Hoop Dreams

Hoop Dreams (1994) hollywood : Steve James ♠♠♠♠♠

สารคดีบันทึกภาพการเติบโต เส้นทางสู่ฝันของสองวัยรุ่นผิวสี William Gates & Arthur Agee นักกีฬาบาสเกตบอลที่ถูกแมวมองจับจ้อง กำลังจะเข้าโรงเรียนมัธยม St. Joseph High School พวกเขาจักสามารถดำเนินตามความฝันสำเร็จหรือไม่?, หนึ่งในสารคดียอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

สมัยวัยรุ่นผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอล (ตอนนั้น Koby & Shaq กำลังโด่งดังกับ L.A. Lakers) หลงใหลคลั่งไคล้ Slam Dunk พอพบเห็นสารคดีเรื่องนี้ก็เกิดความสนอกสนใจขึ้นโดยพลัน หาโอกาสเขียนถึงไม่ได้สักทีจนกระทั่งพบว่าเกี่ยวกับวัยรุ่นดำเนินตามความฝัน เหมาะสำหรับช่วงวันเด็ก เสียที!

สารคดีความยาว 171 นาที อาจสร้างความหวาดสะพรึงให้ใครหลายๆคน แต่ผมบอกเลยว่าไม่มีสักวินาทีที่น่าเบื่อหน่าย ลีลาตัดต่อเต็มไปด้วยความตื่นเต้น เร้าใจ ชวนติดตามจนแทบไม่อยากลุกไปไหน … สนุกกว่ารับชมการแข่งขัน NBA สมัยนี้ที่แม้งเอาแต่ชู้ตสามแต้มเสียอีก!

และสิ่งที่สร้างความขนลุกขนพอง ♠♠♠♠♠ เพราะมันเป็นสารคดีบันทึกภาพเหตุการณ์จริงในระยะเวลา 4-5 ปี ไม่มีใครรับรู้ว่าอนาคตจะบังเกิดอะไร โชคชะตา ฟ้าลิขิต ผลลัพท์มันช่างน่าอัศจรรย์ใจ วัยรุ่นสองคน William Gates & Arthur Agee ช่างมีเส้นทางชีวิตที่แตกต่างตรงกันข้าม เติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ปล. รับชม Hoop Dreams (1994) ชวนให้ผมนึกถึง Boyhood (2014) และ ๓๖๕ วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ภาพยนตร์/สารคดีลักษณะนี้มักขึ้นกับโชคชะตา ฟ้าลิขิตเสียครึ่งหนึ่ง!


Steve James (เกิดปี ค.ศ. 1955) โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์/สารคดี สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Hampton, Virginia ตั้งแต่เด็กชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอล ฝึกซ้อมเล่นเป็นกิจวัตร ช่วงระหว่างร่ำเรียนภาพยนตร์ที่ Southern Illinois University แล้ววันหนึ่งในปี ค.ศ. 1985 บังเกิดความครุ่นคิดอยากบันทึกบันทึกภาพเบื้องหลัง อิทธิพลของกีฬาชนิดนี้กับเพื่อนร่วมทีมผิวสีที่เล่นด้วยกันบ่อยครั้ง

I played a lot of basketball in my life. I played organized ball up through one year of college, and when I was in grad school at Southern Illinois University in an MFA program in film, I would play a lot down at the rec center. I almost remember it like it was yesterday, I went down to the rec center on a Sunday in early 1985 for some reason—that’s the day I usually didn’t go. On that day, all three courts were used by African-American players. There were no white players on the floor. Instead of playing, I just sat there and watched. The gym seemed completely different that day. The rhythm of play. The energy. The camaraderie. I watched for a while, and it was there that I guess you can say I had an epiphany: It would be interesting to do a film about the culture of basketball in the black community.

Steve James

หลังบังเกิดแนวคิดดังกล่าว เร่งรีบติดต่อหาเพื่อนสนิท Frederick Marx ขณะนั้นเดินทางไปสอนภาษาอังกฤษอยู่ประเทศจีน (คงจะ Work Travel กระมังนะ) เขียนจดหมายแลกเปลี่ยน ฟังดูน่าสนใจเลยครุ่นคิดวางแผนงาน James จะเป็นคนกำกับ ส่วน Marx รับหน้าที่ตัดต่อ

Steve and I were best friends at SIU. Whenever we weren’t making films, we were down in the gym shooting hoops. We had never had a chance to work together on a film in grad school, but we would talk about projects for the future. I moved out to China in the fall of 1983, and that’s when we started exchanging mail about collaborating on a number of feature films—we were working on a comedy script, so we would send each other drafts.

I came back from China in the late summer/early fall of 1985, and I settled back in Champaign, Illinois. We kept things going via phone and mail, and then in April 1986, we formally grounded the basketball idea.

Frederick Marx

สิ่งแรกที่ทั้งสองครุ่นคิดคือชื่อสารคดี James เสนอชื่อ Hoop Dreams (คำว่า Hoop คือศัพท์แสลงของบาสเกตบอล) แต่ทว่า Marx อยากจะเปลี่ยนเพราะสองโปรเจคก่อนหน้าที่เคยทำล้วนมีคำว่า ‘dreams’ บนชื่อหนัง เลยครุ่นคิดเล่นๆ Hoopin’ สุดท้ายก็เปลี่ยนกลับมา Hoop Dreams ฟังดูดีกว่าเยอะ

James และ Marx ใช้เวลาสองปีถัดจากนั้น สรรหาเงินทุนก้อนแรก $2,000 เหรียญ ได้รับจาก Illinois Arts Council แล้วนำโปรเจคไปพูดคุยกับโปรดิวเซอร์ Gordon Quinn และ Jerry Blumenthal ผู้ก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่น Kartemquin Films วางแผนทำเป็นสารคดีสั้นความยาว 30 นาที ใช้เวลาถ่ายทำ 6 เดือน สำหรับออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ PBS

จากนั้นติดต่อหาโค้ช Gene Pingatore ของโรงเรียน St. Joseph High School ผู้เคยฝึกสอนนักกีฬาบาสเกตบอลชื่อดัง Isiah Thomas ระหว่างเรียนมัธยมปลาย ซึ่งก็แนะนำให้รู้จักแมวมอง “Big Earl” Smith พากันไปค้นหานักกีฬาที่ดูมีแวว ก่อนได้พบเจอกับ Arthur Agee ช่วยจัดแจงให้มีโอกาสเข้าคัดตัวในค่ายฝึกฤดูร้อนของโค้ช Pingatore

ช่วงระหว่างค่ายฝึกฤดูร้อน ทีมผู้สร้างพูดคุยสอบถามกับโค้ช Pingatore ถึงอนาคต/ความเป็นไปได้ของ Agee ได้รับคำตอบว่ามันยังเร็วเกินกว่าจะบอกอะไร ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงเด็กอีกคน William Gates ด้วยทักษะอันโดดเด่นเฉพาะตัว มีแนวโน้มสูงกว่าที่จะได้เป็น “the next Isiah Thomas” นั่นเลยทำให้ผกก James และ Marx ตัดสินใจบันทึกภาพเรื่องราวชีวิตของ Agee & Gates ไปพร้อมๆกัน

Initially, the idea was to focus on street basketball, which I thought would make for a fun and meaningful film. But once we met Arthur Agee and William Gates, the direction shifted. Instead of focusing on the street game, we followed these two young kids who were using basketball as a way to do more for themselves and their families.

Fairly early on, we had a sense of the broad themes we wanted to explore, like the role of basketball in their lives and the struggles they faced. But we never anticipated it would turn into a nearly five-year shooting journey. We certainly didn’t foresee the film becoming the story that it did, or that it would leave the legacy it has today. We had intentions of addressing some of the issues the film covers, but not on the scale or in the depth it ultimately reached.

เมื่อโปรเจคเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ผกก. James สามารถติดต่อของบประมาณเพิ่มเติมได้จากสถานีโทรทัศน์ KTCA (Twin Cities Public Television, Inc.) ของรัฐ Minnesota มอบเงินสนับสนุน $60,000 เหรียญ, และอีก $70,000 เหรียญจาก Corporation for Public Broadcasting (CPB) ถึงอย่างนั้นเงินทุนกลับเพียงพอสำหรับการถ่ายทำ 22 วัน ในรอบ 2 ปี!

เพื่อที่จะหาเงินทุนเพิ่มเติม ผกก. James และ Marx ได้ทำการตัดต่อหน้าสั้น 30 นาที ตั้งชื่อว่า Higher Goals (1993) ออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ PBS ได้เข้าชิง (Daytime) Emmy Awards: Outstanding Children’s Special

ต่อมาเมื่อมูลนิธิการกุศล MacArthur Foundation ติดต่อหา Kartemquin Film แสดงความสนใจอยากให้ทุนสนับสนุนโปรเจคภาพยนตร์ พอนำเสนอโปรเจคนี้ไปได้รับทุนเพิ่มเติมอีก $250,000 เหรียญ นั่นคือเงินก้อนสุดท้าย (ยังไม่รวม Post-Production) เพียงพอให้สามารถถ่ายทำปีสุดท้ายแล้วเสร็จ รวมระยะเวลาโปรดักชั่นทั้งหมด 5 ปี!


William Gates (เกิดปี ค.ศ. 1971) อาศัยอยู่ย่านจัดสรร Cabrini-Green ทางตอนเหนือของ Chicago, Illinois ตั้งแต่เด็กใฝ่ฝันอยากเป็นนักบาสเกตบอลอาชีพ มีทักษะโดดเด่นเข้าตาแมวมองจนได้รับทุนการศึกษาต่อ St. Joseph High School ที่ Westchester เพียงปีแรกก็สามารถร่วมทีมโรงเรียน กลายเป็นดาวเด่น แต่หลังจากบาดเจ็บหัวเข่า ต้องเข้ารับการผ่าตัดถึงสองครั้ง ค่อยๆสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง จนไม่สามารถพาทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ Public League Championship, นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการศึกษา ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จึงต้องสอบอยู่หลายรอบก่อนได้ทุน(บาสเกตบอล)เข้าเรียนสาขาสื่อสารมวลชน Marquette University

Arthur Agee Jr. (เกิดปี ค.ศ. 1972) บุตรคนที่สองของ Arthur ‘Bo’ Agee Sr. และ Shelia Agee อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของ Chicago ละแวกเดียวกับ William Gates ซึ่งห่างไกลจาก St. Joseph High School ทุกๆวันต้องตื่นเช้า ใช้เวลาเดินทางชั่วโมงครึ่ง จึงไม่สามารถปรับตัว พัฒนาทักษะบาสเกตบอล พอขึ้นชั้นปีที่สอง ครอบครัวไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน (Gates ได้รับการทุนอุปถัมภ์จาก Encyclopedia Britannica เลยไม่โดนไล่ออก) บ้านถูกตัดน้ำไฟ แถมบิดายังเสพยา ถูกจับติดคุกติดตาราง เลยจำต้องย้ายออกไปโรงเรียนใกล้บ้าน John Marshall High School โชคดีว่าตอนปีการศึกษาสุดท้าย บิดากลับตัวกลับใจหลังออกจากเรือนจำ ทำให้ Arthur สามารถเล่นบาสเกตบอลได้อย่างเต็มที่ พาทีมเป็นแชมป์ Public League Championship ก่อนจบอันดับสาม State Championship แล้วได้รับทุนเข้าศึกษา Mineral Area College ต่อด้วย Arkansas State University


ในส่วนของถ่ายภาพ ผกก. James ครุ่นคิดอยากได้ตากล้องผิวสี แต่วงการภาพยนตร์ขณะนั้นหาได้ยากยิ่ง อีกทั้งยังต้องเป็นบุคคลที่มีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือครบครัน และพร้อมทำงานตลอดเวลา โปรดิวเซอร์ที่ Kartemquin Films จึงแนะนำ Peter Gilbert (เกิดปี ค.ศ. 1957) ตากล้องสมัครเล่นอาศัยอยู่ Chicago, Illinois

When we started the project, we were already thinking about these issues, even though it wasn’t as discussed then as it is now. We knew we were telling a story about young Black men and their families, and in turn, we wanted to have Black crew members involved. I actively tried to hire a Black cameraman and sound person because I thought it was important for the nature of the story. But unfortunately, there were very few Black cameramen working at the time. The few who were in the industry were already employed, and we needed freelancers to own their gear. Equipment could cost $60,000 or $70,000 in the late ’80s—an astronomical amount, even now. So, despite our efforts, we ended up with three white guys making the film.

Steve James

Gilbert ก็เป็นอีกคนที่ชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอล ขณะนั้นกำลังถ่ายทำสารคดี American Dream (1990) พอได้รับการติดต่อจาก โปรดิวเซอร์ของ Kartemquin Films นัดหมายพูดคุยถูกคอ บอกไม่ต้องห่วงเรื่องการถ่ายทำ อุปกรณ์พร้อม ใช้วีดีโอเทปที่ต้นทุน(ค่าเทป)ถูกกว่ากล้องฟีล์ม 16mm ลดความยุ่งยากวุ่นวาย สามารถลงถนนถ่ายทำได้โดยทันที

I had been working heavily with Barbara Kopple on American Dream. Jerry and Gordon called me and said, These guys came in and are doing this film about streetball.” I grew up in Chicago and played streetball my entire life, and the neighborhoods they were interested in, I knew.

Peter Gilbert

เกร็ด: หลังจากสารคดีเรื่องนี้ Peter Gilbert ยังได้ร่วมงานขาประจำผกก. James เป็นทั้งตากล้อง โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับสารคดี ผลงานเด่นๆ อาทิ American Dream (1990), Prefontaine (1997), Vietname Long Time Coming (1998), Stevie (2002), With All Deliberate Speed(2004) ฯ

ไล่เรียงจากซ้าย (ตากล้อง) Peter Gilbert, แมวมอง “Big Earl” Smith, ผู้กำกับ Steve James

การปรากฎตัว (Cameo) ของผกก. Spike Lee เป็นความบังเอิญล้วนๆ เพราะอีกฝ่ายได้รับเชิญมาพูด ทีมผู้สร้างก็แค่ถ่ายทำสิ่งที่เขาพูด ไม่ได้มีโอกาสสนทนาอะไรกัน จนกระทั่งหลังหนังออกฉายถึงมีโอกาสพบเจอในงานเลี้ยงที่เทศกาลหนัง New York Film Festival

What happened with Spike was interesting. We didn’t actually meet him while making the film. He was at a Nike camp, but we didn’t cross paths there because he was Spike Lee, and we were just there filming. I didn’t meet Spike until after the film was completed. What happened was the people who bought our film had this idea to consider making a dramatic remake of “Hoop Dreams” after it had gained popularity.

When the film premiered—after Sundance, it was set to close the New York Film Festival. This was the first time a documentary had ever opened or closed the festival, so it was a big deal. There was a big dinner beforehand with a lot of the blue-blood supporters of the festival—mostly rich, older white people, to be honest. But we had the families there too. We made sure the families attended both the dinner and the screening.

And then, out of nowhere, Spike showed up at the dinner. We weren’t expecting him. The families just went crazy—they got about a thousand different pictures with him. We were excited too, but for the families, it was huge. I’ll never forget when Spike pulled me aside during one of the photos and said, “Hey man, it’s a monumental piece of work.

Steve James

ด้วยฟุตเทจจำนวนกว่า 250 ชั่วโมง ไม่มีทางที่ Marx จะทำงานคนเดียว ต้องว่าจ้างนักตัดต่ออีกคน William Haugse (ชื่อเล่น Bill) ใช้เวลาสองปีกว่าจะได้ฉบับร่างแรก (Rough Cut) ความยาว 10 ชั่วโมง (เคยเสนอแนะทำเป็นมินิซีรีย์ แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ) ก่อนค่อยๆเล็มโน่นนี่นั่นจนเหลือ 6 ชั่วโมง แต่มันก็ยังเยิ่นยาวนานเกินไป แล้วเจ้าตัวก็ถึงขีดสุด “burning out”

The first assemblage was over 10 hours, and I still hadn’t even gotten to where we were up to date in shooting. I was like, “Oh my God.” The footage was fascinating on so many levels. At one point, I talked to Steve about doing a five-part miniseries, which would make it, like, 10 hours long. Long story short, he properly nixed the idea—otherwise, we would still be in the editing room. I had spent a year editing when I realized, “This is too much.”

Frederick Marx

ด้วยเหตุนี้ผกก. James จึงเข้ามามีส่วนร่วมกับการตัดต่อ และยังต้องลากพาโปรดิวเซอร์ Gordon Quinn ช่วยพิจารณาตัดสินว่าซีนไหนควรเก็บไว้ ซีนไหนควรตัดทิ้ง

Steve and I are different filmmakers, and it was great to have Gordon in the room toward the end to just be a referee, if nothing else, because we needed a third pair of eyes, we needed somebody to help us agree on the way forward. But what really made the difference—frankly, Steve’s greatest contribution in some ways as a director—was sitting down and cutting himself. He did a lot of the story-shaping, and that was huge.

หลังจากผกก. James เข้ามามีส่วนร่วม ยังต้องใช้เวลาตัดต่ออีกกว่าปีครึ่ง (รวมๆแล้วก็สามปีครึ่ง) ถึงได้สารคดีความยาว 171 นาที (2 ชั่วโมง 51 นาที) ซี่งความท้าทายเกิดขึ้นตรงรอยแยกหลังจาก Arthur Agee ต้องย้ายออกจาก St. Joseph High School จะทำอย่างไรให้การนำเสนอเรื่องคู่ขนานมีความต่อเนื่อง และดูน่าติดตาม

The struggle was how we were going to tell the story of these two guys where their lives coincide directly for only a brief period of time we were shooting. Arthur left St. Joe’s and had his own adventure, and William had his, so how do we put these two guys together in the same movie and have it feel coherent? That was the biggest creative challenge of the film.

At a certain point, with Bill’s help, we decided not to be tied to the linear developments. We didn’t take huge liberties—taking stuff that happened in junior year and making it look like it happened in freshman year—but we decided to stay with one of the boys even if he got ahead of the other in terms of when it happened. For example, when the Agees’ power was turned off, the next scene is William getting an MRI for his knee. We go from the family that has nothing to William at this Northwestern hospital, and he’s going through his own troubles, his knee, but he’s got everybody working hard trying to figure out what’s wrong, even the Bulls’ doctor at one point. When we decided to focus on one of the guys’ story for a stretch instead of playing ping-pong between the two, that’s when it started to feel like a movie.

Another thing we really tried to do in the edit is to not sit in judgment, but to let people think about it. Gordon was key in suggesting ways to make it clearer and punchier. We wanted to create an interesting juxtaposition throughout the film, where ideally when you were leaving one kid’s story, we hoped you wouldn’t want to leave, but when you got into the other kid’s, you’re glad you’re there.

Steve James

การตัดต่อถือเป็นไฮไลท์ของสารคดีเลยก็ว่าได้ (เข้าชิง Oscar: Best Film Editing) เพราะการเล่าเรื่องคู่ขนานทำให้ผู้ชมพบเห็นทิศทาง ความแตกต่างตรงกันข้ามระหว่าง William Gates และ Arthur Agee โดยเฉพาะช่วงปีสุดท้าย (Senior Year) ขณะที่ Gates สาละวันเตี้ยลง, Agee ไต่เต้าถึงจุดสูงสุด

เกร็ด: เมื่อตอนผกก. James นำสารคดีที่ตัดต่อเสร็จไปให้ครอบครัวของ William Gates และ Arthur Agee พวกเขาต่างมีปฏิกิริยาที่แตกต่างตรงกันข้าม

  • ครอบครัว Gates ขอรับชมสารคดีเพียงลำพัง ภายหลังเมื่อผกก. James มีโอกาสพูดคุยกับ William Gates สีหน้าดูเซื่องซึม พร่ำบ่นว่า “It shows how I went from being a great player to being an average player.” แต่ก็กล่าวถึงข้อดี “My family realized for the first time the amount of pressure they were putting on me, particularly Curtis.”
  • ขณะที่ครอบครัว Agee ได้ชักชวนผกก. James ร่วมกันรับชมพร้อมหน้า ทุกคนใจจดใจจ่อกับซีนของบุตรชาย แต่พอตัดไปฉากของ Gates ก็ราวกับช่วงเวลาพักเบรคโฆษณา (commercial break)

นอกจากนี้เมื่อตอนผกก. James นำสารคดีไปฉายให้กับโค้ช Pingatore แสดงความผิดหวังอย่างรุนแรง เพราะมันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากตอนเริ่มต้นพูดคุยถึงโปรเจค

When we got to the part when Arthur is kicked out of St. Joe’s he said, “Wait a second, stop the film.” And he said, “This is unfair, the family didn’t hold up their end of the payments. That’s just the way it is.” And we said Arthur was treated differently than William. William had the president of Encyclopedia Britannica in his corner paying what his family owed. He said, “I disagree with what you’re doing here,” and I remember being pretty firm with him and saying, “This is how it happened in our eyes, and we stand by it.” We also told him there are positive things here, like him pushing William to be a better basketball player and student.

Steve James

ในส่วนของเพลงประกอบ มีทั้งบทเพลงขับร้องจากศิลปินมีชื่อ ‘diegetic music’ ได้ยินจากวิทยุ โทรทัศน์ ระหว่างแข่งขัน และบทเพลงดั้งเดิม (Original Score) แต่งโดย Ben Hirsh Sidran (เกิดปี ค.ศ. 1943) นักดนตรี แต่งเพลง Jazz สัญชาติอเมริกัน

งานเพลงของ Sidran ไม่ได้มีดีแค่ท่วงทำนอง Jazz มักดังขึ้นในช่วงเวลาอ่อนไหว เผชิญหน้าเหตุการณ์ทุกข์ยากลำบาก, เวลานำเข้าสู่การแข่งขันมักเลือกใช้เพลงขับร้อง Hip Hop สร้างจังหวะสนุกสนาน ตื่นเต้นลุ้นระทึก คลุกเคล้าเข้ากับเสียงเชียร์ เสียงบรรยายของพิธีกรในสนาม

บทเพลง Hoop Dreams แต่งโดย Ben Sidran, Ricky Peterson, แร็ปโดย Anthony Mosley

เสียงแซกโซโฟนของ Kenny Hollman ฟังดูเศร้าๆ เหงาๆ เปล่าเปลี่ยวหัวใจ ถ้าผมจดจำไม่ผิด The Float ดังขึ้นตอนที่ Arthur Agee ถูกไล่ออกจากโรงเรียน บิดากลายเป็นคนติดยา บ้านถูกตัดน้ำตัดไฟ ชีวิตเต็มไปด้วยสารพัดปัญหา โอกาสพานผ่านมาแล้วล่องลอยผ่านไป … เพลงนี้น่าจะเพราะสุดในอัลบัมแล้วกระมัง

บทเพลงนำเข้าสู่ Closing Credit ชื่อว่า Sweet Dreams บทสรุปความฝันที่บางครั้งมันอาจแสนหวาน บางครามันอาจขืนข่ม แต่นั่นคือบทเรียนชีวิตที่เราทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรน ตราบยังมีลมหายใจ

จากความตั้งใจบันทึกภาพอิทธิพลกีฬาบาสเกตบอลต่อชุมชนคนผิวสี สารคดีเรื่องนี้ได้วิวัฒนาการสู่การตีแผ่เบื้องหลังความฝัน (American Dream) การจะก้าวสู่เส้นทางความสำเร็จนั้น มีมูลค่าใช้จ่ายมากมายมหาศาล! ไม่ใช่แค่เรื่องเงินๆทองๆ แต่ยังต้องเสียสละหลายๆสิ่งอย่าง หยาดเหงื่อแรงกาย โอกาสทางการศึกษา และจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากครอบครัว ครูอาจารย์ สถาบันการศึกษา

As is the mirage of the American Dream. Hoop Dreams shows us the human cost of continuing to turn a blind eye to the American nightmare many are forced to endure.

นักวิจารณ์ J. Patrick Patterson จากนิตยสาร Chicago Reader

ความฝันอเมริกัน (American Dream) คืออุดมการณ์อันเลิศหรู เสี้ยมสอนให้มนุษย์ดำเนินตามความเพ้อใฝ่ฝัน อยากได้อยากมี อยากครอบครองเป็นเจ้าของ ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง มีชื่อเสียงโด่งดัง กลายเป็นอมตะนิรันดร์ ยิ่งใหญ่เหนือใคร แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถดำเนินไปถึงจุดๆนั้น นักบาสเกตบอลพันคน ไม่รู้จะมีสักคนได้รับเลือกเข้าร่วมทีม National Basketball Association (NBA)

William Gates & Arthur Agee ต่างเป็นวัยรุ่นที่แมวมองเล็งเห็นถึงศักยภาพ มีโอกาสดำเนินตามความฝัน แต่ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาม ชีวิตเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม สารพัดปัญหาตั้งแต่ตัวตนเอง (ศักยภาพร่างกาย-จิตใจ) ครอบครัว โรงเรียน ระบบการศึกษา รวมถึงสภาพแวดล้อมที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา

  • William Gates โชคดีที่มีคนอุปถัมภ์ ทำให้สามารถปักหลักอยู่ St. Joseph High School แต่ทว่าโชคชะตากลับเล่นตลก ได้รับบาดเจ็บหัวเข่าหลายครั้ง แรงกดดันถาโถมเข้าใส่ จึงค่อยๆสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง เล่นไม่โดดเด่นเหมือนตอนเพิ่งเป็นนักเรียนปีแรก (Freshy Year)
  • Arthur Agee เริ่มต้นอาจยังไม่ค่อยโดดเด่น ไม่เข้าตาโค้ช แถมสารพัดปัญหาครอบครัวรุมเร้า ทำให้ต้องย้ายสู่โรงเรียน John Marshall High School แต่ด้วยความไม่ย่นย้อท้อแท้ ปีสุดท้าย (Senior Year) เล่นบาสเกตบอลด้วยเชื่อมั่นเกินร้อย พาโรงเรียนเป็นแชมป์ Public League Championship ก่อนจบอันดับสาม State Championship

หลังเรียนจบมัธยมปลาย Gates และ Agee ต่างเริ่มรับตระหนักรับรู้ตนเองว่า NBA อาจเป็นความฝันที่ไกลเกินอาจเอื้อม ค่อยๆสูญเสียความกระตือรือล้น ไม่รู้สึกขวนขวายไขว่คว้าเหมือนตอนเด็กๆ ทำให้พอเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย จึงเริ่มมองหาเส้นทางชีวิตใหม่

  • เมื่อปี 2001, Gates ได้รับชักชวนจาก Michael Jordan มาร่วมทดสอบ (Tryout) กับทีม Washington Wizards กลับได้รับบาดเจ็บที่เท้า เลยตัดสินใจรีไทร์จากการแข่งขันถาวร
    • หลังเรียนจบการสื่อสาร Marquette University ได้เข้าศึกษาต่อศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพระคัมภีร์ Moody Bible Institute กลายเป็นบาทหลวงที่ Living Faith Community Center ก่อนย้ายไปประจำอยู่ San Antonio, Texas
  • หลังเรียนจบ Agee ได้เข้าร่วมทีม Winnipeg Cyclone จากลีก International Basketball Association (IBA) แต่เล่นได้แค่ฤดูกาลเดียวก่อนเข้าตาแมวมองทีม Connecticut Pride จากลีก Continental Basketball Association (CBA) ถึงอย่างนั้นเขากลับไม่ได้เซ็นสัญญา เพราะได้รับชักชวนจากผกก. James ร่วมแสดงภาพยนตร์ Passing Glory (1999) จากนั้นมีโอกาสเล่นโฆษณา เวียนวนอยู่ในวงการบันเทิง

สรุปแล้วทั้ง Gates และ Agee ต่างไม่สามารถดำเนินตามความฝัน ไม่มีโอกาสเล่นบาสเกตบอลในลีกอาชีพ NBA แต่ความสำเร็จล้นหลามของสารคดีเรื่องนี้ โปรดิวเซอร์เซ็นเช็คให้ครอบครัวละ $200,000 เหรียญ นั่นทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้นทันตา

สำหรับผู้กำกับ Steve James, ตากล้อง Peter Gilbert และนักตัดต่อ Frederick Marx ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Hoop Dreams (1994) ก็ราวกับความฝันเป็นจริง โอกาส(จาก Hollywood)มากมายไหลมาเทมา แม้หลังจากนี้จะไม่มีผลงานไหนยิ่งใหญ่ไปกว่า แต่ชื่อของพวกเขาก็ได้กลายเป็นตำนานเหนือกาลเวลา

เกร็ด: มีสารคดีอีกเรื่องหนึ่งของผกก. James ที่ผมอยากรับชมมากๆคือ Life Itself (2014) ชีวิตและการงานของนักวิจารณ์ Roger Ebert ถ้ามีโอกาสก็อาจเขียนถึง


สารคดีเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนัง Sundance Film Festival จริงๆแล้วได้รับเชิญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 แต่ยังตัดต่อไม่เสร็จ ต้องรอคอยอีกขวบปี เสียงตอบรับดียอดเยี่ยมจนคว้ารางวัล Audience Award: Best Documentary และสามารถจัดหาสตูดิโอจัดจำหน่าย Fine Line Features

ด้วยทุนสร้างรวมๆแล้ว $700,000 เหรียญ ด้วยความยาวเกือบๆสามชั่วโมงไม่มีใครคิดว่าจะประสบความสำเร็จ แต่กระแสปากต่อปาก สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกาสูงถึง $7.8 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $11.8 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จล้นหลาม

One of the most critically acclaimed documentaries of all time, Hoop Dreams is a rich, complex, heartbreaking, and ultimately deeply rewarding film that uses high school hoops as a jumping-off point to explore issues of race, class, and education in modern America.

คำโปรยจาก Rottentomatoes

ความสำเร็จเหล่านั้นทำให้ Hoop Dreams (1994)เป็นตัวเต็งอย่างน้อยเข้าชิง Oscar: Best Documentary Feature (ผู้จัดจำหน่ายเพ่งเล็งถึง Best Picture ด้วยซ้ำไป) แต่กลับเข้ามีลุ้นแค่สาขา Best Film Editing (พ่ายให้กับ Forrest Gump (1994)) สร้างความไม่พึงพอใจต่อผู้ชมวงกว้าง ทำให้มีการขุดคุ้ยหาเบื้องหลังข้อเท็จจริง

รายละเอียดมันยาวมาก ผมพยายามสรุปสั้นๆคือยุคสมัยนั้น Academy (AMPAS) ยังไม่แผนกสารคดี วิธีคัดเลือก(สารคดี)ห้าเรื่องสุดท้าย คืออาสาสมัครสมาชิกจากสาขาอื่นๆรวมตัวกัน รับชมสารคดีที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้น 63 เรื่อง แล้วให้คะแนน 4-10, แน่นอนว่า Hoop Dreams (1994) ได้รับคะแนนเต็มสิบเยอะกว่าเรื่องอื่นใด แต่ทว่ามีสมาชิกกลุ่มหนึ่งให้คะแนนเฉพาะสารคดีที่อยากให้เข้าชิงเต็มสิบ ส่วนเรื่องอื่นก็ให้คะแนนต่ำสุด ส่งผลกระทบต่อคะแนนรวม Hoop Dreams (1994) หล่นไปอยู่อันดับหก!

a small group of members gave a zero (lowest point) to every single movie except the five they wanted to see nominated. And they gave 10s to those five, which completely skewed the voting.

There was one film that received more scores of 10 than any other, but it wasn’t nominated. It also got [minimum scores] from those few voters, and that was enough to push it to sixth place.

Bruce Davis หนึ่งในผู้บริหาร (Executive Director) ของสถาบัน Academy of Motion Picture Arts and Sciences

วิธีแก้ปัญหาชั่วคราวของปีถัดๆไป คือปรับลดช่องว่างคะแนนเป็น 6-10 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ถึงมีการจัดตั้งแผนกสารคดี และให้สมาชิกที่อยู่แวดวงนี้เป็นผู้คัดเลือก ไม่ใช่อาสาสมัครอีกต่อไป!

อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่: https://www.thewrap.com/celebrating-anniversary-oscar-snub-9797/

แซว: ข่าวฉาวดังกล่าวทำให้ Hoop Dreams (1994) กลายเป็นสารคดีมีชื่อเสียงโด่งดังกว่าเรื่องที่คว้ารางวัล Oscar: Best Documentary Feature ปีนั้น Maya Lin: A Strong Clear Vision (1994) แทบไม่มีใครจดจำได้เลยกระมัง


กาลเวลาทำให้ Hoop Dreams (1994) ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ หนึ่งในสารคดียอดเยี่ยมตลอดกาล

  • สมาคม International Documentary Association: Top 25 Documentaries (2007) #ติดอันดับ 1
  • รายการโทรทัศน์ 50 Documentaries to See Before You Die ฉายทางช่อง Current TV เมื่อปี ค.ศ. 2011 #ติดอันดับ 1
  • Sight & Sound: Critics’ 50 Greatest Documentaries of All Time (2014) #ติดอันดับ 17 (ร่วม)
  • Paste Magzaine: The 100 Best Documentaries of All Time (2022) #ติดอันดับ 1
  • Vogue: The 82 Best Documentaries of All Time (2023) ไม่มีอันดับ
  • Esquire: The 64 Best Documentaries of All Time (2024) ไม่มีอันดับ
  • Time Out: The 66 Best Documentaries of All Time (2024) #ติดอันดับ 24

ในโอกาสครบรอบ 20th Anniversary สถาบัน Sundance Institute ร่วมกับ UCLA Film and Television Archive, Academy Film Archive และ Kartemquin Films ทำการบูรณะสารคดี High-Definition นำออกฉายเทศกาลหนัง Sundance Film Festival เมื่อปี ค.ศ. 2014 สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray ของค่าย Criterion Collection

“No screenwriter would dare write this story” ผมชื่นชอบคำกล่าวนี้ของนักวิจารณ์ Roger Ebert เรื่องราว Hoop Dreams (1994) แม้งโคตรน้ำเน่า เมโลดราม่า เรียกน้ำตาเกินไป แต่พอมันเป็นการบันทึกภาพสารคดี ผู้ชมรับรู้ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดคือเรื่องจริง ใครจะริหาญกล้าพูดว่าไร้สาระ กลับกลายเป็นอภิมหาการไล่ล่าความฝันสุดยิ่งใหญ่

เมื่อตอนเริ่มถ่ายทำ ไม่มีใครรับรู้ว่าอนาคตจักดำเนินไปเช่นไร ผลลัพท์สารคดีเรื่องนี้มันจึงโคตรๆยิ่งใหญ่ โชคชะตาฟ้าลิขิต ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย นี่ไม่ใช่แค่ผลงานมาสเตอร์พีซ แต่คือความมหัศจรรย์แห่งชีวิต

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” สารคดีเรื่องนี้สะท้อนสภาพเป็นจริงของชีวิต การจะดำเนินตามความฝันล้วนต้องแลกมาด้วยบางสิ่งอย่าง ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำสำเร็จ มันมีเหตุและปัจจัยแวดล้อมมากมาย ถ้าคุณเป็นหนึ่งในผู้ล้มเหลวขออย่าสิ้นหวัง ยังมีอีกหลายสิ่งอย่างบนโลกให้เราค้นหา พบเจอเป้าหมายชีวิตใหม่

จัดเรต pg กับวิถีสลัม

คำโปรย | Hoop Dreams สารคดีสุดมหัศจรรย์ บันทึกภาพการเติบโต เส้นทางสู่ฝัน มันไม่ได้สวยงามอย่างที่ใครๆคาดหวัง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | มหัศจรรย์

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: