
Risky Business (1983)
: Paul Brickman ♥♥♥♥
ภาพยนตร์แจ้งเกิด Tom Cruise วัยรุ่นหนุ่ม หล่อ รวย พ่อ-แม่ไม่อยู่บ้าน ระริกระรี้แรดร่าน ตกหลุมรักหญิงขายบริการ Rebecca De Mornay ทดลองทำธุรกิจโสเภณี แม้มีความเสี่ยงสูง แต่คุ้มค่ากับการลงทุน
อาจจะเรียกได้ว่า “Home Alone ฉบับ Coming-of-Age” ที่สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ พบเห็นการเติบโตของวัยรุ่นในทิศทางที่บิดา-มารดา ถ้ารับรู้คงตกอยู่ในความสิ้นหวัง แต่มันคืออิสรภาพชีวิต เสี้ยมสอนไม่ให้หมกมุ่นยึดต่อขนบกฎกรอบ สิ่งที่พวกผู้ใหญ่พยายามเสี้ยมสอน ครอบคุมครอบงำ กำหนดเส้นทางชีวิตลูกหลาน … บทเรียนสำคัญคือเราไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำใคร สามารถครุ่นคิด ตัดสินใจ เลือกเส้นทางชีวิตของตนเอง
ผมเพิ่งรับรู้ว่า Risky Business (1983) คือภาพยนตร์แนว Coming-of-Age เมื่อตอนเขียนถึง Rumble Fish (1983) อ่านเจอเกร็ดหนังว่า Tom Cruise เคยมาทดสอบหน้ากล้อง แล้วขอถอนตัวออกไปเพราะได้รับบทนำหนังเรื่องนี้ และเห็นว่าได้รับการเปรียบเทียบกับ The Graduate (1967) เลยต้องลองขวนขวายหามารับชมสักหน่อย
Risky Business [might] sound like a predictable sitcom. It is not. It is one of the smartest, funniest, most perceptive satires in a long time. It not only invites comparison with The Graduate, it earns it. Here is a great comedy about teenage sex.
นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4
Paul Brickman (เกิดปี ค.ศ. 1949) นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Chicago, Illinois แล้วย้ายมาเติบโตที่ Highland Park บิดาเป็นนักเขียนการ์ตูน ผู้สร้างการ์ตูนแถบ The Small Society, หลังเรียนจบ Claremont Men’s College ทำงานเขียนบทภาพยนตร์ The Bad News Bears in Breaking Training (1977), Citizens Band (1977), ก่อนได้รับโอกาสกำกับหนังเรื่องแรก Risky Business (1983)
Brickman พัฒนาบทหนัง White Boys Off the Lake (ชื่อเดิมของ Risky Business) โดยมีจุดเริ่มต้นจาก Ronald Reagan ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี (ระหว่างปี ค.ศ. 1981-89) เป็นยุคสมัยที่ผู้หลักผู้ใหญ่พยายามปลูกฝังค่านิยมลูกหลาน ให้เรียนสูงๆ สอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ จบออกมาเปิดบริษัทของตนเอง แต่นั่นใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมหรือไม่?
I wanted to do a film for young people that was very stylized in a way that I hadn’t seen before. I wanted to make the film that if I were in high school I would’ve wanted to see. I was writing it in the time just after Reagan had taken office and everyone wanted to be a little capitalist, get their M.B.A.s and wear power suspenders. I thought, That’s all dandy, but life is more complex and darker than that. It’s tough out there. Capitalism takes its toll on a lot of people.
Paul Brickman
ตอนพัฒนาบทหนัง Brickman อยู่ในสังกัดสตูดิโอ Warner Bros. พอยื่นให้กับโปรดิวเซอร์ได้รับคำตอบปฏิเสธ เพราะไม่ครุ่นคิดว่าหนังจะประสบความสำเร็จ เขาจึงออกตระเวนไปทั่ว Hollywood แต่ทุกสตูดิโอล้วนให้คำตอบเดียวกัน จนกระทั่งมาพบเจอ David Geffen ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ(โปรดักชั่น) The Geffen Film Company เพิ่งมีภาพยนตร์เรื่องแรก Personal Best (1982)
Why was it difficult to sell the movie? I think that’s that’s a tough question. I think it was difficult for probably a couple reasons. One, there was a mix of tone in it that no one understood. There was a mix of humor, darkness and sexuality, which was not like teenage films before… I want to do a film that I would have wanted to see in high school. So it was a little bit darker. And this sexuality was not like, um, like porkies or anything like that. Nor was the humor. And I don’t think anyone understood what that was.
และด้วยความที่ Brickman ไม่เคยมีประสบการณ์กำกับภาพยนตร์มาก่อน บทหนังที่มีความเฉพาะตัว/เป็นส่วนตัว จึงไม่มีใครไหนอยากรับงานมือปืนรับจ้าง โชคดีว่า David Geffen พร้อมรับความเสี่ยงดังกล่าว จึงกลายเป็นโอกาสที่ไม่ได้มาโดยง่าย
เรื่องราวของนักเรียนมัธยมปลาย Joel Goodsen (รับบทโดย Tom Cruise) อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ Chicago North Shore, บิดาเป็นศิษย์เก่า Princeton University จึงเต็มไปด้วยความคาดหวัง บุตรชายจะสามารถเข้าศึกษาต่อ และหลังเรียนจบสามารถริเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวขึ้นมา
ระหว่างที่บิดา-มารดาเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน ทอดทิ้งให้ Joel อาศัยอยู่บ้านตัวคนเดียว นั่นคือช่วงเวลาแห่งอิสรภาพ สามารถกระทำสิ่งโน่นนี่นั่นตามใจ ชักชวนเพื่อนฝูงมาที่บ้าน ดื่มสุราเมามาย โทรศัพท์นัดหมายหญิงขายบริการ Lana (รับบทโดย Rebecca De Mornay)
แต่เรื่องวุ่นๆบังเกิดขึ้นเมื่อ Lana ลักขโมยไข่แก้ว (Steuben Glass) พยายามติดตามค้นหา เผชิญหน้ากับแมงดา Guido (รับบทโดย Joe Pantoliano) ครั้งหนึ่งพลั้งพลาดทำรถ Porsche 928 จมลงทะเลสาป Lake Michigan จำต้องหาเงินมาจ่ายค่าซ่อมแซม จึงครุ่นคิดวางแผนธุรกิจ จัดงานเลี้ยงแฝงซ่องโสเภณีที่บ้าน ชักชวนเพื่อนฝูงมาใช้บริการ ค่ำคืนเดียวทำเงินได้ถึง $8,000 เหรียญ!
Tom Cruise ชื่อเต็ม Thomas Cruise Mapother IV (เกิดปี ค.ศ. 1962) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Syracuse, New York วัยเด็กค่อนข้างยากจน บิดาชอบใช้ความรุนแรง แถมตัวเขายังเป็น Dyslexia ทำให้ในรอบ 14 ปี ย้ายโรงเรียน 15 ครั้ง ตอนแรกตั้งใจจะเป็นบาทหลวง ไม่ก็นักกีฬาอเมริกันฟุตบอล ก่อนมีโอกาสได้รับบทสมทบเล็กๆภาพยนตร์ Endless Love (1981), Taps (1981) เลยตัดสินใจเอาจริงเอาจังทางสายงานนี้ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Risky Business (1983), Top Gun (1986), Rain Man (1988), เคยเข้าชิง Oscar: Best Actor ภาพยนตร์ Born on the Fourth of July (1989), Jerry Maguire (1996) และ Magnolia (1999)
รับบท Joel Goodsen นักเรียนมัธยมปลาย รูปหล่อ พ่อรวย ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไข่ในหิน ถูกคาดหวังว่าจะมีอนาคตสดใส แต่ช่วงวัยรุ่น มันมีแรงกระตุ้น(ฮอร์โมนเพศ)ให้อยากรู้อยากลอง เมื่อครอบครัวไปท่องเที่ยวพักผ่อน ‘แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง’ อยากร่วมรักหญิงสาวโสเภณี นั่นก่อให้เกิดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆติดตามมามากมาย
ในตอนแรกผกก. Brickman ไม่มีความเชื่อมั่นในตัว Tom Cruise เพราะยังติดภาพจำจาก Taps (1981) ถึงขนาดพูดว่า “This guy for Joel? This guy is a killer! Let him do Amityville III!” เห็นว่าตั้งใจจะเลือก Brian Backer แจ้งเกิดจากภาพยนตร์ Fast Times at Ridgemont High (1982), แต่โชคดีที่ผู้จัดการส่วนตัว วางแผนให้เขาแวะเวียนมาที่ The Geffen Film Company แต่งหน้าทำผม สวมใส่ยีนส์สไตล์ Greaser เข้ามาทักทายโปรดิวเซอร์และผกก. Brickman ด้วยสำเนียง Oklahoma ว่า “Hey, how y’all doing?” นั่นเปลี่ยนความสนใจของทุกฝ่ายโดยพลัน ก่อนถูกเรียกตัวมาทดสอบหน้ากล้องร่วมกับ Rebecca De Mornay
เกร็ด: ตอนเริ่มถ่ายทำ Tom Cruise อายุย่างเข้า 20 ปี เพื่อให้ได้ภาพลักษณ์ที่ดูเด็กขึ้น ‘Fresh-Faced’ โปรดิวเซอร์เลยให้เข้าคอร์สลดน้ำหนัก 10 ปอนด์จนดูซูบผอม จากนั้นหยุดออกกำลังกายแล้วเร่งรีบทานอาหารเพิ่มไขมัน … แต่ผมว่า Cruise มีใบหน้าเด็ก (Baby Face) อยู่แล้ว เลยไม่ได้มีปัญหาสักเท่าไหร่
สิ่งที่ผมคาดไม่ถึงสุดๆก็คือพบเห็น Tom Cruise เล่นเป็น Tom Cruise ลีลาการแสดงที่ผู้ชมในปัจจุบันสามารถจดจำได้โดยทันที หน้าตาเคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง ภายในเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางอารมณ์ แต่หลังจากค้นพบเป้าหมาย/เส้นทางชีวิต ความต้องการของตนเอง ก็สำแดงความมุ่งมั่น ไม่สั่นคลอน พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อความสำเร็จ … โอบรับจิตวิญญาณอเมริกันชน
ภาพยนตร์เรื่องนี้ราวกับสร้างขึ้นเพื่อให้ Tom Cruise ค้นพบเป้าหมาย เส้นทางชีวิต ทิศทางการแสดง แม้อาจยังอยู่ในช่วงวัยลองผิดลองถูก กล้า-บ้า-ท้าทาย แต่ผู้ชมสามารถพบเห็นร่องรอย ศักยภาพด้านการแสดง และอนาคตสดใส
Tom’s an interesting character. Can’t really make him out. He would appear to be on the brink of a great career. But when it comes to doing things with him – socially or professionally – he’s not terribly reliable. Always late, very casual with other people’s time. But in spite of it all, it’s difficult not to like him. Though it’s early days, the rehearsing I’ve done with him has gone smoothly. No arrogance or selfishness there. Yet. We’ll see.
Curtis Armstrong บรรยายถึงการร่วมงานกับ Tom Cruise
Tom was like a younger brother on the set. We were very close. I was concerned for his overall welfare because there’s a certain Faustian arrangement with that kind of success. While I was happy that Tom’s career took off, I was also concerned that it could affect him in some difficult ways, too, and maybe that’s what happened to him. I stayed close to him for a while and as he got more successful, he became harder to reach. Unrelenting adoration can really twist you in some strange ways. It’s crazy to think that one day I was sitting in a cabin thinking of these lines of dialogue, and a few years later, these young lives were profoundly changed.
ผู้กำกับ Paul Brickman
เกร็ด: แว่นกันแดด Ray-Ban โมเดล Wayfarer หลังหนังออกฉายก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ว่ากันว่ายอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 2,000% วัยรุ่นสมัยนั้นใครไม่สวมใส่ถือว่าเฉยสุดๆ

Rebecca De Mornay (เกิดปี ค.ศ. 1959) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Santa Rosa, California ครอบครัวหย่าร้างตั้งแต่เธออายุขวบกว่าๆ อาศัยอยู่กับมารดาย้ายไปอยู่ยุโรป เข้าเรียนมัธยมที่อังกฤษ ก่อนสำเร็จการศึกษาขณะอยู่เยอรมัน กลับมาฝึกฝนการแสดงยัง Lee Strasberg Institute รับบทสมทบเล็กๆ One from the Heart (1981), แจ้งเกิดกับ Risky Business (1983), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Trip to Bountiful (1985), Runaway Train (1985) ฯ
รับบท Lana โสเภณีสาว (Call Girl) อ้างว่ามีความเบื่อหน่ายแมงดา Guido เลยตัดสินใจพึ่งพา/ขอความช่วยเหลือจาก Joel แต่ทั้งหมดอาจคือมารยา เล่นละคอนตบตา ถึงอย่างนั้นพวกเขาก็มีช่วงเวลาแห่งสุข ระเริงรื่นบนสรวงสวรรค์ เปิดมุมมองโลกทัศน์ของกันและกัน
เกร็ด: ในกองถ่าย Harry Dean Stanton แฟนหนุ่มของ De Mornay มักเดินทางมาเยี่ยมบ่อยครั้ง แต่ขณะเดียวกันเธอก็แอบสานสัมพันธ์กับ Tom Cruise ก่อนตัดสินใจเลิกราแฟนเก่า ย้ายเข้าไปอยู่อาศัยกับแฟนใหม่ … ได้สามปีก่อนเลิกรา ค.ศ. 1985
แม้การแสดงของ De Mornay จะไม่อะไรให้พูดถึงนัก แต่ภาพลักษณ์ ความสวย ยังสาว เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม มารยาหญิง ยิ่งสร้างแรงดึงดูดให้ลุ่มหลงใหล ขนาดว่า Tom Cruise ยังมิอาจหักห้ามใจ เคมีของทั้งสองเลยกันเข้าดี ปานจะกลืนกิน แทบมิอาจหยุดยับยั้งชั่งใจ
แต่ทำไม De Mornay หลังจากนี้ถึงไม่ประสบความสำเร็จ ค่อยๆเลือนหายจากวงการภาพยนตร์? ไม่รู้เพราะบทบาทโสเภณี/Call Girl ทำให้เธอติดภาพจำสาวสวยแต่รูป เพียงของเล่นบุรุษ (Popcorn Girl) เลยไม่ได้รับโอกาสเล่นบทดราม่า ขายการแสดงสักเท่าไหร่ … แต่เธอก็ยังอยู่ในวงการ ตลาดล่าง (อธิบายแบบนี้น่าจะเพียงพอเข้าใจได้)
ถ่าพภาพโดย Reynaldo Villalobos (เกิดปี ค.ศ. 1940) และ Bruce Surtees (1937-2012) รายหลังคือขาประจำผู้กำกับ Don Siegel อาทิ The Beguiled (1971), Dirty Harry (1971), Lenny (1974), The Shootist (1976), Escape from Alcatraz (1979), Beverly Hills Cop (1984) ฯ
งานภาพของหนังแพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ หลายครั้งสร้างสัมผัสราวกับอยู่ในความเพ้อฝัน ส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนกลางคืน จึงมีการละเล่นแสง-เงา บรรยากาศทะมึน อึมครึม โทนสีมืดครื้ม แต่สีแดงมักถูกทำให้โดดเด่นขึ้นมา (โดยเฉพาะชุดที่ตัวละครสวมใส่) ซึ่งอาจคือสัญญะของความเสี่ยง (Risky Business)
หนังปักหลักถ่ายทำอยู่ในรัฐ Illinois ละแวกบ้านเกิดของผกก. Brickman แทบไม่ต้องออกสำรวจหาสถานที่ถ่ายทำ เพราะเขาพัฒนาบทหนังโดยมีสถานที่เหล่านั้นในใจอยู่แล้ว, ใช้เวลาถ่ายทำประมาณ 4 เดือนระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 (สี่เดือนกับหนังวัยรุ่นถือว่าค่อนข้างช้า น่าจะเพราะผกก. Brickman ไม่เคยมีประสบการณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ เลยเสียเวลาลองผิดลองถูกพอสมควร)
Opening Credit ถ่ายจากบนขบวนรถไฟ แต่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังล่องลอยไป, กล้องซูมออกจาก Ray-Ban ของตัวละคร, และเสียงบรรยายเล่าเรื่องของ Joel เกี่ยวกับความฝันถึงหญิงสาวเปลือยกาย ฉายภาพห้องอาบน้ำคละคลุ้งด้วยหมอกควัน(ไอน้ำ) ฯ เหล่านี้ทำให้บางคนมองว่าเรื่องราวทั้งหมดของหนังอาจเกิดขึ้นในความฝัน … หลายๆเหตุการณ์ในหนังล้วนเกี่ยวกับความฝัน(เปียก) อนาคตวัยรุ่น จะมองในแง่มุมนั้นก็ไม่ผิดอะไร



ในความฝันของ Joel พยายามเดินเข้าไปยังห้องอาบน้ำของหญิงสาวเปลือยกาย แต่พอเปิดประตูกลับกลายเป็นห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย มาสายสามชั่วโมง ทำข้อสอบไม่ทัน ถอยหลังพิงกำแพง เงาบานเกล็ดราวกับกรงขัง ฉายเงายาวแสดงถึงความห่อเหี่ยวสิ้นหวัง และระหว่าง ‘Cross Cutting’ ตัดกลับสู่โลกปัจจุบัน ยังซ้อนทับควันบุหรี่ เหมือนคนไร้ค่า ไร้ตัวตน
สถาบันครอบครัว สังคมยุคสมัยนั้น พยายามเสี้ยมสอนสั่งลูกหลาน เต็มไปด้วยความคาดหวัง ต้องตั้งใจเรียน ต้องปฏิบัติตามขนบกฎกรอบ ไม่เที่ยวเตร่ สำมะเลเทเมา มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ฯ แต่เหล่านี้คือสิ่งขัดแย้งต่อสันชาตญาณ วัยรุ่นคือช่วงเวลาอยากรู้อยากลอง ฮอร์โมนเพศพลุกพล่าน มันจึงเต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้น ถ้าไม่สามารถทำตามบรรทัดฐานเหล่านั้น ก็แทบตกอยู่ในความห่อเหี่ยวสิ้นหวัง

ตลอดซีเควนซ์ที่บิดา-มารดา ตระเตรียมตัว กำลังจะออกเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน ถ่ายทำด้วยมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (First-Person) ผ่านสายตา Joel ทั้งสองมักหันมาสบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall” จับจ้องมองผู้ชม สร้างความอึดอัด กระอักกระอ่วน พยายามพูดบอก ออกคำสั่งโน่นนี่นั่น มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ นี่คือลักษณะของ ‘Over-Protection’ เลี้ยงดูแลบุตรราวกับไข่ในหิน … ภาพสะท้อนผู้ใหญ่ตั้งแต่ยุคสมัย Ronald Reagan ได้เป็นอย่างดี

แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง หลังจากบิดา-มารดาเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน Joel อยู่บ้านตัวคนเดียว สิ่งแรกที่ทำคือรินเหล้า Chivas Regal (มันช่างเป็นชื่อที่ใกล้เคียงกับ Ronald Regans) เปิดเพลงดังกระหึ่ม กระโดดโลดเต้น ไม่ใส่กางเกง … แวบแรกที่ผมเห็น Tom Cruise เริงระบำนี้ ชวนนึกถึง Tropic Thunder (2008) ขึ้นมาโดยพลัน
แซว: ระหว่างถ่ายทำ หนังยังไม่ได้ลิขสิทธิ์บทเพลง Old Time Rock N’ Roll เลยขอให้ Tom Cruise เต้นสดๆโดยไม่มีเสียงเพลง ในบทหนังมีคำอธิบายแค่ว่า “dance to rock music”


เมื่อตอนเย็น Joel ถูกเพื่อนสนิทกลั่นแกล้ง โทรศัพท์เรียก Call Girl แล้วหนีกลับบ้าน! ค่ำคืนนี้ระหว่างกำลังอ่านหนังสือ ได้ยินเสียงรถเคลื่อนเข้ามา พร้อมแสงไฟสาดส่อง เป็นลีลาการนำเสนออันแยบยล คมคาย ตระหนักได้ทันทีว่าหายนะกำลังคืบคลานเข้ามา … ผมไม่อยากสปอยปฏิกิริยาของ Tom Cruise เมื่อแรกพบเจอเธอคนนั้น ไปดูในหนังเอาเองแล้วกันนะครับ

Working Title ของหนังชื่อว่า White Boys Off the Lake (ก่อนเปลี่ยนมาเป็น Risky Business) มีการอ้างอิงถึงขณะนี้ ทำการเหมารวม Joel คือชายหนุ่มผิวขาว อาศัยอยู่ละแวก Highland Park ใกล้กับ Lake Michigan มักมีรสนิยมทางเพศคล้ายๆกัน

ฉากที่ผมขบขำกลิ้งจนท้องแข็ง Joel กำลังช่วยตนเอง (Masterbate) จินตนาการถึงหญิงสาวในฝัน ทว่ายังไม่ทันร่วมเพศสัมพันธ์ ถูกตำรวจห้อมล้อม บิดา-มารดา ญาติโกโหติกา ผู้คนมากมายภายนอกบ้าน พยายามออกคำสั่งห้ามปราม เรียกร้องอย่ากระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย ขัดต่อขนบกฎกรอบสังคม … นี่คือสิ่งที่พวกผู้ใหญ่พยายามปลูกฝัง เสี้ยมสั่งสอน ครอบคุมครอบงำ จนทำให้ลูกหลานสูญเสียอิสรภาพ ไม่สามารถครุ่นคิด-ทำอะไรๆได้ด้วยตนเอง

ตอนที่ Joel ตัดสินใจโทรศัพท์หา Lana นอกจากแสงไฟกระพริบสีแดง (สัญญาณเตือนการกระทำ ว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องเหมาะสม) เขายังสวมใส่หมวกกันน็อค (ของกีฬาอเมริกันฟุตบอล) สัญลักษณ์ของการป้องกัน ปกปิดบัง พูดบอกชื่อปลอม Ralph จะได้ไม่รู้สึกผิดในตนเอง

มันช่างเป็น Sex Scene ที่เว่อวังอลังการ สร้างเสียงหัวเราะขบขันให้คนที่สามารถทำความเข้าใจ
- Joel โอบกอดจูบลูบไล้ Lana แล้วจู่ๆลมพัดแรง ประตูบ้านเปิดออก นั่นคือสัญญะของการเปิดโลกกว้าง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ‘Coming-of-Age’
- ระหว่างร่วมรักตรงบันได กล้องเคลื่อนเลื่อนผ่านผนังกำแพง พบเห็นรูปถ่ายวัยเด็กและทารก (ของ Tom Cruise จริงๆ) สามารถสื่อตรงๆถึงการเติบโต เจริญวัย ‘Cuming-of-Age’
- และการร่วมรักข้างจอโทรทัศน์ ฉายภาพธงชาติ สามารถเปรียบเทียบถึงการ ‘Coming-of-Age’ ของสหรัฐอเมริกา ในเรื่องเศรษฐกิจ/สังคม การมาถึงของ Reaganomics … เดี๋ยวผมจะอธิบายสรุปให้อีกที



รถ Porsche คือสัญลักษณ์ของความหรูหราของคนมีเงิน (Upper-Middle Class) การที่มันไถลลงทะเลสาป Lake Michigan ย่อมหมายถึงสูญเสียสถานะทางสังคม ในบริบทนี้ก็คือ Joel หลังจากคลุกคลีกับ Lana ก็ทำให้จากที่เคยกินหรูอยู่สบาย พังพินาศวอดวาย จุดตกต่ำสุดของชีวิต
เกร็ด: หนังใช้รถ 1979 Porsche 928 จำนวน 4 คัน (คันหนึ่งจมลงก้นเบื้อง Lake Michigan) ไม่รู้อีกสองคันใครเป็นเจ้าของ แต่คันสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 ประมูลได้ $1.98 ล้านเหรียญ

แม้หนังจะไม่มีฉากวิ่งหน้าตั้งของ Tom Cruise แต่ใกล้เคียงสุดก็คือปั่นจักรยาน หลังสารพัดหายนะถาโถมเข้าใส่ นี่เป็นวิธีระบายอารมณ์อัดอั้นของวัยรุ่น ด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย พอปลดปล่อยความทุกข์ออกไป ถึงเริ่มครุ่นคิดหาหนทางเอาตัวรอด หวนกลับไปคืนดี Lana ยินยอมตอบรับแผนธุรกิจเคยคุยกันไว้

แม้จะเป็นคำกล่าวที่ผกก. Brickman ตั้งใจให้เป็นจิตวิญญาณของหนัง และสะท้อนตัวตนของเขา แต่ผมว่ามัน “What the fuck!” ง่ายเกินไปหน่อย เลยไม่ค่อยตราตรึง ติดใจผู้ชมสักเท่าไหร่
I had some less-than-positive experiences with other directors in terms of my screenwriting up to that point. I was thinking, I can’t go through this again! They’re destroying my work! So I either had to take a swing from the batter’s box or throw in the towel, because I wasn’t getting my work realized in the way I thought it should have been. So there was a what-the-fuck attitude to taking on the work on my own and making the film I wanted to make.
Paul Brickman
ตอนสัมภาษณ์เข้าศึกษา Princeton University ช่วงแรกๆ Joel เต็มไปด้วยความร้อนรน กระวนกระวาย แถมยังเพื่อนๆรวมถึง Lana พยายามก่อกวน เต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง สวมใส่แว่นตาดำ เอ่ยกว่า “What the fuck” ต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ ช่างแม้ง ไม่สนห่าเหวอะไรอีกต่อไปแล้ว
แซว: โดยปกติแล้วการสวมแว่นตาดำ มันควรแฝงนัยยะถึงการปกปิด ซุกซ่อนตัวตนเอง (นัยยะเดียวกับหมวกกันน็อค) แต่ในบริบทนี้กลับกลายเปิดเผยสันดานธาตุแท้ ไม่ยี่หร่าห่าเหวใดๆอีกต่อไป

หลังเสร็จจากการสัมภาษณ์ Joel มายังห้องเก็บของ ละเล่นรถไฟจำลอง (ของเล่นโปรดของผกก. Brickman) ของเล่นเมื่อตอนเป็นเด็ก คงเคยใฝ่ฝันอยากเป็นวิศวกร (แต่หนังไม่ได้ระบุว่า Joel ตั้งใจจะเรียนต่อ/ทำงานอะไร) ขณะนี้คือการมองย้อนกลับหาอดีต ตระหนักว่าความฝันดังกล่าวคงไม่วันเป็นจริง … เพราะได้พูดคำว่า “What the fuck” ต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ คนสติดีที่ไหนจะให้เข้าศึกษาต่อ

แม้ความฝันหนึ่งมิอาจเป็นจริง แต่ทว่า Lana ก็ทำให้อีกความฝัน -ร่วมรักกับ Joel บนขบวนรถไฟ- ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งสิ่งโคตรมหัศจรรย์ของซีเควนซ์นี้ คือการร้อยเรียงภาพขบวนรถไฟ ไปทางซ้ายที ขวาที ถ่ายจากด้านข้าง เบื้องบน เบื้องล่าง รวมๆแล้วยาวนานเกือบ 30 วินาที … ถ้าคุณมีจินตนาการสูงส่งจะตระหนักว่าภาพขบวนรถไฟเหล่านี้ สร้างสัมผัสไม่ต่างจากการร่วมเพศสัมพันธ์
เรายังสามารถเปรียบเทียบขบวนรถไฟเด็กเล่น คือสัญลักษณ์ของระบบการศึกษาที่นักเรียน-นักศึกษา ได้ทดลองโน่นนี่นั่น จำลองเปิดบริษัทในโครงการ Future Enterprisers, ขณะที่รถไฟจริงๆ ก็คือชีวิตจริงนะแหละ ธุรกิจของ Joel ทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถนำไปต่อยอดอนาคตได้จริง


หลังขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ขับรถ Porsche ออกจากอู่กลับบ้าน เดินผ่านห้องนั่งเล่น รีบถอยหลังกลับมาดู สิ่งข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดสูญหายไปไหน ตกสวรรค์โดยพลัน! … ร้อยทั้งร้อยผมมองว่า Lana ต้องมีส่วนร่วมรู้เห็น แม้เธอจะตอบปฏิเสธ แต่มันไม่มีความเป็นไปได้อื่น (อาจจะถูกแบล็กเมล์จาก Guido บีบบังคับทำสิ่งนี้แลกกับการยินยอมปล่อยเธอให้เป็นอิสระ)
ผมมองนัยยะสูงสุดกลับสู่สามัญ เมื่อคืนทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้เงินมามากมาย จำต้องจับจ่ายเอาเฟอร์นิเจอร์/สิ่งข้าวของกลับคืนมาจนเงินหมด … ถึงอย่างนั้นนี่คือครั้งแรก จุดเริ่มต้น ความผิดพลาดที่จักกลายเป็นบทเรียนชีวิตให้กับ Joel สู่อนาคตสดใส

ไข่แก้ว/ไข่คริสทัล (Steuben Glass) คืองานศิลปะสร้างขึ้นจากแก้ว (Art Glass) ในบริบทของหนังสามารถเปรียบเทียบตรงๆถึง Joel ได้รับการเลี้ยงดูราวกับไข่ในหิน สำนวนไทย หมายถึง ของที่ต้องระมัดระวัง ทะนุถนอมอย่างยิ่ง มักถูกนำมาใช้ในบริบทครอบครัว บ้านนี้เลี้ยงลูกเหมือนไข่ในหิน ยุงไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม พอออกสู่สังคมภายนอกมักไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง
- ไข่แก้วถูกลักขโมยโดย Lana หรือก็คือเธอขโมยหัวใจเขาไปครอบครอง
- รอยแตกร้าวเมื่อมารดามาพบเจอ ก็คือ Joel ที่ไม่ได้บริสุทธิ์สดใส เด็กน้อยไร้เดียงสาเหมือนเก่าก่อน เขาได้พานผ่านอะไรๆมามาก เติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่ไข่แก้ว/ไข่ในหินอีกต่อไป

เหตุการณ์เมื่อคืนทำให้ Joel ครุ่นคิดว่าตนเองคงไม่สามารถเข้าศึกษาต่อ Princeton University (ขณะนี้กำลังกวาดใบไม้ในสวน นัยยะเดียวกับการเตะฝุ่น ไร้เป้าหมายอนาคต) แต่กลับกลายเป็นว่าผู้สัมภาษณ์ชื่นชอบประทับใจ (คงได้คั่วกลิ้งกับสาวๆ) อนุมัติให้เข้าเรียนต่อ สร้างความโคตรๆประหลาด ความสำเร็จที่ไม่มีใครคาดคิดถึง … พูดแบบสุภาพหน่อย “What the heck.”
ผู้สัมภาษณ์คงชื่นชอบการคิดนอกกรอบของ Joel กล้าทำในสิ่งแตกต่าง เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค และต้องใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ … นี่แถให้สุดๆแล้วนะ เพราะผมไม่ครุ่นคิดว่ามันจะมีเหตุผลอื่นนอกจากการได้คั่วกลิ้งกับสาวๆ

หลังเหตุการณ์วุ่นๆวายๆสิ้นสุดลง Joel นัดทานอาหารกับ Lana เพื่อสอบถามว่าเธอสุมหัวกับ Guido และ Vicky หลอกลวงตนเองหรือเปล่า? มองผ่านๆก็แค่ร้านอาหารทั่วไป แต่ถ้าสังเกตเบื้องหลังจะพบว่าสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยผู้สูงวัย นักธุรกิจใส่สูทผูกไทด์ แน่นอนว่ามันต้องเป็นดินเนอร์หรู ราคาแพง เคลือบแฝงนัยยะถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (แม้ร่างกายจะยังเป็นวัยรุ่นอยู่ แต่มีความครุ่นคิดอ่านเหมือนผู้ใหญ่) และทำธุรกิจประสบความสำเร็จ (จึงมีเงินมาทานอาหารหรูๆ)


ผมแปลกใจมากๆว่าทำไมโปรดิวเซอร์ถึงรับไม่ได้กับตอนจบนี้? ทั้งๆที่หนังเป็นแนว Comedy ผู้ชมส่วนใหญ่ย่อมไม่ครุ่นคิดจริงจังอยู่แล้ว กลัววัยรุ่นจะลอกเลียนแบบจนเสียคนหรืออย่างไร?
เป้าหมายของผกก. Brickman ต้องการเปรียบเทียบระบบการศึกษา จำลองสร้างบริษัท Future Enterprisers จัดเวทีให้การยกย่องความสำเร็จตามมาตรฐานผู้ใหญ่ vs. ชีวิตจริงที่ตัวละครต้องต่อสู้ดิ้นรน ไม่ได้มีตัวช่วย โลกไม่ได้สวยงาม เขาต้องทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้เงิน (มาซ่อมรถ Porsche ของบิดา) ผลลัพท์มันช่างแตกต่างราวฟ้ากับเหว
ขณะที่ภาพถ่ายพิธีมอบรางวัล เพียงตั้งกล้องนิ่งๆ สลับมุมมองซ้ายขวา (น่าจะตอนกลางวัน) ตรงกันข้ามกับ Joel รางวัลของเขาคือ Lana ก้าวเดินไปด้วยกันในสวนสาธารณะยามค่ำคืน และกล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนขึ้นบน สื่อถึงอนาคตสดใส พวกเขาจักเจริญรุ่งเรือง ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทองยิ่งๆขึ้นไป


ตัดต่อโดย Richard Franklin Chew (เกิดปี ค.ศ. 1940) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California ในครอบครัวผู้อพยพชาวจีน, เคยอาสาสมัคร U.S. Navy แล้วสำเร็จการศึกษาปรัชญา University of California, Los Angeles (UCLA) ว่าจะต่อด้วยกฎหมาย Harvard Law School แต่เปลี่ยนความตั้งใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เริ่มจากถ่ายภาพ+ต่อต่อสารคดีสั้น The Redwoods (1967)**คว้ารางวัล Oscar: Documentary Short Subject, โด่งดังจากการตัดต่อ The Conversation (1974), One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1975), Star Wars (1977), Risky Business (1983), Shanghai Noon (2000), I Am Sam (2001), The New World (2005) ฯ
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Joel Goodsen ตั้งแต่บิดา-มารดาเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน ‘แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง’ ร้อยเรียงสารพัดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ ชิบหายวายป่วน อิสรภาพของวัยรุ่นหนุ่มที่จะเป็นบทเรียนให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่
- แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง
- Opening Credit
- ความฝัน(เปียก)ของ Joel
- บิดา-มารดาออกเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน
- Joel เริงระบำระหว่างอยู่บ้านตัวคนเดียว
- Barry กลั่นแกล้ง Joel ด้วยโทรศัพท์นัดหมายโสเภณีข้ามเพศ
- Cuming-of-Age
- Joel ฝันว่ากำลังจะร่วมรักหญิงสาวคนหนึ่ง แต่ถูกตำรวจห้อมล้อม บิดา-มารดาโน้มน้าวให้ละเลิกพฤติกรรมดังกล่าว
- Joel โทรศัพท์หา Lana ค่ำคืนนี้จึงได้สูญเสียความบริสุทธิ์
- เช้าวันถัดมา Lana เรียกค่าจ้างแพงลิบลิ่ว Joel จึงไปเบิกเงินธนาคาร แต่พอกลับบ้านเธอสูญหายตัวไปพร้อมไข่แก้ว
- Joel และ Barry ออกติดตามหา Lana จนพบเจออยู่กับแมงดา Guido
- Lana ขอความช่วยเหลือจาก Joel ขับรถหลบหนี Guido
- สารพัดปัญหาติดตามมา
- เช้าวันถัดมา Joel พยายามโน้มน้าวให้ Lana กลับบ้านไป แต่เธอกลับมาพร้อมเพื่อนสนิท Vicky
- Joel เผชิญหน้ากับ Guido
- Lana แนะนำแผนธุรกิจกับ Joel แต่เขายังคงพยายามขับไล่ ผลักไสเธอ จนรถ Porsche พลัดตกลงทะเลสาป Lake Michigan
- เพราะติดพันรถซ่อม มาโรงเรียนสาย Joel เลยถูกสั่งพักการเรียน
- ธุรกิจปาร์ตี้โสเภณี
- เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์จนตรอก Joel หวนกลับมาคืนดี Lana
- เริ่มแผนการพูดคุยกับผองเพื่อนถึงงานเลี้ยงปาร์ตี้
- ระหว่างงานเลี้ยงปาร์ตี้ Joel ถูกสัมภาษณ์จาก Princeton University
- Joel & Lana ร่วมรักบนรถไฟเที่ยวสุดท้าย
- ตื่นจากความฝัน
- รถซ่อมเสร็จออกจากอู่ แต่พอกลับบ้านเฟอร์นิเจอร์กลับสูญหาย
- บิดา-มารดาเดินทางกลับมาถึงสนามบิน
- Joel ประมูลเฟอร์นิเจอร์จาก Guido และขนย้ายข้าวของกลับเข้าบ้าน
- Joel ดินเนอร์กับ Lana สอบถามว่าเธออยู่เบื้องหลังแผนการดังกล่าวหรือเปล่า?
ลีลาการตัดต่อถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง บ่อยครั้งมีการตัดสลับกลับไปกลับมา เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ขณะเดียวกันมันก็มีความยียวนกวนบาทา, Joel & Lana กอดจูบบนรถไฟ สร้างความอิจฉาริษยาให้ขอทานไร้บ้าน, หรือขณะบิดา-มารดากำลังเดินทางกลับ Joel ต้องรีบประมูลสินค้าจาก Guido และขนย้ายข้าวของกลับเข้าบ้าน, แต่ฉากที่ผมชื่นชอบสุดคือตอนจบ เด็กๆขึ้นรับรางวัล Future Enterprisers ขายสินค้าทำเงินได้บลา บลา บลา ตัดมายามค่ำคืน เสียงบรรยายของ Joel อวดอ้างสรรพคุณของตนเองที่ไม่มีใครล่วงรับรู้นอกจากผู้ชม
ตอนจบของหนังมีอยู่สองฉบับ Theatrical Version และ Director’s Cut เนื่องจากรอบทดลองฉาย โปรดิวเซอร์ไม่ชอบตอนจบ (ที่ Joel อวดอ้างสรรพคุณตนเอง) เลยเรียกร้องขอให้ตัดจบแค่ฉากดินเนอร์ หลังจาก Lana บอกว่าตนเองไม่ส่วนร่วมรู้เห็นกับ Guido, หลายปีให้หลังเมื่อหนังได้รับการบูรณะ จึงเป็นโอกาสที่ผกก. Brickman จะแทรกใส่ฉากจบแท้จริงกลับเข้ามา
Initially, Lana was very strong and in control, and Joel was very vulnerable. The two characters reversed positions from where they were at the beginning of the film.
Paul Brickman
ในส่วนของเพลงประกอบ ครึ่งหนึ่งจะคือบทเพลงที่มีเนื้อคำร้อง สอดคล้องเข้ากับเรื่องราวขณะนั้นๆ โดยคัดเลือกจากศิลปินชื่อดังอย่าง Bob Seger (Old Time Rock and Roll), Muddy Waters (Mannish Boy (I’m a Man)), Jeff Beck (The Pump), Prince (D.M.S.R.), Journey (After the Fall), Phil Collins (In the Air Tonight)
และอีกครึ่งหนึ่ง (Original Soundtrack) แต่งขึ้นใหม่โดย Tangerine Dream วงดนตรี Electronic Music สัญชาติ German ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1967 โดย Edgar Froese มีผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Sorcerer (1977), Thief (1981), Risky Business (1983), Legend (1985) ฯ
ขอกล่าวถึง Original Score ของ Tangerine Dream ก่อนแล้วกัน ทั้งหมดสร้างขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า + สังเคราะห์เสียง มอบสัมผัสเคลิบเคลิ้ม ราวกับกำลังล่องลอยอยู่ในความฝัน (สมชื่อวง Tangerine Dream)
บทเพลงที่ผมชอบสุดในอัลบัม (ของ Tangerine Dream) ชื่อว่า Lana มักดังขึ้นขณะกำลังจะร่วมรักกับ Joel เสียงรัวกลองกับกีตาร์ไฟฟ้ามันช่างเย้ายวน ชวนฝัน ช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน เมามันส์ สุขกระสันต์ แทบมิอาจหยุดยับยั้ง หักห้ามใจตนเอง
ในส่วนของบทเพลงคำร้องที่กลายเป็น ‘Iconic’ ของหนังก็คือ Old Time Rock and Roll แต่งโดย George Jackson และ Thomas E. Jones III, ขับร้องโดย Bob Seger ประกอบอัลบัม Stranger in Town (1979) ตอนวางแผงสามารถไต่อันดับ 34 ชาร์ท Billboard Hot 100 และเมื่อประกอบภาพยนตร์ Risky Business (1983) พร้อมท่าเต้นอันเย้ายวนใจของ Tom Cruise ช่วยผลักดันให้กลับมาติดอันดับ 48
Just take those old records off the shelf
I’ll sit and listen to ’em by myself
Today’s music ain’t got the same soul
I like that old time rock ‘n’ roll
Don’t try to take me to a disco
You’ll never even get me out on the floor
In ten minutes I’ll be late for the door
I like that old time rock ‘n’ rollStill like that old time rock ‘n’ roll
That kind of music just soothes the soul
I reminisce about the days of old
With that old time rock ‘n’ rollWon’t go to hear ’em play a tango
I’d rather hear some blues or funky old soul
There’s only one sure way to get me to go
Start playing old time rock ‘n’ roll
Call me a relic, call me what you will
Say I’m old-fashioned, say I’m over the hill
Today’s music ain’t got the same soul
I like that old time rock ‘n’ rollStill like that old time rock ‘n’ roll
That kind of music just soothes the soul
I reminisce about the days of old
With that old time rock ‘n’ roll
เกร็ด: Old Time Rock and Roll ได้รับการโหวตจาก AFI: 100 Years…100 Songs (2004) #ติดอันดับ 100
ทศวรรษ 70s มันมีคำเรียก ‘Me’ Decade ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงมุมมอง วัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคมของชาวอเมริกัน กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยปัจเจกบุคคล (Individualism) และวัตถุนิยม (Materialism) บรรดาผู้หลักผู้ใหญ่พยายามเสี้ยมสอนลูกๆหลานๆ ให้ตั้งใจเรียนสูงๆ ทำธุรกิจส่วนตัว ร่ำรวยเมื่อไหร่จะได้สบาย หาความสุขจากวัตถุสิ่งของนอกกาย
ต่อเนื่องมาถึงทศวรรษ 80s เมื่อวัยรุ่น Gen X (1965-80) ได้รับการคาดหวัง ปลูกฝัง เสี้ยมสอนสั่งจากคนรุ่นก่อน มันจึงเริ่มเกิดความอึดอัด คับข้องใจ เพราะใช่ว่าทุกคนจะเฉลียวฉลาด มีความสามารถ เรียนจบปริญญา ทำงานหาเงิน ร่ำรวยสุขสบาย แล้วคนที่ไม่สามารถกระทำตามบรรทัดฐานเหล่านั้น จะไร้จุดยืนในสังคมเลยหรือไร?
Risky Business (1983) ทำการเสียดสีล้อเลียนค่านิยมทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปในช่วงทศวรรษ 70s-80s ในยุคสมัยของปธน. Ronald Reagan (1981-89) กับนโยบาย Reaganomics จากเดิมที่ภาครัฐเคยมีบทบาทมากในทางเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนมาลดการแทรกแซงของรัฐ ลดกฎระเบียบข้อจำกัด รวมถึงลดอัตราภาษี ควบคู่กับลดการใช้งบประมาณในภาครัฐและการรักษาวินัยทางการเงิน เป็นการนำแนวคิดเสรีนิยมใหม่เข้ามาใช้งานจริงในการบริหารเศรษฐกิจ
เรื่องราวของ Joel สามารถมองถึงการ ‘Coming-of-Age’ ของวัยรุ่น Gen X เรียนรู้จักเรื่องเพศสัมพันธ์ ขณะเดียวกันยังเคลือบแฝงนัยยะถึงการเริ่มต้นธุรกิจ (Future Enterprisers) วัยรุ่นสร้างตัว สังคมก้าวเข้าสู่โลกยุคสมัยใหม่
เมื่อพูดถึงธุรกิจ คนส่วนใหญ่ก็มักนึกถึงการผลิตสินค้า สิ่งข้าวของ รูปธรรมที่จับต้องได้ แต่บทเรียนของภาพยนตร์เรื่องนี้ Joel ค้าขายสิ่งที่เขาเรียกว่า “human fulfillment” ความรู้สึกพึงพอใจ เติมเต็มความต้องการจิตใจ นั่นคือธุรกิจในเชิงนามธรรม จับต้องไม่ได้
จะว่าไปภาพยนตร์ ก็ถือเป็นธุรกิจในเชิงนามธรรม จับต้องไม่ได้เช่นกัน ลูกค้าซื้อตั๋วหนัง รับชมสิ่งสร้างความบันเทิงในโรงภาพยนตร์ กลับออกมาด้วยความรู้สึก ‘fulfillment’ บางครั้งพึงพอใจ บางครั้งหงุดหงิดใจ บ้างครั้งเศร้าโศกเสียใจ หลากหลายอารมณ์ ประสบการณ์ชีวิต
ปล. ชื่อหนัง Risky Business คนส่วนใหญ่คงครุ่นคิดถึงแค่ความเสี่ยงทางธุรกิจ วิธีการหาเงินของ Joel จัดงานเลี้ยงปาร์ตี้ พร้อมให้บริการโสเภณี, แต่จริงๆมันยังสามารถเหมารวมทุกความเสี่ยงในชีวิต ตั้งแต่บิดา-มารดาปล่อยให้บุตรชายอยู่บ้านคนเดียว, โทรศัพท์เรียกหา Call Girl, ถูกแมงดาไล่ล่า, รถหรู Porsche ไถลลงทะเลสาป Lake Michigan, สัมภาษณ์เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย Princeton University ฯลฯ … ชีวิตเต็มไปด้วยความเสี่ยงแทบจะทุกลมหายใจเข้าออก
ผกก. Brickman ภายหลังความสำเร็จอย่างล้นหลาม Risky Business (1983) ทำให้มีสตูดิโอ โปรดิวเซอร์ ผู้คนมากมายติดต่อเข้าหา แต่เขากลับไม่ชอบความจอมปลอมหลอกลวงนี้เสียเลย จึงตัดสินใจขนย้ายข้าวของออกจาก Hollywood กว่าจะสรรค์สร้างผลงานเรื่องถัดไปก็อีกเกือบทศวรรษถัดมา
The success of Risky Business was strange because I had Hollywood coming at me full throttle. I found it very uncomfortable. I moved out of L.A. immediately. Studio heads sent me wine goblets and food baskets. And people threw material at me right and left, and lined up to meet me. It gets uncomfortable… Some people like the visibility. I don’t.
Paul Brickman
ด้วยทุนสร้าง $6.2 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับถือว่าดีเยี่ยม สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $63.5 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จล้นหลาม! ส่งให้ Tom Cruise กลายเป็นดาวดารา นักแสดงหนุ่มอนาคตไกล และยังได้เข้าชิง Golden Globe Award: Best Actor (Musical or Comedy) พ่ายให้กับ Michael Caine ภาพยนตร์ Educating Rita (1983)
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K Ultra HD ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ Paul Brickman และโปรดิวเซอร์ Jon Avnet เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2024 จัดจำหน่าย Blu-Ray (มีทั้งฉบับ Theatrical Version และ Director’s Cut รวมอยู่ในแผ่นเดียว) โดย Criterion Collection
(ฉบับ 4K ของค่าย Warner Bros. ยังไม่มีกำหนดจัดจำหน่าย)
สิ่งสร้างความประหลาดใจให้ผมมากที่สุดก็คือ การได้พบเห็น Tom Cruise เล่นเป็น Tom Cruise คาแรคเตอร์ที่ผู้ชมคุ้นเคย แทบไม่ต้องพยายามอะไรเลย เล่นเป็นตัวของตนเอง แค่ว่าตอนนั้นเพิ่งได้เป็นดาวดารา ต้องอีกสักพักใหญ่ๆก่อนกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ค้างฟ้า
แต่ความโดดเด่นไม่ได้มีดีแค่ Tom Cruise บทหนัง ถ้อยคำสนทนา ลีลาถ่ายภาพ ล้วนทำออกมาน่าสนใจ และโดยเฉพาะตัดต่อคู่ขนานระหว่างสองเหตุการณ์ สร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก หัวเราะหึๆ ตลกร้ายกาจ
จัดเรต 18+ กิจกรรมขายบริการทางเพศ
Leave a Reply