Blue Velvet (1986) : David Lynch ♥♥♥♥
(20/11/2021) Blue Velvet คือความทรงจำมิอาจลืมได้ลงของ David Lynch ต่อภาพเหตุการณ์เคยพบเห็นวัยเด็ก (หญิงสาวแก้ผ้าบนท้องถนน) ระหว่างอาศัยอยู่ Fairmount, Philadelphia (อาชญากรมากมายเต็มไปหมด) และประสบการณ์หลังสรรค์สร้าง Dune (1984) ชีวิตจริงราวกับฝันร้าย แต่ฟ้าหลังฝนทุกอย่างย่อมกลายเป็นดี … จริงๆนะหรือ?
Blue velvet
But in my heart there’ll always be
Precious and warm, a memory
Through the years
And I still can see blue velvet
Through my tears
ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน เป็นประสบการณ์ยากจะลืมได้ลง หวนกลับมารับชมครานี้ยังคงล่องลอย ‘เหมือนฝัน’ ตราประทับอยู่ในความทรงจำไม่เสื่อมคลาย ขณะเดียวกันผมก็พบเห็นปัญหาซ่อนเร้นมากมาย ใจจะขาดอยากเรียก คัลท์-มาสเตอร์พีซ แต่มันไปไม่ถึงจุดนั้นจริงๆนะ
ครึ่งแรกของหนังต้องชมเลยว่าสมบูรณ์แบบ สามารถดึงดูดผู้ชมให้เกิดความใคร่รู้ใคร่สงสัย อยากติดตามตัวละครหลบซ่อนเร้นในตู้เสื้อผ้า พบเห็นความวิปลาส อัปลักษณ์พิศดาร (ฉากร่วมรัก/ข่มขืน Oedipus Complex ก็ยังเจ๋งอยู่นะ) แต่หลังจากนั้นหนังกลับสูญเสียโมเมนตัม ความต่อเนื่องทางอารมณ์ ยื้อๆยักๆ ชักเข้าชักออก เหมือนไม่รู้จะให้เรื่องราวดำเนินไปต่อยังไง … ผมคาดว่าปัญหาน่าจะเกิดจากฉบับตัดต่อแรกความยาว 4 ชั่วโมง แต่ต้องเล็มโน่นนี่นั่นให้เหลือเพียง 2 ชั่วโมง มันเลยเต็มไปด้วยความโล้เล้ลังเลใจของ David Lynch เอาฉากนั้นไม่เอาฉากนี้ นี่ไม่ใช่ว่าเขาประสบปัญหาเดียวกับ Dune (1984) หรอกหรือ??
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ หนังมีความเป็น’อเมริกัน’สูงมากๆ ตั้งแต่ตัวละคร (ที่โคตรจะ stereotype) วิถีชีวิต โลกทัศนคติ และสิ่งเลวร้ายซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ (สะท้อนสิ่งบังเกิดขึ้นในยุคสมัย ปธน. Richard Nixon) เลยไม่ค่อยน่าแปลกใจที่ผู้ชม/นักวิจารณ์ (โดยเฉพาะชาวอเมริกัน) จะยกย่องสรรเสริญ Blue Velvet (1984) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์(อเมริกัน)ยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ
“Blue Velvet has weathered the passage of time better than any other Oscar nominee that year, possibly better than any Hollywood movie of its decade. The shock of the new fades by definition, but if it has hardly done so in the case of Blue Velvet, that may be because its tone remains forever elusive”.
นักวิจารณ์ Dennis Lim กล่าวถึง Blue Velvet (1984) เมื่อปี 2016
David Keith Lynch (เกิดปี 1946) ศิลปินวาดภาพ นักเขียน เล่นดนตรี visual artist กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Missoula, Montana บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยให้กระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture) ส่วนมารดาสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีเชื้อสาย Finnish-Swedish อพยพสู่สหรัฐอเมริกาประมาณศตวรรษที่ 19, ช่วงชีวิตวัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป เพ้อฝันอยากจิตรกรแบบ Francis Bacon เคยเข้าศีกษา Corcoran School of the Arts and Design ก่อนย้ายมา School of the Museum of Fine Arts, Boston แต่ก็รู้สีกผิดหวังเพราะโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถสอนอะไรนอกเหนือวิชาความรู้ เลยตัดสินใจออกท่องยุโรปสักสามปี แต่หลังจากสองสัปดาห์ให้หลังก็ตัดสินใจหวนกลับบ้าน
ก่อนลงหลักปักถิ่นฐานยัง Philadelphia เข้าศีกษา Pennsylvania Academy of Fine Arts ระหว่างนี้ก็มีโอกาสสร้างหนังสั้น Six Men Getting Sick (Six Times) (1967) เพราะต้องการเห็นภาพวาดของตนเองสามารถขยับเคลื่อนไหว ปรากฎว่าชนะรางวัลอะไรสักอย่าง นำเงินที่ได้มาทดลองสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดมา The Alphabet (1968) มีส่วนผสมของ Live-Action กับอนิเมชั่น นำโปรเจคไปเสนอต่อ American Film Institute รับเงินมาอีกก้อนสร้างหนังเรื่องถัดไป จนกระทั่งกลายเป็น Eraserhead (1977) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ประสบความสำเร็จล้นหลาม (ทุนหลักหมื่น แต่ทำเงินหลายล้านเหรียญ!) จนบังเกิดกระแส Cult ติดตามมา
ผลงานถัดมา The Elephant Man (1980) ยังคงได้เสียงตอบรับดียอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ทำให้มีโอกาสเซ็นสัญญาสร้างภาพยนตร์ 3 เรื่อง กับโปรดิวเซอร์ Dino De Laurentiis แต่แค่ผลงานแรกก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า Dune (1984) แผนภาคต่อเรื่องที่สองเลยล่มสลาย หลงเหลืออีกโปรเจคอะไรได้ตามใจนายเลยแล้วกัน
Blue Velvet เป็นโปรเจคที่ผู้กำกับ Lynch ครุ่นคิดมาตั้งแต่ช่วงปี 1973 ได้แรงบันดาลใจจาก
- ต้องการนำเสนอความรู้สีก ‘feeling’ เกี่ยวกับความทรงจำที่ขมขื่น อยากหลงลืมแต่มันกลับตราฝังลีกในจิตวิญญาณ ตั้งชื่อไว้ด้วยว่า Blue Velvet (คงคล้ายๆอารมณ์ blue แต่เพิ่มสัมผัส velvet (กำมะหยี่))
- ภาพความคิด ‘หูมนุษย์ตกอยู่บนพื้นหญ้า’
- “I don’t know why it had to be an ear. Except it needed to be an opening of a part of the body, a hole into something else … The ear sits on the head and goes right into the mind so it felt perfect”.
- ความชื่นชอบบทเพลง Blue Velvet (1950) แต่งโดย Bernie Wayne & Lee Morris, ต้นฉบับขับร้องโดย Tony Bennett, แต่โด่งดังที่สุดขับร้องโดย Bobby Vinton เมื่อปี 1963 สามารถไต่ขึ้นอันดับ 1 ชาร์ท Billboard Hot 100 (คือฉบับที่นำมาใช้ในหนัง)
- “the mood that came with that song a mood, a time, and things that were of that time”.
- ความทรงจำเมื่อครั้นวัยเด็ก พบเห็นหญิงสาวร่างกายเปลือยเปล่าเดินอยู่บนท้องถนน นั่นคือภาพที่เขาบอกว่าลืมไม่ลง
- “When I was little, my brother and I were outdoors late one night, and we saw a naked woman come walking down the street toward us in a dazed state, crying. I have never forgotten that moment”.
Lynch เริ่มต้นพัฒนาบทอย่างจริงจังหลังเสร็จจาก The Elephant Man (1980) มีโอกาสพูดคุยโปรดิวเซอร์ Richard Roth เล่าให้ฟังอีกแนวคิดว่า เคยอยากแอบเข้าไปในห้องนอนหญิงสาว จับจ้องมองดูเธอ…ยามค่ำคืน แล้วถ้ามันนำทางไปสู่คดีฆาตกรรมลึกลับ
“I told him I had always wanted to sneak into a girl’s room to watch her into the night and that, maybe, at one point or another, I would see something that would be the clue to a murder mystery”.
ความล้มเหลวจาก Dune (1984) ไม่ได้ทำให้ผู้กำกับ Lynch รู้สึกหมดสิ้นหวังมากนัก มองเป็นโอกาสสำหรับเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ หลังจากไปทำอะไรสิ่งต่างๆสนองความพึงพอใจ ผ่อนคลายจากความตึงเครียด ก็พร้อมแล้วที่จะครุ่นคิดทดลองทำสิ่งแตกต่างออกไป
“After Dune I was down so far that anything was up! So it was just a euphoria. And when you work with that kind of feeling, you can take chances. You can experiment”.
เรื่องราวของ Jeffrey Beaumont (รับบทโดย Kyle MacLachlan) ชายหนุ่มเดินทางกลับบ้านที่ Lumberton, North Carolina หลังบิดาได้รับอุบัติเหตุล้มลงขณะกำลังรดน้ำต้นไม้ ระหว่างเดินกลับจากไปเยี่ยมเยียนที่โรงพยาบาล พบเจอชิ้นส่วนใบหูข้างหนึ่งตกอยู่บนพื้น เลยนำมันไปส่งให้นักสืบ John Williams (รับบทโดย George Dickerson) บิดาของรุ่นน้องสาว Sandy (รับบทโดย Laura Dern)
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของ Jeffrey และ Sandy ทั้งสองเลยร่วมกันออกสืบคดี ค้นพบบุคคลต้องสงสัย Dorothy Vallens (รับบทโดย Isabella Rossellini) เป็นเหตุให้ Jeffrey ตัดสินใจแอบเข้าไปในห้อง ซ่อนตัวอยู่ตู้เก็บเสื้อผ้า ก่อนพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ ความสัมพันธ์อันสุดวิปลาสระหว่าง Dorothy กับ Frank Booth (รับบทโดย Dennis Hopper) โดยไม่รู้ตัวเขากำลังเข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันกับกลุ่มอาชญากรที่มีความโฉดชั่วร้าย และมิอาจถอนตัวออกมาโดยง่าย
Kyle Merritt MacLachlan (เกิดปี 1959) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Yakima, Washingtion มารดาทำงานผู้จัดการ Youth Theater เลยส่งลูกชายไปร่ำเรียนเปียโน ฝีกฝนร้องเพลงตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ทำให้สามารถขึ้นเวทีการแสดงร้อง-เล่น-เต้น ตั้งแต่อายุ 15 ปี, ช่วงระหว่างกำลังศึกษาสาขาการแสดง University of Washington มีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ The Changeling (1980) เลยเกิดความมุ่งมั่นอยากเอาดีด้านนี้, ครั้งหนึ่งระหว่างออกทัวร์การแสดงช่วงปิดเทอม บังเอิญไปเข้าตาแมวมอง รับชักชวนให้มาทดสอบหน้ากล้อง จนกระทั่งมีโอกาสแสดงนำ Dune (1984) เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้กำกับ David Lynch ร่วมงานกันอีกหลายครั้ง Blue Velvet (1986), Twin Peaks (1990–91), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Flintstones (1994), Showgirls (1995) ฯ
รับบท Jeffrey Beaumont หนุ่มหล่อหน้าใสซื่อบริสุทธิ์สไตล์ ‘อเมริกัน’ ที่เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น หลังค้นพบใบหูปริศนาระหว่างทางกลับบ้าน ต้องการค้นหาคำตอบให้ได้ว่ามีอะไรบังเกิดขี้น ลงทุนปลอมตัวเป็นพนักงานกำจัดแมลงเข้าไปในห้องของ Dorothy Vallens ลักขโมยกุญแจสำรอง ยามค่ำคืนเข้าไปหลบซ่อนในตู้เสื้อผ้า กระทั่งได้เห็นด้านมืดสังคม ความโฉดชั่วร้ายของ Frank Booth เลยต้องการให้ความช่วยเหลือเธอคนนั้นให้รอดพ้นจากโชคชะตากรรม
สิ่งที่เป็นแรงผลักดันของ Jeffrey แรกเริ่มด้วยความอยากรู้อยากเห็นแบบวัยรุ่นทั่วๆไป แต่หลังจากได้พบเจอด้านมืดสังคม ค่ำคืนนั้นคือจุดเปลี่ยนแปลงชีวิต ครุ่นคิดต้องการเป็นฮีโร่ พระเอกจับโจร ตกหลุมรักและอยากช่วยเหลือ Dorothy ให้รอดพ้นจากเงื้อมมืออาชญากร Frank Booth (และผองพวก) นั่นเองทำให้เขาได้รับบทเรียนที่แสนเจ็บปวด ทั้งร่างกาย (ถูกอัดน่วม) และจิตใจ (รู้สีกเหมือนโดน Dorothy ทรยศหักหลัง)
MacLachlan ดูมีพัฒนาการดีขี้นมากเมื่อเทียบกับ Dune (1984) นั่นเพราะตัวละคร Jeffrey เป็นเพียงวัยรุ่นอเมริกันชน คนธรรมดาทั่วไป (ไม่ได้ต้องแบกภาระหน้าที่ ปลดแอกจักรวาลเหมือน Paul Atreides) พฤติกรรมแสดงออกจีงตรงไปตรงมา ใสซื่อบริสุทธิ์ อ่อนวัยไร้เดียงสา พบเห็นภาพสิ่งชั่วร้ายบาดตาบาดใจ เลยไม่ค่อยอยากยินยอมรับความจริง ครุ่นคิดว่านี่ไม่ต่างจากความเพ้อฝัน
ในบทสัมภาษณ์ของ MacLachlan เล่าว่าผู้กำกับ Lynch เป็นคนอยากรู้อยากเห็นไม่ต่างจากตัวละคร Jeffery โดยเฉพาะประเด็นต้องห้าม สิ่งที่ใครบางคนพยายามซุกซ่อนเร้น สังคมไม่สามารถยินยอมรับ นั่นเองทำให้หลังเสร็จจาก Blue Velvet (1986) จีงสานต่อด้วยแฟนไชร์ Twin Peaks (1990-91)
“He’s got a curiosity that does him in, the Jeffrey character. And David’s, I guess, drawn to these things. He’s got a great curiosity. And I think it’s different for everybody, when you’re talking about something that’s maybe in your mind forbidden or forbidden by society or whatever, if you happen to be a person drawn to that there is an excitement there and an energy there that is very tantalizing”.
Kyle MacLachlan พูดถีง David Lynch
Dennis Lee Hopper (1936 – 2010) ผู้กำกับ/นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Dodge City, Kansas โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง Old Globe Theatre ที่ San Diego ตามด้วย Actors Studio ณ New York City (เรียนกับ Lee Strasberg ถึง 5 ปี) มีผลงานการแสดงครั้งแรกในหนังของ James Dean (Idol ส่วนตัว) เรื่อง Rebel Without a Cause (1955) และ Giant (1956) แต่การเสียชีวิตของ Dean ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจอย่างมาก ทำให้เกือบเลิกเป็นนักแสดง แต่ยังได้รับโอกาสอยู่เรื่อยๆ Cool Hand Luke (1967), Hang ‘Em High (1968), จนตัดสินใจกำกับ Easy Rider (1969) แล้วตกม้าตายอีกครั้งจาก The Last Movie (1971)
รับบท Frank Booth หัวหน้ากลุ่มอาชญากร ค้ายา โสเภณี และมีอาการป่วยจิตเวช เป็นคนสองบุคลิกภาพ (Split Personality) ประกอบด้วย
- Daddy มีความซาดิสต์ (sadist) ชอบใช้กำลัง ความรุนแรง ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย
- Baby มีความออดอ้อน ใส่ซื่อบริสุทธิ์ ร้องเรียกความสนใจ (มักหลังสูดแก๊ส amyl nitrite เพื่อกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ)
เพราะตกหลุมรักในเสียงร้องของ Dorothy Vallens จีงลักพาตัวสามีและบุตรชาย บีบบังคับให้เธอกระทำทุกสิ่งอย่างตามคำร้องขอ กลายเป็นทาสกาม (Sex Slave) จนหญิงสาวเสพติดความรุนแรง ใกล้คลุ้มคลั่งเสียสติแตก จนกระทั่งพบเจอ Jeffrey ลากพาตัวไปเปิดหูเปิดตา เปิดบริสุทธิ์ยังโลกใต้ดิน
เกร็ด: นามสกุล Booth นำจาก John Wilkes Booth อาชญากรผู้ลอบสังหารปธน. Abraham Lincoln และในหนังยังมี Lincoln Street สถานที่ก่ออาชญากรรมของ Frank
ตัวละคร Frank ถือเป็นมวลรวมความชั่วร้ายที่ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้สังคม เพราะสามารถตอบสนองตัณหา/ความต้องการด้านมืดของผู้คน เลยเต็มไปด้วยเส้นสาย พรรคพวกมากมาย ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างอิสรภาพ อยากครุ่นคิด-พูด-กระทำการชั่วช้าสามาลย์ใดๆ ไม่ต้องหวาดเกรงกลัวผู้ใด กฎหมายมิอาจกระทำอะไรอาชญากรเหล่านี้
แต่ผมไม่อยากให้มอง Frank ในแง่ร้ายเพียงอย่างเดียวนะครับ มันชัดเจนมากๆว่าเขาปัญหาทางจิต แสดงว่าชีวิตต้องเคยพานผ่านอะไรๆที่เลวร้ายสุดๆมาแล้ว ซึ่งหนังจงใจไม่อธิบายอะไรเลย พบเห็นเพียงการแสดงออกปม ‘oedipus complex’ โกรธเกลียดพ่อ โหยหาความรักจากแม่ เลยคาดการณ์ได้แค่มีบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นกับครอบครัว มารดาอาจถูก(บิดา)กระทำร้ายร่างกาย ใช้ความรุนแรง ปลุกปล้ำข่มขืน ถ้อยคำหยาบคาย … กิจกรรมทั้งหลายที่ Frank แสดงออกต่อผู้อื่น ควรจะสะท้อนสิ่งที่เขาเคยประสบมากับตัว
ผู้กำกับ Lynch เขียนตัวละครนี้โดยมีภาพของ Michael Ironside ติดต่อนักแสดง อาทิ Harry Dean Stanton, Steven Berkoff, Willem Dafoe, Richard Bright ล้วนมองว่าตัวละครนี้มีความรุนแรงมากเกินไป กระทั่งมาถีง Dannis Hopper ตอบรับแทบจะโดยทันที
“I’ve got to play Frank! I am Frank!”
Dennis Hopper
แม้ตัวละครจะมีความผันแปรเปลี่ยนทางอารมณ์บ่อยครั้ง แต่ผมกลับรู้สีกว่า Hopper แสดงออกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคืออาการคลุ้มบ้าคลั่ง เสียสติแตก มันขาดความนุ่มนวล ลื่นไหล ทำให้ดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสักเท่าไหร่ เหมือนสัตว์เดรัจฉานกระทำทุกสิ่งอย่างตามสันชาตญาณ สนองพีงพอใจส่วนตนเท่านั้น … แต่บทบาทนี้ก็สร้างโอกาสให้ Hopper กลับมามีชื่อเสียง กอบกู้ศรัทธาให้ตนเอง และสามารถเข้าชิงหลายๆรางวัลด้านการแสดง
เกร็ด: Hopper เล่าว่าในกองถ่าย Lynch ไม่เคยพูดคำว่า ‘fuck’ เลยสักครั้งเดียว! แม้แต่ตอนสื่อสารคำพูดของตัวละคร มักใช้การชี้นิ้วที่บท หรือไม่ก็เอ่ยคำ ‘that word’ ปฏิเสธถ้อยคำหยาบคายต่อหน้าคนอื่น
“He can write it, but he won’t say it. He’s a peculiar man”.
แซว: ในหนังมีการใช้คำว่า ‘Fuck’ ทั้งหมด 56 ครั้ง มาจากปากของ Frank 55 ครั้ง (แทบทุกประโยคต้องมีคำว่า fuck สอดแทรกอยู่!) และอีกคำสุดท้ายจาก Ben (ตัวละครของ Dean Stockwell)
Isabella Fiorella Elettra Giovanna Rossellini (เกิดปี 1952) นักแสดงสัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่ Rome, เป็นบุตรของผู้กำกับ Roberto Rossellini และนักแสดง Ingrid Bergman, พออายุ 19 มุ่งสู่ New York City เข้าเรียนยัง Finch College พร้อมๆทำงานเป็นนักข่าวช่อง RAI, รับงานโมเดลลิ่ง โฆษณาเครื่องสำอางค์, ภาพยนตร์เรื่องแรก A Matte of Time (1976), เคยแต่งงานอยู่กิน Martin Scorsese ระหว่างปี 1979-82
รับบท Dorothy Vallens นักร้องประจำไนท์คลับแห่งหนี่ง ภายนอกดูเหมือนหญิงสาวปกติทั่วไป สวยสง่าน่าหลงใหล แต่แท้จริงแล้วสามีและบุตรชายถูกลักพาตัวโดยอาชญากร Frank Booth แลกกับการยินยอมปฏิบัติตามคำสั่ง กลายเป็นทาสกาม (Sex Slave) สนองตัณหาพีงพอใจอีกฝั่งฝ่าย กระทั่งการมาถีงของชายหนุ่ม Jeffrey ช่วยระบายสิ่งอีดอัดอั้นภายในออกไปได้บ้าง
อาการเครียด เก็บกดของ Dorothy ที่ไม่สามารถพบเจอหน้าลูกและสามี กอปรการถูก Frank ใช้กำลังข่มขืน ทำร้ายร่างกาย ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ กลายเป็นพวกมาโซคิส (masochist) โหยหาความรุนแรงขณะร่วมรัก สุขกระสันต์จากการเจ็บปวด และใช้คำพูดน่ารังเกียจชัง ใครอื่นได้ยินย่อมรู้สีกขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้
“I have your disease in me now”.
Dorothy Vallens
ทรงผมของ Dorothy แท้จริงแล้วคือวิก ผมปลอม สวมใส่เพื่อสร้างภาพ ปกปิดตัวตนแท้จริง ไม่รู้ศีรษะล้านเพราะความเครียด หรือถูกกระทำอะไรสักอย่าง แต่ถือว่าสะท้อนเข้ากับเบื้องหน้า-เบื้องหลังตัวละคร และเรื่องราวของหนังได้เป็นอย่างดี
เกร็ด: Dorothy คือชื่อตัวละครจากภาพยนตร์ The Wizard of Oz (1939) โหยหาบางสิ่งที่อย่างที่อยู่ด้านหลังสายรุ้ง แต่เมื่ออยู่บนนั้นกลับพบเจอแต่สิ่งชั่วร้าย อุปสรรคขวากหนามมากมาย ก่อนท้ายที่สุดจักพบเจอความสงบสุขแท้จริงอยู่ภายในจิตใจ
“My name is Dorothy, like Dorothy in ‘The Wizard of Oz.’ I take my red shoes and drop them from the building. To me it was like practicing suicide, and it was very important to me to have the name Dorothy because I was always dreaming for the rainbow. My character, although she was abused, she still had a hope, she still had something. So that scene to me, it wasn’t so important that it was in the film, but it gave me a dimension of this character meditating maybe to commit suicide but also having the red shoes and looking for the rainbow”.
Isabella Rossellini เล่าถึงหนึ่งในฉากที่ถูกตัดออกไป
ก่อนอื่นเลย Rossellini เคยเป็นโมเดลลิ่งถ่ายแบบนู้ด แม้ไม่ได้เปิดเผยท่อนล่างแต่ก็ถือว่ามีประสบการณ์ ยินยอมตอบรับบทบาทนี้ทันทีหลังอ่านบท (ตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Lynch คือ Helen Mirren แต่เพราะเขาติดต่อผ่าน Rossellini เลยสอบถามเธอว่าสนใจรับบทบาทนี้รีป่าว) ทุ่มเทสุดๆเพราะต้องการฉีกภาพลักษณ์เดิมๆ (รวมถีงเสื้อผ้าตัวเอง) และถือเป็นโอกาสครั้งแรกได้เล่นตัวละครดราม่าจริงจัง
เกร็ด: ระหว่างถ่ายทำหนังเรื่องนี้ผู้กำกับ Lynch ตกหลุมรัก Rossellini เลยใช้ชีวิตครองคู่อยู่ร่วมโดยไม่ได้แต่งงาน ระหว่างปี 1986–91
แม้ผมรู้สีกว่าเธอขับร้องบทเพลง Blue Velvet ไม่น่าประทับใจเท่า Bobby Vinton (เห็นว่าจริงๆแล้ว Rossellini ไม่ได้มีความสามารถด้านการร้องเพลง แต่ก็ถูกผลักดันโดยผู้กำกับ Lynch จนได้ผลลัพท์ดังกล่าว) แต่ลีลาการแสดงบนเวที ท่วงท่า-สีหน้า-อารมณ์ ช่างมีความ ‘Captivate’ จับจิตจับใจ เต็มไปด้วยเสน่ห์น่าหลงใหล แต่เบื้องลีกนั้นไซร้คงทำให้ใครๆหัวใจแตกสลาย ขณะพบเห็นตัวละครถูกข่มขืน กระทำชำเรา (จงใจไม่ได้ใส่กางเกงใน ระหว่างเปิดเผยให้ตัวละครของ Hopper ตรงเข้ามา…) จนมีสภาพกลายเป็นยัยเซิ้งไม่ต่างจากคนบ้า กระทั่งที่สุดไม่สามารถควบคุมสติ-คำพูด การแสดงออกของตนเองได้อีกต่อไป
การเปลืองตัวของ Rossellini หลายคนอาจรู้สีกว่ามันไม่คุ้มค่า น่าอับอายขายขี้หน้าเสียเปล่าๆ เพราะหลายๆไดเรคชั่นของผู้กำกับ Lynch แทนที่จะทำให้ดูจริงจังกลับออกมาตลกขบขัน ลีกๆแล้วผมก็รู้สีกเช่นนั้นนะ แต่ถ้าเธอไม่เกิดอคติต่อสิ่งเชื่อมั่นว่าคือ ‘งานศิลปะ’ เราก็ไม่ควรจะไปรังเกียจ ขยะแขยง ตรงกันข้ามมองเป็นความทุ่มเทสุดตัว น่ายกย่องสรรเสริญด้วยซ้ำนะ!
“That is suggesting that David Lynch used me or photographed me badly to ruin my reputation. I resent that because first of all I think it would hurt his feelings. But also it takes away from me, from my judgment. It says that I’m so helpless that a director can make me do something I don’t want to do. I’m not a kid. I understood the film. It’s beyond that – I loved it’.
Laura Elizabeth Dern (เกิดปี 1967) นักแสดงหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles บุตรสาวของนักแสดง Bruce Dern และ Diane Ladd หลังพ่อ-แม่แยกทาง อาศัยอยู่กับมารดา (และย่าเชื้อสาย Norwegian) ได้รับการเลี้ยงดูแบบคาทอลิก โดยมีแม่ทูนหัว Shelley Winters, เริ่มเข้าสู่วงการจากตัวประกอบ White Lightning (1973), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), พออายุ 15 ได้รับเลือกให้เป็น Miss Golden Globe, เริ่มมีชื่อเสียงจาก Mask (1985) คือเหตุผลที่ David Lynch เลือกมาร่วมงาน Blue Velvet (1986) ตามด้วย Wild at Heart (1990) และ Inland Empire (2006) โดยไม่เคยได้ทดสอบหน้ากล้องด้วยซ้ำ
รับบท Sandy Williams บุตรสาวของนักสืบ John Williams ยังเรียนหนังสือชั้นปีสุดท้าย คงด้วยสายเลือดตำรวจ (จากบิดา) เลยมีความอยากรู้อยากเห็นในคดีอาชญากรรม เมื่อพบเจอ Jeffrey ยินดีติดตาม ให้ความช่วยเหลือสุดความสามารถ ถีงขนาดเลิกราแฟนเก่า เพื่อออกเดทกับเขา (แท้จริงไปช่วยสืบคดี) และพอตระหนักว่าเหตุการณ์เริ่มบานปลาย จีงพยายามโน้มน้าวให้ล้มเลิกเสี่ยงอันตราย
แซว: Rossellini มีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่อง Mask (1985) แล้วเชื่อมั่นมากๆว่า Laura Dern เป็นคนตาบอดจริงๆ พบเจอกันครั้งแรกตรงเข้าไปจับมือถือแขน พยุงเดิน พูดบอกรายละเอียดข้างหน้าคือบันได ถูกถามกลับฉันก็มองเห็นอยู่ ทำไม?
บทบาทของ Dern ดูผิวเผินก็เหมือนสาวอเมริกันทั่วๆไป ‘girl next door’ ไม่สวยเท่าไหร่แต่น่าหลงใหลใคร่ค้นหา รักษาตัวรอดเมื่อเริ่มเผชิญหน้าอันตราย ดำเนินชีวิตไปตามครรลอง กฎกรอบของสังคม และมีความเห็นแก่ตนเป็นที่ตั้ง จนกระทั่งวินาทีรับล่วงรู้ข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับแฟนหนุ่ม แสดงอาการรังเกียจ ขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้ หน้าเบี้ยว ปากเปะ อยากเอาทุกสิ่งอย่างภายในทะลักออกมา … ปฏิกิริยาแสดงออกของ Dern ถือว่าระดับ Masterclass สมจริง ทรงพลัง ทำให้ผู้ชมรู้สีกคลื่นไส้ วิงเวียน อยากอาเจียนออกมาจริงๆ
ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลที่ใครๆมองข้ามการแสดงของ Dern เพราะความกลมกลืนเข้ากับเรื่องราวได้อย่างแนบเนียนเป็นธรรมชาติ ผิดกับ Hopper และ Rossellini ต่างสำแดงพลังอารมณ์อย่างสุดเหวี่ยง เต็มพิกัด! และโดยเฉพาะฉากนั้น (ของ Dern) มันดูน่าขยะแขยงเกินกว่าผู้ชมจะยินยอมรับไหว (ถ้าสมัยนี้คงกลายเป็น Meme ให้ใครต่อใครล้อเล่นจนโด่งดังแล้วละ)
ถ่ายภาพโดย Frederick Elmes (เกิดปี 1946) ตากล้องขาประจำ David Lynch และ Jim Jarmusch อาทิ Eraserhead (1977), Blue Velvet (1986), Wild at Heart (1990), Hulk (2003), Broken Flower (2005), The Namesake (2006) ฯ
แม้เมืองที่ใช้เป็นพื้นหลังของเรื่องราวจะคือ Lumberton, North Carolina แต่หนังปักหลักถ่ายทำที่ Wilmington, North Carolina (ห่างกันไม่ถึงร้อยไมล์) ส่วนฉากภายในเลือกสตูดิโอ EUE/Screen Gems (ตั้งอยู่ Wilmington) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถีงพฤศจิกายน 1985 เพียง 3-4 เดือนเท่านั้น! (เพราะไม่ต้องเสียเวลาสร้างฉากใหม่หมด เลยใช้เวลาถ่ายทำไม่นานเท่าไหร่)
ขณะที่ Eraserhead กับ The Elephant Man ยังเป็นการลองผิดลองถูก (อย่าไปพูดถึง Dune) งานภาพของ Blue Velvet ถือว่ามีพัฒนาการ เติบโตกลายมาเป็น Lynchian ให้ความรู้สึกเหมือน ‘ภาพวาดงานศิลปะ’ ที่ดูฟุ้งๆ ล่องลอย เหตุการณ์ทั้งหมดราวกับความเพ้อฝัน(ร้าย) ซึ่งเรื่องนี้ผสมผสานกลิ่นอาย Neo-Noir เล่นกับแสง-สีสัน ความมืดมิด สะท้อนสิ่งอัปลักษณ์ภายในจิตใจคน
น่าจะตั้งแต่เรื่องนี้ที่ผู้กำกับ Lynch ค้นพบความชื่นชอบหลงใหลในพรม ผ้าม่าน โดยเฉพาะที่ใช้บนเวที เพราะมันสามารถแบ่งแยกเบื้องหน้า-หลัง สิ่งที่ผู้ชมสามารถพบเห็น-ด้านหลังซ่อนเร้นสิ่งต่างๆมากมาย นั่นรวมไปถีงพื้นหญ้า-แมลงข้างใต้, ร่างกาย-จิตใจ, โลกความจริง-เพ้อฝันจินตนาการ ฯ
การจัดวางองค์ประกอบของช็อตนี้ ดูละม้ายคล้ายภาพวาดงานศิลปะของ Francis Bacon โดยเฉพาะเส้นเชือกขีงเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม (นั่นคือหนี่งในลายเซ็นของ Bacon เลยนะ!) เพื่อสร้างจุดศูนย์กลาง ตำแหน่งความสนใจ แล้วห้อมล้อมรายละเอียดรอบข้าง เด็กน้อยเดินเข้ามา และสุนัขเล่นกับสายฉีดน้ำ (วางตรงอวัยวะเพศพอดิบพอดี)
- เด็กน้อยและสุนัข แทนด้วยความใสซื่อบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา แสดงออกด้วยสันชาตญาณ ยังไม่สามารถรับรู้เข้าใจอะไรๆ ทำได้เพียงเพิกเฉยเฉื่อยชาต่อสิ่งบังเกิดขี้น
- การล้มลงของพ่อ ดูเหมือนเกิดจากโชคชะตา ความบังเอิญ (ดวงซวย) แต่ขณะเดียวกันเราอาจมองว่า เป็นสิ่งที่เขามองข้าม ไม่เห็นถีงปัญหา (ว่าก็อกน้ำมันเก่าแล้ว ไม่ยอมปรับเปลี่ยนบำรุงรักษา)
- ไฮไลท์คือ สุนัขเล่นน้ำที่พุ่งออกมาจากตำแหน่งอวัยวะเพศพอดิบพอดี คงต้องการสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายใน(กรอบสี่เหลี่ยม)เรื่องราวของหนัง ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแรงผลักทางเพศ (Jeffrey พบเห็น Dorothy ถูกข่มขืนกระทำชำเรา แต่กลับยังต้องการร่วมรักกับเธอ)
พ่อล้มลงเพราะอะไร? บอกตามตรงผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่สังเกตจากไดเรคชั่นตัดต่อสลับไปมากับก๊อกน้ำ สายฉีดพันกิ่งไม้ มันอาจจะพุ่งเข้ามากระแทกท้ายทอย/ศีรษะ กระทบกระเทือนภายในจนต้องเข้าเฝือก ห้ามขยับเคลื่อนไหวไปสักระยะหนี่ง … การเพิกเฉยเฉื่อยชาต่อปัญหาเล็กๆน้อยๆ อาจนำพาให้เกิดหายนะต่อตัวเราโดยไม่รู้ตัว
ช็อตที่ได้รับคำชมมากๆของหนัง คือการค่อยๆซูมเข้าไปภายในพื้นหญ้าจนพบเห็นแมลงนานาสายพันธุ์ยั้วเยี้ยอยู่ภายใต้ สื่อถีงโลกของเรานี้มีอะไรๆมากมายถูกปกปิด ซ่อนเร้น ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก จนกว่าจะจับจ้อง สังเกต มุดเข้าไปสำรวจหา ถีงค้นพบอะไรๆที่ไม่ค่อยงามตา สิ่งชั่วร้าย ความอัปลักษณ์ดำมืด อาชญากรใต้ดินก็เฉกเช่นกัน
สะท้อนเข้ากับเรื่องราวของ Jeffrey ใช้ชีวิตเพลิดเพลินบนพื้นผิวโลกอยู่ดีๆ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ต้องการค้นหาไขปริศนาบางอย่างให้จงได้ เขาจีงมุดลงไปสำรวจใต้ผืนดิน พบเจออาชญากรสุดวิปริต กว่าจะดิ้นหลุดก็เกือบเอาตัวไม่รอด เฉียดปางตาย!
ทำไมต้องเป็นใบหู? อันนี้แม้แต่ผู้กำกับ Lynch ก็ไม่แน่ใจในตนเองเหมือนกัน (ครุ่นคิดได้ด้วยสันชาตญาณ) เคยบอกว่าเป็นอวัยวะที่กล้องสามารถซูมแล้วดีงดูดผู้ชมเข้าไปข้างใน ส่วนตัวตีความว่า คือสิ่งทำให้เปิดหูเปิดตา รับรู้ว่าโลกใบนี้มีอะไรๆหลายอย่างถูกปกปิดบัง ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ ไม่เคยได้รับการเปิดเผยออกมา
เกร็ด: ใบหูสร้างขึ้นโดยนักออกแบบการแต่งหน้า (Makeup Artist) Jeff Goodwin เห็นว่าทำมาหลายรูปแบบมากๆ กว่าจะเป็นที่พึงพอใจ David Lynch โดยอันที่ใช้ในหนังลอกมาจากใบหูโปรดิวเซอร์ Fred C. Caruso เหมือนจะแฝงนัยยะอะไรรึเปล่าเนี่ย –“
ผมชอบการปรากฎตัวของ Laura Dern มากๆ เดินออกมาจากความมืดมิดจนถีงระยะแสงสว่างสาดส่องถีง สื่อถีงความลีกลับ น่าพิศวง (ในตัวเธอ) และยังสามารถตีความว่าเธอคือบุคคลในความเพ้อฝัน/จินตนาการของ Jeffrey ก็ยังได้
เอาจริงๆผมรู้สีกเสียดายพล็อตตัวละคร Sandy ครุ่นคิดว่าคงมีเนื้อหาถูกตัดออกไปมาก เพราะเธอเป็นแทนความลีกลับ น่าพิศวง ไม่แตกต่างจาก Frank หรือ Dorothy (ถือเป็นตัวละครคู่ขนานในโลกความจริง) รอคอยให้ Jeffrey ทำการสืบสวน สำรวจค้นหา แต่ไปๆมาๆหลงเหลือเพียง ‘girl next door’ ตกหลุมรักกันตามประสาวัยรุ่น หนุ่ม-สาวอเมริกัน สัมพันธ์ดาดๆไม่ค่อยน่าสนใจสักเท่าไหร่
ผู้กำกับ Lynch มีความหลงใหลบรรยากาศในงานศิลปะของ Edward Hopper (1882-1967) สามารถพบเห็นจากแรงบันดาลออกแบบห้องพักของ Dorothy การใช้สี แสงสว่าง เฟอร์นิเจอร์จัดวาง ส่วนทิศทางมุมกล้องผมนึกถึงภาพยนตร์ The Apartment (1960) ของผู้กำกับ Billy Wilder สังเกตว่าแทบจะหยั่งรากตรงตำแหน่งตู้เสื้อผ้า (ที่ซุกซ่อนตัวของ Jeffrey) พบเห็นเพียงห้องครัว ห้องรับแขก โซฟา และประตูห้องน้ำเปิดออก (เห็นแค่อ่างล้างหน้า) แต่จะไม่ลุกลามเข้าไปถึงห้องนอน
หนึ่งในลายเซ็นต์ของหนังนัวร์ คือ(แสงสว่างสาดส่องผ่าน)บานเกร็ด หรืออะไรสักอย่างที่ดูเหมือนซี่กรง เพื่อให้ความรู้สึกเหมือนตัวละครกำลังถูกคุมขังอยู่ในอะไรบางอย่าง ช็อตมืดๆที่ผมนำมานี้คือขณะ Jeffrey หลบซ่อนตัวในตู้เสื้อผ้า แอบถ้ำมอง Dorothy กำลัง … ว่ากันตามตรง พฤติกรรมถ้ำมอง (voyeur) แอบเข้าไปในห้องหญิงสาว ต่อให้อ้างว่าเพื่อทำการสืบสวนคดี มันก็มีความผิดปกติทางจิตอยู่เล็กๆนะ
ทำไมต้องหลบซ่อนในตู้เสื้อผ้า? นอกจากเป็นสถานที่ยอดนิยมของหนังสืบสวนสอบสวน ในเชิงสัญลักษณ์มักแทนด้วยตัวตนแท้จริง างสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นไว้ภายใน (สะท้อนเข้ากับใจความหลักของหนัง)
ส่วนการทิ่มแทงมีดไปที่ใบหน้าของ Jeffrey จนได้จุดเลือดเล็กๆ ผมมองว่ามันคือการทำเครื่องหมายเป็นเจ้าของ (เหมือนสุนัขฉี่เพื่อประกาศอาณาเขต) ซึ่งหลังจากสั่งให้เขาถอดเสื้อผ้า ไอจ้อนของชายหนุ่มก็ทำหน้าที่เป็นมีดทิ่มแทงเธอกลับคืน
ฉากนี้มีชื่อเรียกว่า ‘ritualistic rape scene’ พิธีกรรมการข่มขืนของ Frank ก่อนอื่นต้องลดแสงสว่าง ไม่ให้มองหน้าสบตา หลังกริบวอดก้า สูดดม amyl nitrite ให้เกิดอารมณ์ทางเพศ กลายร่างเป็นเด็กน้อยร้องเรียกแม่ คืบคลานเข่าเข้าหา ต้องการหวนกลับเข้าไปยังครรภ์มารดา จากนั้นฉุดกระชากลงลงพื้น ข่มขืนชำเรา เสร็จสมแล้วยืนค่อม เธอคือของๆฉัน
เกร็ด: ผู้กำกับ Lynch แทบไม่สามารถหยุดหัวเราะระหว่างถ่ายทำฉากนี้จน Rossellini ต้องเข้าไปตำหนิต่อว่า ขำอะไรหนักหนา? แต่หลังจากนั้นเมื่อไหร่เธอรับชมซีนดังกล่าว ก็มิอาจอดกลั้นความขบขันได้เหมือนกัน
เกร็ด2: ดั้งเดิมนั้นผู้กำกับ Lynch ตั้งใจจะใช้แก๊ส Helium เพื่อทำให้เสียงตัวละครเปลี่ยน (สะท้อนบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน) แต่เป็น Hopper ให้คำแนะนำสูดดม amyl nitrite น่าจะจากประสบการณ์ส่วนตัวเลยกระมัง
“I’m thankful to Dennis, because up until the last minute it was gonna be helium — to make the difference between ‘Daddy’ and the baby that much more. But I didn’t want it to be funny. So helium went out the window and became just a gas. Then, in the first rehearsal, Dennis said, ‘David, I know what’s in these different canisters.’ And I said, ‘Thank God, Dennis, that you know that!’ And he named all the gases”.
David Lynch
วินาทีที่ Jeffrey ออกจากอพาร์ทเม้นท์ของ Dorothy จะพบเห็นช็อตนี้ที่เขาเดินจากความมืดมิด เงยหน้าขึ้นรับแสงสว่างจร้า เรียกว่าเป็นซีนแนวคิดเดียวกับฉากปรากฎตัวครั้งแรกของ Sandy สามารถสื่อถึงสิ่งที่ชายหนุ่มพบเห็นทั้งหมดค่ำคืนนี้ ราวกับว่าแค่เพียงความฝัน(ร้าย) และช็อตต่อไปเปลวไฟมอดดับ ลุกขึ้นจากเตียงนอน … หนังสร้างความสองแง่สองง่ามนี้ไว้ตลอดทางนะครับ เพื่อให้อิสระผู้ชมได้ครุ่นคิดตีความเอาเอง ทั้งหมดอาจเป็นเรื่องจริง หรือแค่เพ้อฝัน(ร้าย)ก็ได้เหมือนกัน
Jeffrey สารภาพสิ่งที่พบเห็น(ในห้องของ Dorothy)ต่อ(แม่พระ) Sandy ยังสถานที่พื้นหลังภายนอกโบสถ์แห่งหนึ่ง สภาพจิตใจของเขายังเต็มไปด้วยความหดหู่ สิ้นหวัง ไม่อยากเชื่อสายตาว่าโลกเรานี้อะไรอย่างนั้นซุกซ่อนเร้นอยู่ด้วย ซึ่งหญิงสาวก็ได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับนกโรบิน สัตว์สัญลักษณ์แห่งความรัก สามารถพัดพาความมืดมิด/สิ่งชั่วร้ายให้มลายสูญสลายไปได้
Sex Scene ระหว่าง Jeffrey กับ Dorothy เห็นว่าโจ๋งครึ่มและมีความยาวมากกว่านี้มากๆ แต่ผู้กำกับ Lynch เลือกนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ หลังตบฟันร่วง เปลวเพลิงราคะลุกโชติช่วง และ Step-Printing (Slow Motion) ขณะร่วมรัก ทั้งหมดนี้สิ้นสุดในระยะเวลาไม่ถึง 30 วินาที มั้งนะ
หลังเสร็จกามกิจ Jeffrey หยิบหมวกของเล่น (ของลูกชายของ Dorothy) ราวกับจะสื่อว่าเขากลายเป็นตัวแทนบุตรชาย(ของเธอ) บังเกิดความเอ็นดู รักใคร่ (ในทางวิปลาสพอสมควร) … แต่เห็นว่าแท้จริงแล้วช็อตนี้ ถ่ายทำไว้ให้เป็นก่อนเริ่มต้นมี Sex และการกระทำดังกล่าวของ Jeffrey ทำให้ Dorothy ครุ่นคิดว่าเขาคือสามีตนเอง (การตีความแตกต่างตรงกันข้ามเลยนะ!)
ณ. ร้าน This is it! (ของ Ben) เมื่อเข้าไปจะพบเห็นภาพเปลือยหญิงสาว โสเภณีอวบๆ และหุ่นหน้าตาบิดเบี้ยว นี่เป็นลักษณะ Triptych ภาพสามบานพับที่พบเห็นประจำในผลงานศิลปะของ Francis Bacon สะท้อนถึงบุคคล ธาตุแท้ตัวตนมนุษย์ และสถานที่แห่งนี้ (คือซ่องโสเภณี)
โดยเฉพาะมุมกล้องช็อตนี้ (ถือเป็นช็อตประจำฉากก็ว่าได้) พบเห็นผ้าม่านสองฟากฝั่ง และหลังจากนี้ตัวละคร Ben ก็จะขับร้องบทเพลง In Dream ดูราวกับออกแบบให้เหมือนพื้นที่การแสดง เวที หรือในความเพ้อฝัน
Robert Dean Stockwell (1936-2021) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles ในครอบครัวนักแสดง ระหว่างบิดามีผลงานละครเวที Broadways เรื่อง Okalahoma! ได้ยินว่ามีคัดเลือกนักแสดงเด็ก เลยส่งบุตรชายไปสมัคร ปรากฎว่าได้เซ็นสัญญาสตูดิโอ MGM ตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ อาทิ Anchors Aweigh (1945), The Green Years (1946), Gentleman’s Agreement (1947), The Boy with Green Hair (1948) ฯ
“I didn’t enjoy acting particularly, when I was young. I thought it was a lot of work. There were a few films that I enjoyed, they were comedies, they were not important films, weren’t very successful, so I was always pretty much known as a serious kid. I got those kind of roles and I didn’t care for them very much”.
Dean Stockwell
ความสำเร็จในช่วงวัยเด็ก ทำให้พอเติมโตขึ้น Stockwell อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปทำอย่างอื่นบ้าง เรียนหนังสือ (แต่แค่ปีเดียวก็ดรอปออกมา) แต่งงาน-เลิกรา มาๆไปๆในวงการอยู่เป็นทศวรรษ แต่การันตีฝีมือด้วยผลงาน Compulsion (1959), Long Day’s Journey into Night (1962) ทั้งสองเรื่องคว้ารางวัล Cannes: Best Actor
กระทั่งตัดสินใจจริงๆจังๆงานแสดงตั้งแต่ Psych-Out (1968), The Last Movie (1971), กลายเป็นตำนานกับ Paris, Texas (1984), Blue Velvet (1986), Gardens of Stone (1987), Beverly Hills Cop II (1987), Married to the Mob (1988) ฯ และพอก้าวสู่ทศวรรษ 90s โย้กย้ายมาวงการโทรทัศน์ Quantum Leap (1989-93)
Stockwell ถือเป็นอีกหนึ่งนักแสดงยอดฝีมือที่ถูกหลงลืมตามกาลเวลา เหตุผลหนึ่งเพราะเข้าๆออกๆวงการอยู่หลายครั้ง ทำให้สูญเสียช่วงเวลาควรได้รับการจดจำที่สุด (ช่วงวัยรุ่น/ผู้ใหญ่ตอนต้น) คนส่วนจะรำลึกถึงพี่แกถ้าไม่นักแสดงเด็ก ก็ข้ามมาผู้ใหญ่กลางคน(จนผู้ชรา) ในบทบาทคอเมอดี้ ไม่ก็จริงจังจนบ้าๆบอๆหลุดโลกไปเลย
แซว: สมัยวัยรุ่นหล่อพอๆ James Dean เลยนะ!
ผมไม่ค่อยมีโอกาสรับชมผลงานของ Stockwell สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เคยพบเห็นเล่นเป็นตัวประกอบ บทสมทบ คอยแย่งซีน ฉกชิงความโดดเด่นแบบภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับการยกย่องว่าคือ Iconic น่าจะเป็นบทคนเมายาที่สมจริงที่สุด ยิ่งกว่าคนเมายาจริงๆเสียอีก! แต่ตอนนั้นไม่ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลด้านการแสดงใดๆ ให้ตายเถอะ!
นี่คือช็อตที่สามารถเปรียบเทียบแทนค่ำคืนของ Jeffrey หลังถูก Frank ลากพาตัวไปท่องโลกใต้ดิน เธอคนนี้คือหนึ่งในโสเภณีที่ติดตามมาด้วยจากร้านของ Ben ปีนป่ายขึ้นบนหลังคารถแล้วโยกเต้น ระหว่างชายหนุ่มถูกชกต่อย อัดน่วม กระทำชำเรา จนลงไปนอนจมกองเลือดกับพื้น (เหมือนต้องการสื่อว่า ความรุนแรงก็คือความบันเทิงรูปแบบหนึ่งในยุคสมัยนั้น/นี้)
หลังจากถูกซ้อมจนสลบหมดสติ ช็อตต่อมาคือเปลวไฟที่มอบดับ Jeffrey ตื่นขึ้นจากฝันร้าย แต่ร่างกายของเขาสะบักสะบอม กว่าจะลุกขึ้นเดินได้ก็พบเห็นพื้นหลังคือโรงงานแปรรูปไม้ (Meadow Lane) สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงภายในของชายหนุ่ม รับรู้แล้วว่าถึงเวลาต้องทำอะไรบางอย่าง ไม่สามารถถลำลึกลงไปมากกว่านี้
ตัดมาที่ห้องนอนของ Jeffrey บานเกร็ดเปิดออก แสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา ถึงเวลาแล้วที่จะต้องออกจากกรงขัง ตื่นจากฝันร้าย หวนกลับมาเผชิญหน้าโลกความจริง
การร่ำร้องไห้ของ Jeffrey ไม่ได้สื่อถึงความเจ็บปวดทางกายหลังโดนอัดน่วม แต่แสดงออกถึงความอึดอัด ทุกข์ทรมานใจ เคยครุ่นคิดว่าฉันสามารถเอาชนะอุปสรรคปัญหา ให้ความช่วยเหลือ Dorothy กลายเป็นพระเอก ฮีโร่ที่ใครๆนับหน้าถือตา แต่หลังพบเห็นความบ้าคลั่งเสียสติแตกของ Frank ค่อยตระหนักว่าตนเองมิอาจเผชิญหน้าต่อกรมวลรวมชั่วร้ายเหล่านั้น … สรุปคือ ร่ำร้องไห้เพราะสูญเสียความเชื่อมั่นใจในตนเอง
Jeffrey ตัดสินใจนำหลักฐานทั้งหมดส่งมอบให้นักสืบ John Williams โดยไม่พาดพิงถึง Sandy แต่ที่ผมนำช็อตนี้ก็เพราะหญิงสาวพยายามเกาะแก่งบันได ซึ่งมีลักษณะเหมือนซี่กรง ราวกับว่าเธอคุมขังตนเองให้อยู่ภายใต้กฎกรอบของครอบครัว อยากจะช่วยเหลือแฟนหนุ่มใจจะขาด แต่มิอาจขัดคำสั่งพ่อลงได้
ล้อกับอารัมบท เปลี่ยนจากพ่อเป็นลูกกำลังรดน้ำต้นไม้ยังสวนหน้าบ้าน Jeffrey ต่อจากนี้จะถูกลูกหลง ไม่ใช่อุบัติเหตุจากก็อกน้ำ แต่คือเหตุการณ์ที่เขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันมาตลอดทั้งเรื่อง นั่นคือระหว่างทางกลับจากนัดเท พบเห็น Dorothy ร่างกายเปลือยกายเดินอยู่ในสวน (ก็อกน้ำที่ทำให้พ่อเป็นอัมพาต = Dorothy ทำให้ jeffrey สงบนิ่งไปนาน มิอาจพูดอะไรออกมาได้เพราะทั้งหมดคือความจริง)
ผมพยายามจับจ้องมองสองรูปภาพบนผนังเหนือบนโซฟา แต่ก็ดูไม่ออกเท่าไหร่ว่าคือภาพอะไร แต่คาดคิดว่าน่าจะสะท้อนสภาพจิตใจตัวละครทั้งสองฝั่ง Jeffrey รูปซ้าย (ดูยุ่งเยิง สับสนอลม่าน), Sandy รูปขวา (ดูอ้างว้าง ล่องลอย หมดสิ้นวัน)
แต่ละคำที่ Dorothy พรอดออกมาจากปาก ทำให้ Sandy ค่อยๆถอยระยะห่างออกไปเรื่อยๆ ยินยอมรับสิ่งบังเกิดขึ้นไม่ได้ ก่อนแสดงปฏิกิริยาสีหน้า ให้ความรู้สึกเหมือนภาพวาด The Scream (1893) ของจิตรกร Edvard Munch ผู้บุกเบิกยุคสมัย Expressionist
ภายหลังการกรีดร้องจากภายใน Sandy นั่งลงคุยโทรศัพท์กับ Jeffrey กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลภาพสะท้อนในกระจกเงา, นักแสดงคนโปรด Montgomery Clift (บนหัวเตียงนอน), จนมาพบเห็นใบหน้าของหญิงสาว แม้หัวใจยังสั่นสะท้าน แตกสลาย แต่ก็เริ่มครุ่นคิดทำความเข้าใจด้วยเหตุผล เชื่อ-ไม่เชื่อไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะ(เชื่อใน)ความรักนั้น ทำให้เธอสามารถยินยอมรับ พร้อมให้อภัยในตัวเขา … แม่พระมาโปรด
มันเกิดบ้าบอคอแตกอะไรขึ้นในฉากนี้? ผมเองก็ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ แต่สภาพของทั้งสองตายเหมือนไม่ตาย ยังสามารถทรงตัว ยืน-นั่ง คั่งค้างตนเองไว้ในสภาพเช่นนั้น (ได้อย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกัน)
ผมครุ่นคิดว่าความตั้งใจของผู้กำกับ Lynch ต้องการนำเสนอความ ‘Absurdity’ ของการเข่นฆ่า หักหลัง ในโลกแห่งอาชญากรรม มันไม่ต้องการเหตุผลใดๆ อาชญากรเหล่านั้นทำไปเพื่อสนองผลประโยชน์ ความพึงพอใจส่วนตนเท่านั้น … ไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้นฉากนี้ ถือว่ามีสภาพไม่ต่างจากฝันร้าย เข้าใจแค่นั้นก็เพียงพอแล้วนะครับ
ผู้กำกับ Lynch มีความหมกมุ่นกับการยีงศีรษะ เลือดสาด สมองไหล เพื่อสื่อถึงจุดสิ้นสุดความ(เหมือน)ฝัน จินตนาการ (ของผู้เสียชีวิต) และผู้ลั่นไกจักได้ฟื้นตื่นขึ้น (จากฝันร้าย)
เกร็ด: ในบทดั้งเดิมจะมีอีกตอบจบ Dorothy ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ก็ไม่รู้จะไปแทรกอยู่ตอนไหน แต่ในหนังเปลี่ยนให้จบแบบ Happy Ending และมีความฟุ้งๆราวกับกำลังอยู่ในความเพ้อฝัน
ภายหลังไคลน์แม็กซ์ผ่านพ้น หนุ่มสาวคู่รักก็ถาโถมเข้าใส่ ไม่สนอะไรใครรอบข้าง แสงสว่างสาดส่องเจิดจรัสจร้า ราวกับพวกเขากำลังจะตื่นขึ้นมาจากความฝันร้าย … เอาจริงๆนี่ควรจะเป็นช็อตจบแล้วนะครับ ไม่ต้องเยิ่นเย้อทิ้งท้ายปัจฉิมบทก็ยังได้ หลังจากนี้มันคือส่วนเกินไม่ได้มีความสลักสำคัญสักเท่าไหร่
นกโรบิน แม้ตัวเล็กแต่ไม่กลัวคน ขึ้นชื่อเรื่องความกล้าหาญ ทั้งยังสีสันสะดุดตา หน้าอกสีเพลิง ชอบทำตัวพองกลม, สำหรับชาวพื้นเมือง Aborigine (Australia) ยกย่องโรบินอกแดง คือวีรบุรุษนำไฟมาสู่โลกมนุษย์
ในบริบทของหนัง คือสัญลักษณ์ของความรัก (กล่าวโดยตัวละคร Sandy) หลังพานผ่านเรื่องร้ายๆ นกตัวนี้จะคือสัญลักษณ์แห่งความสุขสว่าง สดใส ชีวิตเริ่มต้นใหม่ … แต่ผมว่าใครๆก็น่าจะบอกได้ว่า นี่มันนกปลอม! ขยับเคลื่อนไหวไม่เป็นธรรมชาติเสียเลย ก็แน่ละ ถ้านกจริงๆมันจะคาบแมลงไว้ในปาก กำจัดสิ่งชั่วร้ายใต้พื้นโลกให้หมดไปได้อย่างไร
In the dream, there was our world, and the world was dark because there weren’t any robins and the robins represented love. And for the longest time, there was just this darkness. And all of a sudden, thousands of robins were set free, and they flew down and brought this blinding light of love. And it seemed like that love would be the only thing that would make any difference. And it did. So, I guess it means there is trouble ’til the robins come.
Sandy Williams
ตัดต่อโดย Duwayne Dunham (เกิดปี 1952) สัญชาติอเมริกัน อาจารย์ประจำ USC School of Cinematic Arts เคยเป็นหนึ่งในผู้ช่วยตัดต่อ Star Wars (1977), Apocalypse Now (1979), ร่วมงาน David Lynch หลายครั้งทีเดียว Blue Velvet (1986), Wild at Heart (1990) และซีรีย์ Twin Peaks (1990-91)
ตามสไตล์หนังนัวร์ เรื่องราวทั้งหมดดำเนินผ่านมุมมองสายตาของ Jeffrey Beaumont (ยกเว้นอารัมบทและปัจฉิมบท) แต่จะมีลูกเล่นเล่าย้อนอดีต และลีลาตัดต่อไม่เปิดเผยภาพบาดตาบาดใจเกินไป (ตามคำร้องขอของ MPAA) ทำให้ทิศทางของหนังไม่เป็นเส้นตรงดิ่งจนเกินไป สามารถแบ่งออกเป็น 4 องก์
- อารัมบท, ร้อยเรียงชุดภาพเมือง Lumberton, North Carolina ก่อนพบเห็นอุบัติเหตุคาดไม่ถึงต่อบิดาของ Jeffrey จบลงที่กล้องค่อยๆเคลื่อนลงใต้พื้นหญ้า พบเห็นแมลงเล็กแมลงน้อยชอนไชยั้วเยี้ย
- องก์หนึ่ง ความใคร่อยากรู้อยากเห็น, หลังพบเจอใบหูปริศนา พยายามทำตัวเป็นนักสืบออกค้นหาความจริง จนกระทั่งสามารถลอบเข้าห้องพักของ Dorothy Vallens
- องก์สอง พบเห็นสิ่งซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้, อาชญากร Frank Booth กระทำชำเรา Dorothy จึงต้องการให้ความช่วยเหลือเธอ นำพาตนเองเข้าเสี่ยงอันตราย
- องก์สาม ผจญภัยโลกใต้ดิน, กระทั่งถูกพบเจอโดย Frank ลากพาตัวไปเปิดหูเปิดตายังร้านของ Ben แล้วถูกอัดน่วม ทอดทิ้งยังสถานที่ห่างไกลผู้คน
- องก์สี่ ตะเกียกตะกายหวนกลับสู่ภาคพื้นดิน, นำหลักฐานทั้งหมดไปบอกกับนักสืบดูแลคดี ค่ำคืนนั้นจักคือบทสรุปของทุกสรรพสิ่งอย่าง
- ปัจฉิมบท, ร้อยเรียงชุดภาพเมือง Lumberton, North Carolina ต่อมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร
ฉบับตัดต่อแรกสุดของหนังความยาวกว่า 4 ชั่วโมง แน่นอนว่ามันเยิ่นยาวเกินฉายในโรงภาพยนตร์ จำต้องตัดโน่นนี่นั่นออกไป เพื่อเป้าหมายตามสัญญาคือ 2 ชั่วโมง (เปะๆไม่มีขาด-เกิน) นั่นทำให้มีฟุตเทจจำนวนมากมายถูกทอดทิ้งไว้อย่างน่าเสียดาย
มีหลายฉากที่นำเสนอผ่านลีลาตัดต่อได้อย่างสร้างสรรค์ รวมรัดตัดตอนเรื่องราวในคราเดียวกัน ยกตัวอย่าง
- ขณะ Jeffrey แอบติดตาม Frank จนพบเห็นเครือข่าย คนใหญ่คนโตมากมาย ใช้การดำเนินเรื่องด้วยเสียงบรรยายเล่าให้ Sandy รับฟัง (ภาพประกอบคำบรรยาย)
- หรือฉากพิธีกรรมข่มขืน ผู้กำกับ Lynch เล่าว่าต้องตัดตามคำสั่ง MPAA ไม่ให้เห็นการตบตี ถูกเนื้อถูกตัว เลยต้องเลี่ยงไปนำเสนอปฏิกิริยาของ Jeffrey ซึ่งเขารู้สึกว่าการกระทำเช่นนั้น ทำให้ผู้ชมรู้สึก ‘disturbing’ ดูรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก
ช่วงที่ผมรู้สึกว่าหนังตัดต่อไม่ดีเอาเสียเลย คือช่วงระหว่างองก์ 2 และ 3 หลังจาก Jeffrey พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ (Frank ข่มขืน Dorothy) เขาตัดสินใจหลบหนีออกจากห้อง (นั่นแปลว่ายังยินยอมรับกับภาพเหตุการณ์บังเกิดขึ้นไม่ได้) จากนี้มันควรมีฉากของการ ‘realization’ ตระหนักรู้หรือค้นพบสิ่งที่เป็นแรงผลักดัน/จูงใจ ทำไมถึงอยากให้ความช่วยเหลือ Dorothy ไม่ใช่จู่ๆเคาะประตู ถาโถมเข้าใส่ ร่วมรักหลับนอน ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเธอ … ไดเรคชั่นดังกล่าวของหนัง ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า Jeffrey แค่อยากเป็นฮีโร่ผดุงความยุติธรรม แลกเปลี่ยนด้วยการได้ร่วมรักหลับนอน สนองความใคร่ตัณหาส่วนตน
อีกช่วงขณะหนึ่งที่หลายคนน่าจะสังเกตได้ว่า คือตอนพบเจอ Dorothy เปลือยเปล่าอยู่หน้าบ้าน (ของ Jeffrey) มันเป็นฉากไม่มีปี่มีขลุ่ย จู่ๆก็มาปรากฎตัว เพราะอะไร? ทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้? มันเกิดอะไรขึ้น? และการตัดต่อยังดูเร่งรีบ รวบรัดตัดตอน ไม่ใช่กำลังจะมีเรื่องชกต่อยกับแฟนเก่า Sandy อยู่รึ? ทั้งตัวละครและผู้กำกับ Lynch ต่างทำอะไรไม่ถูก เหมือนไม่รู้จะนำเสนอออกมาอย่างไร
นักวิจารณ์ Roger Ebert รังเกียจฉากนี้เข้ากระดูกดำเลยนะ เพราะมองว่าไดเรคชั่นของผู้กำกับ Lynch นำเสนออะไรออกมาก็ไม่รู้ (ดูขบขันมากกว่าจริงจัง) เทียบไม่ได้ต่อความทุ่มเทของ Rossellini ยินยอมเปลือยกายต่อที่สาธารณะ
“In one scene, she walks naked on the lawn of the local police chief, while strangers form a crowd. I found that her scenes had an unexpected effect. I responded to their raw power, yes, but the more I thought about them, the angrier I got, because Lynch surrounds them with what is essentially a satire on small-town comedies. He generates this immense and painful power, and then uses it merely as counterpoint to an immature satire.
Lynch shows us Rossellini naked and humiliated, and then cuts to jokes about the slogans on the local radio station”.
Roger Ebert
เพลงประกอบโดย Angelo Badalamenti (เกิดปี 1937) เชื้อสายอิตาเลี่ยน สัญชาติอเมริกัน สำเร็จการศึกษาจาก Eastman School of Music ตามด้วยปริญญาโท สาขาแต่งเพลง, French horn และเปียโน Manhattan School of Music, เริ่มทำงานเขียนเพลงให้ Perrey and Kingsley, ตามด้วยเพลงประกอบภาพยนตร์เกรดบี, กระทั่งแจ้งเกิดโด่งดังจาก Blue Velvet (1986) เลยกลายเป็นขาประจำ David Lynch, และมีโอกาสประพันธ์ Opening Theme ให้ 1992 Barcelona Summer Olympics
งานเพลงของ Badalamenti ช่วยแต่งเติมสัมผัสนัวร์ๆของหนัง (ได้รับอิทธิพลจาก Bernard Herrmann ผสมกับ Franz Waxman) จัดเต็มวงออเคสตร้า (ได้แรงบันดาลใจจาก Shostakovich: Symphony No. 15) เต็มไปด้วยความลึกลับ พิศวง ขณะเดียวกันก็รู้สึกน่าหลงใหล ดึงดูดความสนใจให้อยากติดตาม ออกค้นหาข้อเท็จจริง เรื่องราวซ่อนเร้นอยู่ภายใน
Badalamenti ยังเป็นโค้ชสอนร้องเพลงให้ Isabella Rossellini ที่ไม่มีความสามารถด้านนี้ จนออกมาพอรับฟังได้ (ผมชื่นชมในความพยายามอยู่นะ แต่ก็ไม่รู้สึกประทับใจสักเท่าไหร่) เห็นว่าได้แรงบันดาลใจลีลาการขับร้องของ This Mortal Coil บทเพลง Song to the Siren (1970) ต้นฉบับโดย Tim Buckley
ฉากนี้ถือเป็นหนี่งในลายเซ็นต์ของผู้กำกับ Lynch ตัวละคร(หญิง)ขับร้องเพลง เพราะบ้างไม่เพราะบ้าง เพื่อสร้างความประทับ ตราตรีงให้ผู้ฟัง (และผู้ชม) แต่ในกรณีของ Rossellini ผมรู้สีกว่ามันต้องมีเอกลักษณ์ ความทรงพลังให้มากกว่านี้ เพื่อสามารถจับจิตจับใจใครต่อใครได้จริงๆ
ปล. Angelo Badalamenti มาร่วมรับเชิญ (Cameo) เล่นเปียโนอยู่ด้านหลัง
เกร็ด: Song to the Siren คือหนี่งในเพลงโปรดของผู้กำกับ Lynch แต่ไม่สามารถติดต่อขอลิขสิทธิ์ได้ จนกระทั่ง The Mortal Coil ได้รับชม Blue Velvet (1986) เลยยินยอมมอบลิขสิทธิ์เพลงนี้ ถูกนำไปใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องถัดๆไป Lost Highway (1997)
เมื่อไม่ได้ลิขสิทธิ์เพลง Song to the Siren ผู้กำกับ Lynch เลยเขียนคำร้อง Mysteries of Love (ซี่งมีความยาวเพียง 4-5 บรรทัดเท่านั้น) แล้วส่งต่อให้ Badalamenti ช่วยแต่งทำนอง (ไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งแรกเลยหรือเปล่าที่ Lynch ค้นพบความสนใจด้านดนตรีเพิ่มขึ้นมา) ฉบับใช้ในหนังขับร้องโดย Julee Cruise
Sometimes a wind blows
And you and I
Float
In love
And kiss
Forever
In a darkness
And the mysteries
Of love
Come clear
And dance
In light
In you
In me
And show
That we
Are loveSometimes a wind blows
And the mysteries of love
Come clear.
ลักษณะฟุ้งๆ (Echo) ของบทเพลงและเสียงร้องของ Julee Cruise มีความละม้ายคล้ายสไตล์ New Age สร้างบรรยากาศ ‘เหมือนฝัน’ หลังจากเหตุการณ์ร้ายๆในชีวิตกำลังเคลื่อนพานผ่านไป จากนี้พวกเขา ตัวละคร (และผู้ชม) กำลังจักค้นพบโลกใบใหม่ ดินแดนที่ส่องสว่าง เจิดจรัสจร้า หมดสูญสิ้นความมืดมิด สิ่งชั่วร้ายซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ … นั่นคืออิทธิพลแห่งความรัก ทำให้โลกของใครบางคนสว่างสดใส กลายเป็นสีชมพูขึ้นมาทันตา
In Dreams (1963) แต่ง/ขับร้องโดย Roy Orbison ให้คำนิยามว่า ‘An operatic ballad of lost love’ ไต่สูงสุดอันดับ 7 ชาร์ท Billboard Hot 100
Orbison เล่าว่าจุดเริ่มต้นของเพลงนี้ เกิดขึ้นระหว่างกำลังครึ่งหลับครึ่งตื่น (หลายๆเพลงของพี่แกก็ครุ่นคิดขึ้นขณะกำลังหลับฝันเช่นกัน) พอเสียงประกาศในวิทยุ ‘ต่อไปนี้เป็นบทเพลงใหม่ของ Elvis Presley’ ฟื้นตื่นลุกขึ้นมาเขียนเพลงเสร็จสิ้นภายใน 20 นาที
“Boy that’s good. I need to finish that. Too bad things don’t happen in my dreams”.
Roy Orbison
ดั้งเดิมนั้น Orbison ไม่ยินยอมอนุญาตให้นำเพลงนี้ไปใช้ แต่เพราะนี่คือจิตวิญญาณของหนัง Badalamenti เลยทำการปรับปรุงบทเพลง เปลี่ยนโน๊ตบางท่อน ลดคีย์ลงระดับหนึ่ง เรียกว่าดิ้นจนหลุดรอดกฎหมายลิขสิทธิ์ (ในทางเทคนิคถือว่าเป็นคนละเพลงไปแล้ว)
แซว: ใจความดั้งเดิมของบทเพลงนี้เกี่ยวกับความรักที่สูญเสีย โหยหาคิดถึงเธอ พบเจอได้แค่เพียงความฝัน, แต่ในหนังตีความใหม่ถึงสภาพล่องลอย อาการหลังเสพยา จิตวิญญาณไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
ซึ่งหลังจาก Orbison ค้นพบระหว่างรับชมหนัง บังเกิดความชื่นชอบประทับใจมากๆ ถึงขนาดนัดรวมสมาชิกในวง บันทึกเสียงใหม่ และนำภาพบางส่วน(จากหนัง)ใส่ลงใน Music Video ด้วยเทคนิคที่ … ลองรับชมดูเองแล้วกันนะครับ นำคลิปมาจาก Official Channel (ยืนยันตัวแล้วด้วย) ดูมันช่างล่องลอย เหมือนฝัน เหนือจินตนาการ
หนี่งในฉากที่เป็น Iconic แห่งวงการภาพยนตร์! ไม่ใช่แค่ลีลาการลิปซิ้งด้วยสีหน้ามึนเมาของ Dean Stockwell แต่ยังปฏิกิริยากรีดกรายจากภายในของ Dennis Hopper ทำให้เหตุการณ์ขณะนี้มีลักษณะ ‘เหมือนฝัน’ ล่องลอยปลิดปลิวราวกับปุยเมฆ โลกความจริงทำไมช่างเหมือนฝันร้าย เช่นนั้นแล้วเมื่อนอนหลับตา เราจะพบเห็นอะไรกัน
A candy-colored clown they call the sandman
Tiptoes to my room every night
Just to sprinkle stardust and to whisper
Go to sleep, everything is alright
หลายคนอาจบังเกิดความสงสัย candy-colored clown ที่ชื่อว่า sandman มันคืออะไร? ถ้าตามบริบทของเพลงเป็นการอ้างอิงจากปรัมปราพื้นบ้าน (Scandinavian folklore) หมายถีงยักษ์ (Genie) ที่ทำให้เด็กๆนอนหลับฝันดี, แต่ในเรื่องสั้นของ E. T. A. Hoffman ชื่อว่า Der Sandmann (1816) เล่าว่าถ้าเด็กคนไหนไม่หลับตานอน จะถูก Sandman มาควักดวงตา
ส่วนบริบทของหนัง ผมครุ่นคิดเข้าใจไปเองว่า sandman สามารถสื่อถึงยาเสพติด ไอซ์, อี, กัญชา, เฮโรอีน ฯ ที่มีหลากหลายสีสัน เสพเข้าไปแล้วสามารถหลับฝัน ล่องลอยละเมอเพ้อคิดถึงเธอ … ก็น่าจะได้เหมือนกัน
เกร็ด: ดั้งเดิมบทเพลงนี้ตั้งใจให้แค่เป็นเพลงประกอบพื้นหลัง ดังจากเทปคาสเซ็ท แต่ขณะซักซ้อมก่อนถ่ายทำ Stockwell พอดิบพอดียืนอยู่ตำแหน่งหน้าไมค์ เลยตัดสินใจคว้าจับ ลิปซิ้ง โชว์นอกบท สร้างความประทับใจให้ผู้กำกับ Lynch มอบอิสรภาพเต็มที่ในการ Improvised และกลายเป็นอมตะโดยทันที!
แซว: ตัวละครของ Hopper กดหยุดเพลงนี้ก่อนท่อนต่อไปจะขึ้นว่า “But just before the dawn, I awake and find you gone” นั่นแปลว่าเขาไม่อยากตื่นขึ้นจากฝัน
เรื่องราวของภาพยนตร์ Blue Velvet (1986) นำเสนอหลายๆสิ่งอย่างที่ถูกซุกซ่อนเร้น ปกปิดไว้ภายใน ไม่เป็นที่รับล่วงรู้ของสาธารณะ เพราะเมื่อไหร่ได้รับการเปิดเผยออกมา ย่อมสร้างความตื่นตระหนกตกใจ หวาดสะพรีงกลัวถีงทรวงใน ราวกับ’ฝันร้าย’ ผู้คนอาจยินยอมรับความจริงไม่ได้ โลกเรานี้มีสิ่งโฉดชั่วร้ายขนาดนั้นตั้งแต่ตอนไหน
สหรัฐอเมริกา ก็ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่รัฐบาลเริ่มสร้างภาพ บิดเบือนข้อเท็จจริง ปกปิดบังอะไรหลายๆอย่างต่อประชาชน โดยเฉพาะเหตุผลการเข้าร่วมสงครามเวียดนาม ลามมาถึงความคอรัปชั่นของปธน. Richard Nixon ซึ่งหลังได้รับการขุดคุ้ย เปิดโปง ถึงขั้นต้องลงจากตำแหน่ง นั่นคือช่วงเวลาแห่งความตื่นตระหนกตกใจ ‘ฝันร้าย’ของอเมริกันชน สั่นคลอนความเชื่อมั่นศรัทธา ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถยินยอมรับความจริงดังกล่าวได้
เฉกเช่นเดียวกับเมืองเล็กๆ Lumberton, North Carolina มองภายนอกก็ดูปกติทั่วไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างสงบสุข มองทางไหนก็โลกสวยฟ้าใส แต่แท้จริงแล้วกลับมีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ นำโดยหัวหน้าแก๊งค์อาชญากรรม Frank Booth พร้อมเครือข่ายขายยา ค้าผู้หญิง และจ่ายเงินใต้โต๊ะตำรวจ นี่ยังไม่รวมถึงความวิปลาสที่อยู่ในจิตใจ (ของ Frank) เป็นคนสองบุคลิกภาพ (Split Personality) เดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวเด็ก-เดี๋ยวผู้ใหญ่ ไม่มีใครสามารถคาดเดาอารมณ์ คือ’ฝันร้าย’ของผู้พบเห็น
สำหรับ Jeffrey Beaumont ชายหนุ่มหน้าใส ตัวแทนอเมริกันชนทั่วๆไป ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงลองเล่นเป็นนักสืบ ติดตามค้นหาเบาะแส จนค้นพบ’ฝันร้าย’ซุกซ่อนเร้นอยู่ใต้สังคม ตระหนักว่าฉันต้องทำบางสิ่งอย่าง ขุดคุ้ยหาหลักฐาน ผดุงความยุติธรรม เพื่อให้บ้านเกิดเมืองนอนแห่งนี้ มีความสงบสันติสุขภายหลังกำจัดภัยพาล
‘ฝันร้าย’ น่าจะเป็นคำอธิบายภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ตรงตัวที่สุด เพราะทุกสิ่งอย่างที่ Jeffrey พานผ่านพบเจอ (หลังถูก Frank ลากพาตัวไปท่องเที่ยวรัตติกาล) มันช่างเหนือจริง เหมือนฝัน จับต้องไม่ได้ แต่มันกลับกลายเป็นประสบการณ์มิอาจลืมเลือน ตราฝังติดตรึงอยู่ในจิตวิญญาณ เมื่อไหร่หวนระลึกถึงช่วงเวลาดังกล่าว มันมีคำเรียกอารมณ์ ‘Blue Velvet’
Blue แปลว่า สีน้ำเงิน, ส่วน feeling blue คือความหดหู่ ซีมเศร้า หมองหม่น อารมณ์ไม่ดีสักเท่าไหร่, Velvet แปลว่า กำมะหยี่ ผ้าที่มีความนุ่มลื่น เบาสบาย เก็บความเย็นได้นิดหน่อย, ในหนัง Blue Velvet คือชุดกำมะหยี่สีน้ำเงินที่ Dorothy Vallens สวมใส่ขณะแสดงคอนเสิร์ต และ Frank Booth ชื่นชอบสัมผัส ลูบไล้ ยัดเข้าในปาก (ของบุคคลที่ต้องการร่วมรัก/ข่มขืน) แสดงถีงความสัมพันธ์บางอย่างกับชุดดังกล่าว (ผมคาดคิดว่าอาจเป็นชุดโปรดของแม่ ซี่งจะสอดคล้องกับปม ‘oedipus complex’)
Blue Velvet สำหรับผู้กำกับ Lynch เปรียบเทียบดั่งสภาวะทางอารมณ์หนึ่งของมนุษย์ ผมรู้สีกว่ามีความละม้ายคล้าย ‘Nostalgia’ ต่างเป็นการหวนระลึกนึกถึงอดีต โหยหาความทรงจำมิอาจลบลืมเลือน แตกต่างตรงปฏิกิริยาที่แสดงออกมา
- บุคคลผู้กำลังมีอารมณ์ Nostalgia มักรู้สีกเบาสบาย พักผ่อนคลาย เบิกบานฤทัย อมยิ้มกริ่ม สุขเริงร่าอยู่ภายใน
- Blue Velvet จะซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวดร้าว หวานอมขมขื่น เสียดายต่อวันคืนที่สูญสิ้นไป
ในชีวิตของ David Lynch มีสิ่งต่างๆมากมายไม่ได้อยากประสบพบเจอ แต่พอมันประจักษ์ต่อสายตา ก็กลายเป็นความทรงจำมิอาจลืมเลือน ตราฝังติดตรึงอยู่ในจิตวิญญาณ
ผมอยากเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับความล่มจมของ Dune (1984) นั่นคือประสบการณ์ลืมไม่ลงของผู้กำกับ Lynch เริ่มต้นด้วยความอยากรู้อยากเห็น (แบบเดียวกับตัวละครเปี๊ยบ) แม้ไม่เคยอ่านต้นฉบับนวนิยาย แต่มีความใคร่สนใจในโปรดิวเซอร์ Dino De Laurentiis พอเริ่มกระบวนการสรรค์สร้าง ก็พบเห็นสิ่งต่างๆไม่ค่อยเป็นดั่งใจ กระทั่งสตูดิโอเข้ามาแทรกแซง ขโมยฉบับตัดต่อสุดท้าย เปิดเผยความชั่วร้ายออกมา ผลลัพท์ภาพยนตร์ถูกผู้คนด่ากราด สภาพย่อยยับเยิน กลายเป็นหนี่งใน ‘Worst Movie of All-Time’
ฉากที่ผมครุ่นคิดว่าผู้กำกับ Lynch ต้องการสะท้อนสภาวะทางจิตใจ(ของตนเอง) ต่อความล่มจมของ Dune (1984) คือขณะที่ Isabella Rossellini เปลือยกลายเดินบนท้องถนน มันเป็นความรู้สีกอับอายขายขี้หน้า ‘humiliating’ แถมตัวละครไม่สามารถควบคุมสติ อารมณ์ แม้กระทั่งคำพูด พรั่งพรูสิ่งที่ควรเป็นความลับสองต่อสองออกมา ก่อให้ปฏิกิริยาสีหน้าของ Laura Dern ขยะแขยง รับไม่ได้ เอาภาพยนตร์เรื่องนี้ไปทิ้งห่างให้ไกลๆ ชาตินี้จะไม่ขอยุ่งเกี่ยวใดๆอีกต่อไป (ด้วยเหตุนี้เขาเลยปฏิเสธไม่ทำ director’s cut ต่อ Dune (1984))
บางคนเมื่อประสบเหตุการณ์ลักษณะคล้ายๆกันนั้น อาจตกอยู่ในสภาวะท้อแท้ หมดสิ้นหวัง คลุ้มคลั่งจนอาจกลายเป็นบ้า แต่สำหรับผู้กำกับ Lynch ความล้มเหลวไม่ได้ทำให้ชีวิตดับสิ้นสูญ! ช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อพานผ่านไปก็จักลงเหลือในความทรงจำเพียง ‘ฝันร้าย’ ให้มันกลายบทเรียนสอนว่า อย่ากระทำผิดซ้ำซากครั้งที่สอง แค่นั้นตอนจบก็ Happy Ending แล้วละ!
หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาล Montréal World Film Festival ตามด้วย Toronto Festival of Festivals ก่อนเข้าโรงในสหรัฐอเมริกาวันที่ 19 กันยายน 1986 ได้เสียงตอบรับก้ำๆกึ่งๆจากนักวิจาณ์ (มีทั้งชอบมากๆ และเกลียดมากๆ) ส่วนผู้ชมหลายคนเดินออกกลางคันเพื่อขอเงินคืน ถีงขนาดมีคำเรียก ‘national firestorm’ ยินยอมรับไม่ได้กับสิ่งบังเกิดขึ้น
“the most brilliantly disturbing film ever to have its roots in small-town American life”.
Sheila Benson จากนิตยสาร Los Angeles Times
ด้วยทุนสร้าง $6 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้เพียง $8.6 ล้านเหรียญ (ไม่มีรายรับต่างประเทศ) แต่หลังจากกลายเป็น Home Video ยอดขาย VHS มากมายถล่มทลาย กลายเป็นกระแส Cult Follwing จนน่าจะคืนทุนสำเร็จ
ช่วงปลายปีหนังสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการเข้าชิง Gloden Globe 2 สาขา [Best Screenplay และ Best Supporting Actor (Dennis Hopper)] และ Oscar: Best Director [พ่ายให้ Oliver Stone จากเรื่อง Platoon (1986)] แบบที่ไม่มีใครคาดคิดถึง
เมื่อปี 2011, ผู้กำกับ Lynch ได้ค้นพบฟีล์มที่หลงเหลือจากฉบับตัดต่อแรก จึงนำมาทำเป็น Deleted Scene ความยาวรวมแล้วกว่า 50 นาที รวบรวมอยู่ใน Blu-Ray ฉบับ 25th Anniversary Edition
และปี 2019, หนังได้รับการบูรณะคุณภาพ 4K โดย Criterion Collection (สามารถหารับชมได้ใน Channel ของ Criterion เลยนะครับ) และเพิ่มเติมสารคดี Behind-the-Scene ชื่อว่า Blue Velvet Revisited (2016)
ในบรรดาลิสจัดอันดับเท่าที่ผมหาได้เกี่ยวกับ Blue Velvet (1986) แทบทั้งนั้นล้วนเป็นสถาบันในสหรัฐอเมริกา
- AFI: 100 Years…100 Thrills, อันดับที่ 96
- AFI: 10 Top 10, อันดับที่ 8 สำหรับ Mystery Film
- AFI: 100 Years…100 Heroes & Villains, ตัวร้าย Frank Booth อันดับที่ 36
- Premiere: The 100 Greatest Movie Characters of All Time, ตัวละคร Frank Booth อันดับที่ 54
- “the most monstrously funny creations in cinema history”.
- Empire: Greatest Film Character of all time ตัวละคร Frank Booth อันดับที่ 67
- Entertainment Weekly: 100 Greatest Movies of All Time
- ฉบับปี 1999 อันดับที่ 37
- ฉบับปี 2013 อันดับที่ 15
- Premiere: 100 Greatest Quotes in Cinema
- “Don’t you fucking look at me!” อันดับที่ 74
- Premiere: The 25 Most Dangerous Movies
ความประทับใจของผมต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ คือลีลาการนำเสนอบทเพลง Blue Velvet และ In Dream ที่ทำให้ตอนรับชมคราก่อนคลุ้มคลั่งอยู่เป็นเดือนๆ แสดงออกปฏิกิริยาแทบไม่แตกต่างจากตัวละครของ Dennis Hopper และถ้อยคำสถบ ‘Fuck you, you fucking fuck!’ น่าจะเป็นการ fuck ที่ fuck ที่สุดของสื่อภาพยนตร์ (แล้วกระมัง)
เพิ่มเติมจากการรับชมครานี้ ผมขอยก MVP (Most Valuable Player) ให้กับ Laura Dern สีหน้าปฏิกิริยาหลังจากรับรู้พบเห็นตัวละครของ Isabella Rossellini มันหลอกหลอนสั่นสะท้านยิ่งกว่าภาพวาด The Scream (1983) ของ Edvard Munch เสียอีกนะ! แต่เธอกลับไม่ได้เข้าชิงรางวัลด้านการแสดงสักสาขาเดียว wtf!
นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์เหมาะกับผู้ชมทั่วๆไป แนะนำเฉพาะคอหนังนัวร์ อาชญากรรมเหี้ยมๆ คัลท์โหดๆ มีความซาดิสต์เล็กๆอยู่ในใจ, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ ศึกษาพฤติกรรมตัวละคร, ศิลปิน จิตรกร ชื่นชอบครุ่นคิดวิเคราะห์ นัยยะเชิงสัญลักษณ์มากมายเต็มไปด้วย
จัดเรต 18+ เต็มไปด้วยความรุนแรง อาชญากรฆ่า-ข่มขืน-เสพยา Fuck มากมายเต็มไปหมด
คำโปรย | Blue Velvet ฝันร้ายของ David Lynch ที่กลับกลายเป็นคัลท์-คลาสสิก
คุณภาพ | คัลท์-คลาสสิก
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล
Blue Velvet (1986) : David Lynch ♥♥♥♥
(19/8/2016) ในความสวยงามของเมืองแห่งหนึ่ง ยังมีโลกอีกด้านที่มืดมิด ราวกับฝันร้าย, ผลงานกำกับของ David Lynch แนว Neo-Noir ที่พาเราไปสำรวจด้านสีน้ำเงินของสังคมและจิตใจมนุษย์, ไม่แนะนำกับคนอายุต่ำกว่า 18
หลังจากผมได้ดู Mulholland Drive (2001) ก็ตั้งหน้าตั้งตารอวันดู Blue Velvet มาสักพักแล้วนะครับ จำไม่ได้ว่าเคยดูหนังเรื่องนี้มาก่อนหรือเปล่า แต่มีความรู้สึกคุ้นเคยอย่างบอกไม่ถูก เป็นอารมณ์ Nostalgia ในสิ่งที่เคยหลงใหลคลั่งไคล้, เอาจริงๆ ผมคิดว่าตัวเองไม่เคยดูหนังเรื่องนี้นะครับ แต่จดจำองค์ประกอบ สไตล์ บรรยากาศมาจากหนังเรื่องอื่นๆ อาทิ Psycho, Pulp Fiction ฯ เมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้เลยรู้สึกคุ้นเคยกับอะไรหลายๆอย่าง
หลังประสบความล้มเหลวกับ Dune (1984) ผู้กำกับ David Lynch เลยต้องการทำหนังที่ มีความเป็นส่วนตัว (Personal Story) ด้วยการให้ตัวละครในหนังมีลักษณะ Surrealist คล้ายๆกับหนัง debut เรื่อง Eraserhead (1977)
Blue Velvet เป็นชื่อเพลง ที่ร้องโดย Tony Bennet แต่งโดย Bernie Wayne and Lee Morris ในปี 1951 ในสไตล์ Rhythm & Blues แต่เวอร์ชั่นที่เป็นแรงบันดาลใจให้หนังเรื่องนี้ ร้องโดย Bobby Vinton ที่ได้ Cover ในปี 1963 (เวอร์ชั่นของ Vinton เคยติดอันดับ 1 Billboard Chart แต่ของ Bennet ติดแค่ Top 20), Lynch บอกว่า ‘นี่ไม่ใช่สไตล์เพลงที่ชอบเท่าไหร่ แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่น่าพิศวง ทำให้คิดถึงอะไรหลายๆอย่าง เช่น สนามหญ้าและเพื่อนบ้าน’ ไปฟังเพลงกันก่อนนะครับ สร้างบรรยากาศเวลาอ่านบทความนี้
จุดเริ่มต้นของหนังมาจากอารมณ์ ‘a feeling’ ของ Lynch ล้วนๆ, จากนั้นก็มีภาพของ หูมนุษย์ วางอยู่กับพื้น Lynch บอกว่า ‘ตอนนั้นก็ไม่รู้ทำไมต้องเป็นหู แค่รู้สึกว่าฉากเปิดเรื่อง มันต้องมีอวัยวะอะไรสักอย่างของมนุษย์ที่วางอยู่กับพื้น’ Lynch ใช้เวลาพัฒนาบทอยู่หลายปีนับตั้งแต่เขาเกิด ‘ความรู้สึก’ นี้ตั้งแต่ปี 1973 จนสร้างหนังเรื่องอื่นเสร็จไป 3 เรื่องแล้ว Eraserhead (1977), The Elephant Man (1980), Dune (1984) วันหนึ่ง ได้พบกับโปรดิวเซอร์ Richard Roth ที่เล่าให้ฟังว่า ‘ฉันอยากแอบเข้าไปในห้องของหญิงสาว แล้วจ้องมองเธอทั้งคืน … มันคงจะดีถ้ามีฆาตกรรมเกิดขึ้น’ นั่นทำให้ Lynch ได้ไอเดียคร่าวๆทั้งหมดของหนัง
ฉากเปิดเรื่อง เป็นภาพสวยๆของเมืองๆหนึ่ง มีชายสูงวัยคนหนึ่งกำลังรดน้ำต้นไม้อย่างมีความสุข แต่อยู่ดีๆเขาก็ล้มลง (น่าจะหลอดเลือดในสมองแตก) เด็กน้อยไร้เดียงสาเดินเข้ามา หมากำลังเล่นสายฉีดน้ำ กล้องค่อยๆเคลื่อนแทรกตัวเข้าไปในพงหญ้า เห็นฝูงแมลงตัวเล็กๆสีดำ ที่เป็นตัวแทนของด้านมืด (Underground) ของเมืองที่หลบซ่อนอยู่ นี่ถือเป็นภาพรวมและใจความของหนัง
บทหนังเรื่องนี้ ได้ถูกยืนให้กับหลายสตูดิโอใน Hollywood แต่เพราะความรุนแรงและฉากโป๊เปลือยที่มีมากในหนัง ทำให้ถูกปฏิเสธ สุดท้ายเป็นสตูดิโอ Indy ชื่อ De Laurentiis Entertainment Group ของโปรดิวเซอร์ชาวอิตาเลี่ยน Dino De Laurentiis ที่ตกลงใจ ยอมให้ทุนสร้างหนังเรื่องนี้ (คนเดียวกับที่ให้ทุน Fellini สร้าง La Strada และ Nights of Cabiria), ด้วยทุนสร้างตอนแรก $10 ล้านเหรียญ Lynch ได้ขอข้อตกลงเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รับอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ (ไม่ให้สตูดิโอเข้ามาก้าวก่ายผลงาน) และยอมลดเงินเดือนตัวตนเองลง จนเหลือใช้ทุนสร้างแค่ $6 ล้านเหรียญ ทำให้สตูดิโอปล่อย Lynch เต็มที่ จะทำหนังเจ๋งก็ไม่ว่ากัน (ในอเมริกาทำเงิน $8.6 ล้าน ได้ขาดทุนสมใจอยาก)
David Lynch สร้างหนังเรื่องนี้โดยให้มีบรรยากาศของ Neo-Noir ที่ถือว่าคารวะสไตล์ Noir ในทุกๆด้าน อาทิ งานภาพ, สีสัน, มุมมองของหนัง (ที่เล่าผ่านมุมมองพระเอกเท่านั้น และทุกฉากจะต้องมีเขาปรากฎอยู่) และเรื่องราวที่มีความซับซ้อน และสำรวจด้านมืดในจิตใจของมนุษย์ ฯ
Neo-Noir (New-Black) คำว่า Neo มาจากภาษา Greek แปลว่าใหม่ (New) และภาษาฝรั่งเศส Noir แปลว่าดำ (Black) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาพยนตร์ film noir หลังจากเว้นว่างความนิยมในทศวรรษ 60s เริ่มต้นใหม่นับจากยุค 70s ที่มีการพัฒนาสไตล์ ตีม สีสัน องค์ประกอบ และงานภาพที่มีโดดเด่นยิ่งขึ้น และผสมผสานแนวคิด รูปแบบของภาพยนตร์ยุคสมัยใหม่ (จะเรียกว่า Modern-Noir ก็ยังได้)
สำหรับนักแสดงในหนัง หลายคนยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ (ปัจจุบันก็ยังอาจไม่รู้จักเท่าไหร่)
Kyle MacLachlan เพิ่งจะได้ร่วมงานกับ David Lynch และมีชื่อเสียงจากหนังเรื่อง Dune (1984), รับบท Jeffrey Beaumont ชายหนุ่มที่เพิ่งเรียนจบ ยังอ่อนต่อโลกและหาเป้าหมายชีวิตต่อไปไม่พบ ได้บังเอิญเจอหูข้างหนึ่ง เกิดความสนใจ ใคร่รู้ในความน่าพิศวง จึงได้ออกค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
ได้พบกับ Sandy Williams รับบทโดย Laura Dern ลูกสาวของนายตำรวจ John Williams รับบทโดย George Dickerson, Sandy ยังเรียนไม่จบ (ชั้นปีสุดท้าย) เป็นหญิงสาวเรียบร้อย (Neat) มีความใคร่รู้ใคร่สนใจ อยากทำอะไรตื่นเต้นๆ แต่ยังกลัวๆกล้าๆ เธอเป็นคนบอก Jeffrey เกี่ยวกับผู้ต้องสงสัย ทำให้ได้พัวพันกับเรื่องราวสุดประหลาดซับซ้อน และเธอค่อยๆตกหลุมรัก Jeffrey ขึ้นเรื่อยๆ
Molly Ringwald เป็นตัวเลือกแรกที่จะมารับบท Sandy แต่เพราะแม่เธอได้อ่านบทหนังและรู้สึกว่าหนังมีความรุนแรงเกินไปเลยบอกปัด, Laura Dern ถือเป็นตัวเลือกสุดท้าย เพราะนักแสดงอื่นที่ Lynch คาดหวังไว้ปฏิเสธหมด และการทดสอบหน้ากล้องคือ Lynch นัดให้เธอกับ MacLachlan มาพบกับนอกรอบ แล้วดูว่าเคมีของทั้งสองเข้ากันได้หรือเปล่า (ซึ่งก็เข้ากันดี Dern เลยได้รับเลือก)
Isabella Rossellini ลูกสาวของ Ingrid Bergman กับ Roberto Rossellini รับบท Dorothy Vallens หญิงสาวปริศนา ทาปากแดงแจ๊ด ทรงผมม้วนๆ เธอเป็นนักร้องในคาเฟ่แห่งหนึ่ง เบื้องหลังเป็นยังไงผมไม่ขอพูดถึงแล้วกัน รู้แค่ว่าเธอได้ตกเป็นเหยื่อของอะไรบางอย่าง และการแสดงออกของเธอ สามารถวิเคราะห์ได้ในประเด็นความเก็บกดที่ต้องการแสดงออก แต่ไม่สามารถทำได้จึงกลายเป็นลงโทษตัวเอง (Masochist)
ก่อนที่จะมาเป็น Rossellini ที่รับบทนี้ Lynch เคยยื่นข้อเสนอให้ Debbie Harry เพราะเขาเขียนตัวละครนี้ขึ้นตามแบบของเธอ แต่เจ้าตัวกลับบอกปัดเ, ตัวเลือกถัดมาคือ Helen Mirren ซึ่งเธอก็ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับหนังพอสมควร ช่วยเหลือปรับปรุงบทหนัง แต่เพราะตัวละครนี้ไม่ใช่สำหรับเธอ สุดท้ายจึงถอนตัวออไป, สำหรับ Rossellini ก่อนหน้านี้เธอเป็น Model และเป็นนักแสดงที่ไม่ดังมาก (ทั้งๆที่เป็นลูกสาวของ Ingrid Bergman ได้ความสวยจากแม่มาไม่น้อย กลับไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าไหร่) ซึ่งกับหนังเรื่องนี้ Rossellini ได้พบกับ Lynch ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ด้วยความบังเอิญพบกันใน New York ซึ่งทั้งสองคุยกันอย่างถูกคอ วันถัดมา Lynch จึงได้ส่งข้อความชักชวน Rossellini ให้เข้ามาอ่านบทหนัง และลงเอยด้วยการรับบท, ก่อนหน้านี้ Isabella Rossellini ได้แต่งงานกับ Martin Scorsese ใช้ชีวิตคู่ด้วยกันหลายปีแล้วก็หย่าขาด จากนั้นเธอก็ไปแต่งงานกับหนุ่มนอกวงการอีกคนแล้วก็เลิกกัน, ระหว่างถ่ายหนังเรื่องนี้ Lynch ก็หยอดขนมจีบใส่ Rossellini เห็นว่าทั้งคู่คบหากันได้ 4 ปีก่อนแยกจาก โดยไม่ได้แต่งงาน
อีกหนึ่งนักแสดงที่ต้องพูดถึงคือ Dennis Hopper ที่น่าจะถือว่าเป็นนักแสดงดังที่สุดขณะสร้างหนังเรื่องนี้ ที่มีผลงานดังอย่าง Easy Rider (1969) รับบทเป็น Frank Booth หัวหน้าแก๊งค์มาเฟีย ที่มีปม Oedipus Complex (ลูกชายติดแม่) ปมนี้เกิดจากตอนเด็กขาดแม่ หรือถูกกีดกันการแสดงออกทางความรัก (เกิดกับเด็กช่วง 3-5 ขวบ) นี่ทำให้ตัวละครนี้มีการแสดงกิริยาอาการที่สุดประหลาด เหมือนลูกแหง่ติดแม่ ชอบใช้ความรุนแรง และ…
Hopper ไม่ใช่ตัวเลือกแรกของ Lynch นะครับ ก่อนหน้านี้มี Steven Berkoff ที่บอกปัดเพราะไม่ชอบบท, Harry Dean Stanton ไม่อยากเล่นหนังที่มีความรุนแรง, ตอนที่ Hopper ได้อ่านบท เขาพูดกับ Lynch ‘ฉันต้องเล่นบท Frank เพราะฉันคือ Frank!’ (I’ve got to play Frank. Because I am Frank!)
เกร็ด: ตัวละคร Frank Booth พูดคำว่า Fuck แทบทุกประโยคในหนัง (เป็นคนเดียวในหนังด้วย ที่พูดคำนี้ 56 ครั้ง) ผิดกับผู้กำกับ Lynch ที่หลีกเลี่ยงการพูดคำนี้ในกองถ่าย ซึ่งเวลาอ้างถึง เขาใช้คำว่า ‘that word’
เกร็ด 2: ขณะที่ Jeffrey พูดว่า ‘ฉันกำลังอยู่กึ่งกลางของความพิศวง (I’m in the middle of a mystery.) หนังดำเนินเรื่องถึงกึ่งกลาง 1 ชั่วโมงเปะๆพอดี (หนังยาว 2 ชั่วโมงเปะๆเช่นกัน)
ถ่ายภาพโดย Frederick Elmes ที่ได้เคยร่วมงานกับ Lynch เรื่อง Eraserhead (1977), กับหนังเรื่องนี้ ต้องชื่นชมการจัดแสงสีและเงาของหนัง ว่าทำได้สวยสดงดงาม, ฉากกลางวันจะดูสว่างจ้ากว่าปกติ ใช้ High Key ส่วนฉากกลางคืนจะดูมืดกว่าปกติ เป็น Low Key, ความหมายของแสงในหนังของ Lynch จะกลับตารปัดกันนะครับ ฉากกลางวันสว่างจ้า จะเหมือนกับความฝัน ส่วนกลางคืนสีสดคมชัด จะเหมือนความจริง นี่แทนได้ด้วยความรู้สึกของ Jeffrey นะครับ เหตุการณ์ธรรมดาทั่วไปตอนกลางวัน มันช่างน่าเบื่อไร้ความตื่นเต้น เหมือนฝัน แต่กลางคืน ความพิศวงลึกลับ มันช่างตื่นเต้นราวกับเป็นความจริง, ถึงหนังจะชื่อว่า Blue แต่สีที่เด่นสุดในหนังคือ สีแดง นะครับ จากลิปสติก, เลือด, สีรถ, สีห้อง ฯ จะมีสีน้ำเงินก็แค่ แสงสีและชุดคลุมของ Dorothy เท่านั้นที่ดูเด่นๆ
หนังทั้งเรื่องจะใช้มุมมองของพระเอก Jeffrey (เว้นฉากเปิดเรื่องกับฉากจบ) ด้วยธรรมเนียม Film Noir พระเอกจะต้องปรากฎอยู่ในหนังทุกฉาก (ไม่ใช่ทุกช็อตนะครับ), หลายครั้งที่หนังใช้สายตาของพระเอกแทนมุมกล้องเลย เช่น ตอนอยู่ในตู้เสื้อผ้า มองเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้อง ฯ เหตุนี้เราจึงจะไม่ค่อยเห็นมุมกล้องเคลื่อนไหวแปลกๆ ส่วนมากจะแพนกล้อง เคลื่อนตามตัวละคร หรือตั้งเฉยๆ ถ่ายจากด้านหลังรถให้เห็นข้างหน้า (ไม่มีถ่ายจากด้านหน้าเลย)
ตัดต่อโดย Duwayne Dunham เราไม่ค่อยเห็นผลงานของเขาเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เป็นคนตัดต่อให้กับหนังฉายทางโทรทัศน์, สำหรับหนังเรื่องนี้ การตัดต่อถือว่าเนิบๆ ค่อนข้างช้า เน้นให้ผู้ชมได้สัมผัสกับบรรยากาศ เน้นอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งผมเรียกว่าอารมณ์ นัวร์ๆ คือมึนๆเหมือนคนติดยา ไปตลอดทั้งเรื่อง
มีฉากหนึ่ง ที่ Frank พา Jeffrey ไปที่บ้านของ Ben รับบทโดย Dean Stockwell เชื่อว่าหลายคนคงเดาได้ หมอนี่มันต้องเมายาแน่ๆ หน้าตามึนๆ สติล่องลอยขนาดนั้น และขณะที่ลิปซิงก์ร้องเพลง In Dreams ของ Roy Orbison นี่เป็นฉากที่ผมชอบสุดในหนังเลย ราวกับกำลังโบยบิน (ไม่ได้รู้สึกอยู่ในฝันแม้แต่น้อย) นี่เป็นเพลง Rock and Roll ที่ Orbison เรียกว่า ‘An operatic ballad of lost love’ เคยไต่ขึ้นอันดับ Billboard สูงสุดถึงอันดับ 7
A candy-colored clown they call the sandman. คือถ้าผมไม่ดูหนังเรื่องนี้มาก่อน ได้ยินเพลงนี้คงไม่คิดอะไร แต่พอได้ดู สิ่งแรกที่ผมนึกถึง Sandman กับเนื้อร้องและเสียงร้องที่ล่องลอยเหลือเกิน มันสื่อได้ถึงยาอะไรสักอย่าง ยาไอซ์, ยาอี ฯ ที่มีหลากลายสีสัน กินแล้วหลับฝันล่องลอยคิดถึงเธอ (เพลงมันอาจไม่ได้มีนัยยะนี้นะครับ แต่หนังทำให้เพลงมีนัยยะแบบนี้), การแสดงของ Stockwell ต้องถือว่า Surreal มากๆ ผมจ้องตาพี่แก มันจะค่อยๆหลี่ลงเรื่อยๆ เหมือนคนกำลังจะหลับแล้วถูกปลุกให้ตื่น เวลาจะพูดแต่ละประโยค ดวงตาจะลุกโพลน แล้วค่อยๆหลี่ลง สักพักก็จะลุกโพลนขึ้นใหม่ ฉากนี้ผมหยุดยิ้มไม่ได้เลยละ
เพลงประกอบโดย Angelo Badalamenti นอกจาก 2 เพลงดังๆที่ผมหยิบมาให้ฟังแล้ว ยังมี Shostakovich: Symphony No 15 in A major, Op 141 ที่ Lynch บอกว่าเขาฟังเพลงนี้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจขณะเขียนบทหนัง และขณะถ่ายทำก็เปิดเพลงนี้ในกองถ่ายเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับนักแสดงด้วย, Badalamenti ได้เขียนเพลงประกอบหนังโดยอ้างอิงแรงบันดาลใจมาจาก Shostakovich เพลงนี้เช่นกัน เพิ่มเติมคือบรรยากาศที่มีความหลอนลึกลับ และล่องลอย, ในฉากที่ Sandy กับ Jeffrey เต้นรำด้วยกัน Lynch ตั้งใจจะใช้เพลง Song To The Siren ของ This Mortal Coil แค่เนื่องจากติดต่อขอลิขสิทธิ์ไม่ได้ จึงมาจบที่ Mysteries of Love ของ Julee Cruise
หนังของ David Lynch ขึ้นชื่อเรื่องการใส่สัญลักษณ์แฝง ที่บางครั้งปรากฎอยู่โต้งๆ และแอบซ่อนอยู่เต็มไปหมด, อย่างแมลงที่เราเห็นในฉากเปิดเรื่อง หน้ากากที่ตัวร้ายใส่ก็มีลักษณะคล้ายแมลง ตอนจบนกโรบินก็คาบแมลงเช่นกัน เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า แมลงในหนังเป็นสัญลักษณ์ของด้านมืด ความชั่วร้าย ตอนจบที่ถูกจับกิน ก็เหมือนความชั่วร้ายได้ถูกทำลาย กำจัดไปแล้ว (แต่มันก็ไม่ได้หมดไปนะครับ นกโรบินกินแมลงแค่ตัวเดียวเอง ยังเหลืออีกตั้งมากน้อยเท่าไหร่)
สำหรับหูที่ Jeffrey ค้นพบ ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของการสอดแนม (เสือก) ที่ทำให้เขาเผชิญหน้ากับปัญหา ขณะเดียวกันก็มองได้ว่าเป็นการได้ยิน ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อน ช่วงท้ายของหนังมีการซูมออกจากหูของ Jeffrey ที่กำลังผ่อนคลายอยู่ในสนามหน้าบ้าน นี่แสดงถึง จุดจบ การเลิกที่จะฟังหรือค้นพบอะไรใหม่ๆแล้ว (เหมือนสนองใจอยากสำเร็จแล้ว)
ชุดกำมะหยี่มีความหยาบ เวลาสัมผัสจะรู้สึกลื่นๆแต่มีความขรุขละ, น้ำเงิน เป็นสีเย็น ธาตุน้ำมีความลึกลับ การผจญภัย อำนาจ ฯ ส่วนใหญ่เราจะเห็นสีนี้กับเสื้อผ้า และแสงสีเท่านั้น (ไม่ค่อยเห็นในวัตถุชิ้นอื่นๆ) นี่คงเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง Blue Velvet ที่ว่า ‘She wore Blue Velvet’, สำหรับสีแดง แสดงถึง ความเข้มแข็ง รุนแรง เลือด ไฟ อันตราย ฯ สมัยก่อนมักมีแค่โสเภณีเท่านั้นที่ทาปากแดง แสดงถึง คนที่มีความต้องการทางเพศรุนแรง ปัจจุบันมีความหมายอื่นด้วย เช่น เสน่ห์ที่มีความดึงดูด ฯ รถสีแดง ก็แสดงถึงความต้องการเช่นกัน แรงขับเคลื่อนที่จะมีชีวิต ใช้ชีวิต ฯ
เกร็ด: หนังสองเรื่องที่ปรากฎในหนังคือ Shadow of a Doubt (1943) และ The Night of the Hunter (1955) ที่เลือกสองเรื่องนี้เพราะเป็นหนังที่ ‘มีบางสิ่งแอบซ่อนอยู่ในเมืองเล็กๆและในใจของมนุษย์’ แบบเดียวกับหนังเรื่องนี้นะครับ
ผมเคยดูหนังของ David Lynch มา 3-4 เรื่อง แทบทั้งนั้นจะให้ความรู้สึกเหมือน กำลังฝัน ไม่ใช่ฝันดีนะครับเป็น ‘ฝันร้าย’ บางเรื่อง อย่างหนังเรื่องนี้ ตอนจบอาจจะรู้สึกเหมือนค่อยยังชั่วหน่อย คือดูเป็นฝันดี แต่ถ้าวิเคราะห์ลงลึก มันก็ไม่ได้ดีอะไรสักเท่าไหร่นะครับ ถ้าผมเป็น Sandy และได้รู้ความจริงที่เกิดขึ้นกับ Jeffrey เป็นผมก็ไม่มันวันให้อภัยหมอนี่กับสิ่งที่เขาทำหรอก, ผมไปอ่านเจอว่า Lynch สร้างตอนจบไว้อีก 3 แบบ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกจบแบบนี้ ถือว่าเป็น Alternate Ending นะครับ
1. Dorothy ท้อง โดยไม่แน่ใจว่า Frank หรือ Jeffrey คือพ่อ
2. ตอนจบ Jeffrey ตื่นขึ้นจากฝัน รับโทรศัพท์จากแม่บอกให้เขากลับบ้านเพราะพ่อเข้าโรงพยาบาล
3. Jeffrey ถูก Frank ยิงเสียชีวิต ก่อนที่ Jeffrey จะได้ทันได้สติยิง
ผมว่า Lynch คงคิด นานๆที ให้ผู้ชมได้รู้สึก Happy Ending กับตอนจบหนังของเขาบ้าง ถือว่าโชคดีไปนะครับ เพราะถ้าเขาเลือก 1 ใน 3 ทางเลือกอื่น ผลลัพท์ อิทธิพลของหนังต่อผู้ชมคงได้ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง
Blue Velvet แม้ตอนฉายจะทำกำไรไม่ได้ แต่ต่อมาเมื่อลง VHS เป็น Home Video ได้กลายเป็นกระแส Cult ยอดนิยมโคตรๆเรื่องหนึ่ง (กลายเป็นลัทธิหนึ่งคล้ายๆกับ The Big Lebowski) ผู้คนจดจำคำพูดติดปากของ Frank เอาไปใช้ในชีวิตประจำมากมาย อาทิ ‘Fuck you, you fucking fuck!’ ผมก็ไม่รู้มัน fuck อะไรนะครับ, หรืออย่าง ‘Suave! Goddamn you’re one suave fucker!’ (Suava แปลว่า อ่อนโยน, ละมุนละไม) นี่เป็นประโยคที่ Frank พูดกับ Ben ได้ไพเราะที่สุดแล้วนะครับ, ส่วน Dorothy Vallens มีคำพูดสุดฮอต ‘I have your disease in me now.’ ว่ะ! ประโยคนี้หลอนสยอง
ส่วนตัวผมหลงรักหนังเรื่องนี้ตั้งแต่ได้ยินเพลง Blue Velvet ตอน Opening Scene (แต่เพลงที่ผมชอบที่สุดในหนังคือ In Dream นะครับ), งานภาพ บรรยากาศ แสงสี อารมณ์ ความรู้สึกของหนังก็สามารถทำได้ในระดับที่ลงตัว ใช่เลย, กระนั้นก็มีอะไรหลายๆอย่างที่ค้างคา แบบไม่มีคำตอบให้ด้วย และอารมณ์บางอย่างมันก็ไม่สมเหตุสมผล ไม่ถึงที่สุด เช่น ตอน Sandy แสดงความรังเกียจ Jeffrey กับ Dorothy อะไรเป็นแรงขับเคลื่อนเธอให้แสดงออกมา ‘มาก’ ถึงขนาดนั้น (คำว่า Disease เนี่ยนะ) แล้วอยู่ดีๆกลับยอมรับได้ (ผมสมมตินะครับ ถ้าแฟนสาวจับคุณได้ว่าไปมี Sex วิตรถารกับหมาข้างถนน แล้วอยู่ดีๆเธอก็ยอมรับได้ เพราะรักเขามาก เห้ย! มันไม่ใช่แล้ว)
Roger Ebert นักวิจารณ์ชื่อดัง มีอคติกับหนังเรื่องนี้รุนแรงมาก โดยเฉพาะฉากที่ Rossellini ต้องเปลืองตัวแก้ผ้าเข้าฉาก (หน้าบ้านของ Jeffrey) ว่าน่าขายหน้า ไร้รสนิยม ถือเป็นฉากที่น่าขยะแขยงที่สุดในหนัง (ยิ่งกว่าปมโอดิปุสของ Frank เสียอีก) แต่ผู้กำกับกลับทำให้ออกมาดูเป็น Comedy นี่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง, ใครเห็นฉากนี้แล้วหัวเราะพิจารณาตัวเองเลยนะครับ ถ้าสมมติแฟนสาวของคุณเดินแก้ผ้าโทงๆในห้าง เดินเหมือนคนเมายา มีคนเห็นเยอะแยะ เป็นคุณจะหัวเราะออกหรือเปล่า ผมเห็นฉากนี้หัวเราะไม่ออกเลย สงสัยมากว่าเกิดอะไรขึ้น (หนึ่งในคนที่หัวเราะฉากนี้คือผู้กำกับ David Lynch ตอนถ่ายเขาหัวเราะไม่หยุด จน Rossellini ต้องขึ้นเสียงต่อว่าให้เขาหยุดหัวเราะ ทั้งสองอาจไม่ถือสาอะไรกัน แต่นี่เป็นการไม่ให้เกียรตินักแสดงอย่างมาก)
แนะนำกับคนชื่นชอบ Film Noir, Neo-Noir อะไรที่มันมืดๆ หม่นๆ นำเสนอจิตใจด้านมืดของมนุษย์, หมอ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ดูแล้วคิด วิเคราะห์ทำความเข้าใจ เกิดอะไรขึ้นกับตัวละครเหล่านี้, นักปรัชญา คอหนังที่ชอบคิดวิเคราะห์ หาความหมายเชิงสัญลักษณ์ หนังของ David Lynch มีอะไรพวกนี้ยั้วเยี้ยเต็มไปหมดเลย
กับคนที่ชอบบรรยากาศหนังลักษณะนี้ Neo-Noir แนะนำต่อ Psycho (1960), Taxi Driver (1976), Pulp Fiction (1994), Requiem for a Dream (2000), Sin City (2005) ฯ
จัดเรต 18+ กับบรรยากาศหนัง การข่มขืน ภาพเปลือย ความรุนแรง
มีคนตีความว่าที่ Frank Booth ชอบเอาหน้ากากมาสูดแก๊สนั่น เป็นการกล่าวถึง/ล้อเลียน Darth Vader (ตรงที่เป็นตัวร้ายใส่หน้ากาก หายใจฟืดฟาดๆ) จากแฟรนไชส์ Star Wars ซึ่งเป็นหนังไซไฟที่ประสบความสำเร็จ ต่างกับ Dune ของ Lynch (episode 6 ฉายก่อนหน้า Dune ปีนึง)
ว่าไป อาจมองได้ว่าเกือบทั้งเรื่องก่อนจะเข้าสู่ช่วง happy ending ตอนสุดท้าย
เป็นได้ทั้งแคนซัสบ้านเดิมสีซีเปียของโดโรธีก่อนถูกพายุพัดไปยังดินแดนแห่งออซในจบเรื่อง
หรืออาจเป็นตัวดินแดนแห่งออซซะเอง ในเวอร์ชั่นฝันร้ายของ Lynch ที่โดโรธี (วัยผู้ใหญ่) เวียนว่ายหาทางออกอยู่ในโลกของความเลวร้าย อาชญากรรม คาวกาม จมปลักอยู่ในโลกที่ไม่ได้เป็นสีรุ้งสดใส แต่เป็นโลกสีดำ-แดง-น้ำเงินที่มืดมน จนกระทั่งได้คนยื่นมือมาช่วยให้ขึ้นบอลลูนของออซกลับสู่แสงสว่างในตอนจบก็ได้
ซึ่ง Lynch คงไม่ถึงขั้นให้ตัวละครหรือการกระทำเปรียบเทียบกับ The Wizard of Oz ทุกอย่างหรอก คงเอามาแค่คอนเซปต์ จุดเชื่อมโยงแค่ตั้งชื่อตัวละครว่าโดโรธีเฉยๆ แล้วโยนโดโรธีเข้าสู่โลกของตัวเอง
(จริงๆ วงการหนังฮอลลีวูดอาจเคยเป็น “ดินแดนแห่งออซ” ของ Lynch มาก่อนก็ได้
Lynch คือโดโรธีที่หลุดเข้ามา ตื่นตาตื่นใจในช่วงแรก และพบผจญภัยโลกความจริงที่ไม่ได้สวยงามนัก
จึงพยายามหาทางออกในตอนหลังแบบโดโรธี)