
The Student of Prague (1913) ถูกจัดว่าเป็นภาพยนตร์แนว Horror, Art Film, German Expressionism เรื่องแรกๆของโลก! แม้กาลเวลาอาจไม่สร้างความหลอกหลอนให้ผู้ชมปัจจุบัน แต่ก็ยังพอพบเห็นความงดงาม คลาสสิก ใช้เทคนิค ภาษา นำเสนอออกมาชวนฉงนไม่น้อย
german film, germany, east german, west german
The Student of Prague (1913) ถูกจัดว่าเป็นภาพยนตร์แนว Horror, Art Film, German Expressionism เรื่องแรกๆของโลก! แม้กาลเวลาอาจไม่สร้างความหลอกหลอนให้ผู้ชมปัจจุบัน แต่ก็ยังพอพบเห็นความงดงาม คลาสสิก ใช้เทคนิค ภาษา นำเสนอออกมาชวนฉงนไม่น้อย
Berlin: Die Sinfonie der Großstadt (1927) : Walter Ruttmann ♥♥♥♥
มีคำเรียกภาพยนตร์สารคดีลักษณะนี้ว่า ‘City Symphony’ ร้อยเรียงช่วงเวลา 1 วัน 1 คืน ณ กรุงเบอร์ลิน, สาธารณรัฐไวมาร์ บันทึกไว้เป็น ‘Time Capsule’ คล้ายๆกับ Man With a Movie Camera (1929) แค่ว่าเทคนิคไม่ตื่นตระการตาเท่า
Die weiße Hölle vom Piz Palü (1929) : Arnold Fanck, G. W. Pabst ♥♥♥♡
สาธารณรัฐไวมาร์ช่วงทศวรรษ 20s – 30s มีภาพยนตร์แนวหนึ่งที่ได้รับความสนใจพอๆกับ German Expressionism ในลักษณะตรงกันข้าม ชื่อเรียกว่า Mountain Film เพราะถ่ายทำยังสถานที่จริง นักแสดงเสี่ยงตาย ปีนป่ายขึ้นเทือกเขาสูง ซึ่งเรื่องโด่งดังประสบความสำเร็จสูงสุดคือ The White Hell of Pitz Palu ขนาดว่าผู้กำกับ Quentin Tarantino สอดแทรกเข้ามาใน Inglorious Basterds (2009)
Shiraz (1928) : Franz Osten ♥♥♥
ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งรัก ได้รับการยกย่องว่ามีความสวยงามที่สุดในโลก สร้างโดยสมเด็จพระจักรพรรดิ Shah Jahan อุทิศให้พระมเหสีเอก Mumtaz Mahal แต่หนังเงียบนี้คือเรื่องราวของ Shiraz หนุ่มปั้นหม้อผู้ตกหลุมรักเจ้าหญิง และออกแบบสิ่งมหัศจรรย์ของโลกแม้สายตามืดมิดบอด
Das weiße Band (2009) : Michael Haneke ♥♥♥♥
เรื่องราววุ่นๆสุดแสนอัปรีย์ ณ หมู่บ้านเล็กๆทางตอนเหนือของ German Empire ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1913-14 ในมุมมองปรมาจารย์ผู้กำกับ Michael Haneke คือรากฐานแห่งความชั่วร้าย สภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เด็กรุ่นนี้เติบโตขึ้นกลายเป็นนาซี, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Prem Sanyas (1925) : Franz Osten & Himansu Rai ♥♥♡
หนังเงียบชีวประวัติพระพุทธเจ้า เรื่องเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือถึงปัจจุบัน ร่วมทุนสร้างอินเดีย & Weimar Germany แต่อย่าไปคาดหวังอะไรมากมาย แค่ได้เห็นพุทธคยาเมื่อทศวรรษ 20s ก็คุ้มค่าแล้ว
ความรักที่ใครๆต่างบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มีอะไรในโลกนี้ที่เป็นไปไม่ได้! Ali: Fear Eats the Soul คือภาพยนตร์ระดับ Masterpiece นำเสนอความหวาดสะพรึงกลัวที่ค่อยๆกัดกร่อนทำลายจิตวิญญาณ ถ้าเรามัวสนแต่รับฟังเรื่องร้ายๆจากขี้ปาก สายตา และการกระทำของผู่อื่น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Im Lauf der Zeit (1976) : Wim Wenders ♥♥♥♥
Kings of the Road แม้เป็นการเดินทางที่ไร้เป้าหมาย แต่พวกเขาทั้งสองต่างใช้โอกาสนี้ พยายามหลบหลีกหนีจากปัญหาให้ไกล แต่สุดท้ายก็ไปไหนไม่พ้น หวนกลับมาตายรังยังจุดเริ่มต้นแห่งชีวิต
Alice in den Städten (1974) : Wim Wenders ♥♥♥♥
ผลงานลำดับที่สี่ของ Wim Wenders แต่คือครั้งแรกในสไตล์ ลายเซ็นต์ จิตวิญญาณล่อยลอย หลงทางในเมืองใหญ่ เป้าหมายชีวิตคืออะไร? เปิดไตรภาค ‘Road Movie Trilogy’
Frau im Mond (1929) : Fritz Lang ♥♥♥
หนังเงียบเรื่องสุดท้ายที่ถูกหลงลืมของ Fritz Lang แต่ถือเป็นครั้งแรกแบบจริงจังกับภาพยนตร์แนว Sci-Fi สร้างยานอวกาศ นับถอยหลัง จุดระเบิด ไร้แรงโน้มถ่วง ลงจอดบนดวงจันทร์ สุดล้ำไปกับจินตนาการ กลายเป็นแรงบันดาลใจจริงๆให้กับขีปนาวุธ V-2 rocket ของนาซีเยอรมัน
The Blue Angel (1930) : Josef von Sternberg ♥♥♥♡
หนังพูดเรื่องแรกของประเทศเยอรมัน แจ้งเกิด Marlene Dietrich ด้วยการเป็นนักเต้นยั่วโชว์เรียวสุดเซ็กซี่ ทำให้อาจารย์ผู้หัวโบราณคร่ำครึ Emil Jannings หลงใหลในเสน่ห์จนลาออกมาขอแต่งงาน แต่ภายหลังก็ได้พบความน่าอับอายขายหน้าแทรกแผ่นดินหนี เกิดเป็น Tragicomedy ที่ผู้ชมสมัยนี้อาจไม่ค่อยขำสักเท่าไหร่
Diary of a Lost Girl (1929) : G. W. Pabst ♥♥♥♥
บันทึกชีวิตของ Louise Brooks เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้ายทารุณ ถูกข่มขืนจนท้อง พ่อมีเมียใหม่เป็นคนใช้ ส่งตัวเข้าสถานพินิจ (ดัดสันดาน) ทำงานในซ่องโสเภณี เพื่อนสนิทฆ่าตัวตาย ฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Devious Path (1928) : G. W. Pabst ♥♥♥♡
มีเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้นที่ Brigitte Helm สามารถเลือกเดินในชีวิตแต่งงาน ระหว่างความมั่นคงหรืออิสระเสรี สุขสบายกายหรือสำราญทางใจ แต่ก็แปลกทำไมถึงไม่ยอมมองหาจุดสมดุลกึ่งกลาง หรือใครบางคนกันแน่ที่มืดบอดมองไม่เห็น
Journey into the Night (1921) : F. W. Murnau ♥♥♥♡
ผลงานชิ้นเก่าแก่สุดที่หลงเหลือรอดมาถึงปัจจุบันของ Friedrich Wilhelm Murnau ถึงชื่อหนังจะหมายถึงการเดินทางในยามรัตติกาล แต่เรื่องราวของ Conrad Veidt รับบทชายตาบอด ได้รับการรักษาจนกลับมามองเห็นแสงสว่าง แล้วหวนกลับไปมืดบอดอีกครั้งเพราะตัณหาราคะของตนเอง
Europa Europa (1990) : Agnieszka Holland ♥♥♥♡
ความน่ารักน่าชังของ Julie Delpy ขโมยซีนในหนังรางวัล Golden Globe: Best Foreign Language Film ไปเต็มๆ โดดเด่นกว่าเรื่องราวสุดมหัศจรรย์น่าทึ่งของ Solomon Perel เด็กชายหนุ่มเชื้อสายยิว ที่เอาตัวรอดผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการแปรพักตร์เปลี่ยนข้างไปเรื่อยๆ และยังเข้าร่วม Hitler Youth โดยไม่มีใครจับผิดได้
Downfall (2004) : Oliver Hirschbiegel ♥♥♥
สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากต่อหนังเรื่องนี้ ‘มันสมควรแล้วหรือ ที่จะนำเสนอความเป็นมนุษย์ให้กับ Adolf Hitler?’ กับสิบวันสุดท้ายก่อนฆ่าตัวตาย ช่วงเวลาที่แทบทุกคนใกล้ตัวเริ่มหันหลังให้ จากเคยยิ่งใหญ่คับฟ้าถึงคราตกต่ำ ‘Downfall’ ดำเนินเรื่องแทบทั้งหมดใน Führerbunker ศูนย์บัญชาการและสถานที่หลบภัยใต้ดิน ณ กรุง Berlin
The Pianist (2002) : Roman Polanski ♥♥♥♡
เด็กชาย Roman Polanski ตอนอายุ 6 ขวบ ถูกพ่อผลักออกจากรั้วลวดหนามค่ายกักกันนาซี ประเทศ Poland เร่ร่อน หิวกระหาย ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตนเองใน Krakow และ Warsaw ได้รับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากผู้คนแปลกหน้าหลายตา จนสามารถผ่านช่วงเวลาแห่งสงครามไปได้ เติบใหญ่ขึ้นกลายเป็นผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ คว้ารางวัล Palme d’Or กับผลงานชีวประวัติของ Władysław Szpilman (รับบทโดย Adrien Brody) นักเปียโนเชื้อสายยิว ที่เรื่องราวแทบไม่ต่างอะไรกับตัวเขาเอง
Marianne and Juliane (1981) : Margarethe von Trotta ♥♥♥♡
ภาพยนตร์รางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice โดยผู้กำกับหญิงสัญชาติเยอรมัน Margarethe von Trotta ที่ต้องการนำเสนอว่า ‘การเมือง เรื่องส่วนตัวและหญิงสาวเป็นของคู่กัน’
Faust (1926) : F. W. Murnau ♥♥♥♥
เฟาสต์ (Faust) คือตำนานเรื่องเล่าโศกนาฏกรรมของเยอรมัน ชายผู้ขายวิญญาณให้กับปีศาจเมฟิสโต (Mephisto) เพื่อแลกกับทุกสิ่งอย่างบนโลก แต่มันคุ้มค่าแล้วหรือ?, ผลงาน Masterpiece เรื่องสุดท้ายที่สร้างในบ้านเกิดของ F. W. Murnau ก่อนอพยพย้ายมาอยู่อเมริกา “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Destiny (1921) : Fritz Lang ♡
ถึงความรักจะยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง แต่จักไม่สามารถเปลี่ยนแปลง’โชคชะตา’ฟ้าดินได้, นี่คือผลงาน Masterpiece เรื่องแรกของปรมาจารย์ผู้กำกับ Fritz Lang ที่พยายามใช้ความรักเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของสาธารณรัฐไวมาร์ (ชื่อเรียกประเทศเยอรมนีขณะนั้น) ไม่ต้องการให้เหตุการณ์แบบสงครามโลกครั้งที่ 1 หวนกลับคืนย้อนมาเกิดขึ้นซ้ำอีก แต่สุดท้ายมันอยู่กับฟ้าดินจะบันดาล เพราะถ้าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดยังไงก็ต้องเกิด