Under the Blossoming Cherry Trees

Under the Blossoming Cherry Trees (1975) Japanese : Masahiro Shinoda ♥♥♥♥

นักเขียน Ango Sakaguchi แต่งเรื่องสั้น In the Forest, Under Cherries in Full Bloom (1947) โดยได้แรงบันดาลใจจากช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังกรุง Tokyo ถูกโจมตีทางอากาศ (Air Raid) ศพผู้เสียชีวิตจะถูกนำมาฝังรวมกันอยู่ ณ Ueno Hill ใกล้กับบริเวณที่ซากุระกำลังเบ่งบาน

When cherry trees blossom, people have parties. They sit under the trees with food and beverages. ‘Oh, how beautiful.’ That’s all nonsense… before that the trees were feared.

ทีแรกผมนึกว่าเรื่องราวของหนังคือปรัมปรา ตำนานเล่าขาน Japanese Folklore แต่แท้จริงแล้วแต่งขึ้นโดยนักเขียน Ango Sakaguchi ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งสอง พบเห็นคนตายมากมายถูกนำมาฝังรวมใต้ต้นซากุระ (Cherry Trees) แค่ครุ่นคิดก็สยองแล้ว แต่คนสมัยใหม่กลับทำเป็นหลงลืม แสร้งว่าไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น

แต่เอาจริงๆมันไม่ใช่เรื่องน่าหลอกหลอนขนาดนั้น (คือสิ่งที่ผู้สร้างพยายามจะ ‘Romantize’ ให้กลายเป็นหนัง Horror) เพราะซากุระสำหรับชาวญี่ปุ่น คือสัญลักษณ์ของชีวิต-ความตาย (Life & Death), ความงดงามอันรุนแรง (Beauty & Violence), เบิกบานไม่กี่วันก็แห้งเหี่ยวเฉา อายุขัยคนเราก็แสนสั้น ควรเลือกใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า และมีสีสัน

ผมละโคตรๆเสียดายที่ Under the Blossoming Cherry Trees (1975) ยังไม่ได้ผ่านการบูรณะ เพราะมันมีการถ่ายภาพทิวทัศน์ เทือกเขา และดอกซากุระกำลังเบ่งบาน นำมาร้อยเรียงในลักษณะกวีภาพยนตร์ ทำออกมาได้อย่างงดงามวิจิตรศิลป์ แต่แค่คุณภาพ DVD ก็ทำให้รู้สึกว่าน่าจะเป็นหนึ่งในภาพยนตร์บันทึกภาพดอกซากุระงดงามที่สุด!


Masahiro Shinoda, 篠田 正浩 (เกิดปี ค.ศ. 1931) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Gifu หลังสงครามโลกครั้งที่สองเข้าศึกษาคณะการละคอน Waseda University แต่พอมารดาเสียชีวิตจำต้องทอดทิ้งการเรียน ได้เข้าทำงานสตูดิโอ Shōchiku เคยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Yasujirō Ozu เรื่อง Tokyo Twilight (1957), กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก One-Way Ticket to Love (1960), Pale Flower (1964), Assassination (1964), With Beauty and Sorrow (1965), Samurai Spy (1965), จากนั้นออกมาก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่นของตนเอง สรรค์สร้างผลงานชิ้นเอก Double Suicide (1969), Silence (1971), Himiko (1974), Under the Blossoming Cherry Trees (1975), Ballad of Orin (1977), Demon Pond (1979), Gonza the Spearman (1986), Childhood Days (1990), Sharaku (1995), Owls’ Castle (1999) ฯ

สำหรับ 桜の森の満開の下 อ่านว่า Sakura no Mori no Mankai no Shita ดัดแปลงจากเรื่องสั้น In the Forest, Under Cherries in Full Bloom (1947) ของนักเขียน Ango Sakaguchi, 坂口 安吾 ชื่อจริง Heigo Sakaguchi, 坂口 炳五 (1906-55)

มันมีบทความชื่อว่า 桜の花ざかり(อ่านว่า Sakura no Hanazakari) ของ Sakaguchi ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1953 เขียนอธิบายแรงบันดาลใจเรื่องสั้นเรื่องนี้ ผมบังเอิญพบเจอต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น เลยนำมาแปลให้อ่าน(โดย AI Bard)

桜の花ざかりUnder the Blossoming Cherry Trees
 戦争の真ッ最中にも桜の花が咲いていた。当たり前の話であるが、私はとても異様な気がしたことが忘れられないのである。

 焼夷弾の大空襲は三月十日からはじまり、ちょうど桜の満開のころが、東京がバタバタと焼け野原になって行く最中であった。
 
 私の住んでるあたりではちょうど桜の咲いてるときに空襲があって、一晩で焼け野原になったあと、三十軒ばかり焼け残ったところに桜の木が二本、咲いた花をつけたままやっぱり焼け残っていたのが異様であった。
 
 すぐ近所の防空壕で人が死んでるのを掘りだして、その木の下へ並べ、太陽がピカピカ照っていた。我々も当時は死人などには馴れきってしまって、なんの感傷も起こらない。死人の方にはなんの感傷も起らぬけれども、桜の花の方に変に気持がひっかかって仕様がなかった。
 
 桜の花の下に死にたいと歌をよんだ人もあるが、およそそこでは人間が死ぬなどということが一顧にも価いすることではなかったのだ。焼死者を見ても焼鳥を見てると全く同じだけの無関心しか起らない状態で、それは我々が焼死者を見なれたせいによるのではなくて、自分だって一時間後にこうなるかも知れない。自分の代りに誰かがこうなっているだけで、自分もいずれはこんなものだという不逞な悟りから来ていたようである。別に悟るために苦心して悟ったわけではなく、現実がおのずから押しつけた不逞な悟りであった。どうにも逃げられない悟りである。そういう悟りの頭上に桜の花が咲いていれば変テコなものである。

 三月十日の初の大空襲に十万ちかい人が死んで、その死者を一時上野の山に集めて焼いたりした。

 まもなくその上野の山にやっぱり桜の花がさいて、しかしそこには緋のモーセンも茶店もなければ、人通りもありゃしない。ただもう桜の花ざかりを野ッ原と同じように風がヒョウヒョウと吹いていただけである。そして花ビラが散っていた。

 我々は桜の森に花がさけば、いつも賑やかな花見の風景を考えなれている。そのときの桜の花は陽気千万で、夜桜などと電燈で照して人が集れば、これはまたなまめかしいものである。

 けれども花見の人の一人もいない満開の桜の森というものは、情緒などはどこにもなく、およそ人間の気と絶縁した冷たさがみなぎっていて、ふと気がつくと、にわかに逃げだしたくなるような静寂がはりつめているのであった。

 ある謡曲に子を失って発狂した母が子をたずねて旅にでて、満開の桜の下でわが子の幻を見て狂い死する物語があるが、まさに花見の人の姿のない桜の花ざかりの下というものは、その物語にふさわしい狂的な冷たさがみなぎっているような感にうたれた。

 あのころ、焼死者と焼鳥とに区別をつけがたいほど無関心な悟りにおちこんでいた私の心に今もしみついている風景である。

―坂口安吾
Even in the midst of war, cherry blossoms continued to bloom. It was an ordinary occurrence, yet I can’t forget the strange feeling it gave me.

The great firebombing began on March 10th, coinciding with the peak of cherry blossom season. As Tokyo was being reduced to ashes, night after night.

In my neighborhood, an air raid occurred right as the cherry trees were in full bloom. After the entire area was burned to the ground overnight, two cherry trees, still adorned with blossoms, remained standing amidst the ruins of about thirty houses. It was an eerie sight.

We dug up the bodies of those who had died in the nearby air raid shelter and laid them beneath the trees, under the bright, shining sun. By then, we had become so accustomed to death that we felt no sentimentality. While we felt no particular emotion towards the dead, the cherry blossoms strangely weighed on my mind.

There are those who have sung of wanting to die beneath the cherry blossoms, but in that place, human death was of no consequence. Seeing the burned bodies was no different from seeing grilled chicken—we were completely indifferent. It wasn’t because we had become desensitized to death; it was because we realized that the same thing could happen to us at any moment. It was as if someone else was taking our place, and we would eventually end up the same way. It was a bleak realization that had been forced upon us by reality, not something we had arrived at through contemplation. It was a realization we couldn’t escape. And so, with such a realization weighing heavily on our minds, the cherry blossoms seemed out of place.

In the first great air raid on March 10th, nearly one hundred thousand people died. Their bodies were gathered on Ueno Hill and burned.

Soon after, cherry blossoms bloomed on Ueno Hill once more. But there were no red gatehouses, no teahouses, and no pedestrians. Just the wind blowing freely through the field of cherry blossoms, as it would in any wild field. And the petals were falling.

When we think of cherry blossoms in a grove, we always imagine a lively scene of a flower viewing party. The cherry blossoms during those times were filled with cheer, and when people gathered at night to view them by lantern light, the scene was even more enchanting.

But a grove of cherry blossoms in full bloom without a single person in sight was devoid of any sentimentality. It was filled with an icy coldness that was completely detached from human emotion. Suddenly, I felt an overwhelming urge to flee from the eerie silence that enveloped the place.

There is a Noh play about a mother who, driven mad by the loss of her child, goes on a journey to find her. She sees a vision of her child beneath a grove of cherry blossoms in full bloom and dies of madness. The sight of cherry blossoms in full bloom without a single person in sight filled me with a similar sense of mad, icy coldness, just as described in that story.

This is a scene that still lingers in my mind, even now, years later, when I was filled with such indifference that I could not distinguish between the dead and grilled chicken.

Ango Sakaguchi

ผกก. Shinoda ร่วมดัดแปลงบทภาพยนตร์กับนักเขียนขาประจำ Taeko Tomioka, 富岡多恵子 (1935-2023) ร่วมงานกันตั้งแต่ Double Suicide (1969), Himiko (1974) ฯ ด้วยความที่ต้นฉบับเป็นเรื่องสั้น จึงไม่มีเนื้อหาใดๆถูกตัดทอนออกไป ตรงกันข้ามต้องเพิ่มเติมรายละเอียดมากมาย ขยับขยายให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดยาว 95 นาที


เรื่องราวของจอมโจรภูเขา (รับบทโดย Tomisaburo Wakayama) วันหนึ่งออกปล้นนักทางเดินทาง ตกหลุมรักแรกพบหญิงสาวสวย (รับบทโดย Shima Iwashita) จึงลักขโมยมาเป็นภรรยา อุ้มพาไปยังรังรักบนเขา บังเกิดความลุ่มหลง ถึงขนาดยินยอมปฏิบัติตามคำสั่ง สังหารโหดภรรยาทั้งหกเหลือไว้เพียงหนึ่งคนสำหรับเป็นสาวรับใช้

หญิงสาวสวยเป็นคนเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ ชอบเรียกร้องให้โจรภูเขากระทำสิ่งโน่นนี่นั่น ด้วยความลุ่มหลงจึงยินยอมตามใจทุกสิ่งอย่าง ครั้งหนึ่งขอให้พาไปยังเมืองหลวง ทุกค่ำคืนเพื่อแลกกับการร่วมหลับนอน ต้องตัดศีรษะพวกผู้อำนาจ ขุนนางกังฉิน จนถูกไล่ล่าหมายหัว ก่อนสำนึกตัวว่านี่ไม่ใช่โลกของฉัน

วันหนึ่งโจรภูเขาแสดงเจตจำนงค์ต้องการกลับบ้านบนภูเขา หญิงสาวยินยอมติดตามไปด้วย แต่ระหว่างที่พวกเขาพานผ่านต้นซากุระ บังเกิดเหตุการณ์อันพิศวงที่ทำให้พวกเขาจำต้องพลัดพรากจากกันชั่วนิรันดร์

เกร็ด: หนังไม่มีการระบุชื่อตัวละคร เพียงใช้สรรพนามเรียกหญิงสาว โจรภูเขา ฯ


Tomisaburō Wakayama, 若山 富三郎 ชื่อจริง Masaru Okumura,奥村 勝 (1929-92) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukagawa, Tokyo บิดาคือนักแสดงคาบูกิ Minoru Okumura ได้รับการคาดหวังจะสืบสานต่อกิจการครอบครัว แต่เจ้าตัวกลับไม่ชอบพอสักเท่าไหร่ หลงใหลศิลปะการต่อสู้จูโด ฝึกฝนจนได้สายดำ กระทั่งสตูดิโอ Toho มองหานักแสดงที่มีทักษะการต่อสู้ในภาพยนตร์ Jidaigeki เลยมีโอกาสเล่นหนังหลายเรื่อง แต่บทบาทโด่งดังที่สุดคือซามูไรพ่อลูกอ่อน Lone Wolf and Cub: Sword of Vengeance (1972), ซีรีย์ The Mute Samurai (1973-74), New Battles Without Honor and Humanity (1974), The Bad News Bears Go to Japan (1978), Black Rain (1989) ฯ

รับบทจอมโจรภูเขา หน้าตาเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ลุ่มหลงตนเองว่าฉันยิ่งใหญ่ใคร แต่เมื่อได้พบเจอหญิงสาวสวย ราวกับต้องมนต์สะกด ตกหลุมรักแรกพบ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ ขอให้ได้ร่วมหลับนอน ยินยอมปรนเปรอนิบัติ กลายเป็นทาสรับใช้ ถูกสั่งให้ทำอะไรก็ยินยอมตาม เดินทางมาอาศัยอยู่ร่วมกันในเมืองหลวง กลับสร้างความโดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยว จำต้องเลือกระหว่างเธอกับอิสรภาพ

ตัวละครนี้เปรียบเหมือนสัตว์ป่า กระทำสิ่งสนองสันชาตญาณ (Animal Instinct) มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกรในป่าดงพงไพร แต่เมื่อเดินทางเข้าเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือน ผู้คนมากมาย ราวกับถูกกักขัง ล่ามโซ่ตรวน ต้องทำตามขนบกฎกรอบ ข้อบังคับสังคม ชีวิตไร้ซึ่งอิสรภาพ … นั่นคือเหตุผลที่โจรภูเขา คร่ำครวญโหยหา ถึงขนาดพร้อมทอดทิ้งภรรยา/หญิงสาวสวย ก่อนให้เธอเลือกตัดสินใจว่าใช้ชีวิตในเมือง หรือหวนกลับบ้านป่าด้วยกัน

ช่วงปีนั้น Wakayama กำลังโด่งดังกับบทบาทซามูไรพ่อลูกอ่อน ผู้ชมมีภาพจำความดิบเถื่อน หน้าตาดุร้าย (เหมือนโจรป่า/โจรภูเขา) แต่จิตใจกลับอ่อนไหว ลุ่มหลงใหลสิ่งสวยๆงามๆ ถึงอย่างนั้นทารกน้อยก็มีความแตกต่างกับหญิงสาวสวย

ขณะที่ทารกน้อยยังดูแลตนเองไม่ได้, หญิงสาวสวยเป็นคนดื้อรั้น นิสัยเอาแต่ใจ ผู้ชมเลยมองการแสดงออกของโจรภูเขาว่ามีความโง่เขลา มัวเมาในราคะ หมาวัดต้องการเด็ดดอกฟ้า แต่ไม่สำเนียกตนเองว่าคู่ควรกับเธอหรือไม่ ผลลัพท์จึงนำไปสู่หายนะ ความตายใต้ต้นซากุระ


Shima Iwashita, 岩下志麻 (เกิดปี ค.ศ. 1941) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ทั้งบิดา-มารดาต่างเป็นนักแสดงละคอนเวที ช่วงระหว่างเรียนมัธยมได้รับเลือกแสดงซีรีย์โทรทัศน์ เข้าศึกษาสาขาวรรณกรรม Seijo University แต่ยังไม่ทันเรียนจบเข้าร่วมสตูดิโอ Shōchiku แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The River Fuefuki (1960), Harakiri (1962), An Autumn Afternoon (1962), Sword of the Beast (1965), จากนั้นร่วมงานขาประจำ และกลายเป็นภรรยาผกก. Masahiro Shinoda อาทิ Double Suicide (1969), Silence (1971), Himiko (1974), Ballad of Orin (1977) ฯ

รับบทหญิงสาวสวย ลูกคนรวย นิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจ เพิ่งแต่งงาน กำลังเดินทางไปอยู่บ้านสามี แต่กลับถูกโจรภูเขาลักพาตัว บีบบังคับให้เป็นภรรยา แน่นอนว่าต้องรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์ จึงพยายามออกคำสั่งให้ทำโน่นนี่นั่น เรียกร้องนั่นโน่นนี่ เพื่อให้เขายินยอมศิโรราบ กลายเป็นทาสบำเรอกาม ถึงอย่างนั้นจิตใจของเธอก็มิอาจยินยอมรับสภาพเป็นอยู่ โหยหาความสุขสบายในเมืองใหญ่

แม้ว่า Iwashita อายุสามสิบกลางๆ แต่ยังดูสวยสาว ขาวผุดผ่อง ใบหน้าเปร่งประกาย ใครต่อใครอยากหมายปอง (แต่เธอก็ครองคู่โจรภูเขา/ผกก. Shinoda ไปเรียบร้อยแล้ว) สำหรับบทบาทนี้เล่นเป็นหญิงจอมบงการ ชอบชี้นิ้วออกคำสั่ง เรียกร้องโน่นนี่นั่น เต็มไปด้วยมารยาหญิง ล่อหลอกโจรภูเขาให้ยินยอมศิโรราบ … พฤติกรรมของเธอไม่ต่างจากปีศาจร้าย (Onibaba)

หลายคนอาจไม่ชอบขี้หน้าหญิงสาวจอมบงการประเภทนี้ แต่ทั้งหมดทั้งมวลล้วนคือภาพลวงตา สำแดงอำนาจเพื่อปกปิดความกลัว ซุกซ่อนตัวตนแท้จริง ฉันไม่ได้อยากอยู่กินกับโจรภูเขา โหยหาความสุขสบายเมืองใหญ่ ครุ่นคิดถึงสามีตายจากไป (ถูกฆาตกรรมโดยโจรภูเขา) … ภาษาวัยรุ่นสมัยนี้เรียกว่า ‘ติดแกลม’ ติดสวย ติดหรู ติดสบาย มาจากคำว่า Glamorous

ซึ่งพอพวกเขาเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ทุกครั้งที่หญิงสาวได้ครอบครองศีรษะคนใหญ่คนโต ก็แสดงอาการลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ ดูเหมือนคนใกล้สูญเสียสติแตก แต่จะมีครั้งหนึ่งตอนเธออยู่ตัวคนเดียว จู่ๆเลิกเล่นละคอนตบตา แสดงสีหน้าเหนื่อยอ่อนล้า วินาทีเล็กๆนี้ทำให้ผู้ชมเริ่มครุ่นคิดถึงหัวอก ใครกันจะอยากตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว


ถ่ายภาพโดย Tatsuo Suzuki, 鈴木 達夫 (เกิดปี ค.ศ. 1935) ตากล้องสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka, เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากถ่ายทำสารคดี Iwanami Productions ก่อนออกมาเป็นช่างภาพฟรีแลนซ์ เคยร่วมงานผกก. Matsumoto ตั้งแต่สารคดีสั้น For My Crushed Right Eye (1968), ภาพยนตร์ขนาดยาว Funeral Parade of Roses (1969), Demons (1971), Dogra Magra (1988), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ A Story Written with Water (1965), Woman of the Lake (1966), Himiko (1974), Lady Snowblood 2: Love Song of Vengeance (1974), Pastoral: To Die in the Country (1974), Under the Blossoming Cherry Trees (1975), The Man Who Stole the Sun (1979), Farewell to the Ark (1984), Childhood Days (1990), Sharaku (1995), Owls’ Castle (1999) ฯ

งานภาพของหนังไม่ได้มีลูกเล่นอะไรหวือหวา แทร็กกิ้ง แพนนิ่ง ซูมมิ่ง บางครั้งก็สโลโมชั่น (ระหว่างดอกซากุระกำลังปลิดปลิว) แต่ให้เวลากับการเดินทาง ร้อยเรียงทิวทัศน์ธรรมชาติ ป่าเขา ลำเนาไพร และต้นซากุระกำลังเบ่งบานบน Mount Yoshino, 吉野山 จังหวัด Nara หนึ่งในจุดชมวิวดอกซากุระที่มีชื่อเสียง และได้รับเลือกจากองค์การ UNESCO ให้เป็นมรดกโลก แหล่งศักดิ์สิทธิ์และเส้นทางจาริกแสวงบุญ (Sacred Sites and Pilgrimage Routes)

ส่วนสถานที่ที่ใช้เป็นเมืองหลวง (Capital) ในหนังไม่ได้มีการระบุชื่อเอาไว้ ทีแรกผมครุ่นคิดว่าคือ Kyoto แต่หนังเลือกใช้สถานที่ถ่ายทำ Shitennoji Temple, 四天王寺 หนึ่งในวัดเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ยัง Osaka … ลองค้นหาข้อมูลก็พบว่า Osaka เคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในช่วงเวลาสั้นๆอยู่สองสามครั้ง


นอกจากทิวทัศน์ธรรมชาติสวยๆ นำมาร้อยเรียงแปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน หนึ่งในรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ พบเห็นบ่อยครั้งคือการแบ่งแยกระหว่างโจรภูเขากับหญิงสาวสวย (และบางครั้งสาวรับใช้) มักมีบางสิ่งอย่างกีดกั้นขวาง เพื่อสะท้อนถึงมุมมอง ทัศนคติ สถานะทางสังคม แทบจะทุกสิ่งอย่างมีความแตกต่างตรงกั้นข้าม

หญิงสาวสวยเมื่อกลับเข้ามาในเมือง เรียกร้องให้โจรภูเขาฆ่าตัดคอพวกผู้มีอำนาจ ขุนนางกังฉิน นำมาเป็นเครื่องบรรณาการถ้าอยากร่วมเพศสัมพันธ์ ซึ่งเธอยังหมกหมุ่นกับศพ/ศีรษะเหล่านั้น มันคืออาการผิดปกติที่เรียกว่า Paraphilias (มีอารมณ์ทางเพศกับวัตถุ) และ Necrophilia (มีอารมณ์ทางเพศกับศพ)

ขณะเดียวกันผมยังมองว่าพฤติกรรมดังกล่าว เป็นเพียงการเล่นละคอนตบตา มารยาหญิง เพื่อให้ตนเองรู้สึกเหมือนมีอำนาจเหนือกว่าโจรภูเขา ปกปิดความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว เหงาหงอยเศร้าซึม (ไม่ได้อยากอยู่กินกับโจรภูเขา แต่ถูกลักพาตัวมาแล้วจะให้ทำยังไง ปรับตัวเข้ากับวิถีคนป่าก็ไม่ได้) ซึ่งพอเธออยู่ตัวคนเดียวเมื่อไหร่ ก็ไม่เคยสนใจใยดีพวกของเล่นเหล่านี้

ปล. จะว่าไปการกระทำของโจรภูเขา มีความเลือนลางระหว่างฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) กับวีรบุรุษผดุงความยุติธรรม (Hero) เพราะบุคคลที่เขาฆ่าตัดคอล้วนเป็นพวกใช้อำนาจในทางมิชอบ ขุนนางกังฉิน

สำหรับฉากน่าตื่นตาตื่นใจที่สุดคือระหว่างซากุระร่วงโรย ถ่ายทำแบบสโลโมชั่น (Slow-Motion) ตัวละครโลดเต้นไปมาอย่างคลุ้มบ้าคลั่ง แต่สิ่งปลิดปลิวนั้นคือกระดาษตัดลวดลายกลีบดอกไม้ น่าจะนับพันนับหมื่นชิ้นเลยกระมัง

ความลึกลับใต้ต้นซากุระ ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์/นวนิยาย A Passage to India เมื่อตัวละครเข้าไปในถ้ำบนภูเขา ได้ยินเสียงสะท้อนดังกึกก้องกังวาล กลับออกมาเกือบกลายเป็นคนคลุ้มคลั่ง กระทำสิ่งอัปลักษณ์พิศดาร … นี่อาจเคลือบแฝงนัยยะเดียวกันกับใต้ต้นซากุระ ใครก็ตามก้าวเดินผ่านจักเกิดอาการคลุ้มคลั่ง สูญเสียสติแตก ไม่สามารถควบคุมตนเอง เห็นหญิงสาวสวยเต็มไปด้วยริ้วรอยเหี่ยวย่น (แอบนึกถึง Onibaba) นี่ถือเป็นการสะท้อนความรู้สึกก้นเบื้อง สิ่งซุกซ่อนเร้นภายในจิตใจตัวละครออกมา

ตอนจบของหนัง การหายตัวไปของทั้งหญิงสาวสวย และโจรภูเขา ผมมองว่าเป็นความพยายามทำเหมือนผู้ชมกำลังอยู่ภายใต้ต้นซากุระ เกิดอาการคลุ้มคลั่ง พบเห็นภาพหลอน พวกเขาเหล่านี้อาจไม่มีตัวตนอยู่จริง รวมถึงปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน ภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน! … มันคือลักษณะของการแปรสภาพจากเรื่องราวในหนังสู่โลกความเป็นจริง

ตัดต่อโดย Sachiko Yamaji, 山地早智子 ขาประจำผกก. Masahiro Shinoda ร่วมงานกันตั้งแต่ The Petrified Forest (1973), Himiko (1974), Under the Blossoming Cherry Trees (1975), Ballad of Orin (1977) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองโจรภูเขา ตั้งแต่ลักพาตัวหญิงสาวสวย อุ้มพาไปยังรังรัก พยายามปรนเปรอนิบัติ ตกเป็นทาสบำเรอกาม ยินยอมทำตามทุกสิ่งอย่าง ครึ่งหลังเดินทางสู่เมืองหลวง กลายเป็นฆาตกรต่อเนื่องปลิดชีพขุนนาง ชนชั้นสูง ตัดศีรษะพวกกังฉินเหล่านั้นมามอบให้กับเธอ

  • Opening Credit + อารัมบทต้นซากุระ
  • จอมโจรภูเขา
    • โจรภูเขาปล้นชิงทรัพย์นักเดินทาง ตกหลุมรักหญิงสาวสวยเลยทำการลักพาตัว
    • พาหญิงสาวข้ามขุนเขามายังรังรัก แต่เธอออกคำสั่งให้เขาสังหารภรรยาทั้งหมด เหลือไว้เพียงหนึ่งสำหรับเป็นสาวรับใช้
    • โจรภูเขาพยายามปรนเปรอนิบัติภรรยา แต่เธอกลับมีความโหยหา อยากหวนกลับสู่เมืองใหญ่
    • เมื่อฤดูหนาวพานผ่าน โจรภูเขาจึงยินยอมพาเธอไปยังเมืองหลวง
  • โจรภูเขาในเมืองหลวง
    • โจรภูเขากลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ตัดศีรษะพวกขุนนางกังฉินมาให้กับภรรยา
    • โจรภูเขามีความเบื่อหน่ายวิถีคนเมือง สองจิตสองใจว่าจะทอดทิ้งหญิงสาวสวยดีไหม
    • ครั้งหนึ่งโจรภูเขาถูกทางการล้อมจับกุม แต่ท้ายที่สุดสามารถต่อสู้เอาชนะ หลบหนีกลับมาได้
    • โจรภูเขาตัดสินใจเดินทางกลับบ้านป่า หญิงสาวยินยอมติดตามเขาไปด้วย
  • อาถรรพ์ต้นซากุระ
    • ระหว่างที่โจรภูเขาอุ้มพาภรรยากลับบ้านป่า ตัดสินใจเดินผ่านต้นซากุระ แล้วบังเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน!

เพลงประกอบโดย Tōru Takemitsu, 武満 徹 (1930-96) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hongō, Tokyo ก่อนย้ายไปเติบโตยัง Dalian, Liaoning (ประเทศจีน) ถูกบังคับเกณฑ์ทหารตั้งแต่อายุ 14 แม้ได้รับประสบการณ์อันขมขื่น แต่ทำให้มีโอกาสรับฟังเพลงตะวันตก, หลังสงครามโลกกลับมาญี่ปุ่น ทำงานในกองทัพสหรัฐ (ที่เข้ามายึดครองชั่วคราว) แม้ไม่เคยฝึกฝนการเล่นดนตรี แต่เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ 16 โอบรับแนวคิดเครื่องดนตรีไฟฟ้า แนวทดลอง สไตล์ Avant-Garde ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Experimental Workshop (実験工房 อ่านว่า Jikken Kōbō) ที่พยายามผสมผสานไม่ใช่แค่ดนตรี แต่ยังสรรพเสียง และศิลปะแขนงอื่นๆคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน ทำให้มีโอกาสรับรู้จัก Kōbō Abe และ Hiroshi Teshigahara ที่ต่างก็แนวคิดทิศทางเดียวกัน โด่งดังกับระดับนานาชาติกับผลงาน Requiem for String Orchestra (1957), ทำเพลงประกอบภาพยนตร์มากมายนับไม่ถ้วน Harakiri (1962), Pitfall (1962), Pale Flower (1964), Kwaidan (1964), Woman in the Dunes (1964), The Koumiko Mystery (1965), The Face of Another (1966), Samurai Rebellion (1967), Scattered Cloud (1967), Double Suicide (1969), Dodes’ka-den (1970), Under the Blossoming Cherry Trees (1975), Ballad of Orin (1977), Empire of Passion (1978), Ran (1985), Black Rain (1989) ฯ

Takemitsu มีชื่อเสียงกับบทเพลงแนว ‘Avant-Garde’ นำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่นมาสร้างเสียงประหลาดๆ สัมผัสวาบหวิว ฟังดูเหนือจริง (Surreal) ซึ่งสอดคล้องเข้ากับเรื่องราวเหนือธรรมชาติ (Supernatural) มันมีความลึกลับบางอย่างใต้ต้นซากุระ ได้ยินแล้วรู้สึกวาบหวิว สั่นสยิวกาย มิอาจหยุดยับยั้ง หักห้ามใจตนเอง

ผมรู้สึกว่างานเพลงของ Takemitsu เข้ากับหนังแนวเหนือธรรมชาติได้เป็นอย่างดี สร้างบรรยากาศลึกลับ พิศวง ราวกับต้องมนต์ สะกดจิตผู้ชม ไม่ใช่แค่สิ่งภายนอกมองไม่เห็น ยังรวมถึงแรงผลักดันภายในตัวละคร … มักดังขึ้นในช่วงเวลาที่โจรภูเขาปล่อยตัวปล่อยใจ ปล่อยให้สันชาตญาณเข้าควบคุมครอบงำ กระทำสิ่งคลุ้มบ้าคลั่ง เข่นฆ่าภรรยา ตัดศีรษะขุนนางกังฉิน ฯ

พวกปรัมปรา เรื่องเล่าพื้นบ้าน Japanese Folklore บางทีมันก็ไม่ใช่เหตุการณ์จริง เกิดจากการปรุงปั้นแต่ง คล้ายๆกับที่นักเขียน Ango Sakaguchi สร้างความเชื่อว่าใต้ต้นซากุระมีอะไรบางอย่างสร้างความหลอกหลอก ขนหัวลุกพอง น่าหวาดสะพรึงกลัว เพื่อให้ผู้อ่าน/ผู้ชมตระหนักถึงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอออกมา

Under the Blossoming Cherry Trees (1975) เริ่มต้นจากเรื่องเล่าปรัมปรา จากนั้นโจรภูเขาพบเห็นกลุ่มนักเดินทางแสดงอาการคลุ้มคลั่งเมื่อเดินผ่านทุ่งซากุระ และครั้งหนึ่งตัวเขาก็เคยทดลองก้าวเข้าไปนั้น สัมผัสบรรยากาศบางอย่าง รู้สึกหลอกหลอน หวาดสะพรึง รีบวิ่งหนีเอาตัวรอดออกมาได้อย่างหวุดหวิด! ตั้งแต่นั้นจึงพยายามหลีกเลี่ยง ยอมเสียเวลาเดินอ้อม ดีกว่าเข้าไปเสี่ยงอันตราย

ความงดงามของดอกซากุระ สามารถเปรียบเทียบกับหญิงสาวสวย (ดอกฟ้า) แต่เมื่อโจรภูเขาก้าวเดินผ่าน/ลักพาตัวเธอมาเป็นภรรยา ทำให้เขาเกิดอาการหมกมุ่น คลุ้มบ้าคลั่ง แทบไม่สามารถควบคุมตนเอง ยินยอมก้มหัวศิโรราบ ปฏิบัติตามคำสั่งทุกสิ่งอย่าง … ดอกซากุระ = หญิงสาวสวย ต่างมีความงดงามที่น่าหลงใหล แต่ขณะเดียวกันกลับนำพาหายนะมาให้ (หนึ่งในสัญญะของซากุระก็คือ Love & Violence)

หญิงสาวสวยมีความเย่อหยิ่ง ทะนงตน วางตัวสูงส่ง หลงใหลสิ่งสวยๆงามๆ ชอบใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เมื่อถูกโจรภูเขาลักพาตัว ต้องทนแดดทนฝน ทนอาศัยอยู่กับความยากลำบาก “ปฏิเสธ” ปรับตัวจึงพยายามเรียกร้อง อยากได้โน่นนี่นั่น บีบบังคับให้เขาทำนั่นโน่นนี่ ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว แค่สามารถตอบสนองความพึงพอใจส่วนตัว

พฤติกรรมของหญิงสาวอาจเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว แต่การเรียกร้องให้โจรภูเขาตัดหัวพวกผู้มีอำนาจ ขุนนางกังฉิน ทำให้เกิดเส้นแบ่งบางๆระหว่างฆาตกรต่อเนื่อง = วีรบุรุษผดุงความยุติธรรม และยังสำแดงถึงสังคมอุดมคอรัปชั่น จำนวนศีรษะถูกตัดมาถวายเป็นเครื่องบรรณาการ มันช่างเยอะแยะมากมายไม่รู้จบสิ้น

เมื่อถึงจุดๆหนึ่งโจรภูเขารู้สึกเบื่อหน่ายต่อสังคมเมือง พบเห็นความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ ผู้คนเต็มไปด้วยความคอรัปชั่น ไม่มีใครซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน จึงโหยหาอยากหวนกลับสู่ธรรมชาติ บ้านป่า สถานที่แห่งความสงบสุข ร่มเย็น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นอิสระ

(บทเรียนการเลือกคู่ครอง เราควรเลือกคนรักที่สมวิทยฐานะกับตนเอง จริงอยู่หมาวัดสามารถตกหลุมรักดอกฟ้า แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่สองฝ่ายจะปรับตัวเข้าหา โลกของพวกเขามีความแตกต่างราวฟ้ากับเหว สวรรค์กับนรก น้อยนักจะได้รับการยินยอมรับ ครองคู่อยู่ร่วมตราบจนวันตาย)

มุมมองของโจรภูเขา สะท้อนเข้ากับทัศนคติของผู้แต่งเรื่องสั้น Ango Sakaguchi และผู้กำกับภาพยนตร์ Shinoda ต่างมีความเหนื่อยหน่ายต่อโลกยุคสมัยใหม่ สังคมเมืองมันช่างฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ ผู้คนเห็นแก่ตัว จิตใจบิดเบี้ยว เต็มไปด้วยความคอรัปชั่น

  • ในกรณีของผู้แต่ง Sakaguchi เขียนเรื่องสั้นนี้เมื่อปี ค.ศ. 1947 คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความพ่ายแพ้ทำให้ญี่ปุ่นถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา สภาพจิตใจย่ำแย่ จำต้องขายร่างกายและจิตวิญญาณให้ชาติตะวันตก
  • ส่วนผกก. Shinoda ต่อจากหลังสงคราม ต่อเนื่องมาจนถึงทศวรรษ 70s ช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นมีการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด เมืองหลวงเต็มไปด้วยตึกระฟ้าสูงใหญ่ แต่ใครต่อใครกลับขายวิญญาณให้ปีศาจ
    • และยังสามารถเหมารวมการทำงานภายใต้สตูดิโอ Shōchiku ที่มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ เต็มไปด้วยระบบระเบียบ ก่อนลาออกมาก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่นของตนเองเมื่อปี ค.ศ. 1966-67

แม้ผู้สร้างจะพยายามทำให้ Under the Blossoming Cherry Trees มีความหลอกหลอน ขนหัวลุกพอง แต่ทว่าซากุระคือสัญลักษณ์ของชีวิต & ความตาย (Life & Death) มันจึงไม่ใช่เรื่องน่าหวาดสะพรึง เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนเวียนว่ายตายเกิดด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมอง ทัศนคติของตัวเราเอง จะใช้เวลาชีวิตอันแสนสั้นอย่างงดงาม ทรงคุณค่า หรือปล่อยให้มันแห้งเหี่ยวร่วงโรยรา


อาจเพราะหนังมีความเป็นญี่ปุ่นค่อนข้างสูง เพราะดูเหมือนปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน (แต่อย่างที่อธิบายไปแล้ว นี่เป็นผลงานเขียนเรื่องสั้นของ Ango Sakaguchi) เสียงตอบรับตอนออกฉายก็แค่กลางๆ จึงไม่ได้รับโอกาสเดินทางไปฉายต่างประเทศ จนปัจจุบันก็ยังไม่ค่อยถูกพูดกล่าวถึงสักเท่าไหร่ โอกาสการบูรณะคงต้องลุ้นกันยาวๆ

แม้หนังจะมีความเอื่อยเฉื่อย ยืดเรื่องยาวไปสักหน่อย (เพราะดัดแปลงจากเรื่องสั้น) รวมถึงบรรยากาศอาจไม่หลอกหลอนเท่าที่ควร แต่ผมชื่นชอบแนวคิด การเปรียบเทียบหญิงสาว=ซากุระ ความงดงามมาพร้อมกับหายนะ เสียดายแผ่น DVD ไม่สามารถถ่ายทอดความงดงามของทิวทัศน์ เทือกเขา และดอกซากุระ … แต่ก็เป็นหายนะที่งดงาม วิจิตรศิลป์!

จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมเห็นแก่ตัว หลงตนเอง หมกมุ่นในราคะ ฆาตกรต่อเนื่อง

คำโปรย | Under the Blossoming Cherry Trees ใต้ต้นซากุระ มีทั้งชีวิต-ความตาย งดงามและหายนะ
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | งดงาม

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: