Shadows

Shadows (1959) hollywood : John Cassavetes ♥♥♥

ในเงามืดของ Hollywood ผู้กำกับ John Cassavetes ได้ให้กำเนิด Shadows (1959) ภาพยนตร์อิสระ/นอกกระแส (Independent Film) เรื่องแรกแห่งสหรัฐอเมริกา! เปิดประตูก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ ไม่จำเป็นต้องงอนง้อระบบสตูดิโออีกต่อไป!

If American independent cinema could be said to have a birthday, Nov. 11 is as good a date to celebrate as any. On that night (in 1959), John Cassavetes, an actor then best known for his TV roles, unveiled for a downtown New York audience his directing debut, Shadows. Cassavetes had financed the production with his paychecks from Hollywood and made the film with a cast and crew of novice actors from his drama workshop. The finished product betrayed their inexperience: mismatched cuts, shots out of focus, audio out of sync. But it was also unlike anything audiences had seen before: a raw, kinetic, jazz-scored dispatch from bohemian New York that was frank about sex, progressive on race, and intoxicated with youth. The film radiated a sense of urgency, even desperation—it felt like something Cassavetes just had to get out of his system.

นักวิจารณ์ Elbert Ventura จากนิตยสาร Slate Magazine

ช่วงปลายทศวรรษ 50s ยุโรปมีการมาถึงของคลื่นลูกใหม่ (French New Wave), ฟากฝั่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถือกำเนิดวงการภาพยนตร์อิสระ/นอกกระแส (Independent Film) ริเริ่มต้นโดย John Cassavetes สรรค์สร้าง Shadows (1959) ด้วยทุนส่วนตัว ไม่อยู่ภายใต้สังกัดสตูดิโอ ถ่ายทำยังสถานที่จริงโดยไม่ขออนุญาตใดๆ ใช้เพียงนักแสดงสมัครเล่น บทหนังเกิดจากวิวัฒนาการดั้นสด (Improvised) เรื่องราวเกี่ยวกับอคติระหว่างชาติพันธุ์ (มุมมืดสหรัฐอเมริกา)

จริงๆแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้มีอยู่สองฉบับ ที่ได้เสียงตอบรับแตกต่างตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง!

  • ฉบับแรกออกฉายปี ค.ศ. 1958 เกิดจากการให้อิสระนักแสดงจาก Workshop ทำการดั้นสดบทพูด พัฒนาเรื่องราวกันเอง (Improvisational Film) แต่พอนำออกฉายได้เสียงตอบรับไม่ดีสักเท่าไหร่ (ยกเว้นเพียง Jonas Mekas ชื่นชมอย่างล้นหลาม)
  • ด้วยเหตุนี้ผกก. Cassavetes จึงทำการสร้างใหม่ (Reworking) ด้วยนักแสดงชุดเดิม แต่นำเอาสิ่งเคยดั้นสดมาพัฒนาบทหนังให้เป็นรูปเป็นร่าง ปรับแก้ไขสิ่งที่เขาครุ่นคิดว่าฉบับแรกทำได้ไม่ดีพอ เสร็จสิ้นออกฉายปี ค.ศ. 1959 ได้รับคำชื่นชมดีขึ้นกว่าเก่า (ยกเว้นเพียง Jonas Mekas สับแหลกว่าทรยศหักหลังผู้ชม)

ผกก. Cassavetes ให้คำนิยามหนังฉบับแรก “totally intellectual”, “less than human” ตรงกันข้ามกับฉบับสร้างใหม่ “the film I love the best” นั่นทำให้เขาเก็บรักษาฟีล์มหนังไว้เป็นอย่างดี แล้วทิ้งๆขว้างๆฉบับเก่า หลงลืมไว้บนรถไฟใต้ดิน สาปสูญหายไปหลายทศวรรษ ก่อนได้รับการค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2003 … แต่ปัจจุบันเห็นว่ายังต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์กันอยู่ คุณภาพฟีล์มคงย่ำแย่เต็มทน ไม่รู้จะมีโอกาสได้รับชมเมื่อไหร่

Shadows will always be the film I love the best simply because it was the first one.

John Cassavetes

Shadows (1959) เป็นภาพยนตร์ที่มีประวัติศาสตร์สุดยิ่งใหญ่ ความสำคัญแทบจะเทียบเท่า The 400 Blows (1959) หรือ Breathless (1960) [ที่เป็นจุดเริ่มต้น French New Wave] แต่กลับเป็นเพียงเงาเลือนลาง แทบไม่มีใครพูดกล่าวถึงในวงกว้าง นอกเสียจากวงการหนังอิสระ/นอกกระแส นั่นเพราะตัวหนังห่างไกลความยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบ มันแทบไม่อะไรให้จดจำไปมากกว่า … โปรไฟล์เหล่านั้น


John Nicholas Cassavetes (1929-89) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Greek-American เกิดที่ New York City บิดาเป็นผู้อพยพชาวกรีก จนอายุ 7 ขวบพูดภาษาอังกฤษไม่ได้สักประโยค, เนื่องจากสนทนาไม่ได้ เรียนไม่เก่ง เลยตัดสินใจเป็นนักแสดงตามรอยมารดา เข้าศึกษายัง American Academy of Dramatic Arts พบเจอว่าที่ศรีภรรยา Gena Rowlands, เริ่มจากทำงานฟากฝั่งละครเวที แสดงซีรีย์ หนังเกรดบี ช่วงปี ค.ศ. 1956 ก่อตั้ง Acting Workshop ร่วมกับ Burt Lane (บิดาของนักแสดง Diane Lane) เพื่อโต้ตอบเทคนิค Method Acting ของ Lee Strasberg ตั้งชื่อว่า The Cassavetes-Lane Drama Workshop

แซว: เมื่อตอนเปิดเวิร์คช็อปใหม่ๆ Cassavetes เคยได้รับเชิญไปออดิชั่นที่ Actors Studio ครุ่นคิดเล่นแผลงร่วมกับ Lane ดั้นสดระหว่างทำการแสดง กลับสร้างความประทับใจให้ Lee Strasberg พร้อมมอบทุนเต็มจำนวน (Full Scholarship) แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ “Strasberg did not know anything about acting”

ช่วงระหว่างฝึกฝนนักแสดงในเวิร์คช็อป Cassavetes เกิดแรงบันดาลใจครุ่นคิดอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่เกิดจากการดั้นสด (Improvisational Film) โดยพล็อตคร่าวๆเกี่ยวกับหญิงผิวสีอ่อน (Light Skinned) เชื้อสาย African-American ออกเดทกับชายผิวขาว แต่พอเขารับรู้ว่าเธอมีพี่น้องคนดำ เลยบังเกิดอคติต่อต้าน รับไม่ได้โดยพลัน!

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957, ระหว่างการเดินสายโปรโมทภาพยนตร์แสดงนำ Edge of the City (1957) เดินทางไปออกรายการ Night People ทางสถานีวิทยุ WOR คุยโอ้อวดว่าตนเองสามารถสร้างภาพยนตร์ได้ดีกว่าผู้กำกับ Martin Ritt (ที่กำกับ Edge of the City) จากนั้นเล่าแนวคิดดั้นสดการแสดง … โดยคาดไม่ถึงมีผู้ฟังวิทยุส่งเงินมาสนับสนุนโปรเจคดังกล่าวถึง $2,500 เหรียญ ทำให้ Cassavetes ตัดสินใจเริ่มต้นสร้างหนังเรื่องนี้โดยพลัน!

I was going on Jean Shepherd’s Night People radio show, because he had plugged Edge of the City and I wanted to thank him for it. I told Jean about the piece we had done and how it could be a good film. I said, ‘Wouldn’t it be terrific if people could make movies, instead of all these Hollywood big-wigs who are only interested in business and how much the picture was going to gross and everything?’ And he asked if I thought I’d be able to raise the money for it. ‘If people really want to see a movie about people,’ I answered, ‘they should just contribute money.’ For a week afterwards, money came in. At the end it totaled $2,500.

John Cassavetes

เกร็ด: ทุนสร้างส่วนใหญ่มาจากการระดมทุน หยิบยืมจากเพื่อนฝูงของ Cassavetes อาทิ Hedda Hopper, William Wyler, Joshua Logan, Robert Rossen, José Quintero, Charlie Feldman (นายหน้าของ Cassavetes) รวมๆแล้วหนังใช้ทุนสร้างประมาณ $40,000 เหรียญ


We were improvising… every scene was very simple. They were predicated on people having problems that were overcome with other problems. At the end of the scene another problem would come in and overlap.

John Cassavetes

หนังไม่มีบทหนัง เพียงไกด์ไลน์คร่าวๆของผกก. Cassavetes ให้อิสระนักเรียนในเวิร์คช็อปทำการดั้นสด ออกแบบตัวละครด้วยตนเอง อยากขยับเคลื่อนไหว แสดงออกอะไรก็ตามสบาย ตั้งใจพัฒนาเรื่องราวขึ้นจากตัวละครเหล่านั้น แต่สามสัปดาห์แรกประสบปัญหามากมาย

  • สัปดาห์แรกวุ่นๆวายๆเรื่องเทคนิค ทั้งการถ่ายภาพและบันทึกเสียง ไม่รู้จะถ่ายทำอย่างไร? คุณภาพที่ได้ต่ำเกินไป
  • สองสัปดาห์ถัดไปเกิดปัญหากับนักแสดง พวกเขาสนทนากันอย่างเยิ่นยาว เรื่อยเปื่อย จับใจความไม่ค่อยได้

อีกปัญหาหนึ่งความเรื่องมาก โหยหาความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ของผกก. Cassavetes แต่ละซีนมักถ่ายทำไม่น้อยกว่าสิบเทค ฉากสำคัญๆ 50-100 เทค ในระยะเวลาสามเดือน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม ค.ศ. 1957) ได้ฟุตเทจจำนวนกว่า 30 ชั่วโมง ความยาวประมาณ 60,000+ ฟุต (18,000+ เมตร) แถมไม่ใครคอยจดบันทึกว่าฟีล์มม้วนไหนผ่านไม่ผ่าน กลายเป็นปัญหาวุ่นวายระหว่างการตัดต่ออีกต่างหาก!

จากนั้นใช้เวลาอีกขวบปีทำ Post-Production เสร็จออกฉายปลายปี ค.ศ. 1958 แต่ทว่าผู้ชมกว่า 90% กลับไม่มีใครชื่นชอบ แม้แต่ Burt Lane ยังเดินออกจากโรงหนังกลางคัน นั่นทำให้ผกก. Cassavetes ตัดสินใจสร้างใหม่ … ใช้คำว่า Reworking น่าจะเหมาะกว่า Remake

นำเอาความผิดพลาดมาเป็นบทเรียน ปรับเปลี่ยนจากการให้อิสระนักแสดงดั้นสด มาเป็นร่วมพัฒนาบทกับ Robert Alan Aurthur (1922-78) โดยอ้างอิงถึงสิ่งที่พวกเขาเคยทำการแสดงไว้ก่อนหน้า แล้วแก้ไขโครงสร้างดำเนินเรื่องจาก Ensemble Cast (ร้อยเรียงเรื่องราวจากหลายหลายตัวละคร) มาสร้างจุดสนใจตัวละคร Lelia … ถ่ายทำใหม่ประมาณ 2 ใน 3 ของหนังฉบับแรก

มันจะมีฉากสุดท้ายของฉบับสร้างใหม่ หลังถูกอัดน่วม ตัวละครหนึ่งพูดว่า “I’ve learned a lesson.” นั่นคือบทเรียนของผกก. Cassavetes ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้!


หนังนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสามพี่น้องเชื้อสาย African-American อาศัยอยู่ย่าน Manhattan, New York City ในระยะเวลาสองสัปดาห์

  • พี่ชายคนโต Hugh (รับบทโดย Hugh Hurd) นักร้องแจ๊ส ผู้มีน้ำเสียงนุ่มลึก ซึ่งเป็นสไตล์แบบเก่า (Old-Fashion) ตกยุคตกสมัย ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไหร่ มักไปไหนมาไหนกับผู้จัดการส่วนตัว Rupert (รับบทโดย Rupert Crosse) พยายามโน้มน้าวให้เขารับงานที่ไม่ใช่แค่การขับร้อง แม้มันขัดต่ออุดมการณ์ สามัญสำนึกส่วนตัว แต่เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง หาเงินมาดูแลน้องๆ จำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรนในช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก
  • น้องชาย Ben (รับบทโดย Ben Carruthers) มีผิวสีอ่อน (Light Skinned) ใฝ่ฝันอยากเป็นนักดนตรี Trumpeter แต่วันๆไม่เคยทำการทำงาน มักเที่ยวเล่น เตร็ดเตร่ ดื่มกินอยู่ตามผับบาร์ร่วมกับสองเพื่อนสนิท Dennis และ Tom พยายามเกี้ยวพาราสีสาวๆ กระทั่งช่วงท้ายโดนอัดน่วม เลยเกิดความตระหนักว่าต้องละเลิกชีวิตแบบนี้เสียที!
  • น้องสาวคนเล็ก Lelia (รับบทโดย Lelia Goldoni) มีผิวสีอ่อน (Light Skinned) จนถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคนขาว ถ้าไม่อยู่บ้านก็มักเดินทางไปงานเลี้ยง ถูกเกี้ยวพาราสีโดยชายสามคน
    • แฟนคนแรกชื่อ David ชาวผิวขาววัยกลางคน มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ โน้มน้าวเชิงบีบบังคับให้เธอเขียนหนังสือ แต่พอได้อ่านก็เต็มไปด้วยคำวิพากย์วิจารณ์
    • ระหว่างเข้าร่วมงานเลี้ยงหนึ่ง Tony เข้ามาช่วยเหลือจาก David นัดหมายพบเจอ เกี้ยวพาราสี ร่วมรักหลับนอน (เสียความบริสุทธิ์) แต่พอมาส่งอพาร์ทเม้นท์ พบเจอพี่ชาย Ben รับไม่ได้รุนแรงที่เธอมาจากครอบครัวเชื้อสาย African-American
    • ชายผิวสี Davey แม้เป็นคนสุภาพอ่อนน้อม แต่เพราะได้รับการแนะนำจากพี่ชาย Hugh จึงพยายามเล่นตัว ทำไม่สนใจ ปล่อยให้เฝ้ารอคอยหลายชั่วโมงก่อนยินยอมออกไปเต้นรำ สำแดงตนเองว่าไม่ยินยอมก้มหัวศิโรราบต่อผู้ใด ปฏิเสธเป็นเบี้ยล่างบุรุษ เขาก็ไม่อยากได้ผู้หญิงแบบนี้ แต่เธอคือคนที่ฉันตกหลุมรัก แล้วจะให้ทำไง?

ในส่วนของนักแสดง ทั้งหมดคือนักเรียนจากเวิร์คช็อป The Cassavetes-Lane Drama Workshop เข้าคอร์สฝึกฝนการแสดงกับ Cassavetes และ Burt Lane บางคนอาจพอมีประสบการณ์ละคอนเวที ตัวประกอบภาพยนตร์ แต่ทั้งหมดถือว่ามือสมัครเล่น (Amateur) แม้เป็นการดั้นสด ทำการแสดงซ้ำๆจนผู้กำกับพึงพอใจ ถึงอย่างนั้นฝีไม้ลายมือของพวกเขายังห่างไกลนักแสดงอาชีพอยู่หลายขุม

สามนักแสดงนำมีเพียง Hugh Hurd (พี่ชายคนโต) ที่มีเชื้อสาย African-American แบบร้อยเปอร์เซ็นต์, ขณะที่ Ben Carruthers (น้องชาย) เป็นชาวอเมริกันแท้ๆ, ส่วน Lelia Goldoni (น้องสาวคนเล็ก) มีเชื้อสายอิตาเลี่ยน ซึ่งหลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งสองเลยถูกตีตราว่าเป็นคนผิวสี ซะงั้น! เลยพลาดโอกาสเล่นหนังหลายเรื่องเพราะความเข้าใจผิดดังกล่าว … ยุคสมัยนั้นนักแสดงผิวสียังเป็นพลเมืองชั้นสอง สังคมไม่ให้การยอมรับ แทบหมดโอกาสกับ Hollywood

เกร็ด: ในหนังอาจเป็นพี่น้อง แต่ชีวิตจริง Ben Carruthers และ Lelia Goldoni แต่งงานกันตั้งแต่ก่อนเริ่มถ่ายทำ แล้วหย่าร้างเมื่อปี ค.ศ. 1960


ถ่ายภาพโดย Erich Kollmar สัญชาติ German ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) Blast of Silence (1961) ถือเป็นเพียงหนึ่งในสอง (อีกคนคือผกก. Cassavetes) ที่มีประสบการณ์ภาพยนตร์มาก่อน

ผกก. Cassavetes หยิบยืมกล้อง Arriflex ฟีล์ม 16mm จากเพื่อนผู้กำกับสารคดี Shirley Clarke (แล้วค่อยไป ‘Blow Up’ ตอนออกฉายโรงภาพยนตร์) ด้วยความที่มันมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถขยับเคลื่อนไหว ซูมเข้า-ออก ติดตามนักแสดง ดำเนินไปได้ทุกทิศทาง (Improvised Shooting)

งานภาพในหนังของผกก. Cassavetes ไม่ค่อยลูกเล่นมากมาย ให้อิสระตากล้อง Kollmar อยากจะถ่ายยังไงก็ได้ ไม่เคยเข้าไปควบคุมครอบงำ แค่ติดตามนักแสดง เก็บรายละเอียดเรื่องราวครบถ้วน แค่นั้น! ฟังดูอาจเหมือนสไตล์สารคดี (documentary-like) แต่วิธีทำงาน(ของผกก. Cassavetes)โหยหาความสมบูรณ์แบบ ถ่ายทำหลายสิบ-ร้อยเทค ทำให้ตากล้องสามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง เลือกทิศทางเหมาะสม รับรู้ว่าเทคถัดไปควรถ่ายทำออกมาเช่นไร … และบทเรียนจากการถ่ายทำหนังฉบับแรก ช่วยทำให้การสร้างใหม่มีความสะดวก รวดเร็ว แทบจะมองตารู้ใจ

ในขณะที่หนัง Hollywood ยุคสมัยนั้นนิยมสร้างฉากถ่ายทำในสตูดิโอ ไม่ก็ส่งกองสองเดินทางไปบันทึกภาพสถานที่จริง แล้วนำกลับมาฉายผ่านเครื่อง Rear Projection, ภาพยนตร์เรื่องนี้ปักหลักถ่ายทำอยู่ยัง New York City เลือกใช้สถานที่จริงทั้งหมด โดยไม่ได้ขออนุญาตด้วยนะ! อยากถ่ายตรงไหนก็ถ่าย บริเวณไหนมีคนมาไล่ ถึงค่อยเก็บข้าวของเผ่นหนีโดยเร็ว

Well, we had to watch out. We had no permits. There was a friend who drove a cab at night, and he’d lay back 30 feet from us. If he saw a cop coming, he’d pull up and we’d throw the camera in. The cop would say, “You shooting a movie?” “Nah, I was with these guys, I was talking to them.” Then we’d meet up somewhere else. Hit and run.

ผู้ช่วยตากล้อง Al Ruban

เกร็ด: อพาร์ทเม้นท์ของสามพี่น้อง ถ่ายทำยังอพาร์ทเม้นท์(ขณะนั้น)ของผกก. Cassavetes อาศัยอยู่ร่วมกับศรีภรรยา Gena Rowlands ในย่าน Manhattan, New York City


ช่วงต้นเรื่องหลังจากส่งพี่ชายขึ้นรถ Lelia ก้าวเดินเรื่อยเปื่อยไปตามท้องถนน ถูกชายแปลกหน้าแอบติดตาม (Stalker) มาจนถึงโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง ก่อนได้รับความช่วยเหลือจาก John Cassavetes ผลักชายคนนั้นไม่ให้คุกคามเธอ

ตัดต่อโดย Len Appelson, Maurice McEndree และ Wray Bevins

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสามพี่น้อง Hugh, Ben และ Lelia เชื้อสาย African-American อาศัยอยู่ย่าน Manhattan ตัดสลับกลับไปกลับมาในรอบสองสัปดาห์ ต่างคนต่างมีวิถีชีวิตที่แตกต่าง แต่จุดสนใจผู้ชมมักคือเรื่องราวรักๆใคร่ๆของ Lelia และแฟนทั้งสาม

  • Opening Credit ปรากฎขึ้นพร้อมกับ Ben เดินทางไปรับชมการแสดงคอนเสิร์ต
  • แนะนำตัวละครสามพี่น้อง
    • Ben และผองเพื่อนดื่มกินอยู่ตามผับบาร์ย่าน Manhattan ต่างพยายามเกี้ยวพาราสีหญิงสาว
    • Ben เดินทางมาหาพี่ชาย Hugh เพื่อขอหยิบยืมเงิน, ขณะเดียวกันผู้จัดการ Rupert พยายามโน้มน้าวให้ Hugh ตอบตกลงรับงานพิธีกรค่ำคืนนี้
    • Lelia มาส่งพี่ชาย Hugh กำลังจะเดินทางไปทำงานที่ Philadephia
    • ระหว่างทางกลับบ้าน Lelia ถูกชายแปลกหน้าแอบติดตาม ก่อนสามารถหลบหนีเอาตัวรอดได้สำเร็จ
  • เรื่องวุ่นๆวายๆของสามพี่น้อง
    • เดินทางมาถึง Philadephia เริ่มต้นซักซ้อมเตรียมการ แต่พอขึ้นเวทีจริง Hugh กลับถูกเปลี่ยนแผนกลางคัน
    • Lelia มาทานอาหารกับพี่ชาย Ben และผองเพื่อน
    • Ben และผองเพื่อนต่างใช้ชีวิตวันๆอย่างร่อนเร่ เตร็ดเตร่ ไร้แก่นสาน เดินทางไปเยี่ยมชมหุ่นแกะสลัก ณ Museum of Modern Art
    • ค่ำมืด Lelia เข้าร่วมงานเลี้ยงปาร์ตี้ตามคำชักชวนของแฟนหนุ่ม David แล้วได้พบเจอ Tony
    • วันถัดมาทั้งสามต่างร่วมกันนัดเดท ก่อนที่ Lelia จะหนีตาม Tony
    • Lelia ร่วมรักกับ Tony
  • เธอคือคนผิวสี?
    • หลังเสร็จกามกิจ Lelia เรียกร้องขอหลับบ้าน Tony เดินทางมาส่งที่อพาร์ทเม้นท์
    • พอ Hugh กลับมาอพาร์ทเม้นท์ สร้างความตกอกตกใจให้ Tony รับไม่ได้ที่เธอเป็นคนผิวสี
    • Lelia งอนตุ๊บป่องพี่ชาย
    • ค่ำคืนนี้ Hugh จัดงานเลี้ยงที่อพาร์ทเม้นท์ แนะนำ Lelia ให้รู้จักกับ Davey
      • David มาเยี่ยมเยียน Lelia แต่ถูกผลักไสจนไม่ได้พูดคุยสนทนาใดๆ
      • Ben ไม่รู้หัวร้อนมาจากไหน ทำเอางานเลี้ยงกร่อย
      • Hugh พูดระบายอารมณ์อัดอั้นตันใจ
    • วันถัดมา Davey เดินทางมาชักชวน Lelia ไปเต้นรำ แต่เธอปล่อยให้เขานั่งรอเป็นชั่วโมง
    • Tony เดินทางมาเยี่ยมเยียน Lelia แต่ได้เพียงฝากคำขอโทษผ่าน Ben
  • ตราบยังมีชีวิตก็ต้องต่อสู้ดิ้นรน
    • Lelia เต้นรำกับ Davey พร้อมแสดงธาตุแท้ตัวตน
    • Hugh และผู้จัดการเตรียมออกเดินทางไปทำงาน
    • Ben และผองเพื่อนพยายามขายขนมจีบหญิงสาว ถูกแฟนหนุ่มของพวกเธออัดน่วม จนได้รับบทเรียนชีวิต

ลีลาการดำเนินเรื่องในช่วงแรกๆทำออกมาได้น่าสนใจ ใช้กลวิธี ‘ส่งไม้ผลัด’ ตัวละครหนึ่งเดินทางมาพบเจอตัวละครหนึ่ง แล้วถึงสลับสับเปลี่ยนมุมมองไปยังตัวละครนั้น แต่หลังจากเริ่มโฟกัสไปยัง Lelia ความน่าสนใจของ Hugh และ Ben ก็หมดสิ้นลง เหลือเพียงนำเสนอวิถีชีวิต (Slice-of-Life) การต่อสู้ดิ้นรนของชาวผิวสีใน New York City


ในส่วนของเพลงประกอบ ผกก. Cassavetes มอบหมายให้ Charles Mingus (1922-79) ที่โด่งดังจากลีลาดั้นสดแจ๊ส เพื่อสอดคล้องกับหนังที่เต็มไปด้วยดั้นสดการแสดง! แต่สามชั่วโมงบันทึกเสียงกลับได้เพียงบทเพลงที่มีลักษณะ Stand Alone มากกว่าจะสร้างสัมผัสประทับใจให้กับหนัง จำใจยัดเพลงเหล่านั้นใส่ลงในหนังฉบับแรกปี ค.ศ. 1958 ก่อนเอาออกเกือบหมดกับฉบับสร้างใหม่ปี ค.ศ. 1959 เหลือเครดิตแค่ Additional Music

Mingus worked on a score, but he was more organized than John wanted. And I don’t think that was apparent to John at the beginning. He did all this music, and John loved it, but he really wanted control. John needed to improvise some things because he couldn’t communicate what he wanted to get across.

ผู้ช่วยตากล้อง Al Ruban

เกร็ด: หลายๆบทเพลงของ Charles Mingus ที่ไม่ได้ใช้ในหนัง ถูกนำมารวบรวมออกอัลบัม Jazz Portraits: Mingus in Wonderland (1959)

สำหรับฉบับสร้างใหม่ มีการเชื้อเชิญนักแซกโซโฟน Shafi Hadi (สมาชิกวง Charles Mingus) มาบันทึกเสียงเพิ่มเติม โดยบรรเลง(ดั้นสด)บทเพลงอ้างอิงจากผกก. Cassavetes ทำการแสดงให้เป็นต้นแบบอย่าง

Shafi Hadi, who had recently been released from prison. John got him to do some saxophone solos. I remember how they recorded them. John would act out everything, and in the sound booth, Shafi tried to interpret on his saxophone what John was emotionally telling him to do. He behaved with Shafi in a very emotional way, didn’t explain anything, just acted it out. John would be on the floor, jumping around. And it worked very well, because you hear a lot of it in the film. Unfortunately, Shafi died at an early age, but he was a very, very good saxophonist.

เสียงแซกโซโฟนของ Hadi แทบจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ผมสามารถอดรนทน รับชมหนังจนจบ มันมีกลิ่นอายเศร้าๆ เหงาๆ โหยหาคร่ำครวญ สร้างบรรยากาศคล้ายๆกับภาพยนตร์ Elevator to the Gallows (1958) น่าเสียดายไม่มีอัลบัมแยกออกมา หาฟังได้จากในหนังเท่านั้นเอง … ลีลาแซกโซโฟนของ Shafi Hadi (1929-76) ถือว่าไม่เป็นสองรองใคร น่าเสียดายอายุสั้นไปเสียหน่อย

ผมครุ่นคิดว่าฉบับแรกของ Shadows ที่เข้าฉายปี ค.ศ. 1958 น่าจะเพียงต้องการนำเสนอวิถีชีวิต (Slice-of-Life) การต่อสู้ดิ้นรนของสมาชิกครอบครัวชาวผิวสีใน Manhattan, New York City ช่วงทศวรรษ 50s ซึ่งตรงกับยุคสมัย Beat Generation เก็บบันทึกเอาไว้ใน Time Capsule

  • บิดา-มารดาไม่รู้อยู่ไหน ทำให้พี่ชายคนโต Hugh กลายเป็นเสาหลัก/หัวหน้าครอบครัว ทำงานหาเงินมาช่วยเหลือน้องๆ ต้องออกเดินทางไปร้องเพลงยังเมืองต่างๆ แต่ด้วยความดื้อรั้น ดึงดัน ยึดถือมั่นอุดมการณ์ ทำให้(ยัง)ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวิถียุคสมัยใหม่
  • น้องคนรอง Ben วาดฝันเป็นนักทรัมเป็ต แต่วันๆกลับเที่ยวเตร่ สำมะเลเทเมา เกี้ยวพาราสีสาวๆ เต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้น ไม่รู้จะทำอะไรยังไง … เป็นตัวละครสะท้อนภาพวัยรุ่นยุคสมัยนั้นที่พบเห็นได้ทั่วๆไป
  • น้องสาวคนเล็ก Lelia ได้รับการเลี้ยงดูราวกับไข่ในหิน ถูกพี่ชายออกคำสั่งโน่นนี่นั่น มีสภาพไม่ต่างจากนกในกรง ทำให้เธอโหยหาอิสรภาพ(ทางเพศ) ระริกระรี้แรดร่าน พยายามมองหาผู้ชายตรงสเป็ค แต่พอสูญเสียพรหมจรรย์ก็รู้สึกผิดในตนเอง

ส่วนฉบับสร้างใหม่ (Reworking) ปรับเปลี่ยนจุดสนใจมาที่น้องสาวคนเล็ก Lelia ซึ่งการเพิ่มเติมเรื่องราวแฟนทั้งสาม มันคือภาพสะท้อนครอบครัวของเธอในทิศทางตรงกันข้าม

  • David แทบจะไม่แตกต่างจากพี่ชายคนโต Hugh มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ จอมบงการ เต็มไปด้วยคำวิพากวิจารณ์ … ตัวแทนคนหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม
    • David เป็นคนขาว, Hugh ผิวสีร้อยเข้มๆ
  • Tony ไม่ต่างจาก Ben ต่างสนเพียงเกี้ยวพาราสีหญิงสาว ต้องการพาขึ้นห้อง ร่วมรักหลับนอน แล้วแยกทางไป … ตัวแทนคนหัวก้าวหน้า เสรีชน
    • Tony เป็นคนขาว, Ben ผิวสีจางๆ
  • Davey อาจดูมีความแตกต่างตรงกันข้ามกับ Lelia เขาอยากได้ผู้หญิงแบบหนึ่ง เธออยากได้ผู้ชายอีกแบบหนึ่ง แต่ท้ายที่สุดทั้งสองกลับประณีประณอม ยินยอมเปิดใจให้กันและกัน … ทางสายกลาง
    • Davey เป็นคนผิวสีเข้มๆ, Lelia ผิวสีจางๆ

หนังเรื่องนี้มันไม่มีบทสรุปเรื่องราวอะไรนะครับ แค่เพียงฉายภาพวิถีชีวิตชาวผิวสีที่ยุคสมัยนั้นยังเป็นเพียงเงามืด (Shadows) ของสหรัฐอเมริกา สังคมส่วนใหญ่ยังไม่ให้การยินยอมรับ ต้องหลบๆซ่อนๆ ต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด ไร้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกับคนขาว … หนังยังชักชวนให้ผู้ชมสมัยนั้นครุ่นคิดตั้งคำถาม ถ้าเราตกหลุมรักใครบางคน เรื่องของสีผิว ชาติพันธุ์ มันมีกำแพงกีดกันหรือไร?

เกร็ด: เมื่อพูดถึง Time Capsule ของ New York City แสดงว่าภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจ Mean Streets (1973), Stranger Than Paradise (1984), She’s Gotta Have It (1986) ฯ

การเป็นภาพยนตร์อิสระ/นอกกระแสของ Shadows (1959) หาเงินด้วยการระดมทุน โดยไม่ต้องพึ่งพาสตูดิโอ สามารถเปรียบดั่งด้านมืดของ Hollywood (ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย แค่เพียงอีกด้านหนึ่งของแสงสว่าง) เป็นวิธีการที่คนสมัยนั้นไม่เคยครุ่นคิด หรือคิดแล้วทำไม่ได้ มันขาดเหตุ ปัจจัย แรงผลักดันยุคสมัย

ผมครุ่นคิดเปรียบเทียบเล่นๆ Hugh & David คือระบบสตูดิโอที่มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ (จะว่าไปนายจ้าง/ผู้จัดการของ Hugh ก็ชอบชี้นิ้วสั่งโน่นนี่นั่น) พยายามบงการน้อง/แฟนสาว Lelia ตัวตายตัวแทนผกก. Cassavetes ทั้งสองต่างโหยหาอิสรภาพ ต้องการเป็นตัวของตนเอง ทำในสิ่งที่อยากทำ (ร่วมรักกับบุคคลที่ชื่นชอบ) ไม่ถูกควบคุมครอบงำโดยใคร

และแม้ว่า Lelia ตกหลุมรัก ยินยอมเสียความบริสุทธิ์ให้กับ Tony แต่ก็เหมือนหนังฉบับแรกเมื่อปี ค.ศ. 1958 ที่ผกก. Cassavetes ไม่สามารถยินยอมรับความผิดพลาด เลยตัดสินใจเริ่มต้นสร้างใหม่ หญิงสาวพบกับชายคนที่สาม Davey ต่างยินยอมประณีประณอม เรียนรู้จักความผิดพลาด “I’ve learned a lesson.”


หนังฉบับแรกเข้าฉายสามครั้งใน Paris Theatre ช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1958 ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่ประทับใจหนัง ยกเว้นเพียง Jonas Mekas เขียนชื่นชมลงนิตยสาร Film Culture ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 1959 พร้อมมอบรางวัล “Film Culture First Independent Film Award”

Shadows presents contemporary reality in a fresh and unconventional manner… The improvisation, spontaneity, and free inspiration that are almost entirely lost in most films from an excess of professionalism are fully used in this film.

Jonas Mekas

ส่วนฉบับสร้างใหม่เข้าฉายรอบปฐมทัศน์วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 ณ National Film Theatre ด้วยความแปลกใหม่ ได้รับความฮือฮา เสียงตอบรับดียอดเยี่ยม ยกเว้นเพียง Jonas Mekas

I have no further doubt that whereas the second version of Shadows is just another Hollywood film–however inspired, at moments–the first version is the most frontier-breaking American feature film in at least a decade. Rightly understood and properly presented, it could influence and change the tone, subject matter, and style of the entire independent American cinema.

ต่อจากนั้นมีโอกาสเดินทางไปฉายเทศกาลหนังเมือง Venice สายการประกวด Parallel Sections เสียงตอบรับดียอดเยี่ยม สามารถคว้ารางวัล Pasinetti Award และยังช่วยให้ปลายปีได้เข้าชิง BAFTA Awards อีกหลายสาขา

  • Best Film from any Source
  • Most Promising Newcomer (Lelia Goldoni)
  • Most Promising Newcomer (Anthony Ray)
  • UN Award

ความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นวงการภาพยนตร์อิสระ/นอกกระแส เปิดโลกทัศน์ชาวอเมริกันยุคสมัยนั้น ไม่จำเป็นต้องก้มหัวศิโรราบต่อระบบสตูดิโอ สามารถก้าวออกมา ทำทุกสิ่งอย่างที่อยู่ในความสนใจของตนเอง!


ด้วยความที่ผกก. Cassavetes มองว่าหนังฉบับแรกเป็นเพียงการทดลอง หาใช่ผลลัพท์สุดท้าย (Final Product) จึงไม่เคยให้ความสนใจเก็บรักษา จนกระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัย Ray Carney ได้ทำศึกษาค้นคว้า ออกค้นหาฟีล์มสูญหาย (Lost Film) ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980s ค้นพบการเดินทางจากข้อมูลบันทึกไว้ที่แผนกของหาย (Lost-and-Found department) ณ สถานีรถไฟใต้ดิน New York City ขายต่อให้ร้านรับซื้อของเก่าแห่งหนึ่ง พอธุรกิจล้มละลายเก็บไว้ในห้องใต้หลังคา พบเจอโดยบุตรสาวเจ้าของร้าน ส่งมอบให้กับ Carney เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003

As wonderful as it was to find the first version, it was also a letdown–not only because the excitement of the years of searching were over, but because imaginatively reconstructing what had been in the print was much more intellectually stimulating than simply viewing it. Believe it or not, at moments I found myself feeling almost disappointed I had found it.

One could ask whether the discovery proves Jonas Mekas right; but that’s the wrong question. It doesn’t really matter. The two versions of Shadows are sufficiently different from each other, with different scenes, settings, and emphases, that they deserve to be thought of as different films. Each stands on its own as an independent work of art.

The real value of the first version is that it gives us an opportunity to go behind the scenes into the workshop of the artist. Art historians X-ray Rembrandt’s work to glimpse his changing intentions. Critics study the differences between the quarto and folio versions of Shakespeare’s plays. There is almost never an equivalent to these things in film. That is the value of the first version of Shadows. It allows us to eavesdrop on Cassavetes’ creative process–to, as it were, stand behind him as he films and edits his first feature. We watch him change his understanding of his film and his characters. His revisions as he moves from one version to the next–the scenes he adds, deletes, loops new dialogue into, adds music to, or moves to new positions as he re-films and re-edits Shadows–allow an almost unprecedented glimpse into the inner workings of the heart and mind of one of the most important artists of the past fifty years.

Ray Carney

เผื่อใครอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆของการค้นพบฟีล์มหนังฉบับแรก [Click Here]

เมื่อตอนที่ Carney ตีพิมพ์บทความดังกล่าว ได้รับการตอนกลับอย่างไม่พึงพอใจนักจากภรรยาหม้าย Gena Rowland เธออ้างว่าไม่รับรู้การมีอยู่ของหนังฉบับนี้ “there is no first version of Shadows” แถมพยายามใช้กฎหมายเข้าต่อสู้ เพื่อไม่ให้นำหนังเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ

I am sorry to say that when I communicated my discovery of the first version of Shadows to Gena Rowlands, she told me that she had no knowledge that Cassavetes had made a first version of the film. It was news to her. She then denied the importance of what I had found – in fact, when I referred to the print as “the first version,” she got upset with me and denied that there was anything called “the first version.” She told me to remove all references to “the first version” from my web pages. Mentions of it were to be expunged. I was not to refer to it. 

เผื่อใครอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆของการโต้ตอบระหว่าง Ray Carney และ Gena Rowlands [Click Here]


ในขณะที่หนังฉบับแรกยังไม่รู้ว่าจะมีโอกาสหารับชมได้หรือเปล่า, หนังฉบับสองผ่านการบูรณะ HD (High Definition) โดยค่าย Criterion Collection เมื่อปี ค.ศ. 2013 รวบรวมอยู่ในคอลเลคชั่น John Cassavetes: Five Films (1958-1977) ประกอบด้วย Shadows (1959), Faces (1968), A Woman Under the Influence (1974), The Killing of a Chinese Bookie (1976) และ Opening Night (1977)

หนังของผกก. Cassavetes สิ่งโดดเด่นไม่ใช่พล็อตเรื่องราว หรือความแพรวพราวลูกเล่นภาพยนตร์ แต่คือการประชัญบทบาทนักแสดง ขณะที่ผลงานเรื่องอื่นๆล้วนเต็มไปด้วย(นักแสดง)มืออาชีพที่พร้อมจัดเต็ม ใส่ไม่ยั้ง บีบเค้นคั้น ลำไส้บิดม้วนงอ, Shadows (1959) เป็นการทดลองผ่าน Workshop กับนักแสดงสมัครเล่น พวกเขาและเธอแม้ผ่านการซักซ้อม ดั้นสดหลายสิบร้อยครั้ง แต่มันยังห่างชั้นอย่างไกลโขจากบรรดามืออาชีพแท้จริง

นอกจากประวัติ และบางหัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ ภาพรวมของ Shadows (1959) มีความสะเปะสะปะ ไร้แก่นสาระ เอาอารมณ์ผู้สร้างมากเกินไป โดยเฉพาะการแสดงที่ผมมองว่าประดิษฐ์ประดอย ไม่เป็นธรรมชาติเอาเสียเลย แถมเต็มไปด้วยบทบาท Stereotypes แม้แต่นางเอก Lelia Goldoni ก็ไม่มีอะไรให้น่าจดจำ คงเพียงผู้ชมชาวอเมริกันอาจได้รับข้อคิดบางอย่าง???

จัดเรต 15+ กับความขัดแย้งทางชาติพันธุ์

คำโปรย | Shadows หลบซ่อนตัวอยู่ในเงามืดของ Hollywood
คุณภาพ | เงามืด
ส่วนตัว | มองไม่ค่อยเห็น

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: