Daughters of the Dust

Daughters of the Dust (1991) hollywood : Julie Dash ♥♥♥

บทกวีรำพันการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาว Gullah (อดีตทาสจาก Africa อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะเลียบชายฝั่ง Sea Islands ยังคงรักษาขนบประเพณี วิถีชีวิต ภาษาพูดของบรรพบุรุษเอาไว้) ไม่ใช่แค่ญาติพี่น้องหวนกลับมาร่วมเฉลิมฉลอง แต่ยังเสียงบรรยายบรรพบุรุษ (อดีต) และบุตรสาวที่ยังไม่ถือกำเนิด (อนาคต)

Julie Dash’s Daughters of the Dust (1991) is a tone poem of old memories, a family album in which all of the pictures are taken on the same day. It tells the story of a family of African-Americans who have lived for many years on a Southern offshore island, and of how they come together one day in 1902 to celebrate their ancestors before some of them leave for the North. The film is narrated by a child not yet born, and ancestors already dead also seem to be as present as the living.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 3/4

Daughters of the Dust (1991) คือภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างโดยผู้กำกับหญิง เชื้อสาย African-American แล้วได้เข้าฉายวงกว้างในสหรัฐอเมริกา นั่นอาจถือว่าเป็นหมุดหมายของวงการภาพยนตร์กระมัง? เลยได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ ติดชาร์ทนิตยสาร Sight & Sound: Greatest Film of All Time (2022) #อันดับ 60 … แต่คะแนนโหวตล้วนมาจากนักวิจารณ์ผู้หญิง ไม่ก็คนผิวสี (จาก US และ UK เป็นส่วนใหญ๋)

ขอเตือนไว้ก่อนว่าหนังดูยากโคตรๆ เพราะมีการเล่าเรื่องอย่างสะเปะสะปะ กระโดดไปกระโดดมา (non-Linear Narrative) ไม่มีเนื้อหาสาระให้ติดตาม เพียงพยายามผสมผสานทุกสิ่งอย่าง อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต คลุกเคล้าเข้ากันด้วยสัมผัสกวีภาพยนตร์ ภาพถ่ายสวยโคตรๆ ชวนนึกถึงภาพวาดศิลปะ Georges Seurat: A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte (1884-86)

ปล. พบเห็นโปสเตอร์ที่แม่เฒ่า Nana Peazant นั่งบนเก้าอี้ไม้ ชวนให้ผมนึกถึง The Eternal Motherhood จากโคตรหนังเงียบ Intolerance (1916) ที่ก็พยายามผสมผสานทุกสิ่งอย่าง(จากหลายช่วงเวลา)เข้าด้วยกัน

A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte, Georges-Pierre Seurat

Julie Ethel Dash (เกิดปี ค.ศ. 1952) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queens, New York อาศัยอยู่ในย่าน Queensbridge Housing Project โตขึ้นเข้าศึกษาภาพยนตร์ยัง City College of New York (CCNY) จากนั้นเดินทางสู่ Hollywood ร่ำเรียนการเขียนบท/อำนวยการสร้าง AFI Conservatory แล้วต่อด้วย UCLA School of Theater, Film and Television กลายเป็นสมาชิกกลุ่ม L.A. Rebellion (ผู้สร้างภาพยนตร์ผิวสีที่เข้าเรียน UCLA ช่วงปลายทศวรรษ 60s-80s)

ช่วงระหว่างร่ำเรียน UCLA สรรค์สร้างสารคดีเรื่องแรก Working Models of Success (1973) ต่อด้วยหนังสั้นแนวทดลอง Four Women (1975) ได้แรงบันดาลใจจากบทเพลง Four Women (1966) ของ Nina Simone, ส่งเข้าฉายเทศกาลหนัง Miami International Film Festival สามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง (Gold Medal for Women in Film)

โปรเจคหนังสั้นถัดมา Diary of an African Nun (1977) ดัดแปลงจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ Alice Walker, เรื่องราวของแม่ชียังสาวเดินทางมาเผยแพร่ศาสนายังประเทศ Uganda ทำออกมาในลักษณะกวีภาพยนตร์ เข้าฉาย Los Angeles International Film Exposition (Filmex) สามารถคว้ารางวัล Directors Guild Award: Student Film

อีกโปรเจคที่ต้องพูดถึงคือ Illusions (1982) หนังสั้น 34 นาที นำเสนอเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงผิวสีที่ทำงานใน Hollywood ช่วงทศวรรษ 1940s เธอมีความสามารถด้านการร้องเพลง แต่ยุคสมัยนั้นเป็นได้เพียงนักร้องหลังฉากให้หญิงผิวขาว … น่าเสียดายที่ผมหาได้เพียงคลิปสั้นๆไม่กี่นาทีเท่านั้น

สำหรับ Daughters of the Dust (1991) มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ระหว่างยังเรียนอยู่ UCLA ได้แรงบันดาลใจจากต้นตระกูลของตนเอง บิดาเป็นชาว Gullah อพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐานยัง New York City ในช่วง Great Migration หรือ Black Migration (1910-70) จากรัฐทางตอนใต้ขึ้นสู่เหนือ (บ้างยังเรียก Great North Migration)

My relatives. In our visits down to Charleston every summer, I’d listen to relatives, speaking Gullah dialects, not really understanding what that was. Nobody explained it to me. I found out on my own. When I got to UCLA and I was able to do research, it was like, “Oh, this is fascinating stuff that was discovered in the 1930s, and we’re just hearing about it?”

Julie Dash

ในตอนแรกวางแผนจะทำเป็นหนังสั้น (โปรเจคนักศึกษา) ไม่มีบทพูด เพียงร้อยเรียงภาพถ่ายการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาว Gullah จากหมู่เกาะบ้านเกิด Sea Island เดินทางสู่แผ่นดินใหญ่ แต่บทหนังได้ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อย สะสมประสบการณ์นานกว่าสิบปี จนกระทั่งหางบประมาณ $800,000 เหรียญ ได้จากสถานีโทรทัศน์ Public Broadcasting Service (PBS) เมื่อปี ค.ศ. 1988 จึงสามารถเริ่มต้นเตรียมงานสร้าง

I just wanted to do a film that was so deeply embedded in the culture, was so authentic to the culture that it felt like a foreign film. I wanted to do my historical drama that reimagined and redefined what we read about history in a way that wasn’t always trying to explain away what was happening. When you have to keep explaining and explaining, it just kind of misses the mark for a lot of people who already understand the culture.


ครอบครัว Peazant คือสมาชิกชาติพันธุ์ Gullah อาศัยอยู่ยัง Ibo Landing บนเกาะ Dataw Island ชายฝั่งรัฐ Georgia บรรพบุรุษเคยเป็นทาสแรงงาน ถูกส่งมาจาก West Africa (และ Central Africa) แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูก/เกษตรกรรม ตั้งอยู่บนเกาะห่างไกลผู้คน พวกเขาเลยยังคงรักษาขนบประเพณี วิถีชีวิต ภาษาสื่อสารจนถึงปัจจุบัน

เล่าเรื่องผ่านเสียงบรรยายของวิญญาณบรรพบุรุษ และบุตรสาวที่ยังไม่เกิด (ของ Eli กับ Eula) เล่าถึงเหตุการณ์วันหนึ่งในปี ค.ศ. 1902 บรรดาญาติพี่น้องตระกูล Peazant ต่างหวนกลับมารวมตัวกันที่ Ibo Landing เพื่อร่วมงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง หลังจากสมาชิกส่วนใหญ่ตัดสินใจอพยพขึ้นสู่แผ่นดินใหญ่ (Mainland) เพื่อเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ โอบรับวิถีชีวิตศิวิไลซ์

  • แม่เฒ่า Nana Peazant (รับบทโดย Cora Lee Day) หัวหน้าครอบครัว Peazant อาศัยอยู่ Ibo Landing ตั้งแต่เกิด โอบรับวิถีชีวิตชาว Gullah เชื่อมั่นในจิตวิญญาณบรรพบุรุษ เลยปฏิเสธเสียงขันแข็งว่าจะไม่อพยพย้ายไปไหน
  • Eli (รับบทโดย Adisa Anderson) หลานชายของ Nana แต่งงานกับ Eula (รับบทโดย Alva Rogers) เธอเคยถูกคนขาวข่มขืนจนตั้งครรภ์ ทำให้ทั้งสองเกิดความขัดแย้งภายใน จะอพยพสู่แผ่นดินใหญ่ หรือโอบรับวิถีดั้งเดิมตามคำแนะนำของแม่เฒ่า
    • Kay-Lynn Warren ให้เสียงบรรยาย Unborn Child ทารกในครรภ์ของ Eula บางครั้งมาในรูปวิญญาณวิ่งเล่นไปมา ก่อนหายตัวเข้าไปในครรภ์มารดา
  • Haagar (รับบทโดย Kaycee Moore) หลานสาวของ Nana เธอคือตัวตั้งตัวตีในการอพยพย้ายถิ่นฐานขึ้นสู่แผ่นดินใหญ่ โหยหาความศิวิไลซ์ ตำหนิต่อว่าวิถีของแม่เฒ่ามีความล้าหลัง เฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
  • Viola (รับบทโดย Cheryl Lynn Bruce) หลานสาวของ Nana เดินทางมาจาก Philadelphia พร้อมกับช่างภาพ Mr. Snead (รับบทโดย Tommy Hicks) เพื่อบันทึกภาพการอพยพย้ายถิ่นฐานของครอบครัว และเธอยังนำเอาศาสนาคริสต์ รวมถึงแนวคิดใหม่ๆ มาเผยแพร่ให้กับลูกๆหลานๆ อารัมบทอนาคตเมื่อพวกเขาเดินทางสู่แผ่นดินใหญ่ … ตอนจบ Viola และ Mr. Snead ไม่ได้ขึ้นเรือไปพร้อมกับญาติๆ แต่พวกเขาอาจจะไปทีหลังก็ได้นะ
    • ในขณะที่ Haagar ชอบพูดตำหนิต่อว่าแม่เฒ่า, Viola กลับให้การปกป้อง ลูกหลานไม่ควรไปตำหนิต่อว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัว
  • Iona (รับบทโดย Bahni Turpin) บุตรสาวของ Haagar แอบตกหลุมรักกับ St. Julian Lastchild (รับบโดย M. Cochise Anderson) ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง/อินเดียนแดง (Native American) อาศัยอยู่บน Ibo Landing ท้ายที่สุดขณะกำลังจะออกเดินทาง เธอตัดสินใจหนีไปกับชายคนรัก
  • Yellow Mary (รับบทโดย Barbara-O) หลานอีกคนของ Nana เดินทางมาพร้อมกับหญิงคนรัก Trula (รับบทโดย Trula Hoosier) เพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัวก่อนออกเดินทางสู่ Nova Scotia, Canada ในอดีตเธอเคยฝากวีรกรรมไว้มากมาย สนิทสนมกับ Eula เพราะถูกคนขาวข่มขืนเหมือนกัน เข้าใจความรู้สึกเดียวกัน ท้ายที่สุดเลยตัดสินใจปักหลักอยู่ Ibo Landing ปล่อยให้ Tula เดินทางกลับตัวคนเดียว

ในส่วนของนักแสดง พวกเธอ(และเขา)อาจไม่เป็นที่คุ้นหน้าคาดตาสักเท่าไหร่ มีการผสมผสานทั้งนักแสดงสมัครเล่น และมืออาชีพ จากฟากฝั่งละคอนเวที ภาพยนตร์ทุนต่ำ ยกตัวอย่าง Cora Lee Day เคยออกอัลบัมเพลง, Alva Rogers ก่อนหน้านี้มีผลงาน School Daze (1988), Kaycee Moore โด่งดังกับ Killer of Sheep (1978), Barbara-O ร่วมงานหนังสั้น Diary of an African Nun (1977) ฯ

แต่เราอย่าไปคาดหวังเรื่องการแสดงมากนัก แนวทางของผกก. Dash พยายามประดิษฐ์ประดอยท่วงท่า อากัปกิริยา ภาษากาย มันเลยดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นการแสดงอารมณ์ ผสมเข้ากับลูกเล่นภาพยนตร์ ทำออกมาได้อย่างทรงพลัง … ถ้าการแสดงออกมาดูเป็นธรรมชาติกว่านี้ มันจะไม่รู้สึกถึงการยัดเยียดอารมณ์สักเท่าไหร่

ด้วยความที่ไม่มีนักแสดงคนไหนสามารถสื่อสารภาษา Gullah เลยต้องขอความช่วยเหลือจาก Ronald Daise ผู้แต่งหนังสือ Reminiscences of Sea Island Heritage (1987) มาเป็น Dialect Coach แต่ได้ยินจริงๆแค่ไม่กี่ฉาก บางครั้งมีคำแปลใต้ภาพ บางครั้งก็ไม่มี แต่มันก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอะไร เพราะผู้ชมสามารถทำความเข้าใจจากบริบทรอบข้างได้อยู่แล้ว

The fact that some of the dialogue is deliberately difficult is not frustrating, but comforting; we relax like children at a family picnic, not understanding everything, but feeling at home with the expression of it.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

ถ่ายภาพโดย Arthur Jafa Fielder (เกิดปี ค.ศ. 1960) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Tupelo, Mississippi แล้วมาเติบโตยัง Clarksdale ในครอบครัวนับถือคาทอลิก, ตั้งแต่เด็กชื่นชอบสะสมรูปภาพ โตขึ้นเข้าเรียนสถาปัตยกรรมและภาพยนตร์ Howard University จบออกมาเรียกเรียกตนเองว่า Video Artist สรรค์สร้าง Video Essay, Music Video, แรกพบเจอ Julie Dash ระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ My Brother’s Wedding (1983) เขาเป็นผู้ช่วยตากล้อง เธอเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ตกหลุมรัก แต่งงาน มีบุตรสาวหนึ่งคน แล้วเลิกราหย่าร้างภายหลังภาพยนตร์ Daughters of the Dust (1991)

งานภาพของหนังต้องชมเลยว่ามีความงดงาม วิจิตรศิลป์ แม้ทุนสร้างน้อยนิดกระจิดริด แต่ทำออกมาได้อย่างอลังการงานสร้าง! โดดเด่นกับการใช้แสงธรรมชาติ และมีการย้อมน้ำตาลให้ดูเหมือนภาพถ่ายเก่าๆ (สีของดินลูกรัง) นักแสดงผิวดำสวมใส่ชุดสีขาว จึงดูโดดเด่น เปร่งประกาย หลายๆครั้งกลายเป็นเหลืองทองอร่าม

หนังปักหลักถ่ายทำอยู่ยัง St. Helena Island และ Hunting Island หมู่เกาะริมชายฝั่ง South Carolina เป็นบริเวณห่างไกลจากผู้คน เพื่อทีมงานจักสามารถก่อสร้างบ้านเรือน สุสาน สิ่งข้าวของตามยุคสมัย ใช้ระยะเวลาถ่ายทำ 28 วัน

เกร็ด: ระหว่างการถ่ายทำยัง Hunting Island ทีมงานได้รับแจ้งเตือนพายุ Hurricane Hugo (10-25 กันยายน ค.ศ. 1989) จนต้องอพยพย้ายสู่ Charleston, South Carolina แต่ทว่าพายุดันตามพวกเขาไปขึ้นฝั่งที่ Charleston กลายเป็นความโชคดีที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆสูญหาย พังทลาย


ตัดต่อโดย Amy Carey & Joseph Burton, เห็นว่าใช้เวลาเกือบปีกว่าจะตัดต่อแล้วเสร็จ ไม่ใช่เพราะหนังมีฟุตเทจมากมาย แต่คือการลองผิดลองถูก ค้นหาวิธีนำเสนอที่แตกต่างจากขนบวิถีทางทั่วๆไป

หนังดำเนินเรื่องผ่านเสียงบรรยายของบรรพบุรุษ (อดีต) และเด็กหญิงที่ยังไม่เกิด (อนาคต) ร้อยเรียงการพบปะ พูดคุย ญาติๆพี่น้อง ลูกหลานเหลนโหลน ทำกิจกรรมร่วมกันในวันแห่งการเฉลิมฉลอง ก่อนอพยพย้ายสู่ผืนแผ่นดินใหญ่

In film school, they tell you, you cannot write a film narrated by two people. And I did. Even knowing the film teachers would go crazy on me. But hey, maybe there’s a way of making a film [narrated by] three people. You never know until you try and see how it works out.

Julie Dash

การจะทำความเข้าใจหนังโดยง่ายที่สุดก็คือแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ (Episodic) เพราะแต่ละตอนไม่ได้มีความต่อเนื่องอะไรกัน เพียงญาติพี่น้องพบปะสังสรรค์ พูดคุย ทำกิจกรรมโน่นนี่นั่น เฝ้ารอคอยช่วงเวลารวมญาติ งานเลี้ยงเฉลิมฉลอง และท้ายที่สุดคือขึ้นเรือออกเดินทาง แยกย้ายไปตามทางของตนเอง

  • เสียงบรรพบุรุษกล่าวถึงจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด
  • เรือของ Yellow Mary & Trula ผ่านมารับ Viola & Mr. Snead
  • สมาชิกครอบครัว Peazant เริ่มขนข้าวของ สำหรับจัดเตรียมงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง
  • แม่เฒ่า Nana ยังสุสานตระกูล พูดคุยกับหลานชาย Eli ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน
  • การมาถึงของ Viola & Mr. Snead และ Yellow Mary & Trula ได้รับการตอบรับอย่างตรงกันข้าม
  • ระหว่างจัดเตรียมอาหาร Viola สอนศาสนาให้กับเด็กๆ
  • Yellow Mary พูดคุยกับแม่เฒ่า Nana แล้วสนทนากับ Eula เข้าใจความรู้สึกหัวอกเดียวกัน
  • ร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต กิจกรรมของเด็ก-ผู้ใหญ่ และความเชื่อศรัทธาของชาว Gullah
  • วิญญาณเด็กน้อยวิ่งเข้าครรภ์ของ Eula, พร้อมกับ Trula ปล่อยรูปแกะสลักลอยแม่น้ำ
  • งานเลี้ยงเฉลิมฉลอง รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย
  • หลังภาพถ่ายหมู่ แม่เฒ่าพยายามพูดคุยโน้มน้าว ฝ่ายตรงข้ามก็ยืนกรานจะออกเดินทาง
  • วันแห่งการร่ำลา ออกเดินทาง แยกย้ายไปตามทางของตนเอง

วิธีเล่าเรื่องของผกก. Dash มีความท้าทายในการรับชมอย่างมากๆ เป้าหมายของเธอคือพยายามผสมผสานทุกสิ่งอย่าง อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ญาติพี่น้องจากทุกแห่งหน รวมถึงบรรพบุรุษ-บุตรยังไม่ถือกำเนิด มารวมตัวในวันเฉลิมฉลอง เริ่มต้นการออกเดินทาง-สิ้นสุดวิถีชนชาว Gullah

I didn’t want to tell a historical drama about African-American women in the same way that I had seen other dramas. I decided to work with a different type of narrative structure…[and] that the typical male-oriented western-narrative structure was not appropriate for this particular film. So I let the story unravel and reveal itself in a way in which an African Gullah would tell the story, because that’s part of our tradition. The story unfolds throughout this day-and-a-half in various vignettes. It unfolds and comes back. It’s a different way of telling a story. It’s totally different, new

Julie Dash

เพลงประกอบโดย John Barnes (1932-2022) นักแซกโซโฟน/คาริเน็ต สัญชาติอังกฤษ ชื่นชอบเล่นดนตรี Jazz, Dixieland Jazz, ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Daughters of the Dust (1991), สารคดี Colors Straight Up (1997) ฯ

งานเพลงของหนังมีการผสมผสานเครื่องดนตรีกระทบ (Percussion) จากทั้งพื้นบ้านแอฟริกัน (Batá Drum, Talking drum), ตะวันออกกลาง (Santour) และยังเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synclavier) เพื่อสร้างสัมผัสอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ล่องลอยอยู่เหนือกาลเวลา สอดคล้องเข้ากับลีลานำเสนอที่พยายามคลุกเคล้าทุกสิ่งอย่างเข้าด้วยกัน

I did Daughters of the Dust the way it was done. To show that we had authentic lives that were just as compelling as the lives that we usually see on-screen.

Julie Dash

ชาวแอฟริกัน (ไม่ใช่แค่ชนชาว Gullah หรือชาติพันธุ์หนึ่งใด) มักมีความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ตายแล้วกลายเป็นวิญญาณล่องลอย บรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานเหลนโหลน บุคคลมีชีวิตต้องให้ความเคารพนับถือ ไม่ทอดทิ้งครอบครัว วงศ์ตระกูล ผืนแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน

ยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคม ชาวแอฟริกันมากมายถูกจับเป็นทาสแรงงาน พลัดพรากจากถิ่นฐานบ้านเกิด เดินทางมาอยู่อาศัยต่างที่ต่างถิ่น พยายามรักษาขนบประเพณี วิถีชีวิต ภาษาสื่อสาร รวมถึงความเชื่อเรื่องวิญญาณ สืบสาน ส่งต่อถึงลูกหลาน

พอกาลเวลาเคลื่อนผ่านสู่อีกศตวรรษที่ 20th ความเจริญทางวัตถุ เทคโนโลยี โลกยุคสมัยใหม่มีความศิวิไลซ์ ใครได้ลิ้มลองล้วนติดอกติดใจในความสะดวกสบาย ดีกว่าวิถีแบบเก่าที่ต้องเหน็ดเหนื่อย ทนทุกข์ยากลำบาก คนรุ่นใหม่จึงเริ่มทอดทิ้งรากเหง้า ถิ่นฐานบ้านเกิด และความเชื่อที่จับต้องไม่ได้

ผกก. Dash เลือกนำเสนอช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านของทุกสรรพสิ่งอย่าง คนรุ่นเก่าเชื่อในวิถีบรรพบุรุษ vs. คนรุ่นใหม่อพยพย้ายถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดเมืองนอน ทั้งสองฟากฝั่งต่างมีเหตุมีผล มีแรงจูงใจ มีความต้องการแตกต่างกันออกไป หนังไม่ได้จะชี้นำว่าฟากฝั่งไหนถูกหรือผิด มันขึ้นอยู่กับมุมมอง และอิสรภาพในการตัดสินใจของเราเอง

Daughters of the Dust (1991) คือการหวนกลับหารากเหง้าของผกก. Dash ที่ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก (จากญาติพี่น้องที่สื่อสารภาษา Gullah) โตขึ้นถึงเริ่มค้นคว้าหาข้อมูล แล้วพบเจอประวัติศาสตร์ ต้นตระกูล ชาติพันธุ์ บังเกิดความกระตือรือร้นอยากนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ สำหรับเป็นต้นแบบอย่างให้คนรุ่นหลัง

ใครคือบุตรสาวของฝุ่น? Daughters of the Dust? หลายคนคงครุ่นคิดถึงเสียงบรรยายของบุตรสาวที่ยังไม่เกิด เป็นวิญญาณ/ฝุ่นควันล่องลอยไปมา, แต่ทุกตัวละครในหนังล้วนคือบุตรของใครสักคน รวมถึงแม่เฒ่าก็เคยมีสถานะเป็นบุตรสาวของบรรพบุรุษรุ่นก่อนหน้า และเมื่อ(ทุกคน)ตายไปก็กลายเป็นวิญญาณ/ฝุ่นควัน … สรุปก็คือพวกเธอทุกคนในหนังล้วนคือ Daughters of the Dust เหมารวมชนชาติพันธุ์ Gullah เชื้อสาย African American และผกก. Dash ก็ไม่แตกต่างกัน

If you love yourselves, then love Yellow Mary, because she’s a part of you, just like we’re a part of our mothers. A lot of us are going through things you feel you can’t handle all alone. There’s going to be all kinds of roads to take in life. Let’s not be afraid to take them. We deserve them because we’re all good women. Do you understand who we are and what we have become? We’re the daughters of those old dusty things Nana carries in her tin can. We carry too many scars from the past. Our past owns us. We wear our scars like armor for protection. Thick, hard, ugly scars that no one can pass through to ever hurt us again. Let’s live our lives without living in the fold of old wounds.

Eula Peazant

มันช่างเป็นความ ‘Ironic’ ที่ผกก. Dash จนถึงปัจจุบันยังคงไม่ได้รับโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาว (Feature Length) เรื่องถัดไป! นั่นเพราะ Daughters of the Dust (1991) ได้ทำการผสมผสานอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ผลงานที่กลายเป็นหมุดหมายแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

I’ve never really felt bad about not being able to do another feature film because so many good things have come from having made (Daughters of the Dust), as it is. But there certainly have been some frustrations in wondering why the doors didn’t open to me to do another feature like all the other people on the stage with us at Sundance.

Julie Dash

เกร็ด: ผกก. Dash ได้เขียนหนังสองเล่มเกี่ยวกับ Daughters of the Dust

  • Daughters of the Dust: The Making of an African American Woman’s Film (1992) ร่วมเขียนกับ Toni Cade Bambara และเห็นว่านำบทหนังใส่เข้าไปด้วย
  • Daughters of the Dust: A Novel (1997) เรื่องราว 20 ปีให้หลังการอพยพครั้งนั้น นำเสนอผ่านตัวละคร Amelia นักศึกษามานุษยวิทยา เติบโตขึ้นใน Harlem เดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติของมารดาที่ Sea Islands ได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และบรรพบุรุษของตนเอง
    • ถือเป็นนวนิยาย(กึ่ง)อัตชีวประวัติของ Julie Dash เลยก็ว่าได้

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาล Sundance Film Festival สามารถคว้ารางวัล Excellence in Cinematography Award แล้วถูกซื้อโดย Kino International สำหรับฉายโรงภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา

เสียงตอบรับของหนังตอนออกฉายค่อนข้างก้ำกึ่ง นักวิจารณ์ชื่นชอบ แต่ผู้ชมส่ายหัว รวมถึงผู้บริหารสตูดิโอใน Hollywood ต่างปฏิเสธโปรเจคที่ผกก. Dash พยายามนำเสนอของบประมาณ (เรื่องการเป็นผู้หญิงผิวสีก็ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาใหญ่คือกลัวสร้างหนังติสต์แตกเกินไป) นั่นทำให้เธอยังไม่มีโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องที่สอง เวียนวนอยู่ในวงการโทรทัศน์ มือปืนรับจ้างกำกับซีรีย์

Hollywood and mainstream television are still not quite open to what I have to offer.

Julie Dash กล่าวไว้เมื่อปี ค.ศ. 2007

ในโอกาสครบรอบ 25th Anniversary เมื่อปี ค.ศ. 2016 หนังได้รับการบูรณะ 2K ออกฉายเทศกาล Toronto Film Festival สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของค่าย Cohen Media Group หรือ BFI Video

ผมพอจะเข้าใจแนวคิด ความหาญกล้าของผกก. Dash ทำในสิ่งแตกต่าง เพื่อสร้างหมุดหมายให้ผู้หญิง-ผิวสี และวงการภาพยนตร์ แต่ว่ากันตามตรง Daughters of the Dust (1991) เต็มไปด้วยการยัดเยียดแนวคิด ประดิษฐ์ประดอย ปรุงปั้นแต่ง มีความเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ African-American มันเลยเข้าไม่ถึงวงกว้าง เป็นได้แค่เพียงฝุ่นละอองปลิดปลิวในสายตาผู้ชมทั่วไป

จัดเรต pg กับความเห็นต่าง/ขัดแย้งทางความคิด

คำโปรย | Daughters of the Dust บทกวีรำพันการเดินทางของชาว Gullah ณ จุดเริ่มต้น-สิ้นสุด อดีต-อนาคต ทุกสิ่งอย่างคือฝุ่นละอองปลิดปลิว
คุณภาพ | ฝุ่นละออง
ส่วนตัว | ปลิดปลิว

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
1 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
1 Comment authors
Oaz Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
Oaz
Guest
Oaz

หลายเรื่องที่ติดเหมือนแค่คนโหวตอยากเอาชนะแค่นั้น

%d bloggers like this: