The Poseidon Adventure

The Poseidon Adventure (1972) hollywood : Ronald Neame ♥♥♥♡

เมื่อคลื่นยักษ์ถล่มเรือสำราญ SS Poseidon จนพลิกคว่ำ ระหว่างนั่งเฉยๆรอคอยความช่วยเหลือที่ไม่รู้จะมาถึงเมื่อไหร่ Gene Hackman นำพาสี่นักแสดงรางวัล Oscar และอีกหกตัวประกอบ ปีนป่ายหาหนทางหลบหนีเอาตัวรอด

Anyway, everybody is sloshing around on the ceiling of the ballroom, but Hackman manages to get the other four Oscar winners and the six other movie stars up the Christmas tree. He desperately pleads with the other passengers to follow his lead, but they refuse. Hell, I knew they would. They were only extras.

คำแซวของนักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 2.5/4

ปล. นอกจาก Gene Hackman ที่เพิ่งคว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากภาพยนตร์ The French Connection (1971) อีกสี่นักแสดงรางวัล Oscar ประกอบด้วย Ernest Borgnine (Marty), Red Buttons (Sayonara), Shelley Winters (The Diary of Anne Frank & A Patch of Blue) และ Jack Albertson (The Subject Was Roses)

ในช่วงทศวรรษ 70s นอกจากกระแสนิยม Road Movie ยังมีอีกแนวหนังฮิตไม่แพ้กัน รวมดาราเล่นหนังภัยพิบัติ (All-Star Disaster Film) เริ่มต้นจาก Airport (1970), The Poseidon Adventure (1972), Earthquake (1974) และ The Towering Inferno (1974) มันเป็นการเบี่ยงเบนความหวาดกลัวของมนุษย์ต่อสงครามเย็น สู่หายนะทางธรรมชาติ

สิ่งที่ทำให้ The Poseidon Adventure (1972) แตกต่างจาก Disaster Film เรื่องอื่นๆที่มักสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากเงื้อมมือมนุษย์, หนังเคลือบแฝงสาระข้อคิด เต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ เมื่อทุกสิ่งอย่าง(เรือสำราญ)พลิกกลับตารปัตร เราควรรู้จักต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอด พึ่งพาตนเอง ปีนป่าย ตะเกียกตะกาย เอาชนะความกลัว แล้วจักพบเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์

ผลลัพท์ทำให้หนังได้เข้าชิง Oscar จำนวนถึง 8 สาขา (ส่วนใหญ่เป็นสาขาเทคนิคงานสร้าง) สามารถคว้ามา 1 รางวัล (Best Original Song) พร้อมกับ +1 รางวัลพิเศษ (Special Achievement Award: Best Visual Effects)

เกร็ด: Ben Stiller มีความชื่นชอบโปรดปราน The Poseidon Adventure (1972) เมื่อครั้งมีโอกาสร่วมงาน Gene Hackman ภาพยนตร์ The Royal Tenenbaums (2001) รวบรวมความกล้าสองวันก่อนปิดกองถ่ายพูดบอกความรู้สึกออกไป

Gene, I just want to say it’s just been amazing working with you – and I didn’t say this before, but really for me, Poseidon Adventure is probably one of the most important movies for me, ever, because it really made me want to be a filmmaker, to be in movies, and I saw it multiple times and it just really, really changed my life.

Ben Stiller

ได้รับคำตอบกลับที่ทำเอาโลกทั้งใบของ Stiller แทบแตกสลาย “Oh yeah. Money job”

Then he got up and he walked away. My world was shattered. Even if it was a money job for Hackman, it was the most incredible money-job performance I’ve ever seen.


The Poseidon Adventure (1972) ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1969 แต่งโดย Paul William Gallico (1897-1976) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน ได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์เคยขึ้นเรือสำราญ R.M.S. Queen Mary เมื่อปี ค.ศ. 1937 แล้วถูกคลื่นซัดจนเรือเอียง สิ่งข้าวของกระเด็นกระดอนเสียหาย โชคยังดีไม่ถึงขั้นพลิกคว่ำเลยเอาตัวรอดชีวิตมาได้

สตูดิโอ Avco Embassy Pictures ซื้อลิขสิทธิ์นวนิยายเมื่อปี ค.ศ. 1969 แล้วมอบหมายนักเขียน Wendell Mayes (Anatomy of a Murder, Advise & Consent) แต่พอกำลังจะเริ่มต้นโปรดักชั่น Avco Embassy มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ล้มเลิกแผนการสร้างโปรเจคนี้ เป็นเหตุให้โปรดิวเซอร์ Irwin Allen ต้องมองหาสตูดิโอแห่งใหม่ 20th Century Fox พร้อมจ่ายเงิน $2.5 ล้านเหรียญ ประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณวางไว้

Gordon Stulberg ผู้บริหารสตูดิโอ Fox (ขณะนั้น) เป็นคนลงมือเลือกผู้กำกับ Ronald Neame เพราะเคยร่วมงานภาพยนตร์ Scrooge (1970) ที่รวบรวมนักแสดงเกรดเอหลายสิบคน (All-Star Cast) เชื่อว่าเป็นบุคคลสามารถสร้างสมดุลระหว่างดราม่าการแสดง และ Special/Visual Effect สุดยิ่งใหญ่

A year or two earlier, I made a picture with Cinema Center Films called Scrooge, a musical with Albert Finney, and a year later, Gordon Stulberg, the president of the company at that time, called me from New York and said, ‘Ronnie, are you busy?’ I said, ‘At the moment, not really.’ ‘I have just become president of 20th Century Fox, and I have inherited a picture that’s in real trouble. The director has walked out on the producer; the sets are all built and ready to go. The producer has cast several stars, but the script is no good, and I have to do something about it. I would like to meet you tomorrow evening at the airport in New York. Will you come and rescue me?’

Ronald Neame

Ronald Neame (1911-2010) ตากล้อง-โปรดิวเซอร์-ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London, England เป็นบุตรของช่างภาพ Elwin Neame และนักแสดงหนังเงียบ Ivy Close หลังจากบิดาเสียชีวิต ค.ศ. 1923 เริ่มทำงานเด็กส่งของในสตูดิโอ Elstree Studios ไต่เต้าจนมีโอกาสช่วยงานตากล้อง Blackmail (1929), เครดิตถ่ายภาพเรื่องแรก Happy (1933), Our Aircraft Is Missing (1942), In Which We Serve (1942), ร่วมกับ David Lean และ Anthony Havelock-Allen ก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่น Cineguild สรรค์สร้าง Brief Encounter (1945), Great Expectations (1946), Oliver Twist (1948), กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Take My Life (1947), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Horse’s Mouth (1958), I Could Go On Singing (1963), The Poseidon Adventure (1972) ฯ

I would never have made it if it weren’t for Gordon, who asked me to come over and help him out of the difficulties.

แม้จะไม่ใช่โปรเจคในความสนใจของ Neame แต่เพราะต้องการช่วยเหลือเพื่อนสนิท จึงยินยอมตอบตกลงโปรเจคนี้ ใช้เวลาหกสัปดาห์ร่วมปรับปรุงบทหนังใหม่ขึ้นกับนักเขียน Stirling Silliphant (เจ้าของรางวัล Oscar: Best Adaped Screenplay จากภาพยนตร์ In the Heat of the Night (1967)) แม้มีการปรับเปลี่ยนอย่างเยอะ แต่ยังให้เครดิต Wendell Mayes

งบประมาณ $2.5 ล้านเหรียญจากสตูดิโอ Fox ย่อมไม่เพียงพอสำหรับงานสร้างหนัง โปรดิวเซอร์ Irwin Allen ซึ่งเป็นสมาชิก Hillcrest Club จึงขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิก Steve Broidy และ Sherrill Corwin ค้ำประกันเงินกู้ $2.5 ล้านเหรียญ … รวมแล้วได้ทุนสร้าง $5 ล้านเหรียญ สามารถเริ่มต้นโปรดักชั่นต่อทันที!

Irwin Allen did something I will always admire him for, the kind of thing any good producer would do. He was a member of the Hillcrest Club, which is right here in Beverly Hills. He went over there and found two very wealthy friends who were playing gin rummy. Irwin said to them, ‘Look, I’m in trouble. Will you two guarantee two and a half million dollars for me to make The Poseidon Adventure? In other words, if it doesn’t get its cost back, will you guarantee me that amount of money?’ And they said, ‘Oh Irwin, yes, we’ll guarantee you that money, go away, we’re playing gin rummy, and that’s more important to us.’

The two gentlemen that guaranteed the money never put their hands in their pocket; they never came to the studio, they never knew anything about it until the preview and in between, their estates have made millions and millions on The Poseidon Adventure. I just got a tiny bit of the profit [laughs], but sufficient to make my life reasonably okay.


เรือสำราญ SS Poseidon ที่ใกล้ปลดระวาง กำลังเดินทางจาก New York สู่กรุง Athens ด้วยความเร็วสูงสุด แล้วจู่ๆได้รับแจ้งเตือนแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ลูกใหญ่กำลังเคลื่อนเข้ามา ไม่สามารถหลบหนีได้ทัน ถูกซัดจนพลิกคว่ำ โชคยังดียังส่งสัญญาณ Mayday ได้ทัน!

ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่มาร่วมเฉลิมฉลองปีใหม่ในห้องโถงกลางเรือ พอถูกคลื่นซัดทุกสิ่งอย่างเลยพลิกกลับตารปัตร นำโดยบาทหลวง Frank Scott (รับบทโดย Gene Hackman) พยายามโน้มน้าวให้ทุกคนหาหนทางหลบหนี ปีนป่ายขึ้นไปเบื้องบน (หรือคือท้องเรือที่พลิกกลับเหนือน้ำ) แต่กลับมีเพียงไม่กี่คนยินยอมปฏิบัติตาม ส่วนใหญ่ต้องการนั่งอยู่เฉยๆ รอคอยความช่วยเหลือที่ไม่รู้จะมาถึงเมื่อไหร่


Eugene Allen Hackman (1930-2025) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ San Bernardino, California ครอบครัวหย่าร้างเมื่ออายุ 13 ปี สามปีให้หลังจึงหนีออกจากบ้าน โกงอายุสมัครเข้าทหารเรือ ทำงานหน่วยสื่อสาร ประจำการอยู่ประเทศจีนในช่วง Communist Revolution ปลดประจำการเมื่อปี ค.ศ. 1951 ลงหลักปักฐาน New York ดิ้นรนหางานทำไปเรื่อยๆ จนเกิดความสนใจด้านการแสดง กลายเป็นเพื่อนร่วมห้อง Dustin Hoffman และ Robert Duvall รับบทเล็กๆในซีรีย์โทรทัศน์ แสดงละครเวที Off-Broadway โด่งดังทันทีจากบทสมทบ Bonnie and Clyde (1967), ผลงานเด่นๆ อาทิ The French Connection (1971) **คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, The Poseidon Adventure (1972), The Conversation (1974), Superman: The Movie (1978), Mississippi Burning (1988), Unforgiven (1992) **คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, The Royal Tenenbaums (2001) ฯ

รับบท Reverend Frank Scott บาทหลวงหัวก้าวหน้า เชื่อในแนวคิด “พระเจ้าทรงช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลือตนเอง” ซึ่งไม่มีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล เลยถูกส่งไปประจำการยังทวีปแอฟริกาห่างไกล ระหว่างโดยสารเรือ SS Poseidon นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาปรับประยุกต์ใช้ แทนที่จะนั่งนิ่งอยู่เฉยรอคอยความช่วยเหลือ กลายเป็นผู้นำทางลูกแกะ ปีนป่าย ตะเกียกตะกาย หาหนทางหลบหนีเอาตัวรอด พานผ่านบททดสอบ จนมองเห็นสรวงสวรรค์รำไร

แม้จะเป็นเพียง “Money job” ในสายตาของ Hackman แต่ก็ทุ่มเทให้กับการแสดงอย่างเต็มที่ สรรค์สร้างตัวละครมีความแน่วแน่ จิตวิญญาณอันแข็งแกร่ง ยึดถือมั่นต่อแนวคิดของตนเอง พยายามโน้มน้าวใครต่อใคร พร้อมท้าทาย เสี่ยงอันตราย ไม่หวาดกลัวความตาย ทำหน้าที่ของตนเองจนวินาทีสุดท้าย

Hackman just keeps on providing the urgency and gravity that keeps the film from sinking the depths of self-parody. His Reverend Frank refuses to resign himself to an early afterlife, and his constant efforts to rally his weary, doubtful followers is a preview of what he’d pull off later as coach of a rural basketball team in Hoosiers. Few performances have done more to dignify a film that cares so little about dignity.

นักวิจารณ์ Scott Tobias จากนิตยสาร The Guardian

เกร็ด: Hackman คว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากภาพยนตร์ The French Connection (1971) หลังเปิดกล้อง The Poseidon Adventure (1972) ได้เพียงสัปดาห์เดียว พอกลับมากองถ่ายบรรดานักแสดง Oscar ต่างนำเอารางวัลของตนเองมาร่วมเฉลิมฉลอง

สำหรับนักแสดงสมทบอื่นๆ สังเกตว่าส่วนใหญ่คือนักแสดงเกรดเอรุ่นดึก มีถึงสี่คนเคยคว้ารางวัล Oscar แต่ละคนล้วนผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว ค่าตัวเลยถูกลง (มีเพียง Hackman ที่กำลังร้อนแรง Top Billing ค่าตัวสูงสุด) … นักแสดงเหล่านี้ล้วนมีพลังดารา ฝีไม้ลายมือด้านการแสดง จึงไม่ถูกกลืนไปกับงานสร้าง Special/Visual Effect

  • Detective Lieutenant Mike Rogo (รับบทโดย Ernest Borgnine) เป็นคนทึ่มทื่อ ซื่อตรง นิสัยหัวรั้น ดื้อดึงดัน มองโลกแง่ร้ายตลอดเวลา แม้ครุ่นคิดเห็นต่างจาก Rev. Frank Scott มีเรื่องทะเลาะวิวาทอยู่บ่อยครั้ง แต่ยินยอมติดตามเพราะถูกโน้มน้าวโดยภรรยา/อดีตโสเภณี Linda (รับบทโดย Stella Stevens) เชื่อมั่นว่าอีกฝ่ายจะนำพาคณะไปสู่หนทางออก
    • Borgnine เคยรับใช้ชาติทหารเรือกว่าสิบปี เคยพานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย เรือเกือบล่มมาแล้วหลายครั้ง นั่นคือเหตุผลที่รับเล่นหนังเรื่องนี้ “I don’t need any convincing that what happens in ‘The Poseidon Adventure’ could happen.”
  • คู่สามี-ภรรยาสูงวัย Manny (รับบทโดย Jack Albertson) & Belle Rosen (รับบทโดย Shelley Winters) กำลังเดินทางไปเยี่ยมหลานที่ Israel พอเรือสำราญพลิกคว่ำ ทั้งสองได้รับการโน้มน้าวจาก Rev. Frank Scott ให้ปีนป่าย ตะเกียกตะกาย แม้ว่า Belle จะหัวใจล้มเหลวกลางทาง (หลังดำผุดดำว่ายให้การช่วยเหลือ Rev. Frank) แต่ Manny ก็สานต่อคำมั่นสัญญา
    • Winters พร่ำบ่นเรื่องน้ำหนัก กินๆนอนๆเพิ่มขึ้น 35 ปอนด์ แต่กลับลดไม่ลง (คงเพราะอายุมากแล้วละ) “if gaining was fun, losing is torture” ส่วนเรื่องการดำน้ำฝึกฝนกับโค้ชโอลิมปิก สามารถเข้าฉากด้วยตนเอง กลั้นหายใจได้หลายนาที
    • สำหรับ Albertson ครุ่นคิดว่าหนังคงมีสตั๊นแมน แต่เปล่าเลย นักแสดงทุกคนแข่งกันเข้าฉากด้วยตนเอง “When I first read the script, I thought, ‘my double is going to make a lot of money on this picture—so, what happens? This director is making all of us actors do it ourselves. We’ve been soaked, steamed and smoked from fires for weeks now. Los Angeles’ smog is tonic when we leave this stage at night.”
  • James Martin (รับบทโดย Red Buttons) ชายวัยกลางคน โสดสนิท เจ้าของกิจการเสื้อผ้า ตกหลุมรักแรกพบนักร้องสาว Nonnie Parry (รับบทโดย Carol Lynley) หลังสูญเสียพี่ชาย ตกอยู่ในสภาพห่อเหี่ยวสิ้นหวัง แต่ถูกอีกฝ่ายโน้มน้าว (Gaslighting?) จนยินยอมติดตามไปด้วยกัน
    • แม้ในหนังทั้งสองเหมือนจะมีความสัมพันธ์อันดี แต่ทว่า Martin และ Parry กลับไม่ชอบหน้ากันสักเท่าไหร่ ปฏิเสธร่วมสังฆกรรมใดๆในกองถ่าย ถึงอย่างนั้นหลายปีให้หลังพวกเขากลับกลายเป็นเพื่อนสนิทสนม อย่างงง?

เกร็ด: ไม่ใช่ว่าหนังไม่เงินจ้างสตั๊นแมน แต่ผกก. Neame พยายามชักชวนนักแสดงให้เล่นฉากสตั๊นเอง ซึ่งพอถึงจุดๆหนึ่งกลายเป็นความตื่นเต้น ท้าทายกันและกัน ซึ่งพอทำถูกวิธี ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ


ถ่ายภาพโดย Harold E. Stine (1903-77) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Chino, California ผลงานเด่นๆ อาทิ MAS*H (1970), The Poseidon Adventure (1972) ฯ

หลังจากได้บทหนัง โปรดิวเซอร์ Irwin Allen สั่งให้วาดภาพ Storyboard ทุกช็อตฉาก! เพื่อสามารถวางแผนการ ตระเตรียมอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ใช้เทคนิคพิเศษอะไรยัง … การทำเช่นนี้จะช่วยให้การใช้จ่ายเงิน $5 ล้านเหรียญ มีความคุ้มค่าทุกนาที

เผื่อใครสนใจภาพ Storyboard: http://www.uncleodiescollectibles.com/html_lib/irwin-props/00058.html

ต้นแบบเรือสำราญของผู้แต่งนวนิยาย Paul Gallico คือ R.M.S. Queen Mary เรือเดินสมุทรสัญชาติอังกฤษ เคยให้บริการบนมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือระหว่างปี ค.ศ. 1936-67 หลังจากนั้นจอดเทียบท่าอยู่ Long Beach, California กลายเป็นโรงแรม พิพิธภัณฑ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ปัจจุบันยังคงตั้งตระหง่าน กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

เกร็ด: R.M.S. Queen Mary มีความตลอดลำ 1,019.4 ฟุต (310.7 เมตร) ระวางบรรทุกรวม 80,774 ตัน ทำให้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น สามารถทำความเร็วสูงสุด 32.84 นอต ใช้เวลาสร้างสามปีครึ่ง มูลค่า 3.5 ล้านปอนด์ (เทียบค่าเงิน ค.ศ. 2023 = 270 ล้านดอลลาร์)

แน่นอนว่ามีบางฉากได้ถ่ายทำบนเรือลำนี้ แต่ส่วนใหญ่ก่อสร้างฉากขึ้นยัง Stage 6 สตูดิโอ 20th Century Fox ระยะเวลาโปรดักชั่น 70 วัน ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 … โดยปกติแล้วสเกลงานสร้างใหญ่ขนาดนี้มักมีเหตุให้การถ่ายทำล่าช้า แต่เห็นว่าหนังถ่ายทำเสร็จก่อนกำหนดถึง 2 วัน!

โมเดลเรือจำลอง (Miniature Ship) ออกแบบสร้างโดย L.B. Abbott และ A.D. Flowers (คว้ารางวัล Oscar: Special Achievement Award: Best Visual Effects) ย่นย่ออัตราส่วน 1/48 ความยาวจากต้นสู่ท้ายลำ 21 ฟุต 6 นิ้ว (6.5 เมตร) ถือว่าเล็กเมื่อเทียบกับภาพยนตร์ Tora Tora Tora (1970) ใช้อัตราส่วน 1/16 แต่จุดประสงค์เพื่อสามารถถ่ายทำฉากใต้น้ำ (ตอนเรือพลิกคว่ำ) ภายในแท้งน้ำสตูดิโอที่มีความยาว 32 ฟุต ลึก 14 ฟุต … ถ่ายทำภายในแท้งน้ำสตูดิโอ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า

เกร็ด: ราคาค่าก่อสร้างโมเดลเรือจำลอง $35,000 เหรียญ น้ำหนักประมาณ 3 ตัน! ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Los Angeles Maritime Museum ณ San Pedro, California

มันมีเทคนิคที่ L.B. Abbott ได้ประสบการณ์จาก Tora! Tora! Tora! (1971) คือถ่ายภาพขณะล่องโมเดลเรือจำลอง ด้วยอัตราเร็ว 168 fps (frame per second) มากกว่าปกติถึง 7 เท่าตัว! นั่นจะช่วยเพิ่มความสมจริงในการเดินทาง เพราะเรือสำราญมีขนาดใหญ่ แม้จะแล่นด้วความเร็วสูงสุด แต่มองจากภายนอกกลับดูเชื่องช้ากว่าปกติ … ถึงอย่างนั้นสเกลโมเดลเรือจำลองขนาดเล็ก รายละเอียดต่างๆมันจึงไม่แนบเนียน สังเกตเห็นโดยง่าย

แซว: โดยปกติแล้วภาพการแล่นเรือ มักเลือกมุมกล้องที่เห็นท้องฟ้า-มหาสมุทร แต่ทุกช็อตที่ถ่ายภายนอกเรือล้วนเป็นภาพมุมก้ม เพื่อประหยัดงบประมาณในการวาดฉากพื้นหลัง หรือทำ Matte Painting

ส่วนฉากคลื่นซัดเรือร่ม ในอ่าว Sersen Lake จะมีสองหอคอยสำหรับปล่อยน้ำ 1,200 แกลอน สำหรับสร้างระลอกคลื่นขนาดใหญ่ ถ่ายทำครั้งแรกคลื่นสูงมาก เร็วมาก แรงมาก ทำเอาเรือเสียหายบางส่วน เทคสองจึงลดปริมาณน้ำลงครึ่งหนึ่ง และครั้งสามถึงได้ภาพที่นำมาใช้ในหนัง … ดูกันออกไหมเอ่ยว่าเป็นภาพสโลโมชั่น ถ่ายทำกลางวันด้วยฟิลเลอร์ Day for Night

นอกจากการถ่ายภาพที่มักโคลงเคลงไป-โคลงเคลงมา ความท้าทายในการถ่ายทำคือฉากเรือพลิกคว่ำ ยุคสมัยนั้นถ้าจะสร้างฉากให้หมุน 180 องศา คาดว่าคงใช้เงินมหาศาล วิธีการคือใช้รถยก (Forklift) ฉากเอียงขึ้น 30 องศา ผสมเข้ากับลูกเล่นภาพยนตร์ ทิศทางมุมกล้องหลอกตาผู้ชม … ผมไม่มีภาพเบื้องหลัง สังเกตวิธีการจาก Storyboard ก็แล้วกัน

ตัดต่อโดย Harold F. Kress (1913-99) สัญชาติอเมริกัน เจ้าของสองรางวัล Oscar จากภาพยนตร์ How the West Was Won (1962) และ The Towering Inferno (1974), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1941), Mrs. Miniver (1942), The Yearling (1947), King of Kings (1961), The Poseidon Adventure (1972) ฯ

หนังดำเนินเรื่องทั้งหมดมายภายในเรือสำราญ SS Poseidon โดยองก์แรกที่เป็นการแนะนำตัวละคร จะตัดสลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละครไปมา จนกระทั่งค่ำคืนเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ ทุกคนจะมารวมตัวกันยังห้องโถงกลางเรือ ก่อนเกิดเหตุการณ์คลื่นซัดเรือสำราญพลิกคว่ำ จากนั้นนำโดย Reverend Frank Scott พยายามโน้มน้าวผู้โดยสารให้ปีนป่าย ตะเกียกตะกาย หาหนทางหลบหนีเอาตัวรอด

  • แนะนำตัวละคร
    • ท่ามกลางพายุโหมกระหน่ำ เด็กชาย Robin ปีนป่ายมาถึงห้องกปิตัน
    • Mike Rogo พร่ำบ่นกับหมอว่ามาช้า เพียงให้ยาแก้เมาคลื่นแก่ภรรยา Linda
    • James Martin วิ่งออกกำลังกายบนดาดฟ้าเรือ ผ่านหน้าคู่สามี-ภรรยาสูงวัย Manny & Belle Rosen
    • บาทหลวง Frank Scott พูดคุยกับบาทหลวง John
    • Captain Harrison สั่งให้เรือแล่นเต็มกำลัง
    • Nonnie Parry และวงดนตรีของพี่ชาย ซักซ้อมร้องเพลงสำหรับค่ำคืนนี้
    • สองพี่น้อง Susan และ Robin ถกเถียงกันในห้องพัก
    • บาทหลวง Frank Scott เทศนาสั่งสอนบนดาดฟ้าเรือ
    • Mike Rogo โน้มน้าวภรรยา Linda ให้ไปร่วมงานเฉลิมฉลองปีใหม่
  • งานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
    • ในห้องโถงกลางเรือ Manny & Belle นั่งโต๊ะเดียวกับ James Martin
    • กัปตันถูกเรียกตัวไปยังห้องควบคุม
    • บาทหลวง Frank Scott ยกแก้วดื่มให้กับความรัก
    • นับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่
    • คลื่นยักษ์ซัดเรือพลิกคว่ำ
    • ให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิต
    • บาทหลวง Frank Scott พยายามโน้มน้าวผู้โดยสารให้หาหนทางหลบหนีเอาตัวรอด แต่มีเพียงไม่กี่คนยินยอมทำตาม
  • บททดสอบการเอาตัวรอด
    • เริ่มต้นจากปีนป่ายต้นคริสต์มาสขึ้นไปชั้นบน
    • เดินผ่านห้องครัวร้อนระอุ
    • ปีนป่ายช่องระบายอากาศขึ้นสู่ชั้นบน
    • หาหนทางออกในเขาวงกต
    • ดำผุดดำว่ายสู่ห้องเครื่อง
    • ปราการด่านสุดท้ายคือปิดวาล์วลมร้อน
    • ผู้รอดชีวิตได้รับการช่วยเหลือ

โครงสร้างของหนังแทบจะเรียกได้ว่าสูตรสำเร็จ! ดำเนินจากบททดสอบหนึ่ง สู่อีกบททดสอบหนึ่ง บุกน้ำลุยไฟ ท้าพิสูจน์ความเชื่อมั่น เอาชนะความหวาดกลัว และให้ความช่วยเหลือกันและกัน ย่อมสามารถเอาตัวรอด พานผ่านทุกอุปสรรคขวากหนาม


เพลงประกอบโดย John Towner Williams (เกิดปี ค.ศ. 1935) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Flushing, New York City บิดาเป็นนักดนตรีแจ๊ส เคยเล่นให้กับวง Raymond Scott Quintet, เมื่อครอบครัวอพยพสู่ Los Angeles สามารถสอบเข้า University of California, Los Angeles (UCLA) ร่ำเรียนการแต่งเพลงกับ Mario Castelnuovo-Tedesco, จากนั้นอาสาสมัครทหารอากาศ แผนกดนตรี เล่นเปียโน กำกับวง U.S. Air Force Band, เมื่อปี 1955 หวนกลับมา New York City เพื่อร่ำเรียน Juilliard School ทีแรกตั้งจะเป็นนักเปียโนคอนเสิร์ต (Concert Pianist) แต่พอมีโอกาสรับชมการแสดงของ John Browing และ Van Cliburn เลยตัดสันใจเปลี่ยนมาเอาจริงเอาจังด้านการแต่งเพลง

หลังสำเร็จการศึกษาจาก Juilliard หวนกลับ Los Angeles ได้ทำงานเป็นนัก Orchestrator ให้กับนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง Franz Waxman, Bernard Herrmann, Alfred Newman, แล้วมีโอกาสเล่นเปียโนผลงาน South Pacific (1958), Some Like It Hot (1959), The Apartment (1960), Charade (1963) ฯ ส่วนเครดิตเพลงประกอบเริ่มจาก Daddy-O (1958), Valley of the Dolls (1967), Goodbye, Mr. Chips (1969), Fiddler on the Roof (1971), The Poseidon Adventure (1972) ฯ จนกระทั่งมีโอกาสรับรู้จัก ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Steven Spielberg ตั้งแต่ The Sugarland Express (1974)

แม้ว่า The Poseidon Adventure (1972) จะเป็นหนังที่มาก่อนกาล Blockbuster (เริ่มนับที่ Jaws (1975)) แต่งานเพลงของ Williams ฉายแววความยิ่งใหญ่อลังการ เลือกใช้ออร์เคสตราเต็มวง เริ่มต้นด้วย French Horn ราวกับเสียงคำราม ฟังดูน่าเกรงขาม อารัมบทภัยพิบัติ/หายนะแห่งมนุษยชาติ ก่อนติดตามด้วยท่วงทำนองการผจญภัย ค่อยๆไต่ไล่ระดับ พานผ่านบททดสอบต่างๆ จนกระทั่งดำเนินสู่จุดสูงสุด

เกร็ด: จะถือว่า John Williams แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวกับหนังแนว Disaster Films เลยก็ว่าได้! หลังจาก The Poseidon Adventure (1972) ยังทำเพลงประกอบ The Towering Inferno (1974), Earthquake (1974), ก่อนกลายเป็นตำนานตั้งแต่ Jaws (1975), Star Wars (1977) ฯ

The Morning After แต่งโดย Al Kasha & Joel Hirschhorn ในหนังขับร้องโดย Renée Armand (ลิปซิงค์โดย Carol Lynley ผู้รับบท Nonnie Parry) หลังคว้ารางวัล Oscar: Best Original Song มีการบันทึกเสียงใหม่โดย Maureen McGovern ติดอันดับ #1 US Billboard นานสองสัปดาห์ ยอดขายระดับ Gold (เกินห้าแสนแผ่น)

ฉบับของ Renée Armand น้ำเสียงนุ่มๆ ทุ้มต่ำ ทำนองเรียบง่าย ชวนให้เคลิบเคลิ้มหลงใหล ตรงกันข้ามกับ Maureen McGovern เต็มไปด้วยลูกคอ ไต่ไล่ระดับเสียงสูง สั่นสะท้านทรวงใน … ก็แล้วแต่ความชื่นชอบนะครับ

เกร็ด: ดั้งเดิมนั้นบทเพลงนี้ชื่อว่า Why Must There Be a Morning After? แต่มีการปรับเปลี่ยนเหลือเพียง The Morning After เพื่อให้ฟังดูมีความหวังขึ้นเล็กน้อย

There’s got to be a morning after
If we can hold on through the night
We have a chance to find the sunshine
Let’s keep on looking for the light

Oh, can’t you see the morning after?
It’s waiting right outside the storm
Why don’t we cross the bridge together
And find a place that’s safe and warm?

It’s not too late, we should be giving
Only with love can we climb
It’s not too late, not while we’re living
Let’s put our hands out in time

There’s got to be a morning after
We’re moving closer to the shore
I know we’ll be there by tomorrow
And we’ll escape the darkness
We won’t be searching anymore

There’s got to be a morning after
(There’s got to be a morning after)
There’s got to be a morning after
(There’s got to be a morning after)
There’s got to be a morning after
(There’s got to be a morning after)
(repeat and fade out)

Poseidon หนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร ได้รับการขนานนาม King of the Sea หรือ God of the Sea, Storms, Earthquakes, and Horses การผจญภัยของโพไซดอน (The Poseidon Adventure) อาจไม่ได้เกี่ยวกับเทพปกรณัม แค่ว่าจุดเริ่มต้นเกิดจากแผ่นดินไหว การมาถึงของคลื่นยักษ์ ซัดพาเรือสำราญพลิกคว่ำ ทำให้ต้องหาหนทางปีนป่าย ตะเกียกตะกาย หาหนทางเอาตัวรอดจากการจมลงใต้มหาสมุทร

เรือสำราญพลิกคว่ำ ทำให้ทุกสิ่งอย่างกลับตารปัตรตรงกันข้าม! ก็เหมือนโลกยุคสมัยใหม่(ตั้งแต่สงครามโลกครั้งสอง)ที่วิถีชีวิต ค่านิยมสังคม ความเชื่อศรัทธาศาสนา ฯ ล้วนผิดแผกแตกต่างจากอดีต ทำให้มนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ วิธีครุ่นคิด เริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่ … แทนที่จะไปชั้นดาดฟ้า เมื่อเรือพลิกคว่ำก็ต้องเปลี่ยนมาห้องเครื่องใต้ท้องเรือที่ลอยอยู่เหนือน้ำ

“God helps those who help themselves” นี่ไม่ใช่คำสอนจากคัมภีร์ไบเบิ้ล แต่คือสุภาษิตสอนใจจากนิทานอีสป ซึ่งสามารถไล่ย้อนไปถึงกรีกโบราณ พบเจอในละคอนโศกนาฎกรรม Philoctetes (ประมาณ 409 BC) ของ Sophocles เขียนไว้ว่า “No good e’er comes of leisure purposeless; And heaven ne’er helps the men who will not act.”

เรื่องราวของ The Poseidon Adventure (1972) ก็เวียนวนอยู่กับแนวคิดดังกล่าว คนที่รู้จักช่วยตนเองย่อมมีโอกาสเอาชีวิตรอด ส่วนคนนั่งนิ่งเฉย ไม่ทำห่าเหวอะไรเลย เอาแต่รอคอยความช่วยเหลือจากผู้อื่น ย่อมประสบภัยพิบัติตามแต่โชคชะตากรรม

เกร็ด: หนึ่งในเหตุผลที่ผกก. Neame ตอบตกลงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็เพราะความแนวคิดดังกล่าวของ Reverend Frank Scott ตรงกับความเชื่อของตนเอง!

คณะผู้หลบหนีทั้งสิบ ใช่ว่าทุกคนจะมีความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้า! Mike Rogo บ่อยครั้งขัดแย้ง/ครุ่นคิดเห็นต่างกับ Rev. Frank Scott, นักร้องสาว Nonnie Parry เต็มไปด้วยความขลาดเขลา เอาแต่กลัวๆกล้าๆ ฯ แต่เมื่อทั้งหมดพานผ่านจุดเริ่มต้น ก็บังเกิดความสัมพันธ์ ช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัย ไม่มีใครอยากทอดทิ้งใคร ร่วมหัวจมท้าย บุกน้ำลุยไฟ และบุคคลผู้เสียสละ จะกลายเป็นวีรบุรุษยิ่งใหญ่

จะว่าไปผกก. Neame ไม่แตกต่างจาก Rev. Frank Scott คือบุคคลช่วยชีวิตโปรเจค The Poseidon Adventure (1972) รวมถึงสตูดิโอ Fox ที่ตอนนั้นสภาพการเงินค่อนข้างย่ำแย่ ให้กลับมาประสบความสำเร็จ ร่ำรวยกันถ้วนหน้า “Oh yeah. Money job”

for better or for worse, I saved “The Poseidon Adventure.” It also saved Fox; they would have been in real trouble… I’m proud that the films did hold up.

Ronald Neame

ด้วยทุนสร้างประมาณ $5 ล้านเหรียญ สามารถติดอันดับ #1 Boxoffice ในสหรัฐอเมริกานาน 12 สัปดาห์! รายรับตอนออกฉายครั้งแรก $42 ล้านเหรียญ ทำเงินสูงสุดแห่งปี ค.ศ. 1973 (หนังเข้าฉายจำกัดโรงช่วงปลายปี ค.ศ. 1972 ก่อนฉายวงกว้างต้นปีถัดมา) จากนั้นมีการออกฉายซ้ำอีกหลายครั้ง รวมรายรับถึงปัจจุบัน $125 ล้านเหรียญ

ด้วยเสียงตอบรับด้านเทคนิคงานสร้างดียอดเยี่ยม ได้เข้าชิง Oscar, Golden Globe และ BAFTA Award อีกหลายสาขา

  • Academy Awards
    • Best Supporting Actress (Shelley Winters)
    • Best Cinematography
    • Best Film Editing
    • Best Art Direction
    • Best Costume Design
    • Best Original Dramatic Score
    • Best Original Song บทเพลง The Morning After **คว้ารางวัล
    • Best Sound
    • Special Achievement Award: Best Visual Effects **คว้ารางวัล
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Drama
    • Best Supporting Actress (Shelley Winters) **คว้ารางวัล
    • Best Original Score
    • Best Original Song บทเพลง The Morning After
  • British Academy Film Awards
    • Best Actor (Gene Hackman) **คว้ารางวัล
      • นับรวมกับ The French Connection (1971)
    • Best Supporting Actress (Shelley Winters)

เกร็ด: สถานีโทรทัศน์ ABC จ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงถึง $3.2 ล้านเหรียญ สำหรับการฉาย The Poseidon Adventure (1972) วันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1974 ยุคสมัยนั้นถือเป็นมูลค่าสูงมากๆ ได้รับเรตติ้ง 39.0 สูงสุดอันดับหกตลอดกาลของสถานี!

ความสำเร็จอย่างล้นหลาม The Poseidon Adventure (1972) ไม่เพียงจุดกระแสความนิยม “All-Star Disaster Film” ยังมีการเข็นภาคต่อ Beyond the Poseidon Adventure (1979), ฉบับฉายโทรทัศน์ The Poseidon Adventure (2005) และภาพยนตร์สร้างใหม่ Poseidon (2006)

All I can say is that The Poseidon Adventure is not my favorite film; in fact, I thought that it would come and go in a few months. But on the other hand, it is my favorite film because it made more money than all the rest of my films put together—and a lot more on top of that.

Ronald Neame

ด้วยความที่สตูดิโอ Disney ซื้อต่อกิจการ 20th Century Fox ผมเลยไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้รวมอยู่ใน Disney+ หรือไม่ แต่สำหรับคนหาแผ่นสะสม Blu-Ray สุดท้ายของ Fox มีการแสกนใหม่คุณภาพ HD วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2012 และกล่องเหล็ก ค.ศ. 2014

ผมเคยรับชม Poseidon (2006) เมื่อตอนเข้าฉายโรงภาพยนตร์แล้วไม่ค่อยประทับใจสักเท่าไหร่ เลยสองจิตสองใจที่จะหาดูต้นฉบับ The Poseidon Adventure (1972) ก่อนค้นพบว่าผิดคาด! โปรดักชั่นอาจดูเฉิ่มเฉยล้าหลัง แต่ยังคงความคลาสสิก ตื่นเต้น ลุ้นระทึก และเหมือนจะแฝงสาระข้อคิด … สนุกกว่าที่คาดหวังเอาไว้ มีอะไรมากกว่าแค่หนังภัยพิบัติ

จัดเรต 13+ กับภัยพิบัติ ความตาย การต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด

คำโปรย | The Poseidon Adventure อาจเป็นภาพยนตร์ภัยพิบัติ (Disaster Film) ที่เฉิ่มเฉยล้าหลัง แต่ยังคงความคลาสสิก ตื่นเต้น ลุ้นระทึก และเหมือนจะแฝงสาระข้อคิด
คุณภาพ | ภัยพิบัติคลาสสิก
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: