
มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้
มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้
Mildred Pierce (1945) : Michael Curtiz ♥♥♥♡
Joan Crawford คว้า Oscar: Best Actress จากบทบาทแม่ Mildred Pierce ผู้พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออนาคตของลูกสาว Veda (รับบทโดย Ann Blyth) แต่เธอกลับพยายามทำทุกสิ่งอย่างเช่นกันเพื่อปฏิเสธ ต่อต้าน ไม่ยินยอมรับความปรารถนาดีดังกล่าว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Memories of Murder (2003) : Bong Joon-ho ♥♥♥♥
ความทรงจำต่อเหตุการณ์ฆาตกรรมต่อเนื่อง ไม่เพียงตราฝังตรึงในความทรงจำตัวละคร ผู้กำกับ Bong Joon-ho แต่ยังชาวเกาหลีใต้ทั้งประเทศ สามารถสะท้อนได้ถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนของรัฐบาลเมื่อไม่กี่ปีก่อน ใครกันจะไปหลงลืมเลือน
Talk to Her (2002) : Pedro Almodóvar ♥♥♥♥
พูดคุยสนทนา คือปฏิสัมพันธ์’พื้นฐาน’ระหว่างสิ่งมีชีวิต เพื่อก่อเกิดความเข้าใจ เรียนรู้จักความต้องการของกันและกัน แต่เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกลายเป็นผัก (Vegetative State) ยังมีความจำเป็นอันใดหลงเหลือให้เอ่ยปากสื่อสาร?
Meshes of the Afternoon (1943) : Maya Deren, Alexander Hammid ♥♥♥♥
โคตรหนังแนวทดลอง (Experimental Film) นำเสนอสภาพจิตใจของหญิงสาว ก็ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นถึงเต็มไปด้วยความคลุ้มคลั่งเสียสติแตก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับ David Lynch สรรค์สร้าง Lost Highway และ Mulholland Drive
Das weiße Band (2009) : Michael Haneke ♥♥♥♥
เรื่องราววุ่นๆสุดแสนอัปรีย์ ณ หมู่บ้านเล็กๆทางตอนเหนือของ German Empire ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1913-14 ในมุมมองปรมาจารย์ผู้กำกับ Michael Haneke คือรากฐานแห่งความชั่วร้าย สภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เด็กรุ่นนี้เติบโตขึ้นกลายเป็นนาซี, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Le Corbeau (1943) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♥
Le Corbeau แปลว่า The Crow, นกอีกา สัตว์สัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย ชอบกัดกินเศษซากเหยื่อกระจัดกระจาย สอดคล้องเรื่องราวเกี่ยวกับบัตรสนเท่ห์ (Poison-Pen Letter) จดหมายยาพิษที่ชอบสร้างข่าวลือผิดๆ ทำให้ใครๆหลงเชื่อครุ่นคิดว่าคือความจริง ก่อเกิดบรรยากาศหวาดสะพรึงกลัวแผ่ปกคลุมไปทั่วอาณาบริเวณเมือง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
L’Assassin habite au 21 (1942) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♡
ฆาตกรอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 21 แต่สถานที่แห่งนี้คือห้องเช่า (Boarding House) ทำให้มีผู้ต้องสงสัยหลายคนทีเดียว แล้วใครกันละคือ whodunit? ผลงานฉายเดี่ยวเรื่องแรกของผู้กำกับ Henri-Georges Clouzot สร้างขึ้นช่วงเวลาฝรั่งเศสถูกยึดครองโดยนาซี มีหรือจะไม่สอดแทรกอะไรบางอย่างเข้ามา
The Killing of a Sacred Deer (2017) : Yorgos Lanthimos ♥♥♥♡
หมอ/พระราชาผู้มีความหลงระเริงในทุกสิ่งที่กระทำ ครึ่งหนึ่งพลาดพลั้งเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์/กวางศักดิ์สิทธิ์ เป็นเหตุให้ถูกจองเวรอาฆาต แต่นี่ไม่ใช่เรื่องของการล้างแค้นเอาคืน มันคือผลกรรมสนองอันน่าพิศวง สะท้อนสิ่งที่คนรุ่นใหม่พยายามตอบโต้ผู้ใหญ่มากอำนาจ มันช่างเขย่าขวัญ สั่นประสาท น่าหวาดสะพรึงกลัวเสียเหลือเกิน
เปนชู้กับผี (พ.ศ. ๒๕๔๙) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
หนึ่งในหนังผีไทย ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญว่ามีความน่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุด แต่แน่ใจแล้วหรือว่านี่คือหนังผี? การไม่ยินยอมรับตนเอง สูญเสียสิ้นศรัทธา เปนเหตุให้ทุกสิ่งอย่างเวียนวนหวนกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก! รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็เช่นกัน
In a Lonely Place (1950) : Nicholas Ray ♥♥♥♥♡
Humphrey Bogart ในบทบาทใกล้เคียงกับตัวจริงมากที่สุด! แสดงเป็นนักเขียนขี้เมา เลือดร้อน ชอบใช้ความรุนแรง จับพลัดพลูพัวพันคดีฆาตกรรม พร้อมๆตกหลุมรัก Gloria Grahame ไม่นานนักเธอเริ่มเกิดความหวาดระแวง ครุ่นคิดว่าเขาอาจคือฆาตกรตัวจริง และเมื่ออยู่ดีๆถูกขอแต่งงาน … หนังนัวร์ที่จะทำผู้ชมจิตใจแตกสลาย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Maltese Falcon (1941) : John Huston ♥♥♥♥♡
รูปปั้นเหยี่ยวจากประเทศ Malta คือสิ่งที่ใครๆใฝ่ฝันหมายปอง ต่างแสดงออกโดยไม่สนดี-ชั่ว ถูก-ผิด ศีลธรรมจรรยา เพื่อให้ได้มาครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว, ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ John Huston สร้างเอกลักษณ์การแสดงให้ Humphrey Bogart และถือเป็นจุดกำเนิด Film Noir สู่กระแสหลักแห่งวงการภาพยนตร์
Tenebre (1982) : Dario Argento ♥♥♥♥
Tenebre ภาษาละติน แปลว่า Shadow, Darkness, เงา ความมืดมิด เป็นภาพยนตร์ที่การนำเสนอความตายในรูปแบบงานศิลปะชั้นสูง งดงามเสียจนมีครั้งหนึ่งที่ผู้กำกับ Quentin Tarantino ยกให้คือการตายฉากโปรดตลอดกาล
Deep Red (1975) : Dario Argento ♥♥♥♥
สังคมยุคสมัยก่อนที่ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า บางครั้งปกครองอย่างกดขี่ข่มเหง กักเธอไว้ในกรงขัง ใช้ความรุนแรงจนฝ่ายหญิงสะสมความโกรธเกลียดชัง อัดแน่นคลุ้มคลั่งอยู่ภายใน เมื่อถึงวันทนไม่ได้ปะทุระเบิดออกมา ลามระบาดไม่ใช่แค่ครอบครัวรอบข้าง แต่ยังทุกผู้คนที่สามารถสัมผัสล่วงรู้ได้
Don’t Torture a Duckling (1972) : Lucio Fulci ♥♥♥♥♡
การหยอกล้อ กลั่นแกล้งบุคคลผู้ไม่มีทางสู้ ครุ่นคิดว่าเขาคงไม่สามารถทำอะไรเราได้ แต่โดยไม่รู้ตัวสักวันหนึ่งอาจถูกหวนกลับมาล้างแค้น ไล่ล่าเข่นฆ่า หัวเราะทีหลังดังกว่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
What Have You Done to Solange? (1972) : Massimo Dallamano ♥♥♡
ครูสอนพละ ทั้งๆแต่งงานมีภรรยาอยู่แล้ว กลับสร้างสัมพันธ์สวาทกับลูกศิษย์สาวอายุ 18 ปี ระหว่างกำลังพลอดรักบังเอิญอยู่ในบริเวณสถานที่เกิดเหตุการณ์ฆาตกรรม จะบอกกับตำรวจว่าไปทำอะไรอยู่แถวนั้นก็ใช่ที่ แล้วนี่ฉันจะทำอย่างไรต่อไปดี?
The Girl Who Knew Too Much (1963) : Mario Bava ♥♥♥♡
แค่ชื่อหนังก็บ่งบอกถึงความคลั่งไคล้ในผลงานของผู้กำกับ Alfred Hitchcock ปรับเปลี่ยนจากชายมาเป็นหญิงผู้รู้มาก ใช้ประสบการณ์จากการอ่านนวนิยายสืบสวนสอบสวนมาเยอะ ออกติดตามค้นหาฆาตกร A-B-C เพราะชื่อขึ้นต้นของเธอคือ D มีแนวโน้มสูงจะกลายเป็นเหยื่อรายถัดไป
The Man Who Knew Too Much (1956) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♥
Doris Day ตอนแรกไม่อยากจะขับร้องบทเพลง Que Sera, Sera อวดรู้มากว่าเพลงเด็กๆ เดี๋ยวใครๆคงหลงลืมเลือน แต่กลับกลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ประจำตัว คว้า Oscar: Best Original Song และไต่ถึงอันดับ 2 ชาร์ท Billboard Hot 100 โด่งดังได้รับการจดจำมากกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อีกมั้งนะ!
The Man Who Knew Too Much (1934) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♡
แม้ส่วนใหญ่จะมองว่า Hollywood Remake ฉบับปี 1956 มีความยอดเยี่ยมกว่าหลายเท่า ถึงกระน้้นภาพลักษณ์ตัวร้าย รับบทโดย Peter Lorre ไม่มีใครเทียบแทนได้แน่ และหลายๆลายเซ็นต์ของ Alfred Hitchcock ปรากฎโดดเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ
Song at Midnight (1937) : Ma-Xu Weibang ♥♥♥♡
ภาพยนตร์ Horror เรื่องแรกของประเทศจีน ดัดแปลงจาก The Phantom of the Opera สอดไส้แนวคิดชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลคอรัปชั่นของพรรคก๊กมินตั๋ง ตอนฉายผู้สร้างถูกจับติดคุกเกือบเอาตัวไม่รอด กาลเวลาผ่านไปได้รับการยกย่องอย่างสูงจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ติดหนึ่งในร้อยหนังจีนยอดเยี่ยมตลอดกาล