
Boy Meets Girl (1984)
: Leos Carax ♥♥♥♡
ผลงานแรกแจ้งเกิด Leos Carax ใฝ่ฝันอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ แต่ยังครุ่นคิดได้แค่ชื่อหนัง ก่อนถูกแฟนสาวบอกเลิกไปคบหาเพื่อนสนิท แล้วบังเอิญพบเจอเธออีกคนก็เพิ่งถูกแฟนหนุ่มทอดทิ้ง เราสองจะคบหากันได้ไหม?
Boy Meets Girl (1984) เรื่องราวเศร้าๆของคนเหงาๆ หนุ่ม-สาวต่างถูกคนรักหักอก ทรยศหักหลัง กำลังอยู่ในช่วงห่อเหี่ยวเปลี่ยวใจ โชคชะตานำพาให้เราสองพบเจอกัน มันจักสามารถก่อบังเกิดรักครั้งใหม่ คลายความซึมเศร้าโศกเสียใจได้หรือไม่?
พล็อตเรื่องอาจฟังดูน่าสนใจ แต่ลีลาการนำเสนอของผกก. Carax แม้เป็นผลงานเรื่องแรก กลับมีความจัดจ้าน ติสต์แตก! อะไรไม่รู้มากมายเต็มไปหมด พยายามผสมผสานลูกเล่นภาพยนตร์จากหลายยุคหลายสมัย ผลลัพท์เลยยังไม่ค่อยกลมกล่อมสักเท่าไหร่ ไร้เสียงของผู้สร้าง เพียงเห็นแววอนาคตสดใส
Mr. Carax is 24, but Boy Meets Girl looks like the work of a talented 18-year-old, someone who still spends more time inside the Cinémathèque Française than outside it.
In Boy Meets Girl, one recognizes a bit of Jean-Luc Godard here, something of François Truffaut there, and every now and then one hears what may be the faint, original voice of Mr. Carax trying to make himself heard around and through the images of others.
นักวิจารณ์ Vincent Canby จากนิตยสาร The New York Times
Leos Carax ชื่อจริง Alex Christophe Dupont (เกิดปี ค.ศ. 1960) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Suresnes, Hauts-de-Seine เป็นบุตรของ Joan Osserman นักวิจารณ์ภาพยนตร์ นิตยสาร International Herald Tribune จึงไม่แปลกที่จะชื่นชอบดูหนังตั้งแต่เด็ก หลงใหลคลั่งไคล้หนังเงียบของ D.W. Griffith, Lilian Gish, King Vidor ฯ งานอดิเรกคือลักเล็กขโมยน้อย บ่อยครั้งฉกแผ่นเสียงจากร้านค้าย่าน La Défense มาขายต่อให้เพื่อนๆที่โรงเรียน
I think that cinema saved me in so far as school didn’t teach me anything. Toward the end of high school, for three years, I spent ten hours a day in front of a pinball machine. And after that, films. That or a girl, that’s the only way to replace a professor. How do you discover a piece of music, a painting, a book? Through cinema, there’s no doubt about it. I had a friend who would tell me about a teacher who made him discover Barbara when he was 12. And that’s what got him out of his family.
Leos Carax
หลังเรียนจบมัธยม (หรือลาออกกลางคันก็ไม่รู้) แอบเข้าห้องเรียนคอร์สภาพยนตร์ Université Sorbonne Nouvelle นั่งเคียงข้าง Serge Daney และ Serge Toubiana (ขณะนั้นเป็นบรรณาธิการ Cahiers du Cinéma) เลยมีโอกาสเขียนบทความลงนิตยสาร Cahiers du Cinéma ไม่รู้เพราะเนื้อหาสุดโต่งไปหรือไร เลยทำงานอยู่ได้ไม่นาน
I think I made films, because film was the only thing that didn’t give me complexes. As a child, there was always this question of taste at school and everywhere: Do you like it or not? I never knew. When I saw a film, I always had the absolute certainty of its integrity or not. When you’re on your own in a dark movie theater at 16 years of age with this certainty, being alone and being certain gives you incredible strength. It helped me enormously and it still does.
เกร็ด: ชื่อในวงการ Leos Carax คือคำสลับอักษร (Anagram) ของ Alex Oscar ซึ่งสามารถอ่านว่า Le Oscar à X (แปลว่า The Oscar at X)
ต่อมาทำงานในบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์แห่งหนึ่ง เก็บหอมรอมริดนำเงินมาซื้อกล้อง Bolex 16mm ถ่ายทำหนังสั้นเรื่องแรก La Fille Rêvée แต่เกิดอุบัติเหตุไฟสป็อตไลท์ลุกไหม้ เผาทำลายฟีล์มหมดสิ้น! เลยเปลี่ยนมาสร้างหนังสั้นเรื่องใหม่ Strangulation Blues (1980) เข้าฉาย Hyères International Young Cinema Festival คว้ารางวัล Grand Prize for Short Film สร้างความประทับใจให้โปรดิวเซอร์ Alain Dahan พร้อมสนับสนุนโปรเจคภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก
Boy Meets Girl (1984) เรียกได้ว่าภาพยนตร์อัตชีวประวัติผกก. Carax สร้างตัวละคร Alex (เจ้าตัวก็ชื่อจริง Alex) นำหลายสิ่งอย่างจากชีวิตจริง ผสมผสานคลุกเคล้ากับอีกหลายสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ
Just before I went into my freshman year in high school, suddenly during the summer, I became unable to talk, or maybe I had made a decision not to talk. For four or five years, I never spoke. In my senior year, I fell in love with a girl I saw every day and I never said anything to her. Because of that, I didn’t hate school. I finished school at 16 and I decided to make movies.
Leos Carax
เรื่องราวของ Alex (รับบทโดย Denis Lavant) ในวันที่ค้นพบว่าแฟนสาว Florence คบชู้นอกใจกับเพื่อนสนิท Thomas ตกอยู่ในความหดหู่สิ้นหวัง ระหว่างก้าวเดินอย่างเรื่อยเปื่อย พบเห็นชายแปลกหน้า Bernard กำลังพูดบอกเลิกแฟนสาว Mireille (รับบทโดย Mireille Perrier) ผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์เมนท์ เลยออกติดตามฝ่ายชาย แอบเก็บบัตรเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยง แล้วแสร้งตัวว่าเป็นเพื่อน เผื่อจะมีโอกาสพบเจอเธอคนนั้น
Denis Lavant (เกิดปี ค.ศ. 1961) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Neuilly-sur-Seine, Hauts-de-Seine เมื่อตอนอายุ 13 บังเกิดความหลงใหล Marcel Marceau เข้าคอร์สฝึกฝนละครใบ้ โตขึ้นเข้าเรียนการแสดง Paris Conservatoire กับอาจารย์ Jacques Lassalle ได้ทำงานละครเวที โทรทัศน์ บทสมทบเล็กๆภาพยนตร์ Les Misérables (1982), แล้วแจ้งเกิดกับ Boy Meets Girl (1984), ผลงานเด่นๆ อาทิ Mauvais Sang (1986), Les Amants du Pont-Neuf (1991), Beau travail (1999), Holy Motors (2012) ฯ
รับบท Alex ชายหนุ่มวัยยี่สิบต้นๆ วาดฝันอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ แต่ยังไม่ทันจะเริ่มทำอะไร ถูกแฟนสาวคบชู้นอกใจกับเพื่อนสนิท ชีวิตตกอยู่ในสภาพห่อเหี่ยวสิ้นหวัง ก้าวเดินอย่างเรื่อยเปื่อยไปจนพบเห็นชายแปลกหน้ากำลังบอกเลิกแฟนสาวผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์เมนท์ เลยตัดสินใจแอบติดตาม (Stalker) ปลอมตัวเข้าไปในงานเลี้ยง หวังว่าจะมีโอกาสพบเจอ พูดคุย บางทีเราสองอาจสามารถเติมเต็มกันและกัน
We lived about 500 meters apart in Paris, we had mutual friends and went out to dinners together, and so on. But I was lucky. It was almost miraculous that I found him for my first feature (Boy Meets Girl). I was looking for this boy (Carax’s alter ego Alex) for a long time. We had to postpone the project looking for him.
Leos Carax
ตลอดทั้งเรื่องแทบไม่พบเห็น Lavant แสดงปฏิกิริยาใดๆออกทางสีหน้า รวมถึงกิริยาท่าทางนิ่งเฉย เฉื่อยชา เหมือนคนไร้ความรู้สึก แต่จู่ๆกลับระเบิดอารมณ์ใส่เพื่อนรักหักเหี่ยมโหด! พบเห็นชาย-หญิงกอดจูบต่อหน้าเลยโยนเหรียญให้ทาน, ชายแปลกหน้าบอกเลิกแฟนสาว ก็กลายเป็นสตอล์คเกอร์ (Stalker) สะกดรอยตาม ฯ … ภายนอกอาจดูตื้นเขิน แต่มันมีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนอยู่ภายใน
Lavant’s shallowness in Boy Meets Girl is internal, a product of attenuated alienation, a shallowness that has in fact a curious depth. Lavant’s depth, or shallowness, is the need to nurse solitude.
Fergus Daly & Garin Dowd จากหนังสือ Leos Carax (French Film Directors) (2003)
สิ่งชวนหลงใหลในตัว Lavant คือเป็นนักแสดงที่สามารถควบคุมทุกสิ่งอย่างในร่างกาย ไม่ใช่แค่ปฏิกิริยาสีหน้า ยังอากัปกิริยาเคลื่อนไหว (เคยฝึกฝนทั้งการเต้น และเป็นนักแสดงละคอนใบ้) ทุกท่าทางแสดงออกของตัวละครมันจึงมีรายละเอียด บางสิ่งอย่างเคลือบแอบแฝง ที่ดูนิ่งเฉยเฉื่อยชา ก็เพื่อสื่อถึงความโดดเดี่ยวเดียวดาย หลังถูกแฟนสาวทอดทิ้งก็ไม่หลงเหลืออะไร การพบเจอหญิงแปลกหน้าคนนั้นอาจช่วยกันและกันพานผ่านช่วงเวลาเลวร้าย
ด้วยความที่ผกก. Carax พัฒนาหนังขึ้นก่อนรับรู้จัก Lavant เลยยังไม่สามารถสำแดงศักยภาพแท้จริงของอีกฝ่ายออกมา ต้องติดตามผลงานถัดๆไป Mauvais Sang (1986) และ Les Amants du Pont-Neuf (1991) จะเข้าใจว่าทำไม Claire Denis ถึงเลือกชายคนนี้มาแสดงโคตรภาพยนตร์ Beau Travail (1999) … ราวกับภาคต่อทางจิตวิญญาณของ Boy Meets Girl (1984) เพราะตอนจบเรื่องนี้ Alex เดินทางไปเกณฑ์ทหาร ส่วนเรื่องนั้นเป็นสมาชิกกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศสมานานกว่าสิบปี!
Mireille Perrier (เกิดปี ค.ศ. 1959) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Blois, Loir-et-Cher โตขึ้นฝึกฝนด้านการแสดงกับ Robert Cordier & Antoine Vitez ณ Théâtre national de Chaillot เริ่มต้นจากแสดงละคอนเวที แจ้งเกิดภาพยนตร์ Boy Meets Girl (1984), ผลงานเด่นๆ อาทิ Mauvais Sang (1986), Chocolat (1988), Love Without Pity (1989), Toto the Hero (1991)
รับบท Mireille หญิงสาววาดฝันอยากเป็นนักเต้น/นางแบบ/นักแสดง แต่โอกาสยังมาไม่ถึงสักที ก่อนถูกแฟนหนุ่มบอกเลิกผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์เมนท์ จึงเริ่มครุ่นคิดอยากจะฆ่าตัวตาย การพบเจอ พูดคุยกับ Alex ไม่ได้ทำให้เธอดูมีความหวังขึ้นสักเท่าไหร่ ยังคงทำใจไม่ได้ พอหวนกลับห้องพักจึง…
น่าจะไม่แตกต่างจาก Denis Lavant ผมครุ่นคิดว่าผกก. Carax พบเจอ Perrier ระหว่างการแสดงละคอนเวที ชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์ ใบหน้าเธอ(ตอนตัดผม)ช่างละม้ายคล้าย Jean Seberg ยิ่งนัก!
แต่ทว่าความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ของ Perrier มีความลุ่มลึก ซับซ้อนกว่า(Seberg)อย่างเทียบกันไม่ติด! หลังถูกแฟนหนุ่มบอกเลิก ปฏิกิริยาสีหน้านิ่งๆของเธอทำให้ผู้ชมตกอยู่ในความห่อเหี่ยวสิ้นหวัง หัวใจแทบแตกสลาย แล้วจู่ๆลุกขึ้นมาซักซ้อมเต้นแท็ป (Tab Dance) ระบายความอัดอั้นตันใจ
ผกก. Carax พยายามนำเสนอตัวละคร Mireille ให้มีความละม้ายคล้าย แต่แตกต่างตรงกันข้ามกับ Alex, ทั้งสองตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน คือถูกคนรักทรยศหักหลัง สภาพจิตใจห่อเหี่ยว เปล่าเปลี่ยว ไม่อยากอยู่ตัวคนเดียว ขณะที่ฝ่ายชายก้าวเดินอย่างเรื่อยเปื่อย แล้วพยายามมองหาโอกาสเริ่มต้นรักครั้งใหม่, หญิงสาวกลับกักขังตนเองอยู่ในห้อง ยังมิอาจทำใจกับการสูญเสีย
การตัดผมสั้นที่ควรเป็นสัญญะตัดขาดอดีต/เริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ทว่าระหว่างสนทนากับ Alex เธอสวมใส่ผ้าคลุมศีรษะราวกับแม่ชี แสดงสีหน้านิ่งเฉย ไร้อารมณ์ ราวกับจะปลงสังเวชชีวิต ไม่ให้โอกาส ไม่ตอบรับคำสารภาพรักของเขา และเมื่อหวนกลับอพาร์ทเม้นท์ก็ยังคงครุ่นคิดอยากจะฆ่าตัวตาย … เรื่องพรรค์นี้ ผู้ชายใช้เวลาไม่นานก็สามารถตัดใจจากอดีตคนรัก แต่สำหรับผู้หญิงกลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด!
ถ่ายภาพโดย Jean-Yves Escoffier (1950-2003) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Lyon ฝึกฝนการถ่ายภาพยัง École nationale supérieure Louis-Lumière (ENS Louis-Lumière) เคยทำงานผู้ช่วยตากล้องสารคดี Shoah (1985), ได้รับเครดิตภาพยนตร์เรื่องแรก Simone Barbès ou la vertu (1980), ผลงานเด่นๆ อาทิ Boy Meets Girl (1984), Mauvais sang (1986), The Lovers on the Bridge (1991), Good Will Hunting (1997) ฯ
งานภาพของหนังตื่นตระการตาด้วยสารพัดลูกเล่นและเทคนิคภาพยนตร์ รับอิทธิพลจากยุคสมัยเก่าๆตั้งแต่หนังเงียบ, German Expressionism, Hollywood Musical & Classical, French New Wave (โดยเฉพาะ Jean-Luc Godard), New German Cinema ฯ นำมาผสมผสานคลุกเคล้า เพื่อค้นหาเรื่องราวของตัวผู้สร้าง
การเลือกภาพถ่ายขาว-ดำ ยุคสมัยนั้นไม่ใช่ว่ามันราคาถูกกว่าฟีล์มสี (ฟีล์มขาว-ดำ มันตกยุคไปหลายปี เมื่อไม่มีคนใช้ราคาจึงสูงขึ้น น่าจะพอๆกับฟีล์มสีเสียด้วยซ้ำ) แต่ต้องการสร้างบรรยากาศราวกับวันสิ้นโลก คนรักบอกเลิก สภาพจิตใจซึมเศร้าหดหู่ ไม่อยากมีชีวิตอยู่สักเท่าไหร่ ตัวละครก้าวเดินอย่างเอื่อยเฉื่อย วันเวลาดำเนินไปอย่างเชื่องชักช้า
หลังจากรับชมผลงานอื่นๆของผกก. Carax ผมพอมองเห็นทิศทาง สไตล์ลายเซ็นต์ ตระหนักว่า Boy Meets Girl (1984) ยังเป็นการลองผิดลองถูก พยายามใช้ลูกเล่นภาพยนตร์ถ่ายทอดอารมณ์รุนแรง (Raw Emotion) มันเลยมีความดิบ สันชาตญาณ สัตว์ร้ายยังไม่ผ่านการฝึกฝน นักเรียนภาพยนตร์ยังไม่เรียนรู้จักโลกกว้าง … ผลงานถัดๆไปของผกก. Carax จะมีความอ่อนโยนในการใช้ลูกเล่นภาพยนตร์ แต่ทว่าแรงกระตุ้น (Impulse) ทางอารมณ์จะคลุ้มคลั่งขึ้นกว่าเก่า
หลังจาก Opening Credit จะมีการเพ้อรำพัน ด้วยการลากเสียง (ราวกับจะขาดใจตาย) พรรณาความรู้สึกหลังถูกทอดทิ้ง มันช่างโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว กาลเวลาเคลื่อนพานผ่านไปอย่างเชื่องช้า หัวใจหนักอึ้ง เศร้าโศกเสียใจ ไม่รู้เมื่อไหร่จักสามารถทำใจ
Here… we are… still… alone… It is all so slow… so heavy… so sad… Soon… I… will be… old… and… it will… at last… be over…
ส่วนภาพที่ปรากฎขึ้น เริ่มต้นจากแสงไฟที่ลอดผ่านประตูห้องได้ดับลง ถ้ายึดตามเสียงบรรยายย่อมต้องสื่อถึงความสัมพันธ์ชาย-หญิงได้สิ้นสุดลง แต่ดาวเรืองแสงบนผนังยังคงส่องสว่าง อาจจะสื่อถึงความฝัน/ความทรงจำระหว่างเราสองย่อมไม่มีวันจางหายไป
ภาพถัดมาคือชายคนหนึ่ง (ฉากถัดมาจะทราบว่าคือ Thomas เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดของ Alex) ถือลูกประคำ สิ่งที่ใช้สำหรับทำสมาธิ สงบจิตสงบใจต่อการเลิกรา เหมือนเป็นการบอกใบ้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์/จิตวิทยาตัวละครหลังการเลิกราหย่าร้าง
ภาพสุดท้ายตั้งกล้องบนเรือที่กำลังแล่นอยู่ในแม่น้ำ เริ่มถ่ายภาพพื้นผิวน้ำ → ค่อยๆเลื่อนขึ้น (Tilt Up) เห็นเรือสำราญเคลื่อนผ่าน → ก่อนแหงนมองท้องฟ้ายามค่ำคืนไร้แสงดาว, ผมตีความถึงการพลิกฟื้น จากผืนน้ำสู่ฟากฟ้า ชีวิตภายหลังการเลิกราที่จะค่อยๆยินยอมรับ ปรับตัว แต่ทว่าท้องฟ้ากลับมืดมิดไร้แสงดาว บอกใบ้ถึงโศกนาฎกรรมตอนจบ

