The Lovers on the Bridge
The Lovers on the Bridge

The Lovers on the Bridge (1991) French : Leos Carax ♥♥♥♥

เรื่องราวของไอ้หนุ่มเร่ร่อนขี้ยา Denis Lavant กับจิตรกรสาวตาใกล้บอด Juliette Binoche พบเจอ-ตกหลุมรักกันบนสะพาน Pont-Neuf (ข้ามแม่น้ำ Seine) ที่กำลังปิดซ่อมแซม, มันช่างมีความดิบ บ้าระห่ำ ทะเยอทะยาน ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง!

The Lovers on the Bridge is one of the most splendidly reckless films ever made.

นักวิจารณ์ Stuart Klawans จากนิตยสาร The Nation

Les Amants du Pont Neuf, written and directed by Leos Carax, must be one of the most extravagant and delirious follies perpetrated on French soil since Marie-Antoinette played the milkmaid at the Petit Trianon. Never has so much money been spent so heedlessly at the whim of so few.

นักวิจารณ์ Vincent Canby จากนิตยสาร The New York Times

a film both glorious and goofy, inspiring affection and exasperation in nearly equal measure… I felt a certain affection for The Lovers on the Bridge. It is not the masterpiece its defenders claim, nor is it the completely self-indulgent folly described by its critics. It has grand gestures and touching moments of truth, perched precariously on a foundation of horsefeathers.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 3/4

เกร็ด: Pont-Neuf แปลว่า New Bridge แต่แท้จริงแล้วคือสะพานข้ามแม่น้ำ Seine เก่าแก่ที่สุดในกรุง Paris เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1607 พานผ่านหลายยุคหลายสมัย ปิดทำการบูรณะครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ซ่อมแซมมาเรื่อยๆเพื่อให้ทันเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปี ค.ศ. 2007

ในตอนแรกผกก. Carax ต้องการสร้างหนังง่ายๆ ถ่ายด้วยฟีล์มขาว-ดำ กล้อง Super 8 ขออนุญาตใช้สถานที่บนสะพาน Pont Neuf ประเมินทุนสร้างเบื้องต้น 32 ล้านฟรังก์ ถือว่าไม่มาก-ไม่น้อย มาตรฐานหนังฝรั่งเศสสมัยนั้น, แต่ความซวยบังเกิดขึ้นเมื่อนักแสดงนำ Denis Lavant ได้รับบาดเจ็บระหว่างการซักซ้อม (บางแหล่งข่าวบอกขาหัก อีกแห่งบอกแขนหัก) ทำให้ไม่สามารถถ่ายทำตามกำหนดวางไว้ และสะพานจำเป็นต้องปิดบูรณะเลื่อนไม่ได้ ผู้สร้างจึงตัดสินใจหาเงินเพิ่มสำหรับสร้างสะพานขนาดเท่าของจริง งบประมาณจึงค่อยๆพุ่งทะยานสู่ 80 ล้าน, 100 ล้าน, บางแหล่งข่าวว่าถึง 200 ล้านฟรังก์ กลายเป็นภาพยนตร์(ฝรั่งเศส)ทุนสร้างสูงสุดตลอดการขณะนั้น!

The Lovers on the Bridge (1991) อาจเป็นภาพยนตร์ห่างไกลความสมบูรณ์แบบ แต่มันมีแรงดึงดูดบางอย่าง ถ้าไม่ตกหลุมรัก ลุ่มหลงใหล ก็รังเกียจขยะแขยงโดยสิ้นเชิง! อาจเพราะผู้ชมสามารถสัมผัสถึงความดิบ (Rawness) บ้าระห่ำ (Reckless) ทะเยอทะยาน (Ambition) ยิ่งใหญ่อลังการ (Epic) ซึ่งสิ่งที่ผกก. Carax พยายามนำเสนอคือสัญชาติญาณแห่งรัก Denis Lavant ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อครอบครองเป็นเจ้าของ Juliette Binoche ให้เยิ่นยาวนานที่สุด!


Leos Carax ชื่อจริง Alex Christophe Dupont (เกิดปี ค.ศ. 1960) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Suresnes, Hauts-de-Seine เป็นบุตรของ Joan Osserman นักวิจารณ์ภาพยนตร์ นิตยสาร International Herald Tribune จึงไม่แปลกที่จะชื่นชอบดูหนังตั้งแต่เด็ก หลงใหลคลั่งไคล้หนังเงียบของ D.W. Griffith, Lilian Gish, King Vidor ฯ หลังจบมัธยม (หรือลาออกกลางคันก็ไม่รู้) แอบเข้าห้องเรียนคอร์สภาพยนตร์ Université Sorbonne Nouvelle นั่งเคียงข้าง Serge Daney และ Serge Toubiana (ขณะนั้นเป็นบรรณาธิการ Cahiers du Cinéma) เลยมีโอกาสเขียนบทความลงนิตยสาร Cahiers du Cinéma ไม่รู้เพราะเนื้อหาสุดโต่งไปหรือไร เลยอยู่ได้ไม่นาน, ต่อมาทำงานในบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์แห่งหนึ่ง เก็บหอมรอมริดนำเงินมาซื้อกล้อง Bolex 16mm ถ่ายทำหนังสั้นเรื่องแรก La Fille Rêvée แต่เกิดอุบัติเหตุไฟสป็อตไลท์ลุกไหม้ เผาทำลายฟีล์มหมดสิ้น! เลยเปลี่ยนมาสร้างหนังสั้นเรื่องใหม่ Strangulation Blues (1980) เข้าฉาย Hyères International Young Cinema Festival คว้ารางวัล Grand Prize for Short Film สร้างความประทับใจให้โปรดิวเซอร์ Alain Dahan พร้อมสนับสนุนโปรเจคภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Boy Meets Girl (1984)

ในขณะที่ Mauvais Sang (1986) ได้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ดีล้นหลาม แต่เหมือนว่าผกก. Carax จะไม่ค่อยพึงพอใจตนเองสักเท่าไหร่ รู้สึกว่าตนเองควบคุมโน่นนี่นั่นมากจนเกินไป

I wasn’t very happy with myself regarding the relationship between the reality of things and the film as I presented it. On my first two films, it’s perhaps a sign of youth, I had a tendency to want to control everything too much. I didn’t tear things away from reality, I recomposed them. There was something that reassured me in this recomposition. I liked controlling the light, the frame, the choreography of the actors, the writing, the dialogues… But it makes for somewhat claustrophobic films.

Leos Carax

ความตั้งใจในการสรรค์สร้าง Les Amants du Pont-Neuf คือต้องการสร้างใหม่ หนังพล็อตเดิม กับนักแสดงและทีมงานชุดเดิม แต่เริ่มปลดปล่อยตนเอง ลดการควบคุม ลดบทสนทนา ใช้ภาษากายสื่อสารมากขึ้น

For Les Amants du Pont-Neuf, I wanted to remake a film with these same actors, but much more open, more open to risk, more physical, where the flesh is alive, where there is sweat, but less talkative. It’s true, in any case, that we bounce from one film to another. A film is often born from the disgust we feel at the end of the previous shoot. This was particularly the case here.

ช่วงระหว่างถ่ายทำ Mauvais Sang (1986) มีฉากหนึ่งถ่ายทำบนสะพาน เลยค้นพบว่า Pont-Neuf กำลังจะปิดปรับปรุง เตรียมทำการบูรณะ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984) จึงครุ่นคิดสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่โดยใช้สะพานแห่งนี้คือจุดศูนย์กลาง วางแผนเป็นโปรเจคง่ายๆ ถ่ายทำสถานที่จริง ติดต่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง ในตอนแรกขอเวลาสามเดือน ได้มาเพียงเดือนเดียว ไม่เป็นไรก็น่าจะเพียงพออยู่ จนกระทั่ง …

ในตอนแรกผกก. Carax ครุ่นคิดชื่อหนัง Vingt ans et des poussières (แปลว่า Twenty Years and Dust) ไม่ก็ L’Amour de la fille et du garçon (แปลว่า The Love of the Girl and the Boy) แต่สุดท้ายเห็นว่าเป็นการตัดสินใจของโปรดิวเซอร์เลือก Les Amants du Pont-Neuf แปลตรงตัวคือ The Lovers of the Pont-Neuf หรือ The Lovers on the New Bridge แต่ฉบับภาษาอังกฤษถูกย่นย่อเหลือ The Lovers on the Bridge เพราะครุ่นคิดว่าถ้าไม่ใช่ชาวฝรั่งเศส คงไม่มีใครรับรู้จักสะพาน Pont-Neuf

เกร็ด: การที่สามผลงานแรก Boy Meets Girl (1984), Mauvais Sang (1986) และ The Lovers on the Bridge (1991) ของผกก. Carax ตั้งชื่อตัวละคร Alex นำแสดงโดย Denis Lavant เลยมักถูกเหมารวมไตรภาค ‘Alex Trilogy’


เรื่องราวของ Alex (รับบท Denis Lavant) นักแสดงพ่นไฟ ติดเหล้า เมายา อาศัยหลับนอนอยู่บนสะพาน Pont-Neuf ที่กำลังปิดซ่อมแซมบูรณะ วันหนึ่งพบเจอกับ Michèle (รับบทโดย Juliette Binoche) จิตรกรสาวที่สายตากำลังพร่าบอด หลังเลิกราแฟนหนุ่ม หนีออกจากบ้าน แย่งสถานที่หลับนอนของเขา

Alex เหมือนจะตกหลุมรัก Michèle จึงแอบติดตาม (Stalker) ไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งเธอก็รับรู้ตัว(ว่าถูกติดตาม)จึงพยายามหาหนทางหลบหนี จนเมื่อพบเห็นเขาทำการแสดงพ่นไฟ จึงเริ่มเปิดใจ ให้การยินยอมรับ อนุญาตให้ใช้สถานที่หลับนอน ดื่มด่ำเมามาย เริงระบำท่ามกลางการเฉลิมฉลองครบรอบสองร้อยปี French Revolution (1789-99)

วันหนึ่ง Alex พบเห็นใบปิดคนหาย ครอบครัวพยายามติดตามหา Michèle ค้นพบหนทางรักษาโรคดวงตา เขาจึงพยายามทำทุกสิ่งอย่าง เพื่อไม่ต้องการให้รับรู้ กลัวจะสูญเสียเธอไป แต่ท้ายที่สุดต่างฝ่ายต่างต้องแยกย้ายตามหนทางของตนเอง


Denis Lavant (เกิดปี ค.ศ. 1961) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Neuilly-sur-Seine, Hauts-de-Seine เมื่อตอนอายุ 13 บังเกิดความหลงใหล Marcel Marceau เข้าคอร์สฝึกฝนละครใบ้ โตขึ้นเข้าเรียนการแสดง Paris Conservatoire กับอาจารย์ Jacques Lassalle ได้ทำงานละครเวที โทรทัศน์ บทสมทบเล็กๆภาพยนตร์ Les Misérables (1982), แล้วแจ้งเกิดกับ Boy Meets Girl (1984), ผลงานเด่นๆ อาทิ Mauvais Sang (1986), Les Amants du Pont-Neuf (1991), Beau travail (1999), Holy Motors (2012) ฯ

รับบท Alex นักพ่นไฟ ทำการแสดงตามท้อนถนน ใช้ชีวิตอย่างร่อนเร่ เตร็ดเตร่ ติดเหล้า เมายา อาศัยหลับนอนอยู่บนสะพาน Pont-Neuf วันหนึ่งพบเจอตกหลุมรัก Michèle ไม่รู้จะทำอะไรยังไง จึงแอบติดตาม ให้ความช่วยเหลือห่างๆ จนเธอเริ่มเปิดใจ เสี้ยมสอนให้รู้จักความรัก จึงพยายามปกปักษ์รักษา พร้อมทำทุกสิ่งอย่างไม่ให้สูญเสียเธอไป

ผกก. Carax กล่าวถึงการร่วมงานกับ Lavant เมื่อตอน Boy Meets Girl (1984) ยังไม่รับรู้จักดีนักเลยใช้งานไม่ค่อยคุ้ม, Mauvais Sang (1986) เริ่มนำเอาศักยภาพทางร่างกายออกมาสำแดงให้เห็น, Les Amants du Pont-Neuf (1991) ตลอดทั้งเรื่องแทบไม่มีบทพูด ทุกสิ่งอย่างสื่อสารทางภาษากาย

หลังจากรับชมหลายๆบทบาทการแสดงของ Lavant ผมครุ่นคิดว่า Les Amants du Pont-Neuf (1991) น่าจะเป็นผลงานที่สำแดงศักยภาพทางร่างกายออกมาได้อย่างสุดเหวี่ยง คลุ้มบ้าคลั่ง ไม่ใช่แค่ฉากกระโดดโลดเต้น เริงระบำ แต่ตัวเขาเองที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างถ่ายทำ (ผมว่ามันอาจจะทั้งมือทั้งเท้า ตอนต้นเรื่องขาใส่เฝือก ตอนท้ายเรื่องแขนใส่เฝือก) มันจึงมีข้อจำกัดบังเกิดขึ้นมากมาย ถึงอย่างนั้นผู้ชมยังสัมผัสได้ถึงความดิบ อารมณ์รุนแรง สัตว์ร้ายที่มีเพียงสันชาติญาณแสดงออกมา

When you make or shoot a film it’s like going out to sea on a boat and you have to trust the captain because you know that you might face a storm or rocks. With Leos, it’s not always an easy journey, as happened with [The Lovers on the Bridge], where we really felt like a crew of people doing forced labour… There was a time when we totally lost sight of our goals and we could no longer understand what was real, what was fiction and what was the aim of the characters. It was a true madness.

Denis Lavant

Juliette Binoche (เกิดปี ค.ศ. 1964) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris, เป็นบุตรสาวนักแสดง/ผู้กำกับ Jean-Marie Binoche และ Monique Yvette Stalens หย่าร้างกันเมื่อตอนเธออายุเพียง 4 ขวบ เลยถูกส่งไปโรงเรียนประจำ แทบไม่เคยพบเจอบิดา-มารดาหลังจากนั้น, วัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป ก่อนเปลี่ยนความสนใจสู่การแสดง เข้าศึกษาต่อยัง Conservatoire National Supérieur d’Art Dramatique (CNSAD) แต่เพราะไม่ชอบวิชาเรียนเลยลาออกมา แล้วเข้าร่วมคณะการแสดงออกทัวร์ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ (ใช้ชื่อว่า Juliette Adrienne) จากนั้นเป็นตัวประกอบซีรีย์ สมทบภาพยนตร์ แจ้งเกิดจากผลงาน Hail Mary (1983), Family Life (195), Adieu Blaireau (1985), Rendez-vous (1985), Mauvais Sang (1986), The Unbearable Lightness of Being (1988), Les Amants du Pont-Neuf (1991), Three Colours: Blue (1993), The English Patient (1996) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress

รับบท Michèle Stalens จิตรกรสาวอนาคตไกล แต่หลังจากชีวิตคู่ล้มเหลว ล้มป่วยโรคสายตา พร่ามองอะไรไม่เห็น เลยตัดสินใจหนีออกจากบ้าน หลับนอนบนสะพาน Pont-Neuf แม้ถูกเจ้าที่ขับไล่ แต่ได้รับความช่วยเหลือจาก Alex ยินยอมให้ใช้สถานที่ ร่วมสุขร่วมทุกข์ เสี้ยมสอนให้เขารู้จักความรัก กระทั่งถึงวันพลัดพรากจากลา รักษาดวงตาหายแล้วถึงหวนกลับมา

ผกก. Carax พัฒนาโปรเจคนี้เพื่อส่งให้แฟนสาว Binoche กลายเป็นดาวดารา แต่ความล่าช้า งบประมาณเกินเลย ขัดแย้งโน่นนี่นั่น ท้ายที่สุดเมื่อการถ่ายทำเสร็จสิ้น ทั้งสองก็แยกย้ายไปคนละทิศทาง

With Lovers on the Bridge, we were on vacation when he was writing it and I was painting and drawing him. So that’s how he got the idea that I would be a painter in the movie. But I think we have to let go of all the names that we put on our selves and our jobs, because we’re just limiting ourselves with words instead of just expressing and being more open and exploring the possibilities we have.

Juliette Binoche

เมื่อตอนถ่ายทำ Mauvais Sang (1986) ผกก. Carax และตากล้อง Jean-Yves Escoffier พยายามนำเสนอภาพของ Binoche ให้มีความงดงามราวกับนางฟ้า คล้ายๆสิ่งที่ Jean-Luc Godard ถ่ายทำแฟนสาว Anna Karina แต่เธอไม่ต้องการแบบนั้น “You want to be Godard, but I don’t want to be Karina.” ผลงานเรื่องใหม่จึงร้องขอในสิ่งแตกต่างตรงกันข้าม

I told him, “You’ve got to go to reality, I want to feel not like this beautiful image, I want to feel real.” So he had this idea of being in the street and that was completely different.

บทบาทของ Binoche มีทิศทางละม้ายคล้ายกับ Mauvais Sang (1986) เริ่มต้นด้วยสีหน้าบูดบึ้ง เศร้าซึม การมาถึงของชายแปลกหน้าสร้างความหวาดระแวง วิตกจริต แต่พอเรียนรู้จัก ได้รับความช่วยเหลือ จึงเริ่มเปิดใจยินยอมรับ ร่วมสุขร่วมทุกข์ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ยินยอมปลดปล่อยตนเองชั่วขณะ (เรื่องนั้นมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ แต่เรื่องนี้ไร้ข้อจำกัดดังกล่าว) แตกต่างช่วงท้ายที่บังเกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน ไม่มีทางที่เราสองจักครองคู่อยู๋ร่วมกัน … มันก็สะท้อนจุดจบชีวิตคู่ของพวกเขา

Binoche มีความมุ่งมั่น จริงจัง ทุ่มเทกับภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ ยินยอมแต่งหน้าอัปลักษณ์ ปลอมเป็นคนเร่ร่อน หลับนอนข้างถนน (Lavant ก็ทำแบบเดียวกัน) เล่นสกีจนเกือบจมน้ำ ตอนทุนสร้างไม่พอก็ช่วยพูดคุยนายทุน บอกปัดหลากหลายโปรเจค (ได้รับการติดต่อจาก Elia Kazan, Krzysztof Kieślowski หรือแม้แต่ Steven Spielberg) ก็ขนาดว่าผกก. Carax เคยถึงขั้นท้อแท้หมดกำลังใจ เธอเป็นคนจุดประกายความหวัง ฟื้นฟูความเชื่อมั่น หนังเรื่องนี้จักต้องสำเร็จลุล่วง


ถ่ายภาพโดย Jean-Yves Escoffier (1950-2003) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Lyon ฝึกฝนการถ่ายภาพยัง École nationale supérieure Louis-Lumière (ENS Louis-Lumière) เคยทำงานผู้ช่วยตากล้องสารคดี Shoah (1985), ได้รับเครดิตภาพยนตร์เรื่องแรก Simone Barbès ou la vertu (1980), ผลงานเด่นๆ อาทิ Boy Meets Girl (1984), Mauvais sang (1986), The Lovers on the Bridge (1991), Good Will Hunting (1997) ฯ

จากแผนการเดิมที่ผกก. Carax ต้องการหวนกลับหารากเหง้า ถ่ายทำหนังด้วยกล้อง Super 8 ฟีล์มขาว-ดำ แต่พอนำโปรเจคไปเสนอของบประมาณ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี (นายทุนคงประทับใจการใช้สะพาน Pont-Nerf บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส) มันเลยต้องถ่ายทำตามวิถีปกติ ฟีล์มสี 35mm

ด้วยความที่หนังถ่ายทำยังสถานที่จริง (สะพานที่สร้างขึ้นก็บนแม่น้ำจริงๆ) การควบคุมแสง สี สภาพแวดล้อมจึงทำได้ยาก ซึ่งนั่นคือความตั้งใจของผกก. Carax ต้องการปล่อยอิสระหลายๆสิ่งอย่าง แต่ก็มีอีกหลายสิ่งอย่างที่ทำการประดิษฐ์ประดอย ปรุงปั้นแต่ง ให้ดูเหนือจริง สีสันฉูดฉาด พลุตอนกลางคืนช่างเว่อวังอลังการ

สำหรับคนช่างสังเกตจะพบว่าหนังมีการแต่งแต้ม ละเล่นกับสีเหลือง และโทนเดียวกันอย่างส้มแดง นอกจากชุดตัวละคร จะต้องมีวัตถุ แสงสี หรืออะไรสักสิ่งอย่างปรากฎอยู่ ผมครุ่นคิดว่ามันคือโทนสีที่ดูห่อเหี่ยว เปล่าเปลี่ยว ใบไม้ร่วงโรย สัญญาณเตือนอันตราย (เหมือนสีของอุจจาระ) เหมาะสำหรับเรื่องราวของคนเร่ร่อน ชนชั้นล่าง อาศัยอยู่ตามท้องถนน


อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับ Denis Lavant ทำให้การโปรดักชั่นล่าช้า ไม่สามารถถ่ายทำยังสะพาน Pont-Neuf ได้ตามกำหนดเดิม (เพราะสะพานมีแผนซ่อมแซมบูรณะอยู่แล้ว ไม่สามารถเลื่อนได้ีอก) เพิ่งได้ฟุตเทจประมาณสิบกว่านาที ผกก. Carax จึงตัดสินใจมองหาสถานที่สำหรับสร้างสะพานขนาดเท่าของจริงขึ้นมา ณ Lansargues, Hérault ทางตอนใต้ฝรั่งเศส

We set out to find a piece of land, a climate, easy access and avoiding having pylons or mountains appearing in the field. Finally, land was found between Nîmes and Montpellier. It was occupied in its entirety, the scenery itself was 470m by 340m (from one bank to the other).

Michel Vandestien ออกแบบงานสร้าง (Production Designer)

บริษัทประกันยินยอมจ่ายค่าเสียหายจากอุบัติเหตุของ Lavant แต่มันก็ไม่ได้มากมายถึงขนาดสามารถก่อสร้างสะพาน (ย่อส่วนประมาณสามเท่า) ฉากหน้าอาคารบ้านเรือน รวมถึงเลี้ยงดูคนงานกว่า 200-400 คน เมื่อเงินหมดจึงจำต้องหยุดงานลง

Everything was cheated, the bridge itself is reduced by a third. The three characters each inhabit a niche. The real niches are very vast, we narrow them down, bring them together, to allow proximity between the characters. I accentuated the slope of the bridge to avoid the problems of discovering the other side, and also because Leós wanted a shot where the characters appear gradually. The decor thus became a tool for the staging.

ผกก. Carax นำเอาฟุตเทจ 14 นาทีที่ถ่ายทำเสร็จไปยื่นของบประมาณจากแหล่งต่างๆ เก็บเล็กผสมน้อย ส่วนหนึ่งได้จากเศรษฐีชาว Swiss ตอบตกลงเงินทุน 30 ล้านฟรังก์ แต่ก็ยังไม่เพียงพอค่าก่อสร้างสะพานอยู่ดี! จนมีช่วงหนึ่งต้องหยุดการถ่ายทำไปเป็นปีๆ กระทั่งโปรดิวเซอร์ Christian Fechner ใช้เงินส่วนตัวซื้อต่อโปรเจค การถ่ายทำจึงดำเนินต่อจนสำเร็จ … รวมระยะเวลาโปรดักชั่นเกือบๆสามปี เริ่มต้นกรกฎาคม ค.ศ. 1988 จนถึงมีนาคม ค.ศ. 1991

เกร็ด: หนังถ่ายทำเสร็จที่ Lansargues, Hérault เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1990 แม้ใครต่อใครอยากจะเก็บเอาไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่เจ้าของยืนกรานรื้อถอนทำลายตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 1991

หนังเริ่มต้นด้วยภาพการเดินทางยามค่ำคืน ดึกดื่น กลางกรุง Paris กล้องตั้งอยู่บนรถโดยสาร เคลื่อนพานอุโมงค์ ถนนหนทาง มาถึงยังสะพาน Pont-Neuf พบเห็นภาพแสงไฟสะท้อนพื้นผิวน้ำ มันช่างเบลอๆ เลือนลาง มีความระยิบระยับ และดูฉาบฉวยยิ่งนัก! ก่อนดำเนินต่อไปยัง Boulevard de Sébastopol แล้วพบเห็นชาย-หญิงเร่ร่อนเดินอยู่กลางถนน … ผมครุ่นคิดว่าจุดประสงค์ของซีเควนซ์นี้ ต้องการล้อกับสำนวน “All roads lead to Rome” เปลี่ยนมาเป็น “ถนนทุกสายในฝรั่งเศส ต้องพานผ่านสะพาน Pont-Neuf” กระมังนะ

Pont-Neuf แปลตรงตัวว่า สะพานใหม่ (New Bridge) แต่แท้จริงแล้วคือสะพานข้ามแม่น้ำ Seine เก่าแก่ที่สุดในกรุง Paris เป็นการตั้งชื่อเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างกับสะพานแบบเก่าที่มักจะมีบ้านพักอาศัยอยู่ริมสองข้างของราวสะพานในสมัยนั้น, ตัวสะพานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกประกอบด้วยฐานโค้งจำนวน 5 ฐานเชื่อมฝั่งซ้ายของแม่น้ำกับเกาะกลาง Île de la Cité และช่วงที่สองประกอบด้วยฐานโค้งจำนวน 7 ฐาน เชื่อมจากเกาะไปยังฝั่งขวาของแม่น้ำ

สะพานแห่งนี้ แรกเริ่มต้นเกิดจากพระดำรอของ King Henry II (1519-59, ครองราชย์ 1547-59) เมื่อปี ค.ศ. 1550 เพื่อลดความแออัดของอีกสะพาน แต่ประเมินทุนสร้างสูงเกินไปจึงล้มเลิกแผนการดังกล่าว ต่อมา King Henry III (1555-89, ครองราชย์ 1574-89) พยายามผลักดันโปรเจคนี้จนสามารถเริ่มก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1578 แต่สงครามกลางเมือง French Wars of Religion (1562-98) โดยเฉพาะเหตุการณ์ St. Bartholomew’s Day massacre (1572) ทำให้เกิดความล่าช้า กว่าจะสร้างเสร็จ ค.ศ. 1607 เปลี่ยนเข้าสู่ปลายรัชสมัย King Henry IV (1953-1610, ครองราชย์ 1589-1610)

ด้วยความเก่าแก่ของสะพาน Pont-Neuf ทำให้ได้รับปรับปรุงบูรณะอยู่เรื่อยๆ จนเมื่อปี ค.ศ. 1994 ถึงเริ่มมีแผนการซ่อมแซมโครงสร้างรากฐานครั้งใหญ่ ถึงขนาดต้องปิดสะพานระหว่างปี ค.ศ. 1989-91 แต่การบูรณะยังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา (ตามปีงบประมาณ) กว่าจะแล้วเสร็จก็เมื่อปี ค.ศ. 2007 ทันเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปี

ระหว่างรับชม ผมไม่ได้เอะใจว่าหนังลงทุนสร้างสะพานจำลองขึ้นมา (เพราะผกก. Carax รับอิทธิพลจาก French New Wave ไม่น่าจะหางบประมาณได้มากมายขนาดนั้น) ก็แอบอึ้งทึ่งว่าทางการอนุญาตให้ถ่ายทำฉากนี้ในกรุง Paris ได้อย่างไร? แต่พอค้นคว้าหาข้อมูลหนัง ถึงค่อยรับรู้ว่าซีเควนซ์นี้เพิ่มเข้ามาภายหลัง (หนังเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 ก่อนการเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี French Revolution เมื่อปี ค.ศ. 1989) และยังสะพานที่จำลองสร้างขึ้น มันเลยไม่มีปัญหาเรื่องความเว่อวังอลังการแต่อย่างไร!

แซว: ใครเคยรับชม Pierrot le Fou (1965) น่าจะมักคุ้นกับการแทรกภาพพลุ ภาพที่ผมแค็ปมานี้ก็แอบมีจังหวะนั้นปรากฏขึ้นมาเสี้ยววินาที อย่ากระพริบตาเชียวละ!

ครั้งแรกที่ Alex พยายามจะร่วมรักกับ Michèle สังเกตว่ามันมีเงาสลัวๆอาบฉาบเรือนร่างของพวกเขา ราวกับว่ามันคือความโล้เล้ลังเล หญิงสาวยังทำใจยินยอมรับไม่ได้ เลยขอให้อดรนทน เฝ้ารอคอยช่วงเวลาที่ฉันพร้อม เสี้ยมสอนให้เขาเรียนรู้จักความรัก

นักแสดงอย่าง Denis Lavant และ Juliette Binoche ที่พร้อมทุ่มเทให้กับศิลปะการแสดง มันจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไรหลอกตาผู้ชม นี่เป็นอีกซีนที่สำแดงความดิบอันบริสุทธิ์ เปลือยกายวิ่งเล่นบนชายหาด ถ้าคุณไม่ตกหลุมรักคลั่ง ก็คงรับไม่ได้อย่างรุนแรง

หลังรับประทานยาคุมก็ตัดภาพเช้าวันถัดมา ถ่ายภาพผืนน้ำที่ดูกว้างใหญ่ คลื่นซัดกระทบหาดทราย ค่อยๆเงยขึ้น (Tilt-Up) พบเห็นหนุ่ม-สาวกำลังเดินทางกลับ … โดยปกติแล้วคลื่นซัดกระทบหาดทรายมักสื่อถึงการร่วมเพศสัมพันธ์ (คลื่นซัดขึ้นซัดลง) แต่ในบริบทนี้ผมรู้สึกเหมือนบางสิ่งอย่างกำลังไล่หลัง ติดตามพวกเขา อดีตของ Michèle จะทำให้ทั้งสองต้องพลัดพราก แยกจาก เราแตกต่างกันเกินไป มนุษย์ช่างเล็กกระจิดริดเมื่อเทียบกับธรรมชาติกว้างใหญ่

Michèle และ Hans แอบย่องเข้ามาในพิพิธภัณฑ์ Louvre พบเห็นภาพวาด Le Radeau de la Méduse (1818-19) แปลว่า The Raft of the Medusa ผลงานของจิตรกรฝรั่งเศส Théodore Géricault (1791-1824) แห่งยุคสมัย Romanticism

นำเสนอภาพเหตุการณ์เรือรบ (Frigate) Méduse ล่มนอกชายฝั่งประเทศอาณานิคม Mauritania เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1816 ผู้รอดชีวิตกว่า 150 คน ทำการก่อแพไม้ขึ้นมา แต่กว่าจะได้รับการค้นพบก็ 13 วันให้หลัง พวกเขาเอาตัวรอดด้วยการกินเนื้อของผู้เสียสละ (Cannibal) จำนวน 15 คน!

ผมรู้สึกว่าภาพนี้สอดคล้องเข้ากับวิถีคนเร่ร่อนได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะเอาชีวิตรอด ต้องยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง! Alex ไม่ต้องการสูญเสียหญิงคนรัก จึงพยายามทำลายทุกสิ่งอย่างขวางหน้า

ทีแรกผมนึกว่าภาพที่ Michèle อยากรับชมคือผลงานของตนเองที่ได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Louvre แต่พอลองหาข้อมูลกลับพบว่าคือ Zelfportret als de apostel Paulus (1661) แปลว่า Self-Portrait as the Apostle Paul ผลงานของจิตรกรชาวดัชต์ Rembrandt Harmenszoon van Rijn (1606-69) … มันก็คือภาพวาดของ Rembrandt สวมบทบาทเป็นอัครสาวก Paul

ความตายของ Hans มันช่างดู ‘Low Key’ ไม่มีใครสนใจ (Alex & Michèle ดูเหมือนจะไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่าอีกฝ่ายสูญหายตัวไป) ชวนให้ผมนึกถึงโคตรหนังเงียบ City Lights (1931) ของ Chalie Chaplin ที่มีฉากเศรษฐีขี้เมาพยายามฆ่าตัวตาย สถานที่แลดูละม้ายคล้าย

มันฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ผกก. Carax ยืนกรานว่าตนเองไม่เคยรับชม L’Atalante (1934) ของผกก. Jean Vigo เพิ่งมารู้จักหลังบรรดานักวิจารณ์พาดพิงถึง ความบังเอิญล้วนเกิดขึ้นได้ Titanic (1997) ก็เฉกเช่นเดียวกัน

ดั้งเดิมนั้นผกก. Carax วางแผนตอนจบไว้อีกแบบ จะต้องมีใครคนหนึ่งกระโดดสะพานฆ่าตัวตาย แต่ทว่าสามปีถ่ายทำ Binoche ไม่อยากให้หนังจบลงอย่างสิ้นหวัง การที่ตัวละคร Alex และ Michèle ขึ้นเรือมุ่งสู่มหาสมุทร Atlantic ก็คล้ายๆตอนจบของ Mauvais Sang (1986) สัญญะของการล่องลอย/โบยบินสู่อิสรภาพ

ตัดต่อโดย Nelly Quettier (เกิดปี ค.ศ. 1957) นักตัดต่อหญิง สัญชาติฝรั่งเศส ร่วมงานขาประจำผกก. Claire Denis, Leos Carax ผลงานเด่นๆ อาทิ Bad Blood (1986), The Lovers on the Bridge (1991), Beau Travail (1999), The Intruder (2004), Holy Motors (2012), Happy as Lazzaro (2018), Annette (2021), La Chimera (2023) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Alex ชายเร่ร่อน ติดเหล้า เมายา ใช้สะพาน Pont-Neuf คือสถานที่หลับนอน ก่อนพบว่าวันนี้ถูกแก่งแย่งโดนหญิงสาวแปลกหน้า Michèle ตกหลุมรักแรกพบ ไม่รู้จะทำอะไรยังไงจึงแอบติดตาม ให้ความช่วยเหลือ ก่อบังเกิดความสัมพันธ์ ร่วมรักหลับนอน ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไม่ให้สูญเสียเธอไป

  • วิถีคนเร่ร่อน
    • Alex ดื่มสุรามึนเมา หลับนอนกลางถนน ถูกรถทับขาหัก เจ้าหน้าที่ตำรวจพาไปรักษาพยาบาล
    • หลังออกจากโรงพยาบาล Alex กลับไปยังสะพาน Pont-Neuf ขอยาจาก Hans
    • พบเจอ Michèle แย่งสถานที่หลับนอน
    • เช้าวันถัดมา Michèle ถูกไล่ที่, Alex ขอให้เธอวาดรูปให้
    • Alex ลักขโมยปลาดิบมาทำอาหาร
    • ยามค่ำคืน Alex แอบขึ้นบ้านของ Michèle
  • เรื่องราวความรักระหว่าง Alex และ Michèle 
    • Alex แอบติดตาม Michèle ไปยังสถานที่ต่างๆ
    • Michèle เปิดใจให้ Alex ดื่มด่ำเมามาย เริงระบำในงานเฉลิมฉลอง 200 ปี French Revolution
    • Hans ใจอ่อนกับ Michèle พูดเล่าความหลัง พร้อมอาสาพาเธอไปยังพิพิธภัณฑ์ … สร้างความอิจฉาริษยาให้กับ Alex
    • สองหัวขโมย Alex และ Michèle ออกปล้นผู้คนไปทั่ว
    • Alex และ Michèle ร่วมรักกันริมชายหาด
  • ความหวาดกลัวของ Alex
    • Hans นำพา Michèle ไปยังพิพิธภัณฑ์, Alex พยายามติดตามหาเธอแต่ไม่พบเจอ จึงลงมือกระทำร้ายตนเอง
    • Alex แสดงความไม่พึงพอใจที่ Michèle หายตัวไป
    • Alex พยายามทำลายใบปิดติดตามหาตัว Michèle 
    • แต่ท้ายที่สุด Michèle ก็ได้ยินจากเสียงประกาศ
  • บทลงทัณฑ์
    • Alex ถูกจับกุมข้อหาฆาตกรรม ชดใช้ความผิดในเรือนจำ
    • เมื่อได้รับการปล่อยตัว นัดพบเจอ Michèle พยายามจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตายร่วมกัน
    • ก่อนทั้งคู่ขึ้นเรือขนส่ง มุ่งสู่ทะเล Atlantic

ส่วนใหญ่ของหนังมักไม่ค่อยมีบทพูดสนทนา ใช้การเล่าเรื่องด้วยภาษาภาพ นำมาร้อยเรียง แปะติดปะต่อ ผู้ชมต้องขบครุ่นคิด ทำความเข้าใจเรื่องราวส่วนใหญ่ด้วยตนเอง โดยช่วงแรกๆทำออกมาในเชิงสารคดี (Documentary-like) บันทึกภาพวิถีชีวิตคนเร่รอน เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆรอบกรุง Paris, จนเมื่อเมื่อหนุ่ม-สาวเริ่มเปิดใจ ให้การยินยอมรับกันและกัน การผจญภัยของพวกเขาจะเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้าม กลายเป็นโลกแฟนตาซี เหนือจินตนาการ (Surrealism จนถึง Absurdism)


ในส่วนของเพลงประกอบ ตามสไตล์ผกก. Carax ไม่ได้ว่าจ้างนักแต่งเพลงคนไหน แต่เลือกเอาท่วงทำนองหรือท่อนคำร้องจากศิลปินมีชื่อที่สอดคล้องเข้ากับเรื่องราว-อารมณ์ขณะนั้นๆ เพลงคลาสสิก (Benjamin Britten, Johann Strauss, Zoltán Kodály) เพลงร่วมสมัย (David Bowie, Iggy Pop, Public Enemy) นำมาผสมผสานคลุกเคล้า

หนังเริ่มต้นด้วยบทเพลงเดี่ยวเชลโล่ Sonata for Solo Cello, Op. 8 (1915) ท่อนที่ I. Allegro maestoso ma appassionato (แปลว่า Allegro Majestic but Passionate) ประพันธ์โดย Zoltán Kodály (1882-1967) คีตกวีสัญชาติ Hungarian, เชลโล่เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำ สอดคล้องเข้ากับคนเร่ร่อน ไร้บ้าน ชนชั้นล่างในสังคม ซึ่งมักใช้ชีวิตโดยอารมณ์ แรงกระตุ้นสันชาตญาณ บทเพลงนี้ฟังดูก็มีลักษณะคล้ายๆกัน ท่วงทำนองกระโดดไปกระโดดมา ไร้ความต่อเนื่อง คาดเดาอะไรไม่ได้สักสิ่งอย่าง

เกร็ด: ช่วงกลางเรื่องระหว่าง Alex แอบติดตาม (Stalker) Michèle แล้วทำการไล่ที่นักเชลโล่ Chrichan Larsson (มารับเชิญแบบไม่เห็นหน้า) ขณะนั้นกำลังเล่นบทเพลงนี้ท่อนสาม III. Allegro molto vivace (แปลว่า Very Lively Cheerful)

หนึ่งในความบ้าระห่ำของหนัง! ซีเควนซ์เริงระบำบนสะพาน ระหว่างการจุดพลุเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี French Revolution ผมพยายามเงี่ยหูฟังได้ยินไม่น้อยกว่า 6-7 บทเพลงดังขึ้นต่อเนื่อง เหลื่อมล้ำ ซ้อนทับ ผันเปลี่ยนไปตามอารมณ์ผู้สร้าง

  • جايبلي سلام (อ่านว่า Jayebli Salam แปลว่า Hello, Jaibli) ขับร้องโดย Fairous สัญชาติ Lebanese 
  • เสียงแอคคอร์ดเดียน Mains de Velours (แปลว่า Velvet Hands) และ Romanella บรรเลงโดย Jo Privat
  • Iggy Pop: Strong Girl (1988)
  • Public Enemy: You’re Gonna Get Yours (1987)
  • An Der Schonen Blauen Donau (แปลว่า At The Beautiful Blue Danube) ประพันธ์โดย Johann Strauss
    • ช่วงระหว่างบทเพลงนี้ มันจะมีอีกสองสามเพลงที่ดังขึ้น(ซ้อนทับ)แล้วเงียบหาย ผมไม่มีความสามารถเพียงพอจะแยกแยะออกว่าคือเพลงอะไร
  • يا ساكن إل الي (อ่านว่า Ya Saken El Aaly แปลว่า Oh, You who live in the world) ขับร้องโดย Fairous

บทเพลงระหว่างที่ Michèle เล่นสกีในแม่น้ำ Seine ชื่อว่า String Quartet No. 3 in F major, Op. 73 (1946) ท่อนที่ III. Allegro non troppo ประพันธ์โดย Dmitri Shostakovich ท่วงทำนองมีความตื่นเต้น รุกเร้า กีฬาที่มีความตื่นเต้น ต้องใช้ความกล้าเสี่ยง ท้าทาย เฉียดตาย

มันคงแปลกพิลึกถ้าหนังของผกก. Carx จะไม่มีบทเพลงของศิลปินคนโปรด Time Will Crawl แต่ง/ขับร้องโดย David Bowie รวมอยู่ใน Never Let Me Down (1987) เคยติดอันดับ #7 ชาร์ท Billboard Hot 100 ดังขึ้นระหว่าง Alex & Michèle ออกท่องเที่ยวรัตติกาล มาจนถึง Slow Pub

เกร็ด: Bowie เล่าว่าได้แรงบันดาลใจอัลบัม+บทเพลงนี้ หลังจากได้ยินข่าวคราวหายนะ Chernobyl เลยแต่งเพลงขึ้นเพื่อ “deals with the idea that someone in one’s own community could be the one responsible for blowing up the world.” ในอีกบทสัมภาษณ์ยังกล่าวว่า Time Will Crawl คือบทเพลงโปรดปรานที่สุดตั้งแต่เคยทำเพลงมา

I’ve never sailed on a sea
I would not challenge a giant
I could not take on the church
Time will crawl
‘Til the 21st century lose

I know a government man
He was as blind as the moon
He saw the sun in the night
He took a top-gun pilot
He made him fly through a hole
‘Til he grew real old
And he never came down
He just flew ’til he burst

Time will crawl ’til our mouths run dry
Time will crawl ’til our feet grow small
Time will crawl ’til our tails fall off
Time will crawl ’til the 21st century lose

I saw a black black stream
Full of white eyed fish
And a drowning man
With no eyes at all
I felt a warm warm breeze
That melted metal and steel
I got a bad migraine
That lasted three long years
And the pills that I took
Made my fingers disappear

Time will crawl, time will crawl
Time will crawl
‘Til the 21st century lose

You were a talented child
You came to live in our town
We never bothered to scream
When your mask came off
We only smelt the gas
As we lay down to sleep

Time will crawl and our heads bowed down
Time will crawl and our eyes fall out
Time will crawl and the streets run red
Time will crawl ’til the 21st century lose

Time will crawl and our mouths run dry
Time will crawl and our feet grow small
Time will crawl and our tails fall off
Time will crawl ’til the 21st century lose

Time will crawl and our heads bowed down
Time will crawl and our eyes fall out
Time will crawl and the streets run red
Time will crawl ’til the 21st century lose

For the crazy child
We’ll give every life
For the crackpot notion

บทเพลงทิ้งท้าย Les Amants แต่งโดย Fred Chichin, คำร้องโดย Catherine Ringer, ขับร้องโดย Les Rita Mitsouko, นี่น่าจะเป็นบทเพลงดั้งเดิม (Original Song) แต่งขึ้นเพื่อใช้ในหนังโดยเฉพาะ

ต้นฉบับฝรั่งเศสคำร้องอังกฤษ
Si madame mouillait
Dans la nuit
En rêvant de son homme
Alors elle s’enroulait
Dans les draps
Délestée de son sommeil.
Dans les heures pales du matin
Elle espérait ses formes
Comme il était allé pêcher
Sur la mer…

Les amants le font de cœur
Parce que l’union fait la force
Et leurs traits s’unifieront
Jusqu’à se ressembler.

Pour le pire et le meilleur
Jusqu’à y crever leurs forces
Ils marchent sans sourciller
D’un pas irrégulier

Monsieur se glissait
Dans la nuit
Pour aller chercher des hommes
Des types langoureux
Sur le port où les marins fument
Et dégorgent leur amour…

Les amants le font de coeur
Parce que l’union fait la force
Et leurs traits s’unifieront
Jusqu’à se ressembler
Pour le pire et le meilleur
Jusqu’à y crever leurs forces
Ils marchent sans sourciller
D’un pas irrégulier
If Mrs Sevigne
In the night
Dreamt of her husband
Well she curled up
Under the covers,
Removing the ballast from her sleep.
In the small hours of the morning,
She hoped her shapes
As if he had come to fish
In the sea…

Lovers are the well of the heart
Because the union uses force
And their traits will unify
In order that they resemble one another

For the worst and for the best,
In order that they puncture their forces,
They walk without overtaking one another,
With an irregular stap

Monsieur escapes
In the night
To go and find men
The languid type
On the port where the sailors smoke
And disgorge their love

Lovers are the well of the heart,
Because the union uses force
And their traits unify
In order that they resemble one another
For the worst and for the best
In order that they puncture their forces
They walk without overtaking one another,
With an irregular step.

I wrote the film for Denis and Juliette. Juliette painted during her adolescence, before going into film. As cinema had taken her away from painting, I wanted cinema to give it back to her. That is why I decided that her character would be a painter. There was a kind of obviousness, almost melodramatic and classical, that she was a painter believing she was going blind. So I thought that the boy, who can’t do anything, who has always been a tramp, who can barely speak, could breathe fire. This is something that you often see young tramps doing in Paris. It all came together to create a story of dazzlement. That is to say, the first time the girl really looked at this boy, at from the moment there was a certain seduction, she would be dazzled by his generosity. But a dazzle that would burn her eye unbearably.

Leos Carax

ความตั้งใจของผกก. Carax คือต้องการสร้างใหม่ (Remake) ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เขารู้สึกไม่ชอบใจจากสองผลงานก่อนหน้า Boy Meets Girl (1984) และ Mauvais Sang (1986) แต่ทว่า The Lovers on the Bridge (1991) กลับเต็มไปด้วยปัญหา ซวยซ้ำซวยซ้อน ชิบหายวายป่วนยิ่งกว่า!

แต่ผมครุ่นคิดว่าผกก. Carax ทำสำเร็จในการสร้างหนังที่ขายความสามารถนักแสดงนำทั้งสอง Denis Lavant และ Juliette Binoche เพราะก่อนหน้านี้ต่างเพิ่งรับรู้จัก ยังเข้าใจกันไม่มาก เมื่อได้ร่วมงาน พบเห็นศักยภาพแท้จริง รู้สึกเหมือนเป็นหน้าที่ที่จะส่งทั้งสองให้กลายเป็นดาวดารา เจิดจรัสค้างฟ้า

เรื่องราวระหว่าง Alex และ Michèle บางคนอาจเรียกดอกฟ้ากับหมาวัด, บ้างเรียกโฉมงามกับจอมอสูร (Beauty and the Beast) ทั้งสองมีความแตกต่างกันเกินไป โดยปกติแล้วย่อมไม่มีโอกาสพบเจอ ตกหลุมรัก ร่วมเพศสัมพันธ์ แต่ความรักไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ มันเป็นเรื่องของคนสอง พึ่งพอใจ ให้การยินยอมรับกันและกัน

ผู้ชมส่วนใหญ่คงมองคนเร่ร่อน คือชนชั้นต่ำ ล่างสุดในสถาบันสังคม แต่ความตั้งใจของผกก. Carax เหมือนจะไม่ได้สนเรื่องชนชั้นวรรณะสักเท่าไหร่ เขามองว่าคนเหล่านี้คือผู้มีอิสรภาพในการดำรงชีวิต ไม่สนบริบทกฎกรอบ ไม่มีใครสามารถสั่งให้ทำอะไร ใช้สันชาติญาณแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา … เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพื้นฐานแห่งรัก มันไม่ได้มีข้อจำกัดอะไรใดๆ

เราสามารถเปรียบเทียบตรงๆ Alex และ Michèle ก็คือผกก. Carax และ Binoche มันอาจมีอารมณ์คลั่งรัก แต่ผมไม่ครุ่นคิดว่าจะมีอะไรมากกว่านั้น เพราะตอน Boy Meets Girl (1984) ตัวละคร Alex (หรือก็คือผกก. Carax) สำแดงตนว่าเป็นไม่สู้คน ขี้หดตดหาย เก่งแค่ในความฝันจินตนาการ ชีวิตจริงไม่หาญกล้าทำอะไรบ้าบิ่นแบบนั้น เช่นนั้นแล้วพฤติกรรมของ Alex (ในภาพยนตร์ The Lovers on the Bridge) เป็นเพียงสิ่งที่ผู้กำกับใช้สื่อภาพยนตร์สำแดงอารมณ์ศิลปินออกมา

Pont-Neuf แม้แปลว่า New Bridge แต่มีความเก่าแก่ที่สุดในกรุง Paris จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง Alex & Michèle และผกก. Carax & Binoche เราสองมาบรรจบกันกลางสะพานแห่งรัก! รวมถึงกิจกรรมครบรอบ 200 ปี French Revoltion ก็เพื่อเฉลิมฉลองความรักของพวกเขา แต่ท้ายที่สุดแล้ว …

เมื่อตอนเริ่มต้นโปรดักชั่นผกก. Carax ครองรักอยู่กับ Juliette Binoche ไม่รู้ความระหองระแหงเกิดขึ้นเพราะหนังเรื่องนี้หรือเปล่า? เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่หาทุนเพิ่มไม่ได้ เขาเริ่มท้อแท้ สิ้นหวัง แต่เธอยังคงดื้อรั้น พยายามผลักดัน มอบกำลังใจ พอสร้างหนังเสร็จ ความสัมพันธ์ของพวกเขาก็สิ้นสุดลง

ดั้งเดิมนั้นผกก. Carax ตั้งใจให้ตอนจบลงอย่างโศกนาฎกรรม ใครบางคน หรือทั้งสองคนกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย แต่ทว่า Binoche เรียกร้องขอโอกาสครั้งสุดท้าย

[The film ending he had in mind was] me dead and him standing on the bridge thinking, ‘Did she ever love me?’ In the moment I was coming back up for air, there was a sort of contract being made inside me: after that, I was going to choose life no matter what.

I saw that life is to progress, to move through things, to be open to change and to know new things. Life is to love…

Juliette Binoche

หลังเสร็จสร้าง The Lovers on the Bridge (1991) ราวกับปลดเปลื้องภาระทุกสิ่งอย่าง ชีวิตได้รับอิสรภาพเสียที (กลายเป็นโสดด้วยไง) หลังจากนี้สำหรับผกก. Carax คือการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ถึงเวลาค้นหาสิ่งแปลกใหม่ ทำอะไรๆอย่างอื่นดูบ้าง

There is a feeling of freedom, the possibility of starting from scratch. I wouldn’t go back to Denis or Juliette right away. I don’t have a producer anymore. I wouldn’t make films from original screenplays right away. I want to make a film or two adapting someone else’s text. Yes, to get away from yourself, by going through a novel or a text.

Leos Carax

สรุปแล้วไม่มีใครบอกได้ว่าหนังใช้ทุนสร้างเท่าไหร่ ผกก. Carax เคยถูกถามก็ตอบไม่ได้ ไม่รู้ตัวเลขสุดท้าย แต่เกินร้อยล้านฟรังก์(ฝรั่งเศส)อย่างแน่นอน! เมื่อเข้าฉายในฝรั่งเศส เสียงตอบรับค่อนข้างแตก (Mixed) ถูกนักวิจารณ์แดกดันเรื่องทุนสร้างอย่างเยอะ เลยทำยอดจำหน่ายตั๋วเพียง 867,197 ใบ ด้วยงบบานปลายขนาดนั้นไม่น่าจะทำกำไรกระมัง

แต่หนังขายดีระดับนานาชาติ สงสัยเพราะคำโปรย “ทุนสร้างสูงสุดตลอดกาลในฝรั่งเศส” เสียงตอบรับก็ยอดเยี่ยม สามารถเข้าชิง BAFTA Award และยังได้ลุ้น European Film Awards อีกหลายสาขา (César Awards ได้เข้าชิงแค่สองสาขา)

  • BAFTA Award
    • Best Film not in the English Language พ่ายให้กับ Raise the Red Lantern (1991)
  • César Awards
    • Best Actress (Juliette Binoche)
    • Best Production Design
  • European Film Award
    • European Film of the Year
    • European Actress of the Year (Juliette Binoche) ** คว้ารางวัล
    • European Actor of the Year (Denis Lavant)
    • European Cinematographer of the Year ** คว้ารางวัล
    • European Editor of the Year ** คว้ารางวัล

สำหรับฉบับเข้าฉายในสหรัฐอเมริกานั้น ถูกซื้อไปโดยสตูดิโอ Miramax ที่ขึ้นชื่อเรื่องการดองหนังในโถหมัก เก็บเข้ากรุนานเกือบทศวรรษ เห็นว่าผู้กำกับ Martin Scorsese เป็นคนโน้มน้าวบุคคลที่เราไม่ควรเอ่ยนาม Harvey Weinstein จนยินยอมนำออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 1999 … แล้วถูกผู้ชมแดกดันเพราะมีฉากเลียนแบบ Titanic (1997)🤦

ปัจจุบันหนังยังไม่มีข่าวคราวการบูรณะ ฉบับของ Kino Lorber น่าจะแค่สแกนใหม่ High Definition จัดจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2017 คุณภาพถือว่าค่อนข้างดี ไม่มีริ้วรอยขีดข่วน น่าแปลกใจทำไม Criterion ยังไม่ได้ลิขสิทธิ์เสียที?

ส่วนตัวหลงใหลคลั่งไคล้ในความบ้าระห่ำของทั้งผู้กำกับ-นักแสดง ชื่นชมความทะเยอทะยาน สะพานรักสุดยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง แต่ตัวหนังห่างไกลความสมบูรณ์แบบ ปัญหาการถ่ายทำส่งผลกระทบไม่น้อย มันจึงเกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน คลั่งรักได้ไม่สุด

ผมมองว่า Mauvais Sang (1986) ในเรื่องคุณภาพทำออกมาได้ลงตัวกลมกล่อมกว่า แต่ทว่า The Lovers on the Bridge (1991) สำแดงสันชาตญาณแห่งรักอย่างทรงพลัง คลุ้มบ้าคลั่ง

จัดเรต 18+ รักคลั่ง ความรุนแรง แผดเผาทั้งเป็น

คำโปรย | Les Amants du Pont-Neuf สะพานรักของผู้กำกับ Leos Carax ที่โลกจารึกในความดิบ บ้าระห่ำ ทะเยอทะยาน ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง!
คุณภาพ | บ้าระห่ำ
ส่วนตัว | คลั่งรัก

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: