โดยปกติแล้วภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) มักพยายามโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ไม่ก็ยกยอปอปั้นตนเอง แต่สำหรับ Listen to Britain (1942) กลับทำออกมาในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ งดงามวิจิตรศิลป์
ป้ายกำกับ: Poetic Film
Kotonoha no Niwa (2013)
ก่อนจะมาเป็นคำว่า 恋, koi หมายถีง ความรัก ในอดีตชาวญี่ปุ่นเคยใช้คันจิ 孤悲 ซี่งแปลว่า lonely sadness, นั่นคือนิยามความรักที่ผู้กำกับ Makoto Shinkai ต้องการค้นหาในสวนแห่งนี้เฉพาะยามฝนพรำ
มนุษย์มีสิทธิ์จะเพ้อฝัน อิสรภาพในสิ่งที่อยากทำ แต่ถ้าไม่รับรู้จักหักห้ามควบคุมตนเอง มันแตกต่างอะไรกับเดรัจฉาน? Dead Poets Society นำเสนออุดมการณ์ชวนเชื่อซ้ายจัด (เสรีนิยม) แม้สามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ สร้างแรงบันดาลใจให้ใครต่อใคร แต่ใช่ว่าทุกคนจะต้องการลุกขึ้นยืน
Cœur Fidèle (1923)
เรื่องราวรักสามเส้าเชยๆ หญิงสาวถูกบีบบังคับให้ต้องแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รัก เฝ้ารอคอยความช่วยเหลือจากชายในฝัน ‘damsel in distress’ แต่ด้วยวิธีการนำเสนอ French Impressionist จักสร้างความประทับใจให้ผู้ชม ตื่นตระการตาด้วยเทคนิค ภาษาภาพยนตร์ งดงามราวกับบทกวี
Ménilmontant (1926)
โคตรหนังเงียบขนาดสั้นแห่งยุคสมัย French Impressionist งดงามดั่งบทกวีรำพรรณาชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของสองสาวพี่น้อง หลังเดินทางออกจากบ้านมุ่งสู่เมือง Ménilmontant ถูกลวงล่อหลอกโดยชายหนุ่มคนเดียวกัน หนี่งตั้งครรภ์ สองกลายเป็นโสเภณี แต่ใช่ว่าโลกใบนี้จะหมดสิ้นหวังเสียทีเดียว
L’Hirondelle et la Mésange (1920)
นี่คือนิราศหนังเงียบที่ถูกเก็บฝังใน Time Capsule ไม่ได้นำออกฉายทันทีเมื่อสร้างเสร็จ จนกระทั่งมีการค้นพบฟีล์มต้นฉบับสภาพสมบูรณ์ นำมาตัดต่อใหม่โดย Henri Colpi ออกฉาย 60 กว่าปีให้หลัง สร้างความอี้งทึ่งตื่นตาตะลึง เพราะคุณภาพยอดเยี่ยมระดับ Masterpiece
La Roue (1923)
บทกวีรำพรรณาความทุกข์ทรมานของผู้กำกับ Abel Gance ต่อศรีภรรยาป่วยวัณโรคระยะสุดท้าย ถ่ายทำไป ดูแลไป หมอแนะนำให้ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ยังเทือกเขา Alps ก็ปรับเปลี่ยนบทแล้วออกเดินทางไป อุทิศให้เธอทุกสิ่งอย่างแต่ก็มิอาจฉุดเหนี่ยวรั้ง หมดสิ้นลมหายใจเมื่อตัดต่อหนังเสร็จพอดิบดี
J’accuse (1919)
ผลงานสร้างชื่อระดับนานาชาติของปรมาจารย์ผู้กำกับ Abel Gance กล่าวโทษถึงความจำเป็นของสงคราม ตั้งคำถามชีวิตที่ดับสิ้นสูญมันคุ้มค่าแล้วหรือ? “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Terje Vigen (1917)
ครั้งแรกๆที่มีการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ vs. ธรรมชาติ บุรุษผู้อัดแน่นด้วยความเจ็บแค้นเกรี้ยวกราด เหม่อมองออกไปยังท้องทะเลกำลังคลุ้มคลั่งลมพายุ กลายเป็นผลงานสร้างชื่อระดับนานาชาติให้ Victor Sjöström และเปิดประตูสู่ยุคทองแห่งวงการภาพยนต์สวีเดน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
จากบทกวีรำพันถีงอดีตคนรักของ Robert Desnos กลายมาเป็นภาพยนตร์สุดแนว Dadaism/Surrealism โดยศิลปิน Man Ray มีลักษณะเปรียบดั่งความทรงจำอันเลืองลาง อาบชะโลมด้วยคราบน้ำตา
Man of Aran (1934)
ภาพยนตร์กึ่งสารคดี (Docudrama) ที่ต่อมาได้รับการแยกย่อยเป็น Ethnofiction นำเสนอวิถีชีวิตชาวไอริชบนเกาะ Aran Island, ชายฝั่งตะวันตกประเทศ Ireland เรื่องราวจริงบ้าง-ไม่จริงบ้าง แต่มีความงดงามราวกับบทกวี
Stranger Than Paradise (1984) : Jim Jarmusch ♥♥♥♥
สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่แปลกประหลาด หรือสรวงสวรรค์กันแน่? ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Jim Jarmusch กลายเป็นหลักเขตเรื่องสำคัญของวงการหนังอิสระ (Indy Film) ด้วยเทคนิคสุดแสนเรียบง่ายแต่งดงามดั่งบทกวี คว้ารางวัล Caméra d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
La Pointe Courte (1955)
La Pointe Courte (1955) : Agnès Varda ♥♥♥♥
Agnès Varda จากช่างถ่ายภาพนิ่ง เกิดแรงผลักดันบางอย่างหลังกลับจากเมืองท่า La Pointe Courte ต้องการสร้างภาพที่สามารถขยับเคลื่อนไหว แม้ไร้ซึ่งประสบการณ์ความรู้ใดๆ ทดลองจับผิดจับถูก จนสามารถรังสรรค์ผลงานแรกแจ้งเกิด กลายเป็นจุดเริ่มต้นแท้จริงของยุคสมัย Franch New Wave
Through the Olive Trees (1994)
Through the Olive Trees (1994) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
มนุษย์โหยหาสิ่งที่คือสัจนิรันดร์ เฉกเช่นเดียวกับชายหนุ่มเดินติดตามหญิงสาวผ่านต้นมะกอก (Olive Trees) รอรับฟังคำตอบขอแต่งงาน แต่ไม่ว่าเธอจะบอกกล่าวเขาเช่นไร ชีวิตยังคงต้องก้าวเดินต่อไป
Where Is the Friend’s Home? (1987)
Where Is the Friend’s Home? (1987) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
เด็กชายตระหนักได้ว่าหยิบสมุดการบ้านเพื่อนติดตัวกลับมาด้วย ต้องการนำส่งคืนก่อนถูกครูลงโทษพรุ่งนี้เช้า แต่… บ้านนายอยู่ไหน? ภาพยนตร์สร้างชื่อระดับนานาชาติให้ผู้กำกับ Abbas Kiarostami งดงามดั่งบทกวี, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Baraka (1992)
Baraka (1992) : Ron Fricke ♥♥♥♥
สารคดีไร้ซึ่งคำพูดบรรยาย ร้องเรียงภาพสถานที่ เหตุการณ์ วิถีชีวิต ผู้คนจาก 23 ประเทศ Cross-Cutting, Slow-Motion, Time-Lapse กลายเป็นผลงานโคตรปรัชญา โคตร Poetic โคตรตราตรึงอย่างถึงที่สุด
For All Mankind (1989) : Al Reinert ♥♥♥♥
(mini Review) สารคดีที่ทำการร้อยเรียงเหตุการณ์สำคัญๆของโครงการ Apollo ไล่ตั้งแต่สุนทรพจน์ ปธน. John F. Kennedy ถึงเหตุผลในการออกเดินทางสำรวจดวงจันทร์ ยานอวกาศทะยานขึ้นสู่ฟากฟ้า ชีวิตบนแรงโน้มถ่วงศูนย์ ก้าวย่างแรกของ Neil Armstrong รวมถึงฟุตเทจบางส่วนของ Apollo 13, เข้าชิง Oscar: Best Documentary Features “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
! อัศเจรีย์ (พ.ศ. ๒๕๑๙) : สุรพงษ์ พินิจค้า ♥♥♥♥
Essay Film ใจความร้องเรียกหาสิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียมกันสำหรับเด็กๆขาดแคลนยากไร้ ผลงานหนังสั้นที่กลายเป็นตำนานของ สุรพงษ์ พินิจค้า งดงามราวกับกวีนิพนธ์ด้วยการตัดต่อแบบ Montage ล้ำหน้าเหนือใคร ยากเกินกว่าหลายคนจะเข้าใจ
The Gospel According to St. Matthew (1964)
The Gospel According to St. Matthew (1964) : Pier Paolo Pasolini ♠♠♠♠♠
ผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini เป็นคนไม่เชื่อในศรัทธาพระเจ้า แต่เมื่อมีโอกาสสนทนากับสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ชีวประวัติพระเยซูคริสต์ในมุมคนนอกศาสนา มองคัมภีร์ไบเบิลคือนิยายเล่มหนึ่ง ผลลัพท์ออกมางดงามสมบูรณ์แบบระดับ Masterpiece, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Nobody Knows (2004)
Nobody Knows (2004) : Hirokazu Kore-eda ♥♥♥♥
ตามติดชีวิตเด็กๆ 4 คน ที่ถูกแม่ทอดทิ้งไว้ในอพาร์ทเมนต์เล็กๆ เติบโตขึ้นในช่วงเวลา 1 ปี ผ่านร้อนหนาวฝนหิมะเปียกปอน โดยไม่มีใครล่วงรับรู้มาก่อน และพวกเขาก็ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไปดี, “ค้องดูให้ได้ก่อนตาย”