Philadelphia

Philadelphia (1993) hollywood : Jonathan Demme ♥♥♥♡

ภาพยนตร์กระแสหลักจาก Hollywood เรื่องแรกที่กล่าวถึงปัญหาโรค AIDS และอาการเกลียดกลัวผู้มีความหลากหลายทางเพศ (Homophobia) ผ่านสุดยอดการแสดงของ Tom Hanks ในบทบาทคว้ารางวัล Oscar: Best Acter

นับตั้งแต่ Rock Hudson นักแสดง Hollywood คนแรกๆที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ HIV เสียชีวิตจากไปเมื่อปี ค.ศ. 1985 ทำให้โรค AIDS เริ่มได้รับการรู้จัก แพร่หลายในวงกว้าง แต่เพราะมันเป็นโรคใหม่ ไม่รู้ไม่เข้าใจ แถม(ยัง)ไม่มีวิธีรักษาหาย จึงสร้างความตื่นตระหนก หวาดสะพรึงกลัวให้กับประชาชนจำนวนมาก หลายคนบังเกิดอคติต่อชุมชนรักร่วมเพศ (Homosexual) พยายามตีตนออกห่าง ไม่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์ อยู่เคียงชิดใกล้ … ทั้งๆคนติด AIDS ไม่จำเป็นว่าต้องเป็น LGBTQIAN+

Philadelphia (1993) ได้รับการเปรียบเทียบคล้ายๆกับ Guess Who’s Coming to Dinner (1967) ต่างเป็นภาพยนตร์กระแสหลักเรื่องแรกๆที่สะท้อนปัญหาสังคม (ในกรณีของ Guess Who’s Coming to Dinner คือการแต่งงานระหว่างสีผิว/ชนชาติพันธุ์) ด้วยการใช้นักแสดงมีชื่อ มาประชันฝีมือ เพื่อสร้างความตระหนักรับรู้ ปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ผู้ชม ถึงบริบททางสังคมที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป

And for moviegoers with an antipathy to AIDS but an enthusiasm for stars like Tom Hanks and Denzel Washington, it may help to broaden understanding of the disease. It’s a ground-breaker like Guess Who’s Coming to Dinner (1967), the first major film about an interracial romance; it uses the chemistry of popular stars in a reliable genre to sidestep what looks like controversy.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนนสามดาวครึ่ง

จริงๆยังมีภาพยนตร์แนว Courtroom Drama อีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ แต่ผมขอปิดท้ายที่ Philadelphia (1993) เพียงเพราะอยากรับชมการแสดงของ Tom Hanks ในบทบาทคว้ารางวัล Oscar: Best Actor และพอเห็นเครดิตกำกับโดย Jonathan Demme (The Silence of the Lambs (1991)) เลยเกิดความสนอกสนใจขึ้นมาเล็กๆ

น่าเสียดายที่ผมรู้สึกว่าหนังขาดๆเกินๆ ผกก. Demme ดูเพลิดเพลินกับลูกเล่นของตนเองมากไปนิด ยิ่งช่วงท้ายกว่าจะกล่าวคำร่ำลาเสร็จ มันเลยจุดอิ่มตัว สูญเสียอารมณ์ร่วม กลายเป็นจมปลักอยู่กับความทุกข์โศก … และกาลเวลาทำให้อิทธิพลของหนังลดลงอย่างมากๆ เพียงบันทึกประวัติศาสตร์ ‘Time Capsule’ เมือง Philadelphia แต่ก็ยังอาจสามารถสร้างความตระหนักให้กับวัยรุ่น คนหนุ่ม-สาวรุ่นใหม่ ได้เล็กๆกระมัง


Robert Jonathan Demme (1944-2017) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baldwin, New York สำเร็จการศึกษาจาก University of Florida จากนั้นได้เข้าร่วม New World Productions ทำงานภายใต้โปรดิวเซอร์ Roger Corman เขียนบทหนัง Angels Hard as They Come (1971), The Hot Box (1972), กำกับภาพยนตร์ Caged Heat (1974), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Melvin and Howard (1980), ประสบความสำเร็จล้มหลามกับ The Silence of the Lambs (1991) คว้ารางวัล Oscar ห้าสาขาหลัก (Best Picture, Best Director, Best Screenplay, Best Actor และ Best Actress)

I was really hooked on movies at a very young age. The Manchurian Candidate (1962), along with Seven Days in May (1964), Fail Safe (1964) and Dr. Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb (1964) were this quartet of anarchistic black-and-white American movies, each of which did things that you just didn’t do in American movies, especially in the realm of irreverence toward politics and government institutions and the Army. I was what, 16, it was shocking, it was thrilling and, interestingly, it predated my exposure to the French New Wave so, in a way, this was the American, a certain kind of new wave in American movies.

Jonathan Demme

ผกก. Demme และโปรดิวเซอร์ Edward Saxon หลังประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ The Silence of the Lambs (1991) จึงได้รับอิสรภาพจากสตูดิโอในการสรรค์สร้างโปรเจคถัดไป ซึ่งขณะนั้นทั้งสองต่างมีเพื่อนสนิท/คนรู้จักได้รับการวินิจฉัยติดเชื้อไวรัส HIV จึงมีความเห็นสอดพ้องว่าจะครุ่นคิดทำอะไรถัดไป

  • ผกก. Demme มีเพื่อนศิลปินชาวสเปน Juan Suárez Botas
  • ส่วนโปรดิวเซอร์ Saxon ต้องการอุทิศให้เพื่อนนักเขียน Robert Breslo

เรื่องราวของหนังได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง! เมื่อปี ค.ศ. 1987 ทนายความ Geoffrey Bowers จาก Chicago ยื่นฟ้องร้องสำนักงานทนายความ Baker McKenzie หลังจากถูกขับไล่ออกจากงาน เพราะต้นสังกัดค้นพบว่าตนเองติดเชื้อไวรัส HIV … พัฒนาบทภาพยนตร์โดย Ron Nyswaner

เกร็ด: ตั้งแต่การเสียชีวิตของ Geoffrey Bowers เคยมีโปรดิวเซอร์ Scott Rudin เดินทางมาพูดคุย สัมภาษณ์ถามครอบครัว ด้วยความตั้งใจอยากดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ แต่ยังไม่ทันเริ่มต้นโปรเจค Rudin ก็ถอนตัวออกไป และไม่เคยให้คำแนะนำใดๆกับนักเขียนบท … ถึงอย่างนั้นครอบครัวก็ได้ยื่นฟ้องร้อง TriStar Pictures เพราะไม่ขึ้นเครดิต รวมถึงไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์ พร้อมยกหลักฐาน 54 ฉากที่มีความละม้ายคล้ายคลึงเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริง! แม้ทั้งหมดเป็นความบังเอิญ แต่ Nyswaner ก็ยินยอมรับว่าได้แรงบันดาลใจจาก Bowers ค่อนข้างมาก เลยขอไกล่เกลี่ย และขึ้นข้อความช่วงท้ายเครดิต

