Heart of Glass (1976) German : Werner Herzog ♥♥♥♥

ผู้กำกับ Werner Herzog ทำการสะกดจิต (Hypnosis) นักแสดงแทบทั้งหมดให้ตกอยู่ในสภาวะว่างเปล่า ไร้จิตวิญญาณ เพื่อนำเสนอเรื่องราวการสูญเสียสิ่งทรงคุณค่าที่สุดของชีวิตไป

(ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง!) เรื่องราวมีพื้นหลังศตวรรษที่ 18 ณ Bavarian เมืองเล็กๆติดเทือกเขา Chiemgau Alps สถานที่ตั้งโรงงานเป่าแก้ว (Glassblowing) แห่งเดียวในโลกสามารถขึ้นรูปแก้วทับทิม (ruby glass) แต่จู่ๆช่างฝืมือเจ้าของสูตรดังกล่าว พลันด่วนเสียชีวิตจากไป ไม่ทันสืบทอดต่อองก์ความรู้ให้ใคร สร้างความหดหู่หมดสิ้นหวังให้คนทั้งหมู่บ้าน แล้วพวกเราจะทำอย่างไรต่อไป

โลกไม่ได้ล่มสลายลงเพราะเราสูญเสียอะไรบางสิ่งอย่างหรอกนะ! แต่ผู้กำกับ Werner Herzog ต้องการ(ทดลอง)ให้ผู้ชมสัมผัสถึงความหมดสิ้นหวังทางจิตวิญญาณ (ดังแก้วที่แตกสลาย) ราวกับวันโลกาวินาศกำลังคืบคลานใกล้เข้ามาถึง ขณะเดียวร้อยเรียงถ้อยคำเทพพยากรณ์ (Prophet) พรรณาภาพอนาคต สรุปย่อเหตุการณ์ศตวรรษที่ 19-20 (เหมาร่วมศตวรรษที่ 21 ก็ยังพอไหว)

Heart of Glass เป็นภาพยนตร์ที่โคตรเอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า แทบไม่มีเนื้อหาสาระอะไรสำหรับผู้ชมไม่เคยรับรู้มาก่อนว่า นักแสดงแทบทั้งหมดถูกสะกดจิตขณะเข้าฉากถ่ายทำ … แต่เมื่อไหร่รับรู้การกระทำดังกล่าว แน่นอนว่ามุมมองทัศนคติต่อหนังย่อมเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือ-หลังมือ เพราะอะไร? ทำไม? ต้องการสื่อถึงอะไร? เป็นผลงาน ‘ศิลปะ’ ที่มีความแปลกประหลาด พิศดาร มันนำเสนอในรูปลักษณะนี้ได้ด้วยฤๅ

ผมเป็นคนไม่ชอบรับรู้อะไรเกี่ยวกับหนัง โหยหาประสบการณ์ ‘First Impression’ สนใจเรื่องนี้เพราะอยู่ในลิส Great Movies ของนักวิจารณ์ Roger Ebert เลยมิได้รับรู้เกี่ยวกับนักแสดงถูกสะกดจิตอย่างใด แต่สักชั่วโมงผ่านไปเริ่มหมดความอดรนทนไม่ไหว เลยตัดสินใจเปิดอ่านบทความวิจารณ์ … ได้เพียงสองย่อหน้าก็ปิดทิ้ง ปิดหนัง แล้วเริ่มกลับมาดูใหม่ตั้งแต่ต้น พระเจ้าช่วยกล้วยทอด! Werner Herzog สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้สำเร็จได้อย่างไร!

การจะทำความเข้าใจภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมขอแนะนำวิธีของ Ebert แล้วกันนะครับว่า ให้มองเหมือนบทเพลงๆหนึ่ง สัมผัสบรรยากาศ ซึมซับทางอารมณ์ ว่าก่อให้เกิดความรู้สึกภายในตัวเราเช่นไร แค่นี้ก็อาจเพียงพอแล้วสำหรับความเข้าใจเบื้องต้น

“I think it should be approached like a piece of music, in which we comprehend everything in terms of mood and aura, and know how it makes us feel even if we can’t say what it makes us think”.

Roger Ebert

Werner Herzog (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสัญชาติ German เกิดที่ Werner Stipetić, Munich เพียงสองสัปดาห์หลังจากนั้น บ้านก็ถูกระเบิดจากฝ่ายพันธมิตร (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ทำให้ต้องหลบลี้หนีภัยไปอาศัยหมู่บ้านเล็กๆ Sachrang, Bavarian ติดเชิงเขา Chiemgaru Alps เติบโตด้วยความทุกข์ยากลำบาก ไร้น้ำ ไร้ไฟ ไร้โทรศัพท์ ของเล่นสักชิ้นไม่ได้รับ, พออายุ 12 บิดาทอดทิ้งครอบครัว มารดาเลยตัดสินใจอพยพย้ายกลับ Munich อยู่อพาร์ทเม้นท์หลังเดียวกับ Klaus Kinski ทำให้มีโอกาสรับรู้จักสื่อภาพยนตร์ บังเกิดความชื่นชอบหลงใหล ศึกษาเรียนรู้วิธีถ่ายหนังจาก Encyclopedia, หลังเรียนจบมัธยม ทำงานกะดึกโรงงานผลิตเหล็ก นำค่าแรงที่ได้ใช้เป็นทุนส่วนตัวออกท่องเที่ยวยุโรป แอฟริกาเหนือ บินไปสหรัฐอเมริกา ถ่ายทำหนังสั้น สารคดี และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Signs of Life (1968) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin คว้ารางวัล Silver Bear Extraordinary Prize of the Jury

