Dancer in the Dark (2000) : Lars von Trier ♥♥♡
ไม่ใช่แค่สายตาตัวละครที่กำลังค่อยๆมืดบอด ถูกทรยศหักหลัง ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในกองถ่ายที่ Björk อ้างว่าถูกแตะอั๋ง ลวนลาม คุกคามทางเพศโดยผกก. Lars von Trier, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ในช่วงที่ #MeToo กำลังเป็นกระแสขึ้นมาในปี ค.ศ. 2017 นักร้อง/นักแสดง Björk เป็นบุคคลหนึ่งโพสลงบน Facebook กล่าวว่าตนเองถูก “sexually harassed” โดยผู้กำกับชาว Danish ที่เคยร่วมงาน ซึ่งก็มีอยู่คนเดียวเท่านั้นคือ Lars von Trier ซึ่งเจ้าตัวพยายามปฏิเสธต่อต้าน อ้างว่าอีกฝ่ายบิดเบือนข้อเท็จจริง นั่นทำให้ Björk เขียนจดหมายเปิดผนึก ลงรายละเอียดเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจนดิ้นไม่หลุด
1. After each take the director ran up to me and wrapped his arms around me for a long time in front of all crew or alone and stroked me sometimes for minutes against my wishes.
2. When after 2 months of this I said he had to stop the touching, he exploded and broke a chair in front of everyone on set. Like someone who has always been allowed to fondle his actresses. Then we all got sent home.
3. During the whole filming process there were constant awkward paralysing unwanted whispered sexual offers from him with graphic descriptions, sometimes with his wife standing next to us.
4. While filming in Sweden, he threatened to climb from his room’s balcony over to mine in the middle of the night with a clear sexual intention, while his wife was in the room next door. I escaped to my friends room. This was what finally woke me up to the severity of all this and made me stand my ground.
5. Fabricated stories in the press about me being difficult by his producer. This matches beautifully the Weinstein methods and bullying. I have never eaten a shirt. Not sure that is even possible.
6. I didn’t comply or agree on being sexually harassed. That was then portrayed as me being difficult. If being difficult is standing up to being treated like that, I’ll own it.Hope
Let’s break this curse.
Warmth
Björk
คนที่เคยรับชมผลงานของผกก. von Trier น่าจะตระหนักได้ไม่ยากว่าการออกมาเปิดโปงของ Björk ย่อมมีเค้าความจริงอย่างแน่นอน! แต่มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของบุคคลนั้นๆ อีกบทสัมภาษณ์ของ Nicole Kidman จากการร่วมงาน Dogville (2003) อาจช่วยไขความกระจ่างได้ไม่น้อย
I think I tried to quit the film three times because he said, ‘I want to tie you up and whip you, and that’s not to be kind.’ I was, like, what do mean? I’ve come all this way to rehearse with you, to work with you, and now you’re telling me you want to tie me up and whip me? But that’s Lars, and Lars takes his clothes off and stands there naked and you’re like, ‘Oh put your clothes back on Lars, please, let’s just shoot the film.’ but he’s very, very raw and he’s almost like a child in that he’ll say and do anything. And we would have to eat dinner every night and most of the time that would end with me in tears because Lars would sit next to me and drink peach schnapps and get drunk and get abusive and I’d leave and … anyway, then we’d go to work the next morning. But I say this laughing … I didn’t do the sequel but I’m still very good friends with him, strangely enough, because I admire his honesty and I see him as an artist, and I say, my gosh, it’s such a hard world now to have a unique voice, and he certainly has that, and he hasn’t bent over to any of the mainstream approaches to filmmaking or money, and I admire it.
Nicole Kidman กล่าวถึงการร่วมงานผกก. Lars von Trier
เมื่อหนังเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เห็นว่ามีทั้งเสียงโห่และปรบมือดังพอๆกัน นั่นแสดงให้เห็นถึงการตอบรับถ้าไม่ชื่นชอบ ก็รังเกียจขยะแขยง น่าจะเป็นภาพยนตร์คว้ารางวัล Palme d’Or เสียงแตกที่สุดในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้!
The first press screening at Cannes was at 8:30 a.m. That’s the screening where all the real movie people attend–the critics, festival heads, distributors, exhibitors, film teachers, other directors, etc. (the evening black-tie audience is far more philistine). After the screening, the auditorium filled with booing and cheering–so equal in measure that people started booing or cheering at each other.
I sat in my seat, ready to cheer or boo when I made up my mind. I let the movie marinate, and saw it again, and was able to see what von Trier was trying to do.
นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 3.5/4
แม้ว่า Dancer in the Dark (2000) จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ Dogme 95 แต่ยังสามารถพบเห็นอิทธิพล แนวทางหลายๆอย่าง ความพยายามปลดปล่อยตนเองจากการควบคุมของผกก. von Trier ต่อยอดมาจาก Breaking the Waves (1996), The Idiots (1998) และเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาว/มารดาผู้มีจิตวิญญาณอันเข้มแข็ง ยินยอมเสียสละทุกสิ่งอย่างเพื่อบุตร จึงถูกมัดรวมไตรภาค ‘Golden Heart trilogy’
เรื่องราวของหนังไม่ได้มีความซับซ้อน เอาจริงๆเฉิ่มเชยไปตามยุคสมัย แต่วิธีการตามแนวทาง Dogme 95 สร้างความอึดอัด กระวนกระวาย บีบเค้นคั้นหัวใจ และการแสดงของ Björk ทำให้ผู้ชมรู้สึกห่อเหี่ยว สัมผัสถึงความสิ้นหวังอาลัย (ย่อมต้องเอาความรู้สึกจากสภาพแวดล้อมการทำงานใส่ลงไปด้วยแน่ๆ) เพียงบทเพลงที่เธอขับร้อง-เล่น-เต้นในจินตนาการ ‘Dancer of the Dark’ ทำให้บังเกิดประกายความหวังเล็กๆขึ้นภายใน
Lars von Trier (เกิดปี 1956) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Danish เกิดที่ Kongens Lyngby, Denmark เป็นบุตรบุญธรรมของ Ulf Trier เมื่อตอนมารดาใกล้เสียชีวิต ค.ศ. 1989 สารภาพว่าบิดาแท้จริงคือ Fritz Michael Hartmann อดีตสมาชิกกลุ่มต่อต้านนาซี และเคยทำงานกระทรวงกิจการสังคม (Ministry of Social Affairs)
โตขึ้นร่ำเรียนทฤษฎีภาพยนตร์ยัง University of Copenhagen ต่อด้วยสาขาการกำกับ National Film School of Denmark ปีสุดท้ายตัดสินใจเพิ่ม ‘von’ เข้าไปกึ่งกลางชื่อ (แบบเดียวกับ Erich von Stroheim และ Josef von Sternberg) บนเครดิตผลงานจบการศึกษา Images of Liberation (1982) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin ในส่วนของ Panorama, ติดตามด้วย ‘Europa Trilogy’ ประกอบด้วย The Element of Crime (1984), Epidemic (1987) และ Europa (1991)
ตั้งแต่เสร็จสร้าง Breaking the Waves (1996) ผกก. von Trier ต้องการสานต่อ ‘Golden Heart trilogy’ โดยครุ่นคิดปรับเปลี่ยนจากเรื่องราวความรักชาย-หญิง มาเป็นมารดา-บุตร
I started with “Breaking the Waves” and then I thought, we can make it better. We can change the man that she loves for a child that she loves. (Laughs). I made a cynical little synopsis. But this about the blindness came much later, after I wrote the first script.
Lars von Trier
เกร็ด: ผกก. von Trier ยังเล่าว่าได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ In Cold Blood (1967) ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ฉายให้เห็นระหว่างการประหารชีวิต!
ช่วงระหว่างพัฒนาบท บังเกิดแนวคิดจะนำเสนอเรื่องราวในลักษณะอุปรากร (Opera) ที่นักแสดงทำการขับร้อง-เล่น-เต้น ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใน
I was thinking in more opera terms. Opera is more like melodrama. And the good thing about opera is that if you can accept that people sing instead of talk, then you don’t have to go in and out of it. And that means you can have your emotions with you.
สำหรับชื่อหนัง Dancing in the Dark เป็นการอ้างอิงถึงหนึ่งบทเพลงประกอบภาพยนตร์ The Band Wagon (1953) กำกับโดย Vincente Minnelli, นำแสดงโดย Fred Astaire และ Cyd Charisse … น่าเสียดายที่บทเพลงนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์
พื้นหลัง ค.ศ. 1964 ในรัฐ Washington D.C., เรื่องราวของ Selma Ježková (รับบทโดย Björk) ผู้อพยพชาว Czech ทำงานโรงงานขึ้นรูปพลาสติกแห่งหนึ่ง แม้ตนเองมีปัญหาสายตาฝ้าฟาง มองอะไรไม่ค่อยเห็น แต่ก็พยายามลักจดลักจำ ทำงานเก็บเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายผ่าตัดสายตาให้กับบุตรชาย อนาคตจะได้ไม่ประสบปัญหาเหมือนกับตนเอง
Selma เช่าบ้านรถเทรลเลอร์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ Bill Houston (รับบทโดย David Morse) อาศัยอยู่กินกับภรรยาที่ชอบจับจ่ายใช้สอย สุรุ่ยสุร่าย พอเงินทองหร่อยหรอ เข้ามาขอหยิบยืมเงินกับ Selma แต่พอได้รับคำปฏิเสธจึงทำการลักขโมย เกิดการยื้อแย่ง นำไปสู่เหตุการณ์ฆาตกรรม หลังถูกจับกุม ขึ้นศาลไต่สวน ศาลตัดสินโทษประหารชีวิต
Björk Guðmundsdóttir (เกิดปี ค.ศ. 1965) นักร้อง/นักแสดง สัญชาติ Icelandic เกิดที่ Reykjavík, Iceland หลังครอบครัวหย่าร้าง อาศัยอยู่กับมารดาในชุมชน Commune บิดาบุญธรรม Sævar Árnason คืออดีตนักกีตาร์วง Pops นั่นทำให้เธอเกิดความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เริ่มเรียนเปียโน ฟลุต พออายุ 11 ได้เซ็นสัญญาค่ายเพลง ออกอัลบัมแรก Björk (1977)
แม้ว่า Björk จะเคยแสดงนำใน Music Video ของตนเองอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีความสนใจอยากเป็นนักแสดงอาชีพสักเท่าไหร่ จนกระทั่งมีโอกาสพบเจอผกก. Lars von Trier ประทับใจ MV บทเพลง It’s Oh So Quite จึงพยายามโน้มนาวชักชวนอยู่เป็นปีๆ จนยินยอมร่วมแสดง+แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ Dancer in the Dark (2000)
รับบท Selma Ježková ผู้อพยพจาก Czechoslovakia หลบหนีสงครามมาลี้ภัยอยู่สหรัฐอเมริกา เป็นคนใสซื่อ ‘naïve’ ดื่อรั้น ชอบฝันกลางวัน หลงใหลการร้องรำทำเพลง แต่เพราะมีปัญหาสายตาฝ้าฟาง มองอะไรไม่ค่อยเห็น จึงต้องละทอดทิ้งความฝันที่อยากเป็นนักแสดงละคอนเวที ทุ่มเททำงานหนัก เก็บหอมรอมริด สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายผ่าตัดสายตาให้บุตรชาย แต่กลับถูกเจ้าของห้องเช่าพยายามลักขโมยเงินก้อนนั้น เกิดการยื้อแย่ง นำสู่เหตุการณ์ฆาตกรรม ตกอยู่ในความสิ้นหวัง
ตลอดการถ่ายทำ Björk ไม่ได้มีความสุขกับการทำงานนัก ตามคำกล่าวอ้างก็คือถูกคุกคาม ลวนลาม ถ้อยคำรุนแรง ดูถูกเหยียดหยามสารพัด ถึงขนาดทำให้เธอเคยหายตัวออกจากกองถ่ายไปสงบสติอารมณ์อยู่หลายวัน แต่โดยไม่รู้ตัวสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้การแสดงมีความสมจริง ผู้ชมสัมผัสถึงความอดกลั้น อัดอั้น ทุกข์ทรมาน เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าทั้งร่างกาย-จิตใจ อยากออกไปจากกองถ่ายนี้โดยเร็วไว
ความโดดเด่นของ Björk คือสองบุคลิกภาพที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม ซีเควนซ์ในความฝัน สามารถลุกขึ้นมาโยกเต้น ร้องรำทำเพลง สำแดงอิสรภาพในการครุ่นคิด-พูด-กระทำ แต่ชีวิตจริงกลับปิดกั้น ดื้อรั้น ทำตัวเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสา ซื่อบื้อ ทึ่มทื่อ ฉันคือนางเอกที่พร้อมเสียสละ แบกรับทุกสิ่งอย่าง
แต่ขณะเดียวกันผมมองว่านั้นคือจุดด้อยของ Björk เพราะเธอไม่สามารถเชื่อมโยงทั้งสองบุคลิกเข้าด้วยกัน การแสดงออก(ในแต่ละบุคลิก)ล้วนตรงไปตรงมา ด้วยสันชาตญาณ ผสมอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการทำงาน มันเลยขาดความลุ่มลึก ซับซ้อน ขัดย้อนแย้งในตนเอง … ผมอยากให้เปรียบเทียบกับ Emily Watson เรื่อง Breaking the Waves (1996) ระหว่างนักแสดงอาชีพ-สมัครเล่น การถ่ายทอดความรู้สึกขัดแย้งภายใน (inner voice) แตกต่างราวฟ้ากับเหว
The angle I took on it was that it wasn’t really acting. Then when we started preparing for the acting I told [Trier] from the top that I would have to feel it from instinct. And he said ‘That suits me fine because I can’t stand actresses and acting’.
Björk
แม้การแสดงของ Björk จะได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลาม คว้ารางวัล Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Cannes แต่ตัวเธอเองกลับไม่ค่อยอยากจดจำมันสักเท่าไหร่ เคยประกาศกร้าวว่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย (ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังเล่นหนังอีกหลายเรื่อง แค่ไม่ใช่บทหลักเท่านั้นเอง)
I can’t really relate to it. … I just watch it and go ‘blech.’ I can’t look at it from the outside. I just remember what happened. I know I gave everything I got and a lot more, so I feel very good, very proud about the film. If I close my eyes I know all my heart’s in there. … I’m not controlling like that at all about my acting or my image or visual stuff. I wish I was more ambitious — well I don’t really — because I just don’t care.
David Bowditch Morse (เกิดปี ค.ศ. 1953) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Beverly, Massachusetts หลังเรียนจบมัธยมได้รับการชักชวนจาก Esquire Jauchem เข้าร่วมคณะการแสดง Boston Repetory Company, ตามด้วยภาพยนตร์เรื่องแรก Inside Movies (1980), โด่งดังจากซีรีย์โทรทัศน์ St. Elsewhere (1982–88), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Crossing Guard (1995), The Green Mile (1999), Dancer in the Dark (2000) ฯ
รับบทเจ้าหน้าที่ตำรวจ Bill Houston เพื่อนบ้านของ Selma ให้เธอเช่าอาศัยอยู่ในรถตู้เทรลเลอร์, เป็นบุคคลได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คนละแวกนั้น แต่เพราะแต่งงานกับแฟนสาวที่ชื่นชอบจับจ่ายใช้สอย สุรุ่ยสุร่าย พอเงินทองหร่อยหรอ เข้ามาขอหยิบยืมเงินจาก Selma แต่ถูกปฏิเสธจึงทำการลักขโมย แสดงสันดานธาตุแท้ถึงความกลับกลอก ปอกลอก ปฏิเสธยินยอมรับความผิดพลาดในตนเอง
ไม่รู้ผมติดภาพจำของ Morse จากภาพยนตร์เรื่องไหน? เป็นบุคคลไม่มีความน่าเชื่อถือเลยสักนิด ท่าทางลับๆล่อๆ ต้องซุกซ่อนลับลมคมใน ซึ่งตัวละครก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ภายนอกสวมเครื่องแบบตำรวจ วางมาดดูดี แต่ภายในคิดคด ทรยศ คอรัปชั่น หมกมุ่นมักมาก สนเพียงปรนเปรอปรนิบัติภรรยา ‘trophy wife’ ไม่ยินยอมให้ตนเองสูญเสียหน้าตา เกียรติยศ ศักดิ์ศรี แม้กล่าวว่ารู้สึกอับอาย อยากตาย แต่กลับร่ำร้องขอให้ Selma ฆาตกรรมตนเอง ช่างมีความโคตรๆเห็นแก่ตัวยิ่งนัก
ทั้งๆที่เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ กลับกระทำสิ่งชั่วร้ายเสียเอง “Wolf in Sheep’s Clothing” ตัวละครนี้ไม่เพียงสะท้อนปัญหาการใช้อำนาจในทางมิชอบ พฤติกรรมคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จุดเริ่มต้นจากภรรยาไม่รู้จักหยุดยับยั้งช่างใจ จับจ่ายใช้สอยอย่างสุรุ่ยสุร่าย เรียกได้ว่าหมกมุ่นยึดติดการบริโภค/ระบบทุนนิยม … เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของวิถีอเมริกัน
Catherine Deneuve ชื่อจริง Catherine Fabienne Dorléac (เกิดปี ค.ศ. 1943) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris, เป็นบุตรของนักแสดงละครเวทีชื่อดัง Maurice Dorléac และ Renée Simonot เลยไม่แปลกที่เธอจะมีความสนใจด้านนี้ตั้งแต่เด็ก เริ่มจากตัวประกอบเล็กๆ Les Collégiennes (1957), ซึ่งการแสดงของเธอใน L’Homme à femmes (1960) ไปเข้าตาผู้กำกับ Jacques Demy เรียกตัวมาทดสอบหน้ากล้อง เลือกให้รับบทนำ The Umbrellas of Cherbourg (1964) แจ้งเกิดโด่งดังในทันที! ผลงานเด่นๆ อาทิ Repulsion (1965), Belle de Jour (1967), The Young Girls of Rochefort (1967), Tristana (1970), The Last Metro (1980), Indochine (1992), Place Vendôme (1998) ฯ
รับบท Kathy เพื่อนสนิทของ Selma ราวกับแม่พระที่คอยอยู่เคียงข้าง ให้ความช่วยเหลือทั้งการทำงาน แสดงละครเวที นั่น(อาจ)เพราะเธอสังเกตเห็นความผิดปกติทางสายตา จึงเกิดความสงสารเห็นใจ แม้ในบางครั้งจะถูกขับไล่ก็ยังหน้าด้านหน้าทน แต่ก็มิอาจเอาชนะความดื้อรั้นของ Selma
เกร็ด: จริงๆแล้วบทบาทนี้ผกก. von Trier พัฒนาขึ้นสำหรับนักแสดงผิวสี African-American แต่เพราะ Deneuve มีความประทับใจ Breaking the Waves (1996) อย่างมากๆ จึงเขียนจดหมาย พยายามโน้มน้าว ล็อบบี้ หาโอกาสร่วมงานมาหลายปี จนกระทั้งครั้งนี้ติดตามตื้อจนสำเร็จ
ภาพลักษณ์ที่ดูหรูหรา ไฮโซของ Deneuve ไม่เหมาะกับสาวโรงงานสักเท่าไหร่! แต่ผมรู้สึกว่าความตั้งใจของผกก. von Trier ต้องการแม่พระ/นางฟ้า สำหรับช่วยเหลือนางเอกผู้ตกทุกข์ได้ยาก ให้สามารถพานผ่านเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ซึ่งนั่นฟังดูไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย แถมหนังยังไม่มีคำอธิบายเบื้องหน้าเบื้องหลัง เพราะเหตุใดทำไม ยิ่งทำให้ตัวละครขาดความน่าเชื่อถือ อุดมคติเกินไป!
For Selma’s best friend in the factory is played by Catherine Deneuve, in full Marie Antoinette milkmaid mode, sporting a humble overcoat, a headscarf, and a French accent you could slice a baguette with. What is this haughty patrician exquisite doing here? God only knows. Von Trier appears to have roped them together as if for an art installation.
นักวิจารณ์ Peter Bradshaw จากนิตยสาร Guardian
ถ่ายภาพโดย Robby Müller (1940-2018) ตากล้องสัญชาติ Dutch เกิดที่ Willemstad, Curaçao โตขึ้นเข้าศึกษาการถ่ายภาพยัง Netherlands Film Academy (NFA) ถ่ายทำหนังสั้น ภาพยนตร์ ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Wim Wenders, Jim Jarmusch ผลงานเด่นๆ อาทิ Summer in the City (1970), Alice in the Cities (1974), Kings of the Road (1976), Paris, Texas (1984), To Live and Die in L.A. (1985), Down by Law (1986), Mystery Train (1989), Dead Man (1995), Breaking the Waves (1996), Dancer in the Dark (2000) ฯ
แม้หนังจะไม่จัดเข้าพวก Dogme 95 แต่ก็มีหลากหลายแนวคิดที่ผกก. von Trier ยังคงรับอิทธิพล ยึดถือปฏิบัติสืบต่อมา อาทิ ใช้กล้องดิจิตอลมือถือ (Hand Held) ด้วยแสงธรรมชาติ ถ่ายทำออกมาในสไตล์สารคดี (documentary-like) กล้องเคลื่อนเลื่อนดำเนินตามสิ่งที่อยู่ในความสนใจ และพยายามจะไม่บันทึกเสียงภายหลังถ่ายทำ
แต่ข้อยกเว้นทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นใน ‘Musical Sequence’ เห็นว่าใช้กล้องประมาณร้อยตัวตั้งทิ้งไว้ยังตำแหน่งต่างๆ (ทำเหมือนบันทึกภาพคอนเสิร์ด/การแสดงสด) มีการจัดแสง ละเล่นกับสีสัน ทุกสิ่งอย่างพลันผิดแผกแปลกตา ราวกับว่าหลุดเข้าไปอยู่ในโลกอีกใบ และด้วยความที่หนังไม่สามารถถ่ายทำเทคเดียวจบตามที่ตั้งใจ จึงต้องเลือกใช้การร้องสดครั้งดีที่สุด แล้วร้อยเรียงเข้ากับมุมกล้องจากการถ่ายทำครั้งอื่นๆผสมผสานคลุกเข้ามา
If I made a musical in the beginning of my career, it would have been crane shots and tracking shots and people coming out of cakes and whatever, but these techniques are something that I’ve left behind me. The basic idea here was that we wanted a feeling for the event. That any song and dance number should be only done once. So that we really made a television transmission of it instead of film, so you have a feeling that this is really happening, and if people made a mistake or whatever little thing happened, it would be a gift, because it was how this live performance really worked. I still think it’s a good idea, but it demands much more than 100 cameras. And that’s why — since we only had the 100 cameras — we had to go into different takes, which was against the original idea. The original idea was to make Björk sing live. But we couldn’t handle it technically, unfortunately.
Lars von Trier
แม้พื้นหลังของหนังจะคือรัฐ Washington D.C. แต่กลับมีแค่เรือนจำสถาน Washington State Penitentiary ส่วนใหญ่ปักหลักถ่ายทำอยู่ยัง Västra Götalands län, Sweden ส่วนฉากภายในมีที่สตูดิโอ Film i Väst (Sweden) และ Filmbyen (Denmark) … สาเหตุเพราะผกก. von Trier เป็นโรคกลัวเครื่องบิน ปฏิเสธเดินทางสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อถ่ายทำยังสถานที่จริง
Selma และ Kathy เดินทางไปรับชมภาพยนตร์ 42nd Street (1933) หนังเพลงยุคแรกๆที่มุ่งเน้นขายความละลานตาของบรรดานักเต้น ‘kaleidoscopic dance’ แลดูคล้ายๆมองผ่านกล้องสลับลาย
ตัดต่อโดย François Gédigier และ Molly Malene Stensgaard,
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Selma Ježková เริ่มต้นด้วยการร้อยเรียงวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน ความพยายามต่อสู้ดิ้นรนแม้มองไม่เห็น ทั้งเรื่องงาน การแสดงละคอนเวที ตั้งใจเก็บสะสมเงินทอง เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายผ่าตัดสายตาบุตรชาย เมื่อโชคชะตาเล่นตลก ทำงานผิดๆพลาดๆ เหม่อล่องลอย เอาแต่เพ้อฝันกลางวัน (ทุกครั้งที่ฝันกลางวันจะแทรกด้วย ‘Musical Sequence’) โดนเพื่อนบ้านทรยศหักหลังด้วยการลักขโมยเงินเก็บ ทำให้เกิดการยื้อแย่ง นำสู่เหตุการณ์ฆาตกรรม หลับถูกจับกุม คุมขัง ศาลตัดสินโทษประหารชีวิต
- Prologue
- Selma ซักซ้อมการแสดงละคอนเวที
- ท่องจำตัวอักษร ล่อหลอกจักษุแพทย์ว่าสายตาเป็นปกติ เพื่อกลับไปทำงานโรงงาน
- ที่บ้านของ Selman พาบุตรชายมาเที่ยวเล่นบ้านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ Bill Houston
- Selma กับเพื่อนสาวแสนดี Kathy
- ความชั่วร้ายคืบคลานเข้ามา
- เจ้าหน้าที่ตำรวจ Bill Houston ระบายความอัดอั้นต่อ Selma ต้องการขอหยิบยืมเงินอีกฝ่าย แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ
- ความผิดพลาดในการทำงานของ Selma เกือบทำให้ถูกไล่ออก แต่เธอยังคงดื้อรั้นในทุกๆเรื่อง
- เข้างานกะดึกแต่ทำงานช้าเกิน โชคยังดีได้ Kathy มาให้ความช่วยเหลือ
- เริงระบำบทเพลง Cvalda
- หลังเลิกงานเดินทางกลับบ้าน มาถึงพบเจอ Bill เข้ามาติดตามตื้อ ขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย
- สูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง
- Selma ล้มเลิกความตั้งใจเป็นนักแสดง, พอมาทำงานก็ถูกไล่ออก,
- ระหว่างทางกลับบ้าน ขับร้องเพลง I’ve Seen It All
- กลับมาบ้านเงินสูญหาย ตระหนักว่าคนลักขโมยคือ Bill จึงพยายามติดตามทวงหนี้
- แต่ทว่าเขากลับยื้อแย่ง หาข้ออ้างในการครอบครองเงินดังกล่าว
- การฆาตกรรมมาพร้อมบทเพลง Smith & Wesson
- Selma ล้มเลิกความตั้งใจเป็นนักแสดง, พอมาทำงานก็ถูกไล่ออก,
- การเสียสละของ Selma
- Jeff ให้ความช่วยเหลือ Selma (ฝ่ายชายยังไม่รับรู้เหตุการณ์ฆาตกรรม) นำเงินไปจ่ายค่ารักษา ผ่าตัดตาของบุตรชาย
- จากนั้นขับรถไปยังโรงละคอน รับชมซักซ้อมการแสดงครั้งสุดท้าย
- และมีการร้องเล่นเต้น In the Musicals, Part 1
- Selma ถูกตำรวจจับกุมตัว ขึ้นศาลไต่สวน ได้รับโทษประหารชีวิต
- ระหว่างพิจารณาคดี มีการร้องเล่นเต้น In the Musicals, Part 2
- Kathy พยายามให้ความช่วยเหลือ Selma แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ
- ระหว่างทางไปยังสถานที่ประหาร หญิงสาวกระโดดโลดเต้น ขับร้องบทเพลง 107 Steps
- การประหารชีวิต พร้อมบทเพลงสุดท้าย Next to Last Song
ในส่วนของเพลงประกอบ Björk ออกอัลบัม Selmasongs: Music from the Motion Picture Soundtrack ‘Dancer in the Dark’ เมื่อช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 พร้อมๆกับหนังเข้าฉายในแถบ Scandinavian เพื่อเป็นการโปรโมทภาพยนตร์ไปในตัว แต่ถึงอย่างนั้นบางบทเพลงมีการปรับเปลี่ยนศิลปิน/เนื้อคำร้อง เพื่อไม่ให้เป็นการสปอยเรื่องราวจนเกินไป
เอาจริงๆผมแอบเสียดาย Prologue ที่หนังเลือกใช้บทเพลงแต่งขึ้นใหม่ Overtune แทนที่จะนำเอาบทเพลง Dancer in the Dark จากภาพยนตร์ The Band Wagon (1953) มาเรียบเรียงเสียใหม่! แต่บทเพลงนี้ของ Björk ก็มีความไพเราะเพราะพริ้ง ค่อยๆไต่ไล่ระดับ สัมผัสความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละตนเอง ไปให้ถึงเป้าหมาย จุดสูงสุด ดินแดนแห่งความหวัง สรวงสวรรค์ ตายแล้วจักกลายเป็นนิจนิรันดร์
สำหรับการแสดงละคอนเวที มีการเลือกบทเพลงจากภาพยนตร์ The Sound of Music (1965) อาทิ My Favourite Things, So Long, Farewell, Climb Every Mountain ฯ ต้องถือว่าเข้ากับเรื่องราวเพ้อฝันกลางวัน เพราะท่วงทำนองเน้นความสนุกสนาน ครื้นเครง ชักชวนให้กระโดดโลดเต้น ทำสิ่งที่ตนเองโปรดปราน
Cvalda คือชื่อเล่นที่ตัวละคร Selma (Björk) มอบให้กับเพื่อนสาวคนสนิท Cathy (Catherine Deneuve) ดังขึ้นระหว่างที่เธอมาช่วยทำงานกะดึก ทั้งๆไม่ใช่ภาระหน้าที่ แต่สามารถทำให้มีเวลาเพ้อฝันกลางวัน ร้อง-เล่น-เต้นบทเพลงนี้ในโรงงาน
Clatter, crash, clack
Racket, bang, thump
Rattle, clang, crack, thud, whack, bam!
Clatter, crash, clack
Racket, bang, thump
Rattle, clang, crack, thud, whack, bamIt’s music
(Let’s dance)
Now dance
(Let’s dance)Listen Cvalda
You’re the dancer
You’ve got the sparkle in your eyes
Look at me entrancerClatter, crash, clack
Racket, bang, thump
Rattle, clang, crack, thud, whack, bamThe clatter-machines
They greet you and say
We tap out a rhythm and sweep you awayA clatter-machine
What a magical sound
A room full of noises
That spins you aroundDarling, Selma
Look who’s dancing
Faster than a shooting starCvalda’s here
Cvalda singsClatter, crash, clack
Racket, bang, thump
Rattle, clang, crack, thud, whack, bam
Clatter, crash, clack
Racket, bang, thump
Rattle, clang, crack, thud, whack, bamThe clatter-machines
They greet you, and say
We tap out a rhythm and sweep you awayA clatter-machine
What a magical sound!
A room full of noises
That spins us around
It spins us around
It spins us around
It spins us around
เกร็ด: จะว่าไปลีลาตัดต่อบทเพลง Cvalda อาจได้แรงบันดาลใจมาจาก Delicatessen (1991) ของผกก. Jean-Pierre Jeunet คุ้นๆว่ามีซีเควนซ์ที่ทำการร้อยเรียงสรรพสิ่งต่างๆ ให้สอดคล้องเข้ากับท่วงทำนองดนตรี
บทเพลงได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดของหนังก็คือ I’ve Seen It All เนื้อคำร้องโดย Björk, Sjón และผู้กำกับ Lars von Trier จะมีอยู่สองฉบับด้วยกัน
- อัลบัมเพลง เป็นการร้องคู่ระหว่าง Björk กับ Thom Yorke (นักร้องนำวง Radiohead)
- ฉบับภาพยนตร์ Björk ขับร้องกับนักแสดง Peter Stormare
ความน่าสนใจของบทเพลงนี้ เริ่มต้นด้วยเสียงหวูดรถไฟ จากนั้นพยายามสร้างเสียงเครื่องกระทบให้มีจังหวะกระฉึกกระฉัก (Techno Beat) ทำให้ทั้งบทเพลงมอบความรู้สึกเหมือนการเวียนวนรอบ (Rhythmic Loop) ของรถไฟ, ส่วนเนื้อหาบทเพลง เป็นความพยายามยินยอมรับสภาพ หลอกตนเองว่าได้พบเห็นทุกสิ่งอย่าง แต่แท้จริงแล้วสายตากำลังมืดบอด มองอะไรไม่เห็นอีกต่อไป
I’ve seen it all
I have seen the trees
I have seen the willow leaves
Dancing in the breezeI’ve seen a man killed
By his best friend,
And lives that were over
Before they were spent.I’ve seen what I was
And I know what I’ll be
I’ve seen it all
There is no more to seeYou haven’t seen elephants
Kings or PeruI’m happy to say
I had better to doWhat about China?
Have you seen the Great Wall?All walls are great
If the roof doesn’t fall
And the man you will marry
The home you will shareTo be honest
I really don’t careYou’ve never been
To Niagara FallsI have seen water
It’s water, that’s allThe Eiffel Tower
The Empire StateMy pulse was as high
On my very first dateAnd your grandson’s hand
As he plays with your hairTo be honest
I really don’t careI’ve seen it all
I’ve seen the dark
I’ve seen the brightness
In one little spark
I’ve seen what I chose
And I’ve seen what I need
And that is enough
To want more would be greed
I’ve seen what I was
And I know what I’ll be
I’ve seen it all
There is no more to seeYou’ve seen it all
And all you have seen
You can always review on
Your own little screen
The light and the dark
The big and the small
Just keep in mind
You need no more at allYou’ve seen what you were
And know what you’ll be
You’ve seen it all
There is no more to see
ปล. ผมนำคลิปที่ Björk ทำการแสดงบทเพลงนี้ที่งานประกาศรางวัล Oscar บรรเลงด้วยออร์เคสตรา 55 ชิ้น และเธอแต่งชุด Swan Dress มีความสง่างาม หนึ่งในการแสดงน่าจำอย่างยิ่ง
I’m really excited [to perform]. I won many awards [and] I’ve been to a lot of [award] shows. This is the most exciting one for me. I’m not just gonna go and grab a fancy frock. It’s about singing, so it’s a completely different headspace, which is sort of why I’m doing it. I’m really excited. Really, really excited
Björk
บทเพลง Scatterheart มีอยู่ด้วยกันสองฉบับ ปรับเปลี่ยนเนื้อคำร้องเพื่อไม่ให้สปอยเรื่องราว ซึ่งในฉบับภาพยนตร์ยังเป็นการสนทนา+ร้องรวมร่วมกับตัวละคร Selma, Bill (David Morse), Gene, Linda (Cara Seymour)
ในอัลบัม | ฉบับภาพยนตร์ |
---|---|
Black night is fallen The sun has gone to bed The innocent are dreaming As you should sleepyhead Sleepyhead Sleepyhead All the love above I send into you Comfort and protection (I’ll watch over you) But don’t ask me what’s gonna happen next I know the future I’d love to read you the way (Just to make it easier on you) You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself My dearest scatter heart Serious comfort Right in the eye of the hurricane Just to make it easier on you You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself Ah huh huh huh huh All the hurt in the world You know there’s nothing I’d love to do more Then spare you from that burden (It’s gonna be hard) If I only could Shelter you from that pain (Just to make it easier on you) You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself (Ah huh huh huh) You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself You are gonna have to find out for yourself Ah huh huh huh | Selma: Black night is falling The sun is gone to bed The innocent are dreaming As you should, sleepy head Sleepy head, sleepy head Selma (to Bill): Does it hurt? Bill: I hurt you much more So don’t you worry Selma: I don’t know what to do Everything just feels so wrong Bill: Everything is fine Just stay strong Selma: Silly Selma, you’re the one to blame Gene: You just did what you had to do You just did what you had to do You just did what you had to do You just did what you had to do Selma: The time it takes a tear to fall A snake to shed its skin Is all the time that’s needed To forgive, forgive me Bill: You are forgiven Come on, hurry Selma (to Linda): I killed your man Linda: You have to hurry up I called the police They’re just down the road Selma: They’ve come for me Why should I run? Linda: They’ll take your money Run for your boy Selma: Silly Selma, you’re the one to blame Gene:You just did what you had to do You just did what you had to do You just did what you had to do You just did what you had to do Selma: The time it takes a tear to fall A heart to miss a beat A snake to shed its skin A rose to grow a thorn Is all the time that’s needed To forgive me I am so sorry I just did what I had to do I just did what I had to do I just did what I had to do I just did what I had to do |
แถมท้ายกับบทเพลงที่ไม่มีอะไรไปกว่าการนับเลขถอยหลัง 107 Steps ระหว่างที่ Selma เดินจากห้องขังไปยังห้องประหารชีวิต แต่แม้การก้าวเดินครั้งนี้จะเป็นการมุ่งสู่ความตาย แต่คำร้อง ท่วงทำนอง รวมถึงลีลาท่าทาง กลับเอ่อล้นด้วยพลังแห่งความหวัง เพราะมันทำให้เธอปลดเปลื้อง หมดภาระ กำลังจะมุ่งสู่สรวงสวรรค์
Five, six, seven, eight, nine, ten,
Eleven, twelve, thirteen, fourteen
Fifteen, sixteen, seventeen, eighteen, nineteen,
Twenty, twenty one, twenty two, twenty three,
Twenty four, twenty five, twenty six, twenty seven,
Twenty eight, twenty nine, thirtyThirty one, thirty five, thirty eight, forty two,
forty eight, fifty one, fifty four, fifty eight
Sixty four, sixty eight, sixty nine, seventy five
Seventy nine, eighty three, eighty six, eighty nine, ninety three
One hundred steps
Dancing in the Dark (2000) นำเสนอเรื่องราวของหญิงสาวผู้มีจิตใจ ‘Golden Heart’ มุ่งมั่นที่จะเสียสละตนเอง แม้ต้องตกทุกข์ได้ยาก ถูกกล่าวหาเป็นฆาตกร ได้รับตัดสินโทษประหาร แต่ขอแค่เพียงบุตรชายมองเห็นอนาคตสว่างสดใส ตนเองจมปลักอยู่ในความมืดมิด ตกนรกมอดไหม้ก็ไม่เป็นไร
การกระทำของ Selma อาจเรียกได้ว่ามารดาในอุดมคติ แม่พระลงมาจุติ ใครจะว่ากล่าวยังไงก็ช่าง แต่เธอมีความมุ่งมั่น บริสุทธิ์ใจ ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อบุตรชาย มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ ตายไปก็ไม่สูญเสียดาย
หลายคนคงยกย่องสรรเสริญการกระทำดังกล่าว แต่ตรงกันข้ามย่อมมีคนตำหนิ ด่าทอ ‘naïve’ ช่างเป็นการกระทำอันโง่เขลา เบาปัญญา ไร้เดียงสา แทนที่จะรักษาตนเองให้หายดีเสียก่อน พอสายตาเป็นปกติถึงค่อยทำงานหาเงินให้ลูก และยังสามารถเติมเต็มความฝันนักร้อง/นักแสดงละคอนเวทีได้อีก
ผมมองความสนใจผกก. von Trier ใช้วิธีการของ Dogme 95 สร้างโลกให้ดูเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย รายล้อมรอบด้วยอันตราย และออกแบบตัวละครให้น่าสงสารเห็นใจ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความอึดอัด บีบคั้น เหม่อมองหาประกายความหวัง บังเกิดความเชื่อมั่น ต่อให้ต้องเผชิญหน้าสถานการณ์เลวร้ายสักเพียงไหน ตราบยังมองโลกในแง่ดี อนาคตย่อมต้องสว่างสดใส เริงระบำได้แม้ในความมืดมิด
เอาจริงๆนอกเสียจากนายตำรวจคอรัปชั่น ชุมชนแห่งนี้ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร คนดี-ชั่วพบเจอได้ทั่วไป แต่เพราะพฤติกรรมปิดกั้น/ไร้เดียงสาของหญิงสาว ทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียมากกว่า … ถึงอย่างนั้นการแสดงออกของเธอก็สะท้อนอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง อพยพหลบหนีจาก Czechoslovakia ในช่วงบรรยากาศสงครามเย็นยังคงคุกกรุ่น ไม่มีสถานที่แห่งไหนปลอดภัย ประชาชนใช้ชีวิตด้วยความหวาดระแวง วันโลกาวินาศกำลังคืบคลานเข้ามา
คงไม่ผิดอะไรจะกล่าวว่า Dancer in the Dark (2000) คือจุดสูงสุดในอาชีพการงานของผกก. von Trier นี่ไม่ได้แปลว่าหนังมีคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุด แต่เพราะสามารถคว้ารางวัล Palme d’Or แถมยังประสบความสำเร็จทำกำไรได้ไม่น้อย ประจวบกับชีวิตส่วนตัวก็กำลังลงตัว ภรรยาคลอดลูกคนที่สี่ เพิ่งย้ายเข้าบ้านหลังใหม่ ใช้ชีวิตกินหรูอยู่สบาย และหลังจากนี้จะได้รับโอกาสสร้างไตรภาค (ที่สำเร็จแค่สองเรื่อง) ดำเนินเดินทางสู่ USA – Land of Opportunities
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes แม้เสียงตอบรับจะแตกออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน แต่ยังสามารถคว้ามาสองรางวัล Palme d’Or และ Best Actress (Björk)
นอกจากนี้ในช่วงปลายปี หนังยังได้ลุ้นหลากหลายรางวัลทีเดียว ประกอบด้วย
- Academy Award: Best Original Song บทเพลง I’ve Seen It All
- Golden Globes Award: Best Actress in a Motion Picture – Drama (Björk)
- Golden Globes Award: Best Original Song บทเพลง I’ve Seen It All
- Independent Spirit Awards: Best Foreign Film ** คว้ารางวัล
- César Awards: Best Foreign Film
ด้วยทุนสร้าง 100-120 ล้านโครนเดนมาร์ก (Danish krone) หรือประมาณ $12.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มีรายงานรายรับทั่วโลก $45.6 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง!
น่าแปลกใจเล็กๆที่ Dancer in the Dark (2000) ไม่ได้รวบรวมอยู่ในคอลเลคชั่น Lars Von Trier: A Curzon Collection Blu-ray เลยไม่รู้ว่าหนังได้รับการบูรณะแล้วหรือยัง? แต่สามารถหารับชมออนไลน์ตามช่องทางทั่วไป คงนำไฟล์จากต้นฉบับดิจิตอลเลยไม่มีปัญหาเรื่องการเสื่อมคุณภาพ
อาจเพราะผมสามารถพานผ่าน Breaking the Waves และ The Idiots มาอย่างไม่มีปัญหาใดๆ เลยไม่ได้เกิดอคติอะไรกับ Dancer in the Dark ถึงอย่างนั้นตัวหนังเต็มไปด้วยตำหนิที่น่าหงุดหงิด เนื้อเรื่องราวทำการ ‘manipulate’ อารมณ์ผู้ชมเกินไป, ตัวละครของ Catherine Deneuve ไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่, หรือแม้แต่ Björk ที่หลายคนชื่นชอบหลงใหล เรื่องร้องเพลงคงไม่เถียง แต่เธอมีเพียงสันชาติญาณ ถ่ายทอดความซับซ้อนตัวละครได้อย่างเบาบาง
สำหรับไตรภาค ‘Golden Heart trilogy’ ความชื่นชอบส่วนตัว ก็ไล่เรียงตามลำดับเลย Breaking the Waves (1996) > The Idiots (1998) >>> Dancer in the Dark (2000)
จัดเรต 18+ กับความรุนแรง บรรยากาศสิ้นหวัง ดื้อรั้นในตนเอง
Leave a Reply