มารดาขับรถพร้อมกับโอบอุ้มบุตรสาว แต่ความแปลกพิศดารคือกระจกหน้าที่แตกเป็นรูจากอุปกรณ์เล่นสกี นี่มันต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น? … ต่อจากเสียงพรรณาการถูกทอดทิ้งก่อนหน้า ย่อมคาดเดาไม่ยากว่าเธอคนนี้ต้องกำลังมีปัญหากับสามี! ซึ่งถ้าใครฟังเนื้อเพลงภาษาฝรั่งเศสออก ก็น่าจะพอคาดเดาได้โดยทันที

ครั้งแรกของ Boy Meets Girl หญิงสาวคนที่ขับรถ หลังหยุดจอดตรงริมแม่น้ำ ก้าวเดินมาพบเจอชายถือลูกประคำ สอบถามวันเวลาขณะนี้ แต่นี่เป็นการส่งไม้ผลัดดำเนินเรื่อง สิ้นสุดการอารัมบทของเธอ กำลังจะเข้าสู่เหตุการณ์หลักของหนัง
และระหว่างเธอเดินกลับไปที่รถ มีการปรากฎภาพซ้อนใบหน้าชายคนหนึ่ง มันคือการหวนระลึกนึกถึงสามี/ชายคนรัก ที่เธอตัดสินใจทอดทิ้ง หย่าร้าง เข้ามาสอบถามเพื่อจดจำวันเวลา หมุดไมล์ของชีวิต


การมาถึงของ Alex เริ่มต้นจากก้าวลงบันได (สื่อถึงสิ้นสุดความสัมพันธ์กับแฟนสาว) ข้ามถนนรถราขวักไขว่ (จริงๆถ้าไม่หันมองรถ มันจะอารมณ์เดียวกับ Jeanne Moreau จากภาพยนตร์ Elevator to the Gallows (1958)) แล้วมาเดินเคียงข้างเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด Thomas พูดอธิบายโน่นนี่นั่น ใบหน้านิ่งๆ แต่พอถึงจุดๆหนึ่งก็มิอาจควบคุมตนเองอีกต่อไป

หลังจาก Alex มิอาจควบคุมตนเอง เกิดการชกต่อย แลกหมัดกับ Thomas ทีแรกนึกว่าจะจากไปแล้ว จู่ๆวิ่งกลับมาผลักอีกฝ่ายตกน้ำ มันช่างละม้ายคล้ายหญิงหม้ายก่อนหน้านี้ที่เพิ่งเลิกราสามี ทำการโยนสิ่งข้าวของทิ้งลงน้ำ ซึ่งมันกำลังล่องลอยผ่านมา พอดิบพอดี!
และพอ Alex ออกวิ่งหนี ยังมีการปรากฎภาพซ้อนใบหน้าหญิงคนหนึ่ง (ย่อมต้องคือ Florence) ความหมายเดียวกับก่อนหน้านี้ หวนระลึกนึกถึงเธอคนรัก ที่เขาตัดใจเลิกราขาดกัน


จบจากการอารัมบทเรื่องราวของ Alex ก็เปลี่ยนมาฟากฝั่ง Mireille กำลังนั่งขัดสมาธิอยู่ในอพาร์ทเม้นท์ กล้องจับภาพเธอและเขานั่งนิ่งเฉยๆ (ฟากฝั่งเธอถ่ายติดภายนอกห้อง, ฟากฝั่งเขาถ่ายติดภายในห้อง) ไม่มีขยับเคลื่อนไหวอยู่เกือบนาที มันเนิ่นนานเกินไปไหม? ทำให้ผู้ชมเริ่มรู้สึกอึดอัด แต่นั่นสะท้อนเข้ากับความสัมพันธ์ของทั้งคู่ บรรยากาศมาคุกรุ่น กำลังจะบอกเลิกราในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า


หลังเขาก้าวออกจากอพาร์ทเม้นท์ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง หญิงสาวก็ลุกขึ้นมาเปิดเพลง Holiday in Cambodia แนว Hardcore Punk แล้วปลดปล่อยตนเองด้วยการโยกหมุนศีรษะอย่างคลุ้มคลั่ง! นี่ก็ชัดเจนว่าเธอไม่มีความสุขกับชีวิตคู่ เฝ้ารอคอยที่จะแยกจากกัน

ความตลกร้ายคือเมื่อหญิงสาวคุยโทรศัพท์กับแฟนหนุ่ม (ผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์ทเม้นท์) พอถูกบอกเลิกเธอกลับสำแดงสีหน้าเศร้าๆ ดูราวกับทำใจไม่ได้ (แถมเคยพยายามจะฆ่าตัวตายหลายครั้ง) มันช่างตรงกันข้ามกับภาพถ่ายที่นั่งคุยโทรศัพท์คล้ายๆกัน แต่มีความร่าเริงสดใส (ภาพถ่ายแบบมันต้องออกมาสวยเซ็กซี่สินะ!)
ทางฟากฝั่ง Bernard ดูจะไม่ได้สนใจ Alex ที่บังเอิญมายืนจับจ้องมองอยู่ด้านหลัง แต่สิ่งน่าสนใจคือขณะพูดบอกความรู้สึกต่อแฟนสาวผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์ทเม้นท์ จู่ๆไฟทางเดินมืดดับ ซึ่งสามารถสื่อถึงความรักที่สิ้นสุดลง


Alex ติดตาม Bernard มายังคาเฟ่แห่งหนึ่ง ทำบัตรเชิญตกหล่นพื้น เขาจึงก้าวเข้ามาเหยียบ ชนกับหญิงสาวรูปร่างสูงใหญ่ เลยพูดแก้ต่างผมจ่ายค่ากาแฟให้ไหม? เธอตอบตกลงก่อนเดินจากไป … มันไม่ใช่ว่าควรมีอะไรมากกว่านี้หรอกฤา? ชวนคุย ขอเบอร์ หรือตอบปฏิเสธก็ยังดี เพียงนิ่งเงียบ แล้วจากไป แค่นั้น?
ผมรู้สึกว่าผกก. Carax ต้องการนำเสนอปมด้อยเรื่องความสูง เพราะตัวเขาเตี้ยพอๆกับ Denis Lavant จึงมักถูกมองข้ามจากสาวๆยุโรปที่ตัวสูงใหญ่ ขณะนี้ที่แม้ตัวละครไม่ได้คิดจะขายขนมจีบ แต่ปฏิกิริยาตอบกลับหลังเขาอาสาเลี้ยงกาแฟ คือเดินหนี จากไป บอกโดยอ้อมว่านายไม่ใช่สเปคฉัน เราสูง-ต่ำต่างกันเกินไป

คนที่ดูหนังมาเยอะย่อมต้องสังเกตออกโดยพลัน อพาร์ทเม้นท์ของ Alex มีการออกแบบให้ละม้ายคล้ายสถาปัตยกรรม German Expressionism พบเห็นเหลี่ยมมุม องศาบิดๆเบี้ยวๆ สิ่งข้าวของวางกระจัดกระจาย หน้าต่างราวกับกรงขัง เพื่อสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายใน สภาพจิตใจตัวละคร Expressionism ออกมาให้เป็นรูปธรรม
มันมีหลายสิ่งอย่างที่ Alex ทำในห้องแห่งนี้ ผมขอตัวอย่างแค่คร่าวๆก็แล้วกัน
- ด้านหลังภาพวาด จดบันทึกสถานที่และวันเวลา (Space & Time) เหตุการณ์สำคัญๆในชีวิต
- เปลี่ยนเสื้อผ้า รดน้ำต้นไม้ = เริ่มต้นชีวิตใหม่
- เปิดตู้เย็นเพื่อโอบรับไอเย็น ดับความลุ่มร้อนภายใน
- แต่ทว่าเสียงพูดคุยโหวกเหวกจากเพื่อนห้องข้างๆ ทำให้เขาไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร


เมื่อตอน Alex ออกจากอพาร์ทเม้นท์ พบเห็นห้องข้างๆที่ส่งเสียงดัง กำลังมีปากเสียงทะเลาะวิวาท (นี่ก็อีกเรื่องราวการเลิกราหย่าร้าง) มีการเขวี้ยงขว้างเครื่องเล่นเทป นี่ก็อีกสัญญะบนลงล่าง จากเคยรักกันบนสรวงสวรรค์ พอเลิกราก็หวนกลับสู่โลกความจริง/ภาคพื้นดิน ชีวิตสาละวันเตี้ยลง

ระหว่างที่ Alex ก้าวเดินเรื่อยเปื่อยริมแม่น้ำ มาหยุดอยู่ยังคู่รักหนุ่ม-สาว กำลังกอดจูบ โลกหมุนรอบตัวฉัน สร้างความอิจฉาริษยาเลยโปรยทาน โยนเศษเงิน (ให้ไปเปิดห้องโรงแรม) มันเป็นการแดกดัน ประชดประชันอย่างมีสไตล์ … จงใจเลือกมุมกล้องที่ถ่ายติดโคมไฟสองด้วยด้วยนะ!
ตลอดทั้งซีเควนซ์ที่ Alex ก้าวเดินริมน้ำ เคลิบเคลิ้มบทเพลงของ David Bowie มีการตัดสลับกลับไปกลับมากับ Mireille ลุกขึ้นมาเต้นแท็บ (Tab Dance) นอกจากเคารพคารวะยุคสมัย Hollywood Musical ยังสามารถตีความได้สองแง่สองง่าม
- บางคนมองว่าเป็นการแสดงความรื่นเริง ยินดีปรีดาที่เลิกราคนรัก
- บางคนมองว่าเป็นการระบายอารมณ์อัดอั้น เพื่อให้คลายความซึมเศร้าโศกเสียใจ


มันจะมีขณะหนึ่ง Alex ก้าวสู่ความมืด เดินหลับตา ยื่นมือทั้งสองข้าวไปเบื้องหน้า เหมือนพยายามขวนขวายไขว่คว้าอะไรบางอย่าง จากนั้นมีการ ‘cross-cutting’ พบเห็นภาพซ้อนเท้าของ Mireille กำลังโยกเต้นเริงระบำ บนพื้นที่มีลวดลายจุดเล็กๆเหมือนดวงดาวบนท้องฟ้า … อ่านความต่อเนื่องของซีนนี้ออกไหมเอ่ย? สิ่งที่ Alex ขวนขวายไขว่คว้า ก็คือ Mireille ที่อยู่ในความฝัน ต้องการหวนกลับสู่สรวงสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง

ระหว่างกำลังวิ่งหนีออกจากร้านขายแผ่นเสียง ในจอโทรทัศน์ฉายภาพการแข่งขันเทนนิส นักกีฬากำลังจะเสิร์ฟลูก ซึ่งพอ Alex วิ่งไปทางซ้ายมือของภาพ จู่ๆเกิดการกระตุก ‘Jump Cut’ ชั่วแวบหนึ่ง แล้วเขาวิ่งวกกลับมาทางขวา (เหมือนการแข่งขันเทนนิสที่นักกีฬาวิ่งไปซ้ายที ขวาที) สร้างความสับสนให้เจ้าของร้านที่ติดตามออกมา เอาแต่จับจ้องมองหาแค่ฟากฝั่งซ้าย ไม่รับรู้ว่าไอ้หัวขโมยหนีหายไปทางขวา
เกร็ด: Barbara ชื่อจริง Monique Andrée Serf (1930-97) นักร้อง/นักแสดง สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มต้นจากแสดงคาบาเร่ต์ ก่อนโด่งดังเมื่อผันตัวเป็นนักร้องในช่วงทศวรรษ 60s ว่ากันว่าเคยขายแผ่นเสียงล้านก็อปปี้ภายในสิบสองชั่วโมง!


Alex นำเอาจดหมายบอกเลิกพร้อมแผ่นเสียง(ที่ลักขโมยมา)มาส่งมอบให้อดีตคนรัก Florence ตั้งแต่ขึ้นลิฟท์ (นี่ก็ละเล่นกับตำแหน่งบน-ล่าง ดำเนินสู่สรวงสวรรค์ของเธอ) ก้าวเดินผ่านโถงทางเดิน (ดูเลื่อนลอย ว่างเปล่า เหินห่าง แสนไกล) จะได้ยินเสียงเธอพร่ำพรอดร่วมรักกับแฟนคนใหม่ เราอาจมองว่ามันคือความครุ่นคิดจินตนาการ(ของ Alex) หรือสิ่งที่เขาได้ยินจริงๆก็ได้
ปล. ผมเองก็เคยเป็นตอนอกหัก มักเต็มไปด้วยความครุ่นคิดถึงอดีตคนรักในแง่ร้ายๆ จินตนาการว่าเธอกำลังระริกระรี้กับแฟนใหม่ ทำในสิ่งที่ตนเองไม่เคยทำ ยิ่งคิดยิ่งคลุ้มคลั่ง อึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานใจ


หนึ่งในซีเควนซ์ที่ผมมองว่ามันไม่เวิร์คเอาเสียเลย หลังจาก Alex ทิ้งจดหมาย+แผ่นเสียง จึงออกเดินทางสู่งานเลี้ยงโดยรถไฟใต้ดิน แต่วิธีการนำเสนอจู่ๆนำเอาใครก็ไม่รู้มากระโดดม้วนตัวข้ามทางเข้า (ล้อกับภาพวาดนก กระโดดข้ามด่านเก็บเงิน = เป็นอิสระจากคนรักเก่า) แล้วพอเด็กชายจะทำตามบ้าง ก็มีพนักงานออกมาพูดว่า โกง! … อิหยังว่ะ??
ผมพอจะคาดเดาเหตุผลการใช้คำว่า Cheat! ต้องการจะสื่อถึง Florence ที่แอบคบชู้นอกใจ (Cheat ไม่ได้แค่แปลว่าโกง แต่ยังหมายถึงคบชู้นอกใจคนรัก) แต่ทว่าผู้โชคร้ายกลับคือเด็กชาย ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร ถูกกล่าวหาว่าโกง ก่อนเข้ามาพร่ำบ่น(บนขบวนรถไฟ)ไม่เป็นภาษากับ Alex


หนึ่งในประโยคที่เด็กชายพร่ำบ่น “My feet were growing… So was my soul…” เป็นการสะท้อนความรู้สึกของ Alex หลังเลิกราแฟนเก่า ครุ่นคิดว่าตนเองเติบโตขึ้น หัวใจใหญ่ขึ้น ตรงกันข้ามกับ …
ตัดไปภาพ Bernard กลับออกจากงานเลี้ยง คงทำการตัดขาด บอกเลิกราแฟนสาว แล้วเดินข้ามถนนมาหน้าร้านขายยางรถยนต์ ทำหน้าตาบิดๆเบี้ยวๆ แล้วจู่ๆหุ่นมิชลินตัวนั้นถูกปล่อยลม แฟบลง จิตวิญญาณเล็กลีบลง?


ในงานเลี้ยงมีบรรยากาศคล้ายหนังนัวร์ (ในยุคสมัย Hollywood Classical) แขกเหรื่อต่างยืนแน่นิ่ง มักไม่ค่อยขยับเคลื่อนไหวติง (ชวนนึกถึงผลงานของ Rainer Werner Fassbinder) Alex นั่งแทรกกลางระหว่างชายใบ้ ใช้ภาษามือพร่ำเพ้อถึงยุคสมัยหนังเงียบ ลุกมารับฟังการบรรเลงเปียโน (ชวนนึกถึงภาพยนตร์ Casablanca (1942)) เดินไปสนทนากับนักบินอวกาศ(ยืนอยู่เคียงข้างอดีต Miss Universe)ที่เคยย่ำเหยียบดวงจันทร์ (ถ่ายติดภาพดวงจันทร์ด้วยนะ) และคำพร่ำบ่นของมนุษย์เวลา “I’ve accomplished so little in my life.”
จะว่าไปบุคคลทั้งหลายที่ได้รับการแนะนำตัว มักเป็นบุคคลเคยผ่านช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ปัจจุบันสาละวันเตี้ยลง จมอยู่ในความทุกข์โศก ซึ่งสอดคล้องเข้ากับตีมงานเลี้ยงที่เป็นการระลึกถึงครบรอบวันตายของพี่ชายผู้จัดงาน
- ชายใบ้พร่ำเพ้อถึงยุคสมัยหนังเงียบที่สิ้นสุดลง
- นักเปียโนแต่งเพลงให้หญิงสาวที่ไม่ได้มีความสนใจในตัวเขา
- Miss Universe ครุ่นคิดถึงช่วงเวลาที่เคยชนะการประกวด
- C’est la vie แปลว่า That’s Life!
- นักบินอวกาศดูโหยหาดวงจันทร์ที่เคยไปย่ำเหยียบ
- จะว่าไปดวงจันทร์กับโลกมนุษย์ สอดคล้องนัยยะบน-ล่าง สรวงสวรรค์-พื้นดิน
- มนุษย์เวลา(ที่ให้เสียงสัญญาณเวลา)พร่ำบ่นว่าชีวิตไม่เคยทำอะไรประสบความสำเร็จไปมากกว่าตอนนั้น





I wanted to put every age in the film. The youngest actor must be four months old and the oldest must be eighty-five. The idea of the film is that the main character experiences an illusion of déjà vu. The ages are a little bit like the sexes. It’s said that we’re kind of half-half male-female. I think we have all the ages inside us at every moment. I remember that when I was nine, on my birthday, I was sitting on the stairs in pajamas and I had the distinct impression of being fifty years old. To this day, I sometimes still find myself like an infant and other times it seems terribly hard for me to get up, as if I were a bedridden invalid.
Leos Carax
ในขณะที่แขกเหรื่อภายนอกต่างเต็มไปด้วยผู้สูงวัย อยู่กันในห้องมืดๆ, ตรงกันข้ามกับเด็กๆทารกน้อยเหล่านี้ (ก็น่าจะลูกๆของบรรดาแขกเหรื่อเหล่านั้น) อยู่ในห้องสว่างๆกับพี่เลี้ยง … เหตุผลของฉากนี้เพียงแค่สองสิ่งตรงกันข้าม เติมเต็มกันและกันเท่านั้นเอง!

เปิดโทรทัศน์ครั้งแรกเป็นรายการสำหรับเด็ก นักแสดงสวมใส่ชุดหมีกล่อมเด็กๆและทารกน้อยเข้านอนฝันดี, แต่พอ Alex กดไปกดมา จู่ๆฉายภาพหญิงสูงวัย (น่าจะเธอที่เป็นผู้จัดงานเลี้ยง) กำลังถ่ายภาพตนเองในกระจกซ้อนกระจก ประเดี๋ยวสวมใส่วิก ประเดี๋ยวศีรษะล้าน สีหน้าท่าทางราวกับคนบ้า แสดงอาการคลุ้มคลั่งออกมา ประหนึ่งฝันร้ายก็ไม่ปาน … จากเด็กน้อยบริสุทธิ์ → ประหนึ่งคนบ้า
การถ่ายภาพตนเองในกระจก นี่ก็เคลือบแฝงนัยยะถึงการเป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติ Boy Meets Girl (1984) นำเสนอเรื่องราวที่ผสมผสานประสบการณ์จากชีวิตจริง กระจกสะท้อนตัวตนเองของผกก. Carax


ภาพฉายเธอผู้คลุ้มคลั่งในจอโทรทัศน์เมื่อครู่ (ถือเป็นวีดีโอส่วนตัวก็ได้กระมัง) คงต้องการเชื่อมโยงกับการแอบถ้ำดู (Peeping) ของ Alex เปิดประตูห้องน้ำพบเห็น Mireille พยายามจะใช้กรรไกรกรีดแขนฆ่าตัวตาย แถมหนังยังถ่ายสองช็อตจากฟากฝั่งซ้ายและฟากฝั่งขวา, ขณะเปิดออกและกำลังปิด(ประตู), ตั้งใจ(จะฆ่าตัวตาย)แล้วล้มเลิก(ไม่ฆ่าตัวตาย), ก่อนเปลี่ยนมาตัดผมสั้นแก้เขินอาย สัญญะของการตัดทิ้งอดีตให้สิ้นสุดลง (แต่มันจะคือการตัดอนาคตด้วยเช่นกัน)


นี่เป็นภาพที่มีหลายสิ่งอย่างดูผิดแผกแปลกประหลาด
- ไม่ใช่ว่านี่คืองานเลี้ยงระลึกถึงการจากไปของพี่ชาย แต่ไฉนกลับมีเค้กวันเกิด มันช่างย้อนแย้งกันสิ้นเชิง!
- เกิด-ตาย สองสิ่งขั้วตรงข้าม
- ตู้เลี้ยงปลาในห้องครัว สำหรับนำมาทำซาชิมิหรือไร? แต่เราสามารถตีความถึงสภาพจิตใจของเธอผู้จัดงานเลี้ยงหลังสูญเสียพี่ชาย ต่ำกว่าพื้นดินก็คือใต้ท้องทะเลลึก
- แก้วน้ำชาส่วนตัว(ของเธอผู้จัดงานเลี้ยง) พี่ชายซื้อมาฝากจากอิตาลี แต่มีร่องรอยแตกร้าว บอกให้ระแวดระวัง แต่มันคือการปักธง Death Flag

ระหว่างการพูดสนทนาของ Alex และ Mireille มีขณะหนึ่งที่เธอสวมใส่ผ้าคลุมศีรษะ ดูราวกับแม่พระ(มารีย์) ละทอดทิ้งทางโลก ตัดขาดทุกสิ่งอย่าง เป็นการพยายามสำแดงความเพิกเฉย เฉื่อยชา อยากจะออกไปภายนอกเต็มทน … จะว่าไปพื้นผนังด้านหลัง จุดดำๆดูเหมือนดาวดารา สนทนากันท่ามกลางหมู่ดาว?

แต่ทว่า Mireille ก็ยินยอมทนฟังการพร่ำพูดเรื่อยเปื่อยของ Alex จนกระทั่ง ‘Time Skip’ ถึงเวลาเที่ยงคืน มีการปิดไฟ เธอผู้จัดงานเลี้ยงแวะมาขับไล่ให้กลับบ้าน … แต่พวกเขาก็ยังไม่ไปไหน พูดคุยกันต่อหลังเที่ยงคืน สลับเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายหญิงจ้อบ้าง
แซว: เมื่อตอน Alex เป็นฝ่ายพร่ำพูดเรื่อยเปื่อย ทั้งสองนั่งอยู่เคียงข้าง เสมอภาคเท่าเทียม แต่หลังเที่ยงคือสลับมาฟากฝั่ง Mireille มีการเปลี่ยนมุมกล้อง ปรับโฟกัสให้ภาพด้านหลังดูเบลอๆ ไม่เห็นเขาอยู่ในสายตา


มันช่างเป็นความจงใจที่เป๊ะมากๆ ตอนที่ Alex พูดประโยค “Sitting beside you like this… is like eternity.” พอพูดจบก็ไฟมืดดับ ปกคลุมด้วยความมืดมิด ราวกับจะสื่อว่านั่นคือ “Eternity” เสียอย่างนั้น!

สำหรับวินาทีที่ Alex พูดคำสารภาพรัก “I love you, Mireille, more than everything.” บังเอิ้ญปัดแก้วน้ำชา ของรักของหวงที่ผู้จัดงานเลี้ยงเตือนให้ระวังหนักหนา ตกหล่นลงพื้น แตกเป็นออกเป็นสองชิ้น (พื้นก็มีลวดลายขาว-ดำ) การตีความแบบคลาสสิกก็คือเธอปฏิเสธรับรัก ความสัมพันธ์ที่เป็นไปไม่ได้ แต่หญิงสาวกลับสงบนิ่งเฉย ไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆออกมา

พอสารภาพรัก Alex ก็พยายามพูดกรอกหู ล้างสมอง โน้มน้าวจิตใจ Mireille ถ้าเธอยินยอมให้ฉัน เราสองจักสามารถเติมเต็มความต้องการของกันและกัน สังเกตว่าถ่ายภาพระยะใกล้มากๆ (Extreme Close-Up) ดวงตาฝ่ายหญิงระดับเดียวกับริมฝีปากฝ่ายชาย แล้วกล้องเคลื่อนหมุนจากด้านข้างมาเป็นเบื้องหน้า ดวงตาฝ่ายชายอยู่เหนือศีรษะฝ่ายหญิง … มันช่างละม้ายคล้ายการ Gaslighting ยิ่งนัก!

สีหน้าของ Mireille (ระหว่างรับฟังถ้อยคำกรอกตาของ Alex) อาจไม่ได้แสดงปฏิกิริยาใดๆออกมา แต่ภาษาภาพยนตร์มีแสงสว่างปรากฎขึ้นแวบหนึ่ง รวมถึงตอนเลื่อนตาลงมีการกระโดด (Jump Cut) ดูราวกับว่ามันมีบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นภายใน???

แต่แท้จริงแล้วมันไม่เหตุการณ์ห่าเหวอะไรบังเกิดขึ้นทั้งนั้น! ทุกสิ่งอย่างตั้งแต่หลังเที่ยงคืนล้วนคือภาพความฝัน(เปียก)ของ Alex สังเกตจาก Mireille ที่จู่ๆสวมใส่ผ้าคลุมศีรษะ แสดงท่าทางราวกับไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น และเขากำลังนั่งหลับอยู่ด้านหลังรถโดยสาร … จริงๆเราจะมองหนังแบบปกติก็ได้ แต่ที่ผมตีความแบบนี้เพราะครุ่นคิดว่าคนอย่าง Alex (และผกก. Carax) ไม่น่าจะมีความหาญกล้าจุดตะเกียง (Gaslighting) เรื่องพรรค์นี้จึงเกิดขึ้นได้แค่ในความฝัน/โลกภาพยนตร์เท่านั้น ซึ่งแสงไฟติดๆดับๆ ภาพกระโดดไปมา ก็เพราะท้องถนนมันไม่เรียบ และแสงไฟจากข้างทาง/รถสวนมาสาดส่องเข้าใบหน้า
และอีกสิ่งหนึ่งน่าสนใจของซีนนี้คือ Bernard ยืนอยู่ในรถโดยสารคันหลัง นี่ไม่น่าจะใช่ความบังเอิญอย่างแน่นอน คงกำลังแอบติดตาม Mireille แต่จะมาขอคืนดีหรืออย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกัน

สิ่งที่ยืนกรานความเชื่อของผมว่าเหตุการณ์หลังเที่ยงคืนคือความฝัน คือฉากถัดมาที่ Alex ไร้ความอดรนทน ไม่สามารถอั้นปัสสาวะ หรือรอไฟออกก่อนถึงเข้าห้องน้ำ เพื่อจะได้ไปส่ง Mireille แต่เขากลับแวะเข้าร้านคาเฟ่ เล่นเกมพินบอล จนหลงลืมทุกสิ่งอย่าง! … มันอาจว่าหลงลืม แต่คือปอดแหก ไร้ความหาญกล้าที่จะพูดบอกความใน นับประสาอะไรกับการ Gastlight ไม่มีทาง!
ฉากนี้ชวนให้ผมนึกถึงช่วงท้ายของ Pierrot le Fou (1965) ที่ตัวละครของ Jean-Paul Belmondo ขึ้นเรือไม่ทัน เลยมานั่งหยอง คุยกับชายแปลกหน้าถึงท่วงทำนองเพลงที่ติดค้างคาอยู่ในหัวสมอง … การแวะมาเล่นพินบอลของ Alex ไม่ใช่แค่นัยยะชีวิตล่องลอง เคว้งคว้าง สุญญากาศ (เหมือนการเล่นพินบอล) แต่คือคำพร่ำเพ้อรำพันของชายสูงวัย “I’ve had it. Never again! It’s over.” ฟังดูเป็นถ้อยคำน่าจะออกมาจากปาก Alex เสียมากกว่า!
และที่ผมขำกร๊าก เครื่องพินบอลนี้ชื่อเกมว่า Black Hole หลุมดำที่กลืนกินทุกสรรพสิ่งอย่าง ไม่มีทางดิ้นหลบหนี เป็นเกมที่เล่นยังไงก็พ่ายแพ้ (พินบอลเป็นเกมที่ไม่มีจุดจบ เล่นไปเรื่อยๆจนกว่าจะพ่ายแพ้/ลูกพินหล่นลงตรงกลาง) “Try again, Earthling!”

พอเลิกเล่นพินบอล กลับมาสถานี ปรากฎว่ารถไฟจากไปแล้ว เดินเข้าตู้โทรศัพท์ที่แตกร้าว (หัวใจแตกสลาย?) แม้แอบจดเบอร์เอาไว้ตอนงานเลี้ยง แต่ก่อนโทรหาต้องเขียนว่าจะพูดอะไร นี่เช่นกันแสดงความเหนียงอาย ปอดแหก ไร้น้ำยาของ Alex … เตรียมการอย่างดีแต่เธอกลับไม่รับโทรศัพท์


หลังไม่รับโทรศัพท์ Alex รีบออกวิ่ง ครุ่นคิดว่ามันอาจมีเหตุด่วนเหตุร้าย พอมาถึงหน้าห้อง พบเห็นน้ำไหลเจิ่งนองออกมา หรือว่า??? จึงรีบเปิดประตูเข้าไป … นี่เป็นลีลาการ ‘mis-direction’ ล่อหลอกว่า Mireille เหมือนพยายามจะฆ่าตัวตาย ซึ่งพอ Alex เข้าไปในห้อง เห็นเธอหน้าหน้าต่าง รีบวิ่งเข้าไปโอบกอดจากด้านหลัง

แต่แท้จริงแล้ว Mireille เป็นผู้หญิงที่มีความขัดแย้งในตนเอง ปากบอกเลิกรักกลับยังคงครุ่นคิดถึง ทำเป็นดีใจที่เลิกรากลับพยายามฆ่าตัวตาย เปิดน้ำทิ้งไว้จนเอ่อล้นกลับจะกรีดแขนตอนนั่งอยู่ภายนอก ฯ หนังเลยจงใจฉายให้เห็นก่อนว่าเธอทิ้งตัวลงจบชีวิต ก่อนฉายภาพในอีกทิศทางว่าไม่ได้จะทำอะไร เพียงการมาถึงของ Alex นำพาความโชคร้ายที่คาดไม่ถึง
กระจกบานใหญ่ในอพาร์ทเม้นท์ของ Mireille ทำให้สถานที่แห่งนี้ดูราวกับโรงละคอนสองด้าน!
- ถ้ามองจากภายในอพาร์ทเม้นท์ออกไป ดูราวกับว่ากำลังรับชมชาย-หญิงกำลังพรอดรัก เหม่อมองดาวดาราบนท้องฟากฟ้า
- แต่ถ้ามองย้อนจากภายนอกกลับเข้ามา (จากห้องของคู่รัก) เหตการณ์ในอพาร์ทเมนท์แห่งนี้จะมีทิศทางตรงกันข้าม คือการพลัดพราก แยกจาก ความตาย ชาย-หญิงทิ้งตัวลงนอนสิ้นใจ (ตายทางกาย & ตายทางใจ)


ตัดต่อโดย Nelly Meunier & Francine Sandberg (News from Home),
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Alex (บางครั้งก็ Mireille) ตั้งแต่ค้นพบว่าแฟนสาวนอกใจกับเพื่อนสนิท จากนั้นแอบติดตาม (Stalker) ชายแปลกหน้าที่พูดบอกเลิกแฟนสาวผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์เมนท์ แล้วปลอมตัวเข้างานเลี้ยงเพื่อหาโอกาสสารภาพรักกับเธอ
- ค่ำคืนแห่งการอกหัก
- หญิงคนหนึ่งขับรถมาพร้อมบุตรสาว โทรศัพท์บอกเลิกสามี ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างลงแม่น้ำ
- Alex รับรู้ว่าแฟนสาวนอกใจกับเพื่อนสนิท
- Mireille ถูกแฟนหนุ่มบอกเลิกผ่านเครื่องสื่อสารหน้าอพาร์ทเม้นท์
- Alex แอบติดตามชายแปลกหน้าคนนั้น Bernard (แฟนหนุ่มของ Mireille) ไปยังบาร์แห่งหนึ่ง แอบเก็บจดหมายเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยง
- กลับมาที่ห้องพักของ Alex จดบันทึกอะไรบางอย่างบนผนัง
- ห้องข้างๆส่งเสียงดังเลยออกมาเดินเล่นภายนอก แล้วพบเห็นสามี-ภรรยาทะเลาะวิวาท
- Mireille ลุกขึ้นมาซ้อมเต้นแท็ป (Tab Dance), Alex เดินเล่น เริงระบำท่ามกลางแสงดาว
- Alex ตื่นเช้าขึ้นมาคุยโทรศัพท์กับบิดา
- ลักขโมยแผ่นเสียง + เขียนจดหมายส่งลอดใต้ประตูห้องอดีตคนรัก (ที่อยู่กับอดีตเพื่อนสนิท)
- เข้าร่วมงานเลี้ยง
- Alex ปลอมตัวเป็นเพื่อนของ Bernard เดินทางมาร่วมงานเลี้ยง
- ผู้จัดงานเลี้ยง Maïte แนะนำบุคคลต่างๆที่มาร่วมงานให้กับ Alex
- Alex นั่งคุยกับคนใบ้
- รับฟังบรรเลงเปียโน
- คุยกับนักบินอวกาศ
- ขอคุยโทรศัพท์ ผ่านเข้ามาในห้องเลี้ยงเด็ก
- แอบเปิดประตูห้องน้ำพบเห็น Mireille ใช้กรรไกรพยายามจะฆ่าตัวตาย
- Alex มาถึงห้องครัว รับฟังเรื่องเล่าความหลังของ Maïte
- Alex พร่ำพูดคุยกับ Mireille
- (ความฝัน) หลังเที่ยงคืน Alex พยายามสารภาพรักกับ Mireille
- ระหว่างทางกลับ Alex แวะเข้าห้องน้ำ แล้วเฉี่ยวไปเล่นพินบอล
- Mireille พยายามจะฆ่าตัวตาย Alex จึงบุกขึ้นมายังอพาร์ทเม้นท์
โครงสร้างหนังอาจไม่ได้มีความซับซ้อน แต่ลีลาการนำเสนอมักแวะออกนอกลู่นอกทางเป็นประจำ นำเสนอสิ่งที่ดูไม่จำเป็น เหมือนไม่มีสาระอะไร ทว่าล้วนเป็นส่วนขยับขยายเหตุการณ์ เสริมเติมแต่งอารมณ์ในแต่ละฉาก (ตามสไตล์ Jean-Luc Godard) ยกตัวอย่าง
- ฉากแรกของหนัง (หลัง Opening Credit) หญิงคนหนึ่งขับรถมาพร้อมกับบุตรสาว พวกเธอไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆกับเรื่องราว เพียงต้องการสื่อว่าเพิ่งมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับสามี ขับมาจอดริมแม่น้ำ โทรศัพท์บอกเลิกรา … เป็นการอารัมบทนำเข้าสู่ Alex ค้นพบว่าแฟนสาวคนชู้นอกใจ + Mireille ถูกแฟนหนุ่มบอกเลิกรา
- ช่วงท้ายของหนัง Alex ลงจากรถไฟเพื่อเข้าห้องน้ำ ก่อนหยุดแวะเล่นพินบอล (Pinball) แทนที่จะรีบกลับไปหา Mireille … ชายคนนั้นที่ร่วมเล่นพินบอลพูดว่า “It’s over” พรรณาความรู้สึกสิ้นหวัง ยินยอมรับความพ่ายแพ้ เพื่อสื่อถึง Alex รับรู้ตัวเองว่าไม่สามารถโน้มน้าว Mireille ให้ยินยอมรับรักตนเอง
แม้เครดิตเพลงประกอบขึ้นชื่อ Jacques Pinault แต่เขาคือนักแสดงรับเชิญ แต่งเพลง เล่นนักเปียโนในงานเลี้ยงเท่านั้น! บทเพลงอื่นๆล้วนมาจากศิลปินมีชื่อ ‘diegetic music’ จากแหล่งกำเนิดเสียงบางอย่าง และหลายๆครั้งเสียงประกอบ (Sound Effect) ก็ทำตัวราวกับเพลงประกอบที่สะท้อนความรู้สึก ห้วงอารมณ์ตัวละครขณะนั้นๆ
ตอนต้นของหนัง หญิงแปลกหน้าขับรถพาบุตรสาวมาถึงยังริมแม่น้ำ ได้ยินจากวิทยุเปิดบทเพลง Je suis venue te dire que je m’en vais (1973) แปลว่า I came to tell you that I’m leaving แต่งโดย Serge Gainsbourg, ขับร้องโดย Jo Lemaire … แค่ชื่อเพลงก็บอกใบ้เหตุการณ์บังเกิดขึ้น
คำร้องฝรั่งเศส | คำแปลอังกฤษ (โดย Google Translate) |
---|---|
Je suis venu te dire que je m’en vais Et tes larmes n’y pourront rien changer Comme dit si bien Verlaine au vent mauvais Je suis venu te dire que je m’en vais Tu t’souviens des jours anciens et tu pleures Tu suffoques, tu blêmis à present qu’a sonné l’heure Des adieux à jamais (Ouais) Je suis au regret De te dire que je m’en vais Oui je t’aimais, oui, mais Je suis venu te dire que je m’en vais Tes sanglots longs n’y pourront rien changer Comme dit si bien Verlaine au vent mauvais Je suis venu te dire que je m’en vais Tu t’souviens des jours heureux et tu pleures Tu sanglotes, tu gémis à présent qu’a sonné l’heure Des adieux à jamais (ouais) Je suis au regret D’te dire que je m’en vais Car tu m’en a trop fait Je suis venu te dire que je m’en vais Et tes larmes n’y pourront rien changer Comme dit si bien Verlaine au vent mauvais Je suis venu te dire que je m’en vais Tu t’souviens des jours anciens et tu pleures Tu suffoques, tu blêmis à présent qu’a sonné l’heure Des adieux à jamais (ouais) Je suis au regret De te dire que je m’en vais Oui, je t’aimais, oui, mais Je suis venu te dire que je m’en vais Tes sanglots longs n’y pourront rien changer Comme dit si bien Verlaine au vent mauvais Je suis venu te dire que je m’en vais Tu t’souviens des jours heureux et tu pleures Tu sanglotes, tu gémis à présent qu’a sonné l’heure Des adieux à jamais Oui, je suis au regret De te dire que je m’en vais Car tu m’en as trop fait | I came to tell you that I’m leaving And your tears won’t be able to change anything As Verlaine said so well to the bad wind I came to tell you that I’m leaving You remember the old days and you cry You suffocate, you turn pale now that the hour has struck Goodbyes forever (Yeah) I regret To tell you that I’m leaving Yes I loved you, yes, but I came to tell you that I’m leaving Your long sobs won’t be able to change anything As Verlaine said so well to the bad wind I came to tell you that I’m leaving You remember the happy days and you cry You sob, you moan now that the hour has struck Goodbyes forever (Yeah) I regret To tell you that I’m leaving Because you’ve done too much to me … say that I’m leaving And your tears won’t be able to change anything As Verlaine said so well to the bad wind I came to tell you that I’m leaving You remember the old days and you cry You suffocate, you turn pale now that the hour has struck Goodbyes forever (yeah) I regret To tell you that I’m leaving Yes, I loved you, yes, but I came to tell you that I’m leaving Your long sobs won’t be able to change anything As Verlaine said so well to the bad wind I came to tell you that I’m leaving You remember the happy days and you cry You sob, you moan now that the hour has struck Goodbyes forever Yes, I regret To tell you that I’m leaving Because you’ve done too much to me |
หลังจากแฟนหนุ่มออกจากอพาร์ทเม้นท์ Mireille เปิดบทเพลง Holiday in Cambodia (1980) แนว Hardcore Punk, บรรเลงโดยวงพังก์ร็อค Dead Kennedys ช่างมีความรุนแรง คลุ้มบ้าคลั่ง หญิงสาวสะบัดหมุนศีรษะ ท่าทางราวกับดีใจขีดสุดที่เขาจากไปเสียที (ได้มีวันหยุดที่แคมบูเดีย) แต่พออีกฝ่ายโทรศัพท์ขึ้นมาบอกเลิกรา ทำให้เธอตกอยู่ในความหดสู่สิ้นหวังโดยพลัน
So, you’ve been to school for a year or two
And you know you’ve seen it all
In daddy’s car, thinking you’ll go far
Back east your type don’t crawlPlaying ethnicky jazz to parade your snazz
On your five-grand stereo
Braggin’ that you know how the niggers feel cold
And the slums got so much soulIt’s time to taste what you most fear
Right Guard will not help you here
Brace yourself, my dear
Brace yourself, my dearIt’s a holiday in Cambodia
It’s tough, kid, but it’s life
It’s a holiday in Cambodia
Don’t forget to pack a wifeYou’re a star-belly sneetch, you suck like a leech
You want everyone to act like you
Kiss ass while you bitch, so you can get rich
But your boss gets richer off youWell, you’ll work harder with a gun in your back
For a bowl of rice a day
Slave for soldiers ’til you starve
Then your head is skewered on a stakeNow you can go where people are one
Now you can go where they get things done
What you need, my son
What you need, my sonIs a holiday in Cambodia
Where people dress in black
Need a holiday in Cambodia
Where you’ll kiss ass or crackPol Pot, Pol Pot
Pol Pot, Pol Pot
Pol Pot, Pol Pot
Pol Pot, Pol PotAnd it’s a holiday in Cambodia
Where you’ll do what you’re told
A holiday in Cambodia
Where the slums got so much soulPol Pot
ด้วยความรำคาญเสียงข้างห้อง Alex จึงแบกวิทยุ สวมหูฟังบทเพลง When I Live My Dream แต่ง/ขับร้องโดย David Bowie ประกอบอัลบัม David Bowie (1967) … ระหว่างก้าวออกเดินเลียบแม่น้ำ พบเห็นคู่รักชาย-หญิง กอดจูบกันอย่างดื่มด่ำ มันช่างน่าอิจฉาริษยายิ่งนัก! เมื่อไหร่ฉันจะได้มีชีวิตตามความฝันแบบนั้นบ้าง
When I live my dream, I’ll take you with me
Riding on a golden horse
We’ll live within my castle, with people there to serve you
Happy at the sound of your voiceBaby, I’ll slay a dragon for you
Or banish wicked giants from the land
But you will find, that nothing in my dream can hurt you
We will only love each other as forever
When I live my dreamWhen I live my dream, I’ll forgive the things you’ve told me
And the empty man you left behind
It’s a broken heart that dreams, it’s a broken heart you left me
Only love can live in my dreamI’ll wish, and the thunder clouds will vanish
Wish, and the storm will fade away
Wish again, and you will stand before me while the sky will paint an overture
And trees will play the rhythm of my dreamWhen I live my dream, please be there to meet me
Let me be the one to understand
When I live my dream, I’ll forget the hurt you gave me
Then we can live in our new landTill the day my dream cascades around me
I’m content to let you pass me by
Till that day, you’ll run to many other men
But let them know it’s just for now
Tell them that I’ve got a dream
And tell them you’re the starring role
Tell them I’m a dreaming kind of guy
And I’m going to make my dream
Tell them I will live my dream
Tell them they can laugh at me
But don’t forget your date with me
When I live my dream
ทิ้งท้ายกับบทเพลงบรรเลงเปียโนโดย Jacques Pinault แต่งให้กับ Mireille ท่วงทำนองเศร้าๆ เหงาๆ โดดเดี่ยวเดียวดาย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย … สังเกตจากทิศทาง มุมกล้อง กลิ่นอายบทเพลง ชวนนึกถึงภาพยนตร์ Casablanca (1942)
Boy Meets Girl (1984) นำเสนอเรื่องราวของชายหนุ่ม-หญิงสาว ต่างถูกคนรักหักอก ทรยศหักหลัง แล้วบังเอิญ-จงใจมาพบเจอ พูดคุยสนทนา ฝ่ายชายวาดฝันถึงโอกาสสานสัมพันธ์ เราสองเริ่มต้นชีวิตใหม่ไปด้วยกัน แต่ฝ่ายหญิงกลับยังจมปลักอยู่กับความซึมเศร้าโศกเสียใจ พยายามคิดสั้นฆ่าตัวตาย ก่อนบังเกิดเหตุโศกนาฎกรรม
ตัวละคร Alex คือตัวตายตัวแทนของผกก. Carax ในชีวิตมีความหมกมุ่นอยู่สองสิ่ง ผู้หญิงและภาพยนตร์! การได้พบเจอเธอทำให้ฉันอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์
I grew up with women. And the reason I wanted to make films was because of girls, or women as you say once you turn 20… I fell in love with a girl I saw every day and I never said anything to her. Because of that, I didn’t hate school. I finished school at 16 and I decided to make movies. I was working as a messenger for a distribution company, I bought a camera, a Bolex 16mm, and I got the idea to make a film for this girl, telling myself that an assistant would call her in and we’d make the film together. I had a maid’s room near the Louvre and everything was supposed to happen there. I wrote a letter to this girl and she accepted. She came on the appointed day, she was a little scared. We hadn’t spoken, it happened in the presence of the Bolex. For the first shot, she was supposed to be in bed and her legs were bare so I was a little scared. She was supposed to wake up from a nightmare. We filmed that shot. She didn’t like cinema and she left. Since I had paid for the camera, the film stock, and had found people to do the camera work and act, I had to continue. So, I put want ads in Libération—it was free at the time—and I went to see girls, but I realized that without her it didn’t interest me at all.
Leos Carax
รายละเอียดต่างๆในหนังล้วนนำจากเรื่องราวชีวิต อัตชีวประวัติของผกก. Carax นำมาผสมผสานคลุกเคล้า ผมแกะเอาจากหลายๆบทสัมภาษณ์ ย่อๆได้ประมาณนี้
- วัยเด็กเคยวาดฝันอยากเป็นนักสมุทรศาสตร์ (Oceanographer) ไม่ก็นักบินอวกาศ (Astronaut) เคยเกาะติดหน้าจอโทรทัศน์ระหว่าง Neil Armstrong ย่างเหยียบบนดวงจันทร์
- นักสมุทรศาสตร์ดำดิ่งลงใต้ทะเลลึก (ขุมนรก), นักบินอวกาศเดินทางสู่ดวงจันทร์ (สรวงสวรรค์) มันช่างเป็นอาชีพที่มีทิศทางแตกต่างตรงกันข้าม!
- ไม่ใช่ว่าครอบครัวมีฐานะอยากจน แต่ความชื่นชอบฟังเพลง แวะเวียนไปยังร้านขายแผ่นเสียงบ่อยครั้ง สบโอกาสก็แอบหยิบใส่กระเป๋า แล้วนำมาขายต่อให้เพื่อนที่โรงเรียน สร้างรายได้เล็กๆน้อยๆสำหรับนำไปเล่นพินบอลวันละหลายชั่วโมง
- ตอนเรียนมัธยมเคยได้ยินข่าวหญิงสูงวัยในละแวกที่พักอาศัยกระทำอัตวินิบาต แล้วทิ้งจดหมายลาตาย ตระหนักว่าบุคคลที่กระทำการเช่นนั้นเพราะ “She wanted to have the last word.” เลยครุ่นคิดพัฒนาโปรเจคชื่อว่า Déjà Vu แต่ไม่มีเงินทุนถ่ายทำ
แต่สิ่งน่าสนใจของหนัง คือการค้นหาตัวตนเอง/สไตล์ลายเซ็นต์ของผกก. Carax เพราะเพิ่งเป็นผลงานเรื่องแรก เขาจึงทำการลองผิดลองถูก ตลอดทั้งเรื่องเต็มไปด้วยลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์มากมาย รับอิทธิพลจากยุคสมัยหนังเงียบ (D.W. Griffith, King Vidor, Charlie Chaplin), German Expressionism, Hollywood Musical & Classical (Casablanca), French New Wave (Jean-Luc Godard, François Truffaut), New German Cinema (Rainer Werner Fassbinder) ฯ ในส่วนนี้บางคนมองเป็นข้อดี (เพราะมันคือการทดลองผิดลองถูก ค้นหาตัวตนเอง) บางคนมองเป็นข้อเสีย (เพราะผู้สร้างยังไม่พบเจอสไตล์ของตนเอง เพียงนำทุกสิ่งอย่างมาต้มยำรวมกัน)
ผมมองหนังในอีกแง่มุมหนึ่ง คือจดหมายรักถึงบรรดายุคสมัย/ภาพยนตร์ที่ผกก. Carax ประสบพบเจอ ชื่นชอบตกหลุมรัก (Carax Meets Film) เลยนำมาอ้างอิง เคารพคารวะ น่าเสียดายที่ช่วงเวลาเหล่านั้นล้วนเคลื่อนพานผ่าน หมดยุคหมดสมัย เสื่อมสูญตามกาลเวลา … Boy Meets Girl (1984) จัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์นำเข้าสู่ยุคสมัย Post-Modernist Cinema
หลังจากที่ผมรับชม Holy Motors (2012) ทำให้มุมมองต่อ Boy Meets Girl (1984) เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง มันไม่ใช่ว่าผกก. Carax กำลังค้นหาอัตลักษณ์ตัวตน แต่เขาพยายามจะเป็นมันทุกสิ่งอย่าง! … ผมนึกอยากเปรียบเทียบกับศิลปิน Billie Eilish ถ้าถามว่าแนวเพลงของเธอคืออะไร เจ้าตัวเองก็ตอบไม่ได้ ร้องมันทุกแมว ขึ้นอยู่กับอารมณ์ฉัน (ผมถาม AI Bard มันให้คำตอบว่า ‘genre-bending’ ฉันเป็นได้ทุกสิ่งอย่าง)
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังเมือง Cannes สายนอก International Critics’ Week ตอนนั้นยังไม่มีการประกวดใดๆ แต่ดันไปเข้าตาอีกอีกกลุ่มรางวัล Award of the Youth: French Film (เหมาะสำหรับเยาวชน)
ด้วยทุนสร้าง 3 ล้านฟรังก์ (ประมาณ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ) มียอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศส 131,042 ใบ ดูแล้วคงไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ช่วงปลายปีสามารถเข้าชิง César Awards: Best First Work พ่ายให้กับ Dangerous Moves (1984)
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 2K (ไม่แน่ใจว่า digital restoration หรือ digital transfer) ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2014 สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของค่าย Artificial Eye หรือ Carlotta Films U.S.
ผมมีความชื่นชอบและผิดหวังในตัวหนังพอๆกัน สิ่งชื่นชอบคือความบ้าระห่ำ สารพัดลูกเล่นภาพยนตร์ที่ชวนให้ค้นหาว่าฉากนี้รับอิทธิพลมาจากใคร? ยุคสมัยไหน? ต้องการสื่อนัยยะอะไร? แต่ใครคือ Leos Carax? ยังอยู่ระหว่างการค้นหาตัวตนเองที่ไม่รู้จะพบเจอหรือเปล่า … ใครเคยรับชม Holy Motors (2012) ก็อาจจะตอบคำถามนี้ได้!
จัดเรต 15+ บรรยากาศหดหู่สิ้นหวังของคนถูกทอดทิ้ง
Leave a Reply