
Some Like It Hot (1959) : Billy Wilder ♥♥♥♥♡
(14/6/2019) ในบรรดาภาพยนตร์ที่มีลักษณะ ตัวละครตกอยู่สถานการณ์อันเลวร้าย แต่สุดท้ายสามารถหลบลี้หนีเอาตัวรอดได้สำเร็จทุกครั้งครา Some Like It Hot ถือว่านำพาผู้ชมไปถึงจุดสุดสูง ในระดับที่ Nobody Perfect!
Some Like It Hot (1959) : Billy Wilder ♥♥♥♥♡
(14/6/2019) ในบรรดาภาพยนตร์ที่มีลักษณะ ตัวละครตกอยู่สถานการณ์อันเลวร้าย แต่สุดท้ายสามารถหลบลี้หนีเอาตัวรอดได้สำเร็จทุกครั้งครา Some Like It Hot ถือว่านำพาผู้ชมไปถึงจุดสุดสูง ในระดับที่ Nobody Perfect!
กลิ่นน้ำหอม Narcisse Noir มันช่างตลบอบอวลในความ Erotic และ Exotic ทุกช็อตฉากสร้างขึ้นในสตูดิโอ แต่อาจมีความงดงามกว่าสถานที่จริง! ทำการสำรวจจิตใต้สำนึกของมนุษย์ งดงามและอัปลักษณ์อย่างที่สุด
เกือบสิบปีที่ Powell & Pressburger สรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตย มาวันนี้สงครามได้สิ้นสุดลง ถึงเวลาสรรค์สร้างผลงานสะท้อนอุดมการณ์ส่วนบุคคล เป้าหมายสูงสุดของศิลปินนั้นคือ ‘ตายเพื่อศิลปะ’
The River (1951) : Jean Renoir ♥♥♥♥
คงคา คือสายน้ำแห่งชีวิต และเป็นจิตวิญญาณของชาวอินเดีย ได้รับการค้นพบโดย Jean Renoir ทำการวาดภาพระบายสีด้วย Technicolor งดงามวิจิตรราวกับภาพวาด Impressionism
Fitzcarraldo (1982) : Werner Herzog ♥♥♥♥♥
Fitzcarraldo เหมือนเป็นคนไม่เอาอ่าว ชอบพูดจาเพ้อฝันไร้สาระ จึงทำให้มักโดนใครๆหัวเราะเยาะ ดูถูกเหยียดหยาม ตั้งมั่นสัตย์สัญญากับตนเอง สักวันหนึ่งฉันจะพิสูจน์ให้ทุกคนเห็น เข็นเรือขึ้นภูเขาข้ามฟากฝั่งแม่น้ำ นำพานักร้องโอเปร่ามาเปิดการแสดงท่ามกลางป่าดงดิบแห่งนี้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Virgin Spring (1960) : Sweden – Ingmar Bergman
หนังรางวัล Best Foreign Language Film จากประเทศ Sweden โดยผู้กำกับ Ingmar Bergman นำแสดงโดย Max von Sydow และเป็นการร่วมงานครั้งแรกกับตากล้อง Sven Nykvist เรื่องราวเกิดขึ้นในยุคกลาง (Middle Ages) ช่วงศตวรรษที่ 13 หนังตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา ศีลธรรม การแก้แค้น ความยุติธรรม และการสำนึกบาป อีกหนึ่ง masterpiece กับการค้นหาคำตอบของการมีชีวิตตามสไตล์ของ Ingmar Bergman ที่คุณจะทึ่งไปกับวิธีการและเทคนิคการเล่าเรื่องที่เหนือชั้น
ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง วิถีแห่งสมรภูมิรบได้ปรับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง! กลายมาเป็นการต่อสู้ของคณะปฏิวัติ โต้ตอบกลับการใช้อำนาจรัฐ เพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Intolerance คือคำรำพรรณาอันทุกข์ทรมานของผู้กำกับ D. W. Griffith จากการถูกสังคมเข้าใจผิดต่อภาพยนตร์ The Birth of a Nation (1915) ราวกับกำลังได้รับโทษประหาร ตรีงกางเขน พ่ายแพ้สงคราม เข่นฆ่าล้างโคตรเผ่าพันธุ์ ทำเอาชีวิตแทบตกตายทั้งเป็น
The Apartment (1960) : Billy Wilder ♥♥♥♥♥
อพาร์ทเม้นท์หลังนี้ ถูกใช้เป็นสถานที่รองรับความเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่ม สะท้อนได้ถึงมุมมืดแห่งยุคสมัยทุนนิยมเสรี ถ้าต้องการมีชีวิตสุขสบาย ไต่เต้าถึงเป้าหมาย ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จักต้องแลกมาด้วยการสูญเสียจิตวิญญาณความเป็นคน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Edvard Grieg: In the Hall of the Mountain King & Morning Mood
คีตกวีและนักเปียโนชาวนอร์เวย์ (Norwegian) Edvard Grieg เขาเป็นผู้นำเพลงคลาสสิคในยุคโรแมนติก (Romantic Era) เพลงที่ดังที่สุดของเขา แต่งขึ้นใช้ประกอบละครเวทีเรื่อง Peer Gynt ของ Henrik Ibsen มีทั้งหมด 4 ท่อน แต่ 2 ท่อนที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดคือ Morning Mood และ In the Hall of the Mountain King
The Life of Oharu (1952) : Japan – Kenji Mizoguchi
Oharu จะว่าเธอเป็นผู้หญิงโชคร้ายที่สุดในโลกก็ว่าได้ ทั้งชีวิตเธอต้องการแค่ได้แต่งงาน ใช้ชีวิตกับคนที่เธอรัก แต่โชคชะตากลับเล่นตลกกับเธอได้สุดๆเลย จากผู้กำกับ Kenji Mizoguchi นำแสดงโดย Kinuyo Tanaka หนังเรื่องนี้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เพื่อเตือนสติสำหรับคนที่คิดว่าชีวิตตัวเองไร้ค่า ไม่มีอะไรดี การดูหนังเรื่องนี้มันจะทำให้คุณรู้สึกชีวิตฉันไม่มีทางโชคร้ายไปกว่า Oharu เป็นแน่
Huáng tǔdì (อ่านว่า หวงถู่ตี้) ดินสีเหลืองที่ปลูกหญ้าไม่อยากจะขึ้น แต่เป็นทรัพยากรหลักในมณฑลส่านซี ทางตอนเหนือของจีนแผ่นดินใหญ่ มีความทุรกันดารห่างไกล ผู้คนยังยึดถือมั่นในขนบประเพณี เด็กสาวต้องแต่งงานเมื่ออายุสิบสี่ กระทั่งการมาถึงของกองทัพเส้นทางที่แปด (Eighth Route Army) แห่งพรรคคอมมิวนิสต์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างไหม?
Jodhaa Akbar (2008) : India – Ashutosh Gowariker
หนึ่งในกษัตริย์ที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “มหาราช” จักรพรรดิ์อักบัรมหาราช (Akbar the Great) แห่งจักรวรรดิโมกุล เป็นกษัตริย์มุสลิมที่ปกครองอินเดียและแต่งงานกับเจ้าหญิงฮินดู ราชปุตนาม โชธา, นี่เป็นหนังประวัติศาสตร์สุดอลังการของผู้กำกับ Ashutosh Gowariker (Lagann-2001) นำแสดงโดย Hrithik Roshan เป็นจักรพรรดิ์อักบัร และ Aishwarya Rai เป็นราชินีโชธา
Peppermint Candy (1999) : Korea – Lee Chang-dong
ถ้าคุณอยากเข้าใจว่า ทำไมหนังจากประเทศเกาหลีมักจะเป็นแนวชู้ รักสามเศร้า ล้างแค้น เรื่องราวมีความรุนแรง ผมแนะนำให้ดู Peppermint Candy นะครับ หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้โด่งดังในระดับโลก แต่คุณภาพนี้ในเอเชียนี่ถือไม่ธรรมดา กำกับโดย Lee Chang-dong นำแสดงโดย Sol Kyung-gu ใครชอบหนังที่มีการตัดต่อ เล่าเรื่องแบบย้อนกลับ (reverse แบบ Memento) ห้ามพลาดเลย
Ugetsu (1953) : Kenji Mizoguchi ♥♥♥♥♡
(15/11/2017) ชายสองพี่น้อง หนึ่งถูกความโลภของเงินตราเข้าครอบงำ อีกหนึ่งหลงใหลในชื่อเสียงความสำเร็จ พวกเขากำลังได้รับการทดสอบด้วยบทเรียนอันทรงคุณค่า ก่อนค้นพบเจอความต้องการสูงสุดของชีวิต, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Steins;Gate (2011) : Hiroshi Hamasaki, Takuya Satō ♥♥♥♥♥
น่าจะเป็นอนิเมะไซไฟ Time Travel ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล! นำพาผู้ชมให้ครุ่นคิดจินตนาการถึงความเป็นไปได้ จุดกำเนิดของ Time Machine และผลกระทบ Butterfly Effect ที่ชวนปวดหัว ปวดตับ บ้าคลั่งระดับ Mad Scientist
Akira (1988) : Katsuhiro Otomo ♥♥♥♥♡
(19/6/2019) พลังและอำนาจ ไม่ควรตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ไม่รู้เห็นคุณค่า เพราะบุคคลนั้นมักนำไปใช้ในทางไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี สนองเพียงความต้องการพึงพอใจส่วนตน จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่งย่อมมิอาจควบคุมอะไรได้ แล้วใครไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบผลกระทบติดตามมา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์ ศิลปะแขนงใดๆ ไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจอะไร ล้วนหาใช่สิ่งชั่วร้าย อันตราย ต้องถูกทำลายหรือห้ามฉาย เมื่อไหร่ที่เราสามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ดังกล่าว ก็จักพบเห็นความงดงามซ่อนเร้น นั่นถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด!
Chelovek s kino-apparatom (1929) : Dziga Vertov ♥♥♥♥
ร้อยเรียงวิถีชีวิตชาวรัสเซียในเมืองใหญ่ ‘City Symphony’ สอดคล้องกันไว้ด้วยการออกเดินถือกล้องถ่ายทำ ครบเครื่องทุกเทคนิคน่าจะเป็นไปได้ เรียกว่าผู้กำกับ Dziga Vertov แบกประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไว้บนบ่า
Le notti di Cabiria (1957) : Federico Fellini ♥♥♥♥♥
แม้ทั้งชีวิตของ Cabiria (รับบทโดย Giulietta Masina ศรีภรรยาผู้กำกับ Federico Fellini) จะเต็มไปด้วยความผิดหวัง แต่ตราบใดยังมีลมหายใจ และโลกยังคงหมุน ทุกสิ่งอย่างย่อมก้าวเดินต่อไป, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”