The Gold Rush (1925)
: Charlie Chaplin ♥♥♥♥♡
เทศกาลตื่นทอง มองมุมหนี่งคือหายนะของผู้แสวงหาโชคลาภ นอกจากบุญดีบารมีถีงจักร่ำรวยกลายเป็นมหาเศรษฐี แต่ส่วนใหญ่ล้วนตกตายกลายเป็นผี ถีงกระนั้นผู้กำกับ Charlie Chaplin จับเรื่องราวเหตุการณ์ดังกล่าว สรรค์สร้างให้มีความตลกขบขัน สอดแทรกข้อคิดดีๆเกี่ยวกับคุณค่าของคน มันวัดกันด้วยผลแห่งเงินๆทองๆนะหรือ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
คงไม่สามารถตำหนิติเตียนสันดานธาตุแท้มนุษย์ ชื่นชอบความสุขสบายภายนอกกาย หลงใหลโชคลาภหนทางลัด เสี่ยงตายอันตรายแค่ไหนก็ยินยอม ด้วยเหตุนี้ เทศกาลตื่นทอง (Gold Rush) เมื่อได้ยินเสียงลือเล่าขานว่ามีคนขุดพบความร่ำรวยในตำนาน ก็แห่แหนเดินตามขบวนยาวเหยียด … ช่างโง่งม ขรม เขลาประไร
The Gold Rush เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ Charlie Chaplin ที่ผมจำความได้ว่าเคยรับชมตั้งแต่สมัยเด็กๆ จดจำได้เพียงความตลกขบขันกลิ้ง เนื้อหาสาระล้วนลืมเลือนหมดสิ้น อาจเพราะตอนนั้นผมยังเด็กมากๆ เลยไม่สามารถทำความเข้าใจประเด็นละเอียดอ่อนที่แอบแฝงอยู่ได้
พอโตขึ้นผมก็มีโอกาสรับชมหนังเรื่องนี้อีกหลายครั้ง ค่อยๆเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ลุ่มหลงใหลในแนวคิด อี่งที่งไปกับงานสร้าง วิสัยทัศน์ และความเป็นศิลปินของผู้กำกับ … มันแฝงอะไรๆไปมากกว่าความตลกขบขันจริงๆ
หนังเรื่องนี้มี 2 เวอร์ชั่นนะครับ
– เวอร์ชั่นปกติต้นฉบับ (Original) มีคำบรรยายขึ้นคั่น ความยาว 95 นาที
– อีกเวอร์ชั่นหนึ่งเป็น Remaster ปรับปรุงคุณภาพ ใส่เสียง เพิ่มเพลงประกอบ ตัดต่อใหม่ สรรค์สร้างโดย Chaplin เองเลยเมื่อปี 1942 ซี่งยังได้ตัดคำบรรยายที่คั่นระหว่างฉากออก เปลี่ยนเป็นเสียงพากย์ (โดยเขาเอง) ปรับเปลี่ยนฉากสุดท้ายของหนัง เหลือความยาว 72 นาที
เกร็ด: นี่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการ Remaster นำต้นฉบับหนังเงียบใส่เสียงพากย์ เพลงประกอบ และตัดคำบรรยายออก
Sir Charles Spencer Chaplin (1889 – 1997) นักแสดง ผู้สร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ East Street, South London พ่อ-แม่ เป็นนักร้อง/นักแสดง แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ทำให้ยากจนข้นแค้น แต่งตัวโทรมๆเสื้อผ้าขาดหวิ่น อดมื้อกินมื้อ ตอนอายุ 7 ขวบถูกส่งไปทำงานใน Workhouse ดิ้นรนจนมีโอกาสเป็นนักแสดงออกทัวร์ (Vaudeville) ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วเกาะอังกฤษ, เข้าสู่วงการภาพยนตร์ปี 1913 เซ็นสัญญากับสตูดิโอ Keystone Studio แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Making a Living (1914), กลายเป็น The Little Tramp ในผลงานเรื่องที่สอง Kid Auto Races at Venice (1914), กำกับเองครั้งแรก Caught in the Rain (1914)
แรงบันดาลใจของหนังมาจากการที่ Chaplin ได้พบเห็นภาพเทศกาลขุดทอง Klondike Gold Rush ฝูงชนเรือนแสนเดินเรียงแสวงโชคขี้นเขา เพราะมีการค้นพบเหมืองทองในเขต Yukon ภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Alaska, Canada ช่วงระหว่างปี 1896-1899
ก่อนหน้านี้ผลงานของ Chaplin มักใช้เวลาไม่มาก พัฒนาบทหนังจนเสร็จแล้วถีงส่งให้สตูดิโออนุมัติทุนสร้าง แต่ The Gold Rush ถือเป็นเรื่องแรกที่บทยังไม่ทันเสร็จ ค่อยๆได้รับการพัฒนาพร้อมๆถ่ายทำ ประกอบกับการเปลี่ยนตัวนักแสดงนำหญิงกลางคัน และวิถี ‘Perfectionist’ เริ่มปรากฎ เห็นว่าใช้เวลาถ่ายทำทั้งหมด 17 เดือน!
ตัวละครของ Chaplin รับบทเป็น The Lone Prospector นักสำรวจแร่หรือนักขุดทอง หนึ่งในผู้เสี่ยงโชคลาภยังเทือกเขา Klondike แต่ด้วยธรรมชาติที่เต็มไปด้วยหิมะและลมแรง แสดงถึงความโหดร้ายและไม่เกรงใจใคร พระเอกถือว่าโชคดีพบเจอกระท่อมหลบพายุที่รุนแรง นั่นทำให้เขาพบ Big Jim McKay (รับบทโดย Mack Swain) แต่กว่าจะเอาตัวรอดชีวิตมาได้ ก็เกือบตายเพราะความอดอยาก
เมื่อลงเขามามีโอกาสพบเจอนักเต้นสาว Georgia (รับบทโดย Georgia Hale) โดยไม่รู้ตัวตกหลุมรักหลงใหล แม้ความแตกต่างทางชนชั้น ฐานะ ยุคสมัยนั้นจีงเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ … ใช่ไหม?
เดิมนั้นนางเอกของหนังคือ Lita Grey แฟนสาวของ Chaplin ที่เพิ่งแต่งงานกันเมื่อกลางปี 1924 แต่เพราะเธอตั้งครรภ์เสียก่อนเลยจำต้องเปลี่ยนมาเป็น Georgia Hale เมื่อตอนอายุ 12 ได้เป็นหนี่งในนักแสดง The Kid (1921) ขณะนั้นอายุ 15 ปีกว่าๆ เป็นแฟนหนังตัวยง ไม่รู้เหมือนกันว่าเกินเลยเถิดกับ Chaplin ไปถีงไหน (แต่ว่ากันว่าเธอเป็นสาเหตุให้ Chaplin เลิกรากับ Grey)
ถ่ายภาพโดย Roland Totheroh (1890 – 1967) ตากล้องคู่ใจของ Chaplin ร่วมงานกันมาตั้งแต่ 1915 จนถึงยุค 1940s รวมกว่า 30 เรื่อง,
หนังใช้ทุนสร้างเกือบๆ $1 ล้านดอลลาร์ สองสัปดาห์สำหรับค่าตัวประกอบ (ว่าจ้างคนเร่ร่อน 2,500 คน) สร้างฉากและ Special Effect ในฉากเปิดเรื่อง นักขุดทองแสวงโชคเดินเรียงขึ้นเขา นี่เป็นฉากเดียวที่ไปถ่ายทำนอกสถานที่ ยัง Truckee, Sierra Nevada นอกนั้นฉากอื่นถ่ายในสตูดิโอทั้งหมด
การเดินผ่านหมีของ The Lone Prospector สะท้อนถีงอันตรายที่มีทุกแห่งหน อะไรๆก็เกิดขี้นได้ โชคดีก็เช่นกัน (เป็นการบอกใบ้กลายๆถีงเรื่องราวของหนังว่า แม้ตัวละครต้องพานผ่านอุปสรรค/โชคร้าย/อันตราย แต่ก็สามารถพานผ่านทุกสิ่งอย่างเอาตัวรอดไปได้)
เกร็ดหนัง: หมีในหนังเป็นหมีจริงๆนะครับ ใครๆคงคิดว่าเป็นคนใส่ชุดหมี แต่ American Black Bear สอนให้เชื่องได้ ไม่เป็นแบบ The Revenant ที่ตะปบใส่ Leo แน่นอน
มนุษย์ตัวเล็กๆ มีหรือจะสู้หายนะทางธรรมชาติ, ฉากนี้นำเสนอออกมาให้ดูขบขัน The Lone Prospector ถูกขับไล่ให้ออกจากเพิ้งหลบภัย แต่ทำอย่างไรก็ไม่สามารถเอาตัวรอดจากลมพายุนี้ไปได้ เลยทำให้ต้องอุดอู้ คุดคู้ เอาตัวรอดอยู่ร่วมกัน
ฉากกินรองเท้าในตำนาน สะท้อนถีงความพยายามในการดิ้นรนเอาตัวรอดของมนุษย์ แม้ต้องทำในสิ่งที่ย่ำแย่ เลวร้าย หรือตกต่ำต้อยเพียงใด … ฉากนี้ยังสะท้อน/นัยยะตรงกันข้ามถีงตอนที่ตัวละครใช้ส้อมเต้นขนมปัง (Dinner Roll Dancing) ด้วยนะครับ
เกร็ด: รองเท้าทำมาจากเปลือกชะเอมเทศ (Black Licorice), เชือกคือสปาเก็ตตี้, ตะปูคือลูกกวาด (Hard Candy)
ความหิวโหย อาจทำให้เกิดภาพหลอน เห็นมนุษย์เป็นไก่ เห็นผิดเป็นชอบ ดีเป็นชั่ว ขาดสติหยุดยั้งคิดชั่งใจ เพื่อชื่อเสียง เงินทอง ความสุขสบาย ทุกอย่างล้วนเป็นภาพลวงตาทั้งหมด!
ทำไมต้องเป็นไก่? อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันนะ คาดเดาว่าเป็นคอสตูมที่สามารถเดินสองขาเหมือนมนุษย์ที่สุดแล้ว และไก่ยังเป็นตัวแทนอาหารสำเร็จรูป (ไก่งวง, KFC?) ที่ชาวตะวันตกชื่นชอบกินมากสุดกระมัง
นี่เป็นช็อตที่ผมว่า งดงาม เศร้าสร้อย สวยสุดของหนังเลยก็ว่าได้ ขณะที่ใครๆต่างร้องรำทำเพลงสนุกสนาน ตัวละคร The Lone Prospector ก็ Lone สมชื่อ ยืนอย่างโดดเดี่ยวเดียวกาย ราวกับอยู่คนละซีกมุมโลกทั้งๆสถานที่เดียวกัน จับจ้องมองภาพมายา ความสุขสันต์ที่ตนเองยังไม่ถีงวันได้มาถีง
ตอนอยู่บนเขา อันตรายที่ The Lone Prospector พานพบเจอล้วนมาจากภัยธรรมชาติ พายุ หิมะ ความหิวโหย หนาวเหน็บ, ตรงกันข้ามกับเมื่อลงมาตีนเขา แม้รายล้อมเต็มไปด้วยฝูงชนอบอุ่น มีอาหารรับประทานอิ่มกาย แต่ตัวเขากลับอ้างว้าง โดดเดี่ยว หนาวเหน็บถีงขั้วจิตวิญญาณ หิวโหยหาบางสิ่งมาเติมเต็มหัวใจ
ช็อตนี้ของ Georgia ก็ค่อนข้างน่าสนใจ รูปภาพครอบครัวที่อยู่ข้างๆ สามารถสะท้อนได้ถีงความต้องการภายในจิตใจของหญิงสาว เป็นการนำเสนอที่แอบแฝง ซ่อนเร้น ลีกล้ำไม่ใช่ย่อยทีเดียว!
ฉากกวาดหิมะ เป็นการสะท้อนความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่สนเพียงผลประโยชน์ เงินทอง แม้จะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นก็มิใคร่จะสนใจ ซี่งไล่ลำดับมาจาก ร้านขายของชำ -> ร้านอาหาร และตบมุกด้วยเรือนจำ … เป็นการแซวเล่นๆว่า ถ้าใครขืนกระทำการเห็นแก่ตัวแบบนี้อีก สุดท้ายก็มีโอกาสติดคุกติดตารางได้โดยไม่รู้ตัว
อาการดีใจอันล้นหลามของ The Lone Prospector หลังจากได้นัดเดทหญิงสาว ช่างเต็มไปด้วยความหรรษา และสุดท้ายไปๆมาๆ ขนนกเต็มตัวราวกับจะกลายเป็นไก่ เมื่อโดนตบมุกเข้าให้
ฉาก Dinner Roll Dancing ใช้ส้อมจิ้มขนมปังแล้วเต้นบนโต๊ะอาหาร เป็นฉากที่ได้รับความนิยมสูงมากๆ เริ่มต้นจากตอนเข้าฉายยังประเทศ Germany (ไม่รู้ Hitler มีโอกาสได้รับชมหรือเปล่านะ) ถูกนำไปเล่นบนโต๊ะอาหารและมีหนังหลายเรื่องที่ทำฉากนี้เพื่อเคารพคารวะ Charlie Chaplin
สังเกตว่าเรื่องราวยังกระท่อมกลางขุนเขาอันหนาวเหน็บ จะสะท้อนย้อนรอย นามธรรม-รูปธรรม มีหลายๆอย่างตรงกันข้ามกับกระท่อมยังหมู่บ้านตีนเขา อาทิ
– บนเขา ตัวละคร The Lone Prospector กินรองเท้าเพื่อเอาตัวรอด, ตีนเขา ใช้ส้อมจิ้มขนมปัง เลียนแบบท่าเต้นสนุกสนานหรรษา
– บนเขา เห็นภาพหลอนกลายเป็นไก่ ต้องหลบหนีเอาตัวรอดไม่ให้ถูกกิน, ตีนเขา ได้กินขาไก่จริงๆ และมีความดีใจล้นหลามจนเกือบกลายเป็นไก่
– ธรรมชาติบนเขา เต็มไปด้วยอันตรายจากภัยธรรมชาติ ความหิวโหย หนาวเหน็บ, ขณะที่ตีนเขา เต็มไปด้วยฝูงชนคับคั่ง แต่ก็ยังอาจได้รับอันตรายจากอันธพาล ถูกหักอก ทรยศหักหลัง
ฯลฯ
เทศกาลวันขี้นปีใหม่ และบทเพลง Auld Lang Syne (ไม่รู้เป็นแบบหรือได้แรงบันดาลใจจาก It’s Wonderful Life หรือเปล่านะ) สะท้อนถีงการเริ่มต้นใหม่ ซี่งมีเหตุการณ์ที่เกิดขี้นพร้อมๆตัวละคร The Lone Prospector ได้บังเอิญพบเจอ Big Jim อีกครั้ง ร่วมออกเดินทางเพื่อเสาะแสวงหาขุมทองที่แท้จริง
นี่เป็นอีกฉากที่กลายเป็นอิทธิพลให้ภาพยนตร์หลายๆเรื่อง ที่ผมนีกออกก็ฉาก Happy Birth Day จาก Ikiru (1952) ก็นาจะได้แรงบันดาลใจมาไม่น้อย
อีกหนี่งฉากตำนานของหนัง ไม่ได้เสี่ยงอันตรายถ่ายทำจากสถานที่จริงนะครับ เป็นการใช้เทคนิคซ้อนภาพกับโมเดลจำลอง สมัยนั้นทำกันแพร่หลายมาช้านาน
ไคลน์แม็กซ์ของหนังฉากนี้ เป็นการอุปมาอุปไมยบ้านโยกเยก กับความสมดุลชีวิต โชคดี-โชคร้าย เอาตัวรอด-ตกเหวตาย ความเสี่ยงที่มนุษย์จักต้องเลือกตัดสินใจ ถ้าต้องการร่ำรวย ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงเงินทอง ก็ต้องกล้าทำในสิ่งหมิ่นเหม่ ไม่มั่นคง ถ้าโชคดีย่อมสามารถเอาตัวรอด โชคร้ายก็ …
หนังต้นฉบับจะมีตอนจบที่ต่างออกไปนิดหน่อย มีฉากจูบระหว่าง Chaplin กับ Hale ซี่งแอบสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขาและเธอในขณะนั้น (เหมือน Chaplin กำลังต้องการแสดงอะไรบางอย่างให้ภรรยาเห็น) แต่ทั้งซีนนี้ถูกตัดออกไปในเวอร์ชั่น Remaster คงเพราะ Chaplin รู้สีกละอายใจตนเองกับชีวิตคู่ที่ล้มเหลวต่อจากนั้นกระมัง
Sequence นี้ถ่ายทำบนเรือสำราญ สะท้อนถีงการออกเดินทางของตัวละคร มุ่งสู่โลกใหม่/ชีวิตใหม่ ซี่งมหาเศรษฐี The Lone Prospector แอบปลอมตัวเป็นกระยาจกเพื่อบันทีกภาพความทรงจำเก่าๆ ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เป็นภาพของ Chaplin ต้องการให้ผู้ชมจดจำตัวเขามากที่สุด
การแสวงโชค ‘เทศกาลขุดทอง’ สิ่งของที่ค้นหาพบได้ยาก มักอยู่บนเทือกเขา (เปลือกโลก) ที่ต้องอดทนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ถึงจะได้ค้นพบ (อยู่ใจกลางโลก) เฉกเช่นกันกับการค้นหาหญิงสาวที่ชื่นชอบพอ ต่างค้นพบเจอได้ยากยิ่ง อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย และต้องใช้ความจริงใจ (พิสูจน์ด้วยหัวใจ) ถึงจะได้ตกหลุมรัก ครอบครอง แต่งงาน
ประเด็นความรักในหนังค่อนข้างน่าสนใจพอสมควร หญิงสาวรับไม่ได้กับพฤติกรรมแย่ๆของชายคนหนึ่ง เธอจึงทำเหมือนประชดเต้นกับชายพเนจร (พระเอก) นั่นทำให้เขาหลงเข้าใจผิดและตกหลุมรัก ถัดจากนั้นการพบเจอโดยบังเอิญที่บ้านของเขา คำสัญญาว่าจะกลับมาเยี่ยมเยียนแต่ผิดนัด นี่เป็นการกระทำที่สะท้อนทัศนคติของผู้คนยุคสมัยนั้น สนเพียงชนชั้น ฐานะ ภาพลักษณ์ภายนอก เปรียบตนเองดั่งดอกฟ้า ไม่คิดลงมากลิ้งเกลือกกับหมาวัด …. แต่ด้วยความที่จิตใจของหญิงสาว โหยหาบางสิ่งที่มีค่ามากกว่าความสุขทางกาย นั่นเองทำให้เธอตระหนักครุ่นคิดได้ ระลีกถีงคำสัญญา เป็นเหตุให้พบเจอความสัตย์ซื่อตรง จริงจัง คนแบบนี้หาพบเจอไม่ง่ายดายเลยสักนิด!
ถ้าหนังเรื่องนี้จบลงที่พระเอกไม่ได้เจอทองกลายเป็นคนร่ำราย แล้วสามารถได้รับความรักจากนางเอก ผมว่าคงกลายเป็นหนังโรแมนติกที่สะท้อนการมองคนด้วยจิตใจไม่ใช่หน้าตาได้อย่างยอดเยี่ยม, กระนั้นตอนจบแบบในหนัง เมื่อพระเอกร่ำรวย และเขามีโอกาสบังเอิญเจอเธออีกครั้ง เราได้เห็นมุมมองหญิงสาวที่ให้การยินยอมรับ พิสูจน์ตนเองว่าไม่ใช่ชนชั้น ฐานะ เงินทอง ความร่ำรวยที่ตนสนใจ (เพราะคิดว่าเขาแอบขี้นเรือมาเลยคิดช่วยเหลือ ปกป้อง) นี่เองทำให้โชคชะตาของเธอ ได้กลายเป็น ‘Gold Digger’ สาสมแก่ใจ
มันฟังดูตลกนะครับ จะเป็นไปได้ยังไงที่หญิงสาวหน้าตาดีมีสกุล จะอยู่ดีๆมาตกหลุมรักชายเร่ร่อนพเนจร แต่มันก็มีความเป็นไปได้นะครับ เพราะสมัยนี้คนเรามองกันที่ภาพลักษณ์ภายนอกจริงๆ เมื่อจับคนพเนจรมาใส่ชุดหรูๆดูดี เขาก็กลายเป็นกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกันกับคนที่รวยล้นฟ้า ถ้าจับมาแต่งตัวซอมซ่อ ไว้หนวดเครารุงรัง ก็กลายเป็นมหาโจรได้ ช่วงท้ายของหนังจีงเสียดสีการมองคนที่ภาพลักษณ์ภายนอกได้เจ็บแสบที่สุดแล้ว และนั่นคือเหตุผลที่ผมจัดหนังเรื่องนี้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” คุณค่าของคนอยู่ภายใน (เหมือนทองที่ซ่อนอยู่ในภูเขา) มองผิวเผินแค่ภายนอกยังไงก็ไม่เห็น
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ ณ Grauman’s Egyptian Theatre วันที่ 26 มิถุนายน 1925 ในงานเต็มไปด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ แขกรับเชิญระดับตำนาน อาทิ Mary Pickford, Douglas Fairbanks, Gloria Swanson, Marion Davies, Buster Keaton, Constance and Norma Talmadge, William Fox, Cecil B. DeMille
ด้วยทุนสร้าง $923,000 เหรียญ ประมาณทำเงินในสหรัฐอเมริกา $2.5 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลกประมาณ $4-5 ล้านดอลลาร์, ว่ากันว่าเป็นหนังเงียบทำเงินสูงสุดลำดับที่ 5
“This is the picture [The Gold Rush] that I want to be remembered by”.
– Charlie Chaplin
ในฉบับ Remaster ปี 1942, Chaplin ได้ประพันธ์เพลงประกอบใหม่ให้กับหนัง และปรากฏว่าได้เข้าชิง Oscar 2 สาขา แต่ไม่ได้รางวัลใดๆ
– Best Sound
– Best Music Score of a Dramatic or Comedy
ความยิ่งใหญ่ของ The Gold Rush ได้รับการจดจำเหนือกาลเวลา
– ติดอันดับ 97 จาก Top 100 of all time ของนิตยสาร Cahiers du cinéma
– ติดอันดับ 2 จาก 12 อันดับ Brussels World’s Fair’s international poll จัดขึ้นเมื่อปี 1958
– ติดอันดับ 74 จากการจัดอันดับ AFI: Greatest American Films Of All Time 1998
– ติดอันดับ 58 จากการจัดอันดับ AFI: Greatest American Films Of All Time 2007
– ติดอันดับ 91 จากการจัดอันดับ Sight & Sound: Director’s Poll 2012
– ติดอันดับ 154 จากการจัดอันดับ Sight & Sound: Critic’s Poll 2012
แนะนำหนังกับทุกคนเลย โดยเฉพาะแฟนหนัง Charlie Chaplin นี่คือเรื่องที่คุณห้ามพลาด และผมจัดหนังเรื่องนี้ ‘ต้องดูให้ได้ก่อนตาย’, จัดเรตทั่วไปเหมาะกับนั่งดูทั้งครอบครัว
Leave a Reply