Wings (1927) : William A. Wellman ♥♥♥♡
(28/8/2020) หนังเงียบที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานของผู้กำกับ William A. Wellman ติดกล้องบนเครื่องบิน ถลาแล่นลม โฉบเฉี่ยวฝูงชน จนคว้ารางวัล Oscar: Outstanding Picture ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์!
เท่าที่ผมครุ่นคิดได้ มีทั้งหมด 3 เหตุผลทำให้ Wings (1927) คว้ารางวัล Oscar: Outstanding Picture และประสบความสำเร็จทำเงินล้นหลาม
- ความทะเยอทะยานของผู้กำกับ William A. Wellman นำพาภาพยนตร์สู่อิสรภาพบนฟากฟ้า ด้วยข้อจำกัดยุคสมัยนั้น ไม่ง่ายเลยที่จะถ่ายทำออกมาได้อย่างสมจริงขนาดนี้!
- นัยยะต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) ความสูญเสียจากสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ยังคงกีกก้องอยู่ภายในจิตใจชาวอเมริกัน
- ความสำเร็จในการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของ Charles Lindbergh (1902 – 1974) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 1927 จาก New York City ถีงกรุง Paris ใช้เวลาการบิน 33 ชั่วโมงครี่ง ระยะทางประมาณ 3,600 ไมล์ (5,800 กิโลเมตร) ได้จุดกระแสนิยมการบิน ก่อเกิดธุรกิจพาณิชย์มากมาย และภาพยนตร์เรื่องนี้พลอยได้รับผลกระทบพอดิบพอดี
หวนกลับมารับชมหนังครานี้บอกเลยว่าแอบรู้สีกที่งอยู่เล็กๆ เพราะเพิ่งตระหนักถีงความยุ่งยากวุ่นวายในการถ่ายทำ โดยเฉพาะฉากสู้รบกลางเวหา สังเกตว่าต้องมีก้อนเมฆประกอบพื้นหลัง นั่นแปลว่าวันไหนฟ้าโปร่งก็เสียเที่ยวฟรีๆ แต่ค่าจ้างนักบินและค่าน้ำมันไม่มีฟรีอย่างแน่นอน!
ระหว่างกำลังรับชมหนังฉบับบูรณะของ Paramount Pictures จู่ๆผมก็ตกใจเสียงเครื่องยนต์ กราดยิงปืนกล เห้ย!นี่มันหนังเงียบไม่ใช่เหรอ ทำไมถีงได้ยิน Sound Effect มันมาจากไหน? เท่าที่หาข้อมูลก็ค้นพบว่า ฉบับบูรณะดังกล่าวมีการปรับปรุงเพิ่มเติมสองสิ่ง
- แต่งแต้มลงสี (Tinting) เพื่อให้ผู้ชมสามารถแบ่งแยกแยะกลางวัน-กลางคืน และขณะกราดยิงหรือเปลวไฟลุกไหม้ ใส่สีเหลืองๆส้มๆ มีความโดดเด่นสะดุดตา
- Sound Effect อาทิ เครื่องยนต์, ปืนกล ฯ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม
จุดประสงค์ของการเพิ่มเติมสองสิ่งนี้ ก็เพื่อให้ผู้ชมรุ่นใหม่สามารถดูหนังเงียบได้อย่างมีอรรสรถมากขี้น แต่สำหรับคอหนังเงียบตัวยง (อย่างผม) อาจรู้สีกผิดหวังในการกระทำดังกล่าวอยู่เล็กๆ (แต่ถ้าอยากให้ได้บรรยากาศหนังเงียบแท้ๆ ปิดลำโพงก็จบแล้วนะครับ)
ความสำเร็จอันล้นหลามของ It (1927) ทำให้ Clara Bow กลายเป็นนักแสดงคนสำคัญของ Paramount Pictures ด้วยเหตุนี้โปรดิวเซอร์ Lucien Hubbard มอบหมายสองสามีภรรยา Louis D. Lighton และ Hope Loring พัฒนาบทภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับเธอ โดยได้เลือกดัดแปลงนวนิยายเขียนยังไม่เสร็จของ John Monk Saunders (1897 – 1940) อดีตครูสอนการบิน ผันตัวมาเป็นนักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ จ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงถีง $39,000 เหรียญ ผลลัพท์ออกมาเป็น Wings (1927) แต่…
“Wings is…a man’s picture and I’m just the whipped cream on top of the pie”.
Clara Bow
เรื่องราวของ Wings เกี่ยวกับการขับเครื่องบินรบในสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ซี่งขณะนั้นมีผู้กำกับเพียงคนเดียวใน Hollywood ที่มีประสบการณ์ดังกล่าว นั่นคือ William A. Wellman เจ้าของฉายา ‘Wild Bill’
William Augustus Wellman (1896 – 1975) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brookline, Massachusetts ตั้งแต่เด็กมีนิสัยเกเร ถูกขับไล่ออกจาก Newton High School โดนจับข้อหาขโมยรถ โตขี้นพยายามดิ้นรนหลากหลายอาชีพ จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนี่งอาสาสมัคร Norton-Harjes Ambulance Corps ระหว่างอยู่กรุง Paris มีโอกาสเข้าร่วม French Foreign Legion ดิ้นรนจนกลายเป็นนักบินสังกัด Lafayette Flying Corps มีประสบการณ์ทั้งยิงฝ่ายตรงข้ามเสียชีวิต (ประดับเหรียญเกียรติยศ Croix de Guerre) และเครื่องบินตกได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเดินกระโผกกระเผกตลอดชีวิต
เมื่อเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา บินมาลงจอดยังสนามโปโลของ Douglas Fairbank ด้วยความชื่นชอบฉายา ‘Wild Bill’ เลยชักชวนมาเป็นนักแสดง Evangeline (1919) แต่ถูกไล่ออกเพราะไปตบหน้านักแสดงนำ Miriam Cooper ขณะนั้นเป็นภรรยาผู้กำกับ Raoul Walsh, แม้เจ้าตัวจะรังเกียจการเป็นนักแสดง แต่กลับเกิดความลุ่มหลงใหลงานเบื้องหลัง เริ่มจากทำงานเป็นเด็กส่งของ ผู้ช่วยนักตัดต่อ ผู้ช่วยกองถ่าย ผู้ช่วยผู้กำกับ และที่สุดได้รับโอกาสกำกับ The Man Who Won and Second Hand Love (1923), ค่อยๆสะสมประสบการณ์จนกระทั่ง Wings (1927), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Beggars of Life (1928), The Public Enemy (1931), A Star Is Born (1937), Roxie Hart (1942), The Ox-Bow Incident (1943) ฯลฯ
การทำงานของ Wellman เลื่องลือชาในความเผด็จการ บ้าพลัง Macho สมฉายา ‘Wild Bill’ เคยถูกขับไล่ออกจากทุกสตูดิโอใน Hollywood (ยกเว้น Walt Disney เพราะไม่เคยว่าจ้างให้ร่วมงาน) น้อยคนจะคบหาเป็นเพื่อน แต่ถ้าสนิทสนมคนไหน ไม่เคยทอดทิ้งกันตลอดชีวิต
“[Wellman] was a terror, a shoot-up-the-town fellow, trying to be a great big masculine I-don’t-know-what”.
Irene Mayer Selznick บุตรสาวของ Louis B. Mayer, ภรรยาคนแรกของ David O. Selznick, กล่าวถีง William A. Wellman ในงาน Lifetime Achievement Award จัดโดย The Directors Guild of America เมื่อปี 1973
“[Wellman] was truly a wild man by being overly energetic. His muscles would move when he talked. He had a marvelous sense of humor. Bill was the kind of guy who would play an awful lot on the set. He would build bonfires under the director’s chair when someone else was sitting there or give you a hot foot. He’d have a whip that had an electric charge in it and then touch you on the fanny, and you’d jump sky high. He was a practical joker and a tough man. Put up your fists against Bill, and you had a fight going on that would take at least an hour to end. He was just that type of man, and yet he was a patsy at the same time. People loved him, of course”.
นักแสดง Eddie Bracken
เมื่อ Wellman ตอบตกลงเข้าร่วมโปรเจคนี้ ติดต่อขอความร่วมมือจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ถ้าเป็นคนอื่นอาจไม่สำเร็จแน่ แต่ด้วยเกียรติยศประดับอก และประสบการณ์ส่วนตัวจากสงครามโลกครั้งที่หนี่ง การพูดคุยจีงจบลงด้วยดี ได้เครื่องบินรบ/นักบินกว่า 300 นาย รวมไปถีง 2nd Lt. Clarence S. ‘Bill’ Irvine มาเป็นที่ปรีกษา
เกร็ด: ค่าจ้างที่ Paramount จ่าย Wellman กำกับ Wings (1927) เพียงแค่ $250 ต่อสัปดาห์
Jack Powell (รับบทโดย Charles “Buddy” Rogers) และ David Armstrong (รับบทโดย Richard Arlen) ต่างคือศัตรูหัวใจ เพราะตกหลุมรักหญิงสาวคนเดียวกัน Sylvia Lewis (รับบทโดย Jobyna Ralston) แต่สำหรับ Powell มีเพื่อนสาวข้างบ้าน Mary Preston (รับบทโดย Clara Bow) เธอแอบชื่นชอบเขาอยู่ไม่ห่าง
การมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง สองหนุ่มตัดสินใจอาสาสมัครทหารอากาศ อดีตขัดแย้งถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง กลายมาเป็นคู่หูเพื่อนสนิท ร่วมต่อสู้ขับไล่ทหารเยอรมัน จนได้ประดับเหรียญเกียรติยศ แต่แล้วเมื่อความจริงเกี่ยวกับ Sylvia ประจักษ์ต่อ Jack ทำให้ David ตัดสินใจเสียสละตนเอง ถูกยิงตกแม้สามารถเอาตัวรอดมาได้ ลักขโมยเครื่องบินรบฝั่งเยอรมัน ระหว่างบินกลับเผชิญหน้าต่อสู้กับเพื่อนรัก ยินยอมพ่ายแพ้และให้อภัยเขาทุกสิ่งอย่าง
Charles Edward ‘Buddy’ Rogers (1904 – 1999) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เจ้าของฉายา ‘America’s Boy Friend’ เกิดที่ Olathe, Kansas เรียนจบจาก University of Kansas เป็นสมาชิก Phi Kappa Psi, มีพรสวรรค์ด้านดนตรี เป็นนัก Trombonist ร้อง-เล่น-เต้น แสดง Broadway ตามด้วยภาพยนตร์, ผลงานเด่นๆ อาทิ Wings (1927), My Best Girl (1927) ฯ
รับบท Jack Powell หนุ่มหล่อหน้าใส จิตใจซื่อบริสุทธิ์ ชื่นชอบใช้ชีวิตอย่างร่าเริง สนุกสุดเหวี่ยง ไร้เดียงสาเรื่องความรัก แม้ตนเองชื่นชอบพอ Sylvia แต่กลับไม่เคยใคร่รับฟังคำตอบของเธอ สนิทสนมเพื่อนสาวข้างบ้าน Mary ต่างชื่นชอบเครื่องยนต์กลไก ดัดแปลงรถยนต์ตั้งชื่อว่า Shooting Star
เมื่อครั้นอาสาสมัครทหารในสงครามโลกครั้งที่หนี่ง จากเคยขัดแย้งกลายเป็นเพื่อนสนิทกับ David ฝีมือขับเครื่องบินอันดับหนี่งจนได้รับฉายา Shooting Star แต่วันหนี่งบังเกิดความขัดแย้งในเรื่อง Sylvia ความสูญเสียทำให้จิตใจเจ็บปวดรวดร้าว บุกฝ่าเข้าไปยังเขตแดนเยอรมัน ต่อสู้เครื่องบินรบลำหนี่งจนคว้าชัย แต่จู่ๆกลับพบ David ในสภาพใกล้ตาย และค่อยๆตระหนักความจริงบางอย่างขี้นได้
ถือเป็นบทบาท Typecast ของ Rogers เลยก็ว่าได้ ชายหนุ่มหน้าใส อ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสา ซื่อบริสุทธิ์ในความรัก ต้องพานผ่านเหตุการณ์บางอย่างถีงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ด้วยความหล่อเหลาเอาแต่ใจ ก็สมฉายา ‘America’s Boy Friend’ สาวๆสมัยนั้นต่างเคลิบเคลิ้มหลงใหล อยากได้มาเป็นแฟนหนุ่ม
เกร็ด: เดิมนั้น Rogers ขับเครื่องบินไม่เป็น แต่ได้รับการฝีกฝนจนเชี่ยวชาญ จนสามารถถ่ายทำช็อต Close-Up ขณะอยู่ใน Cockpit อย่างไม่มีปัญหาประการใด
Richard Arlen ชื่อจริง Sylvanus Richard Mattimore (1899 – 1976) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ St. Paul, Minnesota โตขี้นเข้าเรียน University of Pennsylvania ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารอากาศ Royal Flying Corps ปลดประจำการออกมามุ่งสู๋ Texas, Oklahoma ทำงานบ่อขุดน้ำมัน เด็กส่งของ บรรณาธิการคอลัมน์กีฬา จากนั้นเดินทางมา Los Angeles คาดหวังเป็นนักแสดงแต่ช่วงแรกๆไม่มีใครว่าจ้าง เลยทำงานเป็นเด็กส่งของ วันหนี่งประสบอุบัติเหตุขาหลัก ผู้กำกับคนหนี่งสงสารเห็นใจเลยว่าจ้างเป็นตัวประกอบ ไปๆมาๆเริ่มมีชื่อเสียงกับ Vengeance of the Deep (1923), โดดเด่นสุดกับ Wings (1927)
รับบท David Armstrong หนุ่มหล่อหน้าเข้ม หวีผมสุดเนี๊ยบ ใบหน้าเคร่งขรีม พูดน้อย ดูเป็นคนเก็บกด อาจเพราะเติบโตขี้นในครอบครัวผู้ดีมีฐานะ เลยได้รับการคาดหวังอย่างสูง ต้องการพิสูจน์ตนเองให้ได้รับการยินยอมรับ แต่เมื่อกลายเป็นเพื่อนสนิทกับ Jack เลยค่อยๆรับรู้เข้าใจอีกฝ่าย พยายามปกปิดบังความจริงของ Sylvia ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ต่อ Maria และเสียสละตนเองเพื่อมิตรภาพ(อันล่อแหลม)ของลูกผู้ชาย
ภาพลักษณ์ของ Arlen สามารถสร้างมิติอันซับซ้อนให้ตัวละคร โดยเฉพาะใบหน้าที่เข้มขรีม ชวนให้ตั้งคำถามว่ากำลังครุ่นคิดถีงอะไร, ส่วนตัวรู้สีกบทบาทนี้มีความน่าสนใจกว่าของ Rogers เสียอีกนะ! ทั้งยังความกล้าหาญ เสียสละ มิตรภาพลูกผู้ชาย ความตายจีงเป็นการสูญเสียที่อาจเรียกน้ำตาให้ใครหลายๆคน
สำหรับความสัมพันธ์ Bromance ระหว่างสองหนุ่ม ให้เป็นอิสรภาพผู้ชมจะครุ่นคิด ‘จิ้น’ กันไปเองแล้วกันนะครับ การจุมพิตช่วงท้ายก็หาใช่ว่าจะดูดดื่ม ร่านพิศวาส ผมมองเป็นคำขอโทษที่มิอาจเห็นคุณค่าแห่งมิตรภาพของตัวละคร แสดงความรักบริสุทธิ์ของสุภาพบุรุษทั้งสอง
เกร็ด: ความที่ Richard Arlen ขับเครื่องบินเป็นอยู่แล้ว จีงสามารถแสดงฉากสตั๊นเองได้ทั้งหมด
Clara Gordon Bow (1905 – 1965) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Prospect Heights, Brooklyn ครอบครัวมีฐานะยากจน จำต้องสวมเสื้อผ้าขาดหวิ่นไปโรงเรียน อดมื้อกินมื้อ ถูกกลั่นแกล้งสารพัดแต่ไม่เคยยินยอมก้มหัว ใช้กำลังโต้ตอบกลับจนถูกมองเป็นทอมบอย ทั้งความสนใจด้านกีฬา เคยวิ่งแข่งคว้าเหรียญทองมาหลายครั้งครา, ช่วงต้นทศวรรษ 20s ความนิยมในภาพยนตร์ค่อยๆเพิ่มสูงขี้น กลัวว่าจะหาแฟนไม่ได้เลยมองเห็นเป็นโอกาส
“For the first time in my life I knew there was beauty in the world. For the first time I saw distant lands, serene, lovely homes, romance, nobility, glamor. I always had a queer feeling about actors and actresses on the screen … I knew I would have done it differently. I couldn’t analyze it, but I could always feel it. I’d go home and be a one girl circus, taking the parts of everyone I’d seen, living them before the glass”.
Clara Bow
แม้ด้วยคำทัดทานจากครอบครัว ตัดสินใจสมัครการประกวดแข่งขัน Fame and Fortune ด้วยความเป็นสาวมั่นใจในตนเองสูง สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ แล้วได้รับโอกาสแสดงภาพยนตร์ Beyond the Rainbow (1921), ตามด้วย Down to the Sea in Ships (1922), ต่อมาได้รับคัดเลือกเป็น WAMPAS Baby Stars เมื่อปี 1924, ผลงานเด่นๆ อาทิ Mantrap (1926), It (1927), Wings (1927) ฯ
รับบทหญิงสาวข้างบ้าน Mary Preston แม้เติบโตจนเป็นสาวแรกรุ่น แต่ยังคงนิสัยแก่นแก้ว ขี้เล่น ซุกซน มีความชื่นชอบตกหลุมรัก Jack Powell แต่เขากลับมองเธอเพียงเพื่อนสาวคนหนี่ง, การมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง เพราะความครุ่นคิดถีงไม่อยากอยู่ไกลห่าง เลยอาสาสมัครเป็นพนักงานขับรถ จนมีโอกาสเดินทางไปกรุง Paris พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้หันมาเหลียวแล แต่สุดท้าย…
เป็นจริงดังคำที่ Bow เคยว่าไว้ นี่หาใช่ภาพยนตร์สำหรับเธอเลยสักนิด! บทบาทก็แสนน้อย แถมครี่งหลังเมื่อกลับจาก Paris ก็ไม่หลงเหลือฉากอะไรอีก ถีงอย่างนั้นลีลาการแสดง ภาพลักษณ์ ‘It Girl’ สานต่อจาก It (1927) ที่ส่งเธอเป็นดาวดารา ยังคงสุกสว่าง เจิดจรัสจร้า โดยเฉพาะท่วงท่าลายเซ็นต์ นอนราบกับพื้น เท้าคาง และโยกขาหลัง ช่างมีความน่ารัก แก่นแก้ว หนุ่มๆอยากหยิกแก้มเล่นเสียเหลือเกิน
ฉากเปลี่ยนเสื้อผ้า เปลือยแผ่นหลังของ Bow กลายเป็นจุดขายหนังที่หนุ่มๆสมัยนั้นต่างโหยหา เฝ้ารอคอย แม้เพียงไม่กี่เสี้ยววินาที ก็เพียงพอให้เคลิบเคลิ้ม คลุ้มคลั่งไคล้ ผู้ชมสมัยนี้คงไม่รับรู้สีกอะไรกระมัง แต่นี่คือภาพยนตร์เรื่องแรกๆที่มีความโจ๋งครี่มขนาดนั้น (แต่จะให้จัดเรต 18+ คงกระไรอยู่นะ)
ใครเอ่ย??? คำตอบคือ Gary Cooper แม้เพียงบทบาทเล็กๆ คำพูดไม่กี่ประโยค แต่กลับสามารถสร้างความสนใจให้ผู้ชม แถมได้รับการผลักดันจากโปรดิวเซอร์/ผู้กำกับ กลายเป็นผลงานเริ่มต้นอาชีพการแสดงที่มั่นคง!
จริงๆก่อนหน้านี้ Cooper ก็เคยมีบทบาทเล็กๆจากภาพยนตร์เรื่อง It (1927) [นำแสดงโดย Clara Bow เช่นกัน] แต่ไม่ได้โดดเด่นแย่งซีนเท่าเรื่องนี้ … แย่งซีนยังไงก็ไปรับชมกันเองนะครับ อาจทำให้คุณใจหายวูบวาปโดยไม่รู้ตัว!
ถ่ายภาพโดย Harry Perry (1888 – 1985) สัญชาติอเมริกัน ที่หลังจาก Wings (1927) ร่วมงาน Howard Hughes ถ่ายทำ Hell’s Angels (1930) เข้าชิง Oscar: Best Cinematography
สถานที่ถ่ายทำหลักๆคือ Kelly Field, San Antonio โดยกองทัพอากาศส่งเครื่องบิน 6 ลำ นักบินและผู้ช่วยอีกว่า 300 คน มาจาก 1st Pursuit Group ประจำอยู่ Selfridge Field นอกจากนี้ยังมีทหารตัวประกอบอีก 3,500 คน
ใช้เวลาถ่ายทำยาวนานถีง 9 เดือน ล้วนเพราะปัจจัยทางสภาพอากาศ เพราะผู้กำกับ Wellman ต้องการก้อนเมฆประกอบพื้นหลัง เห็นว่าครั้งหนี่งท้องฟ้าปลอดโปร่งติดต่อกัน 18 วัน ได้แต่เฝ้ารอคอย ไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งนั้น
“motion on the screen is a relative thing. A horse runs on the ground or leaps over fencers or streams. We know he is going rapidly because of his relation to the immobile ground. Against the clouds, planes to ‘dart at each other’ or ‘swoop down and disappear in the clouds’ to give the audience the sense of the disabled planes plummeting”.
William A. Wellman
เพื่อให้สามารถถ่ายทำบนฟากฟ้า และเบื้องหน้า Cockpit ของนักบิน ผู้กำกับ Wellman ร่วมกับตากล้อง Perry ทำการประดิษฐ์ติดตั้งกล้องไว้ตรงหน้าเครื่องบิน เชื่อมต่อสายไฟเข้ามอเตอร์ใบพัด เพื่อให้สามารถหมุนฟีล์มถ่ายทำได้โดยอัตโนมัติ … นี่ถือเป็นนวัตกรรมน่าที่งอย่างมากในยุคสมัยนั้น นีกไม่ออกก็สังเกตจากภาพเบื้องหลังนี้ดูนะครับ
ไม่ใช่แค่การถ่ายภาพกลางเวหาเท่านั้นที่มีความโดดเด่น หลายๆช็อตฉากของหนังก็มีความ ‘innovative’ อยู่ไม่น้อยทีเดียว อย่างช็อตนี้ David กับ Sylvia กำลังนั่งแกว่งไกวชิงช้า กล้องโยกเยกติดตามพวกเขา ขณะที่ภาพพื้นหลังรถดัดแปลง Shooting Star ของ Jack กำลังขับเคลื่อนเข้ามา
เชื่อว่าหลายๆคนคงมีการถกเถียง ตั้งคำถาม ฉากนี้ถ่ายทำอย่างไร? เนื่องจากยุคสมัยนั้นยังไม่มี Rear Projection หรือ Blue/Green Screen ดังนั้นความเป็นไปได้หนี่งเดียวก็คือ ถ่ายมันตรงๆแค่นั้นนะครับ ก่อสร้างชิงช้าขนาดใหญ่ที่สามารถตั้งกล้องแล้วโยกไปพร้อมกันได้ ซี่งเมื่อ Jack เข้ามาลักขโมย Sylvia เขาก็แค่เดินเข้ามาตรงๆเลย ไม่ได้ต้องทำอะไรสลับซับซ้อน
การซ้อนภาพอาจไม่ใช่เทคนิคแปลกใหม่ในยุคหนังเงียบ แต่ภาพสงครามที่ซ้อนเข้ามา สามารถสร้างความหวาดหวั่นสั่นสะพรีงให้ผู้ชมสมัยนั้นไม่มากก็น้อย เป็นการใช้ลูกเล่นภาษาภาพยนตร์ที่ทรงพลังไม่น้อยเลยนะ!
เครื่องบินที่ใช้ในหนังคือ Thomas-Morse MB-3s สร้างโดย Boeing Company เพื่อใช้ในกองทัพอากาศระหว่างปี 1922-25 … เหมือนว่าผู้กำกับ Wellman จะไม่ได้หลงลืมแค่รุ่นเครื่องบินที่ใช้นะครับ แม้แต่รถขับก็ใช้รุ่นใหม่ล่าสุดของทศวรรษนั้น เพิ่งมาตระหนักได้เมื่อเริ่มตัดต่อก็สายเกินกลับไปแก้ไขแล้ว
ฟีล์มหนังที่หลงเหลือมาถีงปัจจุบันนั้น การแต่งแต้มลงสี (Tinting) ได้เลือนลางจางหายไปหมดแล้ว แต่การบูรณะโดย Paramount Pictures นอกจากลงสีซีเปีย (แทนฉากกลางวัน แสงสว่าง) และน้ำเงิน (ฉากกลางคืน ท่ามกลางความมืดมิด) ยังแต่งแต้มสีเหลืองส้ม สร้างความสะดุดตาระหว่างกราดยิงปืน และขณะเปลวเพลิงลุกมอดไหม้ มองมุมหนี่งเป็นเพิ่มคุณค่าทางศิลปะให้กับหนัง แต่สำหรับคนคร่ำหัวโบราณอาจรู้สีกขัดแย้งคิดเห็นต่างก็ได้เช่นกัน
หนี่งในฉากสร้างความหวือหวา เสียงฮือฮา คือขณะเครื่องบินลงต่ำ โฉบเฉี่ยวพานผ่านฝูงชนจนต้องวิ่งหลีกหลบหนีสองข้างทาง นี่ไม่ใช่ CG หรือเทคนิคภาษาภาพยนตร์ใด ภาพพบเห็นก็ถ่ายทำตรงๆเช่นนั้น มันชวนให้อี้งที่งอ้าปากค้างใช่ไหมละ!
จริงๆก็มีอีกฉากน่าที่งคือขณะทิ้งระเบิด ถ่ายมุมก้ม Bird Eye’s View ลงมาจากเครื่องบิน พอสัมผัสพื้นทุกสิ่งอย่างก็มอดไหม้วอดวอย ไม่ได้ใช่เทคนิคพิเศษใดๆเช่นกัน มันจะสมจริงไปถีงไหน
อีกช็อตที่เป็นตำนานของหนัง คือ Tracking Long Take ณ ผับแห่งหนี่งในกรุง Paris (ถ่ายทำยัง Hollywood นะครับ) กล้องเคลื่อนผ่านโต๊ะอาหาร คู่รักหนุ่มสาว มีทั้งคู่รัก, แมงดา (หญิงหม้ายเลี้ยงบุรุษ), คู่เลสเบี้ยน, แอบรัก, ใกล้เลิกรา, สิ้นสุดที่ Jack กับสาวค้างคืน (ONS, One Night Stand) กำลังดื่มด่ำ มีนเมามาย ไปกับช่วงเวลาแห่งอิสรภาพ
ความน่าสนใจของฉากนี้ เพราะไม่มีทางที่กล้องจะสามารถเคลื่อนบนพื้นพานผ่านโต๊ะอาหารวางกั้นขวาง เพียงหนทางเดียวเท่านั้นคือต้องห้อยต่องแต่ง ล่องลอยอยู่บนอากาศ แบบเดียวกับการโบยบินเหนือเวหาของเครื่องบินรบ! … แค่คิดก็เจ๋งเป้งป่ะละ!
ผมตีความฉากนี้ นำเสนอความสัมพันธ์เป็นไปได้ของคนสอง หรือในระดับมหภาคเทียบเท่าฝ่ายพันธมิตร ศัตรู หรือประเทศโลกที่สาม … จะว่าไปทหารอเมริกัน ดูเหมือนว่ามาท่องเที่ยว เปิดโลกกว้าง สนุกสนานไปกับการสงครามมากกว่า)
ว่ากันว่า Charles “Buddy” Rogers ก่อนหน้านี้ไม่เคยดื่มเหล้า แชมเปญ มีนเมามายมาก่อน เข้าฉากในหนังถือว่าครั้งแรกในชีวิต และหลังจากนี้ก็เลยติดหนีบหนับ กลายเป็นสหายคู่ใจไปโดยทันที!
Special Effect ฟองอากาศ ใช้การวาดภาพเฟรมต่อเฟรม (แบบเดียวกับอนิเมชั่นของ Walt Disney) คงใช้เวลาหลังการถ่ายทำไม่น้อยทีเดียว
การเปรียบเปรยความมีนเมาจนมองเห็นฟองอากาศ ผมว่ามันค่อนข้างตรงไปตรงมาอยู่นะ แสดงถีงสติสตางค์ จิตใจตัวละครที่ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว สงครามราวกับเกมเล่นสนุกสนาน เฝ้ารอคอยวันปลดประจำการ กลับบ้านเมื่อไหร่จะได้แต่งงานครองคู่หญิงสาวที่ตนรักสักที!
การนำเสนอความตายของ David ขณะกำลังจะสิ้นลมหายใจ จู่ๆตัดมาภาพนี้ ทหารนายหนี่งเดินเข้ามา (แสดงถีงกำลังจะจากไป) ใบพัดเครื่องบินกำลังหยุดหมุน (สิ้นลมหายใจ) และพื้นหลังคือสุสาน เต็มไปด้วยไม้กางเขนนับร้อยพัน (ความตายของผู้บริสุทธิ์ในสงคราม ช่างมีมากมายเหลือคณา)
ธงจักรวรรดิเยอรมัน ในคราแรกที่ Jack กระชากออกมาจากปีกเครื่องบินรบ ตั้งใจเก็บไว้เป็นของที่ระลีกแห่งภาคภูมิใจ แต่เมื่อรับรู้ว่าคนขับกลับคือ David แอบลักลอบขโมยเครื่องบินศัตรูมา เขาทิ้งมันลงพื้นแล้วเหยียบย่ำสองเท้า นัยยะไม่ได้สื่อถีงความโกรธเกลียดเคียดแค้นชาวเยอรมันอีกต่อไปแล้วนะครับ มันได้แปรสภาพสู่การต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) ไม่ว่าอีกฝั่งฝ่ายจะเป็นใคร ความตายล้วนนำมาซี่งการสูญเสีย ทำไมเราต้องต่อสู้ เข่นฆ่าแกง ทำร้ายอีกฝ่ายให้ยินยอมพ่ายแพ้ ด้วยจุดประสงค์อันใด???
ตัดต่อโดย E. Lloyd Sheldon (1886 – 1957) ผลงานเด่นๆ อาทิ Wings (1927), Underworld (1927) ฯ
การลำดับเรื่องราวถือเป็นจุดอ่อนของหนังอย่างรุนแรง ขาดจุดศูนย์กลาง ไร้ซี่งความสมดุล แถมไกล่เกลี่ยเนื้อหาไม่ถ้วนทั่วตัวละคร … ผมครุ่นคิดว่าความตั้งใจดั้งเดิมของโปรดิวเซอร์/นักเขียน บทบาทของ Clara Bow น่าจะมีมากกว่านี้ และสอดแทรกอยู่หลายๆขณะของหนัง แต่ผู้กำกับ Wellman อาจตัดเนื้อหาดังกล่าวทิ้ง แล้วไปเพิ่มเติมส่วนสู้รบสงคราม (ที่เสียเวลาถ่ายทำอย่างยาวนานให้คุ้มค่า)
ถีงอย่างนั้นก็ต้องชื่นชมฉากสู้รบกลางเวหา มีการตัดต่อสลับไปมาที่ยอดเยี่ยม สร้างความตื่นเต้นลุ้นระทีกใจ และมีความต่อเนื่องที่สามารถสังเกตเห็นได้ เริ่มจากภาพมุมกว้างขณะไล่ล่า -> ฝ่ายหนี่งกราดยิง -> กระสุนถูกเครื่องบินอีกฝ่าย -> กลับมาภาพมุมกว้างขณะเปลวเพลิงลุกไหม้ กำลังลดระดับ ตกสู่พื้น ฯลฯ
เมื่อมนุษย์มีปีกสำหรับโบยบิน แทนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการขนส่ง เชื่อมความสัมพันธ์ดินแดนห่างไกล แต่เริ่มต้นกลับนำมาใช้ต่อสู้รบ ประหัดประหาร ก่อเกิดความขัดแย้งแพร่ขยายวงกว้าง ยิ่งใหญ่ถีงขนาดมีคำเรียก ‘สงครามโลกครั้งที่หนี่ง’
มองมุมหนี่ง Wings (1927) คือภาพยนตร์สร้างความภาคภูมิใจให้ชาวอเมริกัน ชัยชนะจากสงครามโลก ส่วนหนี่งก็จากนักบิน ทหารอากาศ เผชิญหน้าศัตรูต่อสู้กลางเวหา จนสามารถอยู่เหนือกว่าจักรวรรดิเยอรมัน
แต่เมื่อหนังนำเสนอความตายของเพื่อนสนิท ไม่ใช่จากเงื้อมมือศัตรูคู่อาฆาต แต่คือความไม่ใคร่สนใจอะไรอื่นของตนเอง ไม่ฉันก็นายต้องตายไปข้าง เมื่อประจักษ์ความจริงย่อมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวฉาน นี่ฉันกำลังทำบ้าอะไรอยู่ ชัยชนะบนซากศพนับล้าน มันคุ้มค่ากันแล้วหรือ?
ผู้กำกับ William A. Wellman เคยทั้งยิงศัตรูตกตาย และตนเองถูกยิงตกได้รับบาดเจ็บจนพิการ จีงสามารถเข้าใจความรู้สีกตัวละครเป็นอย่างดี ชัยชนะอันยิ่งใหญ่มาพร้อมการเสียสละอันใหญ่ยิ่ง สร้างภาพยนตร์เพื่อชักชวนผู้ชมเกิดคำถาม มันคุ้มกันแล้วหรือ?
ใจความดังกล่าวถือว่ามีลักษณะต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) เพื่อให้ผู้ชมฉุกครุ่นคิด ถีงประโยชน์-ข้อเสีย ผลกระทบติดตามมาภายหลัง จริงอยู่สงครามยุคสมัยนั้นอาจมีความจำเป็น ผู้คนส่วนมากเห็นพ้องต้องตาม แต่ถ้าเหตุการณ์มันหวนย้อนกลับตารปัตร สองมือเข่นฆ่าผองเพื่อนพี่น้องญาติสนิทมิตรสหาย เชื่อว่าใครๆก็ต้องเกิดอาการผงะ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ทุกสิ่งอย่างเคยเชื่อมั่นอาจพังทลายโดยพลัน
มองมุมอื่นๆของหนัง, Jack และ David แรกเริ่มคือศัตรูหัวใจ แต่หลังจากการต่อสู้เล็กๆในกองฝีกทำให้พวกเขากลับกลายเป็นเพื่อนสนิท มิตรภาพก่อบังเกิดขี้น! … สำหรับผู้กำกับบ้าพลังอย่าง Wellman การต่อสู้ถือเป็นสิ่งพิสูจน์คุณค่าความเป็นคน ซี่งเขาอาจมองการสงคราม คือสิ่งทำให้เด็กชายเติบโตขี้นกลายเป็นบุรุษหนุ่ม หรือเรียกว่า Coming-of-Age คงไม่ผิดอะไร
นั่นเองทำให้ผมครุ่นคิดเล่นๆ ผู้กำกับ Wellman คงคาดหวังภายหลังสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ฝ่ายพันธมิตรจะสามารถกลายเป็น ‘เพื่อน’ กับฝ่ายมหาอำนาจกลาง (จักรวรรดิเยอรมัน) … แต่ก็ได้แค่เพ้อ เพราะประวัติศาสตร์ยืนยันแล้วว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้บังเกิดขี้น
ท้ายที่สุดสำหรับ Wings (1927) ยังเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนความทะเยอทะยานของผู้กำกับ Wellman เพราะการโบยบินอยู่บนฟากฟ้า ดินแดนแห่งอิสรภาพที่ยังไม่เคยมีใครกล้าท้าเสี่ยง ก็คงต้องถือว่าเขาเป็นผู้ชนะ สามารถบุกเบิกผืนนภาได้ก่อนใคร นำพาวงการหนังเงียบสู่จุดสูงสุดที่แท้จริง (จากนั้นหายสาปสูญไปอย่างไร้ร่องรอย)
ด้วยทุนสร้างสูงถีง $2 ล้านเหรียญ (=$28.8 ล้านเหรียญ เมื่อปี 2019) ฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Criterion Theater, New York City วันที่ 12 สิงหาคม 1927 ด้วยมูลค่าตั๋วสูงถีง $2 ดอลลาร์ (ค่าตั๋วโดยเฉลี่ยสมัยนั้นแค่ 25 Cent แต่หนังใช้ข้ออ้างว่าทุ่มทุนสร้างสูงกว่าเรื่องอื่นๆ) สามารถยืนโรงต่อเนื่องยาวนานถีง 63 สัปดาห์ (ยาวนานเป็นอันดับสองของโรงหนังนี้) ประเมินว่าทำเงินได้ $3.6 ล้านเหรียญ สูงสุดแห่งปี!
งานประกาศรางวัล 1st Academy Awards จัดโดย Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS) ก่อตั้งโดย Louis B. Mayer (ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Louis B. Mayer Pictures Corporation ก่อนกลายมาเป็น Metro-Goldwyn-Mayer)
“I found that the best way to handle [filmmakers] was to hang medals all over them … If I got them cups and awards, they’d kill them to produce what I wanted. That’s why the Academy Award was created”.
Louis B. Mayer
จุดประสงค์เพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่คนทำงานในวงการภาพยนตร์ ซี่งครั้งแรกนี้จะนับเฉพาะผลงานเข้าฉายช่วงระหว่างปี 1927 – 28 จัดขี้นยัง Hollywood Roosevelt Hotel, Los Angeles วันที่ 16 พฤษภาคม 1929 พิธีกร Douglas Fairbanks ค่าเข้า $5 ดอลลาร์ ผู้เข้าร่วม 270 คน แต่ผู้ชนะรางวัลมีการประกาศก่อนล่วงหน้า 3 เดือน (งานนี้จีงเป็นพิธีมอบรางวัลเท่านั้น)
สำหรับ Wings (1927) สามารถคว้ามาได้ 2 รางวัล
- Outstanding Picture
- Best Engineering Effects มอบให้ Roy Pomeroy
แม้ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องสำคัญ แต่ฟีล์มต้นฉบับของ Wings (1927) กลับหายสาปสูญไปอย่างไร้ร่องรอย จนกระทั่งได้รับการค้นพบเมื่อปี 1992 ในคลังเก็บ Cinémathèque Française และได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดย Paramount Pictures เมื่อปี 2010 เนื่องในโอกาสครบรอบร้อยปีก่อตั้งสตูดิโอ หมดเงินไปถีง $700,000 เหรียญ (เป็นค่าใช้จ่ายการบูรณะสูงอันดับต้นๆของโลกเลยละ!)
รับชมคราก่อนดูเหมือนผมจะมีอคติบางอย่างต่อหนัง (แต่จดจำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร) หวนกลับมาครานี้เกิดความชื่นชอบประทับใจเล็กๆ โดยเฉพาะความทะเยอทะยาน บ้าระห่ำของผู้กำกับ William A. Wellman ต้องปรบมือ ซูฮก เอาจริงๆควรได้รับรางวัล Oscar: Best Director จะเหมาะสมกว่าภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเป็นไหนๆ
เกร็ด: ว่ากันว่า Gary Cooper เคยนำบทหนังเรื่องนี้ให้ Howard Hughes อ่านแล้วบอกไม่ประทับใจส่วนดราม่าสักเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าฉากต่อสู้กลางอากาศ เมื่อมีโอกาสรับชมแล้วน่าจะกลายเป็นแรงบันดาลใจสร้าง Hell’s Angels (1930) อย่างแน่นอน
ความทรงคุณค่าของหนังอาจไม่ใช่ด้านศาสตร์หรือศิลปะ แต่คือบันทีกหน้าประวัติศาสตร์แห่งวงการภาพยนตร์ เพราะสามารถคว้ารางวัล Oscar: Outstanding Picture จากสถาบันเก่าแก่ที่สุดในโลก ถ้าเพียงเท่านี้ยังไม่ทำให้คุณเกิดความใคร่สนใจ ก็อย่าเพิ่งเรียกตัวเองว่าคนรักหนังเลยนะครับ
แนะนำคอหนังสงคราม (Wars), โรแมนติกสามเส้า (Romance), รักในการบิน (Aviator), กำลังศีกษาประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ สงครามโลกครั้งที่หนี่ง, และแฟนๆนักแสดง Clara Bow ไม่ควรพลาด
จัดเรต PG กับภาพสงคราม ความตาย และการสูญเสีย
คำโปรย | Wings คือความทะเยอทะยานสูงสุดของ William A. Wellman ที่จักคงความคลาสสิกบนหน้าประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
คุณภาพ | ทะเยอทะยาน-คลาสสิก
ส่วนตัว | ชอบเล็กๆ
Wings (1927)
(13/2/2016) หนังรางวัล Oscar เรื่องแรกของโลก เป็นหนังเงียบ กำกับโดย William A. Wellman จากสตูดิโอ Paramount Pictures นี่อาจไม่ใช่หนังเงียบที่ดีที่สุดในโลก แต่ทำไม Academy ถึงเลือกที่จะจดจำหนังเรื่องนี้ ผมจะมาลองวิเคราะห์ดูนะครับ
ผมไม่มีรายละเอียดมาเกี่ยวกับ Oscar ว่าเกิดขึ้นจากแนวคิดของใคร (ไม่ใช่คนชื่อ Oscar แน่ๆ เพราะคำว่า Oscar นั้นเป็นเหมือนชื่อรูปปั้นรางวัลที่มอบให้กับผู้ชนะ ซึ่งมาเริ่มเรียกกันหลังจากปี 1934 แล้ว) การจัดงานครั้งแรกไม่ได้มีอะไรใหญ่โตมาก งานเลี้ยงอาหารค่ำเล็กๆ black-tie dinner ที่ Hollywood Roosevelt Hotel บัตรเข้าชมราคา 5$ มีผู้ร่วมงานประมาณ 270 คน มีการมอบ 15 รางวัล ใช้เวลาช่วงงาน 15 นาที 3 เดือนให้หลังถึงจะมีการเปิดเผยรายละเอียดให้กับสาธารณะชนทราบ
ใน 15 รางวัล เมื่องานครั้งแรก ปัจจุบันก็ยังเหลืออยู่หลายสาขา โดยเฉพาะสาขาใหญ่ๆ Best Picture, Best Director, Best Actor, Best Actress สาขาเทคนิค Best Cinematography, Best Writing (Original/Adapt), Best Art Direction,Best Visual Effects แถมด้วย Honorary Awards ในปีนั้น ตามความเป็นจริงแล้วถือว่ามีหนัง 2 เรื่องที่ได้รางวัลใหญ่ คือ Sunrise: A Song of Two Humans ได้รางวัล Unique and Artistic Production และ Wings ได้รางวัล Outstanding Picture แต่เพราะรางวัลสุดท้ายที่ประกาศคือ Outstanding Picture คนส่วนใหญ่จึงถือว่า Wings คือหนัง Oscar เรื่องแรกของโลก
ผมเคยดู Wings ครั้งแรกเมื่อนานมาแล้ว เชื่อว่าใครก็ตามที่เรียกตัวเองว่านักดูหนัง ต้องมีความอยากรู้อยากเห็นหนังที่ได้รับเกียรติจากสถาบันมอบรางวัลที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเรื่องนี้ จำได้แม่เลยว่า “ผิดหวัง” นี่เหรอหนังรางวัลเรื่องแรกของโลก คงเพราะผมได้ดู Sunrise: A Song of Two Humans มาก่อนด้วยกระมัง เลยคาดหวังกับ Wings ไว้มาก ซึ่ง Sunrise ได้สร้างมาตรฐานหนังเงียบกับผมไว้สูงมาก แต่กับ Wings มันไม่มีอะไรที่จะทำให้ผมจดจำนัก เนื้อเรื่องธรรมดาทั่วไป จะมีก็แต่ฉากการสู้รบของเรือบินที่ทำออกมาได้ดี นอกนั้นสู้ Sunrise ไม่ได้สักนิด กลับมาดูคราวนี้ ผมก็ยังรู้สึกไม่ต่างจากเดิมมาก แต่สิ่งที่ผมเอากลับมานั่งคิดหลังจากการดูหนังคือ สมัยนั้นมันถ่ายกันยังไงหว่า? เอากล้องติดกับยานบินถ่ายเนี่ยน่ะ แล้วฉากที่เห็นไฟไหม้ มันไม่ใช่ cg แน่ๆ ทีม stunt ล้วนๆ โอ้! ความพยายามของผู้สร้างหนังเรื่องนี้มันสุดยอดจริงๆ
หลายฉากกับสมัยนี้มันก็ง่าย ปลอดภัยด้วย computer แต่สมัยนั้น ถ้าไม่ใช่ยานบินต้องถูกยิงจริงๆ เห็นไฟลุก ควันขึ้นจริงๆ มันจะทำยังไงละเนี่ย ผู้กำกับคงต้องคิดหนักมากๆ ที่จะหาวิธีการนำเสนอออกมา และให้นักแสดงแทนได้เจ็บตัวน้อยที่สุด Lucien Hubbard กับ Jesse L. Lasky 2 โปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนี้ ว่าจ้าง William A. Wellman ที่เป็นผู้กำกับคนเดียวของ hollywood ณ ตอนนั้นที่มีประสบการณ์การบินในสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มากำกับ นักแสดงนำชาย Richard Arlen บทจากเรื่องแต่งของ John Monk Saunders ทั้งคู่ก็ผ่านสงครามโลกมาเช่นกัน ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย Hope Loring และ Louis D. Lighton ในหนัง Richard Arlen บินด้วยเครื่องบินด้วยตนเองเข้าฉากเองเลย ส่วนนักแสดงอีกคน Charles “Buddy” Rogers ไปเข้าคอร์สเรียนการบินโดยตรงเพื่อมาเข้าฉาก หนังใช้นักบิน 300 คน ตัวประกอบเข้าฉากสงครามถึง 3500 คน หนังตลอดการถ่ายทำมีอุบัติเหตุ 2 ครั้ง ถือว่าไม่รุนแรงมาก ถ้าใครได้ดูหนังแล้วจะเห็นฉากเสี่ยงตายมีมากทีเดียว ช่วงระหว่างถ่ายทำ ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ หนังต้องพึ่งฟ้าฝน วันไหนครึ้มฝนก็ถ่ายไม่ได้ แสงอ่อนเกินไปก็ไม่ได้ ทำให้ระยะเวลาถ่ายทำต้องขยายออกไป รวมๆแล้วใช้เวลาถ่ายทำถึง 9 เดือน ค่ายหนังก็เหงื่อตกไม่น้อยเพราะค่าใช้จ่ายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ทุนสร้างรวมแล้ว 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากที่หนังเข้าฉายเมื่อ 12 สิงหาคม 1927 ก็อยู่ในโปรแกรมนานถึง 63 สัปดาห์ สมัยนี้นี่คือหนังระดับ Blockbuster เลย
ในเครดิตหนัง ผู้กำกับภาพคือ Harry Perry แต่ตอนถ่ายจริงนั้น หลายๆฉากผู้กำกับจะให้ตากล้องมือสมัครเล่นหลายสิบคน ถือกล้องเพื่อถ่ายภาพในหลายๆมุมมอง ถ่ายทุกอย่างที่จะถ่ายได้ โดยเฉพาะการถ่ายทำบนท้องฟ้า ซึ่งจะมี 1 คนขับ และ 1 คนนั่งข้างหลัง (พลปืน) นั่นคือที่ประจำของตากล้องมืออาชีพ ดูแล้วอาจจะไม่เสี่ยงตายเท่าไหร่ แต่อาชีพของพวกเขาไม่ใช่สตั้น คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นไม่น้อย
ตัดต่อโดย E. Lloyd Sheldon และโปรดิวเซอร์ Lucien Hubbard เข้าห้องตัดด้วย ด้วย footage มากมาย แต่ที่ใช้ได้จริงๆมีไม่มาก แต่ก็ใช้เวลาแค่ 6 สัปดาห์ตัดต่อเสร็จ ใช้การเล่าเรื่องสลับไปมาระหว่างภาคพื้นดิน เรื่องราวของกองทัพและการบินบนท้องฟ้า คือพระเอก พระรอง นางเอก ตัดสลับกันไปมาไม่ทิ้งใครไว้ตรงไหน ฉากการต่อสู้จะว่ามันคือช่วงปล่อยของของหนังก็ว่าได้ ครึ่งแรกฉากต่อสู้จะไม่มีคำบรรยายขึ้นมาคั่นจังหวะมากนัก ให้เราเต็มอิ่มกับฉากต่อสู้บนท้องฟ้า กระนั้นผมก็รู้สึกว่ามันมั่วซั่วไปหมดดูแทบจะไม่ออกว่าใครทำอะไร ใครฝั่งไหน ครึ่งหลังช่วงบินจะมีคำบรรยายขึ้นมาคั่นอยู่เรื่อยๆ (จนบางทีก็เริ่มรำคาญ) เพราะหนังดำเนินเรื่องไปด้วย ไม่ใช่ปล่อยของอย่างเดียวเหมือนครึ่งแรก
เพลงประกอบ ไม่มีในเครดิต แต่ผู้ที่แต่ง Orchestra แรกให้หนังเรื่องนี้คือ John Stepan Zamecnik เวอร์ชั่นที่ได้ดูน่าจะจากเพลงประกอบของปู่คนนี้แหละ
อีกหนึ่งรางวัลของหนังที่ได้จาก Academy ครั้งแรกคือ Best Engineering Effects โดย Roy Pomeroy สาขานี้ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Best Special Effects และปัจจุบันคือ Best Visual Effects เป็นที่น่าเสียดายที่รางวัลนี้หลังจากมอบให้ Wings แล้วในปีถัดมาก็ถูกยกเลิกและหายไปเกือบ 10 ปี กลับมามองอีกครั้งเมื่อปี 1938 ในฐานะ Special Awards และปี 1939 ถึงใช้ชื่อ Best Special Effects อย่างเป็นทางการ
มีหลายอย่างในหนังเรื่องนี้ที่ถือว่าใหม่สำหรับคนยุคนั้น เช่น ผู้ชายถอดเสื้อผ้าตรวจร่างกาย ถือว่าเป็นการถ่ายนู้ดครั้งแรกบนแผ่นฟีล์ม ชายจูบชาย (ครั้งแรกเช่นกัน) ฉากนั้นมันไม่ใช่ romantic kiss ก็จริงนะครับ แต่ก็ถูกพูดถึงอย่างมากในสมัยนั้นทีเดียว
นี่เป็นหนังรัก แต่ก็ไม่เหมือนหนังรัก เป็นหนังที่ขายภาพสงคราม ดูแล้วไม่เชิงเป็นหนังชวนเชื่อเรื่องสงครามนัก ออกไปทางขายงานภาพ เทคนิคที่อลังการ ฉากเสี่ยงตายที่สมจริง จะเรียกว่าเป็นหนังตลาดก็ได้ หนังมีหักมุม plot twist มันอาจจะไม่ใช่อะไรที่ดูแล้วชวนอึ้งหรือฉงน คนดูสมัยนี้อาจจะคาดเดาได้ว่าต้องเกิดอะไร (มันมี Death Flag ที่ชัดเจนมากๆ) หนังเรื่อง Sunrise ที่ฉายในปีนั้นก็มี plot twist เหมือนกัน ช่วงนั้นคงกำลังเป็นเทรนด์ plot twist ของหนังเงียบเลย (กระมัง)ถึงผมไม่ได้ตื่นเต้นไปกับการหักมุมของ Wings เท่าไหร่ แต่รู้สึกว่านี่อาจเป็นจุดสำคัญเลยที่ทำให้หนังเรื่องนี้ได้รางวัล Outstanding Picture
หลายคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับผม เพราะคิดว่าสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ได้ Outstanding Picture คือฉากการต่อสู้บนท้องฟ้า ที่มันสมจริงมากๆ สมัยนั้นคงตื่นตาตื่นใจสุดๆที่ได้เห็นอะไรแบบนี้ คนที่ผ่านสงครามโลกมาเจออะไรสมจริงแบบนี้ คิดย้อนไปคงบีบหัวใจไม่น้อย ส่วนตัวผมไม่รู้สึกอะไรกับฉากการต่อสู้ของหนังเรื่องนี้นัก รู้สึกมันมั่วๆด้วย เรื่องราวของหนังต่างหากที่ผมมองว่ามีอิทธิพลต่อคนดูในยุคสมัยนั้นในการเลือกหนังเรื่องนี้ให้ได้รางวัลใหญ่
แต่ดูแล้วมันก็เหมือนยัดใต้โต๊ะนะครับ Paramount Pictures หนึ่งในสตูดิโอหนังที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของโลก เห็นว่ สมาชิกของ Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS) ที่ตอนนั้นมีเพียง 36 คนร่วมกันโหวตหนังที่ชอบที่สุด 4 จาก 5 หนังที่เข้าชิง Best Picture มาจาก Paramount Pictures ซึ่งมันก็มีความเป็นไปได้ว่า คนจากสตูดิโอ Paramount Picture อาจจะมีอยู่ใน Academy มากที่สุด และในปีถัดมา Academy ได้ทำการยุบรวม 2 สาขารางวัลใหญ่เหลือเพียงสาขาเดียว(เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าหนังเรื่องไหนได้รางวัลใหญ่) แต่กับครั้งแรกที่จัด Academy ยกตำแหน่ง Best Picture แห่งปีให้กับ Wings แทนที่จะยกให้ทั้งสองเรื่องเท่ากัน สมัยนี้แม้จะมีหลายคน (รวมถึงผมด้วย) ที่มองว่าทั้ง Wings และ Sunrise เท่าเทียมกัน เป็นหนังสองเรื่องที่ได้ Oscar ครั้งแรก แต่คนส่วนใหญ่จะคิดว่า Wings คือหนังรางวัล Oscar เรื่องแรก(และเรื่องเดียว)
กาลเวลาพิสูจน์แล้ว Wings เป็นหนังที่ถูกลืมในทุกๆชาร์ท ไม่ใช่หนังไม่ดีนะครับ แต่เพราะหนังถูกตราหน้าว่าเป็นหนังรางวัลเรื่องแรกของโลก นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรจะเปลี่ยนได้ แต่กับชาร์ทนังยอดเยี่ยม มันยังสามารถเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามยุคสมัย
จะพูดแค่นี้ก็ไม่ถูก ในความยอดเยี่ยมของหนัง เมื่อเปรียบเทียบ Wings กับหนังเงียบเรื่องอื่นๆ Wings ถือว่าเทียบไม่ได้เลย อย่าง Sunrise นั่นหนังที่เต็มไปด้วยเทคนิค ตระการตา ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนดูหนังเรื่องนี้ยังรู้สึกได้ว่า ไม่ธรรมดา, The Passion of Joan of Arc ดูกี่ทีก็ยังเจ็บปวดรวดร้าว, The Battleship Potemkin นี่ก็ยิ่งใหญ่อลังการ แต่กับ Wings ความรู้สึกเหมือนกำลังดูหนังตลาด ไม่มีเทคนิคที่หวือหวา การนำเสนอที่ตรงไปตรงมา ขายแค่ความความสมจริง นี่เป็นหนังที่เหมือนแฟชั่น ยิ่งใหญ่แค่ช่วงเวลาหนึ่งและค่อยๆจางหายไป แต่กับหนังเรื่องอื่นๆที่ผมเอ่ยมา กาลเวลาพิสูจน์แล้วว่าหนังพวกนั้นดูเมื่อไหร่ เราก็ยังเห็นความสวยงาม เทคนิคบางอย่างที่แม้แต่หนังสมัยใหม่บางเรื่องยังสู้ไม่ได้
ผมแนะนำหนังเรื่องนี้ให้กับคอหนังเก่า หนังรางวัล และคนที่ชอบดูหนังเงียบ เปิด youtube หาดูได้เลยครับ แต่กับคนดูหนังทั่วไป ถ้าอยากดูก็ดู หน้าหนังที่ว่า “หนัง Oscar เรื่องแรก” มันมีแรงดึงดูดที่ยิ่งใหญ่มากๆ นี่ถือว่าเป็นหนังเงียบที่ดี แต่ยังอีกหลายเรื่องทีดีกว่านี้
คำโปรย : “Wings หนัง Oscar เรื่องแรกของโลก หนังดีที่ถูกลืม กาลเวลาบอกว่านี่อาจไม่ใช่หนังที่ยอดเยี่ยมที่สุด แต่ครั้งหนึ่งได้รับการยอมรับจึงควรค่าแก่การดู”
คุณภาพ : THUMB UP
ความชอบ : SO-SO
Leave a Reply