
American Graffiti (1973)
: George Lucas ♥♥♥♥
American Graffiti (1973) อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับรอยขูดขีดเขียน ภาพวาดกราฟฟิตี้บนผนังกำแพง แต่ทำการบันทึกวิถีวัยรุ่นอเมริกันยุค 60s วัฒนธรรมขับรถจีบสาว (Cruising) สำแดงพฤติกรรมหัวขบถ ขัดต่อขนบกฎกรอบ ท้าทายกฎหมายบ้านเมือง ปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ
Graffiti, รอยขูดขีดเขียน มาจากภาษากรีก Grafito หมายถึง การเขียนภาพลงบนผนังหรือกำแพงในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในลักษณะการพ่น (Bombing) เซ็นชื่อ หรือลายเซ็นที่มีความสไตล์ลิสต์ ตามผนังกำแพง ตึกรามบ้านช่องถูกทิ้งร้างว่างเปล่า โดยจุดเริ่มต้นมาจาก Philadelphia, Pennsylvania ในช่วงทศวรรษ 60s ก่อนแพร่หลายไปทั่วโลกในปัจจุบัน
รอยขูดขีดเขียนถือเป็นวัฒนธรรมนอกกระแสที่เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของความเป็น “ขบถ” ราวกับว่ามันก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซ่าน เป็นสุข เมื่อยามที่ศิลปินรอยขูดขีดเขียนได้ท้าทายต่ออำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่พยายามกีดกันกำจัดรอยขูดขีดเขียนให้หมดไป
คำนิยาม Graffiti จากหนังสือ Freight Train Graffitti (2006)
ตอนผมรับชมหนังครั้งแรกสมัยวัยรุ่น ก็ครุ่นคิดว่าคงเกี่ยวกับศิลปินกราฟฟิตี้ ภาพวาดบนผนังกำแพง แต่กลับกลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ วัยรุ่นอวดโชว์รถหรู ขับร่อนไปร่อนมายามค่ำคืน จีบสาวนั่งอยู่คันตรงข้าม เต้นรำงานพรอม หาสถานที่เปลี่ยวๆร่วมเพศสัมพันธ์
หวนกลับมารับชมรอบนี้ เพิ่งตระหนักว่าหนังบันทึกวัฒนธรรมการขับรถจีบสาว (Cruising) ของวัยรุ่นอเมริกันช่วงทศวรรษ 60s ที่เลือนหายไปนานแล้ว (เมื่อปริมาณรถเพิ่มขึ้น ถนนกว้างขึ้น รวมถึงความเร่งรีบในเมืองใหญ่ วัฒนธรรมนี้เลยสูญหายไป) โดดเด่นมากๆกับลีลาตัดต่อ 4 เรื่องราวคู่ขนาน, เพลงประกอบกว่า 40+ บทเพลง (น่าจะมีคุ้นหูบ้างแหละ) ทีมนักแสดงหน้าละอ่อนอย่าง Richard Dreyfuss, Ron Howard, Harrison Ford ฯ และใครชื่นชอบรถเก่าๆ รุ่นคลาสสิก ห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด!
[American Graffiti]’s not only a great movie, but a brilliant work of historical fiction; no sociological treatise could duplicate the movie’s success in remembering exactly how it was to be alive at that cultural instant.
นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4
George Walton Lucas Jr. (เกิดปี ค.ศ. 1944) โปรดิวเซอร์/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Modesto, California วัยเด็กมีความสนใจในหนังสือการ์ตูน นิยายไซไฟ สมัยเรียนมัธยมชื่นชอบการแต่งรถ แข่งรถจนประสบอุบัติเหตุพุ่งชนต้นไม้ เลือดออกในปอด โชคดีเอาตัวรอดหวุดหวิด เลยหมดความสนใจเรื่องรถๆโดยพลัน
บิดาของ Lucas เป็นเจ้าของร้านเครื่องเขียน อยากให้บุตรชายมาสานต่อกิจการ แต่เจ้าตัวอยากเรียนศิลปะ เลยตัดสินใจหนีออกจากบ้าน เข้าศึกษาต่อ Modesto Junior College พอค้นพบความสนใจภาพยนตร์เลยย้ายไป University of Southern California (USC) School of Cinematic Arts สนิทสนมกับ Randal Kleiser, Walter Murch, Caleb Deschanel, Hal Barwood, John Milius, Matthew Robbins ตั้งชื่อกลุ่มว่า The Dirty Dozen
ช่วงระหว่างเรียนอยู่ USC มีโอกาสทำหนังสั้นหลายเรื่อง แต่โด่งดังสุดคือ Electronic Labyrinth: THX 1138 4EB (1967) คว้ารางวัล Dramatic films จากเทศกาลหนัง National Student Film Festival ทำให้ได้รับทุนการศึกษาจาก Warner Bros. มาสังเกตการณ์ทำงานในกองถ่าย Finian’s Rainbow (1968) ของผกก. Francis Ford Coppola สนิทสนมกันจนร่วมก่อตั้งบริษัท American Zoetrope สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก THX 1138 (1971)
ช่วงระหว่างโปรดักชั่น THX 1138 (1971) โปรดิวเซอร์ Coppola ท้าทายผกก. Lucas ให้พัฒนาบทหนังที่เข้าถึงผู้ชมกระแสหลัก (Mainstream) จึงนำแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตนเองสมัยวัยรุ่น วันว่างๆมักทำการ ‘cruising’ ขับรถจีบสาวในละแวก Modesto, California ตั้งชื่อโปรเจค Another Quiet Night in Modesto
Cruising was gone, and I felt compelled to document the whole experience and what my generation used as a way of meeting girls.
George Lucus
บทร่างแรกความยาว 15 หน้ากระดาษ ผกก. Lucas สร้างสามตัวละครที่ต่างเป็นตัวแทนแต่ละช่วงวัยของตนเอง โดยได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ I Vitelloni (1953) ของผู้กำกับ Federico Fellini
- Curt Henderson ตัวแทน Lucas ช่วงระหว่างเข้าศึกษา USC
- John Milner ตัวแทนวัยรุ่น Lucas ชื่นชอบการแต่งรถ แข่งรถ
- Terry ‘The Toad’ Fields ตัวแทน Lucas ตอนเป็นเฟรชชี่ในโรงเรียนมัธยม จีบสาวไม่เคยติด
ผกก. Lucas ว่าจ้างสองนักเขียน Willard Huyck และ Gloria Katz มาช่วยพัฒนาบทร่างแรก จากนั้นนำไปยื่นข้อเสนอตามสตูดิโอต่างๆ แต่กลับไม่มีใครให้ความสนใจ จนกระทั่งตอนนำ THX 1138 (1971) เข้าฉาย Directors’ Fortnight เทศกาลหนังเมือง Cannes มีโอกาสรับรู้จัก David Picker ประธานสตูดิโอ United Artists ยินยอมควักเงินส่วนตัว $10,000 เหรียญ ให้พัฒนาบท American Graffiti จนเป็นรูปเป็นร่าง
เมื่อกลับมาอเมริกา ผกก. Lucas ใช้เวลาสามสัปดาห์พัฒนาบทหนังที่เต็มไปด้วยคอลเลคชั่นบทเพลงจากความทรงจำ รวมๆแล้วกว่า 75 บทเพลง! นั่นทำให้ UA ถอนตัวจากโปรเจคนี้โดยพลัน “a musical montage with no characters”
นอกจาก Lucas & Katz & Huyck ยังมีนักเขียนอีกคนที่เข้ามาส่วนร่วมแต่ไม่ได้รับเครดิต Richard Walter เพื่อนร่วมรุ่นผกก. Lucas ที่ USC ช่วยสร้างเรื่องราว Steve & Laurie เดี๋ยวรักเดี๋ยวเลิก เริงระบำงานพรอม จากเคยมุ่งมั่นตั้งใจจะไปเรียนต่อ ท้ายสุดปักหลักอาศัยอยู่ Modesto … แต่ด้วยความครุ่นคิดเห็นแตกต่าง Walter เลยถูกไล่ออกกลางคัน และไม่ได้รับเครดิตใดๆ
หลังจากปรับปรุงบทหนังให้มีเนื้อมีหนังมากขึ้น ผกก. Lucas ใช้เวลาระหว่างปี ค.ศ. 1971-72 มองหาสตูดิโอแห่งใหม่ ในที่สุดได้รับการตอบกลับจาก Universal Pictures พร้อมมอบอิสระในการสรรค์สร้างอย่างเต็มที่ ทีแรกตั้งงบประมาณ $600,000 เหรียญ แต่ความสำเร็จของ The Godfather (1972) ชื่อโปรดิวเซอร์ Francis Ford Coppola ทำให้สตูดิโอยินยอมจ่ายเพิ่มอีก $175,000 เหรียญ
แซว: สตูดิโอ Universal พยายามต่อรองผกก. Lucas ให้เปลี่ยนชื่อหนัง American Graffiti เสนอแนะมากว่า 60 ชื่อ อาทิ Another Slow Night in Modesto, Rock Around the Block ฯ แต่ก็ไม่ยินยอมเปลี่ยนใจ
ค่ำคืนสุดท้ายของวันหยุดฤดูร้อนปี ค.ศ. 1962 ณ Modesto, California นำเสนอเรื่องราวสี่หนุ่มวัยรุ่น เริ่มต้นนัดพบเจอกันที่ Mel’s Drive-In ก่อนวันถัดมาจะแยกย้ายไปตามทางของตนเอง
- Curt Henderson (รับบทโดย Richard Dreyfuss) พรุ่งนี้กำลังจะเดินทางไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่ยังมีความโล้เล้ลังเลใจ รู้สึกเหมือนชีวิตขาดอะไรบางสิ่งอย่าง จนกระทั่งพบเจอหญิงผมบลอนด์ขับรถ Ford Thunderbird ตลอดทั้งค่ำคืนพยายามออกติดตาม เผชิญหน้าเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ กลายเป็นสมาชิกแก๊ง The Pharaohs บอกเล่าว่าเธอคนนั้นคือโสเภณี ติดต่อผ่านนักจัดรายการวิทยุ Wolfman Jack แม้ท้ายที่สุดไม่มีโอกาสพบเจอ ได้ยินเพียงเสียงจากโทรศัพท์ก็ยังดี
- Steve Bolander (รับบทโดย Ron Howard) แฟนหนุ่มของ Laurie (รับบทโดย Cindy Williams) น้องสาวของ Curt ด้วยความที่ทั้งสองกำลังจะห่างไกลกัน (Steve กำลังจะไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย) จึงพยายามพูดคุย ปรับความเข้าใจ เต้นระบำงานพรอม เดี๋ยวรักเดี๋ยวเลิก จนเธอประชดเขาด้วยการขึ้นรถของ Bob Falfa (รับบทโดย Harrison Ford) แต่ท้ายที่สุดก็สามารถหวนกลับมาคืนดี และทำให้ Steve ล้มเลิกความตั้งใจไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย
- John Milner (รับบทโดย Paul Le Mat) นักซิ่ง นักแต่งรถ ค่ำคืนนี้พยายามมองหาสาวๆ เกี้ยวพาราสี ร่วมรักหลับนอน แต่บุคคลที่ขึ้นรถกลับคือ Carol (รับบทโดย Mackenzie Phillips) เด็กหญิงอายุ 12 ปี ต้องใช้เล่ห์เหลี่ยมสารพัดกว่าจะส่งเธอกลับบ้านสำเร็จ และตอนฟ้าใกล้สว่าง ท้าแข่งรถกับ Bob Falfa (รับบทโดย Harrison Ford)
- Terry’ Toad’ Field (รับบทโดย Charles Martin Smith) หนุ่มเนิร์ด สวมใส่แว่นหนาเตอะ ได้รับมอบรถหรูจาก Steve Bolander ค่ำคืนนี้เลยขับหาสาวไปทั่วเมือง ก่อนพบเจอ Debbie (รับบทโดย Candy Clark) คุยโวโอ้อวดเก่ง หลังจากได้ร่วมเพศสัมพันธ์ กลับมาพบว่ารถถูกขโมย โชคดียังสามารถติดตามหาจนพบเจอ และเป็นประจักษ์พยานการแข่งรถระหว่าง John Milner vs. Bob Falfa
ในส่วนของนักแสดง ก็มีทั้งหน้าเก่า-หน้าใหม่ บางคนไม่เคยผ่านงานแสดง บางคนเคยเป็นนักแสดงเด็ก (Child Actor) คัดเลือกจากวัยรุ่นมาทดสองหน้ากล้องนับร้อยๆคน
- Richard Dreyfuss มาจากการทดสอบหน้ากล้อง ผกก. Lucas ประทับใจความสามารถด้านการวิเคราะห์ตัวละคร และเห็นว่าให้เลือกจะเล่นเป็น Curt หรือ Terry … เลือกบท Curt เพราะครุ่นคิดว่าเหมาะสมกับตนเองมากกว่า
- สำหรับบท Steve ผู้คัดเลือกนักแสดง (Casting Director) Fred Roos เป็นผู้แนะนำ Ron Howard เพราะเคยคัดตัวแสดง The Andy Griffith Show (1960-68) พอติดต่อไปเจ้าตัวก็ตอบตกลงโดยพลัน เพราะต้องการลบภาพจำนักแสดงเด็ก (Child Actor) ได้เล่นบทวัยรุ่นเป็นครั้งแรก
- สำหรับบท Terry ในตอนแรกติดต่อ Bob Balaban แต่เจ้าตัวบอกปัดปฏิเสธ เลยส้มหล่นใส่ Charles Martin Smith ที่เพิ่งมีผลงานภาพยนตร์ The Culpepper Cattle Co. (1972)
- Cindy Williams อยากเล่นบท Debbie Dunham แต่เธอได้รับเลือกให้เล่นเป็น Laurie Henderson เฉกเช่นเดียวกับ Candy Clark อยากเล่น Laurie แต่กลับได้ Debbie … แต่ทั้งสองก็ทำหน้าที่ตนเองอย่างน่าประทับใจ
- Mackenzie Phillips พอได้รับเลือกบท Carol ครอบครัวของเธอก็แพ็กกระเป๋า ส่งขึ้นเครื่องบิน ไม่สนใจอะไรอื่น ด้วยความที่เด็กหญิงเพิ่งอายุ 12 ปี ตามกฎหมายรัฐ California ต้องมีผู้ปกครองดูแล โปรดิวเซอร์ Gary Kurtz จำต้องรับหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งพอหนังปิดกล้อง ครอบครัวเธอก็ส่งขึ้นเครื่องบินไปโรงเรียนประจำที่ Switzerland
- บิดา-มารดาของ Mackenzie Phillips คือ John Phillips และ Geneviève Waïte ทั้งสองต่างเป็นศิลปิน นักดนตรี สมาชิกวง The Mamas & the Papas เลยไม่มีเวลาว่างจะดูแลบุตร
- Harrison Ford ในตอนแรกได้รับการเสนอค่าจ้าง $485 เหรียญต่อสัปดาห์ ซึ่งน้อยกว่างานประจำที่เป็นช่างไม้ แต่พอเพิ่มเป็น $500 เหรียญต่อสัปดาห์ พร้อมกับไม่ต้องตัดผมสั้น (ใส่หมวกแทน) เลยยินยอมตอบตกลง
- ระหว่างการถ่ายทำ Harrison Ford, Paul Le Mat และ Bo Hopkins (รับบท Joe หัวหน้าแก๊ง The Pharaohs) มักหาโอกาสไปนั่งดื่ม มึนเมามาย ปีนป่ายป้ายโรงแรม Holiday Inn และค่ำคืนหนึ่งเห็นว่าถูกจับเพราะมีเรื่องชกต่อยกันในบาร์
เกร็ด: หนึ่งในบุคคลที่มาทดสอบหน้ากล้อง Mark Hamill แม้ไม่ได้รับบทใดๆ แต่สร้างความประทับใจให้ผกก. Lucas ภายหลังเลยมอบบทบาท Luke Skywalker ภาพยนตร์ Star Wars (1977)
ในส่วนของการถ่ายภาพ ทีแรกผกก. Lucas ตั้งใจจะถือลงมือถ่ายทำด้วยตนเอง ก่อนค้นพบว่ามันยุ่งยาก งานเยอะเกินไป เลยว่าจ้างตากล้องสองคน Ron Eveslage และ Jan D’Alquen ถือกล้องคนละตัวถ่ายทำไปพร้อมๆกัน เพื่อว่าฉากสนทนาบนรถ/ระหว่างรถ นักแสดงสามารถพูดคุยโต้ตอบ บันทึกภาพครั้งเดียว ลดระยะเวลาโปรดักชั่นลงได้เกือบจะครึ่งหนึ่ง … หนังใช้เวลาถ่ายทำไม่ถึงเดือน ระหว่าง 26 มิถุนายน – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
แต่วิธีการดังกล่าวมีข้อเสียคือต้องใช้ปริมาณฟีล์มเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ด้วยเหตุนี้ผกก. Lucas เลยตัดสินใจใช้ Technicolor แทนที่จะเป็น CinemaScope เพราะราคา(ฟีล์ม)ถูกกว่า แต่ก็ติดปัญหาเล็กๆเรื่องแสงสว่างยามค่ำคืน (เพราะหนังถ่ายทำตอนกลางคืนแทบทั้งหมด) แก้ปัญหาง่ายๆโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Haskell Wexler (Who’s Afraid of Virginia Woolf?, In the Heat of the Night, Bound for Glory, The Conversation, One Flew Over the Cuckoo’s Nest) รับหน้าที่เป็น Visual Consultant
พื้นหลังของหนังคือ Modesto, California เมื่อปีค.ศ. 1962 แต่ทศวรรษถัดมาอะไรๆล้วนปรับเปลี่ยนแปลงไป ผกก. Lucas เลยเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำมายัง San Rafael แต่เริ่มต้นถ่ายทำได้เพียงแค่วันเดียวก็ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ชาวบ้านพร่ำบ่นว่ากองถ่ายหนังสร้างความวุ่นวาย เลยจำต้องอพยพย้ายสู่ Petaluma เมืองเล็กๆห่างออกไป 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร) ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ (เพราะถือเป็นการโปรโมทเมืองไปในตัว)
Mel’s Drive-In อาจจะเรียกได้ว่าร้านอาหารประจำของผกก. Lucas เป็นเครือร้านอาหาร (Restaurant Chains) ของ Mel Weiss และ Harold Dobbs ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 ในย่าน San Francisco, California ก่อนปิดกิจการลงในช่วงต้นทศวรรษ 70s เสื่อมความนิยมไปตามยุคสมัย, แต่ภายหลังบุตรชายของผู้ก่อตั้ง Steve Weiss และ Donald Wagstaff หวนกลับมาเปิดบริการใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ขยับขยายหลายสาขามาจนถึงปัจจุบัน

ผมไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องรถ แต่ก็ตระหนักว่ารูปลักษณ์ภายนอก(ของรถ) สามารถสะท้อนเจ้าของ/บุคลิกภาพตัวละครนั้นๆออกมา
- รถของ Steve ยี่ห้อ 1958 Chevrolet Bel Air Impala ภายดูโฉบเฉี่ยว สวยหรูหรา มีความเตะตา แต่ไม่ได้มีการปรับแต่งภายในใดๆ อาจเรียกว่าสวยแต่รูป จูบไม่หอม เมื่อขับขี่โดย Terry พยายามสร้างภาพตนเองให้ดูดี (แบบเดียวกับ Debbie พยายามแต่งตัวเลียนแบบดารา) แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเจ้าของรถคันนี้เสียด้วยซ้ำ
- รถของ John ยี่ห้อ 1932 Ford 5-Window Coupe เป็นรถเก่าที่นำมาปรับแต่งให้สามารถลงแข่งขัน แสดงถึงความหลงใหลในวิถีเก่าๆ โหยหาอดีต ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
- ทะเบียนรถ THX-138 เป็นอ้างอิงถึงภาพยนตร์ THX 1138 (1971)
- รถของ Curt ยี่ห้อ Citroën 2CV บริษัทฝรั่งเศส ดูเฉิ่มๆเชยๆ สีสันไม่สดใส สะท้อนตัวตนของเขาที่ไม่หยี่หร่าอะไรกับสิ่งต่างรอบข้าง โหยหาบางสิ่งอย่าง ใครบางคนที่ถูกชะตา
- รถของ Laurie คือ 1958 Edsel Corsair ดูหรูหราเหมือนของ Steve แต่กลับไม่เป็นที่นิยม ขายไม่ค่อยออก เลยกลายเป็นของหายากของนักสะสม
- สาวผมบลอนด์ขับ 1956 Ford Thunderbird สีขาว ตัวแทนความงดงาม (elegance) เลิศหรู สูงส่ง ราวกับนางฟ้า
- Bob Falfa ขับรถหรู 1955 Chevrolet 150 ดูหาญกล้า บ้าบิ่น เย่อหยิ่ง ทะนงตก
- แก๊ง The Pharaohs ขับรถ 1951 Mercury Coupe ดูดิบๆ เถื่อนๆ โหลดต่ำ เหมือนรถเจ้าพ่อมาเฟีย





เครดิตตัดต่อ ในตอนแรกผกก. Lucas ต้องการให้ศรีภรรยาขณะนั้น Marcia Lucas ร่วมงานมาตั้งแต่ THX 1138 (1971) ทว่าสตูดิโอ Universal เรียกร้องขอให้ Verna Fields เพิ่งเสร็จจากตัดต่อ The Sugarland Express (1974) เข้ามาดูแลในส่วน Rough Cut จนเป็นรูปเป็นร่าง แล้วส่งต่อให้สามี-ภรรยา Lucas เล็มโน่นนี่นั่นจากสามชั่วโมงครึ่ง เหลือต่ำกว่าสองชั่วโมง
ตอนพัฒนาบทหนัง ผกก. Lucas วางโครงสร้างเรื่องราวในลักษณะไล่เรียงคู่ขนาน (มีคำเรียก ABCD plot structure) เริ่มจาก Curt → Steve → John → Toad แต่ผลลัพท์ความยาวสามชั่วโมงครึ่ง มันจึงตัดโน่นนี่นั่นออกไปมาก จนสูญเสียโครงสร้าง ABCD ไปโดยปริยาย … แต่ภาคต่อที่ Lucas ไม่ได้กำกับอย่าง More American Graffiti (1979) มีการดำเนินสี่ช่วงเวลาไล่เรียงตามลำดับ
การจะแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆทำได้ยากยิ่งนัก เพราะการตัดสลับระหว่างตัวละคร บางครั้งมันมีจุดเชื่อมโยง บางครั้งก็ไม่มี ผมครุ่นคิดว่าฉบับเต็มสามชั่วโมงครึ่ง น่าจะมีสิ่งที่ทำให้แต่ละเรื่องราวมีความต่อเนื่องลื่นไหล แต่การถูกตัดโน่นนี่นั่น รายละเอียดส่วนนั้นเลยสูญหายไปโดยปริยาย
- Opening Credit
- Mel’s Drive-In
- Curt, Steve, Terry, John พบเจอกันหน้าร้าน Mel’s Drive-In
- Steve พยายามหาข้อตกลงกับแฟนสาว Laurie
- Steve มอบรถคันโปรดให้ Terry
- Crusing ขับรถหาสาวตอนหัวค่ำ
- ระหว่างขับรถรอบเมือง Curt พบเจอหญิงสาวผมบลอนด์ในฝัน
- John กลายเป็นพี่เลี้ยงเด็กหญิง Carol
- ระหว่างขับรถหาสาว Terry ถูกหลอกไปทั่ว
- งานพรอม
- Curt, Steve และ Laurie เข้าร่วมงานพรอมของโรงเรียน
- John เต็มไปด้วยอคติต่อ Carol
- Terry พบเจอกับ Debbie
- Steve เต้นรำกับ Laurie
- Crusing ยามค่ำมืด
- Terry ขับรถพา Debbie มาสั่งอาหารร้าน Mel’s Drive-In
- Curt ขึ้นรถสาวๆ แต่พอพบเจอสาวผมบลอนด์ ถูกไล่ลงจากรถโดยพลัน
- Terry พยายามซื้อเหล้า
- John พา Carol มายังสุสานรถ
- The Pharaohs
- Curt นั่งอยู่บนรถของสมาชิก The Pharaohs เลยถูกลากขึ้นรถ
- John และ Carol โต้ตอบรถของสาวๆที่กลั่นแกล้งพวกเขา
- Terry พา Debbie ไปร่วมรักนอกเมือง
- The Pharaohs ปล้นร้านเครื่องเล่น บังเอิญ Curt รู้จักเจ้าของร้าน
- รถหาย
- หลังเสร็จกามกิจ ปรากฎว่ารถของ Terry (ที่ได้รับจาก Steve) สูญหายอย่างไร้ร่องรอย
- Steve พยายามจะร่วมรักกับ Laurie แต่ถูกไล่ลงจากรถ
- Terry (และ Debbie) พบเจอกับ Steve พากันเดินกลับเข้าเมือง
- Bob Falfa ท้าดวลกับ John แต่รอบนี้ตอบปฏิเสธเพราะ Carol
- Curt จัดการกับรถตำรวจ เพื่อพิสูจน์การเป็นสมาชิก The Pharaohs
- Crusing ตอนดึกดื่น
- Laurie พบเห็น Steve คุยกับสาวเสิร์ฟร้าน Mel’s Drive-In เหมือนจะเกิดความอิจฉาริษยา เลยขอขึ้นรถ Bob Falfa
- John สามารถล่อหลอก Carol จนพาไปส่งบ้านสำเร็จ
- Terry พบเจอรถที่สูญหาย พยายามจะขอคืนแต่ถูกหัวขโมยรุมกระทืม โชคดีที่ John บังเอิญผ่านมาช่วยไว้
- พอขับมาจอดร้าน Mel’s Drive-In จู่ๆ Steve ขอรถคืนจาก Terry เพื่อติดตามหา Laurie
- Curt ขับรถไปยังสถานีวิทยุ ขอให้ Wolfman Jack ป่าวประกาศหาหญิงผมบลอนด์
- ฟ้าสางรับวันใหม่
- John แข่งรถกับ Bob Falfa
- Steve กับ Laurie หวนกลับมาคืนดีกัน
- Curt ได้คุยโทรศัพท์กับสาวผมบลอนด์
- ถึงเวลาแยกย้าย Curt ตัดสินใจขึ้นเครื่องไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย
- Closing Credit
เกร็ด: ด้วยความที่งบประมาณไม่เพียงพอจ่ายค่าแรงให้กับทีมงาน ผกก. Lucas จึงต่อรองด้วยการจะขึ้นชื่อพวกเขาบนเครดิต นี่ถือเป็นครั้งแรกๆในวงการภาพยนตร์ที่มี Closing Credit รวมทีมงานทุกคน (ก่อนหน้านี้มักขึ้นชื่อแค่หัวหน้าแผนก) จนกลายเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ในส่วนของเพลงประกอบ ผกก. Lucas ปฏิเสธที่จะใช้ออร์เคสตราแต่งขึ้นใหม่ ทั้งหมดนำเอาบทเพลงคำร้องมีชื่อ ‘diegetic music’ ดังจากวิทยุ แหล่งกำเนิดเสียง เห็นว่าหมดไปกับค่าลิขสิทธิ์เพลง $90,000 เหรียญ (สมัยนั้นถือว่ามหาศาล) รวบรวมตั้งชื่ออัลบัม 41 Original Hits from the Soundtrack of American Graffiti
ผมนั่งมอง 41 เพลงประกอบแล้วกุมขมับ ไม่รู้จะเลือกบทเพลงไหนมาเขียนถึงดี? เพราะส่วนใหญ่มักดังขึ้นแค่ท่อนฮุค หรือท่อนที่มีเนื้อคำร้องสอดคล้องเหตุการณ์ขณะนั้นๆ ทำหน้าที่เติมเต็มเรื่องราว สร้างความสนุกสนานครื้นเครง วัยรุ่นอลเวง (บางครั้งก็ยียวนกวนประสาทชิบหาย) แนวเพลงส่วนใหญ่คือ Rock and Roll, R&B และ Doo-Wop (เพลงวัยรุ่นยุคสมัยนั้น)
The music was as innocent as the time. Songs like “Sixteen Candles” and “Gonna Find Her” and “The Book of Love” sound touchingly naive today; nothing prepared us for the decadence and the aggression of rock only a handful of years later. The Rolling Stones of 1972 would have blown WLS off the air in 1962.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
เริ่มต้นที่บทเพลง Opening Credit ชื่อว่า Rock Around the Clock แต่งโดย Max C. Freedman และ James E. Myers, บันทึกเสียงครั้งแรกโดย Bill Haley & His Comets เมื่อปี ค.ศ. 1954 เคยติดอันดับ #1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานร่วมสองเดือน! ว่ากันว่านี่คือบทเพลงที่ทำให้ Rock and Roll เข้าสู่กระแสหลัก (Mainstream) และนิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004) ติดอันดับ #159
One, two, three o’clock, four o’clock, rock
Five, six, seven o’clock, eight o’clock, rock
Nine, ten, eleven o’clock, twelve o’clock, rock
We’re gonna rock around the clock tonightPut your glad rags on and join me, hon’
We’ll have some fun when the clock strikes one
We’re gonna rock around the clock tonight
We’re gonna rock, rock, rock, ’til broad daylight
We’re gonna rock, gonna rock, around the clock tonightWhen the clock strikes two, three and four
If the band slows down we’ll yell for more
We’re gonna rock around the clock tonight
We’re gonna rock, rock, rock, ’til broad daylight
We’re gonna rock, gonna rock, around the clock tonightWhen the chimes ring five, six and seven
We’ll be right in seventh heaven
We’re gonna rock around the clock tonight
We’re gonna rock, rock, rock, ’til broad daylight
We’re gonna rock, gonna rock, around the clock tonightWhen it’s eight, nine, ten, eleven too
I’ll be goin’ strong and so will you
We’re gonna rock around the clock tonight
We’re gonna rock, rock, rock, ’til broad daylight
We’re gonna rock, gonna rock, around the clock tonightWhen the clock strikes twelve, we’ll cool off then
Start a rockin’ round the clock again
We’re gonna rock around the clock tonight
We’re gonna rock, rock, rock, ’til broad daylight
We’re gonna rock, gonna rock, around the clock tonight
มันไม่ใช่ว่าค่ำคืนนี้วันเกิดใคร แต่การเลือกบทเพลง Sixteen Candles (1958) ก็เพื่อสร้างบรรยากาศหนังวัยรุ่น เพิ่งเรียนจบ อายุ 16-17 (แต่นักแสดงส่วนใหญ่ในหนังอายุเกิน 20 แทบทั้งนั้น!)
Sixteen Candles (1958) แนว Doo-wop แต่งโดย Luther Dixon & Allyson R. Khent, ขับร้องโดยวง The Crests เคยไต่อันดับ #2 ชาร์ท Billboard Hot 100
Happy birthday, happy birthday, baby
Oh, I love you soSixteen candles make a lovely light
But not as bright as your eyes tonight (as your eyes tonight) (Oh)
Blow out the candles, make your wish come true
For I’ll be wishing that you love me, too (that you love me, too)You’re only sixteen (sixteen)
But you’re my teenage queen (you’re my queen)
You’re the prettiest, loveliest girl I’ve ever seen (I’ve ever seen) (OH!)Sixteen candles in my heart will glow
For ever and ever for I love you so (for I love you so)You’re only sixteen (sixteen)
But you’re my teenage queen (you’re my queen)
Oh, you’re the prettiest, loveliest girl I’ve ever seen (I’ve ever seen) (OH!)Sixteen candles in my heart will glow
For ever and ever for I love you so (for I love you so)
For I love you so!
คงไม่มีบทเพลงไหนเหมาะกับการเริ่มต้นขับรถจีบสาว (Crusing) ไปมากกว่าบทเพลง Runaway (1961) แต่งโดย Del Shannon & Max Crook, ต้นฉบับขับร้องโดย Del Shannon ติดอันดับ #1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานสี่สัปดาห์ ได้รับการโหวตจากนิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004) ติดอันดับ #466
Ah, ah, ah-ah, ah
Ah, ah, ah-ah
Ah, ah, ah-ah, ah
Ah, ah, ah-ah, ahI was listening to the ocean
I saw a face in the sand
But when I picked it up
Then it vanished away from my hands, downI had a dream, I was seven
Climbing my way in a tree
I saw a piece of Heaven
Waiting, impatient for me, downAnd I was running far away, would I run off the world someday?
Nobody knows, nobody knows
And I was dancing in the rain, I felt alive and I can’t complainNo, take me home, take me home where I belong
I can’t take it any moreI was painting a picture
The picture was a painting of you
And for a moment, I thought you were here
But then again, it wasn’t true, downAnd all this time I have been lying
Oh, lying in secret to myself
I’ve been putting sorrow on the farthest place on my shelf
Da-di-daAnd I was running far away, would I run off the world someday?
Nobody knows, nobody knows
And I was dancing in the rain, I felt alive and I can’t complainNo, take me home, take me home where I belong
I got no other place to go
No, take me home, take me home where I belong
I got no other place to go
No, take me home, take me home where I belong
I can’t take it any moreBut I kept running for a soft place to fall
And I kept running for a soft place to fall
And I kept running for a soft place to fall
And I kept running for a soft place to fallAnd I was running far away, would I run off the world someday?
No, take me home, take me home where I belong
I got no other place to go
No, take me home, take me home where I belong
I got no other place to goNo, take me home, home where I belong, oh, no, no
No, take me home, home where I belong, ho-home, home
No, take me home, home where I belong, oh, no, no
No, take me home, home where I belong, I can’t take it any more
วินาทีที่ Curt แรกพบเจอสาวผมบลอนด์ขับรถ Ford Thunderbird ได้ยินบทเพลง Why Do Fools Fall in Love (1956) แนว Doo-wop แต่งโดย Frankie Lymon & Herman Santiago & Jimmy Merchant, เพลงเปิดตัววง Frankie Lymon & the Teenagers ได้รับการโหวตจากนิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004) ติดอันดับ #314
Oh wah, oh wah, oh wah, oh wah, oh wah, oh wah
Why do fools fall in love?
Why do birds sing so gay?
And lovers await the break of day
Why do they fall in love?Why does the rain fall from above?
Why do fools fall in love?
Why do they fall in love?Love is a losing game
Love can a be shame
I know of a fool
You see
For that fool is meTell me why, why, why
Tell me whyWhy do birds sing so gay?
And lovers await the break of day?
Why do they fall in love?Why does my heart skip a crazy beat?
Before I know it will reach defeat!Tell me why, why, why
Why do fools fall in love?
Flash Cadillac & the Continental Kids รับเชิญขับร้อง-เล่น-เต้นในงานพรอม ขับร้องสองบทเพลง At the Hop และ She’s So Fine, แต่ผมนำเอาต้นฉบับ At the Hop (1957) แต่งโดย Artie Singer & John Medora & David White, ขับร้องโดย Danny & the Juniors เคยติดอันดับ #1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานห้าสัปดาห์
Bah-bah-bah-bah, bah-bah-bah-bah
Bah-bah-bah-bah, bah-bah-bah-bah, at the hopWell, you can rock it you can roll it
You can stop and you can stroll it at the hop
When the record starts spinnin’
You chalypso when you chicken at the hop
Do the dance sensation that is sweepin’ the nation at the hopLet’s go to the hop
Let’s go to the hop (oh baby)
Let’s go to the hop (oh baby)
Let’s go to the hop
Come on, let’s go to the hopWell, you can swing it you can groove it
You can really start to move it at the hop
Where the jockey is the smoothest
And the music is the coolest at the hop
All the cats and chicks gonna get their kicks at the hopLet’s go
Let’s go to the hop
Let’s go to the hop (oh baby)
Let’s go to the hop (oh baby)
Let’s go to the hop
Come on, let’s go to the hop
Let’s goWell, you can rock it you can roll it
Do the stomp and even stroll it at the hop
When the record starts spinnin’
You chalypso when you chicken at the hop
Do the dance sensation that is sweepin’ the nation at the hopYou can swing it you can groove it
You can really start to move it at the hop
Where the jockey is the smoothest
And the music is the coolest at the hop
All the cats and chicks gonna get their kicks at the hop
Let’s goLet’s go to the hop
Let’s go to the hop (oh baby)
Let’s go to the hop (oh baby)
Let’s go to the hop
Come on, let’s go to the hopBah-bah-bah-bah, bah-bah-bah-bah
Bah-bah-bah-bah, bah-bah-bah-bah, at the hop
Steve & Laurie เต้นรำงานพรอม ประกอบบทเพลง Smoke Gets in Your Eyes แต่งคำร้องโดย Otto Harbach, คำร้องโดย Jerome Kern สำหรับประกอบหนังเพลง Roberta (1933), แต่ฉบับโด่งดังที่สุดขับร้องโดยวง The Platters เมื่อปี ค.ศ. 1958 เคยติดอันดับ #1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานสามสัปดาห์
They asked me how I knew my true love was true
Oh-oh-oh-oh-oh, I, of course replied
“Something here inside cannot be denied”
(Do-do-do, do-do-do, do-do-do, whoa)They said, “Someday, you’ll find all who love are blind
Oh-oh-oh-oh-oh, when your heart’s on fire
You must realize smoke gets in your eyes”So, I chaffed them, and I gaily laughed
To think they could doubt my love
Yet, today, my love has flown away
I am without my love (without my love)Now, laughing friends deride tears I cannot hide
Oh-oh-oh-oh-oh, so I smile and say
“When a lovely flame dies
Smoke gets in your eyes” (smoke gets in your eyes)Smoke gets in your eyes
มีอีกบทเพลงของ The Platters ได้ยินระหว่าง Curt นั่งเหม่ออยู่บนรถของ The Pharaohs คือบทเพลง The Great Pretender (1955) แต่งโดย Buck Ram เคยติดอันดับ #1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานสองสัปดาห์ และนิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004) ติดอันดับ #360
แซว: ผมชอบการเลือกเพลงนี้ที่สื่อถึง Curt ต้องพยายาม ‘Pretender’ เป็น The Pharaohs เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดพานผ่านค่ำคืนนี้ได้สำเร็จ
Oh-oh, yes, I’m the great pretender
Pretending that I’m doing well
My need is such, I pretend too much
I’m lonely, but no one can tellOh-oh, yes, I’m the great pretender
Adrift in a world of my own
I played the game but to my real shame
You’ve left me to grieve all aloneToo real is this feeling of make-believe
Too real when I feel what my heart can’t conceal
(Oh-oh-oh-oh-oh-oh-oh-oh-oh)Yes, I’m the great pretender
Just laughin’ and gay like a clown
I seem to be what I’m not, you see
I’m wearing my heart like a crown
Pretending that you’re still aroundToo real is this feeling of make-believe
Too real when I feel what my heart can’t conceal
(Oh-oh-oh-oh-oh-oh-oh-oh-oh)Yes, I’m the great pretender
Just laughin’ and gay like a clown
I seem to be what I’m not, you see
I’m wearing my heart like a crown
Pretending that you’re still around
(Still around)
John & Carol ถูกรถสาวๆสาดน้ำใส่ พวกเขาจึงลงไปแก้แค้น พ่นสีใส่กระจก พร้อมบทเพลง Johnny B. Goode (1958) แต่งโดย Chuck Berry, ขับร้องโดย Chuck Berry, แม้ทำอันดับสูงสุดที่ #8 ชาร์ท US Billboard Hot 100 แต่นิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004) ติดอันดับ #7
Deep down in Louisiana close to New Orleans
Way back up in the woods among the evergreens
There stood a log cabin made of earth and wood
Where lived a country boy named Johnny B. Goode
Who never ever learned to read or write so well
But he could play a guitar just like a-ringin’ a bellGo, go
Go Johnny, go, go
Go Johnny, go, go
Go Johnny, go, go
Go Johnny, go, go
Johnny B. GoodeHe used to carry his guitar in a gunny sack
Go sit beneath the tree by the railroad track
Oh, the engineers would see him sitting in the shade
Strumming with the rhythm that the drivers made
The people passing by they would stop and say
“Oh my what that little country boy could play”Go, go
Go Johnny, go, go
Go Johnny, go, go
Go Johnny, go, go
Go Johnny, go, go
Johnny B. GoodeHis mother told him “someday you will be a man
And you will be the leader of a big old band
Many people coming from miles around
To hear you play your music when the sun go down
Maybe someday your name will be in lights
Saying “Johnny B. Goode tonight”Go, go
Go Johnny, go
Go, go, go Johnny, go
Go, go, go Johnny, go
Go, go, go Johnny, go
Go
Johnny B. Goode
หนึ่งในฉากที่ทำเอาผมหัวเราะท้องแข็ง John แวะจอดรถข้างทาง แสดงสีหน้าหื่นกระหายกับ Carol ถ้าไม่บอกที่อยู่บ้าน ฉันจะปลุกปล้ำเธอ ได้ยินบทเพลง You’re Sixteen (1960) แต่งโดย Sherman Brothers (Robert B. Sherman & Richard M. Sherman), ขับร้องโดย Johnny Burnette ติดอันดับ #8 ชาร์ท Billboard Hot 100
แซว: เด็กหญิงอายุ 12 ปี แต่เพลงนี้แสร้งว่าอายุ 16 ปี เธอจะได้เป็นของฉัน “You’re sixteen, you’re beautiful and you’re mine”
Woo
You come on like a dream
Peaches and cream
Lips like strawberry wine
You’re sixteen, you’re beautiful and you’re mine (ooh, mine all mine)You’re all ribbons and curls (ooh)
Ooh, what a girl (ooh)
Eyes that sparkle and shine (ooh)
You’re sixteen, you’re beautiful and you’re mine (ooh)
Mine all mine, mine, mine, mineYou’re my baby, you’re my pet (ooh wah, wah)
We fell in love on the night we met (ooh wah, wah, wah)
You touched my hand, my heart went pop (ooh)
Ooh, when we kissed I could not stop (ooh)You walked out of my dreams, and into my arms (ahh)
Now you’re my angel divine (ahh)
You’re sixteen, you’re beautiful and you’re mine (ooh wah, wah, wah)You’re my baby, you’re my pet (ooh wah, wah, wah)
We fell in love on the night we met (ooh, we fell in love)
You touched my hand, my heart went pop (ooh what a night, ooh what a night)
Ooh, when we kissed I could not stop (ooh-ooh)You walked out of my dreams, and into my car (ahh)
Now you’re my angel divine
You’re sixteen, you’re beautiful, and you’re mine (ooh wah, wah, wah)
You’re sixteen, you’re beautiful, and you’re mine (ooh wah, wah, wah)
You’re sixteen, so beautiful, and you’re mine (ooh wah, wah, wah)
All mine, all mine, all mine (ooh wah, wah, wah)
All mine, all mine, all mine (ooh wah, wah, wah)All mine, all mine, all mine (ooh wah, wah, wah)
All mine, all mine, all mine (ooh wah, wah, wah) (I shouldn’t love you, but I do)
You are- (ooh wah, wah, wah)What shall we do with a drunken sailor?
What shall we do with a drunken sailor?
อีกบทเพลงที่ทำเอาผมขบขำกลิ้ง ความสำเร็จของการกลั่นแกล้งรถตำรวจ ทำให้ Curt ได้รับการยอมรับจากแก๊ง The Pharaohs ขับรถมาส่งยัง Mel’s Drive-In ได้ยินบทเพลง Love Potion No. 9 (1959) แต่งโดย Jerry Leiber & Mike Stoller ขับร้องโดย The Clovers ติดอันดับ #3 ชาร์ท Billboard Hot 100
แซว: มันราวกับว่า Curt ใช้ Love Potion No.9 ทำให้ The Pharaohs ตกหลุมรัก –“
I took my troubles down to Madame Ruth
You know that gypsy with the gold-capped tooth
She’s got a pad down on Thirty-Fourth and Vine
Selling little bottles of love potion number nineI told her that I was a flop with chics
I’ve been this way since 1956
She looked at my palm and she made a magic sign
She said, “What you need is love potion number nine”She bent down and turned around and gave me a wink
She said, “I’m gonna make it up right here in the sink”
It smelled like turpentine, it looked like Indian ink
I held my nose, I closed my eyes, I took a drinkI didn’t know if it was day or night
I started kissing everything in sight
But when I kissed a cop down on Thirty-Fourth and Vine
He broke my little bottle of love potion number nineI held my nose, I closed my eyes, I took a drink
I didn’t know if it was day or night
I started kissing everything in sight
But when I kissed a cop down on Thirty-Fourth and Vine
He broke my little bottle of love potion number nineLove potion number nine
Love potion number nine
Love potion number nine
เมื่อครั้ง Laurie ขับรถเรื่อยเปื่อย ตัวคนเดียว ตัดสินใจส่งสัญญาณมือ ขอขึ้นรถของ Bob Falfa ได้ยินบทเพลง Since I Don’t Have You (1958) แนว Doo-wop แต่ง/ขับร้องโดย The Skyliners ติดอันดับ #12 ชาร์ท Billboard Hot 100
ผมชอบบรรยากาศเพลงนี้มากๆ รำพันความโดดเดี่ยวของ Laurie หลังพบเห็นแฟนหนุ่ม Steve คุยกับสาวอื่น เลยบังเกิดความอิจฉาริษยา เลยขอขึ้นรถของ Bob Falfa เพื่อทำการประชดประชัน … โชคดีที่อีกฝ่ายเป็นสุภาพบุรุษ รอดตายอย่างหวุดหวิด
I don’t have plans and schemes
And I don’t have hopes and dreams
I, I, I don’t have anything
Since I don’t have youAnd I don’t have fond desires
And I don’t have happy hours
I, I, I don’t have anything
Since I don’t have youHappiness and I guess
I never will again
When you walked out on me
In walked old misery
And she’s been here
Since thenI don’t have love to share
And I don’t have one who cares
I, I, I don’t have anything
Since I don’t have youYou, you, you, oh, oh
You, you, you, oh, oh
You, you, you, oh, oh
You, you, you, oh, oh
You, you, you, oh, yeah
เสียงลีดกีตาร์อันเป็นเอกลักษณ์ เตรียมความพร้อมก่อนการแข่งรถ John Milner vs. Bob Falfa คือบทเพลงบรรเลง Green Onions (1962) โดย Booker T. & the M.G.’s. ติดอันดับ #3 ชาร์ท Billboard Hot 100 และนิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004) ติดอันดับ #181
ไม่ใช่แค่ Steve & Laurie หวนกลับมาคืนดี แต่ยัง Curt เฝ้ารอคอยโทรศัพท์ของเธอคนนั้น Only You (And You Alone) (1955) แต่งโดย Buck Ram, ขับร้องโดย The Platters เคยติดอันดับ #1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานเจ็ดสัปดาห์
Only you can make all this world seem right
Only you can make the darkness bright
Only you and you alone can thrill me like you do
And fill my heart with love for only youOh, only you can do make all this change in me
For it’s true, you are my destiny
When you hold my hand I understand the magic that you do
You’re my dream come true, my one and only youOh oh, only you can do make this change in me
For it’s true, you are my destiny
When you hold my hand I understand the magic that you do
You’re my dream come true, my one and only you
ค่ำคืนแห่งความวุ่นๆวายๆจบลงด้วยบทเพลง Goodnite, Sweetheart, Goodnite (1953) แต่งโดย Calvin Carter & James “Pookie” Hudson, บันทึกเสียงครั้งแรกโดย The Spaniels
Goodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
Goodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
I hate to leave you, but I really must say
Oh, goodnight, sweetheart, goodnightGoodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
Goodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
I hate to leave you, but I really must say
Oh, goodnight, sweetheart, goodnightWell it’s three o’clock in the mornin’
Baby, I just can’t do right
Well, I hate to leave you, baby
I don’t mean maybe
Because I love you soGoodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
Goodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
I hate to leave you, I really must say
Oh, goodnight, sweetheart, goodnightMother, and, oh, your father
Won’t like it if I stay too long
Well, a kissing darling and I’ll be going
You know I hate to goGoodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
Goodnight, sweetheart
Well, it’s time to go
I hate to leave you, I really must say
Oh, goodnight, sweetheart, goodnight
และสำหรับ Closing Credit เลือกใช้บทเพลง All Summer Long (1964) แต่งโดย Brian Wilson & Mike Love, ขับร้องโดยวง The Beach Boys
หนังมีพื้นหลังฤดูร้อนปี ค.ศ. 1962 แต่เพลงนี้วางแผงครั้งแรกปี ค.ศ. 1964 นี่ไม่ใช่การบิดเบือนวันเวลา ใช้เป็นสัญญะจุดจบยุคสมัย วันเวลาแห่งความสุขได้เคลื่อนผ่านไป วัฒนธรรมขับรถจีบสาว (Crusing) ค่อยๆเลือนหายตามกาลเวลา
Sittin’ in my car outside your house
(Sittin’ in my car outside your house)
‘Member when you spilled Coke all over your blouseT-shirts, cut-offs, and a pair of thongs
(T-shirts, cut-offs, and a pair of thongs)
We’ve been having fun all summer longI can’t see enough of you
(All summer long we’ve both been free)
Won’t be long til summer time is through
(Summer time is through)
Not for us nowMiniature golf and Hondas in the hills
(Miniature golf and Hondas in the hills)
When we rode the horse we got some thrills
Every now and then we hear our song
(Every now and then we hear our song)
We’ve been having fun all summer longWon’t be long till summer time is through
(Summer time is through)
Not for us now
Every now and then we hear our song
(Every now and then we hear our song)
We’ve been having fun all summer long
We’ve been having fun all summer long
(We’ve been having fun all summer long)
We’ve been having fun all summer long
(We’ve been having fun all summer long)
We’ve been having fun all summer long
Cruising คือกิจกรรมเข้าสังคมรูปแบบหนึ่ง (Social Activity) ประกอบด้วยการขับรถตามท้องถนน ร่อนเร่ เตร็ดเตร่ ดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย ขับไปคุยไปกับรถคันอื่น หรือนัดหมายทำสิ่งโน่นนี่นั่น ฯ เป็นกิจกรรมสำแดงอิสรภาพวัยรุ่น โดยเฉพาะคนที่เพิ่งได้รับใบขับขี่ใหม่ ได้ขับรถออกนอกบ้านเป็นครั้งแรกๆ
ผกก. Lucas สมัยวัยรุ่นเคยใฝ่ฝันอยากเป็นนักแข่งรถ ชื่นชอบการ Cruising โชว์รถแต่ง หาสาวแอ้ม ยามค่ำคืนร่อนเร่ เตร็ดเตร่ ดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย จนกระทั่งประสบอุบัติเหตุ สภาพปางตาย เลยงดละเลิก ถอนตัวออกจากวงการ และไม่นานวัฒนธรรมการ Cruising ก็ค่อยๆเสื่อมความนิยมตามกาลเวลา
ด้วยความที่ Cruising มักถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสร้างความวุ่นวาย น่ารำคาญ ค่ำคื่นดึกดื่นส่งเสียงดัง ไม่หลับไม่นอน บางรัฐถึงขนาดออกกฎห้าม และเมื่อชุมชนเมืองขยับขยาย รถรามากมายเต็มท้องถนน รวมถึงค่าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ฯ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จริงๆมันขึ้นอยู่กับกระแสนิยมของชุมชนนั้นๆ รวมถึงสภาพภูมิทัศน์ ใช่ว่าทุกรัฐจะเหมาะสมต่อการ Cruising
American Graffiti (1973) นอกจากเก็บบันทึกวัฒนธรรมนอกกระแส Cruising และวิถีชีวิตวัยรุ่น (Baby Boomer) ช่วงทศวรรษ 60s (ก่อนการลอบสังหารปธน. John F. Kennedy และสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามเวียดนาม) ฝังเอาไว้ใน ‘Time Capsule’ หนังยังร้อยเรียงชีวประวัติผกก. Lucas ในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านตัวละครต่างๆ … ตรงนี้เคยอธิบายไปแล้ว เลยขอไม่เขียนซ้ำอีก
ประเด็นอื่นที่น่าสนใจของหนัง คือข้อความบรรยายอนาคตของตัวละครหลักทั้งสี่ ต่างมีโชคชะตากรรมแตกต่างกันออกไป (จริงๆน่าจะกล่าวถึงสาวๆ และตัวละครสมทบอื่นด้วยนะ) สร้างความระทม ขื่นข่มให้กับผู้ชม เกิดความตระหนักว่าช่วงวันเวลาแห่งความบริสุทธิ์ได้สิ้นสุดลง (Loss of Innocence)
- John Milner ถูกคนเมาขับรถชนเสียชีวิต เดือนธันวาคม ค.ศ. 1964, ผมรู้สึกเหมือนต้องการอ้างอิงถึงการลอบสังหารปธน. John F. Kennedy เมื่อปลายปี ค.ศ. 1963 ซึ่งถือเป็นจุดจบยุคสมัย/วัฒนธรรม Cruising กำลังสูญสิ้นความนิยม
- Terry Fields เข้าร่วมสงครามเวียดนาม สูญหายตัวไปตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1965, เด็กเนิร์ดคนนี้มีความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ไม่น่าจะอาสาสมัครทหาร แต่การสูญหายไม่ต่างจากความตาย = สงครามคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์
- Steve Bolander กลายเป็นนายหน้าบริษัทขายประกันใน Modesto, California คาดว่าคงได้แต่งงาน ครองรักกับ Laurie มีชีวิตสุขสบาย ปลอดภัย ในหลักประกัน
- Curt Henderson กลายเป็นนักเขียนอาศัยอยู่ Canada นี่แสดงถึงชีวิตอันโลดโผน โบยบินสู่อิสรภาพ คงไม่หวนกลับมา Modesto, California อีกแล้วกระมัง
เริ่มต้นตอนหัวค่ำ แล้วจบลงยามรุ่งสาง ทุกสิ่งอย่างล้วนผันแปรเปลี่ยนในทิศทางกลับตารปัตรตรงกันข้าม! สอดคล้องเข้ากับแนวคิด ‘Coming-of-Age’ วัยรุ่นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงยุคสมัย กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ฤดูร้อนสิ้นสุด กำลังจะเริ่มต้นฤดูกาลใหม่
คำว่า Graffiti, รอยขูดขีดเขียนบนผนังกำแพง มันอาจไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับหนัง แต่สามารถสะท้อนถึงวัฒนธรรมนอกกระแส การขับรถจีบสาว (Cruising) ถือว่าเป็นพฤติกรรมนอกคอก หัวขบถ สีสันวัยรุ่นอเมริกันยุคสมัยหนึ่ง
จากทุนสร้าง $775,000 เหรียญ ด้วยเสียงตอบรับดียอดเยี่ยม สามารถทำรายได้จากการฉายครั้งแรก $55 ล้านเหรียญ ซึ่งถ้านำมารวมตอนออกฉายซ้ำ (Re-Release) เมื่อปี ค.ศ. 1978 ยังทำเงินได้อีก $63 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม … หนังยังมีการนำออกฉายอีกหลายครั้ง จนปัจจุบันรวมรายรับเกินกว่า $140 ล้านเหรียญไปแล้ว!
ช่วงปลายปียังได้เข้าชิง Oscar และ Golden Globe Award อีกหลายสาขา
- Academy Awards
- Best Picture
- Best Director
- Best Supporting Actress (Candy Clark)
- Best Original Screenplay
- Best Film Editing
- Golden Globe Awards
- Best Motion Picture – Musical or Comedy **คว้ารางวัล
- Best Director
- Best Actor – Musical or Comedy (Richard Dreyfuss)
- Most Promising Newcomer – Male (Paul Le Mat) **คว้ารางวัล
- BAFTA Awards
- Best Supporting Actress (Candy Clark)
กาลเวลาทำให้ American Graffiti (1973) ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ หนึ่งในภาพยนตร์อเมริกันยอดเยี่ยมตลอดกาล ติดอันดับหลายชาร์ทของ American Film Institute
- AFI: 100 Years…100 Movies (1998) ติดอันดับ #77
- AFI: 100 Years…100 Laughs (2000) ติดอันดับ #43
- AFI: 100 Years…100 Movies (10th Anniversary Edition) (2007) ติดอันดับ #62
ในโอกาสครบรอบ 50th Anniversary เมื่อปี ค.ศ. 2023 สตูดิโอ Universal Studios ได้ทำการบูรณะ 4K Ultra HD ตรวจอนุมัติโดยผกก. George Lucas แต่เห็นว่าคุณภาพกลับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ คะแนนรีวิว Blu-Ray โดยเฉลี่ย 6/10 ค่อนข้างต่ำทีเดียว
แม้ผมจะไม่ค่อยอินกับวัฒนธรรมขับรถจีบสาว (เกิดไม่ทันยุคสมัยนั้น) แต่หลงใหลวิธีนำเสนอของผกก. Lucas พบเห็นร่องรอยก่อนกาลมาถึงของแฟนไชร์ Star Wars โดยเฉพาะลีลาตัดต่อ หลากหลายเรื่องราวคู่ขนาน คลุกเคล้าผสมผสาน เข้ากันได้อย่างลงตัวกลมกล่อม และความเพลิดเพลินก็คือบรรดานักแสดงหน้าละอ่อน Richard Dreyfuss, Ron Howard, Harrison Ford ฯ พวกเขาต่างมีคาแรคเตอร์ที่จักกลายเป็นภาพจำติดตัวมาจนถึงปัจจุบัน
สิ่งน่าเสียดายโคตรๆคือหลังจากนี้ ผกก. Lucas จะทุ่มเทร่างกาย-จิตวิญญาณให้กับแฟนไชร์ Star Wars/Indiana Jones ไม่สรรค์สร้างภาพยนตร์ที่มีความเป็นส่วนตัวอีกต่อไป
จัดเรต PG กับความวุ่นๆวายๆของวัยรุ่น
Leave a Reply