The Lovely Month of May

The Lovely Month of May (1963) French : Chris Marker & Pierre Lhomme ♥♥♥♥

หลังจาก Algerian War (1954-62) สิ้นสุดลงวันที่ 19 มีนาคม พอย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิเดือนพฤษภาคม Chris Marker และตากล้อง Pierre Lhomme จึงแบกกล้อง ออกสัมภาษณ์ สอบถามความคิดเห็นชาว Parisian ถึงสรรพสิ่งต่างๆในชีวิต อิทธิพล ผลกระทบ ความเปลี่ยนแปลงภายหลังสิ้นสุดสงคราม

The greatest documentary about Paris.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร Trois Couleurs Magazine

Chris Marker is an artist. He has something to say about the ‘other France,’ the France we don’t see on the Champs-Elysees, and he says it simply and movingly.

นักวิจารณ์ Richard Roud จากนิตยสาร The Guardian

An expansive, multi-vocal enquiry into the complexity of contemporary France using the new methods of direct cinema.

Catherine Lupton ผู้เขียนหนังสือ Chris Marker: Memories of the Future (2004)

จุดเริ่มต้นจาก Chronique d’un été (1961) [แปลว่า Chronicle of a Summer] ที่ผู้กำกับ Jean Rouch และ Edgar Morin นำกล้องถ่ายภาพสัมภาษณ์ผู้คนบนท้องถนน และสามารถบันทึกเสียงพร้อมกันในตัว ถือเป็นการปฏิวัติวงการสารคดีครั้งสำคัญ เปิดประตูสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern Documentary)

เกร็ด: ก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน Primary (1960) ของ Robert Drew ก็สามารถถ่ายภาพ-บันทึกเสียงนอกสถานที่ แต่เรื่องนี้ไม่ใช่การเดินสัมภาษณ์ตามท้องถนน เกาะติดตาม JFK ระหว่างหาเสียงเลือกตั้งตัวแทนประธานาธิบดีขั้นต้น (Primary Election)

Le Joli Mai (1963) หรือ The Lovely Month of May นำเอาแนวคิด วิธีการของ Chronique d’un été (1961) มาสานต่อยอด ใช้กล้องถ่ายภาพสัมภาษณ์ผู้คนบนท้องถนน และบันทึกเสียงพร้อมๆกันในตัว สำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ อิทธิพลต่อการดำรงชีวิตภายหลังสิ้นสุดสงคราม Algerian War รวมๆแล้วฟุตเทจความยาวกว่า 45-55 ชั่วโมง ตัดต่อจนเหลือเพียงเกือบๆ 3 ชั่วโมง แบ่งออกเป็นสองตอน

  • Part I: A Prayer from the Eiffel Tower ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
  • Part II: The Return of Fantomas ความยาวที่เหลือ

แต่ทว่าผู้ชมยุคสมัยนั้น หลายคนมองว่า Le Joli Mai (1963) ทำการลอกเลียนแบบ Chronique d’un été (1961) เพราะใช้แนวคิด วิธีการเดียวกัน ไม่ได้พยายามรังสรรค์สร้างอะไรแปลกใหม่ … ผู้ชมสมัยนี้คงไม่ได้รู้สึกอะไรอย่างนั้น เพราะมันมีรายการ สารคดี คลิป Youtube มากมายที่ออกสัมภาษณ์ผู้คนตามท้องถนน จากคำว่าลอกเลียน เปลี่ยนเป็นต้นแบบ แม่พิมพ์ แรงบันดาลใจเสียมากกว่า!

ทีแรกผมตั้งใจจะเขียน Le Joli Mai (1963) ในช่วงระหว่างการแข่งขัน Paris 2024 Olympics เพราะชื่อภาษาอังกฤษ The Lovely Month of May และเต็มไปด้วยภาพเจ้าแมวเหมียว มันช่างมีความ ‘Lovely’ ยิ่งนัก! แต่ตอนนั้นคิวงานแน่นจัด เลยทำได้เพียงทอดถอนหายใจ


Chris Marker, ชื่อจริง Christian François Bouche-Villeneuve (1921-2012) ช่างภาพ ผู้กำกับสารคดี สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Neuilly-sur-Seine โตขึ้นเคยเข้าเรียนปรัชญา แต่การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเยอรมันเข้ายึดครองฝรั่งเศส เข้าร่วมกลุ่ม Maquis (FTP) ส่วนหนึ่งของ French Resistance, หลังสงครามเริ่มต้นจากเป็นนักข่าว (Journalism) นิตยสาร Esprit ถ่ายภาพ เขียนบทความ แต่งกวี เรื่องสั้น วิจารณ์ภาพยนตร์ ฯ และพอย้ายมานิตยสารท่องเที่ยว Petite Planète (แปลว่า Small World) จึงมีโอกาสเดินทางไป(ท่องเที่ยว)ทำงานประเทศต่างๆรอบโลก

ช่วงระหว่างทำงานเป็นนักข่าว Marker เริ่มมีความสนใจในสื่อภาพยนตร์ รับรู้จักกับ André Bazin รวมถึงบรรดาว่าที่สมาชิกกลุ่ม Left Bank อาทิ Alain Resnais, Agnès Varda, Henri Colpi, Armand Gatti, Marguerite Duras และ Jean Cayrol, ได้รับโอกาสถ่ายทำสารคดีเรื่องแรก Olympia 52 (1952), Statues also Die (1953), Sunday in Peking (1956), Letter from Siberia (1957) ฯ

ตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1961, ผกก. Marker ติดต่อหาตากล้อง Pierre Lhomme น่าจะจากคำแนะนำของตากล้องขาประจำ Ghislain Cloquet ที่คิวงานแน่นมาก ไม่สามารถหาเวลามาช่วยงาน เลยเสนอชื่อของ Lhomme ตอนนั้นยังเป็นแค่ผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) พอมีความเชี่ยวชาญกล้อง Hand-Held พร้อมทำงานทุกสภาพดินฟ้าอากาศ

At the very end of 1961, I got a telephone call from Chris Marker. We knew one another a little; I think it was primarily because I had worked a lot with Ghislain Cloquet, who himself had worked a lot with Chris. Chris must have asked Cloquet who he thought would be well-suited to work flexibly and with a handheld camera. It turns out that even though I was a head cameraman, I’d always really loved working more informally. We talked about how he wanted to make this film right away.

Pierre Lhomme

ความตั้งใจแรกของผกก. Marker คงต้องการเก็บบันทึกบรรยากาศกรุง Paris ในช่วงปี ค.ศ. 1962 (คล้ายๆแบบ Chronique d’un été (1961) ถ่ายทำตลอดฤดูร้อน ค.ศ. 1960) เพราะตอนนั้นยังบอกไม่ได้ว่าสงคราม Algerian War จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ แต่คาดการณ์ว่าน่าจะใกล้เข้ามาเต็มทน

It was part intuition, part bet. Yet we were in the midst of a period that was full of events; at that very moment the agreement that would give Algeria its independence was being finalized. Even if no one could know that the Évian Accords would be signed on March 18, we did know it was coming in the near future.

รัฐบาลฝรั่งเศสลงนามสนธิสัญญา Évian Accords วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1962 (ประกาศใช้วันถัดมา) ถือเป็นจุดสิ้นสุดสงคราม Algerian War (1954-62) และโดยไม่รู้ตัวยังคือครั้งแรกในรอบ 23 ปี นับตั้งแต่เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ. 1939 ที่ฝรั่งเศสไม่ได้มีส่วนร่วม ยุ่งเกี่ยวกับสงครามในสมรภูมิรบใดๆ

มันช่างเป็นช่วงเวลาพอเหมาะพอเจาะ ผกก. Marker เลยปรับเปลี่ยนแผนการ เมษายนตระเตรียมงานสร้าง แล้วลงถนน พูดคุยสัมภาษณ์ผู้คน ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 ตรงกับการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ (แห่งสันติภาพ)

That signing and the referendum validating the Accords in April allowed Chris to speak of a first springtime of peace. Until then, everything after the Second World War had been marked by decolonization conflicts. Also, the month of May is often rich with events, so clearly that month was not chosen at random.

ช่วงระหว่างตระเตรียมงานสร้างผกก. Marker และตากล้อง Lhomme ได้มีโอกาสรับชมรายการข่าวโทรทัศน์ Cinq Colonnes à la Une (1959-68) ฉายทางช่อง RTF (Radiodiffusion-Télévision Française) พบเห็นลีลาการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้พยายามสร้างเรื่องดราม่า หรือชี้นำผู้ให้สัมภาษณ์ (non-aggressive) นั่นกลายเป็นแรงบันดาลใจ พัฒนาแนวคิดชื่อว่า “Passionate Objectivity”

For us, it was a matter of avoiding the sort of psychodrama that the camera almost always triggers. We needed modesty, and a non-aggressive camera and microphone. Later, in a beautiful piece that appeared under the title Passionate Objectivity, Chris said: “We have forbidden ourselves to make decisions for people or laying out traps for them.” We were very suspicious of the picturesque and the sensational.

เกร็ด: ช่วงที่โปรเจคนี้เว้นวรรค (แทนที่จะถ่ายทำตลอดทั้งปี แล้วเหลือแค่เดือนพฤษภาคม) ผกก. Marker จึงใช้เวลาว่างดังกล่าวถ่ายทำโคตรหนังสั้น La Jetée (1962) เริ่มทีหลัง แต่นำออกฉายก่อน (นั่นเพราะ Le Joli Mai ต้องใช้เวลาเป็นปีๆในการตัดต่อ)


ในขณะที่กล้องถ่ายภาพได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ กล้องฟีล์ม 16mm สามารถถือด้วยมือ ถ่ายทำได้ทุกแห่งหน ทว่าอุปกรณ์บันทึกเสียงกลับยังมีขนาดใหญ่เทอะทะ เรื่องมาก วุ่นวาย

นวัตกรรมที่ Chronique d’un été (1961) ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมานั้น คืออุปกรณ์บันทึกเสียงขนาดเล็ก (Tape Recorder) เคลื่อนย้ายสะดวก กินไฟไม่มาก แม้มันอาจยังมีเสียงรบกวนค่อนข้างมาก ระยะเวลาบันทึกเสียงได้ไม่นาน และยังไม่สามารถ ‘synchronize’ ภาพและเสียงให้ตรงกัน (ไปทำเอาภายหลัง Post-Production) แต่ต้องถือว่าท้าทายขีดจำกัดเทคโนโลยี ช่วยบุกเบิกอุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์สมัยใหม่

(ภาพที่นำมานี้จากกองถ่าย Chronique d’un été (1961) หนึ่งคนถือกล้อง หนึ่งคนถืออุปกรณ์บันทึกเสียง และอีกคนถือแบตเตอรี่จ่ายไฟ)

ถ่ายภาพโดย Pierre Lhomme (1930-2019) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Boulogne-Billancourt โตขึ้นเข้าศึกษาภาพยนตร์ École nationale supérieure Louis-Lumière จบมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง ไต่เต้าจนได้รับเครดิตภาพยนตร์ Le Joli Mai (1962), Army of Shadows (1969), Four Nights of a Dreamer (1971), The Mother and the Whore (1973), Maurice (1987), Camille Claudel (1988), Cyrano de Bergerac (1990) ฯ

ขณะที่ฟุตเทจการลงถนน สัมภาษณ์ผู้คน ถ่ายทำด้วยกล้องขนาดเล็ก Coutant KMT (16mm) ง่ายต่อการ ‘improvised’ แต่ภาพถ่ายกรุง Paris และทิวทัศน์อื่นๆ (ที่ไม่ได้ต้อง ‘synchronize’ ภาพและเสียง) จะเปลี่ยนมาใช้กล้องขนาดใหญ่ Caméflex (35mm) เพราะมันสามารถวางแผน จัดเตรียมการถ่ายทำได้ง่ายกว่า

งานภาพของสารคดีเรื่องนี้ พยายามทำตัวไม่ให้โดดเด่น หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าตรงๆ มักหลบอยู่ข้างๆ ราวกับไม่มีตัวตน (เพื่อไม่ให้รบกวนสมาธิผู้ให้สัมภาษณ์) หลายครั้งก็ดูไม่ค่อยให้ความสนใจผู้ให้สัมภาษณ์สักเท่าไหร่ ค่อยๆขยับเคลื่อนไปถ่ายทิวทัศน์รอบข้าง เลื่อนลงมาถ่ายอากัปกิริยา ภาษามือ ท่าทางแสดงออก แต่ที่น่ารำคาญสุดคือเจ้าแมวเหมียว เข้ามาขโมยความสนใจ ทำให้ผู้ชมสูญเสียสมาธิในหัวข้อสนทนานั้นโดยพลัน … สนแต่เจ้าเหมียว คลายความเคร่งเครียดได้มากทีเดียว

แม้จะมีต้นแบบจาก Chronique d’un été (1961) แต่ทั้งผกก. Marker และตากล้อง Lhomme ต่างไม่เคยมีประสบการณ์บันทึกภาพและเสียงพร้อมกันมาก่อน มันจึงมีความพะว้าพะงัว ห่วงกังวลอยู่นั่นว่าภาพและเสียงออกมาจะไม่ตรงกัน

Although for Le Joli Mai, Antoine Bonfanti (the sound engineer) and I were connected to cables, a real tangle in the streets, on the sidewalks… At that time, the major discovery for a young cameraman like me concerned the importance of sound. I could no longer use my camera in the same way, so it wasn’t long before I asked Bonfanti for a headset to listen to what he was recording. Yet another cable… I realized that the cameraman had to be all ears, and the sound man all eyes.

Pierre Lhomme

กองถ่ายสารคดีเรื่องนี้มีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ประกอบด้วยผู้กำกับ Chris Marker, ผู้ช่วยผู้กำกับ Pierre Grunstein, ตากล้อง Pierre Lhomme, ผู้ช่วยตากล้อง Etienne Becker และวิศวกรเสียง Antoine Bonfanti

ช่วงระหว่างการตัดต่อผกก. Marker ค้นพบว่าลีลาถ่ายภาพของ Lhomme คือองค์ประกอบสำคัญของสารคดีเรื่องนี้ (เพราะเขาไม่เคยให้คำแนะนำใดๆ ทุกการขยับเคลื่อนไหวล้วนคือวิสัยทัศน์ของ Lhomme) ไม่พูดไม่บอกกล่าวกับใคร ใส่ชื่อในฐานะร่วมกำกับ อีกฝ่ายเพิ่งมารับรู้ตัวเอาตอนเห็นเครดิตฉายรอบปฐมทัศน์

That was the result of Chris’ integrity. After spending hundreds of hours on the dailies during editing, he came to the conclusion that the film was also the result of his cameraman’s work. He decided all alone to add me as co-director; it was not at all planned and it did not appear in the contract. When I came to see the first distribution print, at the Panthéon theater, I discovered on the screen that I had become co-director. You can imagine my emotion….I still feel it today. That affected my entire approach; after having worked with a man of that quality, you become more demanding of others.

หลังจากร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ (City Symphony) สถานที่สำคัญๆในกรุง Paris วินาทีกำลังจะขึ้นเครดิตมีการ Tilt Down แล้วถ่ายมุมก้ม 180 องศา (Bird Eye’s View แต่ผมชอบเรียก God Eye View สื่อความหมายตรงกว่า) พบเห็นผู้คนก้าวเดินขวักไขว่

แวบแรกผมนึกถึง The Umbrellas of Cherbourg (1964) ที่ก็เริ่มต้นด้วยทิวทัศน์เมือง Cherbourg แล้วทำการ Tilt Down มุมกล้อง God Eye View ก่อนฝนพรำลงมา ผู้คนกางร่มหลากหลายสีสัน … เพลงประกอบของ Michel Legrand ก็มีท่วงทำนองละม้ายคล้ายกันด้วยนะ

ทว่าเงายาวของผู้คนเดินไปเดินมา ทำให้ผมระลึกหนังอีกเรื่อง Last Year at Marienbad (1961) ซึ่งมีการพาดพิงถึงในบทสัมภาษณ์ด้วยละ

Marienbad, Oh, no…, A bit too…, I’m a simple guy. You have to figure it out, and I won’t rack my brains. Why fork out money to figure things out? Sitting racking my brains, isn’t worth it.

ชื่อทั้งสองตอน มาพร้อมภาพพื้นหลังสวยๆ และเคลือบแฝงนัยยะความหมายบางอย่าง

  • Prière Sur la Tour Eiffel แปลว่า A Prayer from the Eiffel Tower พบเห็นเงาหอไอเฟลทอดยาวลงบนสะพาน Pont d’Iéna ข้ามแม่น้ำ Seine
    • การสัมภาษณ์ในตอนแรก มักพูดคุยเกี่ยวกับชีวิต ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม (การเมืองมีแค่นิดๆหน่อย) ความคาดหวังต่ออนาคตสดใส
  • Le Retour de Fantômas แปลว่า The Return of Fantomas พื้นหลังคือสุสานฝังศพ
    • ประเด็นครึ่งหลัง มักนำเสนอภาพความขัดแย้ง ชุมนุมประท้วง เรียกร้องหยุดงาน คนผิวสีโดนดูถูกเหยียดหยาม ชาว Algerian ไม่ได้รับโอกาสเท่าเทียม และยังมีการสัมภาษณ์นักโทษในเรือนจำ … เหมารวมถึงด้านมืด (Fantômas) ของฝรั่งเศส

Algeria เพิ่งได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ สิ้นสุดสงครามเมื่อไม่กี่เดือนก่อน แต่จากบทสัมภาษณ์เจ้าของร้านขายสูท ชีวิตฉันได้รับอิสรภาพก็เมื่อตอนเลิกงาน เดินทางกลับบ้าน ขับรถบนท้องถนน เพราะวันๆแม้งต้องทำงานงกๆ กลับบ้านเผชิญหน้าภรรยาพร่ำบ่น นี่นะหรืออิสรภาพ? โลกสมัยใหม่ ใครๆต่างตกเป็นทาสระบอบทุนนิยม

การเริ่มต้นสารคดีด้วยบทสัมภาษณ์ชายคนนี้ ต้องชมเลยว่าโต้แย้งกับอิสรภาพของ Algeria ได้อย่างแสบกระสันต์ แม้สามารถปลดแอกจากฝรั่งเศส แต่ชีวิตจริงมนุษย์ยังคงตกเป็นทาสอีกหลายสิ่งอย่าง ไม่มีใครดิ้นหลบหนีพ้น

หลังจากฝรั่งเศสปลอดจากสงคราม อาณานิคมปลดแอก ก็ใช่ว่าปัญหาจะหมดจะสิ้น! เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น อพยพย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองหลวง ตัวเมืองจึงต้องขยับขยาย อพาร์ทเม้นท์แห่งใหม่ผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด นักธุรกิจสนเพียงเงินๆทองๆ ออกแบบไม่ได้มีความน่ามอง ผกก. Marker สนทนากับสถาปนิกพูดคุยถกเถียงเรื่องภูมิทัศน์ Paris กำลังสูญสิ้นมนต์เสน่ห์

ครอบครัวหนึ่งกำลังเตรียมอพยพออกจากบ้านสลัม ผกก. Marker ได้พูดคุยกับ Madame Langlois รับฟังเธอเล่าปฏิกิริยาสามีเมื่อได้รับแจ้งข่าว และสารคดียังมีโอกาสบันทึกภาพใบหน้าเด็กๆ เมื่อพบเห็นห้องนอน เตียงนอน ขณะย้ายเข้าอพาร์ทเม้นท์หลังใหม่

การย้ายเข้าอพาร์ทเม้นท์หลังใหม่ สามารถมองในเชิงเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส & Algeria หลังลงนามสนธิสัญญา Évian Accords ก็ต่างกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่

ผมไม่ได้มีความสนใจเรื่องตลาดหุ้นมากนัก แต่การสัมภาษณ์นักเล่นหุ้นหน้าตลาดหลักทรัพย์ อธิบายผลกระทบจากสงคราม/หลังสงคราม Algerian War บางทีมันก็ส่งผล บางทีก็ไม่ส่งผล เรื่องพรรค์นี้พูดยาก คาดเดาไม่ได้ อะไรล้วนบังเกิดขึ้นได้

นอกจากแมวเหมียว อีกสัตว์ประจำตัวของผกก. Marker คือนกฮูก สัตว์กลางคืนที่มีความสง่างาม ลุ่มลึก ชวนให้หลงใหล สร้างความอภิรมณ์เริงใจ (ตรงกันข้ามกับ Dove, นกพิราบ ขนสีขาวมันช่างอัปลักษณ์ สกปรก ดูชั่วร้าย)

ช่างซ่อมล้อรถ มีงานอดิเรกวาดภาพ รังสรรค์ศิลปะแนว Abstract Art, ผมไม่ได้สนใจรายละเอียดในตัวผลงานสักเท่าไหร่ เพียงความแตกต่างระหว่างช่างซ่อม vs. จิตรกร มันเป็นสองอาชีพที่ไม่น่าจะเข้ากันได้ แต่กลับสามารถผสมผสาน ทดลองสิ่งแปลกใหม่ กลายเป็นศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) นั่นคือวิถีโลกยุคสมัยใหม่ (Modern Art)

เมื่อตะกี้พูดถึงศิลปะร่วมสมัย โลกยุคสมัยใหม่ ซีเควนซ์ถัดมานำเสนออนาคตห่างไกล (การสำรวจอวกาศอาจถือเป็นเป้าหมายใหม่ของมนุษยชาติ แต่ทว่าฝรั่งเศสไม่ได้เฉียดใกล้ที่จะเป็นมหาอำนาจด้านนี้) ถ่ายภาพนิทรรศการจัดแสดงยานอวกาศ Friendship 7 ที่ John Glenn (1921-2016) นักบินอวกาศคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา และชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกสำเร็จ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962

ถัดจากนิทรรศการจัดแสดงยานอวกาศ ก็มาเป็นเรือดำน้ำชื่อว่า Destin(y) รับฟังคำบรรยายของ Mr. Rousseau ผู้รอดชีวิตหนึ่งเดียวจากอุบัติเหตุ เลยเปลี่ยนชื่อจาก Malakoff มาเป็นโชคชะตา โชคดีของเขา โชคร้ายของคนอื่น

ความตรงกันข้ามระหว่างยานอวกาศ vs. เรือดำน้ำ ยังรวมถึงอนาคตที่(ยัง)จับต้องไม่ได้ vs. อดีต(สงคราม)แห่งหายนะ, ภาพของเด็กชาย vs. ชายสูงวัย (ที่ให้สัมภาษณ์) … เป็นลีลาการนำเสนอที่เติมเต็มกันและกัน ราวกับบทกวี(ภาพยนตร์)

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยานอวกาศคืออนาคต, เรือดำน้ำคืออดีต, ปัจจุบันสัมภาษณ์วิศวกร/นักประดิษฐ์ Stabilizer รถยนต์ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร (อุปกรณ์ที่ทำให้รถขับเคลื่อนได้นิ่งขึ้น?) ซึ่งระหว่างการพูดคุย ตากล้อง Lhomme ได้เคลื่อนกล้องไปถ่ายภาพแมง/แมลงอะไรสักอย่างเกาะบนเสื้อสูท แล้วจู่ๆเขาก็พูดว่า “That still bugs me.” อะไรมันจะบังเอิญได้ขนาดนั้น!

ประมาณกึ่งกลางการสนทนา มีการแทรกภาพขับรถโชว์ความนิ่ง ถ่ายจากทั้งภายนอกและภายในตัวรถขณะเข้าโค้งได้อย่างราบเรียบ แทบไม่อาการส่ายๆสั่นๆของเครื่องยนต์ … นี่คือปัจจุบัน เทคโนโลยีเพิ่งพัฒนาสำเร็จ กำลังจะได้ใช้จริงในอีกไม่ช้า

Part I ของสารคดีสิ้นสุดลงที่การสัมภาษณ์คู่รัก (ริมแม่น้ำ Seine) แทรกคั่นด้วยภาพงานแต่งงาน ผมจับจ้องมองอยู่นานก่อนพบว่าไม่ใช่คู่เดียวกัน แต่มันก็สะท้อนเรื่องราวความรัก ชีวิตคู่ สอบถามถึงอนาคต ความคาดหวัง หนุ่ม-สาวต่างยังคงวาดฝัน “Happily Ever After”

เริ่มต้น Part II: The Return of Fantomas ด้วยภาพสุสานฝังศพ Newsreel เหตุการณ์สังหารหมู่ Charonne subway massacre วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962, พนักงานรถไฟประท้วงหยุดงาน 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1962, ผู้คนพร่ำบ่นเรื่องค่าครองชีพ ฯ … โลกความจริงมันช่างมืดหมองหม่น แตกต่างตรงกันข้ามกับความเพ้อฝัน

สนทนากับสองวิศวกร พยากรณ์การมาถึงของเครื่องจักรกลอัตโนมัติ จักนำพาโลกก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่! ผมเชื่อว่าผู้ชมในปัจจุบันย่อมตระหนักว่าคำกล่าวนี้ได้กลายเป็นจริง แต่สารพัดลูกเล่นที่ผกก. Marker แทรกใส่เข้ามาอย่างภาพเจ้าเหมียว รวมถึง Cameo บรรดาเพื่อนผู้กำกับ French New Wave เหมือนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วย ไม่ชอบพออนาคตลักษณะนี้สักเท่าไหร่

เกมทศกัณฐ์ คุณรู้จักบุคคลในภาพเหล่านี้มากน้อยเพียงใด? Jean Rouch, Edgar Morin, Jean-Luc Godard, Anna Karina, Jacques Rivette, Alain Resnais

That May, there happened to be a feline beauty competition. We asked a colleague to go and take cat shots. By this time, Chris already had a unique relationship with cats; for him, their gazes held wisdom and freedom. I knew it, and during the interviews, every time a cat came by, I filmed it. Although an enormous amount of work was needed to cut the film down to its current length, he never would have removed the cat shots.

Pierre Lhomme

แซว: หลังจากรับชมสารคดีเรื่องนี้ ผมขอยกให้ Chris Marker คือผู้กำกับทาสแมวอันดับหนึ่งแห่งวงการภาพยนตร์

The Lovely Month of May

นักศึกษาผิวสีจาก Dahomey (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อประเทศ Benin ตั้งอยู่ West Africa ห้อมล้อมรอบด้วย Togo, Nigeria, Burkina Faso และ Niger) ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็น Racism ของชาวฝรั่งเศส, ช่วงแรกๆยังมีการแทรกภาพคนเดินเที่ยวงานจัดแสดงเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้คนเดินไปเดินมาบนท้องถนน จนเมื่อเรื่องราวมีความเข้มข้น กล้องทำการ Tilt Down ถ่ายท่าทาง ภาษามือ กำหมัด แบออก บ่งบอกความรู้สึกอัดอั้นภายใน และพอเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์ เพียงถ่ายโคลสอัพใบหน้าตรงๆ เรียบง่าย แต่โคตรๆทรงพลัง (เป็น Long Take หลายนาทีเลยละ)

อดีตบาทหลวง ในตอนแรกมีความต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ เพราะคิดเห็นว่าอีกฝ่ายเป็นคนนอกรีต ไม่มีความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า แต่เมื่อต้องได้ทำงานในโรงงาน พบเห็นสภาพแวดล้อม ความทุกข์ยากลำบาก เพื่อนมนุษย์ถูกกดขี่ข่มเหง จึงเริ่มเข้าใจมุมมอง/ความรู้สึกอีกฝ่าย เลยต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง “Worker or Priest”

การตัดสินใจของบาทหลวง คือภาพสะท้อนความเสื่อมของศาสนาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดคอมมิวนิสต์ปลุกระดมชนชั้นแรงงานให้เกิดความตระหนักถึงความเสมอภาคเท่าเทียม ถ้าองค์กรศาสนาไม่ปรับตัวก็จักค่อยๆสูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธา

ร้อยเรียงภาพจากหนังสือการ์ตูน และการมาถึงของโทรทัศน์ กำลังฉายภาพยนตร์/ซีรีย์ไซไฟเกี่ยวกับยานอวกาศบุกโลก มองผิวเผินมันคือความบันเทิงของโลกยุคสมัยใหม่ แต่เรายังสามารถเปรียบเทียบถึง ‘Black Invasion’ การมาถึงของคนผิวสี ต่างด้าว ผู้อพยพชาว Algerian หลังสิ้นสุดสงคราม ความขัดแย้ง ปลดแอกอาณานิคม

ผมมองว่ามันเป็น ‘กรรมสนอง’ ของพวกประเทศมหาอำนาจ จักรวรรดินิยมสมัยก่อน ไปบุกรุกราน ยึดครองอาณานิคมมากมาย จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเหล่านั้นต่างลุกฮือขึ้นมา เรียกร้องสิทธิเสมอภาค ได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ แต่เพราะถูกสูบเลือดสูบเนื้อ นำเอาทรัพยากรธรรมชาติไปแทบหมดสิ้น เมื่อไม่หลงเหลืออะไร พวกเขาจึงอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังอดีตประเทศมหาอำนาจ เจ้าของจักรวรรดินิยม … ภายหลังการปลดแอกอาณานิคม คนผิวสี ชาว Algerian จำนวนไม่น้อยต่างอพยพสู่ฝรั่งเศสเพื่อชีวิตที่ดีกว่า มันจึงมีคำเรียก ‘Black Invasion’ คล้ายๆกับภาพวาดหนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์/ซีรีย์ไซไฟ เอเลี่ยนบุกโลก

ไคลน์แม็กซ์ของสารคดีเรื่องนี้คือการสัมภาษณ์คนงานชาว Algerian นั่งคุยกับผกก. Marker บนเนินเขาเล็กๆที่สามารถพบเห็นทิวทัศน์กรุง Paris สนทนาเกี่ยวกับชีวิต การทำงาน เล่าว่าเคยถูกกลั่นแกล้งโดยเพื่อนร่วมงาน (มีการฉายภาพย้อนรอย สถานที่ที่คาดว่าเคยบังเกิดเหตุดังกล่าว) แม้ว่า Algeria จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ ก็ใช่ว่าจะได้รับการยินยอมรับโดยทันที แต่ท้ายที่สุดเขายังมีความเชื่อมั่นว่าอนาคตสดใส

วันที่ 30 พฤษภาคมของทุกปี จะมีการจัดงานรำลึกวีรสตรี Jeanne d’Arc พบเห็นการเดินสวนสนาม ปธน. Charles de Gaulle เดินทางมาร่วมพิธีการ จับมือทักทายใครไปทั่ว ตรงกันข้ามกับ Ferdinand Lop คู่แข่งขันในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด … การฉายภาพผู้แพ้-ผู้ชนะ ก็เหมือนเหรียญสองด้านเติมเต็มกันและกัน สร้างสัมผัสบทกวี นำเสนอมุมมืด-สว่างของฝรั่งเศส

ตอนต้นเรื่องที่ทำการร้อยเรียงทิวทัศน์ (City Symphony) กรุง Paris ก็มีความน่าตื่นตาตื่นใจมากแล้ว, ช่วงท้ายของสารคดีฉายภาพ ‘Time Lapse’ เอาแค่ประตูชัย (Arc de Triomphe de l’Étoile) วินาทีไฟติดยิ่งทำให้ตกตะลึง อ้าปากค้าง (ฟุตเทจ 50+ กว่าชั่วโมง น่าจะหมดไปกับ ‘Time Lapse’ ไม่น้อยทีเดียว) เสียงบรรยายกล่าวถึงตัวเลข สถิติโน่นนี่นั่น เหมือนต้องการเก็บบันทึก ‘Fact’ (รูปธรรม) ที่ก็ไม่รู้จริง-เท็จมากน้อยเพียงใด

การสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายไม่เห็นหน้าผู้ให้สัมภาษณ์ คาดเดาว่าคงคือหนึ่งในนักโทษอาศัยอยู่เรือนจำหกเหลี่ยม (Hexagon) La Roquette Prisons ตั้งอยู่เขต 11th arrondissement of Paris บนถนน Rue de la Roquette เปิดบริการปี ค.ศ. 1830 ถูกสั่งปิดเมื่อปี ค.ศ. 1974 ปัจจุบันถูกทุบทำลาย กลายเป็นจัตุรัส Square de la Roquette

มันอาจฟังดูย้อนแย้ง แต่นี่คือบทสรุปใจความ Part II ที่ทุกสิ่งอย่างกลับตารปัตรตรงข้าม! แม้ว่า Algeria จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ แต่อนาคตฝรั่งเศสกลับมีสภาพไม่ต่างจากถูกคุมขัง อาศัยอยู่ในจำ นั่นเพราะวิถีโลกยุคสมัยใหม่จักพยายามควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้มนุษย์/ชาว Parisian ต้องก้มหัวศิโรราบ ไม่สามารถดิ้นหลบหนี ท้ายที่สุดก็เหมือนภาพสุดท้าย(ในซีเควนซ์นี้) พบเห็นนักโทษเหม่อมองออกมาภายนอก เพ้อใฝ่ฝันถึงอิสรภาพที่อาจไม่มีวันมาถึง

ซีเควนซ์สุดท้ายของสารคดี ทำการร้อยเรียงภาพ ‘ใบหน้า’ ของชาว Parisian ทั้งหนุ่ม-สาว ชาย-หญิง ผู้ใหญ่-สูงวัย (ไม่มีภาพเด็ก) แทบทุกคนล้วนใบหน้านิ่วคิ้วขมวด สีหน้าเคร่งเครียด จริงจัง หาได้มีรอยยิ้มเบิกบาน และโดยเฉพาะภาพสุดท้าย ชายผู้อมทุกข์ทรมาน

ใครเคยรับชม Description of a Struggle (1960) น่าจะเข้าใจนัยยะภาพสุดท้ายอัตลักษณ์ (National Identity) รูปโฉมของ Israel ภาพเหล่านี้ของชาว Parisian ย่อมคือตัวแทนฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1962

ตัดต่อโดย Eva Zora, Annie Meunier, Madeleine Lacompère

จากฟุตเทจถ่ายทำมากว่า 50+ ชั่วโมง (ปริมาณมากกว่า Chronique d’un été (1961) หลายเท่าตัว!) ฉบับตัดต่อแรกความยาว 7 ชั่วโมง เคยฉายครั้งหนึ่งให้โปรดิวเซอร์และผู้จัดจำหน่าย แต่ไม่มีใครเอาด้วยเพราะคงไม่มีใครอยากรับชมสารคดีความยาวขนาดนั้น เลยต้องตัดต่อใหม่ 165 นาที และฉบับบูรณะล่าสุดเหลือเพียง 145 นาที

เกร็ด: ผมไม่แน่ใจว่าฉบับตัดต่อแรก 7 ชั่วโมง ยังคงหลงเหลือถึงปัจจุบันไหม แต่ฟุตเทจ 50+ ชั่วโมงที่ไม่ได้ใช้ ถูกทำลายภายหลังสารคดีออกฉาย (เพราะมันต้องใช้พื้นที่จัดเก็บค่อนข้างมาก ปริมาณก็ไม่น้อย เลยเอาไปทำลายดีกว่า)

ตามสไตล์ผกก. Marker มักแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ (Episodic) ที่มีลีลานำเสนอแตกต่างออกไป แต่ทว่าสารคดีเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์เสียส่วนใหญ่ เลยเปลี่ยนจากเรื่องราวตอนๆ มาเป็นผู้สัมภาษณ์คนนั้นๆแทน และบางขณะก็ทำการร้อยเรียงชุดภาพพร้อมเสียงบรรยายของ (ฝรั่งเศส) Yves Montand, (อังกฤษ) Simone Signoret

  • Part I: A Prayer from the Eiffel Tower
    • Opening Credit พร้อมอารัมบทของผู้บรรยาย
    • สัมภาษณ์เจ้าของร้านขายสูท ณ rue des Patriarches
    • Catusse เจ้าของคาเฟ่ในย่านตลาด
    • สนทนากับสถาปนิกถกเถียงถึงสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ในฝรั่งเศส
    • สัมภาษณ์บรรดาแม่บ้านในสลัม และครอบครัวหนึ่งกำลังจะย้ายไปอยู่อพาร์ทเม้นท์แห่งใหม่
    • ความวุ่นๆวายๆภายนอก-ในตลาดหลักทรัพย์
    • Poets’ Fair พูดคุยกับช่างซ่อมล้อรถที่มีงานอดิเรกคือการวาดภาพ
    • การจัดแสดงยานอวกาศโคจรรอบโลกของ John Glenn ตามด้วยภาพเรือดำน้ำ Destiny
    • สัมภาษณ์นักประดิษฐ์ Stabilizer รถยนต์
    • สัมภาษณ์คู่รักชาย-หญิง และงานเลี้ยงแต่งงาน
  • Part II: The Return of Fantomas
    • ร้อยเรียงภาพการชุมนุมประท้วงต่อต้านการปลดแอก Algeria
    • บทสัมภาษณ์ผู้คนเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง
    • ความคิดเห็นของสามสาวตกงาน
    • เริงระบำในไนท์คลับ Garden-Club
    • ภาพการประท้วงหยุดงาน ถกเถียงเรื่องปัญหาแรงงาน
    • สองวิศวกรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิวัติเทคโนโลยีครั้งใหม่
    • นักศึกษาผิวสี เล่าถึงเหตุการณ์ Racism ที่ประสบพบเจอ
    • หญิงสาวผู้รักการแต่งตัวแมว
    • บาทหลวงต้องเลือกระหว่างศาสนากับคนงาน
    • ชายหนุ่มชาว Algerian เล่าถึงประสบการณ์ทำงานในฝรั่งเศส รวมถึงความคาดหวังต่ออนาคต
    • ปธน. Charles de Gaulle เดินทางมาร่วมงานครบรอบ Joan of Arc
    • เสียงบรรยายรำพันถึงกรุง Paris และบทสนทนากับคนคุก

การนั่งฟังผู้ให้สัมภาษณ์พูดคุยไปเรื่อยๆ คนที่เล่าเรื่องไม่เก่งมันจะค่อนข้างน่าเบื่อ ชวนหลับ ด้วยเหตุนี้จึงมักมีการเคลื่อนเลื่อนกล้อง แทรกภาพ Archive Footage เหตุการณ์โน่นนี่นั่น และโดยเฉพาะเจ้าแมวเหมียว คอยเบี่ยงเบนความสนใจ ซึ่งยังเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้สร้าง ต่อบทสัมภาษณ์ขณะนั้นๆได้อีกด้วย … บทสัมภาษณ์ที่แทรกภาพเจ้าเหมียวอยู่บ่อยๆ แสดงว่ามันอาจน่าเบื่อ ฟังไม่รู้เรื่อง เพ้อเจ้อสุดๆ


ในส่วนของเพลงประกอบ Thème joli mai นำจากบทเพลง Одинокая гармонь (1946) แปลว่า Lonely Accordion หรือ The Lonely Harmonica ประพันธ์โดย Boris Mokrousov (1909-68), คำร้องภาษารัสเซียโดย Mikhail Isakovsky, ด้วยความหวานแหวว โรแมนติก กลายเป็นบทเพลงฮิตถล่มทลายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับการเรียบเรียง ดัดแปลง ร้องใหม่นับครั้งไม่ถ้วน

The Lonely Harmonica ได้รับการแปลภาษาฝรั่งเศส Joli mai (Beautiful May หรือ Lovely May) โดย Catherine Varlin, เรียบเรียบทำนองใหม่โดย Michel Legrand, ขับร้องโดย Yves Montand

ฉบับบูรณะที่ผมได้รับชม ดังขึ้นช่วง Intermission (หน้าจอดำ) ระหว่าง Part I และ Part II

คำร้องฝรั่งเศสคำแปลฝรั่งเศส
Joli mai, c’était tous les jours fête
Il était né coiffé de muguet
Sur son cœur il portait la rosette
La légion du bonheur, joli mai
Sur son cœur il portait la rosette
La légion du bonheur, joli mai

On l’a gardé le temps de le croire
Il est parti pendant qu’on dormait
Emportant la clé de notre histoire
Joli mai ne reviendra jamais
Emportant la clé de notre histoire
Joli mai ne reviendra jamais

Joli mai, notre amour était brève
L’été vient qui mûrit le regret
Le soleil met du plomb dans les rêves
Sur la lune on affiche complet
Le soleil met du plomb dans les rêves
Sur la lune on affiche complet

Joli mai, tu as laissé tes songes
Dans Paris pour les enraciner
Ton foulard sur les yeux des mensonges
Et ton rouge dans la gorge de l’année
Ton foulard sur les yeux des mensonges
Et ton rouge dans la gorge de l’année
Lovely May, it was a party every day
It began wearing lily of the valley
on its heart it wore a rosette
the legion of happiness, lovely May
On its heart it wore a rosette
the legion of happiness, lovely May.

We kept it enough time to believe it,
it left while we were sleeping
taking with it the key to our story.
Lovely May will never return
taking the key to our story,
Lovely May will never return.

Lovely May, our affair was brief,
the summer comes, nurturing regret,
the sun puts lead into the dreams,
on the moon we post finished.
The sun puts lead into the dreams.
on the moon we post finished.

Lovely May, you have left your dreams
in Paris to let them take root
your scarf over the eyes of the lies
and your rouge in the year’s throat,
your scarf over the eyes of the lies
and your rouge in the year’s throat.

บทเพลงไม่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อสารคดีเรื่องนี้นัก เพราะส่วนใหญ่คือบทสัมภาษณ์ และผู้สร้างไม่ได้พยายามจะชี้นำอารมณ์อะไร นอกเสียจากช่วงอารัมบท-ปัจฉิมบท และระหว่างเปลี่ยนผ่านคนสัมภาษณ์ ร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ Parisian บทเพลงดังขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศกรุง Paris

แซว: จะว่าไปมันช่างเป็นเรื่องตลกที่ต้นฉบับ The Lonely Harmonica ประพันธ์โดยคีตกวีชาวรัสเซีย กลับมีกลิ่นอาย ความเป็น Paris ซะงั้น!

น่าจะเฉพาะฉบับบูรณะ มีข้อความอธิบายช่วงท้ายว่าสารคดีเรื่องนี้ไม่มี Closing Credit มันอาจสูญหาย หรือไม่ได้ทำเอาไว้ แต่ทว่า Legrand เรียบเรียงบทเพลง Thème joli mai บรรเลงเปียโน เข้าห้องอัด บันทึกเสียง … ตอนผมได้ยินต้นฉบับ Harmonica ยังไม่เอะอะไรเท่าไหร่ แต่เสียงเปียโนเพลงนี้ชวนให้ผมระลึกถึง The Umbrellas of Cherbourg (1964) ขึ้นมาโดยพลัน!

สงครามโลกครั้งที่สอง แม้สิ้นสุดลงตั้งแต่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 แต่ทว่า(จักรวรรดิ)ฝรั่งเศสยังต้องเผชิญหน้ากับบรรดาประเทศอาณานิคม ลุกฮือกันขึ้นมาสำแดงอารยะขัดขืน ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ ความเสมอภาค เรียกร้องหาเอกราช สงครามสุดท้าย Algerian War (1954-62) สิ้นสุดลงวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1962

รวมระยะเวลากว่า 23 ปีที่ฝรั่งเศสไม่เคยขาดสงคราม จุดสิ้นสุดมันจึงเป็นการเริ่มต้นใหม่ พอดิบพอดีตรงกันช่วงการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ เดือนพฤษภาคม แม้อะไรๆยังอาจเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก แต่นี่คือช่วงเวลาที่ผกก. Marker เชื่อมั่นว่าควรเก็บบันทึกภาพ มอบโอกาสให้กรุง Paris ได้พูดแสดงความคิดเห็น วาดฝันอนาคตสดใส … หรือมืดหมองหม่น

What will we fish out from our own years? Maybe something completely different than what we see as being most forward thinking now, this film Le Joli Mai would like to offer itself up as a petri dish for the future’s fishers of the past. It will be up to them to sort out what truly made its mark and what was merely flotsam.

Chris Marker

Part I: A Prayer from the Eiffel Tower ร้อยเรียงภาพปัจจุบัน และวาดฝัน(อธิษฐานถึง)อนาคตของกรุง Paris ที่แม้สงครามยุติ Algeria ได้รับการปลดแอก แต่ใช่ว่าปัญหาทั้งหมดทั้งมวลจะสิ้นสุดลง แค่มันคือโอกาสสำหรับเริ่มต้น ก้าวเข้าสู่โลกยุคสมัยใหม่

Part II: The Return of Fantomas นำเสนอมุมมืดของฝรั่งเศส สิ่งชั่วร้ายเคยหลับใหล เมื่อสงครามสิ้นสุดมันจึงฟื้นตื่น สำแดงอารยะขัดขืน ไม่ยินยอมรับความเปลี่ยนแปลงบังเกิดขึ้น พร้อมใช้ความรุนแรงโต้ตอบเอาคืน กลายเป็นความขัดแย้งภายใน ปัญหาสังคมไม่รู้จักจบจักสิ้น

ผมคงไม่ลงรายละเอียดว่าฝรั่งเศสหลังสิ้นสุดสงคราม(จริงๆ) มีอะไรปรับเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่อยากให้ข้อสังเกตว่าผลงานยุคแรกๆของผกก. Marker มักเกี่ยวกับการถือกำเนิด เริ่มต้นใหม่ เดินทางไปสำรวจ ถ่ายทำยังประเทศต่างๆ สถานที่ที่ไม่เคยมีใครพบเห็น จนกระทั่ง La Jetée (1962) และ Le Joli Mai (1963) [สร้างขึ้นพร้อมๆกัน] ถือเป็นการหวนกลับหารากเหง้า บ้านเกิด ฝรั่งเศส เก็บบันทึกช่วงเวลา ‘The Lovely Month of May’ ฝังไว้ในไทม์แคปซูล ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นเชยชม


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes ในสาย International Critics’ Week เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ค่อนข้างดี (มีตำหนิบ้างว่าลอกเลียนแบบ Chronique d’un été (1961)) จนสามารถคว้ารางวัล FIPRESCI Prize … และหลังสารคดีผ่านการบูรณะ ยังได้เข้าฉาย Cannes Classics เมื่อปี ค.ศ. 2013

นอกจากนี้ยังได้เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice แม้อยู่นอกสายการประกวด (Out of Competition) กลับสามารถคว้ารางวัล Best First Work ทั้งๆหาใช่หนัง/สารคดีเรื่องแรกของผกก. Marker เสียด้วยซ้ำ!

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ คุณภาพ 2K ได้รับทุนสนับสนุนโดยสถาบัน CNC (Centre national du cinéma et de l’image animée) ผ่านการตรวจอนุมัติโดยตากล้อง Pierre Lhomme และทำการตัดฟุจเทจออกไปประมาณ 20-30 นาทีตามคำร้องขอของผกก. Marker เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2013 แต่ก็สามารถหารับชมฉบับเต็มจาก DVD ของค่าย Icarus Films

We also needed to establish a ‘final cut’ which to tell the truth does not exist. The film was released in a rush, in order to comply with the dates scheduled with operators. As soon as it came out, Chris began making cuts. In the version that is distributed today, I have made, per his wishes, some cuts that we had talked about and that he didn’t have time to make himself. Besides, The Service des Archives du Film have a restored copy that is the same as the film that was released in 1963, the ‘long version,’ geared towards historians, researchers, and the curious.

Pierre Lhomme

ผมชอบนั่งดูคลิปสัมภาษณ์ใน Youtube เป็นชั่วโมงๆก็ทนได้สบายๆ นั่นเพราะเราสามารถเลือกหัวข้อที่อยู่ในความสนใจ แต่กับสารคดีเรื่องนี้มันไม่ใช่ทุกเรื่อง ทุกสิ่งอย่างที่อยากรับฟัง (สิ่งเบี่ยงเบนความสนใจก็เยอะด้วย) มันจึงต้องใช้สมาธิ ใจจดใจจ่อ หน้าดำคร่ำเครียด บางครั้งก็นั่งสัปหงก … แต่ก็มีบางคนเล่าเรื่องเก่ง ดึงดูดความสนใจได้โดยพลัน

แต่สิ่งน่าสนใจมากๆของสารคดีเรื่องนี้คือลูกเล่นที่ผกก. Marker ชอบแทรกใส่เข้ามาเรื่อยๆ สำหรับแก้ง่วง โดยเฉพาะภาพเจ้าแมวเหมียว น่ารักน่าชัง ช่วยสร้างสีสัน ผ่อนคลายความตึงเครียด เฝ้ารอคอยว่าเมื่อไหร่จะพบเห็นพวกมันอีก

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย แต่เด็กๆคงฟังบทสัมภาษณ์ไม่รู้เรื่อง

คำโปรย | The Lovely Month of May ร้องเรียงบทสัมภาษณ์เดือนพฤษภาคม เครียดบ้าง ผ่อนคลายบ้าง แต่เจ้าเหมียวช่างน่ารักน่าชัง
คุณภาพ | น่รัน่ชั
ส่วนตัว | เหมียว เหมียว

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: