Address Unknown (2001) : Kim Ki-duk ♥♥♥♥
ร้อยเรียงประสบการณ์วัยเด็กของผู้กำกับ Kim Ki-duk มักโดนเพื่อนๆกลั่นแกล้ง (Bully) ดูถูกเหยียดหยาม (Racist) พบเห็นสารพัดเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งยังบิดาชอบทารุณกรรม (Child Abuse) ชีวิตเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น เก็บกด อดกลั้น แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง
Where does our cruelty come from?
มีนักข่าวสอบถามผกก. Kim Ki-duk ทำไมถึงชื่นชอบสร้างภาพยนตร์ที่มีความดิบเถื่อน (Rawness) เต็มไปด้วยความรุนแรง (Violence) เหี้ยมโหดร้าย (Cruelty) เกินไปไหม? เขาตอบคำถามดังกล่าวด้วยผลงานกึ่งๆอัตชีวประวัติ Address Unknown (2001) นำเอาเหตุการณ์จริง! แทบทุกสิ่งเคยประสบพบเจอเมื่อครั้นยังเด็ก ลองพินิจพิเคราะห์ดูว่าถ้าคุณอาศัยในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น จักเติบโตมาเป็นมนุษย์เช่นไร?
The violence repeated through generations—I believe this is the most uniquely Korean form of violence.
Kim Ki-duk
Address Unknown (2001) มีลักษณะเหมือนกระเบื้องโมเสก ทำการแปะติดปะต่อ สลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละคร ร้อยเรียงหลากหลายเรื่องราวเข้าด้วยกัน มันอาจดูสับสนในบางครั้ง แต่เมื่อหนังจบผู้ชมจักสามารถเข้าใจประวัติความรุนแรงที่ฝังอยู่ในรากเหง้าชนชาวเกาหลี(ใต้) รวมถึงตัวตนของผกก. Kim Ki-duk ได้เลยละ!
ขอเตือนไว้ก่อนสำหรับคนโลกสวย นี่เป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยสารพัดความรุนแรง ภาพทารุณกรรม (ทั้งมนุษย์และสัตว์) ที่อาจทำให้คุณรู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า ตกอยู่ในความสิ้นหวัง แต่ทุกเหตุการณ์ล้วนเคลือบแฝงนัยยะที่สะท้อนสภาพเป็นจริงของสังคม … ถ้าคุณสามารถก้าวผ่านภาพความรุนแรงเหล่านั้น อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ขุมนรกรำไร
Kim Ki-duk, 김기덕 (1960-2020) ศิลปิน/จิตรกร ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติเกาหลี เกิดที่หมู่บ้านเล็กๆบนภูเขา Bonghwa, North Kyŏngsang วัยเด็กมักโดนกลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยาม เพราะสถานะทางสังคมต่ำกว่าใคร แถมบิดายังกระทำร้ายร่างกายบ่อยครั้ง, พออายุ 9 ขวบ ครอบครัวอพยพย้ายมาอยู่ Ilsan ชานกรุง Seoul เข้าโรงเรียนมัธยม Samae Industrial School ฝึกฝนด้านการเกษตร แต่หลังพี่ชายถูกไล่ออกจากโรงเรียน บิดาบีบบังคับลูกๆให้เลิกเรียนหนังสือ ออกมาทำงานโรงงาน รับจ้างก่อสร้าง ก่อนสมัครทหารเรือ (เพราะต้องการหนีออกจากบ้าน) แล้วอาสาทำงานให้กับโบสถ์ Baptist วาดฝันอยากเป็นบาทหลวงนักเทศน์
พออายุสามสิบเดินทางสู่ฝรั่งเศส เติมเต็มความใฝ่ฝันอยากเป็นศิลปิน รับจ้างวาดภาพข้างถนน (Sidewalk Artist) ก่อนค้นพบความสนใจภาพยนตร์จาก The Silence of the Lambs (1991) และ The Lovers on the Bridge (1991) จึงตัดสินใจเดินทางกลับเกาหลีใต้ เข้าคอร์สเรียนเขียนบทกับ Korea Scenario Writers Association พัฒนาบทหนังส่งเข้าประกวด Korean Film Council (KOFIC) ลองผิดลองถูกอยู่หลายเรื่องจนกระทั่ง Illegal Crossing สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศเมื่อปี ค.ศ. 1995 น่าเสียดายไม่เคยถูกดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ (เพราะสตูดิโอที่ซื้อบทหนัง ล้มละลายไปเสียก่อน), ผลงานเรื่องแรก Crocodile (1996), แจ้งเกิดระดับนานาชาติกับ The Isle (2000)
สำหรับผลงานลำดับที่หก 수취인불명, Address Unknown (2001) คือการหวนกลับหารากเหง้า นำเอาเหตุการณ์ต่างๆที่เคยประสบพบเจอเมื่อครั้นยังวัยรุ่นอายุ 17 ทั้งของตนเองและเพื่อนพ้อง มาร้อยเรียงสร้างเป็นเรื่องราวภาพยนตร์
When I was in elementary school, there were 6 or 7 mixed-race kids in my class. If you go just a little bit from Ilsan, such as Paju, Munsan, and Geumchon, there were US military bases. There were many women who married US soldiers. It must be because the US military was their bread and butter for the people who formed the surrounding commercial districts. If you go to a cafe or club in a camp town where US soldiers frequent, the atmosphere is gloomy, just as it was then. When I see US soldiers paying 10 dollars and calling Korean women to a table to talk to, I feel sorry for them too. This movie is about my mixed-race friend who hung himself at the age of 27.
Kim Ki-duk
This is actually a story from the time my friends and I were seventeen. Chang-Guk’s experiences are taken from mine, and the stories about his friend who commits suicide at the age of twenty-seven and another friend who has only one eye are exactly how they really happened.
ส่วนชื่อหนัง Address Unknown คือจดหมายตีกลับที่ผกก. Kim Ki-duk เคยพบเห็นทอดทิ้งไว้ตามตู้ไปรษณีย์ ไม่มีใครมารับคืน พยายามหักห้ามใจไม่ให้ฉีกอ่าน แต่หลายๆครั้งก็มิอาจควบคุมตนเองไหว
When I was growing up in the countryside, I remember many letters scattered on the ground, undelivered because they were sent to unknown addresses. Most of them were stuck in mailboxes for the longest time until they were swept away by the wind and thrust into the bottom of rice fields or a filthy ditch. Whenever I would see them, I was always overcome with the desire to open them, which in fact I [attempted to do] a number of times. Quite a few contained sad, desperate tales.
พื้นหลังช่วงปลายทศวรรษ 1970s ณ เมืองชนบทไม่ระบุชื่อ แต่เป็นสถานที่ตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกา นำเสนอเรื่องราวของตัวละครดังต่อไปนี้
- Chang-Guk (รับบทโดย Yang Dong-geun) ชายหนุ่มลูกครึ่งเกาหลี-อเมริกันผิวสีเข้มๆ ร่างกายบึกบึนกำยำ สนิทสนมกับ Ji-hum คอยให้การปกป้องจากพวกนักเลงเจ้าถิ่น ลึกๆมีความโหยหาบิดา แต่ไม่ชอบที่มารดาใช้ชีวิตอย่างลมแล้งๆ เอาแต่เขียนจดหมายถึงสามี, มักโดน Dog Eye กดขี่ข่มเหง กระทำร้ายร่างกาย วันหนึ่งถึงขีดสุดความอดกลั้น จึงมิอาจควบคุมตนเองได้อีกต่อไป
- มารดาของ Chang-Guk (รับบทโดย Pang Eun-jin) อาศัยอยู่กับบุตรชายในรถโดยสาร วันๆเอาแต่เฝ้ารอคอยจดหมายจากสามีชาวอเมริกัน อยากเดินทางออกไปจากสถานที่แห่งนี้ เพราะมักโดนพวกแม่ค้าแม่ขาย ชาวเกาหลีทั้งหลายขับไล่ ผลักไส ไม่มีใครยินยอมรับ (ถูกตีตราว่าเป็นโสเภณีขายตัวให้ทหารอเมริกัน) เต็มไปด้วยความเก็บกด อดกลั้น ถูกบุตรชาย Chang-Guk ทุบตี กระทำร้ายร่างกายบ่อยครั้ง จนท้ายที่สุดเมื่อชีวิตไม่หลงเหลืออะไร จึงจุดไฟเผาไหม้อยู่ในกองเพลิง
- Dog Eye (รับบทโดย Cho Jae-hyun) ทำงานรับซื้อ-เชือด-ขายสุนัข เป็นคนขี้หงุดหงิด ฉุนเฉียว ชอบใช้อารมณ์ ทุบตี กระทำร้ายร่างกาย Chang-Guk จนวันหนึ่งมิอาจอดกลั้นฝืนทน เลยถูกโต้ตอบกลับอย่างสาสม
- Ji-Hum (รับบทโดย Kim Young-min) นักเรียนหนุ่มหน้าใส จิตใจบริสุทธิ์ เป็นคนเหนียงอาย ไม่ค่อยกล้าพูด-แสดงออก เลยมักโดนรังแก กลั่นแกล้งจากพวกนักเลงเจ้าถิ่นเป็นประจำ, ตกหลุมรักหญิงสาว Eun-Ok คอยแอบถ้ำมอง แต่มิอาจครอบครอง ก่อนสูญเสียเธอให้กับทหารอเมริกัน จนวันหนึ่งมิอาจอดกลั้นฝืนทน ฝึกฝนยิงธนู แก้ล้างแค้นพวกนักเลงเจ้าถิ่น รวมถึงยิงเป้าทหารอเมริกัน ยินยอมมอบตัวแก่ตำรวจ และระหว่างกำลังส่งตัวไปกรุง Seoul พยายามดิ้นหลบหนีจนประสบเหตุ…
- หญิงสาว Eun-Ok (รับบทโดย Ban Min-Jung) ตอนยังเด็กถูกพี่ชายกลั่นแกล้งทำให้สูญเสียดวงตาข้างหนึ่ง เลยมักโดนล้อเลียนจากเพื่อนๆ เต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้น ระบายอารมณ์ทางเพศกับสุนัขเลี้ยงไว้, ลึกๆน่าจะแอบชอบพอ Ji-Hum แต่พอมีโอกาสพบเจอทหารอเมริกัน ยินยอมแต่งงานแลกกับการรักษาดวงตา ถึงอย่างนั้นเมื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันสักพัก สันดานธาตุแท้อีกฝ่ายค่อยๆเปิดเผยออกมา ปฏิเสธก้มหัวศิโรราบ จึงตัดสินใจใช้มีดทิ่มตาข้างเดิมกลับมามืดบอดอีกครั้ง
- ทหารอเมริกันนิรนาม (รับบทโดย Mitch Malem) มีอาการป่วย Shell Shock แต่ยังฝืนเป็นทหาร แรกพบเจอตกหลุมรัก Eun-Ok พยายามขายขนมจีบ เกี้ยวพาราสี ใช้ข้ออ้างรักษาดวงตาเพื่อครอบครอง ร่วมรักหลับนอน ก่อนค้นพบว่าตนเองเหมือนถูกหลอก จึงเริ่มมิอาจอดกลั้นฝืนทน ระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่ง แล้วตัดสินใจกระทำอัตวินิบาต
จริงๆยังมีอีกหลายตัวละคร หลายเรื่องราวที่น่าสนใจ แต่ผมขอมัดรวมเพียงแค่ 3 ตัวละครหลัก Chang-Guk, Ji-Hum และ Eun-Ok ตามคำบอกกล่าวของผกก. Kim Ki-duk
To me, the three characters in this film are just like the abandoned letters of my childhood. They are children of an “era which is yet to be received.” In the desolate plains, Chang-Guk has been entirely violated; Eun-Ok is halfway to that point; and Ji-Hum will rise up, like a weed.
Kim Ki-duk
ถ่ายภาพโดย Seo Jeong-min, 서정민 (1934-2015) เข้าสู่วงการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 มีโอกาสร่วมงานผกก. Kim Ki-duk ถึงสามครั้ง Wild Animals (1997), Birdcage Inn (1998) และ Address Unknown (2001)
งานภาพของหนังแทบไม่มีสีสันสดใส (พบเห็นสีเขียวกับน้ำเงินนับครั้งได้) ทำการย้อมสีโทนน้ำตาล ให้ออกมาดูอับเฉา หมองหม่น ไร้ความสดชื่น/ชีวิตชีวา มีความเกรอะกรัง เปรอะเปื้อนลูกรัง ปกคลุมไปด้วยฝุ่นควัน เข้ากับบรรยากาศสิ้นหวังได้เป็นอย่างดี
ลีลาการถ่ายภาพ ยังเต็มไปด้วยช็อตเล็กช็อตน้อย บันทึกเหตุการณ์สั้นๆ นำมาร้อยเรียงแปะติดปะต่อ (เหมือนกระเบื้องโมเสก) ทุกสิ่งอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว กระชับ ฉับไว แทบไม่มีเวลาตั้งตัวหรือหยุดพักหายใจ
หนังปักหลักถ่ายทำอยู่ยัง Paengseong เมืองทหาร (Military Town) ตั้งอยู่ Pyeongtaek, Gyeonggi ไม่ห่างไกลจากฐานทัพสหรัฐอเมริกา Camp Humphreys แต่ทว่าฉากที่ถ่ายหน้าค่ายทหารกลับเลือกใช้ Base R401 ชื่อเล่น Camp Eagles ตั้งอยู่ Wonju, จังหวัด Gangwon (อาจเพราะ Camp Humphreys มีความทันสมัยใหม่เกินไป)
เกร็ด: Camp Eagles ถอนกำลังไปเมื่อปี ค.ศ. 2010 เพื่อรวมกับ Camp Humphreys กลายเป็นฐานทัพสหรัฐอเมริกาใหญ่สุดในเกาหลีใต้
ตั้งแต่สมัยวัยรุ่น ผกก. Kim Ki-Duk มีความเชี่ยวชาญด้านกลไก เคยรับจ้างทำอาวุธปืน (DIY) มีทั้งหน้าไม้ ปืนอัดลม ฯ เลยไม่น่าแปลกใจที่หลายผลงานๆจะมีการสร้างอาวุธปืน ถือเป็นงานอดิเรกยามว่างเลยกระมัง
มันอาจดูเหมือนการเล่นสนุกระหว่างพี่ชาย-น้องสาว แต่อาวุธประดิษฐ์เองลักษณะนี้ ย่อมมีความเสี่ยงพลาดพลั้ง แต่ผมแอบรู้สึกว่าเหมือนมีความจงใจเคลือบแอบแฝง เพราะพฤติกรรมพี่ชายนั้นมีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ เรียนจบแล้วไม่ยอมทำงานอะไร ยังคงแบบมือขอเงิน เรียกร้องโน่นนี่นั่น แสดงท่าทางอิจฉาริษยาน้องสาว Eun-Ok ได้เมียอเมริกัน … แต่ถ้าเรามองในเชิงสัญลักษณ์ พี่น้องทำร้ายกันเอง สามารถสื่อถึงความขัดแย้งในสายเลือด สงครามเกาหลีเหนือ-ใต้ หรือไม่ก็การแก่งแย่ง/รัฐประหารภายในเกาหลีใต้
เครดิตชื่อหนังมีสองสิ่งน่าสนใจ ข้อความ ADDRESS UNKNOWN เหมือนจะเปลอะเปลื้อนคราบเลือดสีแดง และพิมพ์ตัวอักษรลงบนผ้าลางพราง เครื่องแบบชุดทหาร ซึ่งก็คือทหารอเมริกันที่เข้ามาประจำการอยู่ในเกาหลีใต้ มาทำไม? ใครได้ประโยชน์อะไร? เลือดบนตัวหนังสือเป็นของผู้ใด?
ตั้งแต่สงครามเกาหลี Korean War (1950-53) ถือเป็นการอารัมบทก่อนกาลมาถึงของสงครามเย็น ไม่ต้องการให้ประเทศพันธมิตรถูกรุกคืบ สหรัฐอเมริกาเลยทำสนธิสัญญากับเกาหลีใต้ จัดตั้งฐานทัพ(สหรัฐอเมริกา)ในบริเวณไม่ห่างไกลจากเขตปลอดทหาร DMZ (Demilitarized Zone) พรมแดนเกาหลีเหนือ-ใต้ เพื่อปกป้องการรุกรานของคอมมิวนิสต์
การมาถึงของพวกอเมริกัน แม้ด้วยข้ออ้างปกป้องการรุกรานของคอมมิวนิสต์ แต่ถ้าเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง มันต่างอะไรจากการเข้ายึดครองอาณานิคม (Neo-Colonialism)? และด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่กำลังย่ำแย่ของเกาหลีใต้ รัฐบาลเผด็จการทหารหาได้ใส่ใจอะไรประชาชน หญิงสาวบางคนจึงเลือกขายบริการทางเพศให้ทหารอเมริกัน (ตัวอักษรสีแดง ผมตีความว่าเลือดพรหมจรรย์หญิงสาว) ลูกหลานถือกำเนิดขึ้นกลายเป็นลูกครึ่งผิวสี เลยมักถูกกดขี่ข่มเหง ดูถูกเหยียดหยาม ไม่ได้รับการยินยอมรับจากสังคม
Chang-Guk และมารดา เพราะถูกสังคมขับไล่ ผลักไส (เพราะแต่งงานกับทหารอเมริกัน) เลยไม่มีบ้านอยู่ อาศัยหลับนอนอยู่ในรถโดยสารสีแดง เฝ้ารอคอยจดหมายจากสามี จักได้ออกเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา
Blood-red and bearing the insignia of the U.S. Air Force, the bus not only signifies the traces of American military dominance in South Korea but also is an extension of many “mobile homes” in Kim Ki-duk’s cinema (from boat houses in Wild Animals and The Bow to color fully painted fishing shacks in The Isle and the temple in the lake in Spring, Summer, Fall, Winter … and Spring)
แม้ตอนต้นเรื่องจะขึ้นข้อความไม่มีสัตว์ถูกกระร้าย แต่คนที่ยังอ่อนด้อยประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อาจไม่รู้สึกเช่นนั้น เพราะหนังทำออกมาได้โคตรๆสมจริง ทั้งเสียงกรีดร้อง เลือดหยดติ๋งๆ มันจะเป็นไปได้อย่างไรกัน? นั่นคือความมหัศจรรย์ของสื่อภาพยนตร์ สามารถล่อหลอกผู้ชมด้วยมุมกล้อง เสียงประกอบ ต้องชมทำออกมาได้อย่างแนบเนียนสุดๆ … สำหรับคนช่างสังเกต จะพบว่ามันไม่มีช็อตที่สุนัขถูกทุบตี รุนแรงสุดน่าจะตอนเชือดไก่เท่านั้นเอง
เมื่อตอน Crocodile (1997) ที่ทำการเปรียบเทียบมนุษย์ = จระเข้, ภาพยนตร์เรื่องนี้ Address Unknown (2001) มอบหมายให้นักแสดงขาประจำ Cho Jae-hyun รับบทตัวละครชื่อ Dog Eye รับซื้อ-เชือด-ขายเนื้อสุนัข ก่อนท้ายที่สุดจะได้รับผลกรรมคืนตอบสนอง กลายสภาพจากมนุษย์ = สุนัข มูลค่าของมันแค่เพียงสารอาหารอิ่มท้องเท่านั้น
ทำไมมารดาของ Chang-Guk ถึงยังเขียนจดหมายถึงสามี ทั้งๆที่ถูกตีกลับนับครั้งไม่ถ้วน นั่นเพราะเขาคือประกายความหวังที่จักทำให้ตนเองและบุตร สามารถก้าวออกไปจากนรกขุมแห่งนี้ สหรัฐอเมริกาคือดินแดนแห่งสรวงสวรรค์ อย่างน้อยย่อมได้รับสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม … ในมุมกลับกัน มันคือความหวังลมๆแล้งๆ หลอกตัวเอง ไม่ยินยอมรับสภาพเป็นจริง
แม้หนังไม่มีการเล่าย้อนอดีตเกี่ยวกับมารดาของ Chang-Guk เพียงรูปภาพถ่ายพ่อ-แม่-ลูก แต่เราสามารถทำความเข้าใจเหตุการณ์บังเกิดขึ้นได้ไม่ยาก จากเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง Eun-Ok กับทหารอเมริกันคนนั้น คงไม่ได้แตกต่างอะไรกันมากมาย
อุบัติเหตุครั้งนั้นได้สร้างปมด้อยให้กับ Eun-Ok พยายามใช้เส้นผมบดบังดวงตาข้างนั้นไว้ ไม่ต้องการเปิดเผยให้ใครพบเห็น แต่ทว่า Ji-Hum กลับไม่เคยทำความเข้าใจเหตุผลของเธอ จึงวาดภาพร่าง (น่าจะเป็นฝืมือของผกก. Kim Ki-duk ที่เป็นศิลปินเก่า) ที่เห็นดวงตาสองข้าง นั่นเลยสร้างความไม่พึงพอใจแก่หญิงสาว ฉีกกระกระชาก และตบหน้าหนึ่งฉาด … เหมือนข้อความภาษาอังกฤษตรงลวดหน้าม บริเวณนี้สถานที่ของรัฐบาลห้ามผ่าน!
หลายคนตีความการสูญเสียดวงตาข้างหนึ่ง = การสูญเสียดินแดนเกาหลีเหนือ, แต่ผมมองถึงวิสัยทัศน์ของผู้นำเผด็จการเสียมากกว่า ที่ชอบปิดตาข้างหนึ่ง แสร้งทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจ เบื้องหน้าแสดงออกอย่างหนึ่ง เบื้องหลังเต็มไปด้วยลับลมคมใน สูญเสียความสามารถในการมองเห็นความทุกข์ยากลำบากของชาวเกาหลีใต้
หลายคนมองถึงอาการผิดปกติทางจิตของหญิงสาว อาการกระสันสัตว์ (Zoophilia) ร่วมเพศสัมพันธ์/สำเร็จความใคร่กับสัตว์เลี้ยง อันเนื่องจากแรงกดดันจากสิ่งต่างๆรอบข้าง สะสมอารมณ์อัดอั้น ฮอร์โมนเพศพลุกพล่าน วัยรุ่นอยากรู้อยากลอง โหยหาใครสักคนสามารถเป็นที่พึ่งพักพิง
แต่ถ้าเรามองในเชิงสัญลักษณ์ อย่างที่อธิบายไปแล้วว่ามนุษย์ไม่ต่างอะไรจากสุนัข นั่นอาจสื่อถึงเธอยินยอมทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ตนเองได้รับการปลดปล่อย (ขณะที่มารดาของ Chang-Guk ต้องการหลบหนีออกไปจากขุมนรกแห่งนี้, Eun-Ok เพียงโหยหาอิสรภาพทางใจ ตอบสนองความสุขทางกาย)
พฤติกรรมถ้ำมอง (Voyeurism) นี่ก็ถือเป็นอาการผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง! ในบริบทของหนัง Ji-Hum เพราะเป็นคนเหนียงอาย มีความกลัวๆกล้าๆ จึงทำได้เพียงแอบถ้ำมอง อยากได้เธอมาครอบครอง เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ฮอร์โมนเพศพลุกพล่าน … ผลกรรมของความอยากรู้อยากเห็น ทำให้ Ji-Hum และ Chang-Guk ต่างได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา
ครั้งแรกที่ทหารอเมริกันเข้ามาทักทาย Eun-Ok ระหว่างเดินกลับบ้านพบเห็นสุนัขติดสัด นี่เหมือนเป็นการบอกใบ้ความสัมพันธ์(ทางเพศ)ระหว่างทั้งสอง แต่เรายังสามารถเปรียบเทียบถึงเกาหลีใต้+สหรัฐอเมริกา ที่ต่างพึ่งพาอาศัย มิอาจแยกออกจากกันได้อีกต่อไป
- ในมุมของเกาหลีใต้ คือการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาที่ถือเป็นหมาอำนาจ จ้าวโลก ช่วยรักษาความสงบ คานอำนาจเกาหลีเหนือ
- ส่วนสหรัฐอเมริกา นอกจากปกป้องการรุกคืบของคอมมิวนิสต์ ยังเข้ามามีอำนาจ ถือเป็นการยึดครอบครอง ตามแนวคิดของลัทธิอาณานิคมใหม่ (Neo-Colonailism)
สองนักเลงเจ้าถิ่นที่ชอบมารีดไถ Ji-Hum นี่สะท้อนประสบการณ์ตรงของผกก. Kim Ki-duk เพราะตนเองไม่ค่อยเฉลียวฉลาด สถานะทางสังคมต่ำต้อย จึงตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้ง (Bully) ดูถูกเหยียดหยาม (Racism) แต่หลายต่อหลายครั้งที่สองจิ๊กโก๋โผล่มาพูดคุย สอบถามภาษาอังกฤษ “What’s your dream?” “What do you want to be in the future?” กลายเป็นปริศนาธรรมให้ตัวละครและผู้ชม นี่คือสิ่งที่แบ่งแยกสถานะทางสังคมได้ด้วยเช่นกัน!
สังคมเกาหลียึดถือแนวคิดชายเป็นใหญ่ แต่ในขณะนี้กลับเป็น Eun-Ok เรียกร้องขอร่วมเพศสัมพันธ์กับ Ji-Hum ถึงอย่างนั้นมันยังไม่เลวร้ายเท่าสองนักเลงเจ้าถิ่นบังเอิญมาพบเข้า จึงพลัดกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงสาว ฝ่ายชายพยายามดิ้นรนขัดขืน จนตกอยู่ในความขมขื่น … เรียกได้ว่าหมดสูญเสียความเป็นชาย
ด้วยความโกรธเกลียดเคียดแค้น Ji-Hum จึงประดิษฐ์สร้างปืนหน้าไม้มาเผชิญหน้ากับสองนักเลงเจ้าถิ่น แต่ข้อความเตือน “Caution Danger” บอกใบ้หายนะบังเกิดขึ้น เกือบสูญเสียดวงตาข้างหนึ่ง ในบริบทนี้สามารถสื่อถึงความมืดบอดภายในจิตใจ
กลายเป็นว่าสามตัวละครหลักของหนัง ต่างมีเหตุให้ต้องปิดตาข้างหนึ่ง นี่ไม่ใช่สำนวนไทยที่หมายถึง การแกล้งทำไม่รู้ไม่ชี้ ในยามที่อีกฝ่ายแอบตุกติก มีนอกมีใน, ผมครุ่นคิดว่าต้องการเปรียบเทียบโลกที่มีสองด้าน มืด-สว่าง ดี-ชั่ว มองภายนอกด้วยตา-เห็นความจริงที่อยู่ภายใน
- Chang-Guk มีความระริกระรี้แอบถ้ำมอง Eun-Ok เลยถูกดินสอทิ่มตา … มืดบอดเพราะใช้ชีวิตโดยสันชาติญาณ
- Ji-Hum ด้วยความโกรธเกลียดเคียดแค้นสองนักเลงเจ้าถิ่น จึงสร้างปืนหน้าไม้ แต่กลับกลายเป็นย้อนกลับมาทำลายตนเอง … มืดบอดเพราะความเคียดแค้น ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง
- Eun-Ok ครั้งแรกตาเกือบบอดเพราะอุบัติเหตุ แต่หลังจากนั้นคือการตัดสินใจเลือกหนทางชีวิตด้วยตนเอง
- ตาบอดเพราะพี่ชาย = ความขัดแย้งภายในของชาวเกาหลีใต้
- ยินยอมศิโรราบต่อทหารอเมริกัน ถูกแทรกแซงโดยคนนอก จึงหวนกลับมามองเห็นอีกครั้ง
- แต่เมื่อเรียนรู้สันดานธาตุแท้ของทหารอเมริกัน จึงตัดสินใจใช้มีดทิ่มแทงตาตนเองให้มืดบอดอีกครั้ง
ในเมื่อผู้ชายเกาหลีมันพึ่งพาไม่ค่อยได้ Eun-Ok เลยเริ่มเปิดใจให้ทหารอเมริกัน แต่มันก็เหมือนยาหลอนประสาท(อ้างว่าคือยารักษาโรค Shell Shock)ที่อีกฝ่ายฝังไว้ เพียงเม็ดเดียวทำให้ล่องลอย ตุปัดตุเป๋ ราวกับเป็นอิสระจากโลกใบนี้ … สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกา หญิงเกาหลีกับทหารอเมริกัน ไม่ต่างจากฤทธิ์ยาหลอนประสาท หลอกตัวเอง เคลิบเคลิ้มชวนฝัน แต่พอตื่นขึ้นเผชิญหน้าโลกความจริงนั้น
Chang-Guk เติบโตขึ้นโดยไม่มีบิดา แต่ทว่า Dog Eye พยายามทำตัวเหมือนพ่อเลี้ยง คอยให้การดูแล แนะนำโน่นนี่นั่น ถึงอย่างนั้นม้กใช้ถ้อยคำหยาบคาย กระทำร้ายร่างกาย ครั้งหนึ่งเคยใส่กุญแจมือกับล้อมอเตอร์ไซด์ ก่อนโดนถอดออกไปทั้งล้อ … เติบโตโดยไร้บิดา = มอเตอร์ไซด์ที่ไร้ล้อหน้า ไร้บุคคลขับเคลื่อนนำทางชีวิต
มันช่างเป็นความพอดิบพอดี! เจ้าหน้าที่รัฐเดินทางมาแจ้งข่าวกับครอบครัวว่าบิดา/สามีจากเคยเป็นผู้เสียสละชีพในช่วงสงคราม กลับกลายเป็นคนทรยศขายชาติ = วินาทีนั้น Eun-Ok เกิดอาการคลื่นเหียร วิงเวียน สะอิดสะเอียน มารดาเกิดความตระหนักว่าบุตรสาวตั้งครรภ์ จึงรีบนำพาไปทำแท้งโดยพลัน … กล่าวคือ บิดาเป็นคนทรยศขายชาติ = บุตรสาวตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ชาวเกาหลีใต้ในช่วงทศวรรษ 70s มีความรักชาตินิยมสูงมากๆ อันเนื่องจากยังได้รับอิทธิพลจากสงคราม การรุกรานของคอมมิวนิสต์ รวมถึงผู้นำเผด็จการใช้อำนาจเด็ดขาดกับผู้เห็นต่าง/คนทรยศขายชาติ นั่นเป็นการปลูกฝังค่านิยม Nationalism ไปในตัว
หลังจากมารดาลากพา Eun-Ok ไปทำแท้ง ฉากถัดมา Ji-Hum ตกหลุมหน้าบ้าน พบเจอว่าคือโครงกระดูก พร้อมอาวุธปืน … ความต่อเนื่องของสองซีเควนซ์ มันชวนให้ครุ่นคิดในเชิงเปรียบเทียบ ทารก(ไร้เดียงสา)ที่ถูกทำแท้ง = โครงกระดูกนี้(ไม่รู้ตายเพราะอะไร)ถูกเหยียบย่ำยี ตีตราว่าร้าย เหมารวมว่าเป็นสมาชิกคอมมิวนิสต์ พวกเขาทำผิดอะไร?
ในขณะที่ทหารอเมริกันล้มป่วยอาการ Shell Shock, PTSD (Post-traumatic stress disorder) เต็มไปด้วยอคติต่อต้านสงคราม แต่ยังคงถูกบังคับให้ฝึกซ้อมทหาร เตรียมการสู้รบกับใครก็ไม่รู้ จนตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง
ตรงกันข้ามบิดาของ Ji-Hum ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ขาพิการ เดินกระโผกกระเผก เลยจำต้องปลดประจำการทหาร ถึงอย่างนั้นกลับยังมีความกระตือลือร้น ฝึกฝนยิงธนู ซ่อมแซมปืนเก่า ทดลองยิงเจ้าไก่ (ตายจริงๆ) แล้วพร่ำเพ้อถึงสงคราม ช่วงเวลาแห่งเกียรติยศ ความภาคภูมิใจ
ทหารอเมริกาตัดกระดาษดวงตา แปะติดข้างที่บอดของ Eun-Ok จากนั้นพยายามพูดโน้มน้าว มอบความหวัง ถ้าเธอยินยอมตกลงเป็นของฉัน จะให้การช่วยเหลือ พาเข้ารักษาในโรงพยาบาล จนสามารถหวนกลับมามองเห็นอีกครั้ง … นี่เป็นการสื่อถึงสหรัฐอเมริกาคือดินแดนแห่งอิสรภาพ สถานที่แห่งความหวัง เติมเต็มความเพ้อฝัน (American Dream)
แต่ดวงตากระดาษ = เสือกระดาษ! จริงอยู่ว่า ‘อเมริกัน’ สามารถทำให้ดวงตาของเธอกลับมามองเห็นอีกครั้ง แต่เบื้องหลังตัวตน ข้อเรียกร้อง สันดานธาตุแท้ของชนชาตินี้ จักทำให้เธอตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวัง ถูกบีบบังคับโน่นนี่นั่น ไม่ต่างจากการตกเป็นอาณานิคม (Neo-Colonialism)
Ji-Hum พยายามโน้มน้าว เกี้ยวกล่อม เรียกร้องขอให้ Eun-Ok ไม่ขายวิญญาณให้กับทหารอเมริกัน แต่คำกล่าวของชายหนุ่มแค่เพียงความฝันลมๆแล้งๆ อุดมการณ์จับต้องไม่ได้ ไม่เคยทำความเข้าใจความรู้สึกฝ่ายหญิง เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ทั้งๆยังเอาตัวเองไม่รอดเสียด้วยซ้ำ! … ชวนนึกถึงสำนวนไทย หมาเห่าใบตองแห้ง
เมื่อดวงตากลับมามองเห็นอีกครั้ง สังเกตว่า Eun-Ok ทำการโอบอุ้มเจ้าสุนัข สัตว์รักสัตว์หวง … ความสัมพันธ์ระหว่าง Eun-Ok กับเจ้าสุนัข มีลักษณะของการใช้อำนาจบีบบังคับ ครอบครองเป็นเจ้าของ สำหรับเติมเต็มตัณหาความใคร่ = ไม่ต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างทหารอเมริกันกับหญิงสาว ที่ใช้อำนาจการเงิน การสาธารณสุข เพื่อครอบครองเป็นเจ้าของ ร่วมรักหลับนอน
สารพัดความรุนแรงที่ Dog Eye เคยกระทำกับทั้งสุนัขและ Chang-Guk ทำให้วันหนึ่งมิอาจอดรนทนไหว ฉกฉวยโอกาสแก่งแย่งปืน จับใส่กรงสุนัขด้านหลังรถ (Chang-Guk ก็เคยนั่งในนั้นต้นเรื่อง) พากลับมาโรงเชือด จับผูกเชือกรัดคอ และให้บรรดาสุนัขทั้งหลายช่วยกันฉุดดึง มันช่างเป็นกรรมสนองกรรมโดยแท้ … Just like a dog!
Chang-Guk ทำการลบรอยสัก(ที่อยู่ของบิดา)บนผิวหนังมารดา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการตัดขาด ทำลายความสัมพันธ์ ทอดทิ้งความหวังลมแล้งๆ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจักต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่หมกมุ่นยึดติดกับวันวานอีกต่อไป
หลังลบรอยสักมารดา Chang-Guk ตัดสินใจขับรถมอเตอร์ไซด์ออกเดินทางหลบหนี แต่ทว่าล้อหน้า (ที่เคยถอดออก) เกิดอาการโซซัดโซเซ ตุปัดตุเป๋ ควบคุมไม่อยู่ พลิกคว่ำ หน้าคะมำ ทิ่มตำลงในโคลนตม เป็นท่าความตายกึ่งธรณีสูบ เพราะเคยกระทำร้ายมารดา และล้อกับ Dog Eye ที่เสียชีวิตจากการแขวนคอ ลอยอยู่ในอากาศ (เลยจมดินครึ่งตัว ขาชี้ฟ้า)
สองนักเลงเจ้าถิ่นที่คอยรีดไถเงินจาก Ji-hum มาวันหนึ่งพวกเขาก็แตกคอกันเอง เพราะต่างฝ่ายต่างโหยหาอำนาจ ต้องการเป็นใหญ่ ได้เงินมาใช้ เมื่อเกิดความไม่เท่าเทียม ท้ายที่สุดแล้วย่อมนำไปสู่ความขัดแย้ง เกิดการต่อสู้ สุนัขกัดกัน “dog-eat-dog world”
ย้อนรอยกับมารดาของ Chang-Guk ที่ถูกสามีอเมริกันทำการตีตราประทับ สักที่อยู่บนผิวหนัง คราวนี้ทหารอเมริกันพยายามจะใช้มีดสักที่อยู่ของตนเองบนผิวหนังของ Eun-Ok แต่ทว่าเธอดิ้นรนขัดขืน แก่งแย่งมีด นำมาทิ่มตาตนเองให้มืดบอดอีกครั้ง สัญลักษณ์ของการไม่ยินยอมอดรนทน ก้มหัวศิโรราบให้กับชาวต่างชาติ/อเมริกันอีกต่อไป
จากเคยเป็นนายเจี๋ยมเจี้ยม เมื่อถึงจุดแตกหักของ Ji-Hum ฝึกฝนการยิงธนู สืบทอดต่อจากบิดา เป้าหมายคือทหารอเมริกัน แต่ครั้งแรกเพียงเฉี่ยวหลัง ทิ่มแทงไปยังภาพดอกทานตะวัน สื่อถึงการสูญเสียความไร้เดียงสาของตัวละคร (คงเหมารวมได้ทั้ง Ji-Hum และ Eun-Ok)
อีกครั้งยิงโดนเป้ากางเกงทหารอเมริกัน คือการโจมตีสันดานธาตุแท้ พฤติกรรมเกี่ยวกับการยึดครอง(ทั้งหญิงสาว และประเทศชาติ)ของสหรัฐอเมริกา อยากเป็นหมาอำนาจ จ้าวโลก
หลังจัดการกับทหารอเมริกัน ก็ถึงคิวของสองนักเลงเจ้าถิ่นที่ชอบกลั่นแกล้ง รีดไถ กำลังจะได้รับผลกรรมติดตามทัน
- คนแรกถูกไล่ยิง ธนูปักหลัง สัญลักษณ์ของการทรยศหักหลัง (หมอนี่คือคนที่หักหลังเพื่อนอีกคน)
- ส่วนอีกคนถูกขังอยู่ Ji-Hum เลยกลืนลวดเหล็กเข้าไปในท้อง ถ่ายอุจาระออกมาแล้วนำไปพยายามฆ่ารัดคอ
- การกลืนเหล็กก้อนใหญ่ขนาดนั้น ผมว่ามันไม่น่าจะขี้ออกนะครับ (ถ้าถ่ายออกได้ก็ทรมานชิบหายเลยละ) ในบริบทของหนังคงต้องการสื่อถึงความเคียดแค้นฝังหุ่น จึงยินยอมกล้ำกลืน ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อโต้ตอบเอาคืน
บิดาของ Ji-Hum คือทหารผ่านศึก (Veteran) ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เคยเข่นฆ่าศัตรูผู้มารุกราน เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจ เฝ้ารอคอยที่จะได้รับเหรียญเกียรติยศ พร้อมนำมาแลกเปลี่ยน เสียสละตนเองเพื่อพวกพ้องและครอบครัว แต่ทว่าธนูปักเป้าทหารอเมริกัน มันเป็นสิ่งที่มิอาจยินยอมความ เหรียญเกียรติยศไม่ได้มีมูลค่าอะไรใดๆ
แบบเดียวกับภาพและเสียงเครื่องบิน ปรากฎดังขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แสดงถึงอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่อยู่สูงส่ง เหนือกว่า สามารถควบคุมครอบงำชาวเกาหลีใต้ นี่ไม่ต่างอะไรจากการตกเป็นอาณานิคม (น่าจะเรียกว่า Neo-Colonailism)
ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังพา Ji-Hum เดินทางไปกรุง Seoul เพื่อขึ้นศาลไต่สวน บังเอิญเหลือบไปเห็นรถโดยสารสีแดง (มารดาของ Chang-Guk) กำลังมอดไหม้ในกองเพลิง จึงพยายามดิ้นขัดขืน ต้องการออกไปช่วยเหลือ ภาพช็อตนี้แค่เอาปืนจ่อหัวเขา และได้ยินเสียงปืนลั่น แต่ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะจินตนาการว่าแค่โดนยิงที่ขา หรือมากกว่านั้น หรืออาจถึงแก่ชีวิต … การยิงเข้าที่ขา ทำให้สูญเสียความสามารถในการก้าวเดิน ดำเนินชีวิตต่อไป ดูแล้วก็คงต้องติดคุกติดตารางอย่างแน่แท้
โดยไม่มีใครคาดคิดถึง วันที่จดหมายตอบกลับจากสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึง มารดาของ Chang-Guk กลับไร้ความสนใจ ตกอยู่ความสิ้นหวังอาลัย เพราะเพิ่งเผาศพบุตรชาย จึงจุดไฟเผาตนเองให้มอดไหม้ไปด้วยกัน … โดยปกติแล้วไฟคือสัญลักษณ์ของตัณหา (ไฟราคะ) ถ้าฉันไม่มักมากกับทหารอเมริกัน เหตุการณ์วันนี้คงไม่บังเกิดขึ้น
ส่วนจดหมายที่บุรุษไปรษณีย์เสียบไว้ประตูรถโดยสาร มันได้ปลิดปลิว ล่องลอย ไปถึงกลางท้องทุ่งนา พบเจอโดยทหารอเมริกา เปิดออกอ่านได้สองสามประโยค ก่อนค่อยๆเงียบหาย หมดสูญสิ้นความสำคัญ วินาทีได้รับจดหมายตอบกลับ มันก็ไม่หลงเหลือความหมาย สายเกินแก้ไข
ตัดต่อโดย Hahm Sung-won, 함성원 (เกิดปี ค.ศ. 1969) ผลงานเด่นๆ อาทิ Christmas in August (1998), Address Unknown (2001), Bad Guy (2001), A Moment to Remember (2004), On the Beach at Night Alone (2017) ฯ
หนังไม่ได้มีโครงสร้าง ทิศทางเรื่องราว หรือนำเสนอผ่านมุมมองบุคคลไหน ใช้เมืองชนบท(ไม่ระบุชื่อ)ติดฐานทัพอเมริกันคือจุดศูนย์กลาง ทำการร้อยเรียง แปะติดปะต่อ สลับสับเปลี่ยน(มุมมอง)ตัวละคร ราวกับตัวต่อจิ๊กซอว์/กระเบื้องโมเสก
ผมพยายามจะแบ่งหนังออกเป็นองก์ๆ แต่ทำไปได้สักพักรู้สึกท้อใจ เพราะแต่ละเรื่องราวมันรายละเอียดมากมายเต็มไปหมด เลยตัดสินใจยึดตามการแบ่งของ DVD/Blu-Ray แบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆดีกว่า
- Opening
- เริ่มจากพี่ชายของ Eun-Ok ประดิษฐ์ปืนหน้าไม้ ยิงถูกตาน้องสาว
- การฝึกทหารที่ Camp Eagles
- Ji-Hum และ Eun-Ok ออกจากบ้านไปทำงาน ขณะที่ Chang-Guk มีเรื่องขัดแย้งกับมารดา
- Ji-Hum ถูกพวกนักเลงเจ้าถิ่นรังแก กลั่นแกล้ง ได้รับความช่วยเหลือจาก Chang-Guk
- Ji-Hum ทำงานร้านวาดรูป
- Chang-Guk ทำงานกับ Dog Eye ดูแลสุนัข
- Brotherly Love
- Dog Eye เดินทางไปรับซื้อสุนัข นำมาเชือด ขายให้ร้านขายเนื้อ
- Ji-Hum วาดภาพเหมือนมอบให้กับ Eun-Ok
- มารดาของ Chang-Guk ได้รับจดหมายตีกลับ จึงรีบส่งฉบับใหม่ ออกเดินทางไปซื้อของในเมืองแต่แม่ค้าไม่ขาย เลยถูกบุตรชายอุ้มพากลับบ้าน
- Korea: 1970
- พอกลับมาบ้าน Chang-Guk แสดงความไม่พึงพอใจที่มารดายังคงส่งจดหมายถึงสามี/บิดา
- เจ้าหน้าที่รัฐเดินทางมาพบเจอ Eun-Ok พูดถึงโอกาสรักษาตา
- บรรดาผู้สูงวัยซักซ้อมยิงธนู
- Ji-Hum แอบถ้ำมอง Eun-Ok ระหว่างกำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า
- Abusive Son
- สุนัขของ Eun-ok ถูกสองนักเลงเจ้าถิ่นลักพาตัว
- Ji-Hum ช่วยวาดรูป ออกติดตามหา
- Ji-Hum สามารถช่วยเหลือเจ้าสุนัขกลับมาได้สำเร็จ
- ค่ำคืนนั้นแอบถ้ำมอง Eun-ok พบเห็นเธอกับเจ้าสุนัข
- Soldiers
- ทหารอเมริกันนายหนึ่งให้ความสนใจ Eun-ok
- ระหว่าง Chang-Guk ทำงานกับ Dog Eye ถูกทุบตีกระทำร้าย พยายามหลบหนีไปหางานทำใหม่
- แต่แล้ว Chang-Guk หวนกลับมาปรับความเข้าใจ
- Just Like Dogs
- Ji-Hum ถูกสองนักเลงรีดไถ ก่อนได้รับความช่วยเหลือจาก Chang-Guk ชักชวนกันมาถ้ำมอง Eun-ok
- หญิงสาวสังเกตเห็นความผิดปกติ เลยใช้ดินสอจิ้มตาถูก Chang-Guk
- Ji-Hum พบเจอกับ Eun-ok ในเรือนเกษตร ขณะกำลังกอดจูบลูบไล้ ถูกสองนักเลงเจ้าถิ่นผลัดกันเข้ามาข่มขืนกระทำชำเรา
- Ji-Hum เต็มไปด้วยความเคียดแค้น ประดิษฐ์ปืนหน้าไม้ แต่กลับยิงถากตาตนเอง
- Wounded Eye
- ทหารอเมริกันเกี้ยวพาราสี Eun-ok ฝากให้เธอซ่อนยาหลอนประสาท รับประทานไปหนึ่งเม็ด ท่าทางสะลึมสะลือกว่าจะกลับถึงบ้าน
- บิดาของ Ji-Hum ขายสุนัขให้กับ Dog Eye, Chang-Guk ปล่อยมันหลบหนี แต่ก็ไม่สามารถเอาตัวรอดพ้น
- Grim Discovery
- Chang-Guk โดนล่ามกุญแจมือกับรถมอเตอร์ไซด์ แต่ยังสามารถหลบหนีได้สำเร็จ
- Ji-Hum กลบฝังสุนัขตัวโปรด ไม่ยินยอมให้มันกลายเป็นอาหาร
- Chang-Guk ทำงานแบกหามในโรงงาน แต่วันแรกยังไม่ได้ค่าตอบแทนใดๆ
- Eun-ok คืนยาให้กับทหารอเมริกัน นั่งซ้อนจักรยานระหว่างกลับบ้าน แต่ถูกขัดจังหวะโดย Dog Eye
- ครอบครัวของ Eun-ok ถูกตีตราคนทรยศขายชาติ เพราะบิดาไปเข้าข้างเกาหลีเหนือ
- มารดาพา Eun-ok ไปทำแท้ง
- Healing
- Ji-Hum พลัดตกหลุมหน้าบ้าน ขุดพบเจอโครงกระดูก
- บิดานำเอาปืนโบราณไปขัดสีฉวีฉวรรณ ทดลองใช้ฆ่าไก่
- New Couple
- ทหารอเมริกันเกี้ยวพาราสี Eun-Ok มอบความหวังผ่าตัดดวงตา
- Ji-Hum พยายามร้องขอเธอ แต่ไม่เป็นผลอะไร
- หลังการผ่าตัด ดวงตาของ Eun-Ok กลับมามองเห็นอีกครั้ง
- สองนักเลงเจ้าถิ่นเข้ามารีดไถ Ji-Hum เลยโดน Chang-Guk อัดน่วม
- ทหารอเมริกันพา Eun-Ok ไปซื้อแหวนหมั้น เติมเต็มคำมั่นสัญญา
- Protective Son
- บิดาของ Ji-Hum ขายปืนให้กับ Dog Eye นำมายิงสุนัข
- มารดาของ Chang-Guk ได้รับจดหมายตีกลับ เดินทางไปยังค่ายทหารเรียกร้องหาสามี
- Chang-Guk ทำงานแบกหาม ได้รับค่าจ้าง เดินทางกลับมาบ้านเห็นมารดามีปากเสียงกับเจ้าของโรงเรือน เข้ามาลากพากลับบ้าน
- Torn Love
- Dog Eye พบเห็นสภาพมารดาของ Chang-Guk จึงออกขับมอเตอร์ไซด์ไล่ล่า หาเรื่องชกต่อยตี
- Chang-Guk ดักรอตอน Dog Eye ขณะไล่ยิงสุนัข ฉกแย่งปืน จับใส่กรง ห้อยแขวนคอ ให้พวกสุนัขฉุดลากดึง
- Carazed Rage
- Chang-Guk ลบรอยสัก(ที่อยู่ของบิดา)บนผิวหนังมารดา
- Chang-Guk ขับรถหลบหนี แต่เบรคไม่อยู่ ไถลลงข้างทาง หัวขมำลงกับพื้น
- มารดาพยายามออกติดตามหา Chang-Guk
- พี่ชายของ Eun-Ok รีดไถเงินจากทหารอเมริกัน
- Accepting Responsibility
- Ji-Hum ถูกสองนักเลงเจ้าถิ่นรีดไถเงินอีกครั้ง (แต่คราวนี้ไม่มี Chang-Guk คอยปกป้อง)
- ด้วยความเคียดแค้น Ji-Hum ทำการฝึกยิงธนู ได้รับการสอนจากบิดา
- Ji-Hum ยิงธนูใส่ทหารอเมริกัน เฉี่ยวไปนิดเดียว
- มารดาและ Ji-Hum พบเจอศพของ Chang-Guk ในสภาพหัวทิ่มหัวตำ เลยร่วมกันเผาศพ
- Bittle Solution
- ระหว่างการฝึกซ้อม นายทหารอเมริกันแสดงอารมณ์คลุ้มคลั่ง
- ระบายอารมณ์อัดอั้นดับ Eun-ok เธอจึงใช้มีดทิ่มตาตนเอง
- Ji-Hum ยิงเป้าทหารอเมริกัน จากนั้นเข้ามอบตัวกับตำรวจ เพื่อเอาคืนนักเลงเจ้าถิ่น
- Ji-Hum ร่ำลาจาก Eun-ok ก่อนออกเดินทางสู่กรุง Seoul
- มารดาของ Chang-Guk จุดไฟเผาตนเองในรถโดยสาร
- จดหมายตอบกลับปลิวไปยังสนามซ้อม ทหารอเมริกันนายหนึ่งหยิบขึ้นมาอ่าน
ลีลาการตัดต่อต้องชมเลยว่ามีความรวดเร็ว กระชับฉับไว การสลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละครอยู่เรื่อยๆ สร้างความรู้สึกเหมือนเรื่องราวกระโดดไปมา (แต่ไม่มี ‘jump cut’ ปรากฎขึ้นสักครั้ง!) แต่ทุกๆตอนล้วนเชื่อมโยงด้วยบางสิ่งอย่าง ทำให้เกิดความต่อเนื่องลื่นไหล กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เพลงประกอบโดย Park Ho-jun, 박호준 ร่วมงานผกก. Kim Ki-duk สองครั้ง Address Unknown (2001) และ Bad Guy (2001)
งานเพลงมีลักษณะเหมือนสร้อยบทกวี มักเลือกใช้บทเพลงคลาสสิก บรรเลงเปียโน เชลโล่ (หนึ่งในนั้นคือ Erik Satie: Gymnopédie No.1) แทรกแซมอยู่ตามช่องว่างระหว่างฉาก สำหรับสร้างสัมผัสทางอารมณ์ เสริมสร้างบรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง คลอประกอบพื้นหลังเบาๆ ซึ่งจะไม่โดดเด่นชัดเหมือนพวก ‘diegetic music’ บทเพลงในผับบาร์ หรือเครื่องกระจายเสียงในฐานทัพสหรัฐอเมริกา
บทเพลง Closing Credit ชื่อว่า Minor Blue บรรเลงโดย David Darling (1941-2021) นักเชลโล่สัญชาติอเมริกัน รวมอยู่ในอัลบัมแรก Journal October – Solo Cello (1979)
ผมรู้สึกว่าชื่อหนัง Address Unknown มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย 수취인불명 แปลว่า Unknown Recipient หมายถึงจดหมายไม่มีผู้รับ หรือผู้รับไม่อยู่ตามที่อยู่ที่จัดส่ง เลยถูกตีกลับคืนผู้ส่ง (Send Back) … ในบริบทของหนังก็คือมารดาของ Chang-Guk พยายามส่งจดหมายหาสามีชาวอเมริกัน แต่อีกฝ่ายไม่เคยได้รับ หรืออาจย้ายที่อยู่ใหม่ เลยถูกตีกลับมาทุกครั้ง
To me, the three characters in this film are just like the abandoned letters of my childhood. They are children of an “era which is yet to be received.” In the desolate plains, Chang-Guk has been entirely violated; Eun-Ok is halfway to that point; and Ji-Hum will rise up, like a weed.
Kim Ki-duk
ผกก. Kim Ki-duk ทำการเปรียบเทียบสามตัวละครหลัก Chang-guk, Ji-Hum และ Eun-Ok ดั่งจดหมายที่ถูกตีกลับ ยังไม่ได้รับการยินยอมรับ โดนรังแก กลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยาม เพราะมีบางสิ่งอย่างแตกต่างจากคนปกติทั่วไป
- Chang-guk เป็นลูกครึ่งผิวสีเข้ม มักถูกตีตราว่าเป็นบุตรของโสเภณี (มารดาขายตัวให้ทหารอเมริกัน) สังคมเลยไม่ให้การยินยอมรับ ขับไล่ ผลักไส โดนดูถูกเหยียดหยามสารพัด
- Ji-Hum เป็นคนเหนียงอาย เรียนไม่เก่ง แถมครอบครัวไม่สถานะทางสังคมใดๆ (บิดาเป็นเพียงทหารผ่านศึกขาพิการ ไม่เคยได้รับเหรียญเกียรติยศ) เลยมักถูกนักเลงเจ้าถิ่นรังแก รีดไถเงิน แถมยังข่มขืน Eun-Ok ต่อหน้าต่อตา
- Eun-Ok เติบโตในครอบครัวที่ไร้บิดา (แถมยังสร้างความเสื่อมเสียให้ครอบครัว) มารดาเอาแต่พร่ำบ่น พี่ชายก็ไม่เคยทำการทำงาน แถมทำน้องสาวสูญเสียดวงตาข้างหนึ่ง, ถูกรุมโทรม-ตั้งครรภ์-ทำแท้ง แต่งงานกับทหารอเมริกันเพื่อรักษาดวงตา แต่ยังโดนกลั่นแกล้ง ไม่มีใครให้การยินยอมรับ กลายเป็นคนทรยศขายชาติ
ทั้งสามต่างถูกแรงกดดันจากพวกพ้อง ผองเพื่อน ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ จำต้องอดรนทนมีชีวิตอยู่อย่างอดกลั้น กล้ำกลืน ฝืนทนทรมาน พยายามหาหนทางดิ้นหลบหนี แต่ไม่สามารถพบเจอหนทางออก เมื่อถึงจุดๆหนึ่งอารมณ์ต่างๆจึงพรั่งพรู ปะทุระเบิดออกด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง
- Chang-guk ระบายอารมณ์อัดอั้นใส่ Dog Eye ให้ได้รับผลกรรมที่เคยทำไว้กับสุนัขทั้งหลาย และลบรอยสัก(ที่อยู่ของสามี)บนผิวหนังมารดา จากนั้นขับมอเตอร์ไซด์ออกเดินทาง รถล้มหัวทิ่มหัวตำ เสียชีวิตคาที่
- Ji-Hum ยิงเป้าทหารอเมริกา และแก้แค้นสองนักเลงเจ้าที่ คนหนึ่งถูกธนูปักหลัง อีกคนใช้ลวดเหล็กรัดคอ ก่อนถูกส่งไปเรือนจำที่กรุง Seoul แต่ไม่รู้เดินทางไปถึงหรือเปล่า
- Eun-Ok เมื่อมิอาจอดรนทนต่อทหารอเมริกัน ใช้มีดทิ่มแทงตาบอดอีกครั้ง
สารพัดเหตุการณ์รุนแรงในหนัง ตามคำบอกกล่าวของผกก. Kim Ki-duk ส่วนใหญ่ล้วนคือเหตุการณ์จริง เคยประสบพบเจอมากับตนเองทั้งหมดทั้งสิ้น นี่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทรามของผู้คน สังคมแห่งการแบ่งแยก ผลกระทบจากสงคราม (ทั้งสงครามเกาหลีที่สิ้นสุดไปแล้ว และสงครามเย็นยังคงหนาวเหน็บ) รวมถึงการปกครองระบอบเผด็จการทหารในช่วงทศวรรษ 70s
อดีตของบุคคลส่งผลกระทบถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ รับชมภาพยนตร์เรื่องจักทำให้เราทำความเข้าใจผกก. Kim Ki-duk ว่าทำไมถึงรังสรรผลงานที่เต็มไปด้วยความรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย ได้รับคำตอบ Where does our cruelty come from?
เฉกเช่นเดียวกับประวัติศาสตร์เกาหลีใต้ สารพัดเหตุการณ์เลวร้าย ประวัติความรุนแรง คือสิ่งไม่มีวันลบเลือนหาย (จนกว่าประเทศชาติจะถูกทำลาย) จักกลายเป็นรากเหง้า ซุกซ่อนอยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต จิตวิญญาณของประชาชน และอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่
เมื่อตอนเข้าฉายในเกาหลีใต้ เสียงตอบรับค่อนข้างแตก นอกจากเรื่องความรุนแรงสุดโต่ง นักวิจารณ์บางคนไม่พึงพอใจที่หนังแตะต้องกองทัพสหรัฐอเมริกา กลัวกระทบความสัมพันธ์ระหว่างชาติ???
เมื่อปี ค.ศ. 2015 มีฉบับจัดจำหน่าย Blu-Ray แบบ Limited Edition ของค่าย Studio A แต่น่าจะหมดสต็อกไปนานแล้วละ ปัจจุบันหลงเหลือเพียงออนไลน์ ไม่ก็ช่องทางธรรมชาติทั่วไป
กระแส #MeToo มีรายงานข่าวจากบุคคลนิรนามเกี่ยวกับพฤติกรรมของผกก. Kim Ki-duk และนักแสดงขาประจำ Cho Jae-hyun ในภาพยนตร์ Address Unknown (2001) มักชอบพูดคำลวนลาม สองแง่สองง่าม หลายครั้งเรียกไปพูดคุยสองต่อสอง กลับมาเสื้อผ้าเปลอะเปลื้อน ฉีกขาด พบเห็นร่องรอยดิ้นรนขัดขืน
He said he had to get to know her, and he took off her clothes. When I refused, my clothes were torn, so I resisted with my whole body, and he slapped me in the face. I came back crying, and he texted me an apology. He said he was so sorry, but there was a reason he hit me. He said that he felt like he loved me because he was beaten by his father when he was young, and that his hands were going up, and he teased me that he was clumsy in expressing it because he liked me.
I had to fight all the time, so it was hard and scary. In the end, he called me to his room and sexually assaulted me. After that, I had to worry about whether I should continue filming or not. I was too young at the time to even know how to quit. He told me that I had to maintain this relationship to be able to do the next project. Once he did it, he wanted to keep doing it. My clothes were torn a lot. It was hell, and the extras were constantly being abused. On set, they would say things like, ‘Which of the extras is pretty?’ and ‘I slept with that person.'”
บุคคลนิรนามกล่าวถึงพฤติกรรมผกก. Kim Ki-duk กับหนึ่งในนักแสดงหญิง
หลายคนที่ชื่นชอบหนัง พออ่านถึงย่อหน้าก่อนอาจเกิดความชะงักงัน Kim Ki-duk มันพวกมือถือสาก ปากถือศีลนี่หว่า? แต่ … เขาเคยสำแดงตนเองว่าเป็นคนดีด้วยเหรอ? ภาพยนตร์แต่ละเรื่องล้วนเต็มไปด้วยความรุนแรง ใช้ชีวิตตอบสนองสันชาตญาณ เอาจริงๆมันไม่ใช่สิ่งเกินคาดเดาสักเท่าไหร่
ตรงกันข้าม! ผมรู้สึกว่าเมื่อกระแส #MeToo เปิดเผยเบื้องหลังเหล่านั้นออกมา มันยิ่งสร้างความน่าเชื่อให้กับ Address Unknown (2001) เพราะคนที่เติบโตในสภาพแวดล้อม รายรอบด้วยสารพัดความรุนแรง ถ้าเขาไม่เคยแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา ก็คงผิดแผกแปลกประหลาดด้วยซ้ำไป!
ด้วยเหตุนี้ภาพยนตร์ของผกก. Kim Ki-duk จึงมีความเฉพาะตัว สำหรับคนที่ชื่นชอบ สามารถทำความเข้าใจ มักจะหลงใหลคลั่งไคล้ แต่บรรดาพวกมือถือสาก ปากถือศีล สรรหาสรรพข้ออ้างให้ตนเองเป็นคนดีมีศีลธรรม ล้วนส่ายหัว รับไม่ได้ เต็มไปด้วยอคติต่อต้าน
ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบ Address Unknown (2001) เพราะผมถือเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติ Kim Ki-duk ถ้าคุณอยากทำความเข้าใจ ‘ประวัติความรุนแรง’ ของชายคนนี้ (และประเทศเกาหลีใต้) บอกเลยว่าห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด! เตรียมตับไตไส้พุงให้พร้อมก่อนด้วยละ
และอยากแนะนำให้รับชม Peppermint Candy (1999) ของผกก. Lee Chang-dong เคียงคู่กับ Address Unknown (2001) เพื่อเสริมความเข้าใจถึงประวัติความรุนแรง (History of Violence) ของชนชาวเกาหลี(ใต้) อันเนื่องจากอิทธิพลสภาพแวดล้อม สังคม การเมือง ที่ได้สืบสาน ต่อยอด ส่งต่อมาจากบรรพกาล
จัดเรต 18+ ความรุนแรง โศกนาฎกรรม ใช้ความรุนแรงต่อสัตว์
Leave a Reply