
Down by Law (1986)
: Jim Jarmusch ♥♥♥♥
นักโทษสามคนถูกคุมขังในเรือนจำ วันหนึ่งชักชวนกันหลบหนี ตะลึ่งตึงโป๊ะ! แล้วพวกเขาก็สามารถหลบหนีออกมาได้สำเร็จ? ตลกร้ายสไตล์ Jim Jarmusch ที่จะทำให้คุณประทับใจในมิตรภาพไม่รู้ลืมเลือน
Down by Law (คนละคำกับ Lay Down the Law ที่แปลว่าพูดเชิงบังคับ) คือศัพท์แสลงของคนคุก/วัยรุ่นท้องถนนทศวรรษ 80s หมายถึงมิตรภาพ ความสนิทสนม บุคคลที่พร้อมร่วมหัวจมท้าย(ตาย)ไปด้วยกัน, หรือถ้าพบเจอกันในเรือนจำ ใครได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อนจะช่วยดูแลญาติพี่น้อง ผองเพื่อนของอีกฝ่าย
หลังจากรับชม Down by Law (1986) ทำเอาผมหมดอารมณ์ สูญสิ้นความกระตือรือล้น ไม่อยากหาดู ‘prison film’ หรือ ‘prison escape’ เรื่องอื่นๆอีกต่อไป! เพราะความติสต์แตกของผกก. Jarmusch ได้ทำลายกรอบความคิด เปิดหน้าต่างจิตใจ ปลดเปลื้องทุกสิ่งอย่าง จนหลงเหลือเพียงจิตวิญญาณ … แบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ?
เอาจริงๆหนังเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในรายการที่ผมตั้งใจจะเขียนถึงด้วยซ้ำ บังเอิญพบเจอในส่วนแนะนำของ Criterion เห็นชื่อของ Jim Jarmusch เลยรีบขวนขวายหามารับชม แล้วต้องบอกเลยว่าไม่มีหนังแหกคุกเรื่องไหนทำออกมาได้ !#$%^& ถ้าคุณไม่ตกหลุมรัก ก็คงพร่ำบ่นบ้าบอคอแตกอะไรก็รู้
สิ่งมหัศจรรย์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ Roberto Benigni ตอนนั้นยังไม่มีใครรับรู้จัก ก่อนกาลมาถึงของ Life Is Beautiful (1997) คือบุคคลเชื่อมประสานอีกสองนักโทษที่ไม่ต่างจากปลากัด ยินยอมร่วมหัวจมท้าย ‘Down by Law’ ก่อบังเกิดมิตรภาพที่แสนงดงาม ตราตรึง ไม่รู้ลืมเลือน
Benigni, who has an irrepressible, infectious manner, and is absolutely delighted to be himself. I don’t know where he came from and I can’t imagine what he’s going to do next, but he could have a long comic career ahead. He’s like a showoff kid who gets you laughing, starts laughing at himself and then tries to top himself no matter what.
นักวิจารณ์ Roger Ebert กล่าวถึง Roberto Benigni นักแสดงอนาคตไกล
James Robert Jarmusch (เกิดปี ค.ศ. 1953) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Cuyahoga Falls, Ohio มารดาชอบพาไปทิ้งไว้ในโรงหนังใกล้บ้านระหว่างทำงานรับจ้างโน่นนี่นั่น เลยมีโอกาสรับชมหนังควบเกรดบีอย่าง Creature From the Black Lagoon (1954), Attack of the Crab Monsters (1957), Thunder Road (1958), ต่อด้วยหนังใต้ดินของ Andy Warhol, Robert Downey, Sr. ฯ หลังจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Chicago ทีแรกเข้าเรียนวารสารศาสตร์ Medill School of Journalism ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เลยย้ายมา Columbia University ศึกษาภาษาอังกฤษ วรรณกรรมอเมริกัน ปีสุดท้ายได้ทุนแลกเปลี่ยนเดินทางสู่ฝรั่งเศส แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ปักหลักอยู่ Cinémathèque Française
พอกลับมาทำงานเป็นนักดนตรีอยู่สักพัก ก่อนสมัครเรียนภาพยนตร์ Tisch School of the Arts กลายเป็นลูกศิษย์ของ László Benedek เพื่อนร่วมรุ่น Sara Driver, Tom DiCillo, Howard Brookner, Spike Lee ฯ ปีสุดท้ายสร้างภาพยนตร์ Thesis เรื่อง Permanent Vacation (1980) เข้าตาอาจารย์ Nicholas Ray ได้กลายเป็นผู้ช่วยกองถ่ายสารคดี(เรื่องสุดท้าย) Lightning Over Water (1980) ขอนำฟีล์มที่เหลือมาถ่ายทำ Stranger Than Paradise (1984) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes คว้ารางวัล Camera d’Or (สำหรับผลงานเรื่องแรก) และได้รับการยกย่อง ‘Landmark of Modern Independent Filmmaker’
ความสำเร็จของ Stranger Than Paradise (1984) ทำให้มีสตูดิโอมากมายพยายามติดต่อเข้าหา แต่ทว่าผกก. Jarmusch ตอบปฏิเสธทุกข้อเสนอ “too many strings attached” ต้องการครุ่นคิดพัฒนาโปรเจคในความสนใจตนเอง ตอนแรกมีเพียงแนวคิดคร่าวๆ “sketch of something” ประกอบด้วย Tom Waits และเพื่อนนักดนตรี John Lurie (เคยร่วมงาน Stranger Than Paradise (1984))
I was writing sketching out a story for Tom Waits and John Lurie both of whom I knew and I just thought and I’d worked with John I’d not worked with Tom but I just thought that I want to write something for these two guys. I was sketching out a story but there was some element missing I don’t know I wasn’t sure.
Jim Jarmusch
ระหว่างเดินทางไปเป็นคณะกรรมการเทศกาลหนังที่อิตาลี ได้พบเจอนักแสดงตลก Roberto Benigni ต่างพูดคุยกับแบบงูๆปลาๆ รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่สามารถสร้างความชื่นชอบประทับใจ เลยชักชวนมาร่วมงาน พัฒนาบทโดยให้อีกฝ่ายเป็นศูนย์กลาง หาทุนสนับสนุนได้จาก Island Pictures ค่ายเพลงของ Tom Waits พร้อมสองบทเพลงประกอบอัลบัมล่าสุด Rain Dogs (1985)
I came to Italy to a film festival in Salsomaggiore where I was on a jury with just five people. One of the other jury members was Roberto. In fact I only came to this Festival because a friend had died Enzo Ungari and his wife somehow she worked for the festival. I went there and I met this guy on the jury the first day. Roberto I never heard of him I didn’t know who he was somehow we we were sort of the the bad kids in the jury. We were the ones that the director of the festival would find smoking cigarettes in the alley while the film we were supposed to be watching was being shown. And somehow we became friend and we talked in broken French because Roberto didn’t speak English and I spoke no Italian and we both spoke flawed French so we had these endless conversations in French about everything about philosophers, painters, poets, movies, music, about friends that we knew and we just kind of bonded over this.
So after the festival was over I came to Rome and I wrote a treatment for based on the ideas I’d collected for Tom Waits and John Lurie including Roberto. I wrote it actually at Enzo’s desk in Rome and there was a picture of him there I don’t know it was like he was guiding me in a way. I wrote it very fast. I don’t know and three or four days five days. I wrote up 20 page 25 page outline of this story. Then I gave it to Roberto someone helped him translate it or translated it for him verbally. I asked him Roberto which you know what do you think of the story of this idea and he said he wanted to do it. So I went back to New York and started preparing the film and that’s how the three of them got roped together.
เกร็ด: หนึ่งในผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้คือ Claire Denis รับรู้จักกันตอน Wim Wenders ถ่ายทำภาพยนตร์ Paris, Texas (1984) ในสหรัฐอเมริกา [Denis เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ]
ชายสามคนไม่เคยรับรู้จักกันมาก่อน ต่างถูกจับกุม อาศัยอยู่ในห้องขังเดียวกัน ณ Orleans Parish Prison
- Zack (รับบทโดย Tom Waits) อดีตนักจัดรายการวิทยุ (Disc Jockey, DJ) ไม่รู้มีปัญหาอะไรถึงถูกไล่ออกจากงาน กลับมาอพาร์ทเม้นท์ก็ถูกแฟนสาวบอกเลิกรา ไล่ออกจากห้อง ระหว่างนั่งดื่มกำลังมึนเมามาย มีเพื่อนคนหนึ่งโน้มน้าวให้รับงานขับรถ แต่แท้จริงแล้วกลับกลายเป็นการจัดฉาก โดนตำรวจล้อมจับกุม
- Jack (รับบทโดย John Lurie) แมงดาอาศัยอยู่กับแฟนสาวผิวสี ถูกโน้มน้าวโดยชายร่างอวบอ้วนให้ไปดูตัวโสเภณี ก่อนถูกตำรวจบุกตรวจค้น ปรากฎว่าเธอคนนั้นเป็นแค่เด็กหญิง ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยซ้ำ!
- Roberto หรือ Bob (รับบทโดย Roberto Benigni) นักท่องเที่ยวชาวอิตาเลี่ยน พูดภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง พลั้งพลาดฆ่าคนตายโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่
ระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ Zack และ Jack ราวกับไม้เบื่อไม้เมา มองหน้าไม่ถูกชะตา หาเรื่องชกต่อตี ทะเลาะวิวาทบ่อยครั้ง การมาถึงของ Roberto พฤติกรรมใสซื่อไร้เดียงสา พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่โดยไม่รู้ตัวกลับสามารถเชื่อมประสานพวกเขา พากันหลบหนีออกจากเรือนจำ บุกป่าฝ่าหนองบึง จะเอาตัวรอดถึงอีกฟากฝั่งหรือไม่?
Thomas Alan Waits (เกิดปี ค.ศ. 1949) นักดนตรี แต่งเพลง แสดงภาพยนตร์ เกิดที่ Pomona, California ในครอบครัวชนชั้นกลาง แต่แต่เด็กมีความหลงใหล Bob Dylan และรุ่น Beat Generation อายุ 18 ออกจากโรงเรียนมาทำงานร้านพิซซ่า นักดับเพลิง หน่วยยามฝั่ง ก่อนเข้าเรียนการถ่ายภาพ Southwestern Community College แล้วหันเหความสนใจสู่แวดวงดนตรี เริ่มจากร้องเพลงตามผับบาร์ที่ San Diego ก่อนย้ายมา Los Angeles เซ็นสัญญา Asylum Records ออกอัลบัมแรก Closing Time (1973), The Heart of Saturday Night (1974), Nighthawks at the Diner (1975), ประสบความสำเร็จระดับนานาชาติกับ Small Change (1976), Blue Valentine (1978), Heartattack and Vine (1980), ระหว่างนี้ก็มีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์ One from the Heart (1982) เข้าชิง Oscar: Best Original Score และยังเคยรับเล่นหนังบ้างประปราย
รับบท Zack นักจัดรายการวิทยุ ดูแล้วน่าจะมีความสามารถพอตัว แต่ทว่าด้วยเหตุผลบางอย่าง ความเบื่อหน่าย จึงมักเปลี่ยนงาน/เปลี่ยนสถานีไปเรื่อยๆ เฉกเช่นเดียวกับแฟนสาว ปฏิเสธการแต่งงาน ลงหลักปักฐาน เธอจึงมิอาจอดรนทน ชีวิตไร้ความมั่นคง ค่ำคืนนี้จึงถูกขับไล่ ผลักไส เขวี้ยงขว้างปาสิ่งของออกจากอพาร์ทเม้นท์ จำต้องหาสถานที่หลับนอนตามท้องถนน ก่อนได้รับชักชวนจาก Preston รับงานขับรถจากจุดรับไปยังเป้าหมาย แต่นั่นกลับกลายเป็นการจัดฉาก แพะรับบาป ถูกตัดสินจำคุกข้อหาฆาตกรรม
หน้าตาของ Waits ดูมึนเมาเหมือนคนติดยา (แต่ก็ไม่เคยเห็นตัวละครเสพยา) บ่อยครั้งยังทำท่าบิดม้วน ห่อตัวเล็กลีบ ราวกับถูกมัด พันธนาการ อาจเพราะตัวละครมักตกอยู่ในสถานการณ์บีบรัด ไม่สามารถดิ้นหลบหนี เขาจึงโหยหาอิสรภาพ ปฏิเสธลงหลักปักฐาน ตอนแฟนสาวลุกขึ้นมาโวยวาย ร่ำร้องไห้ เลยไม่มีคำพูด+การกระทำใดๆแสดงออกมา
แม้จะไม่ใช่นักแสดงอาชีพ แต่ทว่า Waits ปรุงแต่งการแสดงออกทางภาษากายได้อย่างน่าสนใจ ผมแอบรู้สึกละม้ายคล้าย Bob Dylan ที่ก็ชอบห่อไหล่ ทำตัวเล็กลีบ ไม่รู้คือสัญญะของ Beat Generation หรือเปล่า? ถือเป็นการสร้างคาแรคเตอร์ให้ดูโดดเด่น โดยเฉพาะน้ำเสียงดีเจโคตรหล่อ สมจริง! เห็นว่ามารับเชิญภาพยนตร์ Mystery Train (1989) ให้เสียงผู้จัดรายการวิทยุ … ถ้ามองว่าหนังอยู่ในจักรวาล Jarmusch แสดงว่า Zack กลับกลายเป็นคนใหม่แล้วกระมัง!
John Lurie (เกิดปี ค.ศ. 1952) นักดนตรี นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Minneapolis, Minnesota แล้วมาเติบโตยัง New Orleans, Louisiana และ Worcester, Massachusetts วัยเด็กชื่นชอบเล่นบาสเกตบอล ฮาร์โมนิกา เคยเล่นแจม (Jammed) ร่วมกับ Mississippi Fred McDowell และ Canned Heat แต่ไม่นานเปลี่ยนมาเล่นกีตาร์ ตามด้วยแซกโซโฟน ก่อตั้งวงดนตรี The Lounge Lizards ร่วมกับน้องชาย Evan Lurie ออกอัลบัมแรก Lounge Lizards (1981), ระหว่างนั้นเคยทำเพลงประกอบ/แสดงภาพยนตร์ประปราย อาทิ Stranger Than Paradise (1984), Paris, Texas (1984), Down by Law (1986), The Last Temptation of Christ (1988), Wild at Heart (1990) ฯ
รับบท Jack แมงดา/พ่อเล้าหากินกับโสเภณี มีความสนใจเพียงเงินๆทองๆ หญิงสาวเป็นแค่เพียงสินค้าขายบริการ ไม่รู้เคยมีปัญหาอะไรกับชายร่างอวบอ้วน Gig พยายามโน้มน้าว เรียกร้องขอโอกาส แนะนำหญิงสาวสวยสะคราญ แต่แท้จริงแล้วนั่นคือการจัดฉาก พอไปถึงถูกตำรวจบุกตรวจค้น และเธอคนนั้นเป็นแค่เด็กหญิง ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
Lurie ดูเป็นคนสบายๆ ชอบเดินไปเดินมา กวัดแกว่งแขนขา (ตรงกันข้ามกับตัวละครของ Waits ที่มักขดตัว ห่อไหล่ ไม่ชอบขยับไปไหน) อยู่ปกติก็มีชีวิตสุขสบาย แต่ดันหาเหาใส่หัว หาเรื่องใส่ตัว พอถูกจับติดคุก เลยแสดงท่าทางร้อนรน กระวนกระวาย หยุดอยู่นิ่งแทบไม่ได้ หงุดหงิดรำคาญใจเพื่อนร่วมห้องข้อง มองหน้าอยากจะหาเรื่องทะเลาะวิวาท
บทบาทของ Lurie ขาดจุดโดดเด่น ไร้สีสัน ไม่มีความน่าจดจำสักเท่าไหร่ (ตอนแสดงภาพยนตร์ Stranger Than Paradise (1984) ยังพอมีความโดดเด่นอยู่บ้างนะ) คงเพราะถูกกลืนกินโดย Benigni และสถานะตัวละครเป็นเพียงศัตรูคู่อาฆาต Waits ตั้งแต่แรกพบเจอก็รู้สึกไม่ถูกชะตา ลิ้นกับฟัน กัดกันแทบตลอดเวลา
Roberto Remigio Benigni (เกิดปี ค.ศ. 1952) นักแสดงตลก ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่ Castiglion Fiorentino, Tuscany ในครอบครัวนับถือคาทอลิกเคร่งครัด โตขึ้นเดินทางสู่กรุง Rome เข้าร่วมคณะการแสดง Experimental Theatre ประสบความสำเร็จกับละคอนเวที Cioni Mario di Gaspare fu Giulia (1975) พัฒนาบทโดย Giuseppe Bertolucci (น้องชายของผกก. Bernardo Bertolucci), เริ่มเป็นที่รู้จักในอิตาลีจากซีรีย์ Onda Libera, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Berlinguer, I Love You (1977), ได้รับชักชวนจากผกก. Jim Jarmusch เดินทางสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรก Down By Law (1986), Night on Earth (1991), แต่ผลงานที่กลายเป็นตำนาน กำกับ/แสดงนำ Life is Beautiful (1997) **คว้ารางวัล Oscar: Best Actor และ Best Foreign Language Film
รับบท Roberto หรือ Bob นักท่องเที่ยวชาวอิตาเลี่ยน เป็นนักต้มตุ๋น โกงไพ่ ถูกจับได้ ขว้างลูกบิลเลียดฆ่าคนตาย แต่ด้วยความไม่ตั้งใจเลยครุ่นคิดว่าตนเองบริสุทธิ์ ไร้ความเดือดเนื้อร้อนใจ พอมาอาศัยร่วมห้องขัง Jack & Zack พยายามชวนคุยด้วยภาษาอังกฤษงูๆปลาๆ ช่วงแรกๆไม่มีใครอยากคบค้า แต่ต่อมาพวกเขากลายเป็นเพื่อนสนิทสนม ร่วมหัวจมท้าย ช่วยกันหลบหนีออก เอาตัวรอดท่ามกลางห้วงหนองคลองบึง ก่อนพบเจอรักกับสาวชาวอิตาเลี่ยน Nicoletta
ก่อนหน้านี้ Benigni เป็นตลกชื่อดังในอิตาลี แต่ระดับนานาชาติยังไม่ค่อยมีใครรับรู้จักนัก มันคงเป็นโชคชะตาล้วนๆที่ได้พบเจอผกก. Jarmusch กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม ชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์
แม้บทหนังมีการลงรายละเอียดยิบย่อย แต่ผกก. Jarmusch เปิดโอกาสให้นักแสดงทำการดั้นสด (Improvised) ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมาจาก Benigni เพื่อให้การแสดง/ภาษาพูดดูลื่นไหล เป็นธรรมชาติ มันอาจขำบ้าง ไม่ขำบ้าง แต่ทุกสิ่งอย่างมีความใสซื่อ บริสุทธิ์ แววตาเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสา “I ‘ham’ Roberto.” มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ชมจะไม่ตกหลุมรักชายคนนี้
เสียงตอบรับที่ดีล้นหลามของหนัง ทั้งยังมีโอกาสเดินทางไปฉายทั่วโลก ทำให้ชื่อของ Benigni กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง นักแสดงตลกที่ใครๆต่างตกหลุมรัก และยังได้พบรักกับว่าที่ภรรยา Nicoletta Braschi แต่งงานกันห้าปีให้หลัง ปัจจุบันก็ยังคงคู่อยู่ร่วม น่าจะตราบจนวันตายแล้วละ!
ถ่ายภาพโดย Robby Müller (1940-2018) ตากล้องสัญชาติ Dutch เกิดที่ Willemstad, Curaçao โตขึ้นเข้าศึกษาการถ่ายภาพยัง Netherlands Film Academy (NFA) ถ่ายทำหนังสั้น ภาพยนตร์ ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Wim Wenders, Jim Jarmusch ผลงานเด่นๆ อาทิ Summer in the City (1970), Alice in the Cities (1974), Kings of the Road (1976), Paris, Texas (1984), To Live and Die in L.A. (1985), Down by Law (1986), Mystery Train (1989), Dead Man (1995), Breaking the Waves (1996), Dancer in the Dark (2000) ฯ
งานภาพของหนัง ไม่มีลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์ใดๆ ส่วนใหญ่ตั้งกล้องไว้เฉยๆ นานๆครั้งถึงพบเห็นแพนนิ่ง แทร็กกิ้ง หรือไม่ก็ตั้งกล้องไว้บนรถ/รถเข็นแล้วขับเคลื่อนไป แต่ความโดดเด่นคือทิศทางมุมกล้อง ไม่ใช่แค่หน้าตรง บ่อยครั้งพยายามเลือกตำแหน่งให้ดูเอียงๆ เฉียงๆ เหมือนภาพไอโซเมตริก (Isometric) สร้างสัมผัสบิดๆเบี้ยวๆ ‘จักรวาล Jarmusch’



ช่วงต้นเรื่องจะมีขณะหนึ่งที่ตัวละครของ Roberto พบเจอกับ Zack แต่ถูกขับไล่ ผลักไส ไม่ต้องสุงสิงยุ่งเกี่ยว (เพราะเพิ่งถูกภรรยาไล่ออกจากอพาร์ทเม้นท์) ระหว่างนั้นมีการรำพันบทกวี ตามบทหนังดั้งเดิมจะต้องพูดประโยค “That’s sad and beautiful music” แต่ทว่า Benigni ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพูดว่า “It’s a sad and beautiful word” แล้วผกก. Jarmusch ได้ยินคำว่า Word เป็น World แล้วเกิดความประทับใจมากๆ เลยปรับเปลี่ยนประโยคนี้เสียใหม่!

ด้วยทุนสร้างจำกัด หนังจึงถ่ายทำยังสถานที่จริงทั้งหมด Orleans Parish Prison ตั้งอยู่ New Orleans, Louisiana ความท้าทายคือการค้นหากระท่อมร้างที่มีภายในละม้ายคล้ายกับห้องขัง บังเอิญพบเจอ เหมือนเปี๊ยบ ไม่ได้ต้องเพิ่มเติมอะไรสักสิ่งอย่าง
เกร็ด: ผกก. Jarmusch ไม่เคยเดินทางสู่ New Orleans ที่เป็นพื้นหลังของหนัง แต่พัฒนาบทขึ้นจากความทรงจำต่อบทละคร/ภาพยนตร์ของ Tennessee Williams รวมถึงสไตล์ดนตรี Rhythm & Blues ที่มีต้นกำเนิดจาก New Orleans


ด้วยความที่ห้องขังรายล้อมรอบด้วยผนังกำแพงมืดทึบ จึงมีการขีดๆเขียนๆ Wall Art/Street Art ระบายอารมณ์อัดอั้นของนักโทษ ขณะที่ Zack มีการขีดจำนวนวันที่ถูกคุมขัง, Roberto วาดสี่เหลี่ยม บอกว่าหน้าต่าง มันอาจดูไม่ตลกสักเท่าไหร่ แต่เคลือบแฝงนัยยะของ ‘หน้าต่างของจิตใจ’ คุ้นๆว่าคือจุดเริ่มต้นให้ทั้ง Jack & Zack เปิดใจให้กับเพื่อนนักโทษชาวอิตาเลี่ยนคนนี้!

โดยปกติแล้วฉากหลบหนี ภาพยนตร์หลายๆเรื่องมักทำออกมาให้มีลักษณะ ‘Escape Art’ แพรวพราวด้วยลูกเล่น ศิลปะภาพยนตร์ แต่ทว่า ‘สไตล์ Jarmusch’ ไม่ชอบนำเสนอความตื่นเต้น เร้าใจ เลยพบเห็นแค่นักแสดงออกวิ่ง ได้ยินเสียงไซเรน หมาเห่า แค่นั้นแหละ! ไม่ได้มีห่าเหวอะไรเลย
แต่เอาจริงๆระหว่างการหลบหนี ผกก. Jarmusch มีการเลือกสถานที่ มุมกล้อง เคลือบแฝงนัยยะซ่อนเร้น เริ่มต้นจากหลบหนีทางอุโมงค์ระบายน้ำ (จากจุดต่ำสุด) ปีนป่ายข้ามกำแพง (หลบหนีจากเรือนจำ) ก้าวผ่านหนองบึง (สิ่งพยายามฉุดเหนี่ยวรั้ง) และแหวกว่ายข้ามแม่น้ำ (ไปถึงอีกฟากฝั่ง/เป้าหมายปลายทาง/หลบหนีได้สำเร็จ)




มันช่างสอดคล้องสำนวนไทย ‘พายเรือในหนอง’ หรือพายเรือในอ่าง หมายถึง คิด พูด กระทำสิ่งวกวนกลับไปกลับมา ไม่สำเร็จลุล่วงตลอดปลอดโปร่งไปได้ คล้ายกับการพายเรืออยู่ในอ่าง ก็วนไปวนมาอยู่ในอ่างนั้นเอง หาทางออกไปไหนไม่ได้เช่นกัน
ผมมองนัยยะของซีเควนซ์ ‘พายเรือในหนอง’ คือการที่ทั้งสาม ต่างคนต่างพาย ดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย พวกเขาจึงเวียนวงกลม ไร้หนทางออก จนเรือรั่วไหลจมลง ต้องก้าวดำเนินต่อไปด้วยลำแข้งของตนเอง
แซว: ไม่ได้พูดเล่นๆ Roberto Benigni ว่ายน้ำไม่เป็นจริงๆ และระหว่างการถ่ายทำเขาทำสมุดบันทึกเล่มโปรดหล่นหาย ก็ไม่รู้ค้นหาพบเจอหรือเปล่า

เมื่อตอน Roberto สูญหายตัวไปนั้น Jack & Zack ก็มิอาจอดรนทนขี้หน้าอีกฝ่าย เกิดการโต้ถกเถียง ทะเลาะเบาะแว้ง ชกต่อยตี ก่อนถูกแยกโดยเพื่อนชาวอิตาเลี่ยนกลับมาพร้อมกระต่ายจับได้ แต่ด้วยศักดิ์ศรีของชายทั้งสอง จึงต่างแยกย้ายคนละทาง ปากอ้างว่าจะถึงคราวแยกทาง แต่หลังจากสงบสติอารมณ์ หวนกลับมาเพราะพ่ายแพ้ความหิวกระหาย
เกร็ด: ตลอดทั้งซีเควนซ์นี้เป็นการดั้นสดของ Roberto โดยเรื่องเล่าคุณย่า กระต่ายดีคือกระต่ายที่ถูกทำเป็นอาหาร นั่นนำจากชีวิตจริงของเขาเอง

หลังจากบุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงห้วย ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ‘สไตล์ Jarmusch’ ก็นำพาพวกเขามาถึงเป้าหมายปลายทาง ใครจะไปคาดคิดถึงว่าเจ้าของบ้านหลังนี้จะคือหญิงสาวชาวอิตาเลี่ยน สามารถพูดคุยสื่อสาร แถมยังตกหลุมรักกับ Roberto (ในชีวิตจริงก็เช่นกัน) ยินยอมให้ความช่วยเหลือ รับประทานอาหาร อาบน้ำ หลับนอน และตื่นเช้าวันใหม่
เกร็ด: Nicoletta บอกว่าบ้านของเธออยู่ใกล้ชายแดน Texas ซึ่งหมายความว่านักโทษหลบหนีทั้งสามเดินทางข้ามรัฐ Louisiana ระยะทางกว่า 200 ไมล์ จากเรือนจำ Orleans Parish Prison


แล้วหนังก็จบลงแบบ จบแล้วเหรอ? ไม่มีแอ๊คชั่น ไร้ความน่าตื่นเต้นเร้าใจใดๆ หลังจาก Jack & Zack ร่ำลาจาก Roberto ทั้งสองก็แยกทางใครทางมัน … ช็อตนี้น่าจะใช้เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lenses) ภาพออกมาเลยมีความสมมาตรซ้าย-ขวา
การจบลงทึ่มๆทื่อๆแบบนี้ ทำให้ผมตระหนักว่าเนื้อหาสาระของหนังไม่ได้เกี่ยวกับการแหกคุก หลบหนี แต่คือปรัชญาชีวิตหลังจากกระทำสิ่งผิดพลาด สูญเสียบางสิ่งอย่าง ตกอยู่ในความห่อเหี่ยวสิ้นหวัง กักขังตนเองในเรือนจำ แล้วเรียนรู้ที่ต่อสู้ หลบหนี ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม สักวันหนึ่งย่อมดำเนินไปถึงเป้าหมายปลายทาง ตื่นขึ้นจากฝันร้าย ค้นพบเส้นทางชีวิตของตนเอง

ตัดต่อโดย Melody London เพื่อนร่วมรุ่นผกก. Jim Jarmusch ร่วมงานกันมาตั้งแต่ Stranger Than Paradise (1984), Down by Law (1986), Mystery Train (1989) ฯ
หนังเริ่มต้นจากแนะนำสองตัวละคร Jack & Zack ก่อนถูกจัดฉาก จับกุม ติดคุก อาศัยอยู่ในเรือนจำ Orleans Parish Prison ทั้งสองมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยครั้ง จนกระทั่งการมาถึงของ Roberto ชายชาวอิตาเลี่ยน พูดภาษาอังกฤษงูๆปลาๆ วันหนึ่งชักชวนหลบหนีเข้าไปในป่า แล้วพยายามหาหนทางกลับออกมา
- Jack & Zack
- Opening Credit ร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ท้องถนน New Orleans
- Zack ถูกแฟนสาวขับไล่ออกจากอพาร์ทเม้นท์ เตร็ดเตร่อยู่ตามท้องถนน
- โสเภณีผิวสีของ Jack พร่ำบ่นโน่นนี่นั่น จากนั้นชายร่างอวบอ้วน Gig มาโน้มน้าวให้เขาไปเชยชมสินค้าใหม่ แต่แท้จริงแล้วทั้งหมดคือการจัดฉาก ถูกตำรวจบุกเข้ามาจับกุม
- กลับมาที่ Zack ได้รับการว่าจ้างให้ขับรถจากจุดรับไปยังเป้าหมาย แต่นั่นกลับกลายเป็นการจัดฉาก ถูกตำรวจล้อมจับกุม
- Orleans Parish Prison
- Zack เข้ามาในห้องขังก่อน ใช้ชีวิตอยู่ตัวคนเดียวมาหลายวัน
- ติดตามด้วย Jack ปฏิเสธพูดคุย ไม่อยากสุงสิง สนทนากันเมื่อไหร่มีเรื่องชกต่อย
- การมาถึงของ Roberto พยายามทักทายทั้งสอง แต่ช่วงแรกๆไม่มีใครสนใจ
- ไม่นานนัก Roberto ช่วยประสานรอยร้าวระหว่าง Jack & Zack ทั้งสามกลายเป็นเพื่อนกัน
- และวันหนึ่ง Roberto ชักชวนพวกเขาหลบหนีออกจากเรือนจำ
- การหลบหนี
- Jack & Zack และ Roberto หลบหนีออกจากเรือนจำ ข้ามแม่น้ำ หลับนอนในป่า
- มาจนถึงกระท่อมหลังน้อยที่ภายในมีสภาพไม่ต่างจากเรือนจำ
- พายเรือหลบทาง จนเรืออับปาง
- ค่ำคืนนี้ Roberto ย่างกระต่าย ขณะที่ Jack & Zack จัดการปัญหาขัดแย้ง
- ในที่สุดก็พบเจอถนนหนทาง และบ้านหลังหนึ่ง ได้รับความช่วยเหลือจาก Nicoletta
- Roberto ตัดสินใจลงหลักปักฐาน, Jack & Zack ต่างแยกย้ายขึ้นเหนือ-ล่องใต้
ในส่วนของเพลงประกอบ (Original Soundtrack) แต่ง/บรรเลงโดย John Lurie ทั้งหมดคือสไตล์เพลง (Small) Jazz ท่วงทำนองนุ่มๆ คลอประกอบพื้นหลังเบาๆ (บางครั้งแทบจะไม่ได้ยินอะไร) ช่วยเสริมบรรยากาศทะมึน อึมครึม สร้างความปั่นป่วนทรวงใน
ผู้ชมส่วนใหญ่คงจดบทเพลงคำร้องของหนังได้มากกว่า มีทั้งหมด 4 บทเพลง
- Jockey Full of Bourbon แต่ง/ขับร้องโดย Tom Waits จากอัลบัม Rain Dogs (1985) ดังขึ้นระหว่าง Opening Credit ถ่ายภาพทิวทัศน์ท้องถนน New Orleans
- Crying (1961) แต่งโดย Roy Orbison และ Joe Melson, ได้ยินขับร้องเฉพาะท่อนแรกโดย Tom Waits ระหว่างขับรถ ซ้อมดีเจ “I was alright for a while, I could smile for a while” ก่อนถูกสั่งหยุดโดยตำรวจ เลยได้ “Cry over you”
- It’s Raining (1961) แต่งโดย Naomi Neville (นามปากกาของ Allen Toussaint), ขับร้องโดย Irma Thomas ดังจากตู้เพลงตอนเช้า Roberto ลุกขึ้นมาเต้นรำกับ Nicoletta
- Tango Till They’re Sore แต่ง/ขับร้องโดย Tom Waits จากอัลบัม Rain Dogs (1985) ดังขึ้นระหว่าง Closing Credit
ผมเลือก It’s Raining แนว Soul/R&B บทเพลงแห่งความภาคภูมิใจของชาวผิวสีใน Louisiana (และ Deep South) เพราะทั้งนักร้อง นักแต่งเพลง รวมถึงเจ้าของค่ายเพลง ล้วนเป็นชาวผิวสีใน New Orleans แล้วประสบความสำเร็จจนกลายเป็นตำนาน, ผู้แต่งเพลง Allen Toussaint เล่าว่าวันหนึ่งเดินทางมาเยี่ยมเยียนบ้านของครอบครัว Irma Thomas ภายนอกฝนตกหนัก เลยแต่งเพลงนี้ให้เธอขับร้อง … นี่เป็นบทเพลงที่ชวนให้ผมนึกถึง ฝนตกที่หน้าต่าง ของเสก โลโซ
It’s raining so hard
It looks like it’s gonna rain all night
And this is the time I’d love to be holding you tight
But I guess I’ll have to accept the fact that you are not here
I wish tonight would hurry up and end, my dearIt’s raining so hard
It’s really coming down
Sittin’ by my window
Watchin’ the rain fall to the ground
This is the time I’d love to be holding you tight
I guess I’ll just go crazy tonightIt’s raining so hard
Brings back memories of the times when you were here with me
Counting every drop about to blow my top, I wish this rain
Would hurry up, and stopI’ve got the blues so bad
I could hardly catch my breath
The harder it rains, the worst it gets
This is the time I’d love to be holding you tight
I guess I’ll just go crazy tonight
Jack & Zack คือไม้เบื่อไม้เมา ไม่ถูกชะตาตั้งแต่แรกพบเจอ มักเกิดความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง จนกระทั่งการมาถึงของ Roberto/Bob ชายชาวอิตาเลี่ยนที่ไม่รู้ประสีประสา ภาษาอังกฤษงูๆปลาๆ เต็มไปด้วยความสมเพศเวทนา แต่หลังจากเรียนรู้ตัวตนของอีกฝ่าย ฆ่าคนตายโดยไม่ได้ด้วยเจตนา มันถือเป็นความซวยซ้ำซวยซ้อน ซวยยิ่งกว่าการถูกจัดฉากของตนเอง จึงเกิดความสงสารเห็นใจ ให้การยอมรับเป็นพวกพ้อง ‘Down by Law’ พากันร่วมหลบหนีออกจากเรือนจำ
‘สไตล์ Jarmusch’ รับอิทธิพลไม่น้อยจากปรมาจารย์ผู้กำกับ Yasujirô Ozu โดยเฉพาะการไม่ค่อยนำเสนอ Action กระตุ้นอะดรีนาลีนให้คลุ้มคลั่ง มากสุดคือการชกต่อยระหว่าง Jack & Zack นอกนั้นจะเป็นบทสนทนา เดินไปเดินมา บรรยากาศมาคุกรุ่น เปรียบดั่งการร่วมเพศสัมพันธ์ที่ไม่เคยถึงจุดไคลน์แม็กซ์
โดยปกติแล้วภาพยนตร์แนวแหกคุก (Prison Escape) มักต้องมีความตื่นเต้นลุ้นระทึก นำเสนอวิธีการ กระบวนการ ทำอะไรยังไง ขุดอุโมงค์ ปีนป่ายช่องระบายอากาศ มุดท่อระบายน้ำเสีย ฯ แต่ทว่า ‘สไตล์ Jarmusch’ ทำลายความคาดหวังดังกล่าวลงโดยสิ้นเชิง ชักชวนกันหลบหนี ตะลึ่งตึงโป๊ะ! แล้วพวกเขาก็สามารถหลบหนีออกมาได้สำเร็จ หนังจบลงอย่าง แค่นั้นนะเหรอ?
การนำเสนอในลักษณะ ‘Anti-Climax’ ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจผู้ชมจากความตื่นเต้นเหล่านั้น หันมองหาประเด็นแท้จริงของหนังที่เกี่ยวกับมิตรภาพ ความสัมพันธ์ สองบุคคลที่มีความขัดแย้ง แตกต่างตรงกันข้าม สหรัฐอเมริกา vs. สหภาพโซเวียต, ประชาธิปไตย vs. คอมมิวนิสต์, หัวก้าวหน้า vs. อนุรักษ์นิยม ฯ พวกเขาจะสามารถสมัครสมานฉันท์ เมื่อมีบุคคลที่สามคอยช่วยประสานความแตกต่าง (หรือเผชิญหน้าศัตรูเดียวกัน)
ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เผื่อจะทำให้มองเห็นภาพชัดขึ้นกับการเมืองปัจจุบัน จีน-รัสเซีย (รวมถึงอินเดีย-ตะวันออกกลาง) โดยปกติแล้วเต็มไปด้วยอคติ ความขัดแย้ง อดีตรบราฆ่าฟันกันมานมนาน แต่พอพวกเขามีศัตรูเดียวกันอย่างสหรัฐอเมริกา ก็กลับกลายเป็นพันธมิตร เผชิญหน้าหมาอำนาจตะวันตก!
หนังไม่ได้มีการอ้างอิงประเด็นการเมือง แต่ที่ผมยกตัวอย่างก็เพื่อสื่อถึงความคลอบจักรวาลในการตีความ การมาถึงของบุคคลที่สาม (ไม่ว่าจะคือมิตรหรือศัตรู) อาจช่วยประสานรอยร้าวระหว่างคนสอง บังเกิดมิตรภาพ พึ่งพาอาศัย ลงเรือลำเดียวกัน ร่วมหัวจมท้าย ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม จนได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง … นั่นคือความหมายของชื่อหนัง Down by Law
ผกก. Jarmusch ตั้งแต่แรกพบเจอ Roberto Benigni แม้คุยรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง กลับสามารถสร้างความชื่นชอบประทับใจ ถึงขนาดครุ่นคิดพัฒนาบทหนังเรื่องนี้โดยให้อีกฝ่ายคือจุดศูนย์กลาง เชื่อว่าเสียงหัวเราะ ความไร้เดียงสาของเขา จะทำให้ผู้ชมบังเกิดรอยยิ้ม โลกสงบสุขขึ้นแม้แค่เพียง 107 นาที
นิตยสาร Variety รายงานว่าหนังใช้งบประมาณ $2 ล้านเหรียญ แต่ในรายงานโปรดักชั่นระบุตัวเลข $1.03 ล้านเหรียญ (ยังไม่รวมหลังโปรดักชั่นและประชาสัมพันธ์) ส่วนรายรับอ้างอิงจาก Boxofficemojo ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $1.435 ล้านเหรียญ
ด้วยความที่เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes แม้ไม่ได้รางวัลใดๆติดไม้ติดมือกลับมา แต่นั่นคือโอกาสส่งออก ขายได้หลายประเทศ ชื่อของผกก. Jarmusch กลายเป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอิตาลี เนเธอร์แลนด์ ฯ และยังเข้าชิง Independent Spirit Award อีกสี่สาขา (เพิ่งจัดขึ้นเป็นปีที่สอง)
- Best Feature พ่ายให้กับ Platoon (1986)
- Best Director
- Best Actor (Roberto Benigni)
- Best Cinematography
ปัจจุบันหนังได้รับการสแกนใหม่ HD digital transfer เมื่อปี ค.ศ. 2022 ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผกก. Jarmusch สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray หรือรับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel
เกร็ด: จากบทสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 1996, ผกก. Jarmushc กล่าวว่ามีความชื่นชอบโปรดปราน Down by Law (1986) มากที่สุด
Well, I don’t look back at my films when they’re done. I don’t like to look backwards. In my memory, my favorite film is ”Down by Law.” I remember the memories of making the film more vividly than I can recall the film itself.
Jim Jarmusch
สิ่งที่ทำให้ผมโคตรๆประทับใจ Down by Law (1986) ก็คือความเรียบง่าย บริสุทธิ์ ไม่มีการปรุงปั้นแต่งอะไรใดๆ แต่กลับเคลือบแฝงนัยยะอย่างลุ่มลึกล้ำ ทำลายกรอบความคิด เปิดหน้าต่างจิตใจ ปลดเปลื้องทุกสิ่งอย่าง จนหลงเหลือเพียงจิตวิญญาณ ตกหลุมรักมิตรภาพ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความมหัศจรรย์ของ Roberto Benigni โดยเฉพาะช่วงท้ายเมื่อรับรู้ว่าเธอคนนั้นคือว่าที่ภรรยา นั่นคือโชคชะตา ฟ้าลิขิตโดยแท้
จัดเรต 15+ กับความเสื่อมทรามของสังคม
Leave a Reply