Love Stream

Love Streams (1984) hollywood : John Cassavetes ♥♥♥♥

แม้ไม่ใช่ภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย แต่ใครๆต่างยกให้ Love Streams (1984) คือผลงานสวอนซองของผู้กำกับ John Cassavetes สร้างขึ้นหลังรับรู้ว่าล้มป่วยโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ร่วมแสดงกับศรีภรรยา Gena Rowlands บทสรุปเรื่องราวความรักระหว่างเราสอง, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin

John Cassavetes’s “Love Streams” is the kind of movie where a woman brings home two horses, a goat, a duck, some chickens, a dog, and a parrot, and you don’t have the feeling that the screenplay is going for cheap laughs.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4

Love Streams (1984) เป็นผลงานผิดแผกแตกต่างจาก ‘สไตล์ Cassavetes’ ที่โดยปกติมุ่งเน้นขายการแสดงมากกว่าอะไรอย่างอื่น แต่เฉพาะเรื่องนี้แพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ ลีลาตัดต่อที่โคตรๆน่าหงุดหงิด “Love is a stream—it’s continuous” แต่กลับเต็มไปด้วยการถูกขัดจังหวะ กระโดดไปกระโดดมา ขัดย้อนแย้งกันเอง อยากแทรกอะไรก็ใส่เข้ามา หมูหมากาไก่ หรือฉากบัลเล่ต์/อุปรากรในความฝัน แม้งห่าเหว บ้าบอคอแตกอะไร? … ท้าทายให้ผู้ชมขบครุ่นคิด ค้นหานัยยะความหมายของสิ่งเหล่านั้น

ลีลาดำเนินเรื่องที่ดูไม่เหมือนชื่อหนัง Love Stream ก็เพื่อจะนำเสนอเรื่องราวของสองพี่น้องที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม แต่สามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบริบูรณ์

  • ตัวละครของ Gena Rowlands เชื่อมั่นว่า “Love is a stream” เป็นคนคลั่งรักอย่างรุนแรง ต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง จนหลายๆครั้งดูมากล้น จนสามีแทบมิอาจอดรนทนไหว
  • ตัวละครของ John Cassavetes แม้เปลี่ยนสาวหลับนอนไม่ซ้ำหน้า แต่เป็นคนไม่เชื่อในรัก ปฏิเสธลงหลักปักฐานกับใคร (เคยมีภรรยาและบุตร แต่ก็เลิกราหย่าร้างไปแล้ว)

เรื่องราวในหนังสะท้อนตัวตนและความสัมพันธ์ระหว่าง Cassavetes และ Rowlands พวกเขามีความแตกต่างตรงกันข้าม แต่เพราะสามารถเปิดอกเปิดใจ พร้อมระบายสิ่งอัดอั้นภายใน เดี๋ยวรัก-เดี๋ยวเลิก แต่ประเดี๋ยวก็หวนกลับมาคืนดี มีปัญหาอะไรก็พูดคุยสนทนา แสดงออกมาตรงๆ นั่นทำให้ความรักมั่นคง ยืนยง จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

I have a one-track mind. That’s all I’m interested in, is love. And the lack of it. When it stops. And the pain that’s caused by loss or things taken away from us that we really need. So Love Streams is just … another picture in search of that grail … or whatever.

John Cassavetes

John Nicholas Cassavetes (1929-89) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Greek-American เกิดที่ New York City บิดา-มารดาเป็นผู้อพยพชาวกรีก จนอายุ 7 ขวบพูดภาษาอังกฤษไม่ได้สักประโยค, เนื่องจากสนทนาไม่ได้ เรียนไม่เก่ง เลยตัดสินใจดำเนินรอยมารดาเป็นนักแสดง เข้าศึกษายัง American Academy of Dramatic Arts พบเจอว่าที่ศรีภรรยา Gena Rowlands, เริ่มทำงานฟากฝั่งละครเวที แสดงซีรีย์ หนังเกรดบี ช่วงปี ค.ศ. 1956 ก่อตั้ง Acting Workshop ร่วมกับ Burt Lane (บิดาของนักแสดง Diane Lane) เพื่อโต้ตอบเทคนิค Method Acting ของ Lee Strasberg ตั้งชื่อว่า The Cassavetes-Lane Drama Workshop แล้วสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก Shadows (1959)

ช่วงปลายทศวรรษ 70s, ผกก. Cassavetes มีแนวคิดทำโรงละคอนที่ผู้ชมจ่ายเงิน ตีตั๋วเข้ามา โดยไม่รับรู้ว่าวันนี้จะมีการแสดงเรื่องอะไร นักแสดงชุดเดิม แต่ปรับเปลี่ยนเนื้อหา เอาตามอารมณ์ผู้กำกับ

I have an idea to have a theater where the audience doesn’t know what they’re going to see, where they just come to the theater. There would be two or three actors playing the same part. Today’s audiences have no excitement of anticipation. What I’d like to do is say, ‘OK, we start at curtain time; here is a list of plays we are going to be doing. You can get up and leave if you have seen it before.’

John Cassavetes

ตั้งชื่อโปรเจคว่า Three Plays of Love and Hate โดยมีสามชุดการแสดง เล่นสลับกันตามอารมณ์ผู้กำกับ/นักแสดง ประกอบด้วย

  • Knives พัฒนาบทโดย John Cassavetes, เรื่องราวของนักแสดงเดี่ยวไมโครโฟน (Stand-up Comedian) รับบทโดย Peter Falk เข่นฆาตกรรมภรรยา รับบทโดย Shera Danese (ภรรยาจริงๆของ Falk) แล้วเขากำลังจะขึ้นศาลไต่สวน โดยที่อัยการทั้งหมดคือผู้หญิง
  • The Third Day Comes พัฒนาบทโดย Ted Allen, เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวไม่สมประกอบ (Dysfunctional Family) บิดาชอบใช้ความรุนแรงกับบุตรชาย ทำให้เขาแอบสานสัมพันธ์ทางเพศ (Incest) กับน้องสาว
  • Love Streams ดัดแปลงจากละคอนเวที I’ve Seen You Cut Lemons (1970) ของ Ted Allen, นำแสดงโดย Gena Rowlands & Jon Voight

ปล. The Third Day Comes และ Love Streams ต่างคืออัตชีวประวัติของ Ted Allen มีวัยเด็กที่ไร้ความสุข มักถูกบิดากระทำร้ายร่างกาย แอบสานสัมพันธ์กับน้องเลี้ยง (Step-Sister) พอโตขึ้นแต่งงานสี่ครั้ง ปล่อยทิ้งปล่อยขว้างลูกๆของตนเอง

Allan’s childhood was extremely unhappy and left him with many unresolved conflicts with his father and his mentally ill step-sister (with whom, in his own words, he had ‘an emotionally incestuous relationship’). As an adult, Allan had been divorced four times and had a succession of unhappy romantic relationships.

Ray Carney จากหนังสือ Cassavetes on Cassavetes (2001)

I’ve Seen You Cut Lemons คือบทละคอนสั้นๆ ประกอบด้วยนักแสดงเพียงสองคน Diane Cilento & Robert Hardy, กำกับโดย Sean Connery ทำการแสดงที่กรุง London แม้เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่ระหว่างที่ผกก. Cassavetes เคยนำหนังไปฉายที่อังกฤษ รับชมแล้วเกิดความชื่นชอบหลงใหล กลายเป็นเพื่อนสนิทสนมกับ Allan ร่วมกันปรับปรุงเรื่องราว เพิ่มเติมโน่นนี่นั่นจนแทบไม่หลงเหลือเค้าโครงเดิม (Allan เลยยกโปรเจคนี้ให้ Cassavetes) และปรับเปลี่ยนชื่อใหม่จาก Brother/Sister, Everyone Else Is a Stranger ก่อนลงเอย Love Streams

I’ve Seen You Cut Lemons was a two-character play; Ted’s version began at the point Sarah comes to visit Robert, drives him crazy, and goes into a great deal of bitterness and recrimination at him for having committed her to an institution when she was younger. Ted and I started talking about what was wrong with the play and why it hadn’t worked several times when we did it. It was brilliantly written. It was a very, very interesting play, and the first part was exceptional. But by the end you hated the woman because she just kept on being what somebody who was in an institution might be to you when you’re living your life, however badly, and somebody comes and breaks your way of life up. And I also didn’t like the man, he just sits there and listens to this woman raving on for a long time. And so we worked on it for years before we put it on the stage.

John Cassavetes

Three Plays of Love and Hate เป็นโปรเจคที่ผกก. Cassavetes ตั้งใจทุ่มสุดตัว! ละคอนเวทีที่โปรดักชั่น แสง-สี-เสียง อลังการงานสร้างแบบภาพยนตร์ (ให้นิยาม novel ‘cinematic’ form) แม้เสียงตอบรับจะค่อนข้างดี มีนายทุนยื่นข้อเสนอให้ทำการแสดงยาวนานกว่าห้าสัปดาห์ (ผมหาเวลาที่ทำการแสดงเป๊ะๆไม่ได้ แค่ระบุว่าช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1981) แต่กลับได้รับคำตอบปฏิเสธ โปรเจคนี้ทำเพื่อสนองตัณหา ไม่ใช่เงินตรา

The season ended as soon as the five-week run was completed. Though hundreds of people were turned away from the box-office each week, and Cassavetes was asked to extend the season for at least a few more weeks, he absolutely refused to. It is revealing that when a cabletelevision network learned of the production and offered money to tape it for later broadcast, and a couple of producers proposed taking the production to New York and London, Cassavetes turned the offers down. He was offered big money – a figure of $200,000 up front was rumored at one point – but, as Bo Harwood put it, ‘He knew that money would change things.’ He wanted the production to stay the way it was – raw, experimental, exploratory, personal. Letting outsiders get their fingers in the pot would change everything. It was done for love and fun and friendship and not money.

Ray Carney จากหนังสือ Cassavetes on Cassavetes (2001)

แต่จริงๆมันมีอีกเหตุผลที่ Cassavetes ตอบปฏิเสธนายทุน ไม่ยินยอมขยับขยายเวลาโปรเจคนี้ เพราะเริ่มตระหนักถึงความผิดปกติร่างกาย เต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า … โปรดักชั่นละคอนเวทีห้าสัปดาห์คงแทบไม่ได้หลับได้นอน สำหรับคนอายุห้าสิบกว่าๆย่อมต้องเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าเป็นธรรมดา

Ted Allan and Sam Shaw said Cassavetes seemed more worn out than they had ever seen him before. They had intimations that there might be something terribly wrong with his health.

เกร็ด: ผกก. Cassavetes เลื่องชื่อเรื่องการดื่มหนัก (Heavy Drinker) เห็นว่าตั้งแต่สมัยวัยรุ่น เช้า-สาย-บ่าย-เย็น ก่อนนอน ต้องยกซดครั้งละแก้วสองแก้วอยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่เสร็จจากโปรดักชั่น Three Plays of Love and Hate (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1981) ผกก. Cassavetes ก็ครุ่นคิดอยากดัดแปลง Love Streams เป็นภาพยนตร์ แต่ก็ไม่มีสตูดิโอไหนให้ความสนใจ จนกระทั่งมกราคม ค.ศ. 1983 พบเจอสองโปรดิวเซอร์ชาวอิสราเอล Menahem Golan และ Yoram Globus (ผกก. Cassavetes ตั้งชื่อเล่นให้ทั้งสอง ‘the Bagel boy’) ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Cannon Films แสดงความสนใจอยากให้การสนับสนุนทุนสร้างโปรเจคเรื่องนี้

I think Cannon wanted to break into the artistic world and be accepted. They needed us to make an artistic film to give them some feeling of respectability – although I’ve never been! And for that they said, ‘OK, we’ll make the film if you can make it for next to nothing.’ And we said, ‘OK. We’ll make it for next to nothing because you’re the only person that would do it.’ And so they said, ‘OK.’

I found myself going to Menahem and saying, ‘We have a story. This absolutely will not make any money. Probably no one will want to see it, but it is a wonderful film.’ And he said, ‘Why the hell should I go into a picture you tell me is not going to make any money?’ I told him I didn’t know that it wouldn’t make money but I suspect it wouldn’t. Then he said, ‘What’s the story?’ People get interested when you challenge them in that way.

John Cassavetes

ตอนผกก. Cassavetes ยื่นเสนอโปรเจคนี้ไป สองโปรดิวเซอร์ชาวอิสราเอลก็เกิดความโล้เล้ลังเลใจ “Why the hell should I go into a picture you tell me is not going to make any money?” จนกระทั่งมีการกล่าวถึงฉากที่ Sarah นำพาสรรพสัตว์ขึ้นรถแท็กซี่กลับบ้าน “The scene where Sarah brings in the animals with the cab driver is going to be a riot!” นั่นเองที่ทำให้พวกเขายินยอมอนุมัติโปรเจค มอบทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ … มันอาจจะน้อยกว่า Gloria (1980) แต่ถือเป็นโปรเจคส่วนตัวได้ทุนสร้างมากที่สุด และเป็นครั้งที่สองถัดจาก Minnie and Moskowitz (1971) มีเงินจ่ายค่าตัวนักแสดง!


เรื่องราวของสองพี่น้อง Robert Harmon (รับบทโดย John Cassavetes) และ Sarah Lawson (รับบทโดย Gena Rowlands) ต่างคนต่างมีวิถีชีวิต ความครุ่นคิด ทัศนคติความรักที่แตกต่างกัน แต่ขณะนั้นทั้งคู่ได้รับบาดแผลทางจิตใจ หวนกลับมาพบเจอในรอบหลายปี พึ่งพาอาศัย ก้าวผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย


John Cassavetes รับบท Robert Harmon นักเขียนนวนิยายชื่อดัง ผู้ชื่นชอบการดื่มด่ำ เมามาย และมีหญิงสาวหลับนอนข้างกาย แต่งงานมาแล้วหลายครั้งล้วนจบลงด้วยการหย่าร้าง วันหนึ่งอดีตภรรยาพาบุตรชายวัยแปดขวบมาฝากให้เลี้ยงดูแล แต่ก็ปฏิบัติต่อเขาราวกับไร้ตัวตน ไม่สนอะไรใครอื่นนอกจากความสุขของตนเอง

การหวนกลับมาของน้องสาว Sarah เมื่อรับรู้ปัญหาก็เสนอแนะให้ตัดขาดสามี พยายามปกปักษ์รักษา ยินยอมทำตามคำร้องขอทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้คลายความซึมเศร้าโศก เรามีเพียงสองพี่น้องพึ่งพาอาศัยกัน! … แต่ท้ายที่สุดเธอก็ร่ำลาจากไป ทอดทิ้งเขาไว้ตามลำพัง ในค่ำคืนฝนตกพรำ

ในตอนแรก Jon Voight ตอบตกลงว่าจะหวนกลับมารับบทบาทเคยแสดงละคอนเวที แต่ด้วยเหตุผลบางประการ (บ้างว่าความคิดสร้างสรรค์แตกต่าง) เพียงสองสัปดาห์ก่อนเริ่มถ่ายทำขอถอนตัวออกไป มันช่างกระชั้นชิด ผกก. Cassavetes เลยตัดสินใจเล่นบทบาทนี้ด้วยตนเอง

We were two weeks away from shooting when Jon decided not to do the movie. So I did it – but reluctantly. It was very difficult. I hated Jon Voight for leaving because he didn’t let us know that he was not going to do it until the last second. And though I like Jon very much and thought he’d be brilliant, it was either me play the part or not do the film. A lot of things were redone as a result. I’m nowhere near Jon’s disposition or personality. Apart from the fact that he and Gena look so much alike. They’re both blonde; they look like they could come from the same family. Everything had to change because Jon is a different person. Different ideas, different physical, you know, there were so many things. For one thing, I’m not a ladies’ man, so I didn’t know what the hell to do. It was perfectly all right for Voight to be a ladies’ man, but I’m not exactly James Bond. Robert Harmon had girls living in his house. I felt too old and inadequate. Jon had been hilarious, really great. I wish I could have done it his way because I liked his version much more than mine. But I couldn’t be that way. I had to do it different. All the work that Ted and Gena and Jon had done in the play would have to be redone. I had to do some studying and we’d have to approach the story in a different way. I studied the script. All the things that I had ever told actors about studying, I was now having to do.

John Cassavetes

Voight สมัยหนุ่มๆโคตรหล่อ เซ็กซี่ ขี้เล่น (นึกถึงภาพยนตร์ Midnight Cowboy (1969)) สามารถเป็นน้องชายเจ้าสำราญของ Gena Rowlands, แต่พอเปลี่ยนมา Cassavetes ที่แก่หงัก อายุห้าสิบกว่าๆ ใบหน้าเต็มไปด้วยริ้วรอยเหี่ยวย่น มันเลยกลายเป็นเหมือนเสี่ยเลี้ยงเด็กเสียมากกว่า … เปลี่ยนตัวนักแสดง อะไรหลายๆก็เลยต้องปรับเปลี่ยนแปลงไป

แม้ว่า Cassavetes จะไม่มีภาพลักษณ์เพลย์บอย แต่ผมชื่นชอบริ้วรอยเหี่ยวย่น ดูเหมือนคนพานผ่านอะไรมามาก ทุกข์รมานกับชีวิต เดี๋ยวรัก-เดี๋ยวเลิก แต่งงาน-หย่าร้าง จนหมดสิ้นศรัทธาความรัก พยายามสร้างภาพเย่อหยิ่ง ทะนงตน หลอกตนเองว่าฉันไม่ต้องการใคร ถึงอย่างนั้นทุกค่ำคืนกลับต้องมีหญิงสาว(ไม่ซ้ำหน้า)หลับนอนเคียงข้างกาย การกลับมาของน้องสาวสุดที่รัก เป็นบุคคลเดียวสามารถเติมเต็มช่องว่างจิตใจ รักอย่างไม่มีเงื่อนไข (ไม่มีความสัมพันธ์ทางกายเข้ามาเกี่ยวข้อง) เขาจึงพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไม่ให้เธอร่ำลาจากไป

ไคลน์แม็กซ์ของหนังผมรู้สึกเศร้าโคตรๆ เพราะเรื่องราวมันคาบเกี่ยวชีวิตจริง ผกก. Cassavetes รับรู้ตนเองว่ามีชีวิตอยู่อีกไม่นาน (ล้มป่วยตับแข็ง) สังเกตสายตาเต็มไปด้วยความห่วงโหยหาอาลัย ไม่อยากร่ำลาจากเธอคนรัก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากทอดถอนลมหายใจ


Virginia Cathryn ‘Gena’ Rowlands (1930-2024) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Madison, Wisconsin มารดาคือนักแสดงละครเวที Lady Rowlands, โตขึ้นเข้าเรียน University of Wisconsin ได้เป็นสมาชิกชมรม Kappa Kappa Gamma ยังไม่ทันสำเร็จการศึกษาเดินทางสู่ New York City เพื่อเข้าเรียนการแสดง American Academy of Dramatic Arts พบเจอแต่งงานกับ John Cassavetes ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954, เริ่มต้นจากเป็นนักแสดงละคอนเวที Broadway ซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก The High Cost of Loving (1958), ร่วมงานขาประจำสามีทั้งหมด 10 ครั้ง อาทิ Faces (1968), A Woman Under the Influence (1974), Opening Night (1977), Gloria (1980), Love Streams (1984) ฯ

รับบท Sarah Lawson หญิงสาวผู้คลั่งรัก มอบให้กับสามีมากล้นจนเขาขอหย่า ขณะกำลังหาข้อตกลงทางกฎหมาย บุตรสาวกลับขออาศัยอยู่กับบิดา ทำให้เธอเกิดอาการคลุ้มคลั่ง แทบมิอาจควบคุมตนเอง จิตแพทย์แนะนำให้เดินทางไปท่องเที่ยวยุโรป กลับประสบหายนะเพราะความไม่รู้จักเพียงพอดี

หลังกลับจากยุโรปเดินทางไปพึ่งใบบุญพี่ชาย Robert ได้รับกำลังใจ บังเกิดพลังในการใช้ชีวิต ตอบแทนด้วยการซื้อสรรพสัตว์เลี้ยงมาให้เขาดูแล ก่อนตนเองทรุดล้มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ ฝันถึงการแสดงบัลเล่ต์/อุปรากรที่สามีพยายามร้องขอคืนดี นั่นทำให้ค่ำคืนนี้แม้ฝนตกหนัก เธอพยายามออกเดินทางกลับไปหาชายคนรักให้จงได้!

Sarah Lawson has dedicated her life to her husband Jack and her daughter Debbie, but the marriage is over; both Jack and Debbie feel suffocated by her intensity, her enveloping love, her flights into mental illness. For Sarah, every moment is crucial and every conversation is capable of changing one’s life whether she’s been married to you for fifteen years or whether she’s only known you for five minutes. Husband and daughter love her but feel they need to live without her. This sends her way over the deep end, thrashing around to find a center for her life.

John Cassavetes

เกร็ด: Gena Rowlands และ Seymour Cassel เคยรับบทสามี-ภรรยากันทั้งหมดสามครั้ง ซึ่งเราสามารถไล่เรียงความสัมพันธ์ กลายเป็นหนังไตรภาคที่เริ่มจากจีบกัน Minnie and Moskowitz (1971), แต่งงาน A Woman Under the Influence (1974) และหย่าร้าง Love Streams (1984)

การแสดงของ Rowlands เต็มไปด้วยความบ้าๆบอๆ ไม่รู้จักพอ รักคลั่งดั่งกระแสน้ำ อารมณ์ขึ้นๆลงๆ ประเดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ สำหรับคนเคยรับชมหลายๆผลงานของเธอ ก็คงมักคุ้นสไตล์การแสดงเป็นอย่างดี มันแทบไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ยังคงเต็มไปด้วยความน่าตื่นตาตื่นใจ ราวกับขึ้นรถไฟเหาะ (Rollercoaster)

ฉากการแสดงน่าจดจำของ Rowlands ในหนังเรื่องนี้มีอยู่สองฉาก คือตอนเดินทางไปท่องเที่ยวยุโรป และซื้อสรรพสัตว์ให้กับพี่ชาย ต่างลักษณะคล้ายๆกันคือมากล้น วิกลจริต ไม่สามารถควบคุมสติตนเอง … แต่ผมรู้สึกว่ามันมีความน่าจดจำในเชิงสัญญะมากกว่าการแสดงเสียอีกนะ!


ถ่ายภาพโดย Al Ruban ร่วมงานผกก. John Cassavetes มาตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องแรก Shadows (1959) [เป็นผู้ช่วยตากล้อง Erich Kollmar], บางครั้งได้เครดิตถ่ายภาพ บางครั้งได้เครดิตโปรดิวเซอร์ ช่วยงานกันจนถึงผลงานเรื่องสุดท้าย Love Streams (1984)

โดยปกติแล้วงานภาพใน ‘สไตล์ Cassavetes’ จะเลือกใช้กล้องขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถถือด้วยมือ (Hand Held) เดินไปเดินมา บันทึกภาพส่ายๆสั่นๆ แต่หลังจาก Opening Night (1977) ที่สเกลงานสร้างใหญ่เกินกว่าจะมีเวลาให้ผกก. Cassavetes ถือกล้องเดินถ่ายทำด้วยตนเอง จำต้องมอบอิสรภาพให้กับ Al Ruban ที่มีแนวทางของตนเองแตกต่างออกไป

Love Streams (1984) ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Arriflex 35 BL ที่มีขนาดใหญ่ เทอะทะ ไม่สามารถยกเดินไปเดินมา เลยไม่มีภาพส่ายๆสั่นๆสักช็อตฉาก! คงเพราะงบประมาณได้จาก Cannon Films มากเพียงพอจะติดตั้งเครน รางเลื่อน ทำให้การเคลื่อนไหวมีความลื่นไหล ‘สไตล์ Hollywood’

Love Streams is much more formal than my other films. Everyone complained for so long about us being informal that I thought maybe we’d do a formal film. In a way, it’s just a representation of the fact that nothing is happening in the characters’ lives and relationships. You can’t have it be goulash and have nothing happening. It just singles itself out from moment to moment, when somebody is in a place where nothing is going on.

John Cassavetes กล่าวถึงเหตุผลที่ไม่เลือกใช้กล้อง Hand Held

ด้วยเงินทุนที่มากเหลือเฟือ ผกก. Cassavetes ยังต่อรองโปรดักชั่นยาวนาน 13 สัปดาห์ (ระหว่าง 16 พฤษภาคม – 11 สิงหาคม ค.ศ. 1983) ทั้งๆส่วนใหญ่ถ่ายทำยังบ้านของตนเอง ณ 7917 Woodrow Wilson Drive ย่าน Hollywood Hills (Los Angeles) ส่วนสถานที่อื่นๆก็อยู่ละแวกนั้น ไม่ได้ห่างไกลกันสักเท่าไหร่ เพื่อให้เวลาสำหรับซักซ้อม ปรับปรุงแก้ไขบท ทำงานอย่างไม่เร่งรีบ ปิดกล้องก่อนกำหนดการถึงสองวัน! … โปรเจคอื่นๆก่อนหน้านี้มีแต่ความล่าช้า หยุดพักกองถ่ายเพื่อหาเงินเพิ่ม ไม่เคยเสร็จทันตามกำหนดเลยสักครั้ง!


ตั้งแต่ฉากแรกๆของหนัง Robert ล้วนรายล้อมด้วยสาวๆอาศัยอยู่เต็มบ้าน พอแวะมานั่งดื่มที่ร้าน พูดคุยเพื่อนสาวคนใหม่ “What do you sell?” นี่ไม่ใช่ Faces (1968) สอบถามราคาค่าตัวโสเภณี แต่หมายถึงจุดโดดเด่น ความเป็นตัวของตนเอง ชื่นชอบทำอะไร มีความสุขกับอะไร “Tell me what a good time is?” … นี่มันเหมือนผกก. Cassavetes กำลังสอบถามตนเองเสียมากกว่านะ!

ตัวละคร Robert คล้ายๆกับ Cosmo (รับบทโดย Ben Gazzara) ภาพยนตร์ The Killing of a Chinese Bookie (1976) ต่างรายล้อมด้วยสาวๆสวยๆ จะมองเป็นความเจ้าชู้ประตูดิน หรือสถานะลูกจ้าง-นายจ้าง อาชีพที่ต้องใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้าม นั่นทำให้มุมมอง/ทัศนคติของเขาต่อพวกเธอ (และเรื่องความรัก) ผิดแผกแตกต่างจากคนปกติทั่วไป

Robert มีความสนอกสนใจในตัว Susan นักร้องผิวสี น้ำเสียงดี สวยเซ็กซี่ (ละม้ายคล้ายกับ The Killing of a Chinese Bookie (1976) ตัวละคร Cosmo และมารดา-บุตรสาวผิวสี) พยายามเข้าหา อาสาขับรถพาไปส่งบ้าน แต่ด้วยสภาพมึนเมา ขับชนซ้ายที-ขวาที พอมาถึงหน้าบ้านก็สะดุดล้มเลือดอาบ ล่มปากอ่าว “A perfect ending to a lovely ending.” ฟังดูประชดประชัน แดกดัน มันช่างเป็นคำกล่าวขัดย้อนแย้งสภาพเป็นจริงโดยสิ้นเชิง!

หลังจากบุตรสาวแสดงเจตจำนงค์ต้องการอาศัยอยู่กับบิดา ทำเอา Sarah ตกอยู่ในสภาพห่อเหี่ยวสิ้นหวัง แทบมิอาจอดกลั้น ควบคุมอารมณ์ตนเอง ตอนเดินออกจากห้อง จู่ๆทรุดล้มลงนอนกองกับพื้น นี่แตกต่างจาก Opening Night (1977) ที่ตัวละครของ Gena Rowlands ทิ้งตัวลงนอนกลางเวทีเพื่อเรียกร้องความสนใจ … ในบริบทของหนังนี้คืออาการป่วยทางใจส่งผลกระทบต่อร่างกาย หายใจไม่ออก ยินยอมรับความจริงไม่ได้ ไม่ใช่เสแสร้ง เรียกร้องความสนใจอย่างแน่นอน!

จิตแพทย์แนะนำให้ Sarah ไปท่องเที่ยวผ่อนคลายยุโรป แต่เธอกลับขนข้าวของ ชีวิตเต็มไปด้วยสัมภาระ กระเป๋าเดินทางนับสิบ ไม่สามารถเอาตัวรอดด้วยตนเอง ต้องพึ่งพาพนักงานให้มาช่วยขนย้าย … กลายเป็นหายนะมากกว่าจะมาพักผ่อนคลาย สะท้อนตัวละครที่หมกมุ่นยึดติดในเรื่องความรัก ไม่สามารถควบคุมตนเองให้รู้จักเพียงพอดี ล้วนมากล้นเกินไปทุกสิ่งอย่าง

Sarah โทรศัพท์จากยุโรปหาสามี แต่อีกฝ่ายกลับปฏิเสธพูดคุย วินาทีวางหูโทรศัพท์ ปรากฎภาพความครุ่นคิด/จินตนาการข ขับรถพึ่งชนสามีและบุตรสาว ผมมองว่ามันคืออารมณ์โกรธชั่ววูบ อยากฆ่าให้ตาย แต่ไม่ได้หมายความว่าเธออยากให้พวกเขาเสียชีวิตจริงๆหรอกนะ … ฉากนี้อาจดูไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ (ถ้าไม่เพราะงบเยอะคงไม่ได้ฉากแอ๊คชั่นแบบนี้) แต่มันสามารถเสริมตัวตนของ Sarah รักมากก็ย่อมเกลียดมาก เลือกใช้ชีวิตด้วยอารมณ์ แบกภาระโน่นนี่นั่นจนมากล้น

นี่ก็ละม้ายคล้ายกับ A Woman Under the Influence (1974) เมื่อบิดาต้องกลายเป็นผู้ดูแลบุตร แต่ไม่รู้จะทำอะไรยังไง จึงพาไปเที่ยวทะเล แล้วขากลับสอนดื่มเบียร์, Love Streams (1984) เริ่มจากสอนให้ดื่มเบียร์ แล้วถึงพาไปทิ้งไว้ Las Vegas … ตัวของผกก. Cassavetes ก็ไม่แตกต่างกัน แม้จะมีบุตรถึงสามคน ตอนภรรยาไปทำงาน ไม่อยู่บ้าน ก็ไม่รู้จะทำอะไรยังไงกับพวกเขา

หลังจบทริป Las Vegas เดินทางกลับมาบ้าน สังเกตว่าตลอดซีเควนซ์ปกคลุมด้วยความมืด Robert เดินตุปัดตุเป๋ ชนภาพถ่ายสาวๆกระจัดกระจาย เปิดบทเพลง Where Are You? ท่อนคำร้อง “Where is the dream we started?” เป็นการรำพันความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ชีวิตรักที่ล้มเหลว เริงระบำกับน้องสาว Sarah เราสองช่างไม่แตกต่างกันนัก!

ค่ำคืนเหงาๆ Sarah ตัดสินใจออกจากบ้านไปเล่นโบว์ลิ่ง (Bowling) ครั้งแรกเหมือนจะทำสไตรค์ (Strike) แต่ครั้งสองกลับเป็นเธอที่ล้มกลิ้ง เพราะนิ้วติดอยู่ในรูเอาออกเองไม่ได้ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากชายแปลกหน้า … นัยยะเชิงสัญลักษณ์ของโบว์ลิ่ง มักเกี่ยวกับเป้าหมาย ความสำเร็จ (=โยนลูกบอลทำสไตรค์) ซึ่งสิ่งบังเกิดกับตัวละคร นิ้วติดอยู่ในลูกโบว์ลิ่ง ก็คือชีวิตติดห่วง ไม่สามารถปล่อยละวางหลายๆสิ่งอย่าง (หรือก็คือความรักต่อสามีและบุตร)

ซีเควนซ์นี้ผมนึกถึง A Woman Under the Influence (1974) ตัวละครของ Gena Rowlands หลังถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านตัวคนเดียว (เรื่องนั้นสามีติดงานด่วนเลยไม่ได้กลับบ้าน) เธอจึงตัดสินใจออกหาความสุขด้วยการแวะมาที่บาร์ ขายขนมจีบชายแปลกหน้า แล้วพากลับมาสนองตัณหาข้ามคืน (One Night Stand), Love Streams (1984) เปลี่ยนสถานที่ลานโบว์ลิ่ง และหลังช่วยปลดปล่อยนิ้วมือ (คลายความทุกข์ลงชั่วขณะ) ก็แค่ขับรถพาไปส่งบ้าน (ไม่ได้ร่วมเพศสัมพันธ์กัน)

Robert ได้รับโทรศัพท์จาก Susan แสร้งว่างานด่วนจึงเร่งรีบเดินทางไปหา ระหว่างเฝ้ารอคอยก็เริงระบำกับมารดา สังเกตว่าพวกเขาต่างมีรอยยิ้มแห่งความสุขอยู่ท่ามกลางแสงสว่าง กระทั่งการกลับมาของบุตรสาว (พร้อมกับชายคนใหม่) ใบหน้าตัวละครทั้งหลายต่างปกคลุมอยู่ในความมืดมิดโดยพลัน งานเลี้ยงถึงวันเลิกรา … ผมเคยเห็นลูกเล่นคล้ายๆเดียวกันนี้ใน Faces (1968) งานเลี้ยงกำลังสนุกอยู่ดีๆ แล้วชายคนหนึ่งหันหน้าเข้าสู่ด้านมืด “What do you charge?” ค่ำคืนนี้เลยหมดสนุก จบสิ้นลงโดยพลัน

เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเติมเต็มช่องว่างจิตใจ บางทีสัตว์เลี้ยงอาจช่วยได้! แต่ไม่ใช่หมูหมากาไก่ แพะแกะม้านก ยกมาทั้งโขลงแบบที่ Sarah เหมาหมดขึ้นรถแท็กซี่ กลายเป็นภาระให้กับพี่ชาย

ในบรรดาสัตว์ที่น่าสนใจก็คือเจ้าพิตบูล (Pit Bull) [ตัวเดียวกับที่แสดงภาพยนตร์ Flashdance (1983)] เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเฉลียวฉลาด กล้าหาญ จงรักภักดี ทุ่มเทความรักให้เจ้าของ ได้รับคำนิยามจากผู้เลี้ยง “a warm, wonderful, and fine human being” อาจมีตำหนิตรงใบหน้าดุๆ ดูน่าเกรงข้าม สร้างความหวาดกลัวให้ Sarah แต่พอสามารถเข้าใกล้ ก็แทบมิอาจหักห้ามใจตกหลุมรัก

จู่ๆ Sarah เป็นลมล้มพับ ลงไปนอนกองกับพื้นอีกแล้ว! ผมมองว่านี่คือการย้อนรอยกับตอนต้นเรื่อง อาการป่วยของเธอมีสาเหตุละม้ายคล้ายกัน

  • ตอนต้นเรื่องหลังจากบุตรสาวแสดงเจตจำนงค์ว่าต้องการอยู่อาศัยกับบิดา Sarah ตกอยู่ในความห่อเหี่ยว สิ้นหวัง ความทุกข์ทรมานใจส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย
  • แต่ขณะนี้เธอดูยินดีปรีดา ร่าเริงสดใส หลังจากพาสรรพสัตว์กลับมาให้พี่ชายเลี้ยงดูแล ซึ่งมันอาจเป็นอารมณ์ดีเกินไปจนส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายได้เช่นกัน

อารมณ์ดีเกินไปก็ไม่ดี อารมณ์แย่เกินไปก็ไม่ดี ถ้าไม่สามารถควบคุมตนเอง จากสภาพจิตใจย่ำแย่จะแปรสภาพสู่ร่างกายทรุดโทรม เจ็บป่วยอิดๆออดๆ ไร้เรี่ยวแรง เป็นลมล้มพับ หลับนอนไม่ได้สติ ประมาณนี้กระมัง!

ความพยายามปกป้องน้องสาวของ Robert ถึงขนาดปฏิเสธคำวินิจฉัยหมอ บอกว่าเธอไม่ได้มีอาการผิดปกติใดๆ ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ The Lovers on the Bridge (1991) ที่ตัวละครของ Denis Lavant ก็พยายามปกป้องหญิงคนรัก Juliette Binoche ไม่ให้รับรู้เกี่ยวกับประกาศติดตามหาคนหาย เพราะความเห็นแก่ตัว ไม่ต้องการสูญเสียเธอไป!

กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนเข้าไปยังใบหน้าของ Sarah นอนหลับตา แต่กลับกำลังแฉกยิ้ม เหมือนกำลังหัวร่อในความฝัน จากนั้นตัดภาพเธอทำการแสดงริมสระน้ำ เล่นตกให้กับสามีและบุตรสาวหัวเราะขบขัน แต่ทั้งสองกลับหน้าบึ้งตึง สงบเงียบงัน จนท้ายที่สุดกระโดดม้วนหลังลงสระน้ำ (จมสู่ก้นเบื้องจิตใต้สำนึก)

การแสดงของ Sarah และปฏิกิริยาเฉื่อยชาของสามี ชวนให้ผมนึกถึง Mr. Sophistication ภาพยนตร์ The Killing of a Chinese Bookie (1976) ที่ชอบทำหน้าบึ้งตึง ไม่เคยเห็นยิ้มร่าเริงเลยสักครั้ง ชีวิตเต็มไปด้วยความอัดอั้น ทุกข์ทรมาน … แต่มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล ช่วงเวลาแห่งความสุขของเราอาจไม่เท่ากับคนอื่น

แซว: เมื่อตอนต้นเรื่องที่ Robert สัมภาษณ์วัยรุ่นสาว แล้วสอบถาม “Tell me what a good time is?” ถ้าคำตอบคือการเล่นตลก หรือเปลี่ยนฉากนี้เป็นการทำอาหารมันจะสอดคล้องเข้ากันมากๆ เพราะนี่ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของ Sarah เลยก็ว่าได้!

บางคนอาจตีความฝันซ้อนฝัน จินตนาการภายใต้จิตสำนึกของ Sarah (หลังกระโดดลงสระน้ำ) เธอคือนักร้องอุปรากร จึงใช้การแสดงเลือนลางเข้ากับชีวิตจริง (คล้ายๆภาพยนตร์ Opening Night (1977)) สะท้อนความครุ่นคิด สิ่งที่อยากให้สามีและบุตรสาวแสดงออกต่อตนเอง

ผมเลือกสองช็อตที่ถ่ายจากทิศทางตรงกันข้าม (สังเกตจากนักดนตรี ภาพแรกอยู่ฝั่งขวา ภาพสองย้ายมาฝั่งซ้าย) สามารถสื่อถึงมุมมองพลิกกลับตารปัตร ช่วงต้นเพลงสามี/บุตรสาวร้องขับไล่ ผลักไส Sarah ก่อนครึ่งหลังเปลี่ยนมาเรียกร้อง โหยหา อยากให้ภรรยา/มารดาหวนกลับมาอยู่ร่วมกัน

เกร็ด: ฉากนี้ถ่ายทำยัง Pasadena Civic Auditorium สถานที่เดียวกับตอนใช้ถ่ายทำ Opening Night (1977)

พอตื่นจากความฝัน Sarah บังเกิดความมุ่งมั่น (จริงๆแล้วเป็นการหลอกตนเอง) ครุ่นคิดว่าสามีและบุตรสาวต้องการให้เธอหวนกลับหา (ทั้งหมดคือสิ่งที่เธอครุ่นคิดไปเองจากความฝัน) โดยไม่สนว่าค่ำคืนนี้ฝนตกหนัก พยายามจะออกเดินทางไปขึ้นเครื่องบินโดยพลัน! (ฝนตกหนักอย่างนี้ไม่น่าจะมีเที่ยวบินหรอกนะ)

Robert พยายามโน้มน้าวน้องสาวไม่ให้หวนกลับหาสามี หรืออย่างน้อยรอคอยจนฝนหยุดค่อยออกเดินทางก็ยังดี แต่ทว่า Sarah ผู้ใช้อารมณ์นำทาง ไม่สนห่าเหวอะไรใคร เก็บข้าวเก็บของ โทรศัพท์ให้ชายแปลกหน้า(ที่พบเจอลานโบว์ลิ่ง)มารับไปส่งสนามบิน มันช่างเป็นเหตุการณ์ตลกขบขัน บ้าบอคอแตกสิ้นดี … ไม่ต่างจากการพบเห็นสุนัขพิตบูลล์ กลายเป็นชายหนวดครึ้มเปลือยอก “Who the fuck are you?”

บางคนอาจตีความ Robert ที่นั่งพักในสภาพห่อเหี่ยวสิ้นหวัง (เพราะไม่สามารถหยุดยับยั้งน้องสาว) มีสภาพไม่ต่างจากหมาหัวเน่า (สำนวนไทยหมายถึง คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา) = สุนัขพิตบูลล์ = ชายหนวดครึ้มที่จู่ๆปรากฎตัวขึ้นมา มันช่างไม่ตรงคำอธิบาย “a warm, wonderful, and fine human being” เลยสักนิด!

จะว่าไปภาพหลอนของ Robert ไม่แตกต่างจากความฝันของ Sarah, ครุ่นคิดว่าสามีและบุตรสาวเรียกร้องให้กลับบ้าน = เห็นสุนัขเป็นชายหนวดครึ้ม = เห็นกงจักรเป็นดอกบัว (สำนวนไทยหมายถึง เห็นผิดเป็นชอบ, เห็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นดี หรือเห็นสิ่งที่ผิดเป็นถูก) ทุกสิ่งอย่างล้วนแตกต่างจากความจริง

คล้ายๆตอนจบของ A Woman Under the Influence (1974) หลังสามี-ภรรยาสิ้นสุดการทะเลาะวิวาท ส่งลูกๆเข้านอน ลงมาเก็บข้าวของ มุมกล้องถ่ายจากภายนอกบ้าน เดินมาปิดผ้าม่านหน้าต่าง (=เสร็จสิ้นการแสดงละคอนเวทีก็จะมีการเลื่อนปิดผ้าม่าน) ให้อิสระผู้ชมว่าหนังจบลงอย่างสุข-ทุกข์ อะไรจะบังเกิดขึ้นต่อไป

แต่ตอนจบของ Love Streams (1984) พี่น้องต้องพลัดพรากแยกจาก สภาพอากาศฝนตก (=น้ำตาไหลพรากๆภายใน) สร้างบรรยากาศเศร้าๆ เหงาๆ เปล่าเปลี่ยวหัวใจ เนื้อเพลงให้อิสระผู้ชมครุ่นคิดว่าหนังจะจบลงยังไง และตัวละครของผกก. Cassavetes ถอดหมวกโบกมือบ้ายบาย นั่นย่อมคือการร่ำลา ขอให้ทุกคนโชคดี

ชื่อหนังตอนต้นเรื่องมีการทำตัวหนา ใส่สีอักษรพื้นดำ เงาขาว (สีที่ตรงกันข้าม) แล้วปรากฎขึ้นมาโดยไม่มีลูกเล่นอะไร ภาพพื้นหลังขณะ Robert เดินเข้าห้องครัว รายล้อมรอบด้วยสาวๆ เช้าที่เต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ

ตรงกันข้ามกับชื่อหนังตอนจบ ตัวอักษรบางๆสีเหลืองทอง (มีสีเดียว) LOVE เลื่อนเข้ามาจากฝั่งซ้าย STREAMS เลื่อนมาจากฝั่งขวา [เหมือนสองกระแสน้ำทิศทางตรงกันข้ามเคลื่อนไหลมาชนกัน] ส่วนพื้นหลังมันมืดมากๆ ผมลองปรับแสงแล้วพบว่าคือชั้นวางหนังสือ น่าจะห้องสมุดกระมัง แต่เหตุการณ์นำเข้าสู่ตอนจบคือ Robert ถูกทิ้งขว้าง ตัวคนเดียว ยามค่ำคืนฝนตกหนัก

ตัดต่อโดย George C. Villaseñor (1931-2009) สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ Gloria (1980), Love Streams (1984) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสองพี่น้อง Robert Harmon และ Sarah Lawson โดยในช่วงครึ่งแรกจะมีการตัดสลับกลับไปกลับมา เพื่อนำเสนอเรื่องราวชีวิต แนวคิดความรักที่แตกต่างตรงข้าม จนกระทั่งน้องสาวเดินทางมาพักอาศัยยังบ้านพี่ชาย กลายเป็นช่วงเวลาที่ทั้งสองเยียวยารักษาแผลใจของกันและกัน

  • แนะนำตัวละคร
    • กิจวัตรของ Robert ออกติดตามหาสาวๆ
    • Sarah กำลังทำการหย่าร้างสามี
    • Robert ตกหลุมรักนักร้องสาวผิวสี นัดคุยกันหลังบาร์ปิด ติดตามไปที่บ้าน เป็นลมล้มพับอยู่หน้าทางเข้า
    • บุตรสาวแสดงเจตจำนงค์ต้องการอยู่กับบิดา นั่นทำให้ Sarah เกิดอาการคลุ้มคลั่ง แทบมิอาจควบคุมอารมณ์ตนเอง
    • จิตแพทย์แนะนำให้ Sarah เดินทางไปท่องเที่ยวยุโรป แต่พอมาถึงกลับประสบหายนะวุ่นวาย
    • อดีตภรรยาของ Robert เดินทางมากฝากบุตรชายให้เขาดูแล
  • การมาถึงของ Sarah
    • Sarah เดินทางมาถึงบ้านของ Robert
    • Robert พาบุตรชายไปเที่ยว Las Vegas แล้วปล่อยทิ้งไว้ในห้อง ส่วนตัวเองหนีไประเริงรื่นกับสาวๆ
    • เช้าวันถัดมา Robert ขับรถพาบุตรชายไปส่งคืนครอบครัว
    • พอกลับมาบ้าน Robert ตัดสินใจเดินทางไปหาหญิงผิวสีที่เคยเกี้ยวพาราสี, ขณะที่ Sarah พยายามโทรศัพท์หาสามี
    • Sarah ออกไปโยนโบว์ลิ่ง นิ้วติดในลูกโบว์ลิ่ง ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากชายแปลกหน้า
    • Robert เริงระบำกับมารดาของหญิงผิวสี ก่อนเธอกลับมาพร้อมกับแฟนหนุ่มคนใหม่
  • รักและห่วงใยระหว่างสองพี่น้อง
    • Robert กลับมาบ้าน ติดตามด้วย Sarah (ที่มาพร้อมกับชายแปลกหน้า)
    • Robert แอบดักฟังโทรศัพท์ Sarah ขณะติดต่อหาอดีตสามี แสดงความไม่พึงพอใจ พยายามพูดโน้มน้าวให้เลิกติดต่ออีกฝ่าย
    • เช้าวันถัดมา Sarah เดินทางไปซื้อสัตว์เลี้ยง
    • แต่พอกลับมาบ้านเธอเป็นลมล้มพับ Robert ให้การดูแลเป็นอย่างดี
    • Sarah หลับฝันว่ากำลังทำการแสดงตลกให้กับบุตรสาวและสามี แต่ไม่มีใครขำออก
    • อีกฝันหนึ่งของ Sarah พบเห็นบุตรสาวและสามีเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบัลเล่ต์/อุปรากร
    • ตื่นขึ้นมา Sarah ไม่ฟังคำทัดทานของ Robert เก็บข้าวของ ต้องการออกเดินทางไปหาสามี
    • ทอดทิ้งให้เขาอยู่บ้านตัวคนเดียวท่ามกลางค่ำคืนฝนตกพรำ

การตัดต่อสลับไปสลับมา รวมถึงเรื่องราวที่เต็มไปด้วยการขัดจังหวะ ทำให้หนังขาดความต่อเนื่องลื่นไหล สร้างความหงุดหงิดรำคราญใจ ขัดแย้งกับชื่อ Love Streams แต่มันคือความจงใจของผู้สร้าง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับนิยามความรัก “Love is NOT a streams”


เพลงประกอบโดย Bo Harwood ชื่อจริง Benjamin Harwood Jr. (1946-2022) เกิดที่ Los Angeles, California เริ่มต้นจากเป็นนักร้อง/นักกีตาร์วงร็อค ก่อนผันตัวมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์ The Bach Train (1969) ซึ่งเมื่อผกก. Cassavetes มีโอกาสรับชมเกิดความชื่นชอบประทับใจ “I loved its freedom and its dynamics.” เลยได้ช่วยงานตัดต่อ Husbands (1970), ผู้ช่วยตัดต่อเสียง Minnie and Moskowitz (1971), ก่อนถูกชักชวนมาทำเพลงประกอบตั้งแต่ A Woman Under the Influence (1974) และยังเหมารวมหน้าที่ Sound Mixing, Sound Editor, Sound Engineer, Music Supervisor

ในตอนแรกผกก. Cassavetes อยากได้นักแต่งเพลง Elmer Bernstein ที่เคยร่วมงานซีรีย์โทรทัศน์ Johnny Staccato (1959-60) ตอนแรกก็ตอบตกลง ก่อนขอถอนตัวก่อนเริ่มโปรดักชั่นได้สิบวัน เลยจำต้องหวนกลับหา Bo Hardwood ที่อยากตอบปฏิเสธใจจะขาด ในชีวิตไม่เคยเขียนเพลงอุปรากร ก่อนตอนบ่ายสามารถสงบสติอารมณ์ ยินยอมรับความท้าทายใหม่ … มันก็พอเข้าใจได้ว่าเหตุผลที่ผกก. Cassavetes ไม่อยากใช้บริการ Hardwood เพราะอีกฝ่ายไม่เคยมีประสบการณ์เขียนเพลงอุปรากร แต่โชคชะตาก็นำพาให้พวกเขาร่วมงานกันครั้งสุดท้าย!

ความไร้ประสบการณ์ของ Hardwood คือสิ่งที่ผกก. Cassavetes ให้ความสนใจอย่างมากๆ ทั้งการบรรเลงเปียโนท่วงทำนองง่ายๆ เนื้อร้องที่ฟังดูสมัครเล่น แทบไม่มีความไพเราะเพราะพริ้ง แต่มอบสัมผัสดิบๆ สันชาตญาณชีวิต เข้ากับบรรยากาศหนังได้อย่างขนลุกขนพอง … Love Streams Operette แต่งโดย Bo Hardwood & John Cassavetes ขับร้องโดย Gena Rowlands & Arthur Wand & Myra Grandey

หน้าที่ของ Harwood ไม่ใช่แค่แต่งเพลงประกอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการใส่เสียงประกอบ (Sound Effect) ฝนตก ฟ้าร้อง นาฬิกานับถอยหลัง ฯ บางเสียงมีการเน้นให้เด่นดัง เคลือบแฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ได้อย่างคมคาย

ฉากที่ต้องกล่าวถึงคือความฝันแรกของ Sarah Lawson สัญญากับสามีและบุตรสาว ภายในระยะเวลาสามสิบวินาทีจะทำให้พวกเขาส่งเสียงหัวเราะ แต่ไม่ว่าจะแสดงอะไร ทั้งสองกลับใบหน้าบูดบึ้งตึง เสียงนาฬิกานับถอยหลังค่อยๆดังชัดขึ้น จนท้ายที่สุดปัง! เสียงปืนแทนจุดจบ จมสู่ความล้มเหลว

ในส่วนของบทเพลงคำร้องและ ‘diegetic music’ ดังขึ้นจากวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ก็มีทั้งที่ Hardwood เรียบเรียงจากบทเพลง/ศิลปินมีชื่อ และแต่งคำร้อง+ทำนองขึ้นใหม่ … เวลารับฟังในหนังให้สังเกตเนื้อคำร้องที่ดังขึ้น มักมีความเกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยง สอดคล้องเข้ากับเหตุการณ์ขณะนั้นๆ

  • Love Cannot Stay แต่งโดย Bo Hardwood & John Cassavetes, ขับร้องโดย Patti Lupone & Bo Hardwood
    • ดังขึ้นระหว่าง Opening Credit
  • Kinky Reggae (1973) แต่ง/ขับร้องโดย Bob Marley
    • ในหนังขับร้องบนเวทีโดย Diahnne Abbott นักแสดงผิวสีผู้รับบท Susan
  • I Can’t Get Started (1936) แต่งคำร้องโดย Vernon Duke, ทำนองโดย Ira Gershwin
    • อีกบทเพลงที่ Diahnne Abbott ขับร้องบนเวที
  • You Say You’re Only a Little Lovely แต่ง/ขับร้องโดย Bo Harwood
    • ดังจากวิทยุเมื่อ Robert ตื่นขึ้นที่บ้านของ Susan
  • Deep Night (1929) แต่งทำนองโดย Charles Henderson, คำร้องโดย Rudy Vallee, ขับร้องโดย Hugo Napton
  • True Love แต่ง/ขับร้องโดย Bo Hardwood & Bobbi Permanent
  • A Piece of the Pie แต่งโดย Bo Hardwood & John Cassavetes
  • Almost in Love with You แต่งโดย Bo Hardwood & John Cassavetes & Anthony Harris, ขับร้องโดย Jack Sheldon
    • ดังขึ้นตอน Robert เต้นรำกับมารดาของ Susan
  • Leave It Up To You แต่ง/ขับร้องโดย Bo Hardwood & Bobbi Permanent
  • Where Are You? แต่งทำนองโดย Jimmy McHuge, คำร้องโดย Harold Adamson, ขับร้องโดย Mildred Bailey and Her Orchestra, สำหรับประกอบภาพยนตร์ Top of the Town (1937)

Leave It Up To You ดังขึ้นหลังจาก Sarah ขนข้าวของออกจากบ้าน ทอดทิ้งให้ Robert อยู่ตัวคนเดียวในค่ำคืนฝนตกหนัก ไม่รู้จะทำอะไรยังไง มันช่างอ้างว้าง เปล่าเปลี่ยวหัวใจ … ด้วยท่อนคำร้อง “I’ll leave it up to you” หลายคนเลยตีความว่าหนังชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิดจินตนาการว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

Anticipation
And I didn’t know what to do
Oh, yeah
But I’ll leave it up to you

An invitation
To the house that I knew so well
An invitation
And I thought that it started well
An invitation
And I didn’t know what to do

Oh, yeah
So I’ll leave it up to you
Guess I’ll leave it up to you
The observation

บทเพลง Where Are You? (1937) ได้ยินครั้งแรกเมื่อ Robert เดินทางกลับมาบ้าน (หลังส่งบุตรชายกลับสู่อ้อมอกมารดา) เปิดเพลงนี้จากตู้เพลงแล้วเริงระบำกับน้องสาว Sarah และดังขึ้นอีกครั้งช่วงท้าย Closing Credit … ผมรู้สึกว่าผกก. Cassavetes จงใจเลือกบทเพลงนี้เพราะคำร้อง Where is my happy ending? เพื่อตั้งคำถามถึงความว่างเปล่าชีวิต จุดจบของตนเอง ไหนละความสุขนิรันดร์ มันแค่สิ่งจอมปลอม หลอกตนเอง ความตายนะหรือ Happy Ending?

Where are you?
Where have you gone without me?
I thought you cared about me
Where are you?

Where’s my heart?
Where is the dream we started?
I can’t believe we’re parted
Where are you?

When we said goodbye love
What had we to gain
When I gave you my love
Was it all in vain

All life through
Must I go on pretending
Where is my happy ending
Where are you?

When we said goodbye love
What had we to gain
When I gave you my love
Was it all in vain

All life through
Must I go on pretending
Where is that happy ending
Where are you? Where are you?

Love Streams juxtaposes episodes of their lives against each other, confronting the silly with the tragic, and vice versa, in both their worlds. Their capacities for intensity and audacity are exactly alike, but in everything else they are opposites, each like a photographic negative of the other. For both of them, the trouble is love. While Sarah loves too obsessively, Robert shifts his attention every time involvement (much less commitment) becomes necessary.

John Cassavetes

Love Streams (1984) นำเสนอเรื่องราวของสองพี่น้องที่มีวิถีชีวิต ความครุ่นคิด ทัศนคติความรัก แตกต่างตรงกันข้าม! แต่พวกเขากลับสามารถพึ่งพาอาศัย เติมเต็มกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ก้าวผ่านช่วงเวลาเลวร้าย … หรือจมปลักอยู่ในความทุกข์ทรมานชั่วนิรันดร์

  • Sarah Lawson หมกมุ่นเชื่อมั่นในรัก “Love is a stream” โหยหา คลั่งไคล้ อยู่ไม่ได้ จะเป็นจะตาย
  • Robert Harmon เป็นคนไม่เชื่อในรัก ปฏิเสธลงหลักปักฐาน แต่ทุกค่ำคืนมิอาจอยู่ตัวคนเดียว เลยเปลี่ยนหญิงสาวหลับนอนไม่ซ้ำหน้า

ชีวิตจริงของ John Cassavetes & Gena Rowlands ไม่ได้แตกต่างจาก Robert & Sarah มันเป็นเช่นไรอ่านจากคำอธิบายของผกก. Cassavetes ตรงๆเลยดีกว่า

For years I did everything for me. I claimed the artist’s right not to be headed down by anything or anybody. But then I wanted to make a film for Gena to make up for having destroyed my wife for many years as I made films, got drunk, stayed away from home. Yet she stood by me through pregnancy, through child after child. So I made this film as a tribute for all those lousy things I’d done to her.

ความสัมพันธ์ระหว่าง Cassavetes & Rowlands มันไม่เชิงว่าเดี๋ยวรัก-เดี๋ยวเลิก พวกเขาไม่ได้จดทะเบียนหรือมีพิธีแต่งงาน แค่เพียงอาศัยอยู่ร่วมชายคา ต่างฝ่ายต่างมีภาระหน้าที่ อาชีพผู้กำกับ-นักแสดง ต้องออกเดินทางบ่อยครั้ง ไม่ค่อยมีเวลาว่างให้กัน ซึ่งตอนเหงาๆก็อาจมีนอกลู่นอกทางอยู่บ้าง แต่พอเดินทางกลับบ้านก็พูดคุยเปิดใจ ระบายสิ่งอัดอั้นภายใน ไม่ให้หลงเหลืออะไรติดค้างคาใจ

มันไม่มีทางที่คนสองจะสามารถใช้ชีวิตคู่อย่างราบรื่น! ต่างคนล้วนต่างปัญหา ความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นต่าง เป็นไปแทบไม่ได้ที่จะคนสองจะเห็นพ้องทุกสิ่งอย่าง! (นอกจากคนหนึ่งยินยอมก้มหัวศิโรราบ) ถ้าเปรียบความรักดั่งกระแสน้ำ ย่อมต้องมีความรุนแรง เชี่ยวกราก กระแทกโขดหินน้อยหินใหญ่ หรือต่อให้ผิวน้ำเบื้องบนแน่นิ่ง จักต้องมีความคลุ้มคลั่งซ่อนอยู่ภายใต้

ขณะที่ฟากฝั่งตัวละครของ Gena Rowlands ไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น ยังคงเชื่อมั่นในรัก ดำเนินชีวิตต่อไปด้วยประกายความหวัง ตรงกันข้ามกับ John Cassavetes หลังสูญเสียบิดาเมื่อสี่ปีก่อน มารดาก็เพิ่งจากไปก่อนเริ่มถ่ายทำหนังไม่กี่สัปดาห์ และตัวเขาตรวจพบว่าล้มป่วยโรคตับแข็ง หมอบอกมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินหกเดือน … ความผิดแผกแปลกประหลาดพบเห็นใน Love Streams (1984) ล้วนสะท้อนความอัดอั้น สิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง “I don’t know what to do?” (บทเพลง Leave It Up To You) “Where is my happy ending?” (บทเพลง Where Are You?) และภาพสุดท้ายถอดหมวกโบกมือบ้ายบาย มาถึงจุดนี้คงไม่ต้องอธิบายกระมังว่าสื่อถึงอะไร

I didn’t tell anyone. No one knew. But I knew before I began. I had been given six months to live. This is a sweet film. If I die, this is a sweet last film.

เมื่อตระหนักว่าความตายใกล้เข้ามาเยือน มุมมอง ทัศนคติ หลายๆสิ่งอย่างของผกก. Cassavetes ได้ปรับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง! ตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก Shadows (1959) มักต้องสำแดงอคติ ต่อต้าน โจมตีโปรดิวเซอร์ สตูดิโอ Hollywood แต่นั่นเป็นสิ่งไม่มีพาดพิงถึงใน Love Streams (1984) เลยสักนิด!

many of Cassavetes’s other films are domestic disaster movies; the mood in Love Streams is post-apocalyptic. His earlier work zeroed in on the crisis points in human relationships. The characters in Love Streams have lived through their share of crises and will likely live through more.

นักวิจารณ์ Dennis Lim จากบทความในเว็บ Criterion

ใครที่เคยรับชมหลายๆผลงานของผกก. Cassavetes ย่อมรู้สึกเหมือนกำลังรับชมหนังหายนะ (Domestic Disater) นักแสดงต่างระเบิดระบายอารมณ์อย่างคลุ้มบ้าคลั่ง สำหรับ Love Streams (1984) ใช่ว่าไม่มีฉากเหล่านั้น แต่มันค่อนข้างเบาบาง เจือจาง เพราะสองพี่น้องต่างเคยพานผ่านภัยพิบัตินับครั้งไม่ถ้วน หนังจึงถูกสร้างขึ้นด้วยความเข้าใจ เอ็นดูห่วงใย ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการมีชีวิตอยู่

หลังเสร็จจาก Love Streams (1984) ผกก. Cassavetes ไม่ได้ครุ่นคิดอยากจะทำอะไรอีก เตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมรับมือกับความตาย ก่อนได้รับการร้องขอจากเพื่อนสนิท Peter Falk ให้เข้ามาช่วยสานต่อโปรเจค Big Trouble (1986) จากผู้กำกับ Andrew Bergman ที่ถูกสตูดิโอ Columbia Pictures ไล่ออกกลางคัน (ถ่ายทำไปแล้วหนึ่งในสาม)

I call it ‘the aptly titled Big Trouble’! If working on that comedy didn’t permanently kill my sense of humor, nothing will! I’m embarrassed to have my name on it, and even more embarrassed that people will think it’s my final film.

จากที่หมอคาดการณ์ว่า Cassavetes คงมีชีวิตอยู่ได้แค่หกเดือน แต่หลังจากเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ดูแลตนเองอย่างดี ทำให้มีชีวิตอยู่ได้อีก 6-7 ปี วันเวลาว่างๆครุ่นคิดพัฒนาบทหนัง/บทละคอน เห็นว่ามีกว่า 40+ บทที่ค้างๆคาๆเอาไว้ “Long after I was dead, I’d like to have some script – or scroll! – to be working on up there, or down there, or wherever.”

ช่วงปี ค.ศ. 1987-88 ที่สภาพร่างกายของ Cassavetes ดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย พยายามติดต่อหานายทุน ครุ่นคิดอยากสร้างหนังอีกสักเรื่อง โปรเจคหนึ่งวางตัวนักแสดง Sean Penn (ให้คำเรียกว่า “Penn is the best actor of his generation.”) และอีกโปรเจคภาคต่อ Gloria II (สิบปีให้หลังเหตุการณ์ภาคแรก) แต่ล้วนไม่มีโอกาสได้สร้าง เสียชีวิตวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 สิริอายุ 59 ปี


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Berlin เสียงตอบรับดียอดเยี่ยม สามารถคว้ารางวัล Golden Bear และ FIPRESCI Prize ในสายการประกวด (เคียงคู่กับ Funny Dirty Little War (1983)) แต่พอกลับมาสหรัฐอเมริกาถูกนักวิจารณ์มองข้าม ผู้ชมก็ไม่ใคร่สนใจ ฉายได้ไม่นานก็ถูกถอดออก ทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ คงขาดทุนย่อยยิบ

แต่กาลเวลาทำให้ Love Streams (1984) ได้รับสรรเสริญแซ่ซ้อง หนึ่งในภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ตลอดกาล “Greatest Film of All-Time” ในบรรดาผลงานของผกก. Cassavetes อาจเป็นรองเพียงแค่ A Woman Under the Influence (1974)

  • Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 ติดอันดับ #204 (ร่วม)
  • Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ติดอันดับ #185 (ร่วม)
  • BBC: The 100 greatest American films (2015) ติดอันดับ #63

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดย Criterion Collection เมื่อปี ค.ศ. 2014 (ไม่ได้รวมอยู่ในคอลเลคชั่น John Cassavetes: Five Films (1958-1977)) สามารถหารับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel

ระหว่างรับชม ผมเต็มไปด้วยความขัดอกขัดใจ “Love is a stream—it’s continuous” ตลอดทั้งเรื่องกลับมีแต่การขัดจังหวะ กระโดดไปกระโดดมา พอดูหนังจบ สงบสติอารมณ์ ก็ค่อยๆตระหนักว่ามันคือความจงใจ ขบครุ่นคิดรายละเอียดอื่นๆก็เริ่มชื่นชอบหลงใหล … เป็นหนังที่ต้องให้เวลากับมันพอสมควร แล้วจักค้นพบจุดจบที่งดงาม

จัดเรต 15+ กับความรักมากล้นจนคลุ้มบ้าคลั่ง

คำโปรย | Love Streams ความรักดั่งกระแสน้ำที่ซัดตรงโน้นที ตรงนั่นที คนหนึ่งมากล้น คนหนึ่งว่างเปล่า กลับสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบริบูรณ์
คุณภาพ |
ส่วนตัว | มากล้น

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: