
Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992)
: David Lynch ♥♥♥♡
อาจเป็นภาคต้น (Prequel) ที่เทียบไม่ได้กับซีรีย์โทรทัศน์ Twin Peaks (1990-91) ตอนออกฉายถูกผู้ชมและนักวิจารณ์ถล่มยับ แต่กาลเวลาทำให้คนรุ่นใหม่เปิดใจยินยอมรับ มันยอดเยี่ยมถึงขนาดได้รับการยกย่อง “Greatest Film of All-Time” เชียวหรือ?
สิ่งสร้างความประหลาดใจให้ผมอย่างมากๆคือ Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992) ได้รับการโหวตนิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll (2022) #ติดอันดับ 211 (ร่วม) นั่นแปลว่าหนังต้องมีดีพอตัว ถึงสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้ชมและนักวิจารณ์(จากเมื่อตอนออกฉาย)ได้ถึงขนาดนี้
ในโอกาสที่ผู้กำกับ David Lynch เพิ่งเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เพราะสูบบุหรี่จัดตั้งแต่อายุแปดขวบ มันจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหวนกลับมา Revisit ผลงานไม่เคยเขียนถึง ซึ่งผมเองยังไม่เคยรับชม Twin Peaks (1990-91) จึงเป็นโอกาสดีที่จะเริ่มต้นจากภาคก่อน (Prequal) จะได้รับรู้ว่าหนังดียังไงถ้าไม่มีซีรีย์เป็นพื้นฐาน
แต่หลังจากรับชม Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992) ผมก็หมดความกระตือรือล้นที่หาดูซีรีย์โดยพลัน ไม่ใช่ว่าหนังไม่สนุกหรืออย่างไร เพราะตระหนักว่าตนเองโดยสปอยเข้าเต็มๆ “Who Kill Laura Palmer?” ย่อมทำให้อรรถรสในการรับชม Twin Peaks (1990-91) สูญเสียไปโดยสิ้นเชิง! เลยตัดสินใจช่างแม้ง อีกสักสิบปี ยี่สิบปีให้หลัง มันจะหลงลืมไหมค่อยว่ากัน … ถึงตอนนั้นคงไม่ได้ทำบล็อคนี้แล้วกระมัง
ผมครุ่นคิดว่า Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992) ในความเป็นภาพยนตร์ ‘Stand Alone’ ก็มีดีพอตัว มันอาจน่ารำคาญพวกนักแสดงรับเชิญ (Cameo) โผล่มาเพื่อสนองเนิร์ดแฟนๆซีรีย์ ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง แต่การแสดงของ Sheryl Lee ในบทบาท Laura Palmer มีวิวัฒนาการอันน่าอึ่งทึ่ง เสียงกรีดร้องบาดแทงทรวงใน และลีลาการนำเสนอสไตล์ลิ้นจี่ (Lynchian) ช่างพิลึกล้ำ (พิลึก+ลึกล้ำ) แปลกพิศดาร ตีความได้หลายแง่หลายง่าม … แต่ส่วนตัวยังมองว่า Overrated ไปไหม?
David Keith Lynch (เกิดปี ค.ศ. 1946) ศิลปินวาดภาพ นักเขียน เล่นดนตรี Visual Artist กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Missoula, Montana บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยกระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture) ส่วนมารดาสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีเชื้อสาย Finnish-Swedish อพยพสู่สหรัฐอเมริกาประมาณศตวรรษที่ 19, ช่วงชีวิตวัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป เพ้อฝันอยากจิตรกรแบบ Francis Bacon เคยเข้าศีกษา Corcoran School of the Arts and Design ก่อนย้ายมา School of the Museum of Fine Arts, Boston แต่ก็รู้สีกผิดหวังเพราะโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถสอนอะไรนอกเหนือวิชาความรู้ เลยวางแผนออกท่องยุโรปสักสามปี แต่หลังจากสองสัปดาห์ให้หลังก็ตัดสินใจหวนกลับบ้าน
ก่อนลงหลักปักถิ่นฐานยัง Philadelphia เข้าศีกษา Pennsylvania Academy of Fine Arts ระหว่างนี้ก็มีโอกาสสร้างหนังสั้น Six Men Getting Sick (Six Times) (1967) เพราะต้องการเห็นภาพวาดของตนเองสามารถขยับเคลื่อนไหว ปรากฎว่าชนะรางวัลอะไรสักอย่าง นำเงินที่ได้มาทดลองสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดมา The Alphabet (1968) มีส่วนผสมของ Live-Action กับอนิเมชั่น นำโปรเจคไปเสนอต่อ American Film Institute รับเงินมาอีกก้อนสร้างหนังเรื่องถัดไป จนกระทั่งกลายเป็น Eraserhead (1977) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ประสบความสำเร็จล้นหลาม (ทุนหลักหมื่น แต่ทำเงินหลายล้านเหรียญ!) จนบังเกิดกระแส Cult ติดตามมา
ก่อนอื่นต้องกล่าวถึง Twin Peaks (1990-91) มีจุดเริ่มต้นจากผกก. Lynch พูดคุยเรื่อยเปื่อยกับนักเขียน Mark Frost ครุ่นคิดอยากสร้างเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเมืองเล็กๆ จากนั้น Frost ช่วยขยับขยายแนวคิด “a sort of Dickensian story about multiple lives in a contained area that could sort of go perpetually” ในตอนแรกตั้งชื่อโปรเจค North Dakota ก่อนค้นพบว่าดินแดนแห่งนี้ไม่มีต้นไม้ ทิวเขาสูงใหญ่ เลยปรับเปลี่ยนเป็น Northwest Passage (ชื่อตอน Pilot) ย้ายสถานที่ถ่ายทำมายัง Seattle
หลังการออกแบบเมืองแล้วเสร็จ Lynch & Forst ก็บังเกิดภาพศพหญิงสาวลอยมาเกยตื้นทะเลสาป ได้แรงบันดาลใจจากคดีฆาตกรรม Hazel Irene Drew ณ Sand Lake, New York เมื่อปี ค.ศ. 1908 นำไปเสนอสถานีโทรทัศน์ ABC ได้เงินมา $4 ล้านเหรียญ สำหรับตอนทดลองฉาย (Pilot) ความยาว 94 นาที วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1990 เรตติ้งสูงถึง 21.7 เทียบเท่ากับผู้ชม 34.6 ล้านคน! เลยได้รับโอกาสขยับขยายกลายเป็นซีรีย์ขนาดยาวโดยพลัน
- ซีซันแรก จำนวน 8 ตอน เข้าฉายระหว่าง 8 กุมภาพันธ์ – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1990
- ซีซันสอง จำนวน 22 ตอน เข้าฉายระหว่าง 30 กันยายน ค.ศ. 1990 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 1991
ในขณะที่เสียงตอบรับซีซันแรกดีล้นหลาม ทั้งเรื่องเรตติ้ง เข้าชิง Emmy Award อีกหกสาขา และได้รับการยกย่องหนึ่งในซีรีย์โทรทัศน์ยอดเยี่ยมตลอดกาล! ทว่าความล้มเหลวของซีซันสอง Twin Peaks (1990-91) ทำให้สถานีโทรทัศน์ ABC ล้มเลิกแผนการสร้างซีซันสามโดนพลัน … ว่ากันว่าเหตุผลความล้มเหลวเพราะถูกกดดันจากผู้บริหาร ABC ให้เปิดเผยใครคือคนฆ่า Laura Palmer? ซึ่งความตั้งใจดั้งเดิมของ Lynch & Frost เก็บงำฆาตกรไว้จนซีซันสุดท้าย หรืออาจไม่เปิดเผยเลยด้วยซ้ำ! นั่นทำให้ซีรีย์ค่อยๆหมดสูญสิ้นความน่าสนใจลงโดยพลัน
หลังถูกล้มเลิกการสร้างซีซันสาม Lynch & Frost ปรับเปลี่ยนแผนใหม่มาเป็นหนังไตรภาค สามารถทำข้อตกลงกับ Ciby 2000 (สตูดิโอฝรั่งเศส) ประกาศสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก Fire Walk with Me (1992) ภายหลังจากถูกยกเลิกซีรีย์โทรทัศน์เพียงเดือนเดียว
I couldn’t get myself to leave the world of Twin Peaks. I was in love with the character of Laura Palmer and her contradictions: radiant on the surface but dying inside. I wanted to see her live, move and talk. I was in love with that world and I hadn’t finished with it. But making the movie wasn’t just to hold onto it; it seemed that there was more stuff that could be done.
David Lynch
โดยเรื่องราวของ Fire Walk with Me (1992) นำเสนอช่วงเวลา 7 วันสุดท้ายของ Laura Palmer (รับบทโดย Sheryl Lee) ราชินีงานพรอมผู้เป็นที่หมายปองของใครๆ ก่อนถูกฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น พันศพด้วยพลาสติกใส แล้วโยนทิ้งลงทะเลสาป … นั่นคือจุดเริ่มต้นตอน Pilot ของซีรีย์ Twin Peaks (1990-91)
Sheryl Lee (เกิดปี ค.ศ. 1967) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Augsburg, Bavaria ขณะนั้นบิดาทำงานสถาปนิกอยู่ West Germany ภายหลังภรรยาคลอดบุตรเดินทางกลับมาปักหลักอยู่ Boulder, Colorado ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านการแสดง เมื่อเรียนจบมัธยมเดินทางสู่ New York เข้าโรงเรียน American Academy of Dramatic Arts (AADA) ก่อนหวนกลับมา North Carolina School of the Arts แล้วย้ายไป National Theatre Conservatory in Denver และ University of Colorado, ระหว่างมีผลงานละคอนเวที ได้รับการค้นพบโดยผู้กำกับ David Lynch มองหาหญิงสาวที่อาศัยอยู่ละแวกถ่ายทำ Seattle เพื่อรับบท Laura Plamer ปรากฎตัวเป็นศพ (และฉากย้อนอดีต) ก่อนได้รับโอกาสแสดงภาคก่อน Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992)
รับบท Laura Palmer หญิงสาวมัธยมปลาย ราชินีงานพรอม (Homecoming Queen) เป็นที่หมายปองของใครๆ แต่ลับหลังทั้งเสพยา ทั้งมั่วกาม ขายบริการทางเพศ นอกใจแฟนหนุ่ม Bobby Briggs คบซ้อนกับ James Hurley ยัยนี่ไม่มีอะไรดีสักสิ่งอย่าง!
วันหนึ่ง Laura ถูกทักจากบุคคลแปลกหน้า พร้อมมอบภาพวาดติดฝาผนัง พูดเตือนให้ระวังชายสวมหน้ากากซ่อนตัวอยู่ในห้องนอน เธอจึงเร่งรีบกลับบ้านพบเจอใครบางคนหลบอยู่หลังตู้เสื้อผ้า ก่อนตระหนักว่านั่นอาจคือบิดาแท้ๆ Leland Palmer (รับบทโดย Ray Wise) ที่มักมีพฤติกรรมคุกคาม ชอบพูดดูถูกเหยียดยาม ใช้ความรุนแรง (Child Abused) จนกระทั่งค่ำคืนหนึ่งมิอาจอดรนทน ราวกับถูกวิญญาณชั่วร้าย(BOB)เข้าสิง เลยลงมือข่มขืนบุตรสาวแท้ๆ
เหตุการณ์เมื่อค่ำคืนทำให้สภาพจิตใจของ Laura ปั่นป่วนพลุกพล่าน แสวงหาการเสพโคเคน ทำอะไรไม่รู้ตนเอง แล้วถูกมอมเมาโดยแมงดา Jacques ลากพามาผูกมัด ข่มขืน สี่เส้า (Foursome) จากนั้นบิดาโผล่เข้ามา แทนที่จะให้ความช่วยเหลือกลับลากพาตัวไปสนองความใคร่ จับม้วนพลาสติก ทิ้งลงทะเลสาป จบชีวิตลงอย่างอเนจอนาถ
เมื่อตอนคัดเลือกตัวนักแสดง Lynch & Frost แค่มองหาหญิงสาว “just to play a dead girl” ไม่ได้สนใจว่าจะทำการแสดงได้หรือไม่ แต่เพราะมันมีถ่ายทำฉากย้อนอดีต (Flashback) แค่เพียงซีนปิกนิกเล็กๆกลับสามารถสร้างความประทับใจ จนต้องเขียนบทเพิ่มฉากอื่นๆเข้ามาอีกมากมาย
But no one — not Mark, me, anyone — had any idea that she could act, or that she was going to be so powerful just being dead.
David Lynch
ความประทับใจดังกล่าว สร้างโอกาสให้ Lee ได้รับบทสมทบ Wild at Heart (1990) และผกก. Lynch บังเกิดความเชื่อมั่น ต้องการสร้างภาคก่อน (Prequel) ที่มีเธอคือจุดศูนย์กลางหนัง
การแสดงของ Lee ต้องชมเลยว่ามีวิวัฒนาการตัวละครที่ไม่ธรรมดา เริ่มต้นราวกับนางฟ้า ราชินีงานพรอม เลิศเลอ สวยสมบูรณ์แบบ แต่ทุกอากัปกิริยาล้วนเคลือบแอบแฝง ซุกซ่อนร่องรอยความผิดปกติ ตัวตนแท้จริงที่ถูกปกปิดไว้จักค่อยๆเปิดเผยออกมาทีละนิด ซึ่งมันไม่ได้สิ้นสุดแค่พบเห็นเล่นยา ขายบริการ ยังดำดิ่งสู่ก้นเบื้องจิตใจ เผชิญหน้าด้านมืด/สิ่งชั่วร้าย ส่งเสียงกรีดกราย ตกอยู่ในความสิ้นหวังอาลัย … แปรสภาพจาก Homecoming Queen กลายเป็น Fucked Up Girl
แม้เสียงตอบรับตอนหนังออกฉายจะต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แต่การแสดงของ Lee ได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลาม เข้าชิง Independent Spirit Awards: Best Actress ถึงขนาดตั้งฉายา “Scream Queen” ส่งเสียงกรีดร้องที่บาดแทงหัวใจ สัมผัสได้ถึงความหวาดกลัว สิ้นหวัง … มันช่างเป็นสัมผัสทางอารมณ์เดียวกับภาพวาด Edvard Munch: The Scream (1893)
I have had many people, victims of incest, approach me since the film was released, so glad that it was made because it helped them to release a lot.
Sheryl Lee
มันเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ Lee น่าจะมีอนาคตสดใส แต่เธอกลับไม่ค่อยได้รับโอกาสเล่นบทดีๆอีกสักเท่าไหร่ อาจเพราะ Twin Peaks ได้สร้างภาพจำ “Scream Queen” มิอาจลบล้างตัวละครสาวใจแตก/ภาพความตายของ Laura Palmer
อีกคนที่ต้องกล่าวถึงคือ Raymond Herbert Wise (เกิดปี ค.ศ. 1947) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Akron, Ohio ในครอบครัวเคร่งครัดศาสนา, หลังเรียนจบ Kent State University เข้าสูงวงการจากเป็นนักแสดงโทรทัศน์ แจ้งเกิดกับซีรีย์ Twin Peaks (1990-91), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Swamp Thing (1982), RoboCop (1987), Jeepers Creepers (2003), Good Night, and Good Luck (2005), ซีรีย์ Reaper (2007-09), X-Men: First Class (2011) ฯ
รับบท Leland Palmer ทนายความที่ได้รับนับหน้าถือตาจากชาวเมือง Twin Peaks แต่งงานกับภรรยา Sarah มีบุตรสาวสวย Laura ชีวิตครอบครัวเหมือนจะสมบูรณ์แบบ แต่โดยไม่ทราบสาเหตุ เขามักถูกวิญญาณร้าย BOB เข้าสิงสถิต แอบข่มขืนบุตรสาวตั้งแต่อายุ 12 ปี! จากนั้นชอบพูดดูถูกเหยียดหยาม ใช้ความรุนแรงกระทำร้ายร่างกาย (Child Abused) กระทั่งวันหนึ่งพบเห็นเธอขายบริการทางเพศ จึงมิอาจควบคุมตนเองได้อีกต่อไป
ใบหน้าของ Wise ช่างมีความหวาดสะพรึงยิ่งนัก! ตอนแสดงสีหน้าเคร่งเครียด จริงจัง ดวงตาถมึงทึง ราวกับสัตว์ป่าดุร้าย จ้องกัดกินเนื้อหนัง และถ้อยคำพูดที่สร้างแรงกดดัน ควบคุมครอบงำบุตรสาวให้ต้องก้มหัวศิโรราบ มิอาจต่อต้านขัดขืน … นั่นเพราะ Laura ถูกกระทำ (Abused) มาตั้งแต่เด็ก เลยไม่สามารถโต้ตอบอะไร
Deserving of near equal mention is Ray Wise as Laura’s father Leland. Much like Lee, Wise balances the loving, sympathetic father versus the abusive control freak. A scene where Leland confronts Laura over dinner about washing her hands is one of the most upsetting, uncomfortably effective portrayals of parental maltreatment in all of cinema.
นักวิจารณ์ Oliver Machnaughton จากนิตยสาร The Guardian
ผมไม่รู้ว่าซีรีย์มีการอธิบายจุดเริ่มต้นความผิดปกติของตัวละครหรือเปล่า? ทำไมถึงกลายมาเป็นบิดาผู้เหี้ยมโหด จิตวิปริต หนังเรื่องนี้ทำราวว่าเขาถูกวิญญาณชั่วร้าย BOB เข้าสิงสถิต (Possessing) แต่เราอาจตีความถึงคนสองบุคลิก (Split Personality) มันต้องมีแรงกระตุ้นอะไรบางอย่างจากภายใน … ฤาอิทธิพลของเมือง Twin Peaks ที่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีสองสิ่งขั้วตรงข้าม?
Is he a decent man broken by grief? A victim turned victimizer despite his best efforts? A monster preying upon the powerless beneath a veneer of suburban sanity?
นักวิจารณ์ Sean T. Collins จากนิตยสาร Rolling Stone
ถ่ายภาพโดย Ronald Víctor García ตากล้อง/ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เติบโตขึ้นที่ Los Angeles ร่ำเรียนการวาดรูปยัง Art Center College of Design ก่อนเปลี่ยนมาเป็นสาขาภาพยนตร์ เข้าสู่วงการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 แต่เริ่มมีชื่อเสียงกับ One from the Heart (1981), ซีรีย์ Crime Story (1987-88), ตอน Pilot ของ Twin Peaks (1990), Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992) ฯ
งานภาพของหนังในสไตล์ Lynchian มักมีความบิดๆเบี้ยวๆ แสงสีสันฉูดฉาด ชอบเลือกมุมกล้องแปลกๆ ออกแบบฉากให้ดูประหลาดๆ บรรยากาศเหนือจริง (Surreal) เหมือนฝัน (Dream-like) สร้างสัมผัสเหมือนสิ่งชั่วร้ายกำลังคืบคลานเข้ามา (Ominous Feeling) ฉากการสนทนาเหมือนจะนำพาสู่อะไรบางอย่าง แล้วมักค้างเติ่งให้ผู้ชมขบครุ่นคิด คาดเดา หาข้อสรุปเอาเองเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเวลาเปิดเผยปริศนา มักใช้ลูกเล่น ‘jump scare’ ทำให้สะดุ้ง ตกใจ ส่งเสียงกรีดร้องภายใน
ในตอนแรกหนังมีแผนจะเริ่มต้นถ่ายทำเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 แต่ทว่า Kyle MacLachlan ปฏิเสธที่จะกลับมารับบท Special Agent Dale Cooper เพราะกลัวการเป็น ‘typecast’ และไม่ประทับใจเรื่องราวของซีซันสองนัก แต่หลังจากผกก. Lynch ยินยอมประณีประณอม ปรับลดบทบาทให้เหลือระยะเวลาถ่ายทำแค่ห้าวัน เลยสามารถเริ่มต้นถ่ายทำวันที่ 5 กันยายน – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1991
ผมไม่แน่ใจว่าซีรีย์ Twin Peaks (1990-91) มีการกล่าวถึงศพแรก ความตายของ Teresa Banks หรือเปล่า? แต่ในบริบทของ Fire Walk with Me (1992) เป็นการเริ่มต้น-สิ้นสุดด้วยคดีฆาตกรรม ห่อศพในพลาสติก แล้วล่องลอยไปตามกระแสธารา

หัวหน้าเรียกติดต่อหา แต่ทว่าเจ้าหน้าที่ Chester Desmond กลับกดปุ่มเก็บเสาอากาศ มันดูเป็นการกระทำพิลึกพิลั่น กลับตารปัตรตรงกันข้าม ถ้าสัญญาณไม่ชัดมันก็ควรค้างเสาอากาศไว้ไม่ใช่หรือ? การกระทำเช่นนี้เหมือนไม่อยากคุยด้วยชอบกล? … หรือมันมีเหตุผลอื่นที่ทำให้ผมเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน?
แซว: ทำไม Chief Gordon Cole (รับบทโดย David Lynch) ถึงชอบพูดเสียงดัง? เป็นคนหูตึง? ผมครุ่นคิดว่ามันสะท้อนสถานะของ Bureau Chief หัวหน้าที่ไม่ชอบรับฟังใคร (หูตึง) วันๆเอาแต่ออกคำสั่งลูกน้อง (ส่งเสียงดัง)

ผมไม่แน่ใจว่า Lil มีบทบาทอะไรในซีรีย์หรือเปล่า? แต่การปรากฎตัวของเธอในหนัง แสดงท่าทางแปลกประหลาด ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย? แล้วยังไม่ทันไรหนังก็เฉลยคำตอบออกมาโดยพลัน นี่เป็นการอารัมบทความลุ่มลึกล้ำ ชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิด ค้นหาคำตอบซ่อนเร้น … รอบนี้เป็นแค่การซักซ้อม เตรียมความพร้อม วอร์มอัพ คล้ายๆแบบอารัมบทของ Un Chien Andalou (1929), Mirror (1975) ฯ
และมันมีสิ่งหนึ่งที่หนังไม่ให้คำตอบ ดอกกุหลาบสีน้ำเงิน (Blue Rose) ผมพยายามสังเกตหาตลอดทั้งเรื่องก็ไม่พบเจอคำอธิบายใดๆ จึงได้ข้อสรุปว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจทุกสิ่งอย่าง ปล่อยละวางมันบ้างก็ได้! … กุหลาบสีน้ำเงินเป็นดอกไม้ที่หายาก เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงมีความหมายว่ารักที่ไม่สามารถเป็นไปได้


ภาพนี้ภาพเดียว ป้ายชื่อบ่งบอกทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับ(เมืองสมมติ) Deer Meadow, Washington
- ป้ายชื่อมีเขากวาง ซึ่งเป็นสัตว์รักสงบ ไม่ชอบการต่อสู้ เลยมักถูกไล่ล่า ฆ่าตัดเขา ผู้แข็งแกร่งข่มเหงผู้อ่อนแอกว่า
- เงาใบไม้อาบครึ่งหนึ่งของป้ายสำนักงาน Sheriff Deer Meadow แสดงถึงการมีลับลมคมใน บางสิ่งอย่างปกปิดซุกซ่อนเร้นไว้
สองเจ้าหน้าที่ FBI เมื่อมาถึงสำนักนายอำเภอ ได้รับการต้อนรับอย่างไม่เป็นมิตร (Hostile) พยายามขับไล่ ผลักไส ไม่ต้องการให้คนนอกเข้ามายุ่งวุ่นวายคดีฆาตกรรม นั่นแสดงให้เห็นว่ามันอาจมีลับลมคมในเคลือบแอบแฝง … ช่วงกลางๆเรื่องจะมีการเปิดเผยว่าหนึ่งในเจ้าหน้าที่ Deer Meadow เดินทางมาส่งมอบโคเคนให้กับ Bobby Briggs (และ Laura Palmer) แต่ดันเข้าใจผิดเลยเกิดการยิงต่อสู้จนเสียชีวิต

การหายตัวไปอย่างลึกลับของเจ้าหน้าที่ Chester Desmond มันช่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ไร้คำอธิบายใดๆ ถ้าไม่โดนลักพาตัว ก็ถูกฆาตกรรม (อาจจะเป็นฝีมือนายอำเภอ Deer Meadow ที่มีปัญหากัน) แต่ต่อให้ขบครุ่นคิดหัวแทบแตกก็คงตอบไม่ได้ แบบเดียวกับนัยยะของ Blue Rose จงใจค้างๆคาๆ ไม่จำเป็นว่าเราต้องหาคำตอบให้กับทุกสิ่งอย่าง … จริงๆมันพอมีเงื่อนงำตรงข้อความบนรถ “Let’s Rock” คือคำกล่าวแรกของ Man from Another Place เป็นการบอกใบ้ว่า Chester Desmond อาจถูก(ลัก)พาตัวไปยัง The Lodge สักแห่งหน?
แต่ผมพอจะเข้าใจเหตุผลการสูญหายอย่างลึกลับของตัวละครนี้ อันเกิดจาก Kyle MacLachlan ผู้รับบท Dale Cooper ผิดหวังกับซีซันสอง เลยไม่อยากหวนกลับมา พยายามต่อรองผกก. Lynch ให้ลดบทบาท/วันถ่ายทำลง … กล่าวคือ Chester Desmond เป็นตัวละครที่ถูกปรับเปลี่ยน/เข้ามาแทน Dale Cooper หลังจาก MacLachlan ปฏิเสธเล่นหนัง

With this ring, I thee wed.
The Man from Another Place
ก่อนจะกล่าวถึงแหวน Owl Cave Ring (สัญลักษณ์ที่ดูเหมือนเทือกเขาสองลูกซ้อนกัน) ต้องกล่าวถึง The Man from Another Place เคยกล่าวว่าตนเองคือ The Arm ถือกำเนิดขึ้นจากแขนซ้ายของ MIKE คาดว่าน่าจะเป็นเจ้าของแหวนวงนี้ที่ใครก็ตามสวมใส่จักทำให้หมดทุกข์หมดโศก “I want all my garmonbozia.” (แปลว่า pain and sorrow) ซึ่งนั่นสร้างความไม่พึงพอใจแก่ BOB พบเห็นใครสวมใส่แหวนวงนี้จะลงมือฆ่าสังหารโหด! … พูดง่ายๆก็คือแหวนต้องคำสาป สัญญะของทั้งความโชคดีและโชคร้าย, โชคดีคือสวมใส่แล้วจักหมดทุกข์หมดโศก จิตวิญญาณได้รับการปกป้อง แต่ความโชคร้ายคือถ้าได้พบเจอ BOB จะถูกฆ่าสังหารโหด

เกร็ด: ในความเข้าใจของผมเอง MIKE & BOB คืออดีตคู่หู วิญญาณชั่วร้าย เคยฆ่า/ข่มขืนผู้คนมากมาย และต่างมีรอยสักบนแขน Fire Walk with Me แต่ทว่าวันหนึ่ง MIKE ละเลิกทุกสิ่งอย่าง ต้องการกลับตัวกลับใจ ตัดแขนข้างที่มีรอยสัก เลยกลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตของ BOB สัญญะการต่อสู้ระหว่างดี vs. ชั่ว
การเดินทางของแหวนวงนี้ เริ่มต้นจาก Teresa Banks (ถูกฆาตกรรม) → เจ้าหน้าที่ Chester Desmond (สูญหายตัว) → เมื่อครั้น Laura ตื่นขึ้นจากความฝัน พบเห็น Annie Blackburn ที่สวมใส่แหวนดังกล่าวนอนจมกองเลือดอยู่ด้านข้าง → ชายแปลกหน้า (MIKE) ขับรถมาด่ากราดบิดา พยายามเปิดเผยความจริงแก่ Laura → และช่วงท้าย MIKE โยนแหวนให้กับ Laura พอสวมใส่สร้างความไม่พึงพอใจต่อ BOB เลยถูกฆ่าสังหารโหด

WrestleMania XL ทำให้ผมเพิ่งรับรู้ว่าระฆัง (Liberty Bell) คือสัญลักษณ์ของเมือง Philadelphia ซึ่งวิธีการถ่ายทำเริ่มจากเงามืดเคลื่อนสู่ระฆัง เป็นการแสดงให้เห็นว่าที่ตั้งสำนักงานใหญ่ FBI คือองค์กรนำเอาด้านมืด/สิ่งชั่วร้าย เปิดเผยสู่สาธารณะอย่างก้องกังวาน

เจ้าหน้าที่พิเศษ Phillip Jeffries (รับบทโดย David Bowie) สูญหายตัวไปเมื่อสองปีก่อน จู่ๆปรากฎตัวขึ้น เดินทางมาสำนักงานใหญ่เพื่อบอกเล่าการมีตัวตนของสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจมนุษย์ ประกอบด้วย Jumping Man, Man from Another Place, BOB, Mrs. Chalfont & หลานชาย ฯ … นั่นคือความเข้าใจของผมนะครับ
เกร็ด: David Bowie มีความเสียดายบทบาทของตนเองอย่างมาก เขาใช้เวลาถ่ายทำ 4-5 วัน แต่กลับปรากฎตัวในหนังแค่ไม่กี่นาที มันมีหลายสิ่งอย่างถูกตัดออกไป แนะนำให้หารับชมจาก Twin Peaks: The Missing Pieces จะช่วยทำความเข้าใจเหตุผลการมีตัวตนของตัวละครนี้มากขึ้น

ระหว่างการเล่าเรื่องของ Phillip จะมีการฉายภาพสถานที่ที่บุคคล/สิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านั้นนัดพบเจอกัน สังเกตว่ามันจะมีสัญญาณรบกวน คล้ายๆ TV Static หรือ White Noise แต่หนังใช้การซ้อน Blue Noise (สีของดอกกุหลาบ?) ผมอ่านเจอว่าคือประเภทหนึ่งของ Noise ที่มีพลังงานมาก คลื่นความถี่สูง และสร้างเสียง High-Pitched เกินกว่ามนุษย์จะได้ยิน … สอดคล้องเข้ากับโลกเหนือความเข้าใจมนุษย์ได้อย่างดี

Laura Palmer คบซ้อนผู้ชายสองคนที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม
- Bobby Briggs (รับบทโดย Dana Ashbrook) เป็นคนอ่อนไหว นุ่มนวล โหยหาความรักอบอุ่น สมบูรณ์แบบ ไม่ต้องการร่วมรักก่อนแต่ง นัดพบเจอในห้องเก็บของ
- James Hurley (รับบทโดย James Marshall) มีความดิบเถื่อน รุนแรง เสพโคเคน ขี้หึงหวง เต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา มาพบเจอกันหน้าโรงเรียน


พอกลับมาบ้านพบเห็นสมุดบันทึก/ไดอารี่ของตนเองถูกฉีกขาด รีบตรงไปหาเพื่อนเก่า Harold Smith ที่ป่วยโรคกลัวชุมชน (Agoraphobia) [อาการเดียวกับ Hikikomori] ไม่เคยออกจากบ้านไปไหน บุคคลเดียวที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่ใช่คนฉีกไดอารี่เล่มนี้อย่างแน่นอน!
ความหวาดกลัวของ Laura ต่อบุคคลที่แอบเข้าห้องนอนตนเอง วินาทีเอ่ยกล่าวคำพูด “Fire Walk with Me” มันราวกับมีสิ่งชั่วร้ายขยับปากพูด แล้วจู่ๆแทรกภาพใบหน้าผี สีหน้าซีดเผือก ทำเอาผู้ชมสะดุ้งโหยง ตกอกตกใจ อาจเรียกว่า ‘jump scare’ ก็ได้กระมัง … หรือเราจะมองใบหน้าซีดเผือดดังกล่าว คือตัวตนแท้จริงของเธอที่เปิดเผยออกมาก็ได้กระมัง

การปรากฎตัวของ Mrs. Chalfont และหลานชาย เพื่อทักเตือนและมอบกรอบรูปภาพให้กับ Laura มันจะมี Blue Noise ปรากฎแทรกขึ้นมาแวบหนึ่ง เพื่อสื่อถึงทั้งสองคือบุคคลอยู่นอกเหนือธรรมชาติอธิบาย … แต่ผมแอบงงกับตอนจบฉากนี้ แทนที่จะให้ทั้งสองหายวับพร้อมๆกับ Blue Noise กลับก้าวเดินไปด้านหลัง เพื่ออะไร?

เมื่อเปิดประตูห้องนอน สิ่งที่ Laura พบเห็นคือ BOB หลบอยู่หลังตู้เสื้อผ้า แต่ทว่าบุคคลก้าวออกจากบ้านกลับเป็นบิดา Leland นั่นย่อมสร้างความสับสน ฉงนสงสัย สรุปแล้วคือใครกันแน่?


Laura เต็มไปด้วยความสับสนระหว่างรับประทานอาหารเย็น แล้วจู่ๆบิดาเดินเข้ายืนค้ำศีรษะ (สำแดงอำนาจบาดใหญ่) พบเห็นเล็บมือบุตรสาวเปลอะเปลื้อนดินกรัง อีกทั้งยังแสดงความไม่พอใจจี้ห้อยคอที่แฟนหนุ่มมอบให้ (ยุคสมัยนั้น การเสียตัวก่อนวัยอันควรยังเป็นเรื่องที่สังคมยินยอมรับไม่ได้) การออกคำสั่งให้ไปล้างมือเพราะความสกปรก/พฤติกรรมสำส่อน จึงเป็นคำพูดสองแง่สองง่าม!
แต่จริงๆแล้วการกระทำของบิดาครั้งนี้ มันมีลับลมคมในมากกว่านั้น เพราะก่อนหน้านี้เขาบังเอิญพบเห็นบุตรสาวขายบริการทางเพศ มันจึงเป็นความเก็บกด อดกลั้น ขัดแย้งในตนเอง

จากภาพวาดประตูทางเข้า พอหญิงสาวนอนหลับก็ปรากฎขึ้นในความฝัน นี่แสดงว่ารูปภาพนี้คือประตูสู่ The Lodge สถานที่ที่บุคคลเหนือธรรมชาติอธิบายมาพบเจอกัน ซึ่งคราวนี้ Laura จะได้พบกับ Mrs. Chalfont & หลานชาย และ Man from Another Place พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ Dale Cooper


เมื่อตอน Laura ตื่นขึ้นจากความฝันแรก พบเห็น Annie Blackburn นอนจมกองเลือดอยู่ด้านข้าง “The good Dale is in the lodge and he can’t leave.” นั่นฟังดูต้องเชื่อมโยงกับซีรีย์ ไม่มีทางที่ผู้ชมจะสามารถขบครุ่นคิด ค้นหาคำตอบได้โดยทันที … ฤาว่าเจ้าหน้าที่ Dale Cooper พบเจอในความฝันเมื่อครู่คือ good Dale? ไม่สามารถกลับออกจาก The Lodge?

ก่อนที่ Laura Palmer จะเข้าไปในบาร์ Roadhouse ถูกหญิงแปลกหน้าทักเตือน (ถ่ายจากด้านข้างเห็นไม่ชัด ผมเคยคาดเดาว่าคือ Mrs. Chalfont) เหมือนพยายามบอกไม่ให้เข้าไปในร้าน
When this kind of fire starts, it is very hard to put out. The tender bows of innocence burn first, and the wind rises. And then all goodness is in jeopardy.
Mrs. Chalfont
และพอหญิงแปลกหน้าจากไป Laura หันเข้าหากระจก พบเห็นภาพสะท้อนตนเองอยู่ในความมืดมิด อันนี้แล้วแต่จะตีความว่าคือจิตวิญญาณบริสุทธิ์ที่กำลังมอดไหม้ หรือตัวตนแท้จริงหลบซ่อนอยู่ภายใน

มันเป็นความจงใจที่เมื่อ Laura ก้าวเข้ามาในบาร์ Roadhouse แล้วตัดไปภาพนักร้องบนเวที Julee Cruise ต่างมีระยะภาพ Medium Shot นักแสดงยืนตำแหน่งกึ่งกลางเป๊ะๆ ทำราวกับว่าทั้งสองเป็นตัวตายตัวแทน บุคคลเดียวกัน หรือคือบทเพลงพรรณาความรู้สึกภายในจิตใจวัยรุ่นสาว
และอีกความน่าสนใจคือแสงสีที่อาบฉาบนักร้อง Julee Cruise จากแสงขาวกลายมาเป็นน้ำเงิน (Blue Rose?) สามารถสื่อถึงจากจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์(ของ Laura) ถูกทำให้แปดเปื้อน โสมม หรือจะมองว่าเปิดเผยสันดานธาตุแท้ตัวตนของหญิงสาวก็ได้เช่นกัน


บาร์ Roadhouse ภายนอกก็ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บริการลูกค้าทั่วๆไป แต่ด้านหลังร้าน (The Pink Room) กลับเป็นสถานที่จัดปาร์ตี้หมู่ (Sex Party) สำหรับหญิงสาวยังไม่บรรลุนิติภาวะขายบริการทางเพศ
- หน้าร้านบรรเลงบทเพลงสไตล์ New Age เคลิบเคลิ้มล่องลอย เต็มไปด้วยแสงสีสัน ลูกค้านั่งเรียงรายอย่างสงบเสงี่ยม
- แต่ด้านหลังร้าน (The Pink Room) บรรเลงเพลง Rock เสียงกลองจับต้องได้ พบเห็นเพียงแสงสีแดงฉาน ลูกค้ายืนเริงระบำ ปลดปล่อยตนเองไร้ขีดจำกัด


หลังปาร์ตี้หมู่สิ้นสุด กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลแนวนอนผ่านพื้นร้านที่เต็มไปด้วยขวดเหล้า ก้นบุหรี่ จากนั้นทำการ Cross-Cutting กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลแนวดิ่งลงจากทิวเขา Twin Peaks … ทิศทางที่ตัดกันของการเคลื่อนเลื่อนกล้อง เป็นการค่อยๆเปิดเผยด้านมืด จุดตกต่ำของเมืองแห่งนี้ ภูเขามันไม่ได้มีแค่ยอดสูงใหญ่ เบื้องล่าง ภายใต้ ย่อมเต็มไปด้วยสิ่งซ่อนเร้นอยู่มากมาย

ตอนที่บิดาเดินทางมารับ Laura ที่บ้านของ Donna Hayward พบเห็นทั้งสองนั่งอยู่บนโซฟา แล้วจู่ๆปรากฎภาพบุตรสาวเปลือยกายกับหญิงอีกคนบนเตียง … ขณะนี้ผู้ชมจะยังไม่เข้าใจว่ามันคือภาพ Flashback ความครุ่นคิดของผมตอนนั้นเพียงแค่บิดาจินตนาการภาพบุตรสาวเปลือยกาย พยายามควบคุมอาการหื่นกระหายของตนเอง


ระหว่างกลับบ้าน จู่ๆรถสิบล้อหยุดจอดให้คนข้าม แล้วรถคันหลังขับวนมาส่งเสียงตะโกนโหวกเหวกโวยวาย บิดาพยายามเร่งเครื่องเสียงดังเพื่อไม่ให้บุตรสาวได้ยินว่าอีกฝ่ายพร่ำบ่นอะไร ตัดกลับไปกลับมา เสียงกรีดร้อง และสุนัขเห่าหอน … นี่เป็นซีเควนซ์ที่วุ่นๆวายๆ เสียงเครื่องยนต์เบี่ยงเบนความสนใจชิบหาย ผมต้องกลับมาตั้งใจฟังคำพูดของชายแปลกหน้า (ก็ไม่รู้ว่าเขาคือ MIKE หรือบุคคลที่ถูก MIKE เข้าสิงสถิต) ถึงพบว่าพยายามบอกกล่าว Leland ก็คือ BOB


ระหว่างที่บิดาแวะจอดยังร้านซ่อมรถ เขาก็เริ่มหวนระลึกความหลัง Leland แอบคบชู้นอกใจภรรยา ร่วมรักกับโสเภณี Teresa Banks ที่มีความละม้ายคล้ายบุตรสาว Laura แล้วได้รับชักชวนร่วมรักสี่เส้า (Foursome) พอมาถึงโรงแรมแวบเห็นบุตรสาว แสดงอาการขวัญหนีดีฟ่อ หวาดสะพรึงกลัว เกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน


หลังจาก Leland ก้าวออกจากโรงแรมม่านรูด จู่ๆหลานชายของ Mrs. Chalfont ก้าวออกมากระโดดโลดเต้น “Black dogs run at night.” นี่มันอาจดูไม่เกี่ยวข้อง ไม่สมเหตุสมผล แต่มันคือการนำเสนอในเชิงเหนือจริง ที่เราสามารถตีความถึงโศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับ Teresa Banks ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับ Leland อย่างแน่แท้!

เวลาผมเห็นใครเอานมมาเสริฟในห้องนอน ชวนนึกถึงภาพยนตร์ของ Alfred Hitchcock ขึ้นมาโดยพลัน! มันต้องมีอะไรบางอย่างใส่ลงในนั้น (มีการตัดสลับกับ Laura กำลังเสพโคเคน) ซึ่งหนังเรื่องนี้น่าจะคือยานอนหลับ เพื่อค่ำคืนนี้ภรรยาจะได้ไม่รับรู้เรื่องราวใดๆ ซึ่งเธอก็ได้ฝันเห็นม้าสีขาวยืนอยู่ในห้อง นี่ย่อมอ้างอิงถึงอีกปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrei Tarkovsky สัตว์สัญลักษณ์ของการมีชีวิต


ม้าสีขาวของมารดา น่าจะสื่อถึงความฝันดี? ตรงกันข้ามกับ Laura ดูเหมือนกำลังฝันร้าย (อาการของขึ้นหลังการพี้ยา) พบเห็นแสงน้ำเงิน(สีของสิ่งเหนือธรรมชาติ)กระพริบติดๆดับๆ ชายแปลกหน้าปีนป่ายเข้าทางหน้าต่าง ตรงมาข่มขืน ตื่นขึ้นมากรีดร้องลั่น “Who are you?” แววหนึ่งปรากฎภาพ BOB อีกแวบหนึ่งกลายเป็นบิดา Leland สรุปแล้วใครกัน?

วันถัดมา Laura ยังคงตัดสินใจเดินทางไปโรงเรียน แต่ทุกสิ่งอย่างดูผิดปกติไปเสียหมด มุมกล้องเอียงๆ นาฬิกาเบลอๆ โดยเฉพาะรูปภาพที่เคยมีนางฟ้า ขณะนี้กลับค่อยๆเลือนหาย ราวกับว่าเธอได้สูญเสียจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ ไร้ผู้ปกป้อง (Guardian Angel) กำลังจะตกนรกมอดไหม้

ตอนที่ Laura ตัดสินใจทอดทิ้ง James Hurley วิ่งหนีเข้าป่า มันมีการละเล่นกับสัญญาณจราจร ขณะนั้นไฟแดงบอกให้หยุด แต่แทนที่รถจะพุ่งออกตอนไฟเขียว กลับรอคอยจนไฟแดง แหกกฎจราจร … มันก็คือตัวละครกระทำสิ่งต้องห้าม/ไม่ควรทำ และกำลังจะได้รับผลกรรมตอบสนอง

ตอนที่แมงดา Jacques Renault ทำการจับมัด ลงมือข่มขืน Laura มันช่างพอดิบพอดีกับบิดาก้าวเข้ามายืนหลบตรงหน้าต่าง แต่ความน่าสนใจของซีนนี้คือภาพนกในกรง (=Laura ไม่สามารถดิ้นหลบหนี) และซูมเข้าไปในกองไฟ (Fire Walk with Me) มันอาจคือเพลิงราคะของ Jacques (และ Leland) หรือจิตวิญญาณมอดไหม้ของ Laura

Leland/BOB ลากพาตัว Laura และโสเภณี Ronette Pulaski มายังโบกี้รถไฟ (สัญญะของการออกเดินทางมุ่งสู่…) จับเธอนั่ง ก้มลงมองกระจกบนพื้น พบเห็นภาพของ BOB ส่งเสียงหัวเราะเยาะเย้ย → Laura กรีดร้องลั่น → สัญญาณ Blue Noise → และความตกอกตกใจของ Man from Another Place (ส่ง MIKE ไปให้ความช่วยเหลือ)
ภาพของ BOB ที่ปรากฎขึ้นตำแหน่งเดียวกับ Laura บางคนอาจมองว่าคือภาพหลอน แต่ขณะเดียวกันยังสามารถสื่อถึง BOB=Laura สารพัดพฤติกรรมเสื่อมทรามของเธอไม่แตกต่างจากวิญญาณชั่วร้าย/ถูกสิ่งนอกเหนือธรรมชาติอธิบายเข้าสิงสถิต
ส่วนสัญญาณ Blue Noise และภาพของ Man from Another Place (ที่อยู่ยัง The Lodge) ผมมองว่าเป็นเชื่อมความรู้สึก เพราะชายจากที่อื่นสามารถซึมซับความเจ็บปวด “garmonbozia” (pain and sorrow) ของ Laura ขณะนี้เธอถูกทรมาน เขาเลยสัมผัสถึงความรู้สึกดังกล่าว

ฝั่งขวาคือบิดาใช้คำว่า “always thought” ตรงกันข้ามกับฝั่งซ้าย BOB ใช้คำว่า “never knew” นี่สะท้อนถึงการมีชีวิตสองโลกของ Laura รับรู้ว่าบิดาข่มขืนตนเอง แต่สรรหาข้ออ้างว่าอีกฝ่ายคือใครไม่รู้จัก … ใจหนึ่งสมยินยอม แต่ใจหนึ่งกลับต่อต้านขัดขืน นั่นอาจคือเหตุผลที่ทำให้นางฟ้าประจำตัวทอดทิ้งไป


ทั้งๆไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรด้วยเลย กลับต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย แต่ทว่า Ronette Pulaski สวดอธิษฐาน กล่าวขอโทษ รับสารภาพผิด แล้วจู่ๆนางฟ้าประจำตัว (Guardian Angel) ปรากฎกายขึ้น ให้ความช่วยเหลือคลายเชือกมัด หาหนทางหลบหนีเอาตัวรอดได้สำเร็จ … ตรงกันข้ามกับ Laura ที่ทำได้เพียงเหม่อมองนางฟ้าประจำตัวของคนอื่น


ภายหลังทอดทิ้งศพบุตรสาว Leland ก้าวเดินเข้าไปในป่า ดูราวกับเส้นทางขุมนรก ปรากฎภาพ(จิตวิญญาณ)ส่งเสียงกรีดร้อง ก่อนที่ทิวทัศน์จะแปรสภาพสู่ผ้าม่าน เปิดออก ก้าวเข้ามาใน The Lodge (หรือ Black Lodge) เผชิญหน้ากับ(ยมทูต) MIKE และ Man from Another Place รอฟังคำพิพากษาตัดสิน
Black Lodge: the shadow self of the White Lodge, a place of dark forces that pull on this world. A world of nightmares. Shamans reduced to crying children, angry spirits pouring from the woods, graves opening like flowers.
Hawk นายอำเภอ Twin Peaks
For there is another place, [the White Lodge’s] opposite, of almost unimaginable power, chock full of dark forces and vicious secrets. No prayers dare penetrate this frightful maw. Spirits there care not for good deeds and priestly invocations. They are as like to rip the muscle from our bones as greet you with a happy g’day. And, if harnessed, these spirits, this hidden land of unmuffled screams and broken hearts, will offer up a power so vast that its bearer might reorder the earth itself to his liking.
Windom Earle อดีตเจ้าหน้าที่ FBI
คำกล่าวที่ยกมานี้จากคำอธิบายของตัวละครในซีรีย์หลัก (อ่านเจอจาก Wiki Fandom) ทำให้ผมได้ข้อสรุปคร่าวๆถึง Black Lodge & White Lodge สถานที่อยู่อาศัยของสิ่งเหนือธรรมชาติอธิบาย Black คือศูนย์รวมความชั่วร้าย, White ย่อมคือศูนย์รวมคุณความดี
ผมเพิ่งฉุกครุ่นคิดถึงลวดลายหยักๆบนพื้น The Lodge มันช่างละม้ายคล้ายสัญลักษณ์บนแหวน Owl Cave Ring ที่สื่อถึงเทือกเขา Twin Peaks ซึ่งในบริบทนี้อาจหมายถึงความคู่ขนานระหว่างดี-ชั่ว หยักขึ้น-หยักลง ชีวิตแห่งความยุ่งเหยิง แต่ทั้งหมดมันก็แค่ภาพลวงตา, ส่วนผ้าม่านสีแดง สัญญะของเลือด ความตาย สถานที่ชั่วร้าย ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลัง (สิ่งที่อยู่ด้านหลังผ้าม่านเวที)


ทำไมบิดา Leland ถึงค่อยๆทิ้งตัวลงนอนราบ? ผมครุ่นคิดว่าน่าจะเป็นการย้อนรอยศพบุตรสาว Laura ที่กำลังล่องลอยไปตามกระแสน้ำ จิตวิญญาณของชายคนนี้ได้สูญสลาย เหลือเพียงร่างกายที่เข้ามาใน The Lodge เผชิญหน้ากับคำพิพากษาตัดสิน

แต่สถานที่แห่งนี้คือ Black Lodge ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งชั่วร้าย BOB สูบเอาคราบเลือดจากร่างกายของ Leland โยนทิ้งลงพื้น จากนั้น Man from Another Place ก็ซึมซับ รับประทาน (จากรอยเลือดบนพื้น แปรสภาพเป็นมื้ออาหาร) กลืนกิน Garmonbozia (pain and sorrow) แล้วปลดปล่อยชายนี้กลับสู่โลกความจริง

แม้ร่างกายจะถูกฆาตกรรม ล่องลอยคอในทะเลสาป แต่การสวมใส่แหวน Owl Cave Ring ทำให้จิตวิญญาณของ Laura ได้รับการปกป้อง ล่องลอยมาถึงยัง The Lodge ปลอบประโลมโดย Dale Cooper และนางฟ้าประจำตัว (Guardian Angel) หวนกลับมาเยี่ยมเยียน
ผมครุ่นคิดว่านางฟ้าประจำตัว (Guardian Angel) น่าจะอาศัยอยู่ White Lodge แต่ขณะนี้เดินทางมาเยี่ยมเยียนวิญญาณของ Laura ที่ถูกกักขังอยู่ Black Lodge การใช้เทคนิคภาพซ้อน เห็นเพียงเงาเลือนลาง แสงไฟกระพริบ กำลังล่องลอยจากไป (Black Lodge คือสถานที่ชั่วร้าย คงทำให้นางฟ้ามิอาจให้ความช่วยเหลืออะไร)

ตัดต่อโดย Mary Sweeney (1953-) เกิดที่ Madison, Wisconsin สำเร็จการศึกษาประวัติศาสตร์ University of Wisconsin แล้วเปลี่ยนมาเรียนวิจิตรศิลป์ Corcoran School of Fine Arts และจบปริญญาโทภาพยนตร์ New York University, เริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยตัดต่อ จนกระทั่งได้ร่วมงาน/ครองรักผู้กำกับ David Lynch ตั้งแต่(ผู้ช่วยตัดต่อ) Blue Velvet (1986), เครดิตตัดต่อซีรีย์ Twin Peaks (1989-90), Lost Highway (1997), Mulholland Drive (2001) ฯ
หนังเริ่มต้นด้วยการมาถึงของเจ้าหน้าที่ Chester Desmond เพื่อทำคดีฆาตกรรม Teresa Banks ล่องลอยมาถึงยัง Deer Meadow, Washington ระหว่างทำการสืบสวนสอบสวน แล้วจู่ๆ Chester ก็สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ
- Deer Meadow prologue
- เจ้าหน้าที่พิเศษ Chester Desmond เดินทางสู่ Deer Meadow เพื่อทำคดีฆาตกรรม Teresa Banks
- ระหว่างทำการสืบสวนสอบสวน จู่ๆ Chester ก็สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ
- สำนักงานใหญ่ FBI ณ Philadelphia, เจ้าหน้าที่ Dale Cooper เล่าความฝันประหลาดๆให้กับหัวหน้า Chief Gordon Cole
- อดีตเพื่อนร่วมงาน Phillip Jeffries ที่สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ จู่ๆปรากฎร่างขึ้นต่อหน้า Chief Gordon เล่าถึงการพบเจอวิญญาณลึกลับ Jumping Man, Man from Another Place, BOB, Mrs. Chalfont & หลานชาย ฯ
- Dale Cooper ถูกส่งไปที่ Deer Meadow เพื่อทำคดีต่อ แต่ก็ไม่พบเจออะไร
เรื่องราวหลักของหนังเริ่มต้นหนึ่งปีให้หลัง ณ Twin Peaks นำเสนอผ่านมุมมองวัยรุ่นสาว Laura Palmer เบื้องหน้าคือราชินีงานพรอม แต่ลับหลังกลับมีพฤติกรรมสำส่อน เสพยา มั่วกาม ขายบริการทางเพศ ยุ่งเกี่ยวกับด้านมืดสังคม จนกระทั่งถูกฆาตกรรม 7 วันให้หลัง
- The Last Seven Days of Laura Palmer
- Laura Palmer
- ชีวิตราชินีของ Laura Palmer ช่างมีความเลิศเลอ โลกสวยสดใส
- Dale Cooper กลับมาที่สำนักงานใหญ่ พยากรณ์อนาคต คดีฆาตกรรมที่อาจกำลังจะบังเกิดขึ้น
- ระหว่างทำงานพาร์ทไทม์ Laura ถูกทักโดยหญิงแปลกหน้า Mrs. Chalfont และหลานชาย
- เร่งรีบกลับมาบ้าน พบเจอใครบางคน (BOB) หลบอยู่หลังตู้เสื้อผ้า วิ่งหนีนอกบ้านแล้วเห็นบิดาก้าวออกมา
- เย็นวันนั้นกลับมาบ้าน ถูกบิดาพูดจาดูถูกเหยียดหยาม
- ค่ำคืนนั้น Laura ฝันว่าได้เข้าไปยัง The Lodge พบเจอ Dale Cooper กับ Man from Another Place, ตื่นขึ้นมาพบเจอ Annie Blackburn อาบด้วยคราบเลือด บอกให้เขียนข้อความในไดอารี่ “the good Dale is in the Lodge and cannot leave” แล้วหายตัวไป
- ค่ำคืนถัดมา Donna Hayward ติดตาม Laura ไปที่ Roadhouse พบเจอกับแมงดา Jacques Renault เล่นยาหนักจนไม่รู้เนื้อรู้ตัว
- Leland Palmer
- เช้าวันถัดมา บิดาเดินทางมารับ Laura ที่บ้านของ Donna ระหว่างขับรถกลับถูกก่อกวนจากรถอีกคัน
- ระหว่างแวะจอดร้านซ่อมรถ Leland หวนระลึกความหลัง
- แอบนอกใจภรรยา คบชู้กับ Teresa Banks
- วันหนึ่งพบเห็นบุตรสาวในม่านรูด
- Laura และ Bobby เดินทางไปซื้อโคเคนในป่า กลับพบเจอนายอำเภอ Cliff พลั้งพลาดฆาตกรรม
- วันถัดมา Laura เล่นยาหนักจนแทบไม่รับรู้ตนเอง ก่อนถูกบิดา/BOB ลงมือข่มขืน
- Last Day of Laura Palmer
- Laura มาโรงเรียนในสภาพซึมหนัก โหยหาโคเคน
- ยามเย็นหนีออกนอกบ้าน หลังแยกย้าย Bobby เดินทางมากระท่อมร้าง ถูกจับมัดโดย Jacques เพื่อกระทำการสี่เส้า (Foursome)
- บิดามาเห็นเข้า ลงมือฆ่าปิดปาก Jacques
- บิดาลากพา Laura (และโสเภณีอีกคน Ronette Pulaski) ไปยังขบวนรถไฟ
- MIKE ออกติดตามหา สามารถให้การช่วยเหลือ Ronette, แต่ทว่า BOB ลงมือฆาตกรรม Laura จับม้วนพลาสติก ปล่อยทิ้งลงทะเลสาป
- วิญญาณของ Laura ล่องลอยไปถึงยัง The Lodge และได้รับการปลอบประโลมโดย Dale Cooper
- Laura Palmer
ฉบับตัดต่อแรกของหนังความยาวกว่า 5+ ชั่วโมง ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำทั้งหมดออกฉายโรงภาพยนตร์ จึงมีการตัดฉากโน่นนี่นั่นออกมากมาย เพื่อให้เหลือ 134 นาที (2 ชั่วโมง 15 นาที) หลายปีให้หลังเมื่อเกิดกระแสนิยม Deleted Scene แต่แทนที่ผกก. Lynch จะใส่ลงมาใน Special Feature กลับนำมาร้อยเรียง แปะติดปะต่อ กลายเป็นภาพยนตร์ Twin Peaks: The Missing Pieces (2014) ความยาว 91 นาที
ความพิลึกพิศดารของ Twin Peaks: The Missing Pieces (2014) ไม่ได้เป็นการสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่ หรือ Alternate Storyline แค่เอาฟุตเทจที่ไม่ได้ใช้ใน Twin Peaks: Fire Walk with Me (1992) มาร้อยเรียงต่อกันเท่านั้นเอง … ใครมีเวลาว่าง ผมแนะนำให้หารับชม ‘The Missing Pieces’ ด้วยนะครับ (รวมอยู่ใน Special Feature ของ Blu-Ray ที่วางขายหลังปี ค.ศ. 2014) เพราะสิ่งที่ขาดหายจักช่วยเสริมเติมเต็มความเข้าใจต่อเรื่องราวได้พอสมควร
I had a limit on the running time of the picture. We shot many scenes that—for a regular feature—were too tangential to keep the main story progressing properly. We thought it might be good sometime to do a longer version with these other things in, because a lot of the characters that are missing in the finished movie had been filmed. They’re part of the picture, they’re just not necessary for the main story.
David Lynch
เพลงประกอบโดย Angelo Badalamenti (1937-2022) นักแต่งเพลง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York ในครอบครัวเชื้อสายอิตาเลี่ยน, เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก่อนค้นพบความชื่นชอบเปียโน, เครื่องเป่า French Horn ฯ หลังเรียนจบมัธยมเข้าศึกษาต่อ Eastman School of Music ก่อนย้ายไป Manhattan School of Music, เข้าสู่วงการเพลงประกอบภาพยนตร์เกรดบี กระทั่งแจ้งเกิดโด่งดังกับ Blue Velvet (1986), ผลงานเด่นๆ อาทิ ซีรีย์ Twin Peaks (1990-91), The City of Lost Children (1995), Mulholland Drive (2001), and A Very Long Engagement (2004) ฯ
Main Theme ของ Fire Walk with Me (1992) มีความแตกต่างจากซีรีย์ Twin Peaks (1990-91) เพราะมันคนละเรื่องราว แนวหนัง จุดโฟกัสที่แตกต่างออกไป
- Twin Peaks (1990-91) มีกลิ่นอายลึกลับ พิศวง เหตุการณ์ฆาตกรรมที่รอการสืบสวนสอบสวน ค้นหาเบื้องหลังความจริง โศกนาฎกรรมของ Laura Palmer สร้างบรรยากาศหดหู่ เศร้าสลด ปกคลุมทั่วทั้งเมือง Twin Peaks
- Fire Walk with Me (1992) ยังไม่มีเหตุการณ์โศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้น ดนตรีแจ๊ส (Smooth Jazz) สร้างบรรยากาศทะมึน อึมครึม หายนะกำลังคืบคลานเข้ามา
combining plangent beauty with a kind of clanking evil jazz, this is one of those endlessly evocative soundtracks that takes up residence in your subconscious and never leaves.
คำนิยมจากนิตยสาร New Musical Express (NME)
สไตล์ Lynchian ต้องมีฉากหญิงสาวขับร้องเพลงในผับบาร์ ทีแรกผมนึกว่าจะใช้บทเพลงจากศิลปินมีชื่อ กลับเป็น Badalamenti & (คำร้อง) Lynch แต่งขึ้นใหม่ Questions in a World of Blue ขับร้องโดย Julee Cruise … กลิ่นอายบทเพลงนี้ออกไปทาง New Age ล่องลอย เคลิบเคลิ้ม ชวนฝัน มากกว่าจะเป็นดนตรี Blues เสียอีกนะ แต่ใจความคือการตั้งคำถามถึงโลกใบนี้ ทำไมมันช่างเหี้ยมโหด เลวร้าย กระทำชำเรากับฉันได้เจ็บปวดรวดร้าวเพียงนี้?
Why did you go? Why did you turn away from me?
When all the world seemed to sing
Why, why did you go?
Was it me? Was it you?
Questions in a world of blueHow can a heart that’s filled with love start to cry?
When all the world seemed so right
How, how can love die?
Was it me? Was it you?
Questions in a world of blueWhen did the day with all its light turn into night?
When all the world seemed to sing
Why, why did you go?
Was it me? Was it you?
Questions in a world of blueQuestions in a world of blue
ตรงกันข้ามกับโลกความจริงที่โหดร้าย บทเพลงได้ยินในห้อง The Pink Room อาจไม่มีเนื้อคำร้อง แต่เสียงรัวกลอง ลีดกีตาร์ ดนตรีร็อก มอบสัมผัสจับต้องได้ ทั้งๆบรรดาลูกค้าต่างกำลังเคลิบเคลิ้มมึนเมาหลังดื่มเหล้าเสพยา มันกลับรู้สึกมีชีวิตชีวายิ่งกว่าทำนองเพลง Questions in a World of Blue เสียอีก!
The Voice of Love เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนองละม้ายคล้าย Laura Palmer’s Theme จากซีรีย์ Twin Peaks (1990-91) แต่เปลี่ยนมาใช้คีย์บอร์ด เครื่องสังเคราะห์เสียง เพื่อสร้างสัมผัสเหนือจริง โลกหลังความตาย วิญญาณหญิงสาวล่องลอยมายัง The Lodge กำลังได้รับการปลอบประโลมโดย Dale Cooper
ครั้งเท่าไหร่แล้วไม่รู้ที่ผมเขียนบรรยายถึง Laura Palmer เปลือกภายนอกคือราชินีงานพรอม สวยเลิศเลอ งดงามราวกับนางฟ้า! แต่เบื้องหลังกลับมีพฤติกรรมสำส่อน เสพยา มั่วกาม ขายบริการทางเพศ นอกใจแฟนหนุ่ม ไม่มีดีสักสิ่งอย่าง … เอาความแตกต่างตรงกันข้ามระหว่างภายนอก-ในของตัวละครเป็นที่ตั้ง แล้วคุณจะค้นพบว่าทุกสรรพสิ่งอย่างของหนัง/ซีรีย์ล้วนดำเนินตาม “สูตรสอง” รวมถึงชื่อ Twin Peaks (สองยอดเขา เต้าปทุมถัน)
ครอบครัว Palmer มีบ้านพักอาศัย กินอยู่สุขสบาย อาชีพการงานมั่นคง พ่อ-แม่-ลูกอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า เรียกได้ว่าอุดมคติชนชั้นกลางอเมริกัน! แต่เบื้องหลังบิดากลับเป็นจอมเผด็จการ มักมากในกาม แอบนอกใจภรรยา คบชู้โสเภณี Teresa Banks แล้วบังเอิญพบเจอบุตรสาวขายบริการ ค่ำคืนหนึ่งมิอาจหักห้ามใจตนเอง
ฉากที่บิดาลงมือข่มขืนบุตรสาว มีการตัดสลับภาพใบหน้าของ(บิดา) Leland และสิ่งเหนือธรรมชาติ/วิญญาณชั่วร้าย BOB สรุปแล้วใครกัน? Who are you? นี่เป็นการมอบอิสระให้ผู้ชมขบครุ่นคิด พฤติกรรมดังกล่าวเกิดจากแรงผลักดันภายใน (อาจเคยมีปมจากอดีต ปัญหาทางจิตใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเอง) และ/หรืออิทธิพลภายนอก (ถูกสิ่งเหนือธรรมชาติ/วิญญาณร้ายเข้าสิงสถิต หรือใครบางคนชี้นำความครุ่นคิด)
เมื่อตอน Blue Velvet (1986) สิ่งชั่วร้ายกระจายอยู่โดยรอบเมือง Lumberton, North Carolina (สถานที่มีอยู่จริง) แต่ทว่า Fire Walk with Me (1992) ดำเนินเรื่องในเมืองสมมติ Twin Peaks (รวมถึง Deer Meadow, เจ้าหน้าที่ FBI มาจาก Philadelphia) สามารถเหมารวมถึงสหรัฐอเมริกา … และอีกสิ่งแตกต่างคือปรับเปลี่ยนจากนำเสนอผ่านมุมมองบุคคลที่สาม (Third Person) มาเป็นตัวละคร Laura Palmer ประสบพบเจอหายนะเข้ากับตนเอง (First Person)
ในความเข้าใจของผมเอง ผกก. Lynch รังสรรค์สร้าง Twin Peaks คือภาพสะท้อนวิถีอเมริกัน พยายามสร้างภาพให้เลิศหรูดูดี แต่ลับหลังกลับเต็มไปด้วยความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ อัปลักษณ์พิศดาร ราวกับว่ามันมีบางสิ่งเหนือธรรมชาติ บุคคลจากสถานที่อื่น (Man from Another Place) ที่มนุษย์ไม่สามารถทำความเข้าใจ คอยบงการ ชี้ชักนำทาง สวมวิญญาณเข้าสิงสถิตให้กระทำสิ่งตอบสนองสันชาตญาณ … โลกมนุษย์ vs. โลกเหนือความเข้าใจมนุษย์
มันอาจฟังดูขัดย้อนแย้งเพราะ Fire Walk with Me (1992) คือหนังภาคก่อน แต่ด้วยความที่สร้างภายหลัง ผมจึงมองว่าเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนความรู้สึกอัดอั้นระหว่างสรรค์สร้างซีรีย์ Twin Peaks (ภาพแรกของหนังคือการทุบโทรทัศน์), เราสามารถเปรียบผกก. Lynch = Laura Palmer ถูกแรงกดดันจากครอบครัว/โปรดิวเซอร์ พยายามควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ทำโน่นนี่นั่น การเปิดเผยฆาตกรตั้งแต่ซีซันสอง ไม่ต่างจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา (Incest) และการตัดจบของซีรีย์ = บิดา(ผู้ให้กำเนิด)เข่นฆ่าบุตรสาว

สร้อยของชื่อหนัง Fire Walk with Me เริ่มต้นจากคำกล่าวของ Laura Palmer ที่ราวกับถูกวิญญาณร้ายขยับปากให้พูดออกมา แต่คำอธิบายชัดเจนที่สุดคือมาจากหญิงแปลกหน้า (Mrs. Chalfont) เข้ามาทักเตือน Laura ด้านหน้าบาร์ Roadhouse
When this kind of fire starts, it is very hard to put out. The tender bows of innocence burn first, and the wind rises. And then all goodness is in jeopardy.
Mrs. Chalfont
มันยังมีอีกครั้งตอนที่ Laura สอบถามบิดาระหว่างทางกลับบ้าน “Dad, is the engine on fire?” ฟังดูอาจไม่เกี่ยวข้องอะไร เครื่องยนต์ร้อนจนลุกไหม้? แต่เราสามารถตีความถึงเพลิงราคะภายในจิตใจ (วิญญาณชั่วร้าย BOB ก็มีรอยสักที่แขน Fire Walk with Me) หวนระลึกภาพบุตรสาวขายบริการทางเพศ แทบมิอาจอดกลั้นฝืนตนเองได้อีกต่อไป
หรือเราจะตีความว่า Fire Walk with Me สะท้อนอารมณ์อัดอั้น ความรู้สึกมอดไหม้ทรวงในของผกก. Lynch หลังถูกสถานีโทรทัศน์ยกเลิกสร้างซีรีย์ Twin Peaks (1990-91)
แซว: ผมว่าสร้อยของชื่อหนังน่าจะประมาณว่า Fire within Me แต่มันฟังดูไม่ลึกล้ำเลยเปลี่ยนเป็น Fire Walk with Me
Mr. Lynch’s taste for brain-dead grotesque has lost its novelty.
นักวิจารณ์ Janet Maslin จากนิตยสาร The New York Times
It’s not the worst movie ever made; it just feels like it.
นักวิจารณ์ Vincent Canby จากนิตยสาร The New York Times
Laura Palmer, after all the talk, is not a very interesting or compelling character and long before the climax has become a tiresome teenager
นักวิจารณ์ Todd McCarthy จากนิตยสาร Variety
After I saw Twin Peaks: Fire Walk with Me at Cannes, David Lynch had disappeared so far up his own ass that I have no desire to see another David Lynch movie until I hear something different. And you know, I loved him. I loved him.
Quentin Tarantino
ด้วยเสียงตอบรับที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินตั้งแต่ออกฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes (ในสายการประกวด) ว่ากันว่าได้ยินเสียงโห่ไล่ (แต่บางคนบอกไม่ถึงขนาดนั้น) ผลลัพท์จึงขาดทุนย่อยยับ จากทุนสร้าง $10 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้เพียง $4.2 ล้านเหรียญ
They so badly wanted it to be like the TV show, and it wasn’t. It was a David Lynch feature. And people were very angry about it. They felt betrayed.
Mary Sweeney กล่าวถึงเหตุผลความล้มเหลวของหนังตอนออกฉาย
ขณะที่ทั่วโลกพร้อมใจกันด่ายับ แม้แต่นักวิจารณ์ฝรั่งเศสก็ไม่ละเว้น มีเพียงญี่ปุ่นกลับได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะกับหญิงสาว กล่าวว่าเข้าใจหัวอก Laura Palmer เติบโตในสังคมที่ถูกกดทับ ถึงขนาดปรับเปลี่ยนชื่อหนังเป็น Twin Peaks: The Last Seven Days of Laura Palmer
He surmises that the enthusiasm of the Japanese women comes from a gratification of seeing in Laura some acknowledgment of their suffering in a repressive society.
นักเขียน Martha Nochimson จากหนังสือ The Passion of David Lynch: Wild at Heart in Hollywood (1997)
เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่าน ผู้ชมสมัยใหม่ที่ไม่เคยรับชมซีรีย์มาก่อน พอมาดูหนังเรื่องนี้ล้วนให้การยกย่องสรรเสริญ ถึงขนาดเรียกว่าหนึ่งในผลงานมาสเตอร์พีซ
In its own singular way, Fire Walk With Me is David Lynch’s masterpiece… Blue Velvet, devised as a kind of distorted TV soap, dug up a small town’s sordid secrets, suggesting that all seemingly good things have a dark side. But Fire Walk With Me taps into something considerably more terrifying: not only the evil buried somewhere in the quintessential middle-class family, but the evil buried somewhere in all of us, and our capacity for it.
คำวิจารณ์จาก The Village Voice
There’s nothing so dark and demented as Fire Walk With Me, the simplest, strangest, saddest and arguably greatest of all his (Lynch’s) films. The critics sneered, the fans balked and the public stayed away in droves. It’s their loss: this was a beautiful new kind of madness, terrifying, exhausting and exhilarating in equal measure.
นักวิจารณ์ Tom Huddleston จากนิตยสาร Time Out
a widely misunderstood masterpiece.. It restores Twin Peaks to writhing, screaming life… Far from cheating viewers, this fresh perspective offered them a new way to decode the entire Twin Peaks mythos, with Sheryl Lee’s extraordinary, soul-tearing performance shaking the franchise out of its cherry-pie-munching reverie…Time has passed, and its brilliance is gradually coming into focus, just as Lynch hoped it would.
นักวิจารณ์ Robbie Collin จากนิตยสาร The Telegraph
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital transfer’ คุณภาพ 4K พร้อมปรับปรุงเสียง 7.1ch ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผกก. Lynch จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดยค่าย Criterion Collection เมื่อปี ค.ศ. 2017, หรือใครสนใจฉบับ 4K Ultra HD เห็นของค่าย Potemkine (ฝรั่งเศส) มีแผนจัดจำหน่ายกลางปี ค.ศ. 2025
ด้วยความที่ผมไม่เคยรับชม Twin Peaks (1990-91) มันจึงมีรายละเอียดมากมายที่อิหยังว่ะ? ใส่มาทำไม? แต่ก็รับรู้ว่านั่นคือวิธียั่วน้ำลาย น่าจะมีคำอธิบายในซีรีย์หลัก … ส่วนนี้สำหรับแฟนซีรีย์น่าจะชื่นชอบ สำแดงความเป็นภาคก่อน (Prequel) ที่สร้างภายหลังได้อย่างน่าสนใจ แต่สำหรับผู้ชมใหม่ (ที่ไม่เคยดูซีรีย์) ก็ได้แต่พร่ำบ่น อารมณ์ค้างๆคาๆ
ลีลาการนำเสนอสไตล์ Lynchian ก็มีความแปลกประหลาด พิลึกพิศดาร ทำให้สามารถตีความหนังได้หลากหลาย คนที่เคยรับชม Fire Wilk with Me น่าจะทำให้ดู Twin Peaks (1990-91) ง่ายขึ้นมั้ง หรือใครพานผ่านซีรีย์หลัก รับชมหนังภาคก่อนก็น่าจะทำให้เข้าใจอะไรๆมากขึ้น
แต่เหตุผลที่ผมไม่ค่อยชอบหนัง เพราะมันไม่มีเนื้อหาสาระอะไร เพียงสะท้อนวิถีอเมริกัน ทำการ ‘horrorize’ คดีฆาตกรรม (คล้ายๆกับ Romanticize แต่เปลี่ยนเป็น Horror-ize) คล้ายๆภาพวาด The Scream ระบายอารมณ์อัดอั้นของศิลปินเท่านั้นเอง
จัดเรต R คดีฆาตกรรม ข่มขืน เล่นยา ปาร์ตี้ โสเภณี เหนือจินตนาการ
Leave a Reply