The 39 Steps (1935) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♥
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกของ Alfred Hitchcock, ชายคนหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยถูกไล่ล่าติดตาม ต้องออกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อขบไขปริศนา The 39 Steps มันคืออิหยังหว่ะ?
ถ้าจะกล่าวถึง 2-3 สิ่งที่เป็นสไตล์ลายเซ็นต์ เอกลักษณ์อันโดดเด่นของผกก. Hitchcock ปรากฎพบเห็นครบถ้วนสมบูรณ์ในภาพยนตร์ The 39 Steps (1935) ประกอบด้วย
- The Wrong Man ชายผู้มีความจับพลัดจับพลู ถูกเข้าใจผิด ครุ่นคิดว่าเป็นคนร้าย/สายลับ เลยจำต้องดิ้นหลบหนี หาหนทางพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้ทำอะไรผิด
- Hitchcock’s Women ผู้หญิงในภาพยนตร์ของ Hitchcock มักสีผมบลอนด์ (Hitchcock Blonde) นิสัยลึกลับ เยือกเย็นชา (Icy Maiden) มาพร้อมหายนะ (Woman in Peril) และท้ายสุดมักถูกทำให้อับอาย (Humiliated)
- MacGuffin อะไรคือ The 39 Steps?
ใครที่เคยแต่รับชมผลงานยุคหลังๆของ Alfred Hitchcock ย่อมรู้สึกมักคุ้นกับพล็อตของ The 39 Steps (1935) ช่างมีความละม้ายคล้าย Saboteur (1942), North by Northwest (1959), แต่ภาพยนตร์เรื่องต้องถือว่าเป็นต้นแบบ ‘Hitchcockian’ พัฒนามาจนถึงระดับสมบูรณ์แบบครั้งแรก!
Oh my God, what a masterpiece.
Orson Welles
It remains indubitably his masterpiece and a model for detective comedies.
André Bazin
It’s not much of an exaggeration to say that all contemporary escapist entertainment begins with The 39 Steps.
Robert Towne
This suave, amusing spy melodrama is … charged with wit; it’s one of the three or four best things Hitchcock ever did.
Pauline Kael
The 39 Steps is that rarity: a bona fide cinematic masterpiece which the public clasps to its bosom, a great work which is also a great crowd-pleaser: amusing and scary, engaging and engrossing, full of dazzling light and eerie shadow.
นักวิจารณ์ Michael Wilmington บทความจาก Criterion Collection
นอกจากนี้ The 39 Steps (1935) ยังถือเป็นหมุดไมล์เรื่องสำคัญของวงการภาพยนตร์อังกฤษ (British Cinema) เพราะก่อนหน้านี้(รวมถึงยุคหนังเงียบ)ยังไม่เคยมีหนัง-นักแสดง-ผู้กำกับชาวอังกฤษ โด่งดังเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ นี่คือครั้งแรกๆที่ภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ สร้างโดยผู้กำกับชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จทั้งเสียงตอบรับ ทำกำไรกลับมหาศาล โด่งดังไม่ใช่แค่ยุโรป ข้ามน้ำข้ามทะเลสู่สหรัฐอเมริกา … นั่นทำให้ผกก. Hitchcock ถูกเนื้อต้องตา กลายเป็นที่หมายปองสตูดิโอใน Hollywood โดยพลัน!
สิ่งที่ผมรู้สึกอ้ำอึ้งที่งที่สุดในการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้คือความต่อเนื่องลื่นไหล ผกก. Hitchcock เรียกว่า “swift transitions” ระหว่างเปลี่ยนผ่านแต่ละเหตุการณ์ มันช่างเต็มไปลูกเล่ห์ ลูกล่อลูกชน หรือจุดเชื่อมโยงอะไรบางอย่าง ส่วนไฮไลท์ต้องยกให้ฉากกล่าวสุนทรพจน์การเมือง เชื่อมโยงเรื่องส่วนตัวเข้ากับปัญหาระดับชาติได้อย่างกลมกล่อม คาดไม่ถึง
เกร็ด: ตอนให้สัมภาษณ์ Hitchcock/Truffaut เมื่อปี ค.ศ. 1962 ผกก. Hitchcock กล่าวว่าในบรรดาผลงานทั้งหมดของตนเอง มีความโปรดปราน The 39 Steps (1935) มากที่สุด!
Sir Alfred Joseph Hitchcock (1899-1980) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘Master of Suspense’ เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่ Leytonstone, Essex ครอบครัวเปิดกิจการร้านขายของชำ (grocery shop) ช่วงวัยเด็กมีความสนใจภูมิศาสตร์ แผนที่ ขบวนรถไฟ ใฝ่ฝันอยากเป็นวิศวกร เข้าศึกษาภาคค่ำยัง London County Council School of Engineering and Navigation แต่พอบิดาเสียชีวิต เลยต้องแบ่งเวลามาทำงานเสมียนบริษัทโทรเลข Henley Telegraph and Cable Company, หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มมีความสนใจด้านการเขียน กลายเป็นบรรณาธิการรุ่นก่อตั้ง The Henley Telegraph ก่อนย้ายมาแผนกโฆษณา ทำให้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ ‘Motion Picture’ เกิดความชื่นชอบหลงใหล Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang
ต่อมายื่นใบสมัครเข้าทำงานสตูดิโอ Famous Players–Lasky เปิดสาขาใหม่ที่ London เริ่มจากเป็นนักออกแบบ Title Card, ร่วมเขียนบท, ออกแบบศิลป์, ผู้จัดการกองถ่าย, ผู้ช่วยตัดต่อ ฯ เรียนรู้งานแทบจะทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าสู่ผู้ช่วยผู้กำกับ Woman to Woman (1923), ได้รับโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Pleasure Garden (1925), แจ้งเกิดกับ The Lodger: A Story of the London Fog (1927), ผลงานโดดเด่นในยุคแรกๆ อาทิ Blackmail (1929), The Man Who Knew Too Much (1934), The 39 Steps (1935), The Lady Vanishes (1938) ฯ
หลังเสร็จสิ้นโปรดักชั่น The Man Who Knew Too Much (1934) ผกก. Hitchcock และนักเขียนขาประจำ Charles Bennett มีความสนใจดัดแปลงนวนิยาย Greenmantle (1916) เล่มที่สอง(จากห้า)ของตัวละคร Richard Hannay ประพันธ์โดย John Buchan, 1st Baron Tweedsmuir (1875-1940) นักเขียนสัญชาติ Scottish แต่ทว่าคงไม่สามารถสรรหางบประมาณมากพอจะออกทัวร์ยุโรปและตะวันออกกลาง
จึงหันเหความสนใจมายังนวนิยายเล่มแรก The Thirty-Nine Steps (1915) ที่ตัวละคร Richard Hannay จับพลัดจับพลู รับล่วงรู้ความลับราชการบางอย่าง ออกเดินทางไปหลบซ่อนตัวยัง Scotland … อย่างน้อยยังอยู่ภายในเกาะอังกฤษ คงใช้งบประมาณไม่มากเท่าไหร่
เกร็ด: นักเขียน Ian Flaming ว่ากันว่าได้แรงบันดาลใจ James Bond จากตัวละคร Richard Hannay ในนวนิยาย The Thirty-Nine Steps (1915)
ผกก. Hitchcock เคยอ่านนวนิยาย The Thirty-Nine Steps (1915) ตั้งแต่เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก มีความชื่นชอบหลงใหลในการผจญภัยอันตื่นเต้นเร้าใจ พอจ่ายค่าลิขสิทธิ์ £800 เหรียญ หวนกลับมาอ่านอีกครั้ง ตระหนักว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดัดแปลงภาพยนตร์อย่างตรงไปตรงมา
I had been wanting to turn John Buchan’s novel into a film for over fifteen years. I first read the book round about 1919 or 1920, a long time before I started my directing career. I said that if I ever became a director I would make a picture of it. It was, therefore, on my suggestion that Gaumont-British decided to make the film so many years later. I hadn’t read the book again in the meantime. When I did so, with an eye to turning it into a film, I received a shock. I had learned a lot about filmmaking in the fifteen odd years that had elapsed. Though I could still see the reason for my first enthusiasm — the book was full of action — I found that the story as it stood was not in the least suitable for screening.
So many of the scenes, which were convincing enough in print, would have looked unbelievable on the screen — as, for instance, when Hannay saw a motor car approaching; realized that he would be captured if it reached him and he were spotted; saw some stonebreakers, and in a minute or two had disguised himself as one of these workmen. Dressed up in Buchan’s powerful art of description you could believe that in the book; but you wouldn’t if you saw it in a picture. The novel had Hannay running away from spies. For screen purposes I deemed it better to have him escaping from the police and searching for the spies so that he could clear his own name.
ด้วยเหตุนี้ผกก. Hitchcock และนักเขียน Charles Bennett จึงเพียงนำพล็อตหลวมๆจากนวนิยาย เพิ่มเติม-ตัดแต่งหลายสิ่งอย่างขึ้นใหม่ เพื่อให้เหมาะกับเข้าสื่อภาพยนตร์ อาทิ
- ชื่อหนังสือ The 39 Steps มีความหมายถึงบันได 39 ขั้น (ที่เป็นบันไดจริงๆ) แต่ฉบับภาพยนตร์ปรับเปลี่ยนมาเป็นองค์กรสายลับ พร้อมความลับอะไรบางอย่าง
- ฉบับภาพยนตร์เพิ่มเติมตัวละครสายลับ Annabella บอกให้ Hannay เดินทางไปยัง Alt-na-Shellach, Scotland (วงกลมในแผนที่) แต่ต้นฉบับนวนิยายจะไม่จำเพาะเจาะจงสถานที่ขนาดนั้น เพียงเหมารวมประเทศ Scotland
- ตัวละคร Pamela ก็เฉกเช่นเดียวกัน มีเฉพาะฉบับภาพยนตร์ ออกแบบในลักษณะของ Hitchcock’s Women
เกร็ด: John Buchan เขียนนวนิยาย The Thirty-Nine Steps ระหว่างพักรักษาอาการป่วยโรคกระเพาะ/แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น วันหนึ่งบุตรสาวมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล วิ่งเล่นซุกซน นับขั้นบันไดเดินลงชายหาด (จริงๆแล้วบันไดมี 78 ขั้น เด็กหญิงไม่รู้ประสีประสา นับถูกนับผิด แต่ทว่า The 39 Steps ฟังดูดีกว่า The 78 Steps)
There was a wooden staircase leading down to the beach. My sister, who was about six, and who had just learnt to count properly, went down them and gleefully announced: there are 39 steps.
จากหนังสือชีวประวัติ John Buchan เขียนโดยบุตรชาย William Buchan
ณ London Music Hall ระหว่างที่ Richard Hannay (รับบทโดย Robert Donat) กำลังรับชมการแสดง Mr. Memory ได้ยินเสียงปืนลั่น บังเกิดความโกลาหล โดยไม่รู้ตัวให้ความช่วยเหลือหญิงสาวคนหนึ่ง เรียกร้องขอให้เขาพาไปยังอพาร์ทเมนท์ เธอชื่อ Annabella Smith (รับบทโดย Lucie Mannheim) ค่อยๆเปิดเผยว่าตนเองเป็นสายลับ ล่วงรู้ข้อมูลลับเกี่ยวกับ “The 39 Steps” และบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังแผนการชั่วร้าย มีจุดสังเกตนิ้วก้อยด้วนข้อหนึ่ง
แม้ไม่อยากจะเชื่อครึ่ง-ไม่เชื่อครึ่ง แต่ค่ำคืนนั้น Annabella ถูกลอบสังหาร มีดทิ่มแทงกลางหลัง ก่อนเสียชีวิตบอกให้เขาหลบหนี กำแผนที่วงรอบเมือง Alt-na-Shellach เลยตัดสินใจขึ้นรถไฟออกเดินทางสู่ Scotland ถูกตำรวจไล่ล่า หมายหัว เอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิดหลายครั้งครา ครั้งหนึ่งแวะเวียนเข้าไปยังบ้านพักของ Professor Jordan (รับบทโดย Godfrey Tearle) ปรากฎว่าชายคนนี้นิ้วก้อยด้วนข้อหนึ่ง มันช่างเป็นความบังเอิญอย่างคาดไม่ถึง
ครั้งหนึ่งเมื่อ Hannay ถูกตำรวจควบคุมตัว ตัดสินใจลากพาหญิงสาวผู้เย็นชา Pamela (รับบทโดย Madeleine Carroll) อ้างว่าเธอคือผู้สมรู้ร่วมคิด (ต้องการลากเธอไปด้วยเพราะเป็นตัวการให้เขาโดนจับกุม) ทั้งสองโดนสวมกุญแจมือ ขณะหลบหนีจึงต้องเกาะติดไปด้วยกัน ระหว่างพักอาศัยในโรงแรมได้ยินข่าวจากลูกน้องของ Professor Jordan ว่าจะรับใครสักคนที่ทำการแสดงยัง London Palladium พอเดินทางไปถึงพบเห็นการแสดงของ Mr. Memory นี่มันต้องมีลับลมคมในอะไรบางอย่างแน่แท้!
Friedrich Robert Donat (1905-58) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Withington, Manchester บิดาเป็นวิศวกรจาก German มีเชื้อสาย Prussian Poland แต่งงานกับมารดาชาวอังกฤษ, เมื่ออายุ 16 ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน เข้าร่วมคณะการละคอนของ Henry Baynton ทำการแสดงยัง Prince of Wales Theatre, Birmingham เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ Men of Tomorrow (1932), โด่งดังกับ The Private Life of Henry VIII (1933), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Count of Monte Cristo (1934), The 39 Steps (1935), The Citadel (1938), Goodbye, Mr. Chips (1939) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, The Inn of the Sixth Happiness (1958) ฯ
รับบท Richard Hannay ชายชาว Canadian (ต้นฉบับนวนิยายจะเป็นชาว Scottish) โชคชะตาถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ จำต้องหาหนทางหลบหนีสู่ Scottish Highlands ใช้ข้อมูลเล็กๆได้รับจาก Annabella Smith พยายามสืบเสาะค้นหา จนพบเจอบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังองค์กร The 39 Steps ท้ายสุดจะสามารถล่วงรู้ความลับ เปิดโปงข้อเท็จจริง รอดพ้นผิดได้หรือไม่?
สตูดิโอ Gaumont-British มีความกระตือลือล้นอยากได้นักแสดง Donat เพราะเพิ่งไปมีผลงาน Hollywood เรื่อง The Count of Monte Cristo (1934) ด้วยภาพลักษณ์ ‘matinee idol’ เชื่อว่าน่าจะช่วยให้หนังประสบความสำเร็จได้แน่ๆ
ตอนผมเห็นตัวละครนี้ครั้งแรก แอบนึกว่าคือ Clark Gable ลักษณะการไว้หนวดช่างละม้ายคล้ายภาพยนตร์ It Happened One Night (1934) แต่ดูไปดูมา Donat ไม่ได้มีความยียวน กวนบาทา ชอบเล่นหูเล่นตาสักเท่าไหร่ ใบหน้าค่อนข้างจะตึงเครียด ซีเรียส หน้านิ่วคิ้วขมวด ซึ่งนั่นสามารถสร้างเสียงหัวเราะขบขัน เพราะมันช่างขัดแย้งกับน้ำเสียง ถ้อยคำแดกดัน ประชดประชัน ล้อเลียนโชคชะตากรรมของตนเอง
หลายคนอาจชื่นชอบการกล่าวสุนทรพจน์การเมืองของ Hannay (ภายนอกมีความหนักแน่น จริงจัง แต่ทุกถ้อยคำล้วนสองแง่สองง่าม ถึงความซวยซ้ำซ้อนของตนเอง) แต่ผมอยากให้สังเกตเหตุการณ์ต่อจากนั้นที่ตัวละครพยายามลากพา Pamela หญิงสาวผู้ไม่รู้อิโน่อิเหน่ให้ต้องตกกระไดพลอยโจร สีหน้าท่าทางของ Donat เต็มไปด้วยรอยยิ้มกริ่ม ยินดีปรีดา พึงพอใจที่มีเพื่อนร่วมชะตา หยอกล้อ รับส่ง เคมีช่างเข้าขากับ Madeleine Carroll พ่อแง่แม่งอน แนวโน้มถ้ามีภาคต่อคงได้ตกหลุมรักกันอย่างแน่นอน!
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ The 39 Steps (1935) ได้ทำให้ Donat กลายเป็นนักแสดงสัญชาติอังกฤษคนแรกๆ (ในยุคหนังพูด) โด่งดังระดับซุปเปอร์สตาร์ เทียบเท่านักแสดงอย่าง Clark Gable หรือ Ronald Colman … แต่กาลเวลาอาจไม่ได้ทำให้ชื่อเสียงของ Donat ค้างฟ้าดั่งที่บรรดานักวิจารณ์วาดฝันไว้
Mr. Donat, who has never been very well served in the cinema until now, suddenly blossoms out into a romantic comedian of no mean order. He has an easy confident humour that has always been regarded as the perquisite of the American male star. For the first time on our screen we have the British equivalent of a Clark Gable or a Ronald Colman, playing in a purely national idiom. Mr. Donat, himself, I fancy, is hardly conscious of it, which is all to the good.
นักวิจารณ์ C. A. Lejeune จากนิตยสาร The Observer
Edith Madeleine Carroll (1906-87) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ West Bromwich, Staffordshire มารดาเป็นชาวฝรั่งเศส ส่วนบิดาคือศาสตราจารย์ด้านภาษา ส่งบุตรสาวสำเร็จการศึกษาภาษาศาสตร์ University of Birmingham ระหว่างนั้นมีโอกาสเข้าร่วมชมรมการแสดง Birmingham University Dramatic Society เกิดความชื่นชอบหลงใหล หลังชนะการประกวดนางงาม ได้เข้าร่วมคณะการละคอนของ Seymour Hicks, จากนั้นมีผลงานภาพยนตร์ The Guns of Loos (1927), I Was a Spy (1933), The World Moves On (1934), โด่งดังระดับนานาชาติกับ The 39 Steps (1935) ทำให้มีโอกาสโกอินเตอร์ เดินทางสู่ Hollywood และเคยได้รับค่าตัวสูงสุดในโลกเมื่อปี ค.ศ. 1938
รับบท Pamela หญิงสาวผมบลอนด์ หลังถูกขโมยจูบบนรถไฟ ดูเหมือนมีความโกรธเกลียดเคียดแค้น Richard Hannay พอมีโอกาสพบเจออีกครั้งยังเวทีปราศัยการเมือง โทรศัพท์เรียกตำรวจมาห้อมล้อมจับกุม ก็นึกว่าคงหมดสิ้นเวรกรรม ที่ไหนได้ถูกใส่ร้ายกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด โดนใส่กุญแจมือร่วมกับ Hannay พากันหลบหนี นอนค้างโรงแรม ก่อนล่วงรับรู้ความลับ … แล้วอาจตกหลุมรัก
ดั้งเดิมตัวละครนี้ไม่ได้มีอยู่ในนวนิยาย ตอนพัฒนาบทก็เพียงแค่ตัวประกอบทั่วๆไป ในตอนแรกติดต่อนักแสดง Jane Baxter แต่พอกำลังจะเริ่มถ่ายทำปรับเปลี่ยนมาเป็น Madeleine Carroll ซึ่งพอพบเจอผกก. Hitchcock ประทับใจในบุคลิก ภาพลักษณ์ ถึงขนาดยินยอมปรับปรุงบท เพิ่มเติมรายละเอียดให้กับตัวละคร จนมีความสำคัญอย่างคาดไม่ถึง
How very well Madeleine fitted into the part. I had heard a lot about her as a tall, cold, blonde beauty. After meeting her, I made up my mind to present her to the public as her natural self.
Alfred Hitchcock
ก่อนหน้านี้ Carroll มักได้รับบทบาทลูกคุณหนู สวยไฮโซ เริดเชิดเย่อหยิ่ง จนสร้างความเบื่อหน่าย กลัวจะกลายเป็น ‘typecast’ พอมีโอกาสพบเจอผกก. Hitchcock ร่วมกันพัฒนาตัวละครที่ผสมผสาน Screwball Comedy จนมีคำเรียก “Icy Blonde” ผู้หญิงผมบลอนด์ที่มีความสวย ซับซ้อน อันตราย กลิ่นอายลึกลับ ชักชวนให้บุรุษเกิดความลุ่มหลงใหล เฉลียวฉลาดแกมโกง และเต็มไปด้วย ‘Sex Appeal’
แต่ไฮไลท์ไม่ใช่ภาพลักษณ์เย็นชา สวยอันตราย คือขณะที่ถูกทำให้อับอาย (humiliated) ทั้งๆไม่ได้ทำความผิดอะไรกลับถูกใส่ร้าย ลากพาตัวไปโรงพัก ตำรวจเข้าใจผิดว่าสมรู้ร่วมคิดกับอาชญากรจึงสวมใส่กุญแจมือ ระหว่างอีกฝ่ายพยายามหลบหนี โดนฉุดกระชากลากดึง ไม่หลงเหลือสภาพหญิงสาวในอุดมคติอีกต่อไป
โดยไม่รู้ตัวนี่ Carroll/Pamela ได้กลายเป็นต้นแบบหญิงสาวในอุดมคติของผกก. Hitchcock จนมีคำเรียก “Hitchcock’s Women” หรือ “Hitchcock’s Blonde”
The female characters in his films reflected the same qualities over and over again: They were blonde. They were icy and remote. They were imprisoned in costumes that subtly combined fashion with fetishism. They mesmerised the men, who often had physical or psychological handicaps. Sooner or later, every Hitchcock woman was humiliated.
คำอธิบาย Hitchcock’s Women ของนักวิจารณ์ Roger Ebert
เกร็ด: วันแรกในกองถ่ายที่ได้พบเจอกัน Robert Donat และ Madeleine Carroll ถูกผกก. Hitchcock สวมใส่กุญแจมือ แล้วแสร้งทำเป็นกุญแจหาย ปล่อยให้พวกเขาตัวติดกันเป็นปาท๋องโก๋ระหว่างติดตามหากุญแจ ทำอะไรไม่ได้มากก็เลยพูดคุย เปิดใจ เรียนรู้จัก สนิทสนมกันโดยไว ประมาณชั่วโมงหลังจากนั้น Hitchcock ก็หยิบกุญแจ(ที่อ้างว่าหาย)จากกระเป๋าเสื้อมาปลดปล่อยทั้งสอง … ช่างเป็นวิธีการอันชาญฉลาดในการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้นักแสดงทั้งสอง
On our first morning at the studio, immediately after being introduced, we were shackled in a pair of handcuffs, each have one hand imprisoned, and commenced to act a scene. Such a start was not exactly helpful in establishing relations, we thought, and these feelings were not lessened when, at the conclusion of the scene, “Hitch” lost the key of the handcuffs! For nearly an hour Madeleine and I shared this enforced companionship, while the hunt for the key was sustained. There was nothing else to do, so we talked of our mutual friends, of our ambitions, and of film matters generally. Gradually our reserve thawed as we exchange experiences. When “Hitch” saw that we were getting along famously, he extract the “missing” key from his waistcoat pocket, released us, and said, with a satisfied grin, “Now that you two know each other we can go ahead.” Had it not been for Hitchcock’s little ruse, Madeleine and I would probably have taken quite a time to “get together” — to the detriment of our work in the interim.
Robert Donat กล่าวถึงวันแรกในกองถ่ายกับ Madeleine Carroll
แม้หลังความสำเร็จของ The 39 Steps (1935) จะทำให้ Carroll โกอินเตอร์สู่ Hollywood แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ชื่อเสียงของเธอกลับไม่ได้เจิดจรัสค้างฟ้าเท่าที่ควร …แบบเดียวกันเป๊ะกับ Robert Donat… ผู้ชมสมัยใหม่แทบไม่รับรู้จักนักแสดงทั้งสองเลยกระมัง
ถ่ายภาพโดย Bernard Knowles (1900-75) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Manchester, Lancashire เริ่มต้นจากเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ จากนั้นเข้าร่วมสตูดิโอ Gainsborough Pictures ทำงานเป็นผู้ช่วยตากล้อง ไม่นานก็ได้รับเครดิตถ่ายภาพตั้งแต่ยุคหนังเงียบ จนกระทั่งมีโอกาสร่วมงาน Alfred Hitchcock ตั้งแต่ The 39 Steps (1935), Secret Agent (1936), Sabotage (1936), Young and Innocent (1937), Jamaica Inn (1939), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ King Solomon’s Mines (1937), Gaslight (1940), กำกับภาพยนตร์ A Place of One’s Own (1945) ฯ
ผกก. Hitchcock เลื่องชื่อในการเป็น ‘ช่างเทคนิค’ ฉากภายในทั้งหมดล้วนถ่ายทำในสตูดิโอ Lime Grove Studios และ Welwyn Studios ขณะที่ฉากภายนอกถ้าต้องพบเห็นนักแสดงระยะใกล้ จะใช้เทคนิค Rear Projection ให้กองถ่ายสอง (Second Unit) ไปบันทึกภาพจากสถานที่จริงล่วงหน้า (อาทิ King’s Cross Railway Station, Forth Bridge, London Palladium ฯ) นำกลับมาฉายในสตูดิโอ แล้วให้นักแสดงเข้าฉากดังกล่าว!
ตามสไตล์การทำงานของผกก. Hitchcock ทุกช็อตฉากล้วนมีการครุ่นคิดวางแผน ตระเตรียมการ วาดภาพ Storyboard โดย Oscar Friedrich Werndorff นักออกแบบศิลป์สัญชาติ Austrian เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับตากล้อง เพียงบันทึกภาพให้ตรงตามการออกแบบดังกล่าว
ผมพยายามจับจ้องมองหาว่าผกก. Hitchcock แอบซ่อนอยู่แห่งหนไหน แต่หันหลังให้แบบนี้ใครไปจะรับรู้ได้?? นี่เป็นฉากภายนอก London Music Hall หลังได้ยินเสียงปืน เกิดความโกลาหล ผู้คนรีบอพยพหนีออกมาภายนอก พอดิบดีรถโดยสารสองชั้นเคลื่อนผ่าน ชายร่างอวบอวนกำลังเดินข้าม และเขวี้ยงขว้างขยะลงพื้น
ภาพยนตร์ในยุคแรกๆจะไม่นำเสนอภาพเหตุการณ์ฆาตกรรมอย่างตรงไปตรงมา เพราะยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไหว และอาจไม่ผ่านกองเซนเซอร์ที่มีความเข้มงวดกวดขัด ด้วยเหตุนี้ความตายของ Annabella เพียงพบเห็นมีดปักหลัง (แฝงนัยยะของการทรยศหักหลัง) ก็สามารถทำให้จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล
อีกครั้งที่พบเห็นภาพความตายของหญิงสาว แม้เพียงแค่เงา แม่บ้านพยายามส่งเสียงกรีดร้อง แต่ผู้ชมจะได้ยินเสียงหวูดรถไฟดังขึ้น นี่เป็นการบ่ายเบี่ยงความรุนแรง หนึ่งใน ‘Swift Transition’ น่าประทับใจที่สุดของหนัง
ความตายของ Annabella ทำให้ Hannay เกิดความหวาดระแวง ระแวดระวัง เมื่อได้ยินเสียงโทรศัพท์ตัดสินใจไม่รับ ระหว่างแอบมองภายนอกพบเห็นภาพซ้อนใบหน้าหญิงสาว หวนระลึกคำพูดที่เธอเคยพร่ำบอก เช่นเดียวกับตอนมองแผนที่ Scotland ทำให้บังเกิดเข้าใจว่านั่นคือสถานที่ที่ตนเองต้องออกเดินทาง ถ้าต้องการหลบหนีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ เข้าใจผิดครั้งนี้
ผมว่ามันเป็นเรื่องตลกที่ไม่ตลกสักเท่าไหร่ แต่สอดคล้องกับทิศทางหนัง “The Wrong Man” ในตอนแรก Hannay พยายามพูดเล่าความจริงเกี่ยวกับสายลับ ฆาตกรรม แต่คนส่งนมกลับมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่พอเขาเล่าเรื่องหลอกๆ(แต่อ้างว่าจริง)เกี่ยวกับหญิงสาว คบชู้นอกใจ (อะไรสักอย่างนี่แหละ) กลับหลงเชื่อสนิทใจ ยินยอมมอบชุดคลุมปลอมตัว สลับขาวเป็นดำ ดำเป็นขาว … โลกใบนี้กำลังพลิกตารปัตร!
ระหว่างการหลบหนี จะมีฉากที่รถไฟหยุดจอดกลางสะพาน Forth Bridge ตั้งอยู่ยัง Edinburgh, Scotland แต่แน่นอนว่าไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการรถไฟ (เพราะเป็นบริเวณที่การสัญจรอย่างต่อเนื่อง) ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างฉากบางส่วนขึ้นที่ Stapleford, Hertfordshire
เกร็ด: Forth Bridge สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1882 ออกแบบโดย Sir John Fowler และ Sir Benjamin Baker เปิดให้บริการครั้งแรกวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1890 สำหรับเชื่อมต่อทางรถไฟสาย Edinburgh–Aberdeen ความยาวสะพาน 2.467 กิโลเมตร ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ของ Scotland อันเนื่องจากสถาปัตยกรรมออกแบบที่ซับซ้อน ‘man-made wonder’ และได้รับเลือกเป็นมรดกโลก เมื่อปี ค.ศ. 2015
ผู้ชมส่วนใหญ่คงไม่มีใครมาคอยจับผิด ช็อตนี้ถ่ายทำยังสถานที่จริง ช็อตนี้ถ่ายทำในสตูดิโอ แค่เห็นว่ามีความแนบเนียน แยกแยะแทบไม่ออกก็ถือว่ายอดเยี่ยมแล้ว แต่ผมให้ข้อสังเกตดังนี้
- ช็อตไหนที่ไม่พบเห็นภาพระยะใกล้ ใบหน้าตัวละคร (Close-Up) ให้คาดเดาไว้ก่อนว่าถ่ายทำยังสถานที่จริง โดยกองสอง (Second Unit)
- แต่ถ้าพบเห็นภาพระยะใกล้ ใบหน้าตัวละคร และมีการพูดคุยสนทนา ต้องคอยสังเกตทิวทัศน์พื้นหลัง มีแนวโน้มจะเป็นภาพวาดทิวทัศน์ ไม่ก็จากเครื่องฉาย Rear Projection
สาเหตุเพราะข้อจำกัดของหนังเสียงในยุคสมัยนั้น จึงจำเป็นต้องถ่ายทำในสภาพแวดล้อมปิด สามารถควบคุมการทำงาน แสงสีสัน หมอกควัน ฯ อีกทั้งช่วยลดภาระการเดินทาง ขนย้ายสิ่งข้าวของ ค่าใช้จ่ายนอกสถานที่อีกมากมาย
อย่างภาพช็อตนี้ระหว่างที่ Richard Hannay กำลังหลบหนีการไล่ล่าจับกุมของตำรวจ เนื่องจากมีพบเห็นใบหน้านักแสดง Robert Donat แน่นอนว่าต้องถ่ายทำในสตูดิโอ สร้างโขดหินให้ปีนป่าย ส่วนบ้านพัก/คฤหาสถ์ที่เห็นลิบๆ แท้จริงแล้วอาจเป็นโมเดลจำลองขนาดเล็กๆ และภาพวาดทิวเขา ท้องฟ้า … ทั้งหมดเป็นเพียงภาพลวงหลอกตาผู้ชมเท่านั้น!
สิ่งหนึ่งในหนังของผกก. Hitchcock ที่นักวิจารณ์ไม่ค่อยกล่าวถึงบ่อยนัก คือการแสร้งตาย มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่เดียวที่ตัวละครถูกยิง ตกตึก (Vertigo) ล่อหลอกผู้ชมว่าตายแน่ๆ แต่กลับยังสามารถเอาตัวรอดชีวิต ทำเอาใจหายใจคว่ำ
เราไม่ต้องไปสนใจมากนักก็ได้ว่า ทั้งๆกระสุนไม่ได้ทำอันตรายใดๆต่อ Hannay แต่ทำไมเจ้าตัวกลับล้มพับลงไปนอนกองกับพื้นเช่นนั้น (อาจจะช็อคจนหมดสติ หรือแสร้งตายเพื่อหลบหนีเอาตัวรอด) รวมถึงฉากถัดๆมาที่ไปโผล่ยังสถานีตำรวจ … หนังมันไม่จำเป็นต้องอธิบายทุกสิ่งอย่าง แค่ว่าผู้ชมสามารถเพลิดเพลินกับการดำเนินไปของเรื่องราว เท่านั้นก็เพียงพอแล้วละ!
เหตุผลการรอดตายของ Hannay เพราะเสื้อคลุมสวมใส่มีคัมภีร์ไบเบิ้ลซ่อนไว้ วิธีการที่หนังใช้อธิบายคือพอชายหนุ่มล้มลง (นึกว่าตายแล้ว) ฉายภาพที่แขวนเสื้อโค้ท จากนั้นกล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลัง สามีของ Margaret สอบถามภรรยาว่าเสื้อของตนเองสูญหายไปไหน จากนั้นได้เสียงตบ และหัวเราะลั่น ให้คุณลองจินตนาการต่อเองว่าจะบังเกิดขึ้นต่อจากนั้น
ซีเควนซ์ที่ได้รับการกล่าวขวัญมากสุดของหนัง! คือคำกล่าวสุนทรพจน์การเมืองของ Richard Hannay อันเกิดจากความจับพลัดจับพลู เข้าใจผิด “The Wrong Man” ครุ่นคิดว่าคือผู้ลงรับสมัครเลือกตั้ง Captain Fraser แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เลยพร่ำพูดความทุกข์ยากลำบาก พรรณาหายนะที่ตนเองประสบพบเจอ ในช่วงแรกๆยังตัดสลับผู้พูด-ผู้ฟังจากหลากหลายทิศทาง สะเปะสะปะไปมา แต่พอถูกตำรวจห้อมล้อมรอบ ตระหนักว่าเอาตัวไม่รอดแน่ จึงเริ่มพูดใส่อารมณ์ น้ำเสียงหนักแน่นจริงจัง พร่ำเพ้ออุดมคติใฝ่ฝัน มุมกล้องเงยขึ้น และโคลสอัพ สร้างสัมผัสแห่งความยิ่งใหญ่ ได้ใจผู้ชม/ผู้ฟังไปเต็มๆ
Indeed I have and I’ve known what it is to feel lonely and helpless and have the whole world against me and those are things that no man or woman ought to feel. And I ask your candidate… and all those who love their fellowmen to set themselves resolutely to make this world a happier place to live in. A world where no nation plots against nation, where no neighbor plots against neighbor, where there is no persecution or hunting down, where everybody gets a square deal and a sporting chance, and where people try to help and not to hinder. A world from which suspicion and cruelty and fear have been forever banished. That is the sort of world I want! Is that the sort of world you want?
Richard Hannay
แกะจำนวน 62 ตัว นำเข้าจาก Scotland มาถึงสตูดิโอ Welwyn Studios แต่วันแรกก็ประสบปัญหา เพราะพวกมันเล็งหญ้าที่ปลูกไว้จนเหี้ยนเตียน … ตลอดทั้งซีเควนซ์นี้จำเป็นต้องสร้างฉากถ่ายทำในสตูดิโอ เพราะสามารถควบคุมแสงสว่าง หมอกควัน เงามืด
ตลอดทั้งเรื่องใบหน้าของ Pamela มักปกคลุมด้วยแสงหยาบกร้าน เพื่อสร้างสัมผัสเจ้าหญิงเย็นชา ‘icy blonde’ แต่หลังจากเธอล่วงรู้ว่าคำเพ้อเจ้อเกี่ยวกับสายลับ องค์กรใต้ดินเป็นเรื่องจริง (จากการแอบฟังลูกน้องของ Professer Jordan พูดคุยซุบซิบ) วินาทีนี้สังเกตว่าแสงสว่างดูนุ่มนวล ฟุ้งกระจาย ใบหน้าบังเกิดรอยยิ้ม แทนที่จะหาทางหลบหนีเอาตัวรอด กลับห่มผ้าเขา หลับนอนบนโซฟา เฝ้ารอคอยเช้าวันใหม่มาถึง
เมื่อตอนที่ Mr. Memory ถูกซักถามเกี่ยวกับ ‘The 39 Steps’ สังเกตว่าภาพช็อตนี้มีลักษณะเอียงเล็กๆ เพื่อสะท้อนความสับสน มึนงง เกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ พูดบอกคำตอบโดยไม่สามารถหยุดยับยั้งชั่งใจ คาดไม่ถึงว่าจะมีใครถามคำถามนี้ในสถานที่สาธารณะ
ภาพสุดท้ายของหนังระหว่างที่ Mr. Memory กำลังเปิดเผยข้อมูลลับของ ‘The 39 Steps’ เกี่ยวกับบลา บลา บลา แต่ด้านหลังบนเวทียังคง ‘The Show Must Go On’ พบเห็นสาวๆทำการโยกเต้น เตะขาสูง เปิดกระโปรง ให้พบเห็นของลับ วับๆแววๆ … แค่คิดผมก็ขำกลิ้งชิบหาย เปิดเผยข้อมูลลับ = สาวๆเปิดของลับ นี่แหละความเฉียบคมคายของ Alfred Hitchcock
แซว: ท่าเต้นสาวๆด้านหลัง มองผิวเผินชวนให้นึกถึง Jacques Offenbach: Can-Can แต่บทเพลงบรรเลงนั้นคือ Tinkle, Tinkle, Tinkle ประกอบภาพยนตร์ Evergreen (1934) เลื่อนไปดูคลิปด้านล่าง จะมีสาวๆออกมาเต้นเตะขาสูงคล้ายๆกัน
ตัดต่อโดย Derek Norman Twist (1905-79) ผู้กำกับ/นักเขียน/ตัดต่อ สัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่นๆ อาทิ After the Bell (1932), The 39 Steps (1935), The Edge of the World (1937), กำกับภาพยนตร์ Prescription for Murder (1958) ฯ
ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Richard Hannay หลังเกิดความเข้าใจผิดๆ จำต้องออกเดินทางหลบหนีจาก London ขึ้นรถไฟสู่ Scotland เพื่อพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้เป็นสายลับ แต่จับพลัดจับพลูพบเจอบุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง พยายามเปิดโปงความจริง ก่อนจำต้องหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น London Palladium
- อารัมบท ณ London Music Hall
- Hannay ระหว่างรับชมการแสดงของ Mr. Memory ได้ยินเสียงปืนลั่น เกิดความโกลาหล หญิงสาวคนหนึ่งร้องขอให้เขาพากลับอพาร์ทเมนท์
- ณ อพาร์ทเมนท์ของ Hannay หญิงสาวเปิดเผยชื่อ Annabella Smith กล่าวอ้างว่าเป็นสายลับ กำลังถูกไล่ล่าติดตามตัว
- Annabella Smith ถูกลอบสังหาร ก่อนตายบอกให้เขาหลบหนี โดยมีเงื่อนงำคือแผนที่ในมือ
- การหลบหนีของ Hannay
- ปลอมตัวเป็นคนส่งนมออกจากอพาร์ทเมนท์
- ออกเดินทางโดยรถไฟ Flying Scotsman มุ่งสู่ Scotland
- พอมาถึงสถานี Waverley Station รับรู้ว่าตนเองกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับชาติ
- หลบหนีลงจากรถไฟยัง Forth Bridge
- การผจญภัยยัง Scottish Highlands
- Hannay ออกเดินเท้ามาถึงยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ยังไม่ทันเช้าก็ต้องหลบหนีออกมา เพราะถูกตำรวจติดตามตัวมาถึง
- Hannay เดินทางมาถึง Alt-na-Shellach ได้รับเชื้อเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยงในคฤหาสถ์หลังหนึ่ง โดยไม่รู้ตัว Professor Jordan คือบุคคลผู้เบื้องหลังองค์กร The 39 Steps
- แม้จะถูกยิง แต่ทว่า Hannay กลับรอดชีวิตอย่างหวุดหวิด เลยถูกตำรวจซักไซร้ไล่เรียง ก่อนสามารถหลบหนี ตีเนียนในขบวนพาเรด
- ระหว่างหลบหนี จับพลัดจับพลูเข้าไปยังเวทีปราศัยการเมือง ถูกเข้าใจผิดคิดว่าคือหนึ่งในผู้สมัคร จำต้องขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าผู้เข้าร่วมรับฟัง
- Hannay & Pamela
- หลังกล่าวสุนทรพจน์ถูกตำรวจล้อมจับ Hannay จึงลากพาตัวการ(ที่ทำให้ตนเองถูกจับ) Pamela กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
- ระหว่างทางผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ฝูงแกะทำให้การจราจรติดขัด ใช้เวลาช่วงชุลหมุนพากันหลบหนี
- หนุ่ม-สาวทั้งสอง พักค้างแรมยังโรงแรมแห่งหนึ่ง
- ดึกดื่นหญิงสาวแอบได้ยินลูกน้องของ Professor Jordan กล่าวถึงภารกิจที่ London
- อะไรคือ The 39 Steps?
- เช้าวันถัดมา Hannay (และ Pamela) รีบออกเดินทางกลับ London
- ระหว่างรับชมการแสดงของ Mr. Memory ณ London Palladium ก็ได้ยินเสียงปืนลั่นอีกครั้ง!
สิ่งที่ถือเป็นไฮไลท์ของหนังก็คือการเปลี่ยนผ่าน ‘swift transition’ ไม่ใช่แค่ Fade In-Out แต่มักมีลูกเล่ห์ ลูกล่อลูกชน หรือจุดเชื่อมโยงอะไรบางอย่าง ทำให้การดำเนินเรื่องมีความลื่นไหล ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ(ขั้นบันได)
- Hannay กำลังจะหลบหนีออกจากอพาร์ทเม้นท์ ขอความช่วยเหลือจนคนส่งนม ตอนพูดความจริงถูกกล่าวหาเพ้อเจ้อไร้สาระ แต่พอสร้างเรื่องรักๆใคร่ๆ คบชู้นอกใจ กลับยินยอมให้ใช้เสื้อคลุมและหมวก
- แม่บ้านพบเห็นศพของ Annabella ทำท่ากรีดร้องลั่น แต่กลับได้ยินเพียงเสียงหวูดรถไฟ
- ระหว่างถูกตำรวจไล่ล่าบนขบวนรถไฟ Hannay เข้าไปในห้องโดยสารหนึ่ง ทำการโอบกอดจูบหญิงแปลกหน้าอย่างดื่มด่ำ เอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด
- Hannay ถูกยิงเข้าที่หน้าอก ตัดเปลี่ยนฉากอธิบายว่าหนังสือสวดมนต์หายไป (เพื่อบอกว่ารอดตายเพราะยิงถูกหนังสือสวดมนต์)
- ระหว่างหลบหนีออกจากโรงพัก Hannay แสร้งทำเป็นเข้าร่วมขบวนพาเหรด ทำตัวเนียนๆ ถูกตำรวจมองข้าม
- หรือตอนถูกล้อมจับ Hannay แสร้งทำเป็นโต้ถกเถียงกับ Pamela จนตำรวจครุ่นคิดว่าเธอคือผู้สมรู้ร่วมคิด จึงทำการจับกุมทั้งสองไปโรงพักด้วยกัน
In discussing the film with Truffaut, Hitchcock said: “What I like best about The 39 Steps are the swift transitions.” And it’s that swift, unremitting pace, those lightning transitions, that keep it fresh, bewitching. The editing is so ingenious that some examples have become textbook legends: the landlady’s scream, on discovering a corpse, which, before we hear it, becomes the shriek of the train whistle as Hannay escapes. We race at breakneck speed, from the seedy London streets and the Palladium Music Hall, through the forbidding Scottish moors under eternal, glowering skies, and back to London, where another Palladium performance squares the circle.
But the swift transitions are more than geographic or physical. Hitchcock, as he would many times again, offers a dizzying set of moral alterations: a world where love and death, fear and desire are in constant, nerve-wracking, and sometimes acidly humorous juxtaposition. Hannay begins his perilous odyssey with what seems an innocuous peccadillo: meeting and taking home a woman who calls herself “Mrs. Smith.” Romance leads to danger: the woman is not a pickup; she is a hunted spy, fearful for her life. Hannay escapes from his London flat by pretending to a milkman that he is a lady-killer, ducking a vengeful husband—something he very nearly becomes later, on the moors, when a dour farmer mistakes his desperation for lust. Later he tries to escape the police by passionately embracing a total stranger (to her fury); while still later, he winds up manacled to that same stranger, taking refuge at an inn where the beaming landlady, impressed at their constant togetherness, exclaims: “They’re so terribly in love with each other!” Love and death, sex and slaughter—these are the poles of the universe so playfully presented here: supplanting each other, reversing and replacing each other, becoming a shadowy, deeply disturbing double mirror.
นักวิจารณ์ Michael Wilmington บทความจาก Criterion Collection
หนังไม่มีเครดิตเพลงประกอบ แทบทั้งหมดคือ ‘diegetic music’ (ยกเว้น Opening Credit และฉากไล่ล่ายัง Scottish Highlands) ดังขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียง งานเลี้ยง ขบวนพาเรด (In the Sweet By and By) และระหว่างการแสดงยัง London Music Hall และ London Palladium
หนึ่งในนั้นคือบทเพลงแนะนำตัว Mr. Memory (ก่อนขึ้นทำการแสดง) ทำการดัดแปลงออร์เคสตรา Tinkle, Tinkle, Tinkle ต้นฉบับแต่งโดย Harry M. Woods, ขับร้องโดย Sonnie Hale, ประกอบภาพยนตร์ Evergreen (1934)
แม้หนังจะไม่มีบทเพลงที่น่าจดจำ แต่การใช้เสียงประกอบ (Sound Effect) ทำออกมาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ อาทิ
- ใช้เสียงรถไฟขณะเตรียมออกจากชานชาลา สร้างความลุกรี้ร้อนรน กระวนกระวายให้กับ Hannay ที่กำลังหลบหนีการจับกุม
- แม่บ้านพบเห็นศพของ Annabella ทำท่ากรีดร้องลั่น แต่กลับได้ยินเพียงเสียงหวูดรถไฟ
- เสียงหมาเห่า เมื่อตอน Hannay หลบหนีลงจากขบวนรถไฟที่ Forth Bridge รวมถึงระหว่างถูกไล่ล่ายัง Scottish Highlands
- Professor Jordan ยิงปืนใส่ Hannay = สามีของ Margaret (หญิงชาวบ้านที่ให้เสื้อคลุมกับ Hannay) ตบหน้าภรรยา, ตามด้วยเสียงหัวเราะ(ทีหลังดังกว่า)
- ระหว่างหลบหนีกับ Pamela ได้ยินเสียงแกะร้อง ธารน้ำไหล เด่นดังขึ้นกว่าปกติ
ฯลฯ
The 39 Steps (1935) นำเสนอเรื่องราวของชายผู้โชคร้าย ถูกเข้าใจผิดว่าคือสายลับ เลยถูกตำรวจไล่ล่าติดตาม จำต้องออกเดินทางหลบหนี สืบค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ‘The 39 Steps’ จับพลัดจับพลูพบเจอบุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง และท้ายที่สุดสามารถค้นพบความลับดังกล่าว … แต่จะทำอะไรยังไงต่อไปก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการผู้ชม
สรุปแล้ว ‘The 39 Steps’ มันคืออะไร?? ถ้าเอาตามคำอธิบายของหนัง คือองค์กรสายลับที่ทำการสืบค้น ล้วงข้อมูลลับเกี่ยวกับเครื่องยนต์? สมการอะไรสักอย่าง? (ผมก็จับใจความไม่ได้สักเท่าไหร่) เอาว่ามันเป็นสิ่งที่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องไปใคร่สนใจ ค้นหาคำตอบ เพียงองค์ประกอบภาพยนตร์ (Plot Device) เรียกว่า “MacGuffin”
เอาจริงๆก่อนหน้านี้ ผกก. Hitchcock ก็เคยใช้แนวคิด “MacGuffin” มาแล้วหลายครั้ง [ถุงมือใน Blackmail (1929), สร้อยคอเพชร Number Seventeen (1932), นักฆ่าของ The Man Who Knew Too Much (1934)] แต่ทว่าภาพยนตร์ The 39 Steps (1935) ถือเป็นครั้งที่ทำออกมาได้อย่างโดดเด่น มีนัยยะสำคัญต่อเรื่องราว สร้างความหน้านิ่วคิ้วขมวดให้ผู้ชม สรุปแล้ว ‘The 39 Steps’ มันคือห่าเหวอะไร? กลายเป็นประเด็นถกเถียงวุ่นๆวายๆไม่รู้จักจบสิ้น
[We] have a name in the studio, and we call it the “MacGuffin”. It is the mechanical element that usually crops up in any story. In crook stories it is almost always the necklace and in spy stories it is most always the papers.
คำอธิบายของ Alfred Hitchcock ระหว่างบรรยายที่ Columbia University เมื่อปี ค.ศ. 1939 (ถือเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวถึง “MacGuffin”)
It might be a Scottish name, taken from a story about two men in a train. One man says, ‘What’s that package up there in the baggage rack?’ And the other answers, ‘Oh that’s a McGuffin.’ The first one asks ‘What’s a McGuffin?’ ‘Well’ the other man says, ‘It’s an apparatus for trapping lions in the Scottish Highlands.’ The first man says, ‘But there are no lions in the Scottish Highlands,’ and the other one answers ‘Well, then that’s no McGuffin!’ So you see, a McGuffin is nothing at all.
คำอธิบาย MacGuffin ในบทสัมภาษณ์ Hitchcock/Truffaut
โดยปกติแล้วภาพยนตร์ของผกก. Hitchcock มักเน้นความบันเทิง ตื่นเต้นเร้าใจ ไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระสักเท่าไหร่ แต่คำกล่าวสุนทรพจน์ของ Richard Hannay ผมรู้สึกว่าเคลือบแฝงมุมมองทางการเมือง อุดมคติแห่งความสงบสันติสุขที่น่าสนใจทีเดียว
Indeed I have and I’ve known what it is to feel lonely and helpless and have the whole world against me and those are things that no man or woman ought to feel. And I ask your candidate… and all those who love their fellowmen to set themselves resolutely to make this world a happier place to live in. A world where no nation plots against nation, where no neighbor plots against neighbor, where there is no persecution or hunting down, where everybody gets a square deal and a sporting chance, and where people try to help and not to hinder. A world from which suspicion and cruelty and fear have been forever banished. That is the sort of world I want! Is that the sort of world you want?
Richard Hannay
เริ่มต้น-สิ้นสุดของหนัง ดำเนินเรื่องยังโรงละคอน London Music Hall (ไม่มีอยู่จริง) และ London Palladium (สถานที่จริง) เลือนลางระหว่างการแสดง (Theater) vs. เหตุการณ์จริง (Reality), และโดยเฉพาะตอนจบเมื่อ Professer Jordan (Audience) ลอบสังหาร Mr. Memory (Actor) … นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Hitchcock’s cinema”
หนังใช้ทุนสร้าง £50,000 ปอนด์ แม้ไม่มีรายงานตัวเลขรายรับ แต่ระบุว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามทั้งในอังกฤษ ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา
A master of shock and suspense, of cold horror and slyly incongruous wit, he uses the camera the way a painter uses his brush, stylizing his story and giving it values which the scenarists could hardly have suspected.
นักวิจารณ์ Andre Sennwald จากหนังสือพิมพ์ The New York Times
First class entertainment. Like all melodramas in which the hero must win the story contains a number of very lucky accidents, but Hitchcock’s direction, the speed at which the film moves, and Donat’s high-spirited acting get away with them and the suspense never slackens.
นักวิจารณ์จาก The Monthly Film Bulletin
Speed, suspense, and surprises, all combine to make The 39 Steps one of those agreeable thrillers that can beguile the idle hour … Mystery experts will enjoy the whole thing, I think.
นักวิจารณ์ John Mosher จากหนังสือพิมพ์ The New Yorker
กาลเวลาทำให้หนังทรงคุณค่าขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการโหวตติดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของประเทศอังกฤษ จากหลายๆสำนัก
- British Film Institute: Top 100 British films (1999) ติดอันดับ #4
- The Village Voice: Best Films of the Century (1999) ติดอันดับ #112
- Empire: The 100 best British films (2016) ติดอันดับ #52
- TIMEOUT: The 100 Best British Films (2017) ติดอันดับ #13
- The Daily Telegraph: The 100 best British films of all time (2021) ไม่มีอันดับ
- TIMEOUT: The 100 best thriller films of all time (2022) ติดอันดับ #8
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K โดย ITV Content Delivery เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2020 แต่ทว่า Blu-Ray ของค่าย Criterion Collection (วางจำหน่ายปี ค.ศ. 2012) ยังเป็นแค่ High-Definition Transfer เท่านั้นนะครับ (เอาไว้ดูแก้ขัดไปก่อน)
ผมแอบเสียดายที่เคยเอาแต่สนใจผลงานยุคหลังๆของ Hitchcock คือถ้าค่อยๆรับชมไล่เรียงตั้งแต่ยุคหนังเงียบ เชื่อว่าคงหลงใหลคลั่งไคล้ The 39 Steps (1935) ไม่แน่ว่าอาจจะชื่นชอบมากกว่า North by Northwest (1959) มีความสนุกสนาน ลุ้นระทึก ตื่นเต้นเร้าใจ ปัจจุบันก็ยังคงความคลาสสิกเหนือกาลเวลา
เกร็ด: เผื่อใครสนใจการดัดแปลงนวนิยาย The Thirty-Nine Steps ครั้งอื่นๆ แต่คงไม่มีใครหนังยอดเยี่ยมไปกว่าฉบับของผกก. Hitchcock
- ฉบับฟีล์มสี The 39 Steps (1959) กำกับโดย Ralph Thomas, นำแสดงโดย Kenneth More
- The Thirty Nine Steps (1978) กำกับโดย Don Sharp, นำแสดงโดย Robert Powell
- ฉบับฉายโทรทัศน์ The 39 Steps (2008)
- ฉบับฉายทาง Netflix ประกาศสร้างแต่ยังไม่มีกำหนดฉาย
จัดเรต pg กับการฆาตกรรม สายลับ ทรยศหักหลัง
Leave a Reply