมายของ Renaud แล้วเกิดเหตุการณ์คาดไม่ถึง
- Emilie ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าสามี Igor หวนกลับมาที่บ้าน จึงชักชวน Lili เดินทางกลับกรุง Paris
- Colin กลับไปเป็นคนบ้าใบ้ รีดไถเงินตามคาเฟ่อีกครั้ง
- Thomas เดินร่อนเร่เตร็ดเตร่ริมชายหาด แสร้งว่ามีอาการป่วย ทรุดล้มลง ก่อนลุกขึ้นหัวเราะอย่างบ้าคลั่ง
- ภาพสุดท้ายของ Marie เหมือนยังพยายามติดตามหา Renaud ที่ไม่มีใครสนใจอีกต่อไป
ลงรายละเอียดยิบๆแบบนี้ หลายคนคงอ่านกันไม่รู้เรื่องอย่างแน่แท้ แต่เขียนไว้สำหรับอ้างอิงว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งผมจะพยายามสรุปใจความสำคัญโดยย่อของเนื้อหาแต่ละตอนไว้ด้วยก็แล้วกัน
- From Lili to Thomas ตอนแห่งการอารัมบท แนะนำตัวละคร + คณะการแสดง เพื่อให้ผู้ชมปรับตัวเข้ากับวิธีการนำเสนอ
- Colin แสร้งทำเป็นบ้าใบ้ ออกรีดไถเงินตามคาเฟ่
- Frédérique คือโจรกระจอก (คล้ายๆแบบ Colin) ทำการล่อหลอกหนุ่มๆ ได้เงินแล้วรีบชิ่งหนี
- คณะการแสดง Seven Against Thebes ทหารสอดแนมเล่าถึงการเตรียมทัพของศัตรู
- คณะการแสดง Prometheus Bound ซักซ้อมการเริงระบำ วิวัฒนาการความหลงใหลของบรรดา Oceanids ต่อ Prometheus ที่ถูกพันธนาการ
- From Thomas to Frédérique เริ่มนำเข้าสู่เรื่องราว จดหมายลึกลับ องค์กรปริศนา แรงผลักดันที่มิอาจหักห้ามใจ
- Colin ได้รับจดหมายลึกลับ จึงเริ่มทำการขบไขปริศนา
- Frédérique ครั้งหนึ่งพยายามรีดไถเงินจากคนขายหนังสือโป๊ (เปรียบเหมือนองค์กรลับ เพราะต้องแอบจำหน่ายลับๆล่อๆ) พยายามจะแบล็กเมล์ กลับถูกขับไล่ออกจากร้าน
- คณะการแสดง Seven Against Thebes ทำการซักซ้อมบทสนทนา ใครต่อใครต่างพยายามหักห้าม Eteocles ไม่ให้ใช้อารมณ์เข้าร่วมเข้าร่วมต่อสู้กับนักรบคนที่เจ็ด (“do not let yourself be driven to it.” ดังขึ้นหลังจาก Colin เริ่มทำการขบไขปริศนา)
- Lili มีความเคลือบแคลงสงสัยว่าชายคนรักแอบนอกใจตนเอง จึงขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสาว Elaine และทนายความ Lucie ให้ช่วยสืบค้นหาความจริง
- คณะการแสดง Prometheus Bound หลังจากพยายามค้นหาโมเดลต้นแบบ ครึ่งหลังวิเคราะห์ถึงความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของ Prometheus จากการถูกพันธนาการ ทำให้เรียนรู้จักสงบจิตสงบใจ ฝึกฝนความอดกลั้น หายใจเข้าออก
- From Frédérique to Sarah ช่วงเวลาหาตัวช่วยเพื่อขบไขปริศนา ขอความช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ
- Colin พูดคุยกับศาสตราจารย์ผู้มีความรู้เกี่ยวกับ The Thirteen แต่ให้คำตอบไม่ได้ว่าปัจจุบันยังมีตัวตนหรือไม่ จึงทำการสืบค้นหาต่อจนพบเจอร้าน L’Angle du Hasard เข้าไปสอบถามไม่ได้รับคำตอบใดๆ
- ต่อมา Colin โทรศัพท์หาบิดา-มารดา เปิดเผยว่าตนเองไม่ได้บ้าใบ้ ขอบิดาให้ช่วยส่งที่ปั๊มกระดาษ
- Frédérique รับฟังเรื่องเล่าของชายขี้เมาที่ค้นพบว่าภรรยาคบชู้นอกใจ (มันช่างล้อกับ Colin พูดคุยกับศาสตราจารย์) หลังจากเชิดเงินหนีหาย ภายหลังถูกมาเฟียกระทำร้ายร่างกาย
- คณะการแสดง Seven Against Thebes ตอนนี้พบเห็นเพียงวอร์มเสียง และวอร์มร่างกาย
- คณะการแสดง Prometheus Bound เริ่มจาก Thomas ก่อนเปลี่ยนเป็น Rose สวมบทบาท Prometheus ให้คำปรึกษากับบุคคลเข้ามาสอบถามไถ่
- Thomas เดินทางไปหา Sarah พยายามโน้มน้าวชักชวนให้เธอมาช่วยเป็นที่ปรึกษาด้านการแสดง
- Colin พูดคุยกับศาสตราจารย์ผู้มีความรู้เกี่ยวกับ The Thirteen แต่ให้คำตอบไม่ได้ว่าปัจจุบันยังมีตัวตนหรือไม่ จึงทำการสืบค้นหาต่อจนพบเจอร้าน L’Angle du Hasard เข้าไปสอบถามไม่ได้รับคำตอบใดๆ
- From Sarah to Colin อยากได้ลูกเสือก็ต้องเข้าถ้ำเสือ แทรกซึมเข้าไปยังสถานที่เป้าหมาย/บ้านใครสักคน
- Colin เข้ามาในร้าน L’Angle du Hasard พยายามสอบถามไถ่เกี่ยวกับ The Thirteen ก่อนหันเหความสนใจมายัง Pauline ตกหลุมรักแรกพบ
- Frédérique นอกจากขึ้นห้องกับชายแปลกหน้า (ก่อนขโมยเงินแล้วหลบหนี) ครึ่งหลังยังแอบย่องเบาเข้ามาในบ้านของ Etienne ลักขโมยจดหมายในลิ้นชักของอีกฝ่าย
- คณะการแสดง Seven Against Thebes การมาถึงของผู้ช่วย Renaud ทำให้ Lili ค่อยๆสูญเสียสถานะผู้กำกับ
- คณะการแสดง Prometheus Bound การมาถึงของผู้ช่วย Sarah แต่ไม่เห็นให้คำแนะนำ ทำอะไรสักสิ่งอย่าง
- Thomas ซื้อเต่ามาเป็นของขวัญให้ลูกๆของ Emilie (หรือ Pauline)
- From Colin to Pauline สารพัดการเผชิญหน้าที่ล้มเหลว แบล็กเมล์ ถูกทรยศหักหลัง
- Colin พยายามหาโอกาสสารภาพรักต่อ Pauline แต่เธอกลับไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ
- Frédérique พยายามแบล็กเมล์บุคคลที่มีรายชื่อในจดหมาย แต่กลับไม่มีใครสนใจ ยกเว้นเพียง Emilie (หรือ Pauline) ยินยอมจ่ายค่าไถ่
- คณะการแสดง Seven Against Thebes ระหว่างจัดเตรียมพื้นที่ทำการแสดง Quentin ป่าวประกาศว่าแทงม้าชนะรางวัลเงินล้าน แต่ยังไม่ทันได้ดีใจก็ถูก Renaud เชิดเงินหนี ทำให้ต้องล้มเลิกโปรดักชั่นละคอนเวที
- คณะการแสดง Prometheus Bound เริ่มจากปิดตานักแสดงคนหนึ่ง ส่วนคนอื่นๆพยายามฉุดเหนี่ยวรั้ง พันธนาการ Prometheus, ครึ่งหลังให้นักแสดงจ้องหน้าตาไม่กระพริบ
- The Ethnologist พยายามเกี้ยวพาราสี Beatrice แต่ต่างฝ่ายต่างติดโน่นติดนี่ ยังไม่มีเวลาให้กันเสียที
- From Pauline to Emilie การค้นหาที่ล้มเหลว องค์กรลึกลับไม่ได้เป็นอย่างครุ่นคิดเอาไว้
- Colin พยายามสัมภาษณ์ถาม Thomas ถึงองค์กรลับ The Thirteen แต่ได้รับการเสี้ยมสอนเกมไพ่ Thirteen ช่วงท้ายก็ยังคงพยายามออกติดตามหาต่อไป
- Frédérique เรียนรู้การมีตัวตนขององค์กรลับ (จาก Warok) และช่วงท้ายได้พบเจอ Renaud (ว่าที่)ชายคนรัก
- คณะการแสดง Seven Against Thebes พยายามออกติดตามหา Renaud จนแล้วจนรอดไม่พบเจอใคร สุดท้ายเลยล้มเลิกความตั้งใจ
- Lili และ Emilie ร่วมกันฆ่าปิดปากชายคนหนึ่งที่ล่วงรับรู้ความลับอะไรสักอย่าง แล้วซุกซ่อนศพไว้ห้องใต้ถุนบ้าน
- คณะการแสดง Prometheus Bound ช่วงท้ายมีการละเล่นเกมคนสองเดินสวนไปมา แล้วทักทายกันโดยไม่ซ้ำรูปแบบ
- Thomas พบเจอกับ Etienne พูดคุยถึงองค์กร The Thirteen ที่พวกเขาครุ่นคิดมาเล่นๆ ไม่ต่างจากเกมๆหนึ่งเท่านั้นเอง
- From Emilie to Lucie วาดฝันอนาคต การปลดปล่อย ละทอดทิ้ง
- Colin เรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับ The Thirteen จาก Warok พยายามขบครุ่นคิด ค้นหาทางออก ได้รับการร้องขอจาก Sarah ให้ช่วยเหลือ Pauline
- Frédérique ตกหลุมรัก แต่งงาน(เลือด)กับ Renaud
- คณะการแสดง Seven Against Thebes และ Prometheus Bound แม้รวมตัวเข้าด้วยกัน แต่กลับสร้างความขัดแย้ง นักแสดงต่างขอลาออก จนต้องละทอดทิ้ง ล้มเลิกโปรดักชั่น บุคคลหลงเหลือจึงออกเดินทางสู่ Obade
- From Lucie to Marie หนทางเลือก การตัดสินใจ และผลสุดท้าย
- Colin เดินทางมาบอกกับ Warok ว่าหมดความสนใจใน The Thirteen ก่อนหวนกลับไปแสร้งเป็นคนบ้าใบ้ รีดไถเงินตามคาเฟ่
- Frédérique เกิดความเคลือบแคลงต่อสามี Renaud จึงแอบติดตาม นำสู่เหตุการณ์โศกนาฎกรรม (ในขณะที่ Colin ตัดสินใจเลิกยุ่งเกี่ยว, Frédérique กลับถลำลึกจนไม่สามารถหวนกลับขึ้นมา)
- Pauline/Emilie สองจิตสองใจระหว่างสามีกับ Colin แต่พอได้รับโทรศัพท์ เร่งรีบเดินทางกลับ Paris
- Thomas เมื่อไม่หลงเหลือใคร จึงแสร้งว่าล้มป่วย ก่อนหัวเราะอย่างคลุ้มคลั่ง
- และยังมีใครบางคน (Marie) ออกติดตาม Renaud ต่อไป
แม้หนังประกอบด้วย 4 เรื่องราวคู่ขนาน แต่เหตุการณ์ส่วนใหญ่มักเกาะติดกับการซักซ้อมการแสดงของทั้งสองคณะ ขณะที่หนุ่ม-สาว Colin และ Frédérique มักสอดแทรกเข้ามา (มีคำเรียก ‘go-between’) อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย บางครั้งก็เน้นๆย้ำๆ สลับกลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง มันอาจดูเหมือนไร้สาระ แต่ล้วนซุกซ่อนเหตุผลให้ผู้ชมขบครุ่นคิด ค้นหาความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์
ผมพยายามครุ่นคิดหาความหมายของชื่อตอน “from person to person” บ้างว่า from บุคคลแรกพบเห็น to บุคคลสุดท้ายปรากฎตัว แต่เอาแค่ตอนแรก “From Lili to Thomas” เริ่มต้นด้วยคณะการแสดงของ Lili แต่คนสุดท้ายปรากฎตัวคือ Frédérique ไม่ใช่ Thomas … สรุปแล้วผมยังขบครุ่นคิดไม่ออก ใครสามารถหาคำตอบเขียนใส่คอมเมนต์ไว้นะครับ
ผกก. Rivette ดึงตัวอีกนักตัดต่อ Denise de Casablanca ปล่อยให้เธอขังตนเองอยู่หลายคืนเพื่อทำความเข้าใจหนัง จากนั้นพยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่มีลีลานำเสนอแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง! หลงเหลือเวลา 4 ชั่วโมง กลายมาเป็น Out 1: Spectre (1972)
เกร็ด: Denise de Casabianca (1931-2020) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ Rififi (1955), แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Jacques Rivette ในยุคแรกๆ อาทิ Paris Belongs to Us (1961), The Nun (1966), Out 1: Spectre (1972), The Mother and the Whore (1973) ฯ
The first cut, resulting in the 13-hour version, was done with Nicole Lubtchansky. Afterwards I felt I was no longer seeing what I was watching on the editing table, and I called in Denise de Casablanca, who shut herself up alone for a fortnight with the 13 hours to get to know them. After that I began work with her on shaping the shorter version, which actually runs four hours and 20 minutes. Of course we didn’t try to make a resume of the 13 hours, but to find material there for another film with its own rhythm and its own inner design.
หลังจากเสียเวลา 4-5 วัน รับชมหนังฉบับเต็ม 13 ชั่วโมง ผมตั้งใจจะต่อด้วยฉบับย่อ 4 ชั่วโมง เพื่อเก็บรายละเอียดในส่วนที่อาจมองข้ามไป แต่ทว่ากลับนั่งดูได้แค่ครึ่งชั่วโมงก็แทบอดรนทนไม่ไหว มันอาจเพราะยังจดจำเรื่องราวส่วนใหญ่ รับรู้ว่าฉากไหนโคตรเจ๋ง แต่ฉบับตัดต่อใหม่กลับตัดทิ้งจนเหี้ยนเตียน ให้ความสำคัญกับประเด็นที่แตกต่างออกไป … เอาว่ามันคือหนังคนละเรื่อง ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบ ลีลาการนำเสนอก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง!
Colin และ Frédérique แม้ไม่มีโอกาสพูดคุยสนทนา เคยเฉี่ยวกันไปเฉี่ยวกันมา แต่ทั้งสองต่างมีความละม้ายคล้าย และแตกต่างตรงกันข้าม! หนุ่มสาวทั้งสองต่างมีชีวิตล่องลอย เรื่อยเปื่อย ดำเนินไปอย่างไร้แก่นสาน เพียงล่อหลอกลวงผู้อื่นไปวันๆ ปลอมตัวเป็นบุคคลโน่นนี่นั่น (Colin แสร้งเป็นบ้าใบ้, Frédérique สวมวิกดำปลอมตัว) เหล่านี้สะท้อนบรรยากาศฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติ Mai ’68 ที่หลายคนยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีสมัยใหม่
จนกระทั่งเมื่อ Colin ได้รับจดหมายลึกลับ (ขณะที่ Frédérique ลักขโมยจดหมายหลายฉบับ) บังเกิดความหมกมุ่น แรงกระตุ้นผลักดัน ต้องการขบไขปริศนา ค้นหาคำตอบ (หรือทำการแบล็กเมล์ รีดไถเงิน) นี่ราวกับชีวิตได้พบเจอเป้าหมาย และกำลังก้าวออกเดินทางไปให้ถึงเส้นชัยชนะ
- The Thirteen ในมุมของ Colin มีลักษณะเป็นองค์กรลึกลับ แทรกซึมอยู่ทั่วทุกแห่งหนใน Paris แม้ไม่รู้เป้าหมายคืออะไร? แต่สร้างความเคลือบแคลง หวาดระแวง พยายามค้นหาว่ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่? … กล่าวคือมององค์กรนี้ในเชิงภาพรวม เปลือกภายนอก (นามธรรม)
- ตรงกันข้ามกับ Frédérique พบเจอจดหมายของบรรดาสมาชิก The Thirteen แม้ไม่รับรู้ว่าพวกเขาสนทนาอะไรกัน แต่ครุ่นคิดว่าน่าจะมีความสำคัญ สามารถนำมาแบล็กเมล์ เรียกร้องค่าไถ่ … กล่าวคือรับรู้จักสมาชิกภายในองค์กร นัดพบเจอ จับต้องได้ (รูปธรรม)
แตกต่างจาก Paris Belongs to Us (1961) ที่องค์กรลึกลับสามารถตีความได้สองแง่สองง่าม มันอาจมีอยู่จริง หรือไม่อยู่จริง ให้อิสระผู้ชมในการขบครุ่นคิด! ผิดกับ Out 1 (1971) ที่องค์กร The Thirteen ได้รับการเปิดเผยว่ามีอยู่จริง แต่ทว่ามันกลับไม่ใช่อย่างที่ใครๆครุ่นคิดจินตนาการ แตกต่างจากองค์กรที่ปรากฎในนาฏกรรมชีวิต La Comédie humaine หรือคอลเลคชั่น History of the Thirteen (1833–35) ของ Honoré de Balzac อยู่หลายขุม!
แท้จริงแล้ว The Thirteen (ในหนัง) เป็นเพียงเกมการละเล่นของคนกลุ่มหนึ่ง (ก็เหมือนเกมไพ่ที่ Colin เรียนมาจาก Thomas) ไม่ได้ลึกลับซับซ้อน หรือซุกซ่อนสิ่งชั่วร้าย เพียงองค์กรสมัครเล่น สมาชิกคือแวดวงเพื่อนฝูง นักแสดง ที่ได้รับการยืนยันมีจำนวน 11 คน Thomas (ผู้ก่อตั้ง/ผู้กำกับคณะ Prometheus Bound), Etienne (คนที่ Frédérique ลักขโมยจดหมาย), Warok (พบเจอทั้ง Colin และ Frédérique), Pierre (เจ้าของจดหมายที่ส่งให้ Colin), Lucie (ทนายความที่ Frédérique พยายามเรียกค่าไถ่), Sarah (หนึ่งในคนรักของ Thomas), Lili (ผู้กำกับคณะ Seven Against Thebes), Georges (แฟนหนุ่มของ Lili), Pauline (Emilie), Igor (สามีของ Emilie), Marie (คนส่งจดหมายให้ Colin) … ผมเห็นบางคนตีความ Colin และ Frédérique คือสมาชิกคนที่ 12 และ 13 เอางั้นเลยฤา?
These are just big kids having fun. They’re acting, making believe that they’re hatching big plots. Frédérique and Colin are the two innocent victims who think there are grown-ups with important things to say in the discussions and so on. They are like children who think grown-ups exist, whereas the others know that is not true.
Jacques Rivette
สำหรับ Colin เมื่อตระหนักว่า The Thirteen ที่อุตส่าห์เสียเวลาขบไขปริศนา ค้นหาคำตอบ กลับหาใช่องค์กรอย่างที่ตนเองคาดหวังไว้ ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจปล่อยวาง ละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง … เฉกเช่นเดียวกับการตกหลุมรักแรกพบ Pauline พยายามเกี้ยวพาราสี ขายขนมจีบ แต่เธอกลับเพิกเฉย ไม่สนใจใยดี (เปรียบเทียบ The Thirteen = Pauline) สุดท้ายเลยต้องตัดใจ มิอาจฝืนความรู้สึกของอีกฝ่าย
ตรงกันข้ามกับ Frédérique หลังจากรีดค่าไถ่จาก Emilie (Pauline) ได้พบเจอเจ้าชาย Renaud (ที่ก็ลักขโมยเงินล้านมาจาก Quentin) ตัดสินใจครองรัก แต่งงาน(เลือด) แล้วบังเกิดความเคลือบแคลงสงสัย ครุ่นคิดว่าเขาอาจเป็นสมาชิกเครื่องข่ายอาชญากรรม เลยแอบปลอมตัว ติดตาม แล้วประสบโศกนาฎกรรม … ในกรณีของ Frédérique คือถลำลึกจนไม่สามารถหวนกลับขึ้นมา
คณะการแสดง Seven Against Thebes แม้เรื่องราวจะคือการต่อสู้ระหว่าง 7 ยอดนักรบใน 7 สนามรบ แต่ชื่อการแสดงอาจทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิดว่า 7 ปะทะ 1 ถึงอย่างนั้นเหตุการณ์บังเกิดขึ้น Renaud ลักขโมยเงินล้านของ Quentin ทำให้สมาชิก(ที่เหลือ)ทั้ง 7 ออกไล่ล่า ติดตามค้นหา เดินทางไปรอบกรุง Paris (ในกรณีนี้เรียกได้ว่า 7 ปะทะ 1) … มันช่างย้อนรอย ตรงกันข้ามกับเรื่องราวของ Colin ชายหนุ่มเพียง 1 คนเดียว พยายามออกติดตามหาองค์กรลึกลับ The Thirteen (น่าจะมีสมาชิก 13 คน)
คณะการแสดง Prometheus Bound นำเสนอช่วงเวลาถูกพันธนาการของ Prometheus ทำให้มิอาจดิ้นหลบหนีไปไหน ไม่สามารถทำอะไรใดๆ (ก็เหมือนกับ Frédérique วันว่างๆไม่มีอะไรทำ แม้ออกเดินทางไปทั่วกรุง Paris แต่สถานที่แห่งนี้ไม่ต่างจากคุกคุมขัง พันธนาการเหนี่ยวรั้ง) เลยมีผู้คน/เทพเจ้า ใครต่อใครมากมายเดินทางมาเยี่ยมเยียนถามไถ่ (Frédérique พยายามล่อหลอกลวง แบล็กเมล์ผู้คนมากมาย) เชื่อมั่นว่าสักวันตนเองจักได้รับการปลดปล่อย (ความตาย = จิตวิญญาณได้รับอิสรภาพ)
(มันไม่ใช่แค่ว่าเรื่องราวของคณะการแสดง Seven Against Thebes สะท้อนถึง Colin แล้วคณะการแสดง Prometheus Bound สะท้อนถึง Frédérique แต่เรายังสามารถมอง Seven Against Thebes = Frédérique และ Prometheus Bound = Colin นั่นแปลว่าท้ายที่สุดแล้ว Seven Against Thebes = Prometheus Bound = Colin = Frédérique ทุกเรื่องราว ทุกสิ่งอย่าง ล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใย ราวกับหยากไย่)
ผกก. Rivette คือปราชญ์แห่งองค์กรลึกลับ/กลุ่มเคลื่อนไหว French New Wave (หรือจะเหมารวมก๊วนแก๊งค์ Ciné-Club, Cinémathèque Française, Cahiers du Cinéma ก็ได้เหมือนกัน) ถือเป็นบุคคลผู้มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด ประสบการณ์ภาพยนตร์มากกว่าใคร เริ่มต้นสร้างหนังสั้นคนแรก แต่กลับเป็นคนสุดท้ายค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ ลองผิดลองถูกกับ L’Amour fou (1969) และมาสเตอร์พีซเรื่องแรก Out 1 (1971)
สิ่งที่ถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ของผกก. Rivette คือการให้อิสรภาพกับนักแสดง/ทีมงานในการร่วมงาน เริ่มต้นมีเพียงไกด์ไลน์ เค้าโครงแผนงานคร่าวๆ จากนั้นใครอยากเสนอแนะนำอะไรก็รับฟัง พูดคุยถกเถียง ระดมสมอง เปลี่ยนแปลงแก้ไข … วิสัยทัศน์ของ Rivette ภาพยนตร์ไม่ใช่แค่ของผู้กำกับ แต่ถือเป็น ‘platform’ สำหรับกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มาร่วมงานกัน
กลุ่มเคลื่อนไหว French New Wave มีอุดมการณ์ร่วมกันคือสำแดงความหัวขบถ แหกขนบกฎกรอบ ต่อต้านสังคม/วิถีทางภาพยนตร์ แต่ในบรรดาผลงานทั้งหมด Out 1 (1971) ต้องถือว่ามีอิสรภาพอย่างที่สุด! ก่อนกาลมาถึงของผู้กำกับสาย ‘Longggg Cinema’ อย่าง Wang Bing, Lav Diaz ฯ รวมถึงบรรดาผู้กำกับที่รักการ ‘Improvised’ อย่าง John Cassavetes, Wong kar-wai, Mike Leigh, Terrence Malick ฯ ยุคสมัยนั้นแม้งโคตรบ้า หาญกล้า ท้าทายขีดจำกัด ศักยภาพการแสดง (ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำการดั้นสด) และขีดความอดทนของผู้ชม
Out 1 (1971) คือการเผชิญหน้าขีดจำกัดภาพยนตร์ ชักชวนให้ผู้ชมค้นหาหนทางออก “Out” จากเขาวงกต เพื่อจักพบเจอโลกใบใหม่ สรวงสวรรค์รำไร ชีวิตได้รับอิสรภาพ และเริ่มต้นนับ “1” ใหม่อีกครั้ง!
ใช้เวลาหกสัปดาห์ถ่ายทำ หกเดือนตัดต่อ แต่ด้วยความยาวเกือบๆ 13 ชั่วโมง เคยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่งาน Maison de la Culture, Le Havre เดือนกันยายน ค.ศ. 1971 (มีรายงานด้วยว่าฉายนานเกิน จนโปรเจคเตอร์หยุดทำงานชั่วคราว)
จากนั้นผกก. Rivette ทำการตัดแบ่งออกเป็น 8 ตอนละ 90-100 นาที สำหรับฉายทางโทรทัศน์ แต่กลับไม่ได้รับอนุญาตจาก Office de Radiodiffusion-Télévision Française (ORTF) เลยทำการตัดต่อใหม่ให้เหลือเพียง 253 นาที (4 ชั่วโมง 13 นาที) ตั้งชื่อว่า Out 1: Spectre (1972) นำออกฉายตามเทศกาลหนัง แล้วเก็บเข้ากรุ เงียบหายนานเกือบสองทศวรรษ
เมื่อปี ค.ศ. 1990 หนังได้ถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อเข้าฉาย Rotterdam and Berlin Film Festivals ก่อนเงียบหายไปอีกครั้งจนกระทั่งปี ค.ศ. 2004 เข้าฉายในกิจกรรมรำลึก Jacques Rivette Viaggio in Italia di un metteur en scène ทำให้เกิดกระแสนิยมเล็กๆ จึงมีโอกาสออกเดินทางสู่ London, New York, Vancouver แล้วได้รับการโหวต 13 เสียง ติดอันดับ #127 (ร่วม) ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของนิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll 2012
เกร็ด: การโหวตครั้งล่าสุดของนิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ได้รับคะแนนเพิ่มเป็น 18 เสียง ติดอันดับ #169 (ร่วม)
ปัจจุบันหนังผ่านการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 2K (จากฟีล์ม 16mm) ได้รับการสนับสนุนจาก Centre national du cinéma et de l’image animée (CNC) ผ่านการตรวจอนุมัติโดยตากล้อง Pierre-William Glenn เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray ของค่าย Carlotta Films และ Arrow Films … ทั้งสองค่ายต่างเป็น 1 Movie, 2 Cuts มีทั้งฉบับเต็ม 13 ชั่วโมง และตัดต่อใหม่ 4 ชั่วโมง
เมื่อเทียบกับ Sátántangó (1994) ประสบการณ์รับชม Out 1 (1971) ช่างมีความแตกต่างแทบจะตรงกันข้าม! สไตล์ของ Béla Tarr มุ่งเน้นถ่ายภาพสวยๆ กล้องค่อยๆเคลื่อนไหล ปล่อยให้ผู้ชมซึมซับบรรยากาศรอบข้าง, ภาพยนตร์ของผกก. Rivette เต็มไปแนวคิด การแสดง (Performance Arts) พูดคุยถกเถียง และโครงสร้างดำเนินเรื่องที่พยายามเชื่อมโยงแต่ละสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน ดูราวกับเขาวงกต วกเวียนวน ท้าทายผู้ชมขบไขปริศนา ค้นหาจิตวิญญาณของหนัง
ผลงานของผกก. Rivette ถือเป็น ‘intellectual film’ เหมาะสำหรับบุคคลที่สามารถขบครุ่นคิดวิเคราะห์ เข้าใจศาสตร์ภาพยนตร์ขั้นสูง ชื่นชอบความท้าทาย ปีนป่ายบันได เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ พบเห็นสรวงสวรรค์รำไร
จัดเรต 13+ กับโจรกระจอก หลอกลวง ความเข้มข้นในการแสดง (Performance Arts)
Leave a Reply