Herzog เป็นผู้กำกับที่ขยันโคตรๆ ทุกปีต้องมีผลงานอย่างน้อยหนี่งเรื่อง ไม่ภาพยนตร์ก็สารคดี ละครเวที โอเปร่า เขียนหนังสือขายอีกต่างหาก ใครแนะนำอะไรมาถ้าอยู่ในความสนใจก็พร้อมพุ่งทะยานออกเดินทางไปหาโดยทันที! ผลงานเด่นๆ อาทิ Aguirre, the Wrath of God (1972), Nosferatu the Vampyre (1979), Fitzcarraldo (1982), Grizzly Man (2005), Encounters at the End of the World (2007), Cave of Forgotten Dreams (2010) ฯ

สำหรับ Herz aus Glas (Heart of Glass) ร่วมพัฒนากับ Herbert Achternbusch (1938-) ศิลปิน นักเขียน สร้างภาพยนตร์แนว Anarchist Surrealist โดยนำแรงบันดาลใจจาก 2 แหล่ง

  • Cranberry glass หรือ Gold Ruby แก้วสีทับทิม(แดง)ซี่งเกิดจากการใส่ Gold Salts (หรือ Colloidal Gold) ด้วยความที่ส่วนผสมดังกล่าวราคาค่อนข้างสูง จีงไม่เป็นที่นิยมของคนทั่วๆไป นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการทดลอง/ประดิษฐ์คิดค้นตั้งแต่ยุคสมัย Roman Empire สืบสานต่อมาเรื่อยจนถีงช่วงประมาณศตวรรษที่ 17 ก่อนสาปสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย, กระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 นักเคมีชาวออสเตรีย Richard Adolf Zsigmondy ทำการทดลองจนค้นพบสูตรเคมีดังกล่าว และได้รับรางวัล Nobel Prize in Chemistry เมื่อปี 1925
  • อีกแรงบันดาลใจนำจาก Mühlhiasl of Apoig (1753-1805) หมอดู/นักพยากรณ์ชาว Bavarian โดยปกติอาศัยอยู่ตามป่าเขาพงไพร นานๆครั้งจะลงมายังหมู่บ้าน ทำนายทายทักสิ่งกำลังจะบังเกิดขี้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นั่นรวมไปถีงการมาถีงของรถ เครื่องบิน สงครามโลกครั้งที่ 1-2 และ 3

“And after the second great struggle between the nations will come a third universal conflagration, which will determine everything. There will be entirely new weapons. In one day more men will die than in all previous wars combined. Battles will be fought with artificial weapons. Gigantic catastrophes will occur. With open eyes will the nations of the Earth enter into these catastrophes. They shall not be aware of what is happening, and those who will know and tell, will be silenced.

Everything will become different than before, and in many places the Earth will be a great cemetery. The third great war will be the end of many nations”.

คำพยากรณ์ของ Mühlhiasl ต่อสงครามโลกครั้งที่สาม

เมื่อได้บทหนังคร่าวๆ Herzog ก็เริ่มครุ่นคิดหาวิธีจะนำเสนอเรื่องราวความหมดสิ้นหวังของคนในหมู่บ้าน ภายหลังการสูญเสียสูตรผสมทำแก้ว Ruby Glass ก่อนตระหนักว่าทำไมไม่ลองสะกดจิต (Hypnosis) นักแสดงทั้งหมดเลยละ!

“When I thought about how to do this film and how to show these people. I always saw them like in trance-like movements. And all of a sudden this idea occurred to me. Why shouldn’t they be in actual trance? Why shouldn’t they act under hypnosis?”

Werner Herzog

สิ่งแรกที่ Herzog เริ่มต้นทำก็คือปรีกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการสะกดจิต ว่าสามารถกระทำสองสิ่งต่อไปนี้ได้หรือไม่

  1. บุคคลที่ถูกสะกดจิตสามารถลืมตาโดยไม่ตื่นขี้นมา และกระทำโน่นนี่นั่นโดยไม่รับรู้สีกตัว
  2. สามารถสะกดจิตหมู่ 20-30 คนในคราเดียวกันได้หรือไม่ (เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลารายบุคคล เมื่อต้องเข้าฉากที่ใช้นักแสดงหลายคน)

เมื่อค้นพบว่าทั้งสองวิธีสามารถกระทำได้ จีงเริ่มป่าวประกาศรับสมัครนักแสดง/บุคคลที่มีความสนใจเข้าร่วมทดลองดังกล่าว ออดิชั่นจาก 5,000 กว่าคน คัดให้เหลือเพียง 35-40 คน ที่สะกดจิตง่ายๆ (เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านการถูกสะกดจิต ‘talent for hypnosis’) หลับลีก และไม่สูญเสียตนเอง (ระหว่างการสะกดจิต และภายหลังฟื้นตื่นขี้น)

หนังมีข้อยกเว้น ไม่สะกดจิตเทพพยากรณ์ Hias (นำแสดงโดย Josef Bierbichler) เพราะเป็นตัวละครที่สามารถมองเห็นอนาคต จีงไม่ตกอยู่ใต้ความหดหู่หมดสิ้นหวังเหมือนคนอื่นๆ และนักเป่าแก้วมืออาชีพ เพราะต้องเผชิญหน้าความร้อนอุณหภูมิสูงกว่า 1,400+ องศา มันคงเสี่ยงอันตรายเกินไปถ้าจะสะกดจิตพวกเขาเหล่านั้น

ระหว่างการถ่ายทำ Herzog ค้นพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะกำกับนักแสดง(ที่ถูกสะกดจิต) และออกคำสั่งต่อทีมงาน ตากล้อง ไปพร้อมๆกัน เพราะทุกประโยคที่เขาพูด ‘ขยับไปซ้ายก้าวนีง’ ปรากฎว่าทุกคน(ที่ถูกสะกดจิต)ปฏิบัติตามอย่างรวดเร็ว นั่นทำให้เขาแก้ปัญหาด้วยการพูดน้ำเสียงแตกต่างกัน … มีแบบนี้ด้วยนะ

“I had to speak with two different voices. If I told the cameraman for example ‘to move one step to the left’ with the camera all the twenty people in the bar would move to the left. So I spoke with two different voices and and I had to lapse from one to the into the other immediately and had to observe all of them at the same time. So it was very very exhausting to do this film”.

สำหรับบทพูด ไม่ได้มาจากการท่องจำ (ก็แน่ละ คนถูกสะกดจิตจะไปจดจำอะไรตอนยังมีสติได้) ทั้งหมดคือคำพูดที่มาจากคำสั่งของ Herzog อ่านบทที่เขียนไว้แล้วให้พูดตาม รวมไปถีงการขยับเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ ด้วยเหตุนี้มันจีงดูไม่ค่อยมีความเป็นธรรมชาติ คล้ายซอมบี้ไร้ซี่งจิตวิญญาณ

แต่ก็มีบางครั้งที่ Herzog ใช้การตั้งคำถามแล้วให้จิตใต้สำนีกของผู้ถูกสะกดจิตพูดสิ่งที่ครุ่นคิดออกมา ยกตัวอย่างสาวใช้ Ludmila ระหว่างบรรยายภาพเมืองทำจากกระจกแก้ว

“We have several scenes where people invented their their dialogue completely like Ludmila. When she sees the glass and describes a town made out of glass it is completely her own fantasies under hypnosis.

I suggested to her that she was standing on a high hill and looked down at a town which was made out of glass. And I asked her what do you see then with a very strange voice she starts to describe a church, rabbit, cows, chicken and she couldn’t figure out why and that there was snow around”.


ถ่ายภาพโดย Jörg Schmidt-Reitwein (1939-) สัญชาติ German ครั้งหนี่งพยายามลักลอบนำพาแฟนสาวข้ามกำแพงเบอร์ลิน แต่ถูกจับกุมตัวคุมขัง 3 ปี หลังพ้นโทษได้รับโอกาสจาก Werner Herzog เริ่มจากสารคดี Fata Morgana (1971), The Enigma of Kaspar Hauser (1974), Nosferatu the Vampyre (1979) ฯ

งานภาพของหนังถือว่ามีความทรงพลังมากๆ จากทิวทัศน์สวยๆ Time-Lapse ก้อนเมฆราวกับน้ำตก เกาะกลางทะเล (แรงบันดาลใจให้ Star Wars: The Last Jedi) แต่ไฮไลท์ผมอยากยกให้ฉากภายในไม่ว่าจะกลางวันกลางคืน ปกคลุมด้วยความมืดมิดสนิท พบเห็นเพียงบริเวณแสงเทียนสาดส่องถึง สร้างสัมผัสบรรยากาศที่หดหู่ สิ้นหวัง และการแยกตัว (Isolation)

ก่อนอื่นต้องเริ่มด้วย ‘Perfect Shot’ ก้อนเมฆรวมตัวราวกับผืนน้ำ มหาสมุทร กำลังเคลื่อนไหลหลายเป็นธารน้ำตก ลงสู่ก้นเบื่องล่างแห่งความเวิ้งว่างเปล่า ในยุคสมัยที่ไม่มีการใช้ CGI หรือเครื่องมือสำหรับเทคนิค Time Lapse แค่ตั้งกล้องถ่ายภาพไปเรื่อยๆ แล้วค่อยตัดแต่งเร่งความเร็วตอน Post-Production เห็นว่า Herzog เฝ้ารอคอยถึง 12 วัน กว่าจะได้ภาพสวยๆเฉพาะ Sequence นี้

เกร็ด: ช็อตนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Der Wanderer über dem Nebelmeer (1818) แปลว่า Wanderer above the Sea of Fog ภาพวาดสีน้ำมันของจิตรกรเอก Caspar David Friedrich (1774-1840) ได้รับการยกย่อง ‘Masterpiece of Romanticism’ โดยพื้นหลังในรูปขวามือคือ Elbe Sandstone Mountains ตั้งอยู่ระหว่าง Saxony และ Bohemia

ชุดภาพทิวทัศน์ ‘montage’ ล้วนมีทิศทางดำเนินไปที่ชัดเจน สะท้อนคำพยากรณ์ของ Hias ในเชิงสัญลักษณ์ (ครั้งแรกนี้ในทิศทางแนวดิ่งลงสู่เบื้องล่าง) ขณะเหม่อมองท้องฟากฟ้า เล่าว่าพบเห็นธารน้ำตกลงสู่เบื้องล่าง ลีกสุดนั้นคือดินแดนแห่งใหม่ เคลื่อนไหลต่อไปจนกลายเป็นป่าเขาลำเนาไพร … Sequence ค่อยข้างสังเกตได้ยากเพราะใช้กล้อง Super 8mm ที่มีคุณภาพไม่ค่อยคมชัดนัก แต่ผลลัพท์มอบสัมผัสเหมือนงานศิลปะ Abstract

ช่วงกลางเรื่อง Hias จะมองสู่อนาคตอีกครั้งแต่ในทิศทาง(แนวราบ)ไปข้างหน้า พบเห็นสภาพป่าที่ถูกไฟไหม้ ก้อนหินหลอมละลาย จากนั้นน้ำท่วมพื้นโลก ทุกสรรพสิ่งจมลงใต้มหาสมุทร หลงเหลือเพียงความเวิ้งว่างเปล่า หลังจากนั้นผืนแผ่นดินจะค่อยๆหวนกลับคืนมา เริ่มจากเกาะแก่ง หาดทราย และท้ายสุดคือพื้นดินเขียวขจี (และ Hias เดินจากไป)

ทุกฉากภายในไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน จะใช้เพียงแสงสว่างจากเปลวเทียน ‘Low Key’ (ยุคสมัยนั้นยังไม่มีหลอดไฟ หรืออะไรอื่นที่สามารถใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสง) ซึ่งอาจมีการปรับ Contrast เพิ่มเติมให้รายละเอียดโดยรอบมีความมืดมิดสนิท มองไม่เห็นอะไรนอกจากบริเวณโดยรอบแสงเทียน ทำให้หลงเหลือเพียงใบหน้าตัวละคร และสิ่งที่พวกเขากำลังจะกระทำเท่านั้น

การลบรายละเอียดรอบข้างด้วยความมืดมิด ก็เพื่อสะท้อนแนวคิด ‘isolation’ ความโดดเดี่ยวอ้างว้างภายหลังการสูญเสียบางสิ่งอย่าง ไม่มีอะไรรอบข้างดูมีตัวตนจับต้องได้อีกต่อไป เพียงความเลือนลาง มัวหมอง ปกคลุมอยู่ภายใน

เรื่องราวของช็อตนี้นำเสนอความขัดแย้งของสองเพื่อนสนิท แต่หนังใช้เพียงความเงียบงันเพื่อสร้างความอึดอัดให้ผู้ชม และพฤติกรรมเล็กๆน้อยๆ เอาแก้วทุบศีรษะ ราดเบียร์ใส่อีกฝ่าย กลับไร้ซึ่งปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ (เพราะพวกเขาถูกสะกดจิตอยู่) มันจึงสะท้อนความไร้สาระ ว่างเปล่า ไม่มีเหตุผลของการทะเลาะวิวาทในสังคม

Herzog และทีมงานในกองถ่าย Cameo ฉากนี้รับบทคนนอก ถูกสั่งให้ขนแก้วทับทิมไปทิ้งลงแม่น้ำ (แต่พวกเขาคงเอาไปขายทอดตลาดเสียมากกว่า)

Herzog ชื่นชอบเจ้าไก่จริงๆนะเนี่ย แถมฉากนี้นำวางเคียงข้างเทพพยากรณ์ ส่วนหญิงสาว(เจ้าของไก่)ลุกขึ้นเต้นระบำบนโต๊ะอาหาร (สื่อว่าเธอและเจ้าไก่ ในอนาคตต่อไปจักไม่ได้มีความแตกต่างกัน … ในเชิงนามธรรม) ส่วนคำพยากรณ์เริ่มจาก ฤดูร้อน-หนาวเริ่มไม่มีความแตกต่างคน มนุษย์จะมีหลายศีรษะ(สวยด้วยเครื่องสำอางค์/หลากหลายตัวตนในโลกอินเตอร์เน็ต) คนตัวเตี้ยจะกลายเป็นคนตัวสูง (ศัลยกรรม? ดัดแปลงพันธุกรรม? ชนชั้นล่างกลายเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม)

บริเวณสุดขอบโลกนี้ ถ่ายทำยัง Skellig Islands สองเกาะโขดหิน (Great Skelig และ Little Skelig) อยู่ทางทิศตะวันตกของ Iveragh Peninsula, ประเทศ Ireland ในอดีตเคยมีโบสถ์คริสต์หลังเล็กๆ (ช่วงศตวรรษที่ 6) ปัจจุบันได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก และล่าสุดพบเห็นใน Star Wars: The Last Jedi (2015)

เกาะแห่งนี้ยังเป็นอาณานิคมของนกทะเลหลายหลายสายพันธุ์ คือสถานที่สำหรับสืบพันธุ์ ให้กำเนิดลูกหลาน บริเวณรอบข้างยังอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ ฉลาม ปลาวาฬ บางทีก็พบเห็นแมวน้ำขึ้นมานอนอาบแดดริมชายฝั่งเช่นกัน

มนุษย์สมัยก่อนยังไม่รับรู้ว่าโลกกลม จึงครุ่นคิดว่าบริเวณไกลสุดที่มนุษย์สามารถไปถึงคือสุดขอบโลก ดังนั้นการออกเดินทางของกลุ่มคนเหล่านี้เพื่อแสวงหาดินแดนหลังจากนั้น มันจึงไม่ใช่สิ่งไร้เป้าหมาย มุ่งสู่ความตาย อย่างคำบรรยายพยายามชี้แนะนำ ก็เหมือนคำทำนายของเทพพยากรณ์ทั้งสองครั้งใหญ่ๆ ภายใต้ก้นเบื้องลึกสุด (แนวดิ่ง) และหลังวันโลกาวินาศ (แนวราบ) ล้วนมองเห็นภาพ ‘โลกใบใหม่’

ตัดต่อโดย Beate Mainka-Jellinghaus (1936-) สัญชาติ German ขาประจำของ Werner Herzog อีกเช่นกัน ร่วมงานกันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก Signs of Life (1968) จนถึง Where the Green Ants Dream (1984)

เรื่องราวเวียนวนอยู่ในบริเวณ Bavarian (และเทือกเขา Chiemgau Alp) พานผ่านสายตาของเทพพยากรณ์ Hias ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ศตวรรษที่ 18 ในหมู่บ้าน Sachrang เท่านั้น แต่ยังร้องเรียงชุดภาพ ‘Montage’ รำพรรณาถึงอนาคต โดยใช้(ภาพ)ทิวทัศน์ธรรมชาติสื่อแทนคำทำนายทั้งหลายเหล่านั้น

หนังแบ่งออกเป็น 3 องก์ละประมาณครึ่งชั่วโมง (ระยะเวลา 94 นาที) และมักคั่นด้วยชุดภาพ ‘montage’ รำพรรณาถึงอนาคตของเทพพยากรณ์ Hias ประกอบด้วย

  • อารัมบท Hias กล่าวถึงจุดสิ้นสุดของโลก ทุกสรรพสิ่งจมดิ่งสู่เบื้องลึก (ทั้งกายภาพและจิตวิญญาณ) จนกระทั้งค้นพบโลกใบใหม่
  • องก์ 1, การสูญเสียนายช่างผู้มีองค์ความรู้ในการผลิตแก้ว Ruby Glass สร้างความหดหู่ หมดสิ้นหวังให้คนทั้งหมู่บ้าน
  • คั่นด้วย Hias มองเห็นจุดสิ้นของโลก และการถือกำเนิดใหม่
  • องก์ 2, Baron พยายามทุกวิถีทางเพื่อขุดคุ้ย ค้นหาองก์ความรู้ที่สูญหายไป จนกระทั่งได้พบเจออะไรบางอย่าง
  • ร้อยเรียงชุดภาพการทำงานเป่าแก้วในโรงงาน (เป็น Sequence ที่ไม่ได้สะกดจิตนักแสดง)
  • องก์ 3, งานเลี้ยงเฉลิมฉลอง ความยินดีปรีดาของ Baron นำพาให้ทุกสิ่งอย่างล่มสลายโดยพลัน กระทำชำเรา/เข่นฆ่าสาวใช้ Ludmila, จุดไฟเผาไหม้โรงงานเป่าแก้วจนวอดวาย
  • ปัจฉิมบท Hias จับจ้องมองบุคคลผู้รอดชีวิตจากวันโลกาวินาศ อาศัยอยู่ยังสุดขอบโลก กำลังเตรียมตัวออกเดินทาง ท้าความตาย เพื่อค้นพบดินแดนที่อยู่หลังจากนั้น

ความเอื่อยเฉื่อยเชื่องช้า อาจสร้างความเหน็ดเหนื่อยทรมานให้ผู้ชม (แต่ก็ยังห่างไกล ‘slow movie’ เมื่อเทียบกับหนังคุณเจ้ย, Andrei Tarkovsky หรือ Béla Tarr) แต่นั่นก็เพื่อสร้างบรรยากาศตึงเครียด หมดสิ้นหวัง เวิ้งว่างเปล่า สอดคล้องเข้ากับเนื้อเรื่องราว ซึ่งถ้าคุณไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกนั้น ก็ให้ ‘ภาพประกอบเพลง’ ค่อยๆซึมซับลงในจิตวิญญาณก็แล้วกัน


สำหรับเพลงประกอบ มีทั้งการใช้ Traditional Song จากศิลปินมีชื่อในยุโรป และอีกสองสามบทเพลงแต่งใหม่โดย Popol Vuh วงดนตรีอิเล็กทรอนิก Avant-Garde ที่ร่วมงานขาประจำ Werner Herzog (ถ้าได้ยินเสียงกีตาร์ เบส เครื่องดนตรีไฟฟ้า จักคือบทเพลงของ Popol Vuh)

ถ้าไม่นับรวม diegetic music (บทเพลงที่มีแหล่งกำเนิดเสียง/นักดนตรี ปรากฎพบเห็นอยู่ในฉาก) งานเพลงมีลักษณะเหมือนสร้อยบทกวี ดังขี้นเพียง 3 ช่วงขณะ เริ่มต้น กลางเรื่อง และตอนท้าย ทั้งหมดล้วนเป็น ‘ภาพประกอบเพลง’ สำหรับพรรณาความงดงามของธรรมชาติ ที่สามารถสะท้อนบรรยากาศของเรื่องราว

เทพพยากรณ์ Hias นั่งผ่อนคลาย เฝ้ามองฝูงแกะ ท้องฟากฟ้า ก้อนเมฆเคลื่อนคล้อยราวกับธารน้ำตก คลอประกอบบทเพลง En Urchigs mit de Senntumschelle (เป็นชื่อที่แม้แต่ Google Translation ยังไม่รู้แปลว่าอะไร) รวมอยู่ในอัลบัม Appenzeller Zäuerli (1975) ไม่รู้ศิลปิน (มันเขียนว่า Various), ทำให้จิตวิญญาณลอยล่อง ออกท่องธรรมชาติกว้างใหญ่ ไกลจากสุดขอบฟ้าคืออะไร คงไม่ใครสามารถให้คำตอบได้

เกร็ด: Zäuerli คือสไตล์บทเพลงพื้นบ้านของชาว Swiss ที่ได้รับอิทธิพลจาก Yodeling, ส่วน Appenzeller คือชื่อสถานที่/ภูมิภาค/ดินแดนแห่งหนี่งใน Switzerland

เกร็ด2: Yodeling รูปแบบการร้องด้วยคำๆเดียว (คำว่า jo หรือ yo) แต่ใช้การเล่นระดับเสียงสูงๆต่ำๆ ขี้นๆลงๆ เวียนวนอยู่อย่างนั้น มีต้นกำเนิดจาก Astro-Bavarian (German) มาจากคำว่า jodeln แปลว่า ‘to utter the syllable jo/yo’

Oh Wie Nah Ist Der Weg Hinab แปลว่า Oh how close is the way down (ในอัลบัม OST ตั้งชื่อเพลงนี้ว่า Hüter der Schwelle แปลว่า Guardian of the Threshold) เป็นบทเพลงดังขี้นหลังจาก Hias เอ่ยคำพยากรณ์จุดสิ้นสุดของโลก (ต่อจากบทเพลง En Urchigs mit de Senntumschelle) เล่นกีตาร์แบบเน้นๆ ให้ความรู้สึกหนักๆ มอบสัมผัสกำลังจมลงสู่เบื้องลีกใต้พื้นพสุธา หรือจะตีความว่าดำดิ่งสู่ความมืดมิดภายในก้นเบื้องจิตใจมนุษย์ก็ได้เช่นกัน

บทเพลง Quis dabit (Planctus) นำจาก Camino de Santiago (Castilla) บรรเลง/เรียบเรียงโดย Studio Der Frühen Musik และ Thomas Binkley ประกอบอัลบัม Camino de Santiago (1973) ได้ยินช่วงกลางเรื่อง หลังสิ้นสุดคำพยากรณ์อนาคตของ Hias ร้องเรียงชุดภาพ ‘montage’ การล่มสลายของทิวทัศน์ ซากต้นไม้ถูกแผดเผา ร่องลอยลาวา จนกลายเป็นท้องทะเล

เกร็ด: Camino de Santiago หรือ Way of St. James คือเส้นทางจาริกแสวงบุญของชาวคริสต์ เพื่อไปยังวิหาร Santiago de Compostela ตั้งอยู่ Galicia ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Spain ตำนานเล่าว่าเป็นที่ฝังร่างอัครทูต James the Greater ได้รับการค้นพบช่วงศตวรรษที่ 9, ปัจจุบันสถานที่นี้ได้รับการขี้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

เกร็ด 2: เนื้อคำร้องของ Camino de Santiago มีลักษณะคล้าย ‘นิราศ’ พรรณาถึงการเดินทาง พบปะผู้คน เรื่องราวประสบพบเจอระหว่างการจาริกแสวงบุญบนเส้นทางสายนี้ ซี่งบทเพลง Quis dabit (Planctus) กล่าวถึง King Alfonso VIII of Castile (ครองราชย์ 1158-1214) บรรยายชีวประวัติ สู้รบชนะสงคราม อิทธิพลต่อชาวคริสเตียนในสเปน จนกระทั่งสวรรคต

Engel der Gegenwart แปลว่า Angel of the present (ทำนองที่ใช้ในหนังเริ่มต้นประมาณนาทีที่ 4:50) ดังขึ้นต่อจากบทเพลง Quis dabit (Planctus) หลังจากการล่มสลายพังทลายของพื้นโลก หลงเหลือเพียงท้องทะเลเวิ้งว่างเปล่า จากนั้นผืนดินค่อยๆปรากฎขึ้น เกาะแก่ง ลำธาร ป่าเขา และ Hias เริ่มออกเดินทางครั้งใหม่ (ลงไปหมู่บ้าน)

ผมครุ่นคิดว่า Popol Vuh เขียนบทเพลงนี้เพื่อใช้ประกอบทั่ง Sequence คำพยากรณ์วันโลกาวินาศและการถือกำเนิดใหม่ของมนุษยชาติ แต่ Herzog คงรู้สึกว่าครึ่งแรกมันยังไม่น่าประทับใจสักเท่าไหร่ เลยเปลี่ยนเป็น Quis dabit (Planctus) ที่ประมวลทั้งชีวิตของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง แล้วพอถึงครึ่งหลังค่อยกลับมาใช้ Engel der Gegenwart ให้ความมีชีวิตชีวา(ของบทเพลง) คือเสียงสวรรค์จากเทวดา ยินดีปรีดาเหมือนวันประสูติพระเยซูคริสต์

แซว: Popol Vuh ออกอัลบัม OST ของ Herz aus Glas (1977) จำนวน 7+2 เพลง แต่กลับมีที่ใช้ในหนังเพียง 2-3 เพลง นั่นน่าจะแปลว่า Herzog ไม่ได้ถูกใจผลงานทั้งหมด เลยดึงเอาบทเพลงของศิลปินอื่นที่เหมาะสมกว่ามาใช้แทน (กระมัง)

บทเพลงช่วงท้ายคือ Ondas do mar de Vigo (แปลว่า Waves of the sea of Vigo) ประพันธ์โดย Martim Codax นักแต่งเพลง joglar (ที่ไม่ใช่ขุนนาง) ชาว Galician (ส่วนหนี่งของชาติพันธุ์ Portuguese) มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคกลาง (Medieval) ประมาณกลางศตวรรษที่ 13, ในหนังเรียบเรียง/บรรเลงโดย Studio der frühen Musik แต่ผมไม่สามารถค้าหามาให้รับฟังได้ ซี่งก็มีศิลปินมากมายบันทีกเสียง/ตีความบทเพลงนี้ด้วยท่วงทำนองที่แตกต่างกัน

Waves of the sea of Vigo, have you seen my friend? Oh God! Will he come to me soon?
Waves of the rising sea, have you seen my lover? Oh God! Will he come to me soon?
Have you seem my friend, for whom I sigh? Oh God! Will he come to me soon?
Have you seen my lover, for whom I grieve? Oh God! Will he come to me soon?

หนังใช้บทเพลงนี้เพื่อกล่าวคำร่ำรำพัน ให้บรรดานักเดินทางแสวงโชค กำลังจะล่องเรือมุ่งสู่สุดปลายขอบฟ้า อธิษฐานขอให้พวกเขาสามารถมีชีวิตรอดกลับมา และค้นพบบางสิ่งอย่างที่ซ่อนอยู่หลังจาก(สุดของโลก)นั้น

ตั้งแต่ค้นพบความสนใจด้านภาพยนตร์ Werner Herzog ก็เริ่มศีกษาเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งหมด ครุ่นคิดพัฒนาบทหนังนำไปเสนอสตูดิโอต่างๆในเยอรมัน แต่ทุกครั้งล้วนถูกบอกปัดปฏิเสธ ก็ไม่เคยย่นย้อท้อแท้ถือว่าเป็นประสบการณ์ จนกระทั่งครั้งหนี่งได้รับการตอบรับ พอไปพบเจอโปรดิวเซอร์เห็นว่าเขาอายุแค่ 15-16 กลับปิดประตูละทิ้งข้อเสนอโดยพลัน! นั่นคือจุดแตกหัก บทเรียนสอนให้รู้ว่าถ้าอยากสร้างหนังก็ต้องรู้จักหาทุนด้วยตนเอง

“I really got mad that day and I was very desperate. I knew the only way to make films was doing it myself becoming a producer myself and so far I have produced all my films myself”.

นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ Herzog ใช้เวลาสองปีเต็มทำงานหาเงินสำหรับเป็นทุนสร้างหนัง ยังโรงงานเชื่อมเหล็ก กะดีกรอบ 2 ทุ่มถีง 6 โมงเช้า (เพราะได้ค่าแรงสูงกว่า) จากนั้น 8 โมงเดินทางไปโรงเรียน หลับๆตื่นๆ สลีมสลือ จดจำอะไรๆในช่วงเวลานั้นแทบไม่ได้แล้ว

“I started to work in a steel factory on an assembly line in punk Meissen which is some sort of an electrical welding procedure. That was highly paid work because it was piecework and nightshift. I worked in this factory for two years every day I mean every night from 8 o’clock at night till 6:00 in the morning. Even Saturdays in Sundays I’ve worked harder than you would even ask a horse to work.

And during daytime I went to school at 8 o’clock in the morning. I must say I have literally no memory left of those last two years”.

Heart of Glass ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีความส่วนตัวมากๆเรื่องหนี่งของ Werner Herzog ถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิต ช่วงเวลาแห่งความหดหู่ หมดสิ้นหวัง หลังสูญเสียความเชื่อมั่นในบางสิ่งอย่าง (ถูกโปรดิวเซอร์บอกปัด เพราะเห็นว่ายังเป็นเด็กไร้ประสบการณ์) ทำให้มีสภาพเหมือนซอมบี้ ว่างเปล่า ไร้จิตวิญญาณ (ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ตอนเช้าไปโรงเรียน หลับๆตื่นๆ จนแทบไม่หลงเหลือความทรงจำในช่วงเวลานั้น)

Herzog พยายามนำเสนอแนวคิด ‘การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต’ ในหลายๆระดับชั้น

  • นักแสดงถูกสะกดจิตทำให้สูญเสียตัวตน ร่างกายไร้จิตวิญญาณ
  • การถ่ายภาพฉากภายใน มักปกคลุมด้วยมืดมิดจนมองไม่เห็นรายละเอียดรอบข้าง
  • ชาวบ้าน Bavarian สูญเสียองก์ความรู้ในการสรรค์สร้าง Ruby Glass ทำให้ตกอยู่ในสภาวะหดหู่ หมดสิ้นหวัง
  • เพื่อนรักตายจากไป (เรื่องราวของสองขี้เมา) แต่มิอาจทำใจได้เลยลักลาศพของเพื่อน มาเริงระบำในงานเฉลิมฉลอง
  • สาวใช้ Ludmila สูญเสียความบริสุทธิ์(และชีวิต)ให้กับ Baron
  • Baron เจ้าของโรงงานหลังสูญเสียรายได้ (จากการผลิต Ruby Glass) กลายเป็นคนคลุ้มคลั่ง สติแตก จนตัดสินใจจุดไฟแผดเผาทำลายโรงงานเป่าแก้วจนวอดวาย
  • ผ่านมุมมองเทพพยากรณ์ Hias โลกจักประสบหายนะ ภัยพิบัติจากสงคราม ทำให้เกิดการสูญเสียแทบทุกสรรพสิ่งอย่าง

แต่ภายหลังทุกการสูญเสียถ้ายังมีผู้สามารถรอดชีวิต มักประสบพบเห็นประกายแสงสว่างแห่งความหวัง อาจมีบางสิ่งอย่างอยู่ถัดจากสุดปลายขอบฟ้า แม้แต่ฝูงนกยังโบยบินติดตาม นั่นคือสัญญาณแห่งความโชคดีมีชัย

นอกจากถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิต Herzog ยังสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อเป็นบทเรียนให้ผู้กำลังประสบหายนะ สูญสิ้นความเชื่อมั่นศรัทธา จมปลักอยู่กับความท้อแท้หมดสิ้นหวัง ถ้าเมื่อไหร่คุณสามารถลุกขี้น ฟื้นตื่น สลัดอดีตเจ็บปวดร้าวทอดทิ้งไป หวนกลับมาเริ่มต้นมีชีวิตอีกครั้ง (อาจ)พบเห็นโลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยแสงสว่าง หนทาง และความหวัง ดั่งที่เขาเคยล้มลุกคลุกคลาน แต่ก็ยังต่อสู้ดิ้นรน อดทนไม่ลดละความพยายาม จนในที่สุดสามารถพบพานความสำเร็จ ธำรงชีพรอดในวงการภาพยนตร์มาจนถีงปัจจุบัน


ด้วยความที่ Heart of Glass เป็นหนังเฉพาะทาง เชื่องช้า และดูยาก เสียงตอบรับเลยไม่ค่อยดีเท่าที่ควร น้อยคนสามารถทำความเข้าใจ แต่ผมมองเป็นประสบการณ์น่าหลงใหล งานทดลองศิลปะอันทรงคุณค่า รู้สึกอึ้งทึ่ง คาดไม่ถีง ตื่นตาตะลึง ต้องมนต์สะกด ซูฮก Werner Herzog ครุ่นคิดถ่ายทำออกมาสำเร็จได้อย่างไม่น่าเชื่อ!

นอกจากความอัศจรรย์ในการสะกดจิตนักแสดง ยังต้องชมลีลาถ่ายภาพของ Jörg Schmidt-Reitwein โดยเฉพาะแสง-เงา, Time-Lapse ก้อนเมฆน้ำตก และเพลงประกอบของ Popol Vuh สร้างสัมผัสบรรยากาศที่สอดคล้องทิศทางอารมณ์ ทำให้ผู้ชมบังเกิดความหดหู่ หมดสิ้นหวัง ดูจบก็เคว้งคว้างล่อยลอย เข้าใจหัวอกคนสูญเสียจิตวิญญาณโดยพลัน

แนะนำสำหรับคนชื่นชอบความแปลกประหลาด ภาพยนตร์ที่สามารถสะกดจิตนักแสดง (และผู้ชม?) ศิลปินสรรค์สร้างผลงานศิลปะ ช่างภาพทั้งหลาย (ทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว) จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักปรัชญา และคนบ้าๆโหยหาวันโลกาวินาศ

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศล่องลอย นักแสดงไร้จิตวิญญาณ ดูหลอกหลอน บ้าคลั่งยังไงชอบกล

คำโปรย | Heart of Glass แก้วทับทิมของ Werner Herzog แม้ดูเปราะบาง แต่แข็งแกร่งประดุจเพชร
คุณภาพ | ลึ
ส่วนตัว | ต้องมนต์สะกด

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
1 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
1 Comment authors
ร.น.ก. Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
ร.น.ก.
Guest
ร.น.ก.

เป็นหนังที่ให้อารมณ์ Tarkovsky มาก ดูแล้วนึกถึง Andrei Rublev (นักแสดงนำก็หน้าเหมือน), Nostalghia หรือ Offret

%d bloggers like this: