Letter from Siberia (1957) : Chris Marker ♥♥♥♥
Siberia ดินแดนลึกลับของรัสเซียที่คนสมัยก่อนแทบไม่เคยรับรู้จัก เพียงเสียงลือเล่าขานถึงภูมิประเทศกว้างใหญ่ สภาพอากาศหนาวเหน็บ ดินแดนทุรกันดาร สถานที่ตั้งค่ายบังคับแรงงาน Gulag, จนกระทั่งผู้กำกับ Chris Marker ออกเดินทางไปสำรวจ บันทึกภาพ ถ่ายทำสารคดี เปิดมุมมองโลกใหม่ที่ไม่มีใครเคยพบเห็น
How to describe Letter from Siberia?. Negatively, at first, in pointing out that it resembles absolutely nothing that we have ever seen before in films with a documentary basis.
André Bazin
ไม่ใช่แค่ภูมิภาค Siberia ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยพบเห็น แต่ยังสารคดีเรื่องนี้ที่ถือเป็นหมุดไมล์สำคัญแห่งวงการ Documentary ด้วยวิธีการนำเสนอไม่ใช่แค่ร้อยเรียงชุดภาพ นำฟุตเทจมาแปะติดปะต่อ หรือปรุงแต่งสร้างเรื่องราว (ในลักษณ์ Mockmentary คล้ายแบบ Robert J. Flaherty) ลีลาของผกก. Marker คือแทรกใส่คำบรรยาย พูดแสดงความคิดเห็น ร้อยเรียงเข้ากับสารพัดลูกเล่นภาพยนตร์ สำแดงอารมณ์ศิลปิน (Auteur)
ว่ากันตามตรง ผมรับชมสารคดีเรื่องนี้บอกเลยว่าจับใจความ เนื้อหาสาระอะไรไม่ค่อยได้ แต่โคตรๆประทับใจลวดลีลาการนำเสนอ ทำออกมาในลักษณะจดบันทึก เขียนจดหมาย คล้ายๆกับนิราศ (Travelogue) โดดเด่นกับการเลือกถ้อยคำมาอธิบาย บรรยายความคิดเห็นอันเฉียบแหลมคมคาย สำแดงความเป็นศิลปินของผกก. Marker มีความจัดจ้าน น่าจดจำกว่าภูมิภาค Siberia เสียอีก!
The “letter home” structure of the film, dictated by a traveler/observer who makes use of a camera in lieu of a pen to create his missives, is a stroke of pure genius. With its playful tone and completely uninhibited subjectivity, the film is drawn from the complexities of the mind itself. Marker, the unfettered virtuoso behind the wheel on this highway of sounds and images, where the only guardrails are the ramparts of his own imagination, shares his fragmented vision of a Siberia caught between tradition and modernity.
Jason Burnham
Chris Marker, ชื่อจริง Christian François Bouche-Villeneuve (1921-2012) ช่างภาพ ผู้กำกับสารคดี สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Neuilly-sur-Seine, โตขึ้นเคยเข้าเรียนปรัชญา แต่การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อนาซีเยอรมันยึดครองฝรั่งเศส เข้าร่วมกลุ่ม Maquis (FTP) ส่วนหนึ่งของ French Resistance, หลังสงครามเริ่มต้นเป็นนักข่าว (Journalism) นิตยสาร Esprit ถ่ายภาพ เขียนบทความ แต่งกวี เรื่องสั้น วิจารณ์ภาพยนตร์ ฯ พอย้ายมานิตยสารท่องเที่ยว Petite Planète (แปลว่า Small World) จึงมีโอกาสเดินทางไป(ท่องเที่ยว)ทำงานประเทศต่างๆรอบโลก
ช่วงระหว่างทำงานเป็นนักข่าว Marker เริ่มมีความสนใจในสื่อภาพยนตร์ รับรู้จักกับ André Bazin รวมถึงบรรดาว่าที่สมาชิกกลุ่ม Left Bank อาทิ Alain Resnais, Agnès Varda, Henri Colpi, Armand Gatti, Marguerite Duras และ Jean Cayrol, ได้รับโอกาสถ่ายทำสารคดีเรื่องแรก Olympia 52 (1952) บันทึกภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก Helsinki 1952 … มันมีคลิปใน Youtube แต่คุณภาพ Bootleg เห็นแล้วห่อละเหี่ยวใจ ใครอยากรับชมก็ลองค้นหาดูเองนะครับ
ผลงานเรื่องที่สอง Les statues meurent aussi (1953) แปลว่า Statues Also Die ร่วมงานกับ Alain Resnais และ Ghislain Cloquet ทำออกมาในลักษณะ ‘Essay Film’ บันทึกภาพงานศิลปะ African Art โดยพยายามแสดงให้เห็นผลกระทบอันเกิดจากลัทธิอาณานิคม (Colonialism) แม้สามารถคว้ารางวัล Prix Jean Vigo แต่ถูกแบนห้ามฉายเพราะวิพากย์วิจารณ์ French Colonialism อย่างรุนแรง (ช่วงปีนั้น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาณานิคมถือเป็นประเด็นละเอียดอ่อน/ต้องห้ามในฝรั่งเศส)
LINK: https://ok.ru/video/8821328906802
ผลงานเรื่องที่สาม Dimanche à Pekin (1956) แปลว่า Sunday in Peking ถือเป็น ‘Dream Project’ ที่ผกก. Marker มีความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก อยากเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศจีน บันทึกภาพวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม พร้อมเสียงบรรยายพรรณาความชื่นชอบหลงใหล เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรพลาด … ผ่านการบูรณะโดย CNC เมื่อปี ค.ศ. 2013
สำหรับ Lettre de Sibérie หรือ Letter from Siberia เป็นโปรเจคได้รับมอบหมายจากองค์กร Association France-URSS เพื่อโปรโมทความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศส กับสหภาพโซเวียต (พูดง่ายๆก็คือสารคดีชวนเชื่อ Propaganda Film) เดินทางไปบันทึกภาพวิถีชีวิต ผู้คน ยังภูมิภาค Siberia ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้จัก ยังครุ่นคิดว่าเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน (undeveloped world) ดินแดนทุรกันดารห่างไกล
โดยวัตถุประสงค์หลักๆ ก็เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้ชม/ชาวตะวันตกต่อ Siberia ก็คือภูมิภาคหนึ่ง ไม่แตกต่างจากสถานที่อื่นใดบนโลก มีบ้าน มีชุมชน มีผู้คนพักอาศัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีระบบคมนาคมขนส่ง มีการพัฒนาเมืองให้ก้าวทันยุคสมัยใหม่ ฯ
ถ่ายภาพโดย Sacha Vierny (1919-2001) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Bois-le-Roi, Île-de-France ร่วมงานขาประจำผกก. Alain Resnais ตั้งแต่ Night and Fog (1955), Hiroshima mon amour (1959), Last Year at Marienbad (1961), Muriel (1963), The War Is Over (1966), My American Uncle (1980) ฯ ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Belle de jour (1967), The Cook, the Thief, His Wife & Her Lover (1989) ฯ
อาจด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีด้านการบันทึกเสียง (และอาจรวมถึงภาษาสื่อสาร) จึงพบเห็นเพียงภาพทิวทัศน์มุมกว้าง สภาพชุมชน วิถีชีวิตผู้คน แต่จะไม่มีการเข้าไปพูดคุย สัมภาษณ์ ได้ยินแค่เสียงผู้บรรยาย อธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้นเท่านั้น! … ต้องรอคอยการมาถึงของ Primary (1960) และ Chronique d’un été (1961) ถึงมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์บันทึกเสียงนอกสถานที่ขึ้นเป็นครั้งแรกๆ
ผมสังเกตว่าการถ่ายภาพ มักเลือกมุมกล้องสวยๆ ทิวทัศน์งามๆ ท้องฟ้าสว่างสดใส (ถ่ายทำช่วงฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่) รวมถึงชุมชนที่มีความเจริญ กำลังพัฒนา ทันสมัยใหม่ ผู้คนเต็มไปด้วยรอยยิ้ม … ก็แหงละ! นี่มันหนังชวนเชื่อ (Propaganda) สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวโลกได้พบเห็นภูมิภาค Siberia ที่แตกต่างจากเดิม จะให้ฉายภาพความทุกข์ยากลำบาก หรือฤดูกาลหนาวเหน็บทำไม?
น่าเสียดายที่คุณภาพสี Eastmancolor เสื่อมถดถอยตามกาลเวลา ฉบับบูรณะก็ไม่ได้ทำให้หนังดูดีขึ้นนัก แต่ผมชื่นชอบสัมผัสภาพถ่ายเก่าๆ (ที่จะมีสีน้ำตาลเมื่อทิ้งไว้หลายปี) รู้สึกตื่นตาตื่นใจเมื่อพบเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติ ชุมชนเมืองเพิ่งเริ่มก่อร่างสร้าง กลายเป็น ‘Time Capsule’ เก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นเชยชม
เกร็ด: Siberia คือชื่อภูมิภาค ส่วนเมืองที่ผกก. Marker ออกเดินทางไปสำรวจ ประกอบด้วย Angarsk, Irkutsk, Aldan (เมืองเหมือง), Yakutsk. รวมถึงป่า Taiga, ทะเลสาป Baikal
ผู้ชมสมัยนั้นคงอิหยังว่ะ? ภาพยนตร์สารคดี กลับมีอนิเมชั่นภาพวาดสองมิติอยู่ด้วย? แต่นี่คือสิ่งที่จักกลายเป็นต้นแบบให้กับสารคดียุคสมัยใหม่ (Modern Documentary) การจะอธิบายบางสิ่งอย่างให้เห็นภาพชัด ก็ใช้แผนผัง แบบจำลอง โมเดล ภาพวาดอนิเมชั่น สองมิติ-สามมิติ ฯ ทำไมต้องจำกัดตนเองอยู่เฉพาะฟุตเทจถ่ายทำ เราสามารถแทรกใส่ สร้างเรื่องราวยังไงก็ได้ หรือทำให้สนุกสนาน ตลกขบขัน หรือบรรยากาศหน้าดำคร่ำเครียด สื่อภาพยนตร์ทำได้ทุกสิ่งอย่าง!
ในบรรดาพล็อตรอง/ซีเควนซ์ที่ผมชื่นชอบสุดของสารคดีเรื่องนี้ คือโฆษณา(ปลอม)โปรโมทกวางเรนเดียร์ บรรยายสรรพคุณได้อย่างเว่อวังอลังการ สำแดงอารมณ์ขันของผกก. Marker และยังเคลือบแฝงอะไรบางอย่าง … “I Hate Elvis”
เกร็ด: สารคดีทุกเรื่องของผกก. Marker จักต้องมีสองสัตว์ตัวโปรด แมวและนกฮูก ลองสังเกตหาดูนะครับ
เมื่อพูดถึง Siberia ยังไงก็ต้องกล่าวฤดูหนาวสุดหฤโหด รวมถึงเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า Taiga แต่ทว่าสารคดีเรื่องนี้มีเป้าหมายคือชวนเชื่อ สร้างภาพ วิธีการของผกก. Marker จึงทำการย้อมขาว-ดำ ทำให้ดูซีดๆจางๆ กับซีเควนซ์ที่นำเสนอช่วงเวลาอันหนาวเหน็บ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ … ต้องถือเป็นกลวิธีอันชาญฉลาด นำเสนอแบบผ่านๆ ไม่มีความน่าจดจำ ถูกสีสันฉากอื่นๆของหนังกลืนกินเสียหมด
สิ่งที่ถือเป็นลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Marker’ คือคำบรรยายแสดงความคิดเห็นในเชิงเปรียบเทียบ ผมต้องเอ่ยปากชมอยู่ตลอดว่ามีความเฉียบแหลม คมคาย มีซีเควนซ์หนึ่งพยายามนำเสนอการตื่นทองในรัสเซีย ซึ่งลีลาการเปรียบเทียบคือฉายภาพเหตุการณ์ตื่นทองของอเมริกา พร้อมบทเพลงแนวคันทรี่ และยังอ้างอิงถึงภาพยนตร์ The Gold Rush (1925) ของ Charlie Chaplin
ตอนสุดท้ายของหนังก็ถือว่าไม่ธรรมดา เริ่มจากเล่าตำนาน ปรัมปรา ความเชื่อพื้นบ้าน Niurgun Bootor (Siberian Folk Hero) ยิงธนูขึ้นฟ้า ฉายภาพเมื่อตอนสหภาพโซเวียตส่งจรวด/สุนัข Laika ขึ้นไปสำรวจอวกาศ … จากอดีตสู่อนาคต ปรัมปราพื้นบ้านกลายมาเป็นรากฐาน ประวัติศาสตร์ ก้าวต่อไปของมนุษยชาติ
ตัดต่อโดย Anne Sarraute (1930-2008) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris เริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Agnès Varda เรื่อง La Pointe Courte (1955) และ Alain Resnais เรื่อง Night and Fog (1956) ก่อนผันตัวมาเป็นนักตัดต่อ Letter from Siberia (1958), Hiroshima mon Amour (1959), World Without Sun (1964) ฯ หลังจากปี ค.ศ. 1966 เปลี่ยนงานมาเป็นบรรณาธิการนิตยสารรายปักษ์ La Quinzaine
ทำการร้อยเรียงไม่ใช่แค่ฟุตเทจเดินทางไปถ่ายทำภูมิภาค Siberia แต่ยังมีการผสมผสาน Newsreel, ภาพนิ่ง, อนิเมชั่นการ์ตูน, โฆษณาปลอม ฯ เพื่อให้ภาพพบเห็นมีความสอดคล้อง รองรับเนื้อหาคำบรรยายโดย Georges Rouquier ซึ่งเต็มไปด้วยลูกเล่น ลีลา ถ้อยคำอันเฉียบแหลมคมคาย พรรณาความครุ่นคิดของผกก. Marker โดดเด่นในการใช้ถ้อยคำเชิงเปรียบเทียบอย่างลุ่มลึกล้ำ
According to a Siberian proverb, the (Taiga) forest was made by the devil. The devil did a good job; his forest is as big as the United States of America. But maybe the devil made the United States too. When he’s not busy making forests, or states, the devil steals peoples’ souls.
Are you dissatisfied with your car? Reindeer will transport you.
Are you dissatisfied with your tailor? Reindeer will dress you.
Are you dissatisfied with your doctor? Reindeer will look after your health.
Are you dissatisfied with your interior? Reindeer will redecorate you.
Are you dissatisfied with your destiny? Reindeer will bring you luck.
And don’t forget that for young and for old alike, reindeer are wholesome food, chock full of life giving chlorophyll.
สารคดีของผกก. Marker มักไม่สามารถแบ่งตามโครงสร้าง ปูเรื่อง-เผชิญหน้า-แก้ปัญหา (Three-Act Structure) แต่ทำการร้อยเรียง แปะติดปะต่อ ใช้การดำเนินเรื่องเป็นตอนๆ (Episodic) โดยแต่ละตอนจะมีลูกเล่น ลวดลีลา วิธีการนำเสนอแตกต่างออกไป และมักมีบางสิ่งอย่างสำหรับเชื่อมโยงแต่ละตอนๆเข้าด้วยกัน (คล้ายๆสัมผัสนอกบทกวี)
- เริ่มต้นด้วยภาพทิวทัศน์ Siberia กว้างใหญ่ไพศาล การมาถึงของเสาไฟฟ้า ถนนหนทาง รถไฟทรานไซบีเรีย มุ่งเข้าสู่ชุมชนเมือง
- อนิเมชั่นเล่าถึงการสูญพันธุ์ของช้างแมมมอธ
- เดินทางมาถึงแม่น้ำ Lena พบเห็นสรรพสัตว์น้อยใหญ่ การมาถึงของจักรกล เขื่อน โรงงานไฟฟ้า
- โฆษณา(ปลอม)กวางเรนเดียร์
- มาถึงชุมชนเมือง Yakutsk กำลังก่อร่างสร้าง มีการฉายภาพชุดเดิมซ้ำสามครั้ง
- (ภาพขาว-ดำ) เล่าถึง Siberia ในช่วงฤดูหนาวเหน็บ
- กลับมาที่ Yakutsk เล่าเรื่องเจ้าหมี Stakhanovite
- เล่าถึงอุตสาหกรรมแร่-เหมือง-ทอง
- เรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่น และอนาคตของสหภาพโซเวียตในการบุกเบิกอวกาศ
ไฮไลท์ของการตัดต่อ คือตอนพรรณาสรรพคุณเมือง Yakutsk มีการฉายภาพชุดเดิมซ้ำสามครั้ง แต่คำบรรยายจะปรับเปลี่ยนสามใจความสำคัญ “words can make images say anything you want.” เป็นการแสดงถึงมุมมองของมนุษย์ที่สามารถปรับเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่างกันออกไป
- Yakutsk: capital of the Yakutsk… autonomous Soviet socialistic republic is a modern city, in which comfortable buses made available to the population, share the streets with powerful ZIMs, the pride of the Soviet automobile industry, in the joyful spirit of socialist emulation, happy Soviet workers, among them this picturesque denizen of the Arctic reaches, apply themselves to making Yakutsk an even better place to live.”
- มุมมองแห่งการยกย่อง เชิดชู สดุดิสังคมนิยม/สหภาพโซเวียต
- Yakutsk is a dark city with an evil reputation. The population is crammed into blood colored buses, while the members of the privileged cast… brazenly display the luxury of their ZIMs… a costly and uncomfortable car at best. Bending to the task like slaves, the miserable Soviet workers, among them this sinister looking Asiatic, apply themselves to the primitive labor of grading with a drag beam.”
- มุมมองแห่งการตำหนิ ต่อว่า ให้การร้าย หายนะ ศัตรูต่อมนุษยชาติ
- In Yakutsk, where modern houses… houses are gradually replacing the dark older sections, a bus less crowded than its London… or New York equivalent at rush hour… passes a ZIM, an excellent car, reserved for public utilities departments… on account of its scarcity. With courage and tenacity under extremely difficult conditions, Soviet workers, among them this Yakut, afflicted with an eye disorder, apply themselves to improving the appearance of their city, which could certainly use it.
- มุมมองอย่างเป็นกลาง ออกไปในเชิงหัวก้าวหน้า เสมอภาคเท่าเทียม
เพลงประกอบโดย Pierre Barbaud (1911-90) เกิดที่ Algiers, Algeria โตขึ้นร่ำเรียนวรรณกรรมคลาสสิกที่ Sorbonne พร้อมๆเรียนเปียโน แต่งเพลงกับ Alexandre Tcherepnine ณ Russian Conservatory ในกรุง Paris, จบมาเป็นอาจารย์สอนดนตรีประจำอยู่ Institut national du sport ก่อนผันมาเป็นนักประพันธ์เพลง ซิมโฟนี คอนแชร์โต เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ La Pointe Courte (1955), Letter from Siberia (1957), Chronique d’un été (1960) ฯ
ในส่วนของเพลงประกอบ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแค่บทเพลงรัสเซีย มีการปรับเปลี่ยนแทบไม่ซ้ำ เพื่อให้สอดคล้องถ้อยคำบรรยาย บางครั้งท่วงทำนองหยอกเย้า สนุกสนาน ตื่นเต้นระทึกขวัญ, พอเล่าเรื่องเศร้าก็มักโหยหวน คร่ำครวญ, กล่าวถึงประวัติศาสตร์ หึกเหิม รักชาตินิยม, พาดพิงสหรัฐอเมริกาก็มาแนวคันทรี ฯ เรียกว่าคละเคล้าทุกอารมณ์ ด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้าน-สากล โซโล่-ออร์เคสตรา ขับร้องเดี่ยว-ประสานเสียง เพลงคลาสสิก-สมัยใหม่ ถือเป็นสารคดีที่มีความร่วมสมัย เอาแต่ใจ(ผู้สร้าง) นี่คือจิตวิญญาณ (French) New Wave อย่างแน่นอน!
ตั้งแต่ที่ Robert J. Flaherty เริ่มต้นบุกเบิกวงการสารคดี แบกกล้องไปถ่ายทำวิถีชีวิต ผู้คน ตามสถานที่ทุรกันดารห่างไกล บุกเบิกดินแดนใหม่ๆ นำกลับมาเปิดโลกทัศน์ชาวตะวันตก รับชมสิ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน! กาลเวลาเคลื่อนพานผ่านมาหลายทศวรรษ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ถือกำเนิดนักสำรวจ/ผู้กำกับคลื่นรุ่นใหม่ Jean Rouch และ Chris Marker
ก่อนจะมาเป็นผู้กำกับ Chris Marker ทำงานนักเขียน/นักข่าว ตีพิมพ์บทความ บทกวี เรื่องสั้น และหลงใหลด้านการวิจารณ์ นั่นคือแรงผลักดันที่ทำให้เขาอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์ สารคดี เดินทางไปบันทึกภาพยังสถานที่ต่างๆรอบโลก แล้วนำกลับมาพูดคุย เล่าประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น ทำการเปรียบเทียบกับสรรพสิ่งโน่นนี่นั่น แทรกใส่สไตล์ลายเซ็นต์ ตัวของตนเอง … มันไม่ได้แตกต่างจากอะไรกับหนังสือภาพถ่าย จดบันทึกการเดินทาง เขียนบรรยายความคิดเห็น แค่เปลี่ยนมาเป็นสื่อภาพยนตร์เท่านั้นเอง!
Letter from Siberia (1957) ถือเป็นสารคดีขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกของผกก. Marker ที่สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ตนเองออกมาได้เกือบจะสมบูรณ์แบบ! ติดแค่ได้รับว่าจ้างจากสหภาพโซเวียต จึงถูกเหมารวมเป็นหนังชวนเชื่อ ล้างสมอง นั่นทำให้หลายคนพลาดโอกาสชื่นชมความงดงามภูมิภาค Siberia ที่ถูกเก็บบันทึกไว้ใน ‘Time Capsule’
จริงอยู่ที่สารคดีเรื่องนี้มีลักษณะชวนเชื่อ สร้างภาพ แต่เป้าหมายไม่ใช่การล้างสมอง ล่อหลอกให้ผู้ชมเข้าใจอะไรผิดๆ ต้องการแค่เพียงปรับเปลี่ยนมุมมอง แนะนำให้รู้จักภูมิภาค Siberia ที่เคยถูกทำการ ‘dramatize’ ว่าเป็นนรกบนดิน สภาพอากาศหนาวเหน็บ อุณหภูมิติดลบเยือกแข็งตลอดทั้งปี ถ้าถูกตัดสินความผิด ส่งไปค่ายบังคับแรงงาน Gulag คงไม่ต่างจากตกตายทั้งเป็น
แต่แท้จริงแล้ว Siberia ก็แค่ภูมิภาคหนึ่งบนโลก มันอาจอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล มีฤดูหนาวยาวนานกว่าที่อื่น แต่เมื่อฤดูร้อนเคลื่อนเข้ามาถึง ดินแดนแห่งนี้จักเอ่อล้นด้วยสีสัน วัฒนธรรม ความสดชื่น ชีวิตชีวา ซึ่งสหภาพโซเวียตก็พยายามปรับปรุงพัฒนา แพร่ขยายความเจริญให้ทั่วถึง ค่ายบังคับแรงงาน Gulag ก็กำลังถูกล้างบางให้หมดสิ้นไป
วิธีที่ผกก. Marker ใช้กับสารคดีนิราศ Siberia คือทำเหมือนการเขียนจดหมาย “I’m writing you this letter from…” คำพูดอ้างอิงจากนักสำรวจ(ฝรั่งเศส)ในอดีต สำหรับจดบันทึกการเดินทาง บรรยายเหตุการณ์พบเห็น เปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆใกล้ตัว เพื่อให้ผู้อ่าน/ผู้ชมเกิดความรู้จักมักคุ้น จินตนาการเห็นภาพ และตระหนักว่าภูมิภาคแห่งนี้ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรจากประเทศเราเอง!
ผกก. Marker คงรับรู้อยู่ตั้งแต่แรกแล้วว่า สารคดีเรื่องนี้อาจถูกสังคมตั้งข้อครหา (ที่ตีตราว่าทำหนังชวนเชื่อสหภาพโซเวียต) จึงแทรกใส่ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ‘มุมมอง’ ทุกสิ่งอย่างขึ้นกับวิธีบรรยายเล่าเรื่อง อยากจะชวนเชื่อสร้างภาพ อยากจะใส่ร้ายป้ายสี หรือวางตัวเป็นกลาง ผู้ชมควรมีวิจารณญาณครุ่นคิดไตร่ตรอง อย่าหลงเชื่อในทุกสิ่งที่รับฟังมา อยากรู้อะไรจงค้นหาคำตอบด้วยตัวคุณเอง … สารคดีเรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!
มันไม่ใช่แค่ความพยายามปรับเปลี่ยนมุมมองผู้ชมต่อภูมิภาค Siberia แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังทำการพลิกโฉมหน้าวงการสารคดี ด้วยสารพัดลูกเล่น ลีลาการนำเสนอ สไตล์ลายเซ็นต์ของผกก. Marker ได้เปิดมุมมอง ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern Documentary)
Lettre de Sibérie is an essay in the form of a cinematographic report about the reality of the Siberian past and present. Or again, adopting Vigo’s description of À propos de Nice (‘a documented point of view’), I would say: an essay documented by the film. The important word, essay, is understood in the same sense as in literature: an essay that is both historical and political, and written by a poet. The primordial element is the sonorous beauty and it is from there that the mind must leap to the image. The editing is done from ear to eye. Which should be mentioned as one definition of a new dimension of montage.
André Bazin
Siberia ในปัจจุบันเป็นภูมิภาคที่ผมมีความหลงใหลอย่างมากๆ วันดีคืนดี Youtube ก็แนะนำช่อง พลั้งเผลอกดเข้าไป แทบมิอาจหยุดรับชม พบเห็นวิถีชีวิต การต่อสู้ดิ้นรน วิธีปรับเอาตัวรอดในสภาพอากาศหนาวเหน็บได้อย่างน่าเหลือเชื่อมากๆ แต่ผมไม่คิดจะไปหรอกนะ เผื่อใครสนใจลองติดตาม @KiunB @TheUlengovs @Wild-Siberia ช่องท่องเที่ยวของไทย @mint.iroamalone ก็เคยเห็นไป Yakutsk ลองๆหาชมดูนะครับ
ปัจจุบันสารคดีได้รับการบูรณะ 2K โดยสถาบัน CNC (Centre national du cinéma et de l’image animée) ในห้องแลปของ Éclair Group (ภาพ) และ L. E. Diapason (เสียง) เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2013 สามารถหารับชมตามเว็บสารคดี Streaming หรือช่องทางธรรมชาติทั่วไป
ตั้งแต่ตอนรับชม Sans Soleil (1983) หนึ่งในสารคดียอดเยี่ยมที่สุดในโลก! บอกตามตรงว่าผมดูไม่ค่อยรู้เรื่อง ครุ่นคิดว่าตนเองยังอ่อนด้อยประสบการณ์ เลยคาดหวังถึงอนาคต จักหวนกลับมาทำความเข้าใจหนังให้จงได้! แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้น เริ่มต้นเราควรทำความรู้จัก Chris Maker เสียก่อน! … Letter from Siberia (1957) ถือเป็นจุดเริ่มต้นสไตล์ Markerian ได้ดีเยี่ยมมากๆ
รับชมสารคดีเรื่องนี้ทำให้ผมเพิ่งตระหนักอย่างจริงจังว่า Chris Maker คือหนึ่งในผู้กำกับรุ่น French New Wave ถูกจัดอยู่ฟากฝั่ง Left Bank ความสนใจของเขาคือการออกสำรวจ ท่องเที่ยว บันทึกการเดินทาง และชอบแทรกใส่ความรู้สึกนึกคิดเห็นส่วนตัว สำแดงอารมณ์ศิลปินออกมาได้อย่างโดดเด่น เฉพาะตัว ไม่ซ้ำแบบใคร
จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย
Leave a Reply