แม้เรื่องราวของ Bowers จะมีพื้นหลัง Chicago, Illinois แต่ผกก. Demme เรียกร้องว่าอยากถ่ายทำบนชั้นศาล เพื่อสร้างบรรยากาศสมจริงให้กับหนัง ระหว่างโปรดิวเซอร์กำลังติดต่อหาสถานที่ต่างๆ Greater Philadelphia Film Office ยินยอมพร้อมให้ความร่วมมือ

I got a call from the producer telling me they were looking for a real courtroom where they could shoot for a long time, I said, ‘I got a courtroom for you!’ They came to see what we had, and I remember walking with them on JFK Boulevard and pointing to City Hall and saying, ‘There it is.’ Jonathan said, ‘That’s City Hall.’ And I said, ‘Yeah, but that’s our courthouse.’

Sharon Pinkenson กรรมการบริหาร Greater Philadelphia Film Office

สำหรับ Working Title ที่เคยครุ่นคิดไว้ อาทิ At Risk, People Like Us, Probable Cause ก่อนสุดท้ายเปลี่ยนมาใช้ชื่อเมือง Philadelphia ด้วยสองเหตุผลหลักๆ คือสถานที่ลงนามคำประกาศอิสรภาพสหรัฐ (United States Declaration of Independence) รวมถึงชื่อเล่น “City of Brotherly Love” ฟังดูเข้ากับบริบทของหนังเป็นอย่างดี

The City of Brotherly Love, the Declaration of Independence … I mean, perfect, right?

นักเขียน Ron Nyswaner กล่าวถึงการตั้งชื่อหนัง Philadelphia (1993)

ทนายความ Andrew Beckett (รับบทโดย Tom Hanks) ทำงานในสำนักงานทนายความ Wyant, Wheeler, Hellerman, Tetlow & Brown กำลังจะได้รับแต่งตั้งเป็น Senior Associate แต่วันนั้นผู้บริหาร Charles Wheeler (รับบทโดย Jason Robards) สังเกตเห็นรอยโรค (Lesion) บริเวณหน้าผาก ตระหนักว่านั่นอาจคืออาการโรค AIDS วันถัดๆมาจึงถูกกลั่นแกล้ง บีบให้ออกจากบริษัทอย่างไม่สมเหตุสมผล

Beckett ตัดสินใจยื่นฟ้องร้องต่อศาล ไม่ยินยอมการกระทำของผู้บริหาร เพราะเชื่อว่าเหตุผลที่ตนเองถูกไล่ออกเพราะอาการเกลียดกลัว (Homophobia) ผู้ป่วยโรค AIDS พยายามมองหาทนายความ แต่ก็ไม่มีใครอยากให้การช่วยเหลือ เช่นเดียวกับ Joseph Miller (รับบทโดย Denzel Washington) เพราะภรรยาเพิ่งคลอดบุตรจึงไม่อยากอยู่ชิดใกล้ แต่หลังจากพบเห็นความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง เพื่อนมนุษย์ เคยร่วมอาชีพเดียวกัน จึงยินยอมตอบตกลงรับทำคดีความดังกล่าวอย่างสุดความสามารถ


Thomas Jeffrey Hanks (เกิดปี 1956) นักแสดงเจ้าของฉายา Mr. America เกิดที่ Concord, California สมัยเด็กเป็นคนที่เข้ากับใครไม่ค่อยได้ แต่มีความหลงใหลด้านการแสดง โตขึ้นเข้าศึกษาต่อ Chabot College ก่อนย้ายไป California State University สุดท้ายตัดสินใจลาออกเพื่อมาเป็นนักแสดงอาชีพเต็มตัว, ค.ศ. 1979 ย้ายมาปักหลัก New York City แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกแนว Slasher ทุนต่ำ He Knows You’re Alone (1980), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Splash (1984), Big (1988), Sleepless in Seattle (1993), สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Actor สองปีติดกับ Philadelphia (1993) และ Forrest Gump (1994), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Apollo 13 (1995), You’ve Got Mail (1998), The Green Mile (1999), Cast Away (2000), Road to Perdition (2002), The Da Vinci Code (2006) ฯ ให้เสียงพากย์ The Polar Express (2004) และ Toy Story Series

รับบท Andrew ‘Andy’ Beckett ทนายความหนุ่มอนาคตไกล แต่ได้รับวินิจฉัยติดเชื้อ HIV พยายามปกปิดอาการป่วยเพื่อโอกาสในอาชีพการงาน กลับถูกนายจ้างทรยศหักหลัง ทีแรกบอกจะเลื่อนขั้นกลับถูกขับไล่ออกจากบริษัท พยายามต่อสู้ ทำทุกสิ่งอย่าง ไม่ยินยอมรับความพ่ายแพ้ แม้ร่างกายอิดๆออดๆ อาจไม่ทันมีชีวิตอยู่รับฟังผลการตัดสินก็ตามที

ในตอนแรกผกก. Demme มีความต้องการ Daniel Day-Lewis แต่อีกฝ่ายตัดสินใจเลือกโปรเจค In the Name of the Father (1993), นักแสดงคนอื่นๆ อาทิ Michael Keaton, William Baldwin, Tim Robbins, Andy Garcia, ก่อนมาลงเอย Tom Hanks เพราะยินยอมลดน้ำหนัก 26 ปอนด์ (=11.8 กิโลกรัม) และไม่กลัวเกรงจะเข้าหาผู้ป่วยโรค AIDS

ก่อนรับชมผมไม่สามารถจินตนาการ Hanks ในบทบาทเกย์สักเท่าไหร่ ช่วงแรกๆก็ไม่ได้เอะใจอะไร แต่พอค่อยๆเปิดเผยรายละเอียด มันมีแววตา ท่าทาง บางสิ่งอย่างซุกซ่อนภายใน อาจไม่ได้พบเห็นเด่นชัดเจน แต่ผู้ชมน่าจะสามารถสัมผัสถึงอีกตัวตน โดยเฉพาะสายตาจับจ้องมองแฟนหนุ่ม Miguel Alvarez มีความโรแมนติก ห่วงโหยหา อยากจะกลืนกินอีกฝั่งฝ่าย … ผมคาดเดาว่า Banderas น่าจะรุก Hanks เหมาะกับฝ่ายรับมากกว่า

ส่วนการแสดงระดับ Masterclass ของ Hanks คือสามารถทำให้ผู้ชมสัมผัสถึงร่างกายที่ค่อยๆอ่อนแอลงเรื่อยๆ ดวงตาหยาดเยิ้ม สายตาเคลิบเคลิ้ม ระหว่างฟังอุปรากรล่องลอยไปมา เมื่อขึ้นให้การก็สะลึมสะลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น พอถึงเวลาร่ำลาขยับเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้า จนหยุดแน่นิ่งสิ้นลมหายใจ … ไม่มีการแสดงอาการเจ็บปวด ร่ำร้องไห้ กรีดกราย แต่พยายามนำเสนอจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง พร้อมต่อสู้จนถึงเฮือกสุดท้าย เพื่อความยุติธรรมให้กับตนเองและสังคม!

เกร็ด: บทสัมภาษณ์ Tom Hanks เมื่อปี ค.ศ. 2022 แสดงความคิดเห็นว่าถ้าภาพยนตร์ Philadelphia สร้างขึ้นในปัจจุบัน ตัวละคร Andrew Beckett ควรให้โอกาสนักแสดงที่เป็นเกย์! แต่ฉบับของตนเองอย่างน้อยทำให้ผู้ชมสมัยนั้นที่ยังมีความตะขิดตะขวง ยินยอมรับประเด็นรักร่วมเพศไม่ค่อยได้ รู้สึกปลอดภัยในการรับชม

There’s nothing you can do about that, but let’s address “could a straight man do what I did in ‘Philadelphia’ now?” No, and rightly so. The whole point of “Philadelphia” was don’t be afraid. One of the reasons people weren’t afraid of that movie is that I was playing a gay man. We’re beyond that now, and I don’t think people would accept the inauthenticity of a straight guy playing a gay guy. It’s not a crime, it’s not boohoo, that someone would say we are going to demand more of a movie in the modern realm of authenticity.

Tom Hanks ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร New York Times

Denzel Hayes Washington Jr. (เกิดปี 1954) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Mount Vernon, New York โตขึ้นเข้าศึกษาต่อ Texas Tech University แต่ไม่นานก็ย้ายไปเรียนวรสารศาสตร์ Fordham University ก่อนค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง จึงเข้าศึกษาต่อ American Conservatory Theater แค่เพียงปีเดียวก็มุ่งสู่ละคอนเวที, แจ้งเกิดกับซีรีย์โทรทัศน์ St. Elsewhere (1982-88), ตามด้วยภาพยนตร์ Cry Freedom (1987), Glory (1989)**คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, Malcolm X (1992), Philadelphia (1993), The Hurricane (1999), Training Day (2001)**คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, The Manchurian Candidate (2004), Flight (2012), Fences (2016), The Tragedy of Macbeth (2021) ฯ

รับบททนายความผิวสี Joseph ‘Joe’ Miller ผู้พร้อมรับทำคดีแปลกๆ ขอแค่ให้ได้ทำงาน มีค่าเงินมาเลี้ยงดูแลครอบครัวเพิ่งคลอดบุตรสาว (มีคำเรียกทนายประเภทนี้ว่า ‘Ambulance chasing’) จนกระทั่งวันหนึ่งได้รับการติดต่อจากคู่ปรับเก่า Andrew Beckett ขอให้ช่วยสู้คดีความที่ตนเองถูกไล่ออกโดยไม่ชอบธรรม ตอนแรกพยายามบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่อยากอยู่เคียงชิดใกล้ เกลียดกลัวผู้ป่วย HIV (มีอาการ Homophobia อยู่เล็กๆ) แต่ภายหลังรู้สึกสงสารเห็นใจ เลยยินยอมตอบตกลงด้วยความเชื่อมั่นว่าจักต้องได้รับชัยชนะ

ในตอนแรกผกก. Demme อยากได้นักแสดงตลก เพื่อทำการถ่วงดุล (counterbalance) กับบทบาทเครียดๆของ Tom Hanks มีการติดต่อ Bill Murray, Robin Williams, Tim Robbins, รวมถึง Mel Gibson (คนนี้ไม่ตลกเท่าไหร่), ส่วนเหตุผลที่ลงเอยกับ Denzel Washington เพราะอ่านบทแล้วรู้สึกสนใจ และผกก. Demme อยากร่วมงานกับ Washington เป็นการส่วนตัวมาสักพักใหญ่ๆ

แม้การได้ Washington จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในความสนใจผู้ชมผิวสี ราวกับวีรบุรุษช่วยเหลือคนขาว (ผมอ่านเจอบทความหนึ่ง กล่าวถึงประมาณนี้จริงๆนะ!) แต่ว่ากันตามตรงพลังดาราที่เอ่อล้น (ของ Washington) ทำให้บทบาทนี้ดูไม่ค่อยน่าเชื่อสักเท่าไหร่ นั่นเพราะ Ambulance chasing ควรเป็นบุคคลที่มีความลุกรี้ ร้อนรน กระวนกระวาย (ลองไปหารับชม The Verdict (1982) แล้วคุณจะเข้าใจลักษณะของทนายประเภทนี้) ไม่ใช่หนักแน่นมั่นคง เฉลียวฉลาด เก่งกาจ คู่ปรับที่มีความสามารถเทียบเท่า Hanks

โดยปกติแล้วนักแสดงเกรดเอ ควรนำมาเผชิญหน้า ขั้วตรงข้าม ประชันกันมากกว่า สาเหตุเพราะ “เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้” มันเลยเกิดการแก่งแย่ง ขโมยซีนกันเอง ซึ่งผมแอบผิดหวังกับ Washington ไม่ได้พยายามครุ่นคิดสร้างสรรค์อะไร เพียงแค่ “Washington เล่นเป็น Washington” แทบไม่มีอะไรมากกว่านั้น!

แซว: ในขณะที่ Tom Hanks ต้องลดน้ำหนัก อดอาหาร ตัวละครของ Denzel Washington เหมือนว่าต้องทำน้ำหนักเพิ่มสักนิดหน่อย ระหว่างถ่ายทำจึงมักหยิบแท่งช็อกโกแล็ตขึ้นมารับประทานต่อหน้าอีกฝ่าย


ถ่ายภาพโดย Takashi ‘Tak’ Fujimoto (เกิดปี 1939) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ San Diego, California ในครอบครัวเชื้อสายญี่ปุ่น ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถูกกักตัวอยู่ Poston War Relocation Center (แต่ยังไม่ทันรับรู้ประสีประสาอะไร) โตขึ้นสำเร็จการศึกษาจาก London Film School จบออกมาถ่ายทำสารคดี ตามด้วยภาพยนตร์ Badlands (1973), ร่วมงานขาประจำผกก. Jonathan Demme ตั้งแต่ Caged Heat (1974), ผลงานเด่นๆ อาทิ Melvin and Howard (1980), The Silence of the Lambs (1991), Philadelphia (1993), The Sixth Sense (1999), Signs (2002), The Manchurian Candidate (2004) ฯ

ผกก. Demme มีสไตล์ลายเซ็นต์ที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน! นิยมชมชอบถ่ายภาพใบหน้าระยะใกล้ (Close-Up Shot) แถมส่วนใหญ่ยังสบตาหน้ากล้อง (อาจดูเหมือนการ Breaking the Fourth Wall แต่ไม่ใช่นะครับ) สำหรับแสดงปฏิกิริยาอารมณ์ ถ่ายทอดความรู้สึกที่อยู่ภายในออกมา

สำหรับ Philadelphia (1993) มีการใช้ลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์อย่างแพรวพราว โดยจุดเด่นก็คือใช้การภาพถ่ายใบหน้าระยะใกล้ (Close-Up Shot) ระหว่างซักถามพยานบนชั้นศาล ซึ่งทำให้ผู้ชมสามารถสังเกตอากัปกิริยา ท่าทาง พูดคำตอบจริงหรือมดเท็จ ล้วนแสดงออกทางภาษากายอย่างชัดเจน!

หนังใช้เวลาถ่ายทำสามเดือนระหว่าง 21 ตุลาคม ค.ศ. 1992 จนถึง 21 มกราคม ค.ศ. 1993 โดยปักหลักอาศัยอยู่ยัง Philadelphia, Pennsylvania ประกอบด้วย

  • ฉากในศาลทั้งหมด ถ่ายทำยังศาลาว่าการ (Philadelphia City Hall)
  • บ้านของครอบครัว Beckett ตั้งอยู่ย่าน Lower Merion
  • ห้องสมุด Fisher Fine Arts Library ณ University of Pennsylvania
  • สนามกีฬาในร่ม Spectrum เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967

Opening Credit ทำการร้อยเรียง ‘City Symphony’ ภาพตึกรามบ้านช่อง ท้องถนนหนทาง สถานที่สำคัญๆ รวมถึงวิถีชีวิต กิจวัตรของชาว Philly (คำเรียกสั้นๆของชาว Philadelphia) คลอประกอบบทเพลง The Streets of Philadelphia ช่างมีความไพเราะ เหมาะเจาะ เข้าถึงจิตวิญญาณเมือง Philadelphia

เกร็ด: สำหรับสถานที่ที่ถือเป็นศูนย์กลางเมือง Philadelphia (พื้นหลังเมื่อตอนปรากฎชื่อหนัง) ก็คือศาลาว่าการ (Philadelphia City Hall)

เอาจริงๆผมฟังศัพท์กฎหมายไม่ค่อยรู้เรื่องว่า Beckett และ Miller เมื่อแรกพบเจอ โต้ถกเถียง ต่อรองอะไรต่อหน้าผู้พิพากษา แต่หนังพยายามทำให้ผู้ชมเกิดความตระหนักถึงการเป็นคู่แข่ง คู่ปรับ ขั้วตรงข้าม (รวมถึงสีผิวขาว-ดำ) จนเมื่อฝั่งฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย ต้องการฟ้องร้องในสิ่งขัดต่อคำประกาศอิสรภาพสหรัฐ (United States Declaration of Independence) นั่นทำให้พวกเขาสามารถร่วมมือร่วมใจ ไม่มีการแบ่งแยกฝั่งฝ่าย เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม

ชายคนนี้คือ Ron Vawter รับบทเป็น Bob Seidman หนึ่งใน Senior Associate ของ Wyant, Wheeler, Hellerman, Tetlow & Brown ขณะนั้นตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัส HIV เห็นว่าโปรดิวเซอร์เคยพยายามบีบบังคับไม่ให้ผกก. Demme ทำการว่าจ้าง เพราะบริษัทประกันปฏิเสธจ่ายค่าเสียหายให้ครอบคลุมผู้ป่วยโรค AIDS แต่นั่นคงเป็นความโคตรๆ ‘Ironic’ ถ้าสุดท้ายแล้ว Vawter ถูกไล่ออกเพราะเหตุเดียวกับเรื่องราวในภาพยนตร์!

เกร็ด: ไม่ใช่แค่ Ron Vawter แต่เห็นว่ายังมีตัวประกอบที่เป็นผู้ป่วยโรค AIDS หลายคนมารับเชิญในหนัง ทั้งฉากในโรงพยาบาล ห้องพิจารณาคดีความ รวมถึงงานเลี้ยงปาร์ตี้ของ Andrew Beckett

เหตุการณ์วุ่นๆวายๆของหนัง มีต้นตอจากหนึ่งในผู้บริหาร Charles Wheeler สังเกตเห็นรอยโรค (Lesion) บริเวณหน้าผากของ Beckett ซึ่งวินาทีนั้นตามสไตล์ผกก. Demme ใช้เทคนิคถ่ายภาพใบหน้าระยะใกล้ (Close-Up Shot) เพื่อให้ผู้ชมสามารถสังเกต จับจ้องมองหา ซึ่งวินาทีนี้ยังล้อกับตอนขึ้นให้การบนชั้นศาล (ขณะที่มีการใช้กระจกส่อง) แล้วถูกซักถามว่าคุณสามารถพบเห็นรอยโรคด้วยตาเปล่าหรือไม่?

วินาทีที่ Beckett พูดบอกกับ Miller ว่าตนเองติดโรค AIDS จากเคยจับมือ ยืนชิดใกล้ ค่อยๆก้าวเดินถอยหลัง หาทิชชู่มาเช็ดไม้เช็ดมือ นั่นคือปฏิกิริยาแรกๆของคนไม่เคยรับรู้ พบเจอเข้ากับตนเอง พยายามสร้างกำแพงที่มองไม่เห็นมากั้นแบ่งแยก! เฉกเช่นเดียวกับตอนที่ Beckett ถูกไล่ออกจากบริษัท ถูกบังคับให้นั่งห่างจากคณะผู้บริหาร คั่นด้วยโต๊ะทำงาน ไม่มีใครต้องการอยู่เคียงชิดใกล้

แม้จะตอบปฏิเสธไปแล้วแต่ Miller ก็เต็มไปด้วยความโล้เล้ลังเล สองจิตสองใจ บังเอิญพบเจอ Beckett (ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย University of Pennsylvania) ทีแรกพยายามหลบซ่อนหลังกองหนังสือ แต่พอพบเห็นพฤติกรรมบรรณารักษ์ เลยลุกขึ้นไปให้ความช่วยเหลือ แล้วจู่ๆตัดสินใจยินยอมรับทำคดีความ … มุมกล้อง ‘God Eye View’ ราวกับสวรรค์บันดาล!

ผมไม่ค่อยแน่ใจเหตุผลการเลือกสนามกีฬาในร่ม Spectrum เป็นพื้นหลังเมื่อครั้น Miller เดินทางมายื่นหมายศาลให้กับผู้บริหาร Charles Wheeler คาดเดาว่าอาจต้องการเปรียบเทียบระหว่าง (โจกท์) สำนักทนายความ vs. (จำเลย) Beckett, รายล้อมรอบด้วยผู้คน/สาธารณะชนในสนามมากมาย vs. สมาชิกครอบครัว Beckett เพียงไม่กี่คน

เกร็ด: ในเมือง Philadelphia มีทีมบาสเกตบอลชื่อดัง Philadelphia 76ers ชื่อเล่น Sixers เล่นอยู่ Atlantic Division สายตะวันออก (Eastern Conference) เคยคว้าแชมป์ NBA สามสมัยเมื่อปี 1955, 1967, 1983

นี่เป็นซีเควนซ์ที่โดยส่วนตัวรู้สึกซาบซึ้ง ประทับใจ แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณชาว Philly ที่เลื่องชื่อใน ‘City of Brotherly Love’ ครอบครัว ญาติพี่น้อง พวกพ้อง ต่างให้การส่งเสริมสนับสนุน Andrew Beckett ไม่เพียงไม่กีดกันรสนิยมทางเพศ พอล้มป่วยโรค AIDS ก็ยังอยู่เคียงชิดใกล้ ไม่เหินห่างไปไหน … โดยเฉพาะ Beckett ให้นมทารกน้อย ผมรู้สึกว่าทรงพลังยิ่งกว่าเริงระบำอุปรากรเสียอีกนะ!

หอนาฬิกาแห่งฟิลาเดลเฟีย ส่วนหนึ่งของอาคารศาลาว่าการ (Philadelphia City Hall) ถือเป็นอาคารก่อสร้างด้วยอิฐสูงที่สุดในโลก! ตัวหอนาฬิกาสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1901 ความสูง 167 เมตรออกแบบโดย John McArthur Jr. (1823-90) บนยอดหอมีประติมากรรมผู้ก่อตั้งเมือง William Penn (1644-1718) ภายใต้อาณานิคม British Empire เมื่อปี ค.ศ. 1681

เกร็ด: ชื่อเมือง Pennsylvania มาจากส่วนผมของนามสกุล Penn และภาษาละติน Sylvania แปลว่า Wooded Land รวมเรียกว่า Penn’s Woods (เมื่อตอนบุกเบิกเมือง คาดการณ์ว่าบริเวณนี้เป็นป่าเขียวขจีกว่า 90% ของพื้นที่ทั้งหมด)

ค่ำคืนนี้แทนที่ Beckett จะซักซ้อมคำให้การบนชั้นศาล กลับเคลิบเคลิ้มล่องลอย รับฟังอุปรากร La mamma morta (แปลว่า They killed my mother) ที่มีความโหยหวน คร่ำครวญ เจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน กล้องถ่ายมุมก้มลงมา พอถึงไคลน์แม็กซ์(ของบทเพลง)มีการสาดสีแดง ขณะที่ใบหน้าของ Miller ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด

นี่เป็นซีเควนซ์ที่ทำให้ Miller (รวมถึงผู้ชม) ตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ของ Beckett นี่นะหรือบุคคลที่ถูกสังคมตีตราสกปรกโสมม รสนิยมอาจม กลับสามารถชื่นชมอุปรากร เข้าถึงศิลปะขั้นสูง ที่บางคนอาจไม่รับรู้เรื่องด้วยซ้ำว่ามีความงดงามทรงคุณค่าเช่นใด

เงามืดที่ปกคลุมใบหน้าของ Miller ไม่ได้จะสื่อถึงความอับจนหนทางอะไร แต่คือวินาทีที่เขาสามารถเข้าใจตัวตนอีกฝ่าย ทุกสิ่งเคยตัดสินจากเปลือกภายนอก ขณะนี้คือการค้นพบตัวตนแท้จริง จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์!

ระหว่างขึ้นให้การบนคอกพยาน ท่าทางของ Beckett ดูเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า คำตอบเชื่องช้า สีหน้าสีเผือก มุมมองระหว่างจับจ้องทนายฟากฝั่งโจกท์ จะค่อยๆหมุนเอียง ‘Dutch Angle’ วิสัยทัศน์บิดเบี้ยว ทำให้ผู้ชมสัมผัสความผิดปกติ ใกล้ถึงช่วงเวลาสุดท้ายชีวิต

Mary Steenburgen ผู้รับบททนายความ Belinda Conine ก่อนหน้าการถ่ายทำเพิ่งไปเยี่ยมเยือนเพื่อนล้มป่วยโรค AIDS พอต้องมาเล่นภาพยนตร์เรื่องนี้เลยเกิดความเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน หลังถ่ายทำเสร็จวันแรกเข้ามาพูดคุยผกก. Demme ว่าอยากขอถอนตัวออกไป แต่เขาพยายามโน้มน้าวให้เธอนำความสิ้นหวังแปรสภาพเป็นพลัง ประโยคคำพูด “I hate this case.” ก็คือหนึ่งในอารมณ์นั้น ดั้นสด ออกมาจากภายใน

วินาทีที่ Beckett เป็นลมล้มพับในชั้นศาล สังเกตว่ากล้องถ่ายมุม ‘God Eye View’ เหมือนต้องการสื่อว่าความเป็น-ตายของเขาหลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับพระเจ้าจะอนุญาตให้มีชีวิตเยิ่นยาวนานสักเพียงไหน

คำเปรียบเปรยของหัวหน้าลูกขุน ถึงความไม่สมเหตุสมผลในข้ออ้างฟากฝั่งจำเลย มีการเปรียบเปรยถึงสนามรบสงคราม และนักบินเก่งที่สุด Top Gun ผมครุ่นคิดว่านี่เป็นการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ Top Gun (1986) อย่างแน่นอน! … แถมการถ่ายภาพของซีเควนซ์นี้ กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลจากปลายโต๊ะมาจนถึงเบื้องหน้าประธาน ให้ความรู้สึกเหมือนการบินโฉบของเครื่องบินอยู่เล็กๆ

ผมนึกย้อนไปตอนต้นเรื่องที่ทั้งสองพบเจอกัน แล้วพอ Miller หลังรับรู้ว่า Beckett ติดโรค AIDS ก็พยายามก้าวเดินถอยหลัง ตีตนออกให้ห่างไกล แต่มาถึงคราวนี้การพบเจอครั้งสุดท้าย กล้องถ่ายใบหน้าระยะใกล้ (Close-Up Shot) สามารถมองหน้า สบตา ช่วยขยับที่ช่วยหายใจ ไม่มีกำแพงใดๆขวางกั้นระหว่างพวกเขาอีกต่อไป

เอาจริงๆซีเควนซ์นี้ตัดต่อ ย่นย่อได้หลายนาที แต่ผกก. Demme จงใจให้ทุกตัวละครต้องมาร่ำลาจาก Beckett เพื่อผู้ชมรู้สึกถึงความรัก ความห่วงใยจากครอบครัว และเพื่อนฝูงรอบข้าง … ผมว่ามันไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่ เป็นการยืดยื้ออารมณ์เกินไป ตัดข้ามไปพิธีไว้อาลัยเลยก็ยังได้

ท้องถนนภายนอกสังเกตว่าน่าจะคือช่วงฤดูใบไม้ร่วงหล่น (Autumn) ซึ่งสามารถสื่อถึงความตายของ Beckett และอาจเหมารวมชายคนรัก Miguel Alvarez (รับบทโดย Antonio Banderas) หนังไม่ได้เปิดเผยว่าอีกฝ่ายติดโรค AIDS หรือเปล่า? แต่ดูจากการเลือกใช้รูปคู่ มีความเป็นไปได้สูงมากๆว่าอีกฝ่ายน่าจะฆ่าตัวตายตาม … ใครตระหนักถึงประเด็นนี้ระหว่างรับชม คงรู้สึกหดหู่ เศร้าสลดเสียใจยิ่งๆขึ้นอีก

ตัดต่อโดย Craig McKay สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ มินิซีรีย์ Holocaust (1978), ภาพยนตร์ Melvin and Howard (1980), Reds (1981), The Silence of the Lambs (1991), Philadelphia (1993), The Manchurian Candidate (2004) ฯ

นอกจากช่วงอารัมบทที่นำเสนอผ่านมุมมองของ Andrew Beckett เรื่องราวต่อจากนั้นสลับสับเปลี่ยนมาเป็นทนาย Joseph Miller ตั้งแต่พบเห็นภรรยาคลอดบุตร พูดคุยคดีความ สองจิตสองใจ พอตอบตกลงก็เตรียมตัวขึ้นศาลไต่สวน ซักทอดพยาน และตัดสินคดีความ

  • อารัมบท, Andrew Beckett ถูกไล่ออกโดยไม่ชอบธรรม
    • เริ่มต้นด้วยการเผชิญหน้าระหว่าง Beckett vs. Miller ต่อรองกับผู้พิพากษา
    • วันทำงานของ Beckett ค่ำคืนได้รับเชิญจากคณะผู้บริหาร รับปากจะเลื่อนขั้นให้เป็น Senior Associate
    • แต่วันถัดมากลับเกิดเหตุผิดพลาดบางอย่าง เอกสารคดีความสูญหายอย่างมีลับลมคมใน
    • ทำให้จู่ๆคณะผู้บริหารตัดสินใจไล่ออก Beckett
  • การตัดสินใจของ Joseph Miller
    • Miller อยู่ในห้องคลอดภรรยา
    • เมื่อกลับมาสำนักงาน Miller พบเจอกับ Beckett ขอความช่วยเหลือให้ช่วยทำคดีความ แต่เจ้าตัวบอกปัดปฏิเสธ
    • หลังจากพูดคุยกับแพทย์และภรรยา บังเอิญพบเจอ Beckett ในห้องสมุด ก่อนตัดสินใจยินยอมรับทำคดีความ
    • ยื่นเอกสารฟ้องร้องต่อคณะผู้บริหาร Wyant, Wheeler, Hellerman, Tetlow & Brown
    • งานเลี้ยงรวมญาติของ Beckett เพื่อบอกกล่าวความตั้งใจกับครอบครัว
  • การพิจารณาคดีความ
    • เริ่มจากทนายความกล่าวสุนทรพจน์กับคณะลูกขุน
    • เชิญพยานทั้งสองฝั่งมาซักทอดคดีความ
    • งานเลี้ยงสังสรรค์ของ Beckett เตรียมความพร้อมก่อนขึ้นให้การ
    • ซักทอดจำเลย Andrew Beckett
    • ซักทอดโจกท์/ผู้บริหาร Charles Wheeler
    • คณะลูกขุนลงมติตัดสินคดีความ
  • ช่วงเวลาร่ำจากลา
    • Miller เดินทางไปเยี่ยมเยียน Beckett ที่โรงพยาบาล
    • และพิธีไว้อาลัย Miller (และคนรัก) ที่จากไป

หนังไม่ได้พุ่งเป้าโฟกัสแค่การไต่สวนคดีความบนชั้นศาลเพียงอย่างเดียว แต่มักแทรกกิจกรรม พบปะสังสรรค์ รวมถึงการร่ำลาครั้งสุดท้ายกับ Beckett เพื่อให้ผู้ชมสัมผัสถึงความรัก ความอบอุ่น เข้าใจมุมมองผู้ป่วยโรค AIDS ที่ต้องการมีชีวิต เลือกใช้เวลาเหลืออยู่อย่างคุ้มค่าทุกนาที (หนังจึงไม่ใส่ฉากที่แสดงอาการเจ็บปวด ทุกข์ทรมานเข้ามา)


ในส่วนของเพลงประกอบ แม้ขึ้นเครดิต Howard Shore แต่จริงๆแล้วเป็นการรวบรวม Remix จากหลากหลายศิลปิน อาทิ Bruce Springsteen, Peter Gabriel, RAM, Sade, Spin Doctor, Neil Young ฯ มีทั้งแต่งขึ้นใหม่ (Original Song) และขอหยิบยืมมาใช้ ทำออกมาในลักษณะ ‘diegetic music’ ซึ่งในอัลบัม Soundtrack มีบทเพลงแต่งโดย Shore แค่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น!

ผกก. Demme ครุ่นคิดว่านักร้องชื่อดังน่าจะดึงดูดความสนใจผู้ชมได้ระดับหนึ่ง จึงติดต่อเข้าหา Bruce Springsteen ในตอนแรกแต่งบทเพลง Tunnel of Love แต่เนื้อคำร้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์/รักที่มีปัญหา ซึ่งฟังดูไม่ค่อยเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวของหนังสักเท่าไหร่ จึงเปลี่ยนมาเป็น The Streets of Philadelphia ทำนองเศร้าๆ จังหวะเบาๆ (Soft Rock) ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสั่นไหว สะท้านทรวงใน … ไม่ได้กล่าวถึงผู้ป่วยโรค AIDS ตรงๆ แต่ฟังแล้วสัมผัสถึงหายนะ ความตาย ลมหายใจเฮือกสุดท้าย

I was bruised and battered
I couldn’t tell what I felt
I was unrecognizable to myself
Saw my reflection in a window
And didn’t know my own face
Oh brother are you gonna leave me wastin’ away
On the streets of Philadelphia?

I walked the avenue, ’til my legs felt like stone
I heard the voices of friends vanished and gone
At night I could hear the blood in my veins
Just as black and whispering as the rain
On the streets of Philadelphia

Ain’t no angel gonna greet me
It’s just you and I my friend
And my clothes don’t fit me no more
A thousand miles just to slip this skin

The night has fallen, I’m lyin’ awake
I can feel myself fading away
So receive me brother with your faithless kiss
Or will we leave each other alone like this
On the streets of Philadelphia?

เกร็ด: The Streets of Philadelphia เป็นบทเพลงที่ 9 สามารถกวาดรางวัล ‘Triple Crown’ จากสามสถาบัน Academy Award, Golden Globe และ Grammy Award (จนถึงปี ค.ศ. 2022 มีถึง 17 เพลงที่สามารถคว้า ‘Triple Crown’ จากภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน)

เกร็ด: บทเพลงนี้ยังได้รับการโหวตติดอันดับ #68 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Songs

บทเพลงอุปรากรที่ Andrew Beckett รับฟังร่วมกับ Joseph Miller ในค่ำคืนนั้นชื่อว่า La mamma morta (1896) [แปลว่า They killed my mother] คำร้อง Soprano Aria จากองก์สาม Andrea Chénier (1896) ประพันธ์โดย Umberto Giordano (1867-1948) คีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน

เนื้อคำร้องกล่าวถึงมารดาที่พยายามปกป้องบุตรสาว จากเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงระหว่าง French Revolution (1789-99) ทำให้เธอต้องเสียชีวิต, ฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย Maria Callas

คำร้องอิตาเลี่ยนคำแปลอังกฤษ
La mamma morta m’hanno
alla porta della stanza mia
Moriva e mi salvava!
poi a notte alta
io con Bersi errava,
quando ad un tratto
un livido bagliore guizza
e rischiara innanzi a’ passi miei
la cupa via!
Guardo!
Bruciava il loco di mia culla!
Così fui sola!
E intorno il nulla!
Fame e miseria!
Il bisogno, il periglio!
Caddi malata,
e Bersi, buona e pura,
di sua bellezza ha fatto un mercato,
un contratto per me!
Porto sventura a chi bene mi vuole!
Fu in quel dolore
che a me venne l’amor!
Voce piena d’armonia e dice
Vivi ancora! Io son la vita!
Ne’ miei occhi è il tuo cielo!
Tu non sei sola!
Le lacrime tue io le raccolgo!
Io sto sul tuo cammino e ti sorreggo!
Sorridi e spera! Io son l’amore!
Tutto intorno è sangue e fango?
Io son divino! Io son l’oblio!
Io sono il dio che sovra il mondo
scendo da l’empireo, fa della terra
un ciel! Ah!
Io son l’amore, io son l’amor, l’amor
E l’angelo si accosta, bacia,
e vi bacia la morte!
Corpo di moribonda è il corpo mio.
Prendilo dunque.
Io son già morta cosa
They killed my mother
at the door of my room
She died and saved me.
Later, at dead of night,
I wandered with Bersi,
when suddenly
a bright glow flickers
and lights were ahead of me
the dark street!
I looked –
My childhood home was on fire!
I was alone!
surrounded by nothingness!
Hunger and misery
deprivation, danger!
I fell ill,
and Bersi, so good and pure
made a market, a deal, of her beauty
for me –
I bring misfortune to all who care for me!
It was then, in my grief,
that love came to me.
A voice full of harmony says,
“Keep on living, I am life itself!
Your heaven is in my eyes!
You are not alone.
I collect all your tears
I walk with you and support you!
Smile and hope! I am Love!
Are you surrounded by blood and mire?
I am Divine! I am oblivion!
I am the God above the world
I descend from the empyrean and make this Earth
A heaven! Ah!
I am love, love, love.”
And the angel approaches with a kiss,
and he kisses death –
A dying body is my body.
So take it.
I am already dead matter!

เกร็ด: ซีเควนซ์นี้ใช้การเปิดเพลงจากเครื่องเล่นเทป และบันทึกเสียงสดๆ เพื่อให้ Tom Hanks สามารถเคลิบเคลิ้ม ล่องลอยไปกับบทเพลง ผลลัพท์ทำให้ไม่สามารถตัดต่ออะไรได้มาก จำต้องปล่อยลากยากจนจบบทเพลง

อีกบทเพลงที่ถือเป็นไฮไลท์ของหนัง ดังขึ้นระหว่างพิธีหวนรำลึกหลังการจากลา Philadelphia แต่ง/ขับร้องโดย Neil Young สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Song เคียงข้างกับ Streets of Philadelphia

Neil read the script, watched the film and wrote ‘Philadelphia.’ We were shooting, and Neil came to watch a scene with Tom and me. I’ll never forget it. When he heard Tom’s voice, he went, ‘Oh my God, listen to him. Listen to that guy’s voice.’ And then he sat there and wrote this incredible song about Tom’s character and about the movie and for the film. And it’s absolutely breathtaking.

Jonathan Demme

น้ำเสียงเศร้าๆของ Young รวมถึงเนื้อคำร้องบทเพลงนี้ ไม่เพียงแค่สร้างขวัญกำลังใจ ’emotional tribute’ ให้กับผู้ป่วยโรค AIDS แต่ยังเหมารวมถึงบุคคลมีความเจ็บป่วยทั้งร่างกาย-จิตใจ ต้องอดกลั้นฝืนทน ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม เชื่อเถอะว่าสักวันต้องได้รับชัยชนะ พบเจอแสงสว่าง พานผ่านช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก

Philadelphia
Sometimes I think that I know
What love’s all about
And when I see the light
I know I’ll be all right

I’ve got my friends in the world
I had my friends
When we were boys and girls
And the secrets came unfurled

City of brotherly love
Place I call home
Don’t turn your back on me
I don’t want to be alone
Love lasts forever

Someone is talking to me
Calling my name
Tell me I’m not to blame
I won’t be ashamed of love

Philadelphia
City of brotherly love
Brotherly love

Sometimes I think that I know
What love’s all about
And when I see the light
I know I’ll be all right
Philadelphia

เรื่องราวของ Philadelphia (1993) นำเสนอการต่อสู้คดีความเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับผู้ป่วยโรค AIDS ได้รับความเสมอภาคเท่าเทียม สามารถดำรงชีวิต ทำกิจการงานเหมือนคนปกติทั่วไป ไม่ถูกแบ่งแยก กีดกัน ผลักไส หรือแสดงพฤติกรรมเกลียดกลัว (Homophobic) รังเกียจเหยียดหยาม (Racism) เพราะนั่นเป็นสิ่งขัดแย้งต่อคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ (United States Declaration of Independence)

We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness.

ด้วยความที่ AIDS ยังเป็นโรคติดต่อชนิดใหม่ เพิ่งระบาดได้ไม่กี่ปี (นึกเปรียบเทียบคล้ายๆการมาถึงของ COVID-19) ประชาชนจึงขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง อีกทั้งการประโคมข่าวของสื่อ มุ่งเน้นนำเสนอผู้ป่วยจากชุมชนรักร่วมเพศ (Homosexual) ทำให้ใครๆครุ่นคิดว่าคนกลุ่มนั้นคือต้นตอสาเหตุ บังเกิดอาการเกลียดกลัว ขยะแขยง รับไม่ได้ จำเป็นต้องตีตนออกให้ห่างไกล

Philadelphia (1993) พยายามสร้างความตระหนัก ตื่นรู้ แนะนำความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ชม โดยใช้ตัวละครของ Denzel Washington คือตัวแทนบุคคลทั่วไป ในตอนแรกก็รังเกลียด หวาดกลัว ถอยออกห่างไกล แต่เมื่อรับฟังคำแนะนำของแพทย์ เข้าใจว่าเชื้อไวรัส HIV ไม่ได้ติดต่อง่ายดายขนาดนั้น ก็ค่อยๆสามารถปรับตัว เห็นอกเห็นใจ ให้การยินยอมรับ ผู้ป่วยโรค AIDS ก็มีจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ไม่ต่างจากตัวเรา

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรค AIDS คือกำลังใจจากครอบครัว เพื่อนฝูง และทุกคนรอบข้าง แม้ร่างกายอ่อนเรี่ยวแรงลงทุกขณะ แต่ถ้าจิตวิญญาณยังเข้มแข็ง พร้อมต่อสู้ ย่อมสามารถอดรนทน ฟันฝ่าอุปสรรค ทำทุกสรรพสิ่งอย่างสำเร็จตามฝันปรารถนา … ปัจจุบันโรคนี้ก็ยังรักษาไม่หาย แต่สามารถบรรเทาอาการให้มีชีวิตยืนยาวนานขึ้นกว่าเดิม

ชื่อหนัง Philadelphia (1993) อาจฟังดูสมเหตุสมผลในแง่มุมของผู้สร้าง ดินแดนแห่งความรักพี่น้อง (The City of Brotherly Love) และต้นกำเนิดแห่งสหรัฐอเมริกา (The Birthplace of America) แต่เพราะผมไม่เคยไปท่องเที่ยว พักอาศัย ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง Philadelphia เลยบอกไม่ได้ว่าสามารถเป็นตัวตายตัวแทน (representation) จิตวิญญาณเมืองแห่งนี้ได้เหมือนกับ Casablanca (1942), Rome, Open City (1945), The Young Girls of Rochefort (1967), New York, New York (1977), Paris, Texas (1984), Manhattan (1989), Midnight in Paris (2011) ฯ

เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ภาพจำของ Philadelphia ในช่วงทศวรรษนั้นกลายเป็นสรวงสวรรค์ผู้ป่วย HIV แต่ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) เท่าที่ผมหาอ่านจากบทความวิจารณ์ ปรับเปลี่ยนมาเป็น “City of Gangs and Drugs and Addicts” เมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ (Zombieland) ขี้ยา ไร้บ้าน ยาเสพติดราคาถูกกว่ามื้ออาหาร มาเฟียใหญ่ทรงอิทธิพลพอๆกับตำรวจ … ด้านดีๆก็มีนะครับ เป็นเมืองเก่าแก่ ประวัติศาสตร์ยาวนาน อาหาร Cheesesteak จิตรกรรมฝาผนัง Murals ฯลฯ แต่คนส่วนใหญ่มักจดจำด้านมืดได้ขึ้นใจกว่า

ผู้สัมภาษณ์: What would Philadelphia look like today?

ผู้ใหัสัมภาษณ์หนึ่ง: It’s would be about people with HIV who are transgender, who are forced into sex work to survive. Who are arrested and abused by the police and criminal justice system.

ผู้ให้สัมภาษณ์สอง: It would be a gay man of color, coming from a poorer background. With an addiction.


ด้วยทุนสร้าง $26 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับค่อนข้างดี สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $77.4 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $206.7 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม! และช่วงปลายปียังได้เข้าชิง Oscar, Golden Globe อีกหลายสาขา

  • Academy Award
    • Best Actor (Tom Hanks) **คว้ารางวัล
    • Best Original Screenplay
    • Best Makeup
    • Best Original Song – Philadelphia
    • Best Original Song – Streets of Philadelphia **คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award
    • Best Actor – Drama (Tom Hanks) **คว้ารางวัล
    • Best Screenplay
    • Best Original Song – Streets of Philadelphia **คว้ารางวัล

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K UHD ในโอกาสครบรอบ 25th Anniversary เสร็จสิ้นปี ค.ศ. 2018 จัดจำหน่ายโดย Sony Pictures คุณภาพถือว่าไร้ที่ติ

ความสำเร็จของ Philadelphia (1993) คือการได้เป็นภาพยนตร์กระแสหลัก Hollywood เรื่องแรกๆที่กล่าวถึงปัญหา HIV ทำให้ผู้ชมสมัยนั้นเกิดความตระหนัก รับรู้จัก และเข้าใจผู้ป่วยโรค AIDS เพิ่มมากขึ้น! … แต่กาลเวลาทำให้ความสำคัญดังกล่าวลดน้อยลง (เพราะคนรุ่นใหม่เรียนรู้จักโรคนี้ตั้งแต่ในโรงเรียน) หลงเหลือเพียงลูกเล่นลีลาของผกก. Demme และการแสดงระดับ Masterclass ของ Tom Hanks (บางคนอาจเหมารวมบทเพลงของ Bruce Springsteen ด้วยก็ได้กระมัง)

Philadelphia (1993) ไม่ใช่ภาพยนตร์เชิงวิชาการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค AIDS แต่คือการจัดการความรู้สึกนึกคิดของตัวเรา ไม่ใช่เหมารวม ตีตราว่าร้าย เกลียดกลัวผู้ป่วย HIV เพราะพวกเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนๆกัน มีสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม ที่สำคัญคือโรคนี้มันไม่ติดต่อกันง่ายๆอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน

จัดเรต 13+ กับอาการหวาดระแวง รังเกียจเดียดฉันท์ผู้ป่วยโรค AIDS

คำโปรย | Philadelphia เปิดประตูสู่ความตระหนักรู้โรค AIDS แพรวพราวลูกเล่นเกินไปนิด แต่การแสดงของ Tom Hanks น่าจดจำเหนือกว่าสิ่งอื่นใด
คุณภาพ | ตระหนักรู้โรค AIDS
ส่วนตัว | พอดูได้